Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม

mp 3 (for download) : การเจริญสติในชีวิตประจำวัน เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เรื่องการเจริญสติในชีวิตประจำวัน เรื่องนี้เป็นเรื่องหัวใจของการปฏิบัติธรรมทีเดียว พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติธรรมนะ เราจะวาดภาพว่า ต้องไปนั่งสมาธิ ต้องไปเดินจงกรม จะทำอะไรก็ต้องไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดา ต้องช้าๆ ต้องนุ่มนวล ต้องช้าๆ ค่อยๆขยับ ยกตัวอย่างจะเดินก็ต้องช้าๆนะ จะทำอะไรทุกอย่างต้องช้าๆ แล้วจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่งก็ต้องหลับตา ถึงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรม นั่งลืมตาก็ไม่ได้ ต้องนั่งในท่านี้ด้วย ต้องเดินในท่านี้ด้วย ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติ

ในความเป็นจริงการปฏิบัติธรรมไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก การปฏิบัติธรรมจริงๆคือการมีสติ เมื่อไรมีสติเมื่อนั้นมีการปฏิบัตินะ มีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดการปฏิบัติ ขาดความเพียร เพราะฉะนั้นหลวงปู่มั่นท่านสอนไว้ดีมากเลย ท่านบอกว่า ถ้าเราทำสมาธิมาก จะเนิ่นช้า ถ้าเราค้นคว้าพิจารณาธรรมะมาก พิจารณากาย พิจารณาอะไรมากเนี่ย จิตจะฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติเนี่ย คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน

การเจริญสติในชีวิตประจำวันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไม่นั่งสมาธิ ไม่เดินจงกรม ไม่ทำในรูปแบบ ไม่ใช่ อาศัยการทำในรูปแบบในเบื้องต้นนี้เอง เป็นการฝึกให้เกิดสติ เมื่อมีสติแล้ว เราเอาสติมาใช้ในชีวิตประจำวัน จะแตกหักกันก็ตรงที่ว่า ใครจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ คนไหนเจริญสติในชีวิตประจำวันไม่ได้เนี่ย โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้นะ ยังห่างไกลเหลือเกิน

มันยากมากเลยที่คนๆหนึ่งจะมีสติขึ้นมา สติที่แท้จริง แต่ไม่ยากเลยที่คนที่มีสติที่แท้จริงแล้ว จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ มรรค ผล นิพพาน มีจริงๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อ วันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะครูบาอาจารย์ : คำสอนเตือนใจสั้น ๆ จากหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

ความรู้สึกตัวตามหลักของสติปัฎฐาน

ไม่เหมือนสติธรรมดา สติธรรมดาใครๆก็มีได้ สัตว์ก็มีสติ

สติตามหลักของสติปัฎฐานนั้น คือรู้ซื่อๆ ไม่มีผิดถูก ไม่มีสุขทุกข์

รู้ซื่อๆ รู้เห็น ผิดก็เห็น ถูกก็เห็น สุขทุกข์ก็เห็น

มีสติเห็น ไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ เหนือผิดเหนือถูก

ผิดถูก สุขทุกข์ ไม่มีค่าอะไร

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

อ้างอิง : http://www.facebook.com/profile.php?id=819251623

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

 *** รวมการ์ดคำสอนหลวงตามหาบัว 2 ***

ขอขอบคุณและอนุโมทนา คุณ Supawadee ผู้รวบรวม _/I\_

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

 *** รวมการ์ดคำสอนหลวงตามหาบัว 1 ***

ขอขอบคุณและอนุโมทนา คุณ Supawadee ผู้รวบรวม _/I\_

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ แห่งวัดป่าเขาน้อย หนึ่งใน พ่อแม่ครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อปราโมทย์

ชาติภูมิ

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ มีชาติกำเนิดในสกุล “ทองศรี” ท่านมีนามเดิมว่า “สุวัจน์” เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10  ปีมะแม ณ ตำบลตากูก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

โยมบิดาชื่อ “บุตร” โยมมารดาชื่อ “กึ่ง” ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน โดยมีพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 2 คน

วัยเด็กและการศึกษา

เมื่ออายุถึงเกณฑ์ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น และท่านได้อยู่ช่วยงานด้านเกษตรกรรมร่วมกับบิดามารดา และพี่ ๆ น้อง ๆ นอกจากนั้น ท่านได้มีโอกาสเรียนวิชาชีพกับช่างทองจนมีความรู้พอประกอบอาชีพได้

สู่เพศพรหมจรรย์

ด้วยจิตใจที่ฝักใฝ่ทางธรรมและรักในเพศบรรพชิตมาตั้งแต่เป็นเด็ก ดังนั้นในปี พ.ศ. 2481 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 19 ปี ท่านก็ได้ขออนุญาตบิดามารดา เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร โดยเข้าพิธีบรรพชา ณ วัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก นั้นเอง

ท่านได้ตั้งใจศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรม จนเมื่ออายุใกล้ครบบวช ซึ่งแม้ว่าการปฏิบัติธรรมของท่านในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่นี้จะไม่นานนัก แต่ความศรัทธาต่อศาสนธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้หยั่งลงลึกในจิตใจท่าน และเพียงพอที่จะเกิดเป็นปณิธานภายในใจท่านว่า อย่างไรเสียท่านต้องอุปสมบท เพื่อประพฤติธรรมในสมณเพศนี้สืบไป ดังนั้นท่านจึงได้ของอนุญาตโยมบิดามารดาเพื่ออุปสมบท ซึ่งท่านทั้งสองก็ไม่ขัดข้อง

อย่างไรก็ดี ตอนนั้นเป็นช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวข้าวพอดี ประกอบกับเพื่อจะได้จัดการในเรื่องต่าง ๆ ก่อนที่จะอุปสมบท ท่านจึงได้ลาสิกขาบทจากสามเณรเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อน

ในปี พ.ศ. 2482 หลังจากที่ท่านได้จัดการเรื่องต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับท่านมีอายุครบ 20 ปีท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท อยู่ในภิกษุภาวะสมความตั้งใจ ณ วัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก ซึ่งเป็นวัดมหานิกายที่ท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณร ท่านได้รับฉายาว่า “สุวโจ” โดยมี

พระครูธรรมทัศน์พิมล (ด้น) เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย (เมื่อครั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระอาจารย์เคลือบ วัดดาวรุ่ง บ้านขาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์อุเทน วัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากที่ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ในพรรษาแรกนั้นเอง ได้มีชาวบ้านบุแกรง อำเภอท่าตูม (ปัจจุบันคืออำเภอจอมพระ) จังหวัดสุรินทร์ พากันมาอาราธนาท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบุแกรง ซึ่งเป็นวัดร้าง ไม่มีพระอยู่จำพรรษา ต่อมาด้วยเห็นว่า หากจะอยู่ทำประโยชน์ไว้ในพระบวรพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จำเป็นที่ท่านต้องศึกษาเพิ่มเติม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2483 หลังออกพรรษาแล้ว ท่านจึงเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จนสอบได้นักธรรมชั้นตรีและโทในปี พ.ศ. 2483 และ 2484 ตามลำดับ

พระธาตุของหลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ

ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต

ในปี พ.ศ. 2484 ภายหลังที่ท่านสอบได้นักธรรมโทแล้ว เกิดมีศรัทธาหนักไปทางปฏิบัติจิตตภาวนา ดังนั้นท่านจึงได้ญัตติใหม่ในธรรมยุติกนิกาย ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี

ท่านเจ้าคุณพระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์ทองดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จากนั้น ท่านได้กลับไปจำพรรษา ณ วัดป่าศรัทธารวม เป็นเวลา 2 พรรษา ก่อนที่จะเริ่มต้นการเดินธุดงค์ในปี พ.ศ. 2486

ประวัติการอยู่จำพรรษา

พ.ศ. 2486  วัดป่าพระสถิต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

พ.ศ. 2487  วัดโยธาประสิทธิ บ้านห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ (ในพรรษานี้ ท่านได้จำพรรษา ร่วมกับท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ประกอบกับได้ดูแลโยมบิดามารดา ซึ่งกำลังป่วยอยู่)

พ.ศ. 2484  วัดป่าศรีไพรวัน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้ามเขาภูพาน ไปวัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พ.ศ. 2489-2492  หลวงปู่มั่น ท่านพิจารณาเห็นว่าท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรเป็นลูกศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ยังไม่มีผู้ดูแลอุปัฏฐากจึงมอบหมายให้ท่านอาจารย์สุวัจน์ไปเป็นพระอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์ฝั้น ในระยะเวลา 4 ปีนี้ ณ วัดป่าภูธรพิทักษ์ ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยในช่วงเวลาออกพรรษาของแต่ละปี ท่านอาจารย์สุวัจน์จะลาท่านพระอาจารย์ฝั้นไปศึกษาธรรม และอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาในอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2493  วัดเทพกัลยาราม บ้านน้อยจอมศรี อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2494  วัดป่าพระสถิต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

พ.ศ. 2495  สำนักสงฆ์ควนเขาดิน อำเภอท้ายเมือง จังหวัดพังงา

พ.ศ. 2496  วัดเจริญสมณกิจ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2497  วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2498  วัดป่าปราสาทจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

พ.ศ. 2499  วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2500-2501  วัดป่าปราสาทจอมพระ  อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

พ.ศ. 2502  วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2503  วัดป่าบ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2504  วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2505  สำนักสงฆ์ถ้ำขาม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2506  วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2507  วัดถาวรคุณาราม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

พ.ศ. 2508  วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2509-2514  วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2515-2524  สำนักสงฆ์ถ้ำศรีแก้ว ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2525-2526  สำนักสงฆ์ (ชั่วคราว) เมืองซีแอตเติ้ล มลรัฐวอชิงตัน

พ.ศ. 2527  สำนักสงฆ์ (ชั่วคราว) เมืองแอนนาไฮม์ฮิล มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2528  สำนักสงฆ์ป่าธรรมชาติ เมืองลาพวนเต้ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2529  สำนักสงฆ์นอร์ธแซนฮวน เมืองซาคราเมนโต้ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2530-2533  วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2534  วัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2535  วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2536-2538  วัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2539  วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์

พ.ศ. 2540  วัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน  วัดป่าเขาน้อย ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

การรับแต่งตั้งให้ปฏิบัติศาสนกิจ และการรับสมณศักดิ์

1. ตามหนังสือที่ 26/2529 ลงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2529 ท่านได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต ให้เป็นพระอุปัชฌาย์

2. ตามหนังสือที่ 9/2529 ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ท่านได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต ให้เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา

3. วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น “พระครูปลัดสุวัฒนญาณคุณ”

4. วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระโพธิธรรมจารย์เถร”

พระธาตุของหลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ

การปฏิบัติศาสนกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา

นับแต่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตจากคณะสงฆ์ไทย ในปี พ.ศ. 2525 เพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านได้ปฏิบัติศาสกิจนี้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างวัดภูริทัตตวนาราม และวัดเมตตาวนาราม มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้เป็นที่ประพฤติปฏิบัติธรรมตามแบบอย่างของวัดกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และพุทธศาสนิกชนชาวอเมริกาหนึ่งในจำนวนนั้นได้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ถวายปัจจัยแด่ท่าน เพื่อซื้อที่ดินบนเขา เนื้อที่ 60 เอเคอร์ (ประมาณ 150 ไร่) คิดเป็นเงิน 700,000 ดอลล่าร์ (ประมาณ 17,500,000 บาท) ให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนา ซึ่งก็คือ วัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปัจจุบัน

พิมพ์บูชาคุณองค์หลวงปู่โดยน้องนุดีค่ะ

จากคุณ : ไก่แก้ว [ 10 เม.ย. 2545]

“รำลึกพระคุณหลวงปู่”

เนื้อความ :

ได้มีโอกาสไปร่วมงานพระราชทานน้ำอาบศพหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจที่วัดป่าเขาน้อย จ. บุรีรัมย์มาค่ะเลยอยากนำบรรยากาศและเรื่องราวต่าง ๆ มาถ่ายทอดให้พี่ ๆ น้อง ๆ ฟังรวมทั้งปฏิปทาขององค์หลวงปู่ซึ่งตนเองได้รับความเมตตามาและได้รับฟังมาจากพี่ ๆ น้อง ๆ ที่บุรีรัมย์ข้อความต่าง ๆ อาจจะไม่ต่อเนื่องนัก และไม่สละสลวยสวยงามต้องขออภัยด้วยค่ะ

ขอเริ่มจากลำดับเหตุการณ์ที่องค์หลวงปู่ท่านละสังขารก่อนนะคะ

สูญเสียร่มโพธิ์ร่มไทร

องค์หลวงปู่ท่านมีปัญหาเรื่องปอดไม่แข็งแรงมานานแล้วในช่วงระยะ 1 ปีที่ผ่านมา องค์หลวงปู่ท่านต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคปอดติดเชื้อมาตลอด (ประมาณ 4-5 ครั้ง)ครั้งสุดท้ายก่อนที่ท่านจะละสังขารนี้ องค์หลวงปู่เข้ามารักษาองค์ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธและหัวใจท่านได้หยุดเต้นไปแต่เป็นบุญที่คณะแพทย์และพยาบาลได้ถวายการรักษาได้ทันท่วงทีจึงสามารถช่วยท่านไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ทำการรักษาองค์หลวงปู่มักจะปรารถอยู่เนือง ๆ ว่าท่านอยากกลับไปวัดจนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม องค์หลวงปู่แข็งแรงขึ้นมากและแพทย์เห็นสมควรให้ท่านเดินทางกลับบุรีรัมย์ได้

หลวงปู่ท่านสดใสมาก เมื่อได้กลับไปที่วัดป่าเขาน้อยอาการท่านก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ แข็งแรงมากพอที่จะไปโปรดญาติโยมที่วัดป่าปราสาทจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ได้หลวงปู่เมตตาพำนักที่วัดป่าปราสาทจอมพระและแสดงธรรมโปรดญาติโยมประมาณ 1 อาทิตย์คือช่วงวันที่ 13 มี.ค. ถึง 20 มี.ค. จึงได้กลับเดินทางกลับวัดป่าเขาน้อย

หลังจากที่หลวงปู่ท่านเดินทางกลับมาพำนักที่เขาน้อยได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์หลวงปู่มีอาการอ่อนเพลียมาก จนต้องพาท่านเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนบุรีรัมย์หลังจากที่ท่านได้เข้าไปรักษาตัวได้ 2 วัน อาการดีขึ้นมากแพทย์ที่ถวายการรักษา ขอดูอาการ ซึ่งหากไม่ทรุดลงไปก็จะอนุญาตให้กลับวัดได้แต่แล้ว…อาการของหลวงปู่ ก็เริ่มทรุดลงเมื่อวันที่ 2 เม.ย.และอาการหนักในคืนวันที่ 3 เม.ย.เนื่องจากโรคปอดติดเชื้อที่แทรกซ้อนขึ้นมาเช้าวันที่ 5 เป็นวันที่ศิษยานุศิษย์ใกล้ชิดและแพทย์ต้องตัดสินใจแพทย์แนะนำให้เจาะคอองค์หลวงปู่แต่เมื่อประชุมกันแล้ว ลงความเห็นว่าไม่สมควรเจาะคอเพราะจะเพียงแค่ยืดอายุขัยท่าน แต่ก็จะทรมานองค์หลวงปู่มากมายแพทย์หลาย ๆ คนพยายามติดต่ออาจารย์หมอที่ชำนาญทางปอดเพื่อให้เดินทางมาถวายการรักษาที่บุรีรัมย์

ประมาณช่วงเที่ยงวันนั้นองค์หลวงปู่ท่านแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ที่จะละสังขารด้วยการค่อย ๆ ถอนให้เห็นโดยปกติคนที่ป่วยหนัก ค่าต่าง ๆ ที่แสดงถึงความมีชีวิตอยู่อาทิ ความดัน ชีพจร ฯลฯ จะ fluctuateแต่ขององค์หลวงปู่ท่านจะคงที่ ค่อย ๆ ลดลงเป็นลำดับให้เห็นว่าองค์ท่านควบคุมได้ และไม่ประสงค์จะครองสังขารอีกต่อไปคณะศิษยานุศิษย์จึงเตรียมนำองค์ท่านกลับคืนสู่วัด หากแต่ก็ไม่ทัน …

องค์หลวงปู่ ละขันธ์ ด้วยสติที่พร้อมบริบูรณ์เมื่อเวลา 13.12 น.ของวันที่ 5 เม.ย. 2545

พระธาตุของหลวงปู่ สุวัจน์ สุวโจ

ปฏิปทาองค์หลวงปู่

ได้รับฟังจากญาติธรรม ศิษยานุศิษย์ใกล้ชิดองค์หลวงปู่มาสมัยที่ท่านมาอยู่ที่เขาน้อยใหม่ ๆ นั้น ไม่มีอะไรเลย นอกจากกุฏิเล็ก ๆ 2 หลังเป็นกุฏิชั้นเดียว ห้องเดียว มีลานเล็ก ๆ ตรงกลางหากแต่ลานเล็ก ๆ กุฏิเล็ก ๆ นี้เองที่ใช้เป็นที่แสดงธรรม และสอนกรรมฐานทุกเย็น

องค์หลวงปู่จะเมตตาญาติโยมมากไม่ว่าจะมากันกี่คน 2 คน 3 คน หรือมากกว่านั้นองค์ท่านจะนำทำวัตร แสดงธรรม และปฏิบัติภาวนาทุกวันท่านจะให้ความสำคัญกับการภาวนามากพี่ ๆ เล่าว่า ท่านไม่เคยเบื่อ หรือหงุดหงิดกับความดื้อรั้นขี้เกียจ หรือความเขลาของเหล่าศิษย์เลยท่านคงความเมตตาที่เปี่ยมล้นอย่างสม่ำเสมอจนแม้แต่คนที่ไม่น่าจะเอาดีในด้านการภาวนา ก็มีหลักในการภาวนาจนได้ ภาวนาเป็น

องค์หลวงปู่เคารพพ่อแม่ครูบาอาจารย์มากนักและท่านก็เคารพรัก”หลวงปู่บ้านตาด” เป็นนักหนาแม้ในช่วงที่ท่านไปปฏิบัติหน้าที่เป็นธรรมทูตที่อเมริกาทุกครั้งที่ท่านเดินทางกลับมาเมืองไทยหากองค์หลวงตาอยู่ที่สวนแสงธรรมท่านจะตรงไปสวนแสงธรรมหรือหากองค์หลวงตาอยู่ที่บ้านตาดท่านก็จะเดินทางไปที่บ้านตาดเพื่อกราบองค์หลวงตา ก่อนที่จะกลับไปที่วัดของท่านเอง

องค์หลวงปู่มักจะพูดน้อย แต่นุ่มนวลท่านมักจะปรารภเรื่อย ๆ ว่าท่านไม่ทนญาติโยมเหมือนองค์หลวงปู่มั่น องค์หลวงปู่ฝั้น และองค์หลวงปู่บ้านตาดแต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เคยมีผู้ตกทุกข์คนไหนที่ดั้นด้นไปกราบหลวงปู่ แล้วหลวงปู่จะไม่เมตตาหลวงปู่จะให้ทั้งที่พัก ทั้งปัจจัย และที่สำคัญ คือองค์ท่านที่เป็นเสมือนหิ้งพักใจและร่มไทรหนา ให้ผู้ทุกข์หนัก ได้พักอาศัย

แม้ในช่วงหลังมาที่องค์หลวงปู่ประสบอุบัติเหตุเป็ฯอัมพาตครึ่งองค์ทุก ๆ เช้า ท่านจะเมตตาลงมาที่ศาลาโรงฉันและบิณฑบาตรในรถเข็น เพื่อให้ญาติโยมได้สร้างบุญกุศลโดยทั่วหน้าก่อนฉัน หากสังขารท่านเอื้ออำนวยหลวงปู่จะเมตตาแสดงธรรมสั้น โปรดญาติโยมอย่างสม่ำเสมอหลวงปู่มักจะเน้นให้เราหมั่นอนุโมทนาบุญเพื่อสร้างเสริมกุศลจิตในใจและอานิสงค์ของการแผ่เมตตาหลวงปู่จะเน้นเราให้สร้างสมความดี ละชั่วหมั่นตรวจสอบตนเอง และปฏิบัติภาวนาอย่างสม่ำเสมอท่านเคยเมตตาสอนว่า”การปฏิบัติภาวนานั้น เราจะเลือกปฏิบัติ เฉพาะเวลาสุขนั้นไม่ได้เราต้องปฏิบัติภาวนาให้ได้ ทั้งในเวลาสุข และทุกข์”หลวงปู่ท่านจะเมตตาทั้งพระทั้งโยมที่ปฏิบัติภาวนายิ่งนักเมื่อไหร่ที่ติดขัดในการภาวนาเพียงแต่โผล่หน้าไปให้ท่านเห็นท่านก็จะเมตตาแก้ไขข้อข้องจิต ข้องใจให้โดยที่เราไม่เคยต้องออกปากโดยที่บางครั้ง เราเองไม่ทราบด้วยซ้ำว่าเรากำลังติดขัดอยู่องค์หลวงปู่เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรที่ร่มเย็นเป็นนักหนา

นอกจากมนุษย์แล้ว องค์หลวงปู่ยังมีเมตตาต่อสัตว์ชนิดต่าง ๆ มากมายท่านมีทั้งปลา นกกะทา ไก่ป่า นกกาเหว่า และอื่น ๆ ท่านรักต้นไม้มาก มักจะหาพันธุ์ไม้แปลก ๆ ต่าง ๆ มาปลูกที่เขาน้อยอย่างสม่ำเสมอ

บรรยากาศงาน

สำหรับท่านที่เคยไปวัดป่าเขาน้อยแล้วคงจำศาลาเมตตาสุวโจ ศาลาใหญ่ที่ใช้สวดมนต์ได้ทางวัดได้นำสังขารขององค์หลวงปู่ท่านมาตั้งให้ทั้งพระทั้งโยมได้เข้าไปเคารพ รดน้ำและขมาท่านเป็นครั้งสุดท้ายองค์หลวงปู่นอนบนที่นอนของท่าน ปูผ้าสีกลัก ห่มผ้าห่มสลัก อยู่ในกลดผ้าชีฟองสีครีมนวลมองดูคล้ายกับองค์ท่านหลับอยู่ ไม่ได้จากเราไปไหนสีหน้าท่านสงบ และผาสุขอย่างไม่มีใดเทียบไม่เคยได้เห็นสังขารใด ๆ ที่ถูกทิ้งไปแล้ว จะงามพร้อมขนาดนี้องค์หลวงปู่หลับไหล ราวกับบอกว่า “เราไม่มีทุกข์ใด ๆ แล้วจากนี้ไปตลอดอนันตกาล”

ทั้งพระ ทั้งญาติโยมทยอยกันมาจากทุกสารทิศไม่ได้ขาดตลอดทั้งวัน

งานการเตรียมพร้อมเพื่อพิธีพระราชทานเพลิงศพดำเนินไปอย่างเร่งด่วนแต่สุขุม และละเอียดลออ เพื่อถวายแด่องค์หลวงปู่ให้สมกับที่ท่านเมตตา ให้สมกับพระคุณของท่านแม้งานจะหนัก และเหนื่อย ก็ไม่มีใครย่อท้อคณะทำงานที่ประกอบทั้งพระ ทั้งฆราวาสพร้อมใจกันทำถวายหลวงปู่ ไม่มีการเกี่ยงงอนใด ๆ แบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ละบุคคล

แม้เมื่อเสร็จสิ้นจากงานนี้ เหล่าศิษยานุศิษย์ทุกองค์ และทุกคนสำนึกดีอยู่ว่า งานที่เราสมควรทำถวายองค์หลวงปู่ยังไม่เสร็จสิ้นยังคงเหลืองานชิ้นสุดท้าย แต่คงความสำคัญที่สุดเป็นงานที่องค์หลวงปู่ยกย่องว่าเลิศกว่างานใด ๆ คือการปฏิบัติภาวนา ทำตนให้ถึงพร้อมให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์หลาย ๆ คน พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ได้สนทนากันล้วนแล้วแต่ได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าองค์หลวงปู่ให้สัจจะว่าจะดำเนินรอยตามองค์ท่านให้สมกับที่ท่านได้เมตตาสั่งสอนมา

ขอน้อมกราบองค์หลวงปู่ด้วยเศียรเกล้าค่ะ

ขอขอบคุณ คุณ ไก่แก้ว เวปลานธรรม ผู้รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล

เมื่อหลวงปู่สุวัจน์สอนหลวงพ่อปราโมทย์

- หลวงปู่สุวัจน์ ท่านบอกนะ ท่านบอกว่า ตอนที่ท่านปล่อยวางจิตนะ ท่านมีความสุขอยู่ตั้งปีกว่าๆ สุขมหาศาล สุขเหมือนจะทนอยู่ไม่ไหวเลย สุขมหาศาล สุขแทบตาย สุขมาก ต่อๆไปใจก็ค่อยๆคุ้นเคยนะ ใจก็ค่อยๆเป็นอุเบกขา ก็มีความสุขบ้าง อุเบกขาบ้าง ไม่หวือหวาเหมือนทีแรก มีความสุขมาก

เนี่ยพวกเราอยากได้สัมผัสความสุขอันนี้นะ เราต้องพ้นทุกข์ให้ได้ ตัวทุกข์ก็คือ รูป นาม กาย ใจ ของเรานี่เอง เราจะพ้นทุกข์ได้ ใจจะปล่อยวางรูปนาม ปล่อยวางกายวางใจได้ ใจต้องมีปัญญาเห็นความจริงของรูปของนามนะว่า ไม่ใช่ของดีของวิเศษ..

- ก่อนไปกราบหลวงปู่สุวัจน์ เราภาวนา เรายังไม่ได้บวชนะ จิตเราหลุดออกมา เรารู้สึกสบายเลยเราคิดว่าพระอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ จิตไม่เกาะอะไรจิตไม่เกาะขันธ์

เราไปหาท่าน ปรากฎว่าพอใกล้ถึงจิตดันเข้าไปเกาะกัน ดันเข้าไปยึด(ขันธ์)อีก เราก็เลยคิดนี่ล่ะน้าาา มันเป็นอนัตตา .. มันเป็นไตรลักษณ์

พอคิดว่าเป็นไตรลักษณ์นะ ใจเราไม่ดิ้น ก็หลุดออกมา

หลวงปู่สุวัจน์: นี่แหละ บางทีจิตมันก็หลุดออกมา บางทีจิตมันก็เข้าไปจับอารมณ์ พอมันจับอารมณ์แล้วเราเห็นว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันก็หลุดออกมา

เราก็ อ๋อ..จิตนี่ก็เป็นไตรลักษณ์นะ เราจะไปบังคับให้จิตหลุดพ้นไม่ได้หรอก ถึงเวลาถ้าเค้าพอ เค้าหลุดเอง แต่เราไม่รู้ว่าเค้าขาดอะไรที่ยังไม่พอ

[เฉลย] คือ ขาดอริยสัจ ขาดความรู้แจ้งอริยสัจนะ ถ้าแจ้งอริยสัจก็คือพอ

ถ้าไม่แจ้งอริยสัจ ยังเห็นว่ากายนี้ ใจนี้เป็นตัว สุขบ้าง ทุกข์บ้างอยู่ ไม่มีทางเลย ยังไม่พอที่จะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

>>> อ่านธรรมเทศนา หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ <<<

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

โอวาทปาติโมกข์ – วันมาฆะบูชา

โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ หมายถึง หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น

คำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาคือ หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

หลักการ ๓

  • การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาป ทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ

- ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม

- ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ

- ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

  • การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดี ทุกอย่าง ซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ

- การความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม

- การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียดไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ

- การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น มีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดี และมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

  • การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบมี ๕ ประการ ได้แก่

- ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)

- ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)

- ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)

- ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ)

- ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี ความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่

อุดมการณ์ ๔

  • ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกายวาจา ใจ
  • ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น
  • ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
  • นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

วิธีการ ๖

  • ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
  • ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  • สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีของสังคม
  • รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร หรือการใช้สอยสิ่งต่างๆ
  • อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
  • ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบ มีสุขภาพ คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

ขอขอบคุณและอนุโทนากับ คุณ Toffee  ผู้หาข้อมูลและเรียบเรียง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อ้ายหมดห่วงแล้ว – เมื่อหลวงตามหาบัวสอนน้องสาว (คุณแม่จันดี) ภาวนา

ซาบซึ้งในคุณครูบาอาจารย์
ทราบว่าท่านให้คำแนะนำ เรื่องการปฏิบัติภาวนาได้ถูกต้องแม่นยำ ไม่ผิดเพี้ยน จากหลักความจริง ตามธรรมคำสอนของพระหลวงตามหาบัวทุกอย่าง

ท่านจะพูดเสมอว่า “พระหลวงตาสอนให้แม่ปฏิบัติมาอย่างนี้ ถ้าเป็นคำพูดของพระหลวงตาแล้ว ยิ่งการปฏิบัติภาวนาจะคลาดเคลื่อนไปไม่ได้เลย…”

ท่านบอกสมัยก่อนปฏิบัติอยู่ที่บ้านเวลามีปัญหาติดขัดด้านการภาวนา ก็อาศัยกราบเรียนพระหลวงตาตอนไปรับบิณฑบาตในหมู่บ้าน ขณะคุณแม่ใส่บาตร พระหลวงตาจะเมตตาถาม “ภาวนาเป็นยังไง” คุณแม่จึงกราบเรียนพระหลวงตา ท่านก็จะแนะนำอย่างต่อเนื่อง ช่วยแก้ปัญหาการปฏิบัติภาวนาให้ท่านตลอด

คุณแม่จันดี เล่าว่า “การปฏิบัติภาวนาถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ช่วยแนะสอนจะช้าได้
เพราะช่วงปฏิบัติภาวนา เรารู้เห็นอะไร มันก็ชวนให้หลงให้ติด เพราะเป็นความอัศจรรย์ ที่เราเกิดมาไม่เคยพบ – เห็นเลยในชีวิต และไม่มีแสดงอยู่ที่ไหนในโลกนอกจากผู้ภาวนา แต่ละรายจะรู้เองเห็นเองจากการปฏิบัติของตัวเอง รู้ขึ้นในใจของตัวเอง
เป็นสันทิฏฐิโกประกาศป้างขึ้นที่หัวใจ ไม่ต้องถามใคร…ไม่ต้องให้ใครมาโกหกเราได้ พิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ไม่ลี้ลับ ไม่ปิดบัง เปิดเผยเสมอ มีอยู่ตลอดกาล…ธรรมความจริง ธรรมไม่ตาย เปิดเผยสง่างาม อยู่ทุกกาล ทุกสมัยตลอดมา และตลอดไป…เป็นแต่ ผู้คนจะมีจิตยินดี และต้องการหรือไม่”

ได้ยินคุณแม่ท่านเล่า จำได้เป็นข้อความบางตอน ที่อยากสื่อธรรม เพื่อเป็นบารมีธรรมของผู้นำเสนอสื่อธรรมเข้าสู่ใจ ท่านบอกช่วงนั้นคุณยายแก้ว แห่งสำนักชีห้วยทรายได้มาพำนัก อยู่วัดป่าบ้านตาดท่านเมตตาถามคุณแม่จันดี ถึงการปฏิบัติภาวนาอยู่เสมอ

มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านถามว่า “จันดีจิตของลูกแยกส่วนแบ่งส่วนหรือยัง”

คุณแม่จันดี ตอบ
“แยกแล้วแบ่งแล้ว และกราบเรียนต่อว่า ขณะนี้เป็นอย่างนี้” คุณยายฟัง และบอกท่านว่า “เออดีแล้ว จิตถ้าแยกส่วนแบ่งส่วนแล้ว จิตก็มีแต่จะเจริญ”

ต่อมาอีกคุณยายแก้ว ถามท่านว่า “จันดีลูกกราบเรียนการปฏิบัติกับญาท่าน(พระหลวงตามหาบัว) ว่าอย่างไรบ้าง เห็นพระในวัดท่านเข้ามาถามแม่ว่า(คือคุณยายแก้ว) ว่าคุณแม่รู้ไหมโยมใครกันที่อยู่ในหมู่บ้าน มีเทวดา พระอินทร์ พระพรหม มาอนุโมทนากับเขาพ่อแม่ครูอาจารย์

หลวงตาพูดในที่ประชุมสงฆ์ “ทำไหมเขาภาวนาทั้งที่มีลูกน้อย ทั้งทำนา ครองเรือนอยู่ เห็นเทพ – เทวดา”

คุณยายจึงเรียนพระไปว่า “จะเป็นใครนอกจากนางจันดี (น้องสาวของญาท่าน)”

พอได้โอกาสคุณแม่จันดี มาวัด ท่านจึงเล่าให้ฟัง และถามว่า “เป็นความจริงไหม” เพราะแม่(คุณยาย)ตอบพระไปก่อนจะถามเจ้าแล้ว

ท่านจึงกราบเรียนคุณยายแก้วว่า “ลูกได้กราบเรียน การปฏิบัติของลูกให้พระหลวงตาทราบในทุก ๆ เรื่อง เพราะไม่พึ่งพระหลวงตาท่านช่วย ลูกคงติดในแต่ละจุด และช้าเวลาต้องให้ท่านช่วยตี ช่วยขนาบ เพราะท่านจะบอกลูกว่าเวลานี้ท่านมีชีวิตอยู่ติดขัดอะไรให้ถาม ถ้าเราพิจารณาเองอาจช้า เสียเวลา มีครูบาอาจารย์ช่วยแนะเรามีหน้าที่ทำตาม – ปฏิบัติตาม
ท่าน (ถ้าว่าอาหารท่านก็ปรุงไว้ให้เสร็จแล้ว เราลูกศิษย์ ตั้งใจกินอย่างเดียว
อิ่มแล้วจะรู้เอง…)

คุณแม่จันดี ท่านเมตตาเล่า การปฏิบัติของท่านที่ยากลำบาก แม้จะไม่ได้ขึ้นภูเขา เข้าป่า แต่ธรรมที่ท่านได้มา ก็แลกด้วยชีวิต

ความตอนหนึ่งที่ประกาศขึ้นในจิตท่านว่า“ให้เอาชีวิตแลกธรรม” ตอนนั้นพระหลวงตาก็บอกให้ท่านเร่ง “มึงอย่าเสียดายชีวิตนะ เร่งเลย ๆ ผ่านไปอีกระยะหนึ่งพระหลวงตาเข้ามาฝ่ายผู้หญิง ถามท่านว่า “เป็นยังไงจิต” คุณแม่บอกอยากกราบเรียนท่านตามจิตเป็นอยู่ แต่รั้งไว้ไม่พูดหมด ตอบเพียงว่า “จิตช่วงนี้ไม่กลัวตายจิตกล้ามาก สภาวธรรมความเกิด – ดับเร็วมากเหมือนฟ้าแลบ” พระหลวงตาร้องขึ้นเสียงดัง “โอ้จิตถึงขนาดนี้แล้ว เร่งเลย ๆ ๆ ๆ ไม่นาน อีกไม่นาน (ท่านย้ำ) เร่งเลย ๆ ๆ ๆ”

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2535 ในคืนนั้นฟ้าครึ้ม ลมแรง คุณแม่จันดีเป็นห่วงพี่สาว (คุณยายตัน) ท่านเดินไปดูพี่สาวที่แคร่ และปิดผ้าม่านให้เพราะลมแรง กลัวว่าฝนตกจะเปียก(พี่สาวที่ภาวนาอยู่) จึงกลับมาที่กุฏิ ท่านกราบพระนั่งภาวนา ท่านบอกจิตท่านแปลก ๆ นั่งถึงเวลา 5 ทุ่ม (รู้ขึ้นในจิต)

“เกิดสภาวะโลกธาตุหวั่นไหว ก้นท่านลอยขึ้นจากพื้นสูงประมาณ 1 ศอก ทุก ๆ อย่าง เกิดขึ้น พร้อม ๆ กัน เสียงประกาศก้องขึ้นในจิต ขณะนั้นว่า อายะตะนะ นั้นมีอยู่ แต่ไม่มี ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีจุติเคลื่อน ไม่มีที่ไป ไม่มีที่มา ไม่มีอารมณ์ ไม่มีอารมณ์นั้นแหละ คือที่สุด แห่งทุกข์ ขณะเดียวกัน อวิชชาได้กระเด็นขาดออกจากจิต ทุก ๆ อย่างเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ไม่มีก่อน ไม่มีหลัง

ท่านบอก
“แต่เวลาพูดจำเป็นต้องเรียบเรียงเรื่องให้คนฟังเข้าใจ ไม่รู้จะอธิบายยังไง เพราะไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบกับสิ่งที่มีอยู่ในโลก เพราะเป็นของเหนือโลก”…

คืนนั้น ท่านกราบนอบน้อมถึงคุณพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ถึงคุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ท่านบอกในขณะจิตนั้นพระอรหันต์ทุก ๆ ๆ องค์ ได้มาช่วยหนุนจิตโดยเฉพาะพระหลวงตาทั้งเป็นครูอาจารย์ เป็นพ่อ เป็นพี่ชายในสายโลหิต(เลือด) เดียวกันในชาติปัจจุบัน คืนนั้นท่านไม่นอนทั้งคืน…

พบพระหลวงตาอีกครั้ง กราบเรียนท่านถึงสภาวธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น…พอจบ”
พระหลวงตาพูดขึ้น “อ้ายหมดห่วงแล้ว”(พี่หมดห่วงน้องแล้ว)…

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขอเชิญฟังหลวงตามหาบัวสวดให้พรมงคลจักรวาลน้อยครับ

_/I\_ _/I\_ _/I\_

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เทศน์อบรมพระสงฆ์กัณฑ์สุดท้าย ของหลวงตามหาบัว : พระอรหันต์ว่างในจิต

>>> ฟัง & โหลด MP3 <<<

เทศน์อบรมพระสงฆ์ ณ วัดป่าบ้านตาด

เนื่องในวันอธิษฐานเข้าพรรษา

เมื่อเย็นวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓

พระอรหันต์ว่างในจิต

วันนี้วันเริ่มเข้าพรรษาแล้วนะ พระเณรเราให้ต่างองค์ต่างเข้มงวดกวดขันในข้อวัตรปฏิบัติ กำจัดกิเลสตัวขี้เกียจขี้คร้านออกให้หมด ทำความเพียรตลอดเวลาเว้นแต่หลับเท่านั้น ให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติกำจัดกิเลสตัวขี้เกียจขี้คร้านเป็นตัวสำคัญมากทีเดียว ให้พากันกำจัดนี้ออกให้ได้ การประกอบความเพียรตามแต่ความสามารถของผู้ใด อันนี้กำหนดให้ไม่ได้นะ ประกอบความพากความเพียรนี้เอาเสียจน.. คือเอากำลังเจ้าของเป็นประมาณเลยเรื่องความพากความเพียร บางคืนไม่นอนก็มีประกอบความเพียรตลอดเวลา นี่เรียกว่าความเพียร เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา เอาธรรมะนั้นละเข้าเป็นหลักเกณฑ์ในหัวใจ ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ

ไม่ไปไหนด้วยในพรรษานี้ เข้าพรรษาที่นี่ไม่ไปแรมวันแรมคืนที่ไหน อยู่นี้เป็นประจำ ประกอบความพากเพียรประจำอิริยาบถของตนในบริเวณที่เราจำพรรษานี้นะ ให้พากันตั้งอกตั้งใจ การประกอบความพากเพียรเป็นของสำคัญมาก กิเลสตัวใดก็ตามจะไม่หลุดลอยไปจากความเพียรนี้ได้เลย ความเพียรเป็นของสำคัญ กำจัด(กิเลส)ให้หมดจากหัวใจ เมื่อกิเลสหมดไปจากหัวใจแล้วจิตใจว่างเปล่า ท่านทั้งหลายฟังคำนี้ให้ดีนะ

พอจิตใจว่างจากกิเลสไปหมดแล้วทีนี้โลกว่างหมด จิตใจว่างหมดเลย เรียกว่าหมดงานทำ ไม่มีงาน พระอรหันต์หมดงานทำ ไม่มีงานใดมาทำอีกแล้ว กิเลสตัวเป็นข้าศึกต่อความพากความเพียรก็กำจัดมันออกหมด เพราะอันนั้นเป็นกิเลสเอาให้ขาดสะบั้นไปจากจิตใจหมดแล้วว่างเปล่าหมด ท่านผู้สิ้นกิเลสแล้วท่านไม่มีงานล่ะ จิตใจท่านว่างหมด เรียกว่าจิตใจว่าง โล่งหมดเลย อยู่ที่ไหนว่างตลอดเวลา ท่านไม่มีงานทำล่ะ พระอรหันต์สิ้นกิเลสแล้วหมดงาน ไม่มีงานอะไรที่จะทำอีก งานก็คืองานแก้กิเลส กิเลสสิ้นไปหมดแล้วก็ไม่มีอะไรเป็นงานเป็นการให้ยุ่งยากปากหมองเหมือนแต่ก่อน ให้พากันตั้งอกตั้งใจ

พอจิตว่างจากกิเลสนี้แล้วมันว่างหมด จิตนี้ว่างเปล่าไปหมดเลย โล่งหมดเลยจิต ให้มันเป็นในหัวใจล่ะมันชัดเจนเอง ดูในหัวใจใครก็ไม่เหมือนดูในหัวใจเราที่กิเลสสิ้นซากลงไปหมดแล้วจากหัวใจ ใจนี้ว่างหมดเลย ไม่มีงานทำ ว่างตลอดเวลาคือใจพระอรหันต์ที่ท่านสิ้นกิเลสแล้วว่างตลอด ไม่ว่ากลางวันกลางคืนยืนเดินนั่งนอนเป็นเวลาว่างของใจทั้งนั้น ไม่มีอะไรเข้ามาแทรกนะ ให้พากันตั้งอกตั้งใจนะ พูดเท่านี้ละ พูดมากกว่านี้ก็เหนื่อย

พระเท่าไรจำพรรษาที่นี่ (๖๑ ครับ) ๖๑ ไม่มีเณร (เณรหนึ่งครับ) ๖๑ กับเณรหนึ่งเป็น ๖๒ ให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติกำจัดกิเลสออกจากใจนะ อย่าพากันขี้เกียจขี้คร้าน ความขี้เกียจขี้คร้านเป็นข้าศึกของการก้าวเดินเพื่อความพ้นทุกข์นะ ตัวนี้ตัวสำคัญ คือจิตนี้ให้มันว่างเถอะน่ะ ให้รู้ในตัวของเราเอง พอว่างจากกิเลสหมดแล้วนี้ว่างหมดเลย ไม่มีงานทำ พระอรหันต์หมดงาน หมดงานที่จะทำ นอกจากนั้นว่าหมดไม่ได้ สำหรับพระอรหันต์สิ้นหมด กิเลสไม่มีแล้วไม่มีงานทำ ว่างตลอดเวลา จิตใจว่างคือจิตของพระอรหันต์สิ้นกิเลสหมดโดยสิ้นเชิง ให้พากันจำเอาไปปฏิบัติ การประกอบความเพียรอย่าถอยหลัง ให้ก้าวหน้าตลอดไป การถอยหลังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องก้าวหน้าตลอดถึงเรียกว่าเดินเพื่อความพ้นทุกข์ วันนี้มีเท่านั้นล่ะ

เราก็อยากแข็งแรงแต่มันก็อ่อนลงทุกวันๆ ทำอย่างไร มันไม่แข็งแรงล่ะ เรื่องธาตุขันธ์อ่อนลงๆ ทุกวัน แต่จิตใจไม่มี คือจิตใจไม่มีวัย ไม่มีคำว่าอ่อนหรือแข็ง ส่วนร่างกายนี้อ่อนๆ อ่อนลงทุกวัน จิตใจไม่อ่อน เพราะอย่างนั้นท่านจึงเรียกว่านิพพานเที่ยง เที่ยงที่ใจ ใจหมดกิเลสเรียกว่าใจหมดสมมุติ เมื่อใจหมดสมมุติความแปรก็ไม่มี แปรปรวนอะไรไม่มี เที่ยงตรง ท่านว่านิพพานเที่ยง คือใจท่านผู้สิ้นกิเลสแล้วเที่ยง ถ้ายังไม่สิ้นไม่เที่ยง ใจวอกแวกคลอนแคลน ถ้าสิ้นกิเลสแล้วใจก็เที่ยง นิพพานก็เที่ยง ใจก็เป็นธรรมธาตุเที่ยง เป็นเหมือนกัน

เข้าพรรษาละทีนี้ พระก็ไม่ไปแรมวันแรมคืนที่ไหน มีแต่การประกอบความพากเพียร ให้จิตใจสว่างโล่เลย ใครเคยเห็นไหมจิตใจสิ้นกิเลสว่างหมดเลยจิตใจสิ้นกิเลส จิตใจไม่สิ้นกิเลสมีแต่ขวากแต่หนามทิ่มแทงตลอดสายทางเดินของจิต คิดไปไหนมีเสี้ยนมีหนามติดตามไป หาความสุขความสบายไม่ได้ คิดทางดีก็มีเสี้ยนมีหนามตามไป คิดทางชั่วยิ่งแล้ว มีแต่เสี้ยนแต่หนามตามหัวใจไป พอใจสิ้นกิเลสแล้วคิดอย่างไรโล่งหมดเลย นี่ละให้เห็นอย่างนั้นนะ

พูดนี้ท่านผู้ทรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ประเภทนี้ก็คือพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ นอกนั้นไม่มี พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ พระอรหันต์ทุกองค์มีเหมือนกันหมด ว่างหมดเลยพระอรหันต์ว่างในจิต ไม่มีอะไรเสียดแทงใจหัวใจ เป็นจิตใจที่ว่าง นั่นละใครจึงอยากไปแต่นิพพาน นิพพานว่างอย่างนั้นละ ไม่มีอะไรเสียดแทงหัวใจเลย เรียกว่าหมดงาน พระอรหันต์สิ้นกิเลสแล้วหมดงานทำ ไม่มีงานอะไรจะทำ คิดอะไรขึ้นมาเป็นเรื่องกิเลสทั้งนั้นๆ เมื่อกิเลสยังมีอยู่ในใจ พอกิเลสสิ้นจากใจแล้วคิดอะไรก็ไม่มีกิเลส จิตเป็นธรรมแล้ว และเป็นธรรมล้วนๆ เลย เรียกว่าจิตเป็นธรรม คิดอะไรก็เป็นธรรมไปหมด ไม่มีกิเลส

เอามันเห็นนะ ที่พูดนี้มีตัวอย่าง พระอรหันต์เป็นอย่างนั้นละ พระพุทธเจ้า-พระอรหันต์ทุกพระองค์เป็นอย่างนั้นเหมือนกันหมด ไม่มีอะไรจะมาข้องใจ ว่างหมดเลย ให้มันเห็นประจักษ์ในใจ คืออันนี้เป็นได้ในหัวใจของผู้บำเพ็ญนะ ไม่ได้เลือกหน้านะ ใครทำเต็มกำลังความสามารถเป็นได้ด้วยกัน จิตนี้ว่างเปล่าหมดเลย ว่างจากกิเลส ไม่มีกิเลสเหลือแล้วก็ว่างไปหมด จิตว่างก็คือจิตพระอรหันต์ จิตว่างเปล่าไม่มีอะไรกีดขวางหัวใจเลย เป็นจิตที่ว่างเปล่าตลอดเวลา นั่นละเรียกว่าจิตว่างว่างอย่างนั้น กิเลสไม่มี คิดเท่าไรก็เป็นความคิดธรรมดา ไม่มีกิเลสแฝงขึ้นมา ทีนี้จะให้พรแล้วนะ

(ลูกลากลับกรุงเทพเจ้าค่ะ) กลับกรุงเทพ นี่มีกุฏิเราก็จะกลับกุฏิ เรามีกุฏิเราก็กลับกุฏิ

วันนี้วันที่ ๒๗ เข้าพรรษากี่พรรษาแล้วเรา (๗๖ ปี) พรรษา ๗๖ ปีนะ เข้าพรรษา ๗๖ พรรษา นานอยู่นะ ๗๖ ปีบวชมาได้ ๗๖ ปี มันก็มีแต่จะไปหน้าเรื่อยละ ที่ว่าจะสึกออกมาไม่มีทาง คือจิตไม่แย็บเลย มีแต่พุ่งข้างหน้ารอวันตาย ข้างหน้าก็รอวันตาย ไม่ได้ว่ารอวันได้สึกนะ รอวันตาย หมดล่ะ อะไรก็หมด หมดห่วงหมดใย หมดทุกสิ่งทุกอย่างในหัวใจหมดเลย เอาให้มันหมดอย่างนั้น ในจิตในใจกิเลสตัวใดไม่เหลือ หมด หายห่วง โล่งหมดเลย

บวชตั้งแต่แรก  (๒๔๗๗ ๒๐ ปี ๙ เดือนบวช) จากนั้นมาก็เรื่อยเลย จนป่านนี้ล่ะ ได้เท่าไร ๗๖ ปีเราบวชมา โยมแม่อยากให้บวชมาก เราก็มีข้อผูกมัด บวชนั้นบวช อยากสึกเมื่อไรก็สึกเราว่า บวชแล้วอุปัชฌาย์ยังไม่กลับอยากสึกก็สึก แม่ก็สาธุเลย แม่อยากเห็นแต่ผ้าเหลืองเวลาบวช พอบวชไปอยู่ไปจิตใจมันดูดไปนะ ดูดไปข้างหน้าไม่ถอยหลัง มันดูดไปข้างหน้าเรื่อยๆ คำว่าอยากสึกเลยไม่มีนะ มีแต่ดูดเข้าไปข้างหน้าเรื่อยจนกระทั่งทุกวันนี้ คำว่าสึกเลยไม่มี ทุกวันนี้ไม่มี คำว่าสึกไม่มีเลย มีแต่รอข้างหน้า ไปข้างหน้าเท่านั้นเอง

ดีอยู่น่ะล่ะ จิตมันค่อยดื่มด่ำไปเรื่อยๆ มันไม่ถอย บืนไปเรื่อยเลยจนกระทั่งทุกวันนี้ เรื่องบวชก็ดี จิตมันดูดดื่มไปเรื่อย ไม่ปรากฏว่าอยากสึกนะตั้งแต่วันบวชมา คิดว่าอยากสึกไม่มี มีแต่ดื่มเรื่อยๆ จนกระทั่งทุกวันนี้ ทีนี้คำว่าอยากสึกก็เลยไม่มี ไม่มีเลยคำว่าอยากสึกไม่มี มีแต่คอยที่จะไปข้างหน้า ถึงวันตายว่าอย่างนั้นเถอะ อยากสึกไม่มีถึงวันตายเลย มันไม่อยากสึกจะว่าอย่างไร

ไม่มีอะไรล่ะ เลิกกันเท่านั้นละ ให้พากันภาวนานะ เข้าพรรษาแล้วให้พากันภาวนา ตั้งใจภาวนา

อ้างอิง : http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=6110&CatID=3

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คุณแม่จันดี โลหิตดี อริยะเจ้าขนิษฐา ของหลวงตามหาบัว

“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ

ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ

เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น” คุณแม่จันดี วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

ขอเชิญอ่านประวัติคุณแม่จันดี และเรื่องราวของท่าน ผ่านหนังสือ “ขอกราบเทิดทูน”

โปรดคลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายใหญ่  >>>

download : หนังสือ ขอกราบเทิดทูน

*** แนะนำ *** Dhammada News: VDO อริยะเจ้าปาฎิหารย์ เมื่อเกศาหลวงตา และเล็บคุณแม่จันดีกลายเป็นพระธาตุ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

mp 3 (for download) : วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ  จิตไม่ตั้งมั่น

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อก่อนที่หลวงพ่อเคยไปเรียนจากหลวงปู่เทสก์ ท่านสอนบอกว่า เวลาเกิดวิปัสนู*เนี่ย เกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้เรายังไม่ get นะ เวลามันเกิดขึ้นมาจริงๆถึงได้ค่อยๆมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่างความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ในความสบาย ความเย็น ความโล่ง ความว่าง หลงไปสารพัดรูปแบบเลย จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไรจิตตั้งมั่น มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห็นมาด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

เสร็จแล้ว เพิ่งมาเจอพระสูตรนี้ ที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย วิปัสนูเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไหลออกไป จิตไม่ถึงฐานนั่นแหละ ที่หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน

เพราะฉะนั้นเวลาพวกเราภาวนานะ ค่อยๆสังเกต เราดูจิตดูใจ หรือว่าดูกาย ก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไรเนี่ย เกิดวิปัสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสนู ดูกายไม่มีวิปัสนู เข้าใจผิด หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี

ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ แต่เพิ่งเริ่ม เพิ่งเริ่มวิปัสสนาได้ไม่นานนะ ยังไม่ชำนิชำนาญพอเนี่ย สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานเนี่ย มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับแล้วถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไป วับไป มันโล่ง มันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็เลยไปค้างอยู่ตรงนี้เลย คิดว่านิพพาน เอาละเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนามาถึงตรงนี้แล้วคิดว่าเป็นพระอรหันต์นั้นมีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้ว บางคนก็แก้ไม่ได้เพราะไม่ยอมมาเจอเราเลย

มีบางคนไม่ได้มาเจอนะ หลวงพ่อบอกว่าไม่ถูกหรอก โมโหไปเลยนะหายไป หายไปนานๆกลับมาใหม่ บอกว่าสติแตกมาแล้ว ไม่ใช่แล้ว รู้แล้วว่าไม่ใช่ ก็บอกไปว่าใช่ มันไม่ใช่หรอก เพราะจิตไม่ถึงฐาน จิตมันไปอยู่นอกๆ

ทีนี้คนที่ไปเจอวิปัสนูว่างๆ ก็จะเกิดความสำคัญผิดว่าบรรลุพระอรหันต์ แล้วจะคิดว่า โอ้..เอาใจไปอยู่ในความว่างนี้แหละ คืออยู่กับนิพพาน อยู่กับสุญญตา นี่เป็นทางลัด ไม่ต้องมามีสติรู้กายรู้ใจก็ได้ ไปดูความว่างเอาไว้ นี่พวกนี้เป็นวิปัสนูนะ

ถ้าไปดูความว่างอยู่เนี่ย มันเดินปัญญาต่อไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่นะว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะหลุดออกมาเลยนะ

*หมายเหตุ ‘วิปัสนู’ เป็นการเรียก วิปัสนูปกิเลส อย่างย่อๆ ซึ่งมาจากคำว่า วิปัสสนา กับคำว่า อุปกิเลส แปลว่า กิเลสละเอียดที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๐
File: 520621.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราเกิดมาทำไม?

mp 3 (for download) : เราเกิดมาทำไม?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ชาวพุทธมีบุญนะ ชาวพุทธนั้นเป็นคนมีบุญ เรารู้ว่า อะไรเป็นสาระแก่นสารของชีวิต อะไรเป็นสาระ อะไรไม่ใช่สาระ อะไรมีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์ อะไรอยู่ในลู่ในทาง อะไรนอกลู่นอกทาง ชาวพุทธที่ดีจะรู้สิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นเราจะไม่ได้มีชีวิตแบบตามยถากรรม

คนซึ่งไม่มีหลักของทางจิตใจนั้น เหมือนมีชีวิตตามยถากรรม อยู่ไปวันๆหนึ่ง เกิดมาก็โตไป กินข้าวแล้วก็โตไป ตามยถากรรมนะ เรียนหนังสือตามยถากรรม ออกมาทำงาน มีครอบครัว มีลูกมีเมีย แย่งชิงกันไป แล้วก็แก่ไปตายไป ตามยถากรรม ไม่มีอะไร นะ ไม่มีอะไรในชีวิตเลย ไร้สาระ

พวกเราได้ฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้าสอน เรารู้ว่าอะไรเป็นสาระเป็นแก่นสาร ทุกคนเกิดมา เรามีเป้าหมายในชีวิต เรารู้ว่าเราเกิดมาทำไม เรารู้กระทั่งว่า “ทำไมถึงเกิดมา” รู้ลึกซึ้งนะ

หลวงพ่อเคย คราวหนึ่งไปนั่งอยู่กับหลวงปู่เทสก์ ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งนะ สงสัยชีวิตจะมีความทุกข์มาก ร้องไห้นะ ร้องโฮ โฮ โฮ มา มาหาหลวงปู่

“หลวงปู่.. ทำไมหนูต้องเกิดมา..”

“เพราะไม่รู้.. เพราะไม่รู้”

“ทำไมหนูต้องเกิดมา..” ซ้ำอีก หลวงปู่ก็บอก “เพราะไม่รู้..”

“หลวงปู่ไม่รู้แล้วใครจะรู้..” ว่าอย่างนี้

ความจริงท่านตอบให้เรียบร้อยแล้วนะ เพราะความไม่รู้ ถึงเกิดมานะ เกิดอะไร เกิดทุกข์นั่นแหละ จะเกิดอะไร

คนไหนความจำดีๆ เกิดระลึกชาติได้ บางคนระลึกชาติได้ ความจำดีๆ แล้วจะรู้สึกเลยว่า ชาติไหนที่ไม่ได้เจอพระพุทธศาสนานะ ชีวิตมันวังเวง มันรู้สึกวังเวงนะ มันไม่ได้ชั่วนะ จะชั่วจะดีมันก็แต่ละคนมันก็อบรมของตัวเองมา กระทั่งคนดีๆนั้นแหละ ชาติใดไม่ได้เจอพระพุทธศาสนา มันรู้สึกวังเวง ไม่รู้ว่าอยู่ไปทำอะไร ก็ทำคุณงามความดีไปนั้นแหละ แต่ไม่รู้เป้าหมายของชีวิต

พระพุทธเจ้ามาสอนเรานะ ให้เรารู้ว่าเป้าหมายของชีวิตเรานี้คืออะไร บางคนก็ถาม เกิดมาทำไม เกิดมาทำอะไรก็ช่างมันเถิดนะ แต่ว่าจริงๆ ทุกคนมีเป้าหมายของชีวิตที่จะต้องพัฒนาจิตใจของตัวเองไปสู่ความพ้นทุกข์ให้ได้

ทำไมเราต้องมีชีวิตที่อมอยู่กับความทุกข์ เหมือนคนอมโรค เรื่องอะไรต้องทำอย่างนั้น เราสามารถมีชีวิตที่มีความสุขได้ คนไหนได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้านะ จะได้รับประโยชน์ ได้รับความสุข

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า เวลาท่านจะส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาเนี่ย ท่านก็บอกพระสาวก มอบหมายหน้าที่ให้ บอกว่า ให้ไปประกาศธรรมะ ที่งามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ของมหาชนจำนวนมาก

เห็นมั้ย สิ่งที่จะได้จากการฟังธรรมนะ คือ ประโยชน์ ความสุข ประโยชน์หมายถึงว่าอะไร หมายถึงต้องมีชีวิตที่ดีขึ้น แล้วก็ไม่ใช่มีชีวิตที่ดีขึ้นแบบเป็นทุกข์ด้วย ต้องมีความสุขด้วย

บางคนเข้าใจผิด เห็นศาสนาพุทธสอนเรื่องความทุกข์เยอะ ก็เลยว่าศาสนาพุทธเนี่ย มองโลกแง่ร้าย ความจริงไม่ได้มองโลกแง่ร้าย ท่านให้เรียนรู้ปัญหา ชีวิตมันมีปัญหานะ เรียนรู้ลงมา เรียนรู้ลงมา ชีวิตมีความทุกข์ ก็เรียนรู้ลงมา ความทุกข์อยู่ในกายในใจ รู้อยู่ที่กายที่ใจนี้ เรียนรู้ไปเรื่อยๆนะ แล้วก็ความทุกข์มันจะค่อยๆ หายไป

แต่เดิมหลวงพ่อพูดอย่างนี้นะ พูดแล้วก็ ต้องออมๆหน่อย พูดมากไม่ได้ ถึงวันนี้หลวงพ่อกล้าพูดเต็มปากเต็มคำ เพราะหลวงพ่อมีพยานเยอะแยะเลย ว่าถ้าศึกษาปฏิบัติธรรมแล้วจะมีความสุข มีความสุขมากที่สุดเลย

อย่างคนที่ได้ศึกษาได้ฟังธรรมกับหลวงพ่อนะ สักพักเดียว ไม่นานหรอกนะ บางคนฟังครั้งเดียว สองครั้ง บางคนปฏิบัติตามดูจิตดูใจสักเดือนหนึ่ง บางคนแค่ฟังซีดีนะ แล้วก็คอยสังเกตจิตใจตนเองไปเรื่อยๆ ก็มาบอกหลวงพ่อเรื่อยๆเลยว่า จิตใจของเขาเปลี่ยนไป เคยมีความทุกข์มากก็ทุกข์น้อยนะ เคยทุกข์นานๆก็ทุกข์สั้นๆ เนี่ย หลวงพ่อมีพยานเยอะนะ ว่าปฏิบัติธรรมแล้วมันพ้นทุกข์จริงๆ ไม่ใช่หลับหูหลับตาทำไปเถอะ ทุรนทุรายลำบากไปสารพัดนะ แล้วหวังว่าชาติหน้ามันจะสบายกว่านี้ ตายแล้วมันจะดีกว่านี้

ศาสนาพุทธไม่ได้อนาถาถึงขนาดที่ว่า ต้องตายก่อนแล้วถึงจะดี เราสามารถดีได้ในปัจจุบัน สามารถมีความสุขได้ในปัจจุบัน พิสูจน์ได้ด้วยตัวเองเลยเห็นมั้ย ถ้าหากบอกว่า เอ้า..ทำดีไปนะ สร้างคุณงามความดีสารพัดไป เดี๋ยวชาติหน้าจะดี พิสูจน์ยาก ใช่มั้ย พิสูจน์ยาก

แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้านะ ผู้ปฎิบัติสามารถเห็นได้ด้วยตัวเอง ในชีวิตนี้แหละ เห็นในปัจจุบันนี้แหละ บางคนศึกษาธรรมะเพียงเดือน สองเดือน ก็เปลี่ยน ตัวเองเปลี่ยนแปลง ที่วัดหลวงพ่อนี้มีมารายงานเยอะแยะเลย ชีวิตจิตใจนี้เปลี่ยน ตัวเองรู้สึกได้ คนในบ้านรู้สึกได้

มีผู้หญิงคนหนึ่งนะมาเรียนสองสามครั้งมั้ง เสร็จแล้วก็ วันหนึ่ง พาพี่สาวมาด้วย พี่สาวตามมา แล้วไปเล่าให้แม่ชีนุชฟัง พี่สาวก็บอกเลยเนี่ย คนนี้เหรอ เมื่อก่อนร้าย เห็นแก่ตัว ไม่ดีอย่างโน้น ไม่ดีอย่างนี้นะ แหมบรรยายต่อหน้าเลยนะ ไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ดีขึ้น ก็เลยต้องมาฟังธรรมบ้าง เพราะว่ามันเปลี่ยนจริงๆ เปลี่ยนคนได้นะ ธรรมะของพระพุทธเจ้านะเปลี่ยนคนได้ และคนที่จะเปลี่ยนได้คือคนซึ่งลงมือศึกษาปฎิบัตินี่ล่ะ เปลี่ยนจริงๆ

พวกศาสนาอื่นนะ สมัยพุทธกาล ถึงกับเตือนกันว่าอย่ามาฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีมนต์เปลี่ยนใจ ถ้ามาพบพระพุทธเจ้าแล้วเปลี่ยนใจ เลิกนับถือศาสนาเก่าๆ

ทำไมล่ะ เพราะว่าศาสนาพุทธนี้สมบูรณ์ด้วยเหตุด้วยผล พิสูจน์ได้ด้วยตัวของเราเอง เส้นทางที่จะพิสูจน์ก็ไม่ได้ยากลำบากเกินไป แค่มีสติขึ้นมาแล้วรู้สึกกายรู้สึกใจไป กายเป็นอย่างไรก็รู้ว่าเป็นอย่างนั้น จิตเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ตามรู้ตามดูอย่างนี้เรื่อยๆ รู้สึกตัวไปแล้วคอยรู้ไปเรื่อยๆ ชีวิตจิตใจจะเปลี่ยน แล้วก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วด้วย


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๓
File: 510817.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิโรธมีห้าระดับ

นิโรธมีห้าระดับ

นิโรธมีห้าระดับ

mp 3 (for download) : นิโรธมีห้าระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ใจของเราบางครั้ง ก็เข้าถึงนิโรธเหมือนกัน เช่น เรารู้สึกตัวขึ้นมา กิเลสดับวับลงไป ใจโล่ง ว่าง สว่าง ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีอะไร ชั่วแว่บหนึ่งนั้น มันก็เป็นนิโรธเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ถึงขนาดนิพพาน นิโรธมี ๕ ระดับ

ยกตัวอย่าง ถ้าเรามีสติ ระลึกรู้สภาวะปั๊บ ใจเข้าถึงนิโรธ กิเลสดับลงไปตรงนั้น ความทุกข์ดับลงไปนะ มันเป็นนิโรธชนิดที่สอง มีห้าอัน นิพพานเป็นนิโรธอันที่ห้า ชนิดที่สามก็คือ นิพพานในขณะที่เกิดมรรค คือนิโรธในขณะที่เกิดอริยมรรค หรือบางทีก็วิมุติ ใช้คำเดียวกัน วิมุติมีห้าอัน นิโรธมีห้าอัน

อีกอัน อันที่สี่ก็คือ การเห็นนิโรธหรือนิพพานในขณะที่เกิดอริยผล อันที่ห้าก็คือนิพพาน อันที่หนึ่งก็คือ การสงบจากกิเลสเพราะการทำสมถะ ก็ถือว่าเป็นนิโรธเหมือนกัน เป็นวิมุติเหมือนกัน เป็นวิมุติขั้นต้นที่สุดเลย ข่มลงไปด้วยสมถะ

อันที่สอง รู้ด้วยสติ แล้วมันไม่ปรุงแต่งชั่วแว้บหนึ่ง แว้บเดียว ทีนี้เราไม่สามารถทรงอยู่กับแว้บเดียวนี้ได้ เพราะความปรุงแต่งอันใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเลย เพราะฉะนั้นก็สู้กันได้ทีละขณะ ทีละขณะ เป็นคราวๆไป

ตอนเกิดอริยมรรค อริยผล เวลาเกิด เกิดคู่กัน ต่อเนื่องกันเลย เกิดอริยมรรค อริยผล จิตไปเห็นนิพพาน คราวนี้เห็นนานหน่อย เห็นสองสามแว้บ นี่ขนาดนานนะ สองสามแว้บ เห็นแค่นั้น ไม่เห็นเยอะหรอก แล้วความปรุงแต่งก็กลับเข้ามาห่อหุ้มจิตใหม่ ได้สกิทาคาฯก็หลุดออกมาอีก เห็นนิพพานอีกสองสามแว้บนะ

ครูบาอาจารย์ท่านถึงบอกว่า เอ๊ะ เคยเห็นนะ แต่ไม่เข้าใจน่ะ บางครั้ง พอได้โสดาฯ สกิทาคาฯ ได้อนาคาฯแล้วเนี่ย บางครั้งใจก็เข้าไปรู้นิพพานได้ แต่ปุถุชนเข้าไปรู้นิพพานไม่ได้นะ เข้าไปรู้ได้แค่ช่องว่าง ที่พวกเราชอบบอกว่าไปอยู่กับสุญญตา สุญญตา น่ะ นั่นสุญญาตาตัวปลอม มันแค่ช่องว่าง ที่จริงไม่ใช่สุญญตา มันคืออากาสาฯ อากาสานัญจายตนะ

แต่ว่าพระอริยะบุคคลเนี่ย ถ้ามนสิการถึงนิพพานแล้วเห็นได้ เห็นได้เป็นคราวๆ บางครั้งก็ภาวนา รู้กายรู้ใจ แล้วก็เพิกถอน วางกายวางใจลงไป ใจก็ไปเห็นนิพพาน พอเห็นนิพานแล้วก็ถอยออกมานะ ไม่รู้ว่าจะเอาไว้ใช้ประโยชน์อะไร ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร ท่านถึงบอกว่าท่านด่าตัวเองว่า “โง่แท้น้อ” เห็นอยู่นะแต่ไม่รู้ ไม่เข้าใจมัน ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นภาวนามากๆเข้า ในที่สุด เกิดความเข้าใจ เข้าใจในนิพพาน เรียกว่ามีวิมุติญาณทัสนะแจ่มแจ้ง ก็พบว่า อ้อ ไม่เคยหายไปไหนเลย เราต่างหากละเลยไม่สนใจ ไม่เห็นประโยชน์

หลวงปู่ดูลย์เคยบอก เรื่องประหลาดนะ หลวงปู่ดูลย์เนี่ย อยู่บ้านนอก อยู่ป่า อยู่เขามาตลอดชีวิตนะ ไม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อะไร ท่านวิจารณ์ไอน์สไตน์ได้นะ ท่านคงพิจารณาของท่านเอง บอกว่า ไอน์สไตน์นั้นเก่งนะ เก่ง สามารถพิจารณาพิจารณาไปถึงนิพพานได้ แต่เขาไม่เห็นประโยชน์ เขาไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร เขาเลยไม่เอา ท่านวิจารณ์อย่างนี้

สิ่งที่ปิดบังนิพพานไว้นะ ก็มี รูปนาม ขันธ์ ๕ กับสมมุติบัญญัติ ไอน์สไตน์เก่งนะ ถึงขนาดมองว่า ตัวเราที่แท้จริงเป็นแค่เศษธุลีในจักรวาล เล็กนิดเดียวไม่มีนัยะอะไร เป็นแค่เศษธุลีในจักรวาล แต่ความสำคัญตัว สำคัญมั่นหมายขึ้นมา ว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ มนุษย์ก็เลยแยกตัวเองออกจากสิ่งที่แวดล้อม เกิดเรา เกิดเขา เกิดสิ่งแวดล้อมขึ้นมา

ไอน์สไตน์มองไปเห็นว่าตัวตนที่แท้จริงไม่มีหรอก เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลชั่วขณะ สัมพัทธ์ชั่วขณะแล้วก็ดับสลาย นี่หลวงปู่ดูลย์ท่านวิจารณ์นะ ประหลาด เรายังไม่เคยอ่านเลย

อีกองค์นะ วิจารณ์เรื่องเบอร์มิวด้า ประหลาดนะ พระอยู่ในป่า ไม่เคยรู้หนังสือไม่เคยอะไร ทีนี้หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ไอน์สไตน์ ไม่รู้มรรค แล้วก็ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร เขารู้จักแต่ประโยชน์ที่จะเอาออกมาทำงานทางโลกนี่


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๘
Track: ๑
File: 500114A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน อย่าให้เกินนี้ออกไป

mp3 (for download) : มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน อย่าให้เกินนี้ออกไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อเคยศึกษากับท่านอาจารย์มหาบัว ท่านเคยสอนหลวงพ่อ การปฏิบัติมีนิดเดียว “มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน” ประโยคสั้นนิดเดียวนะ บางองค์สั้นกว่านี้อีกนะ มีหลวงปู่ทา ตอนนี้ยังอยู่ อยู่ถ้ำซับมืด “มีสติรักษาจิต” สั้นนิดเดียว หลวงปู่ดุลย์ก็สั้นนะ “ดูจิต” สั้นนิดเดียว

จริงๆ ธรรมะไม่ได้มีอะไรมากมาย แต่ว่าหลักของการปฏิบัตินี่สั้นนิดเดียว ถ้ายังดูจิตไม่ได้ก็ดูกาย อย่าให้เกินกายออกไป เพราะฉะนั้น อย่างอาจารย์มหาบัวท่านสอนนะ ท่านตีกรอบเลย อย่าให้เกินกายออกไป รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ลงเป็นปัจจุบันด้วยนะ ไม่ใช่กายกับใจเมื่ออดีตเมื่ออนาคตนะ รู้ลงปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเป็นของจริง อดีตอนาคตมันไม่ใช่ของจริงแล้ว ให้รู้ลงกายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน อย่าให้เกินนี้ออกไป ถ้าเกินนี้ออกไปก็ไม่ใช่วิปัสสนา อย่างจะไปรู้ความว่าง ไปรู้สุญญตา รู้อะไรอย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไว้ ท่านสอนให้รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม ก็คือเรื่องของกายกับใจล้วนๆ นั่นเอง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๗

491217

1.35 – 2.52

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าท้อแท้ เมื่อก่อนครูบาอาจารย์ท่านก็ล้มลุกคลุกคลานมา

mp3 (for download) : อย่าท้อแท้ เมื่อก่อนครูบาอาจารย์ท่านก็ล้มลุกคลุกคลาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นจิตใจว้าวุ่น ไหว้พระสวดมนต์ก็ได้นะ นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงครูบาอาจารย์ให้เกิดกำลังใจ ครูบาอาจารย์เมื่อก่อนก็เหมือนเรานี้เอง ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดเวลาเหมือนกัน ไม่มีใครนะลอยฟ้ามาตรัสรู้ไม่มีหรอก มีแต่ล้มลุกคลุกลานมาทุกคนแหละ ทำไมเค้าผ่านได้ เค้าก็เป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกันนะ ฝึกอบรมใจ สอนใจให้มันแข็งแรง อย่าท้อแท้ พอใจแข็งแรงเข้ามาคราวนี้จะโดดเข้าสู้ครั้งใหม่ สู้จนสะบักสะบอม หมดเรี่ยวหมดแรง ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนใจมันยอม โอ้ ไม่ใช่ตัวเรานะ บังคับไม่ได้จริง ๆ สู้ไป

CD สวนสันติธรรม 10

481002A

25.49 – 26.39

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้อเตือนใจ:-จิตตั้งมั่นนานๆแล้วนิ่งให้ระวัง

MP3 (for download): ข้อเตือนใจ:- จิตตั้งมั่นนานๆแล้วนิ่งให้ระวัง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

“ผู้ใดเห็นว่าจิต(ผู้รู้)เที่ยง ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่” : หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

หลวงพ่อปราโมทย์: แต่ถ้ารู้นะ รู้อยู่ห่างๆ นะ จิตตั้งมั่นอยู่แล้วเห็นทุกอย่างมันทำงานอยู่ ถึงจะเป็นวิปัสสนา แต่ตรงที่จิตตั้งมั่นอย่าให้ตั้งนาน ไม่ใช่ตั้งหลายๆ วันนะ แล้วก็นิ่งอยู่อย่างนั้นเอง เราจะเห็นทุกสิ่งเป็นไตรลักษณ์แต่จิตเที่ยงอยู่อันเดียวก็ใช้ไม่ได้อีก กลายเป็นว่าจิตเที่ยง จิตเที่ยงก็ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ

มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่งนะ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ สอนดี ท่านบอกว่า ถ้าใครเห็นว่าจิตผู้รู้เที่ยงถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ใครเห็นจิตเที่ยงเป็นมิจฉาทิฏฐิ จิตเกิดดับตลอดเวลา จิตไม่เที่ยงหรอก เพราะฉะนั้น อย่าไปประคองให้เที่ยง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อเล่าเรื่องครูบาอาจารย์สอนธรรมะ

MP3 (for download): หลวงพ่อเล่าเรื่องครูบาอาจารย์สอนธรรมะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อไม่ได้เรียนอะไรมากนะ ครูบาอาจารย์แต่ก่อนไม่สอนเยอะอย่างหลวงพ่อหรอก ครูบาอาจารย์สอนไม่มาก สอนนิดเดียวแต่ละองค์

หลวงปู่ดูลย์ บอกให้ไปดูจิต อย่าส่งจิตออกนอก ไปดูจิต สอนนิดเดียว

หลวงปู่ทา บอกมีสติรักษาจิต นี่สอนนิดเดียว

หลวงปู่เทสก์ สอนนะ จิตอันใด ใจอันนั้น จิตเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ใจเป็นผู้รู้ ภาวนาไปจนเข้าถึงความเป็นใจ เป็นกลาง ท่านอธิบายดีนะ คำว่าใจ ท่านแปลว่ากลาง ใจกลาง เคยได้ยินไหม คำว่าใจคือกลาง ภาษาโบราณเลย คนไทยเก่งจริงๆ เพราะฉะนั้น โดยตัวใจนี่เป็นตัวกลาง ภาวนาไปจนใจเข้าถึงความเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง ก็พ้นจากทุกข์ทั้งปวง นี่ท่านสอน นี่แต่ละองค์สอนไม่มากหรอกนะ

หลวงปู่บุดดา ก็สอนน่าฟังนะ กายเดียว จิตเดียว หนังผืนเดียว สอนฟังแล้วน่าฟังดี

ธรรมะจริงๆ สั้นนะ ธรรมะยาวๆ นี่เป็นธรรมะสนองกิเลส ยาวๆ ที่หลวงพ่อเทศน์นี่ สนองกิเลสโยมนะ เพราะโยมมาแล้ว ถ้าหลวงพ่อบอกว่า เอ้า ทุกคนดูใจตัวเองไป หลวงพ่อก็จะนั่งดูของหลวงพ่อ อย่างนี้ไม่ได้ ไม่สนองกิเลส ต้องโวยวายเลย บางวันหลวงพ่อเลิกเร็วหน่อยยังไม่ยอมเลย จะประท้วง ดีนะ ไม่มีประธาน ไม่อย่างนั้นบอกท่านประธาน ขอประท้วงหลวงพ่อ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตที่ถูกต้องได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

mp3 (for download): การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อขอยกตัวอย่างกรรมฐานอันหนึ่งก็คือการดูจิต ถ้าเราดูจิตเป็นนะเราจะมีทั้งศีลทั้งสมาธิทั้งปัญญา นะ ทำอันเดียวนี้แหละ ได้หมดเลย นะ แต่ต้องทำให้เป็นนะ ทำยากเหมือนกันแหละ

ขั้นแรกเลยเราหัดรู้จักจิตใจของตนเองก่อน นะ ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เกิดลอยๆอยู่ในอากาศหรอกนะ มันอยู่ที่จิตที่ใจเราเนี่ยเราต้องให้พัฒนาขึ้นมาที่จิตที่ใจของเรา คุณงามความดี กุศลทั้งหลาย เกิดที่จิตเรานี่แหละ ไม่ได้ไปเกิดที่ร่างกายหรือเกิดที่อื่น นะ เพราะฉะนั้นเราเรียน ถ้าเรียนเอาให้เร็วๆนะ เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตนเอง ขั้นแรกเลยหัดสังเกตสภาวะไปเรื่อยๆ จิตมันโลภขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันหลงไปละ คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ไป ก็รู้ว่ามันหลงไปคิด จิตฟุ้งซ่านรู้ว่ามันกำลังฟุ้งซ่านอยู่ จิตหดหู่รู้ว่ามันหดหู่อยู่ จิตเป็นสุขรู้ว่ามันเป็นสุขอยู่นะ จิตเป็นทุกข์รู้ว่ามันเป็นทุกข์อยู่ จิตเฉยๆรู้ว่าจิตเฉยๆ นะ หัดรู้ทันสภาวะของจิตใจไปเรื่อยๆ อย่าไปคาดหวังว่าจะรู้ไปถึงเมื่อไร รู้แล้วจะได้อะไร หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆนะ

ตอนนี้มีคนที่ฟังหลวงพ่อ ฟังด้วยต่อหน้าต่อตาแบบนี้บ้าง ฟังจากซีดีบ้าง คนฟังจากซีดีก็เยอะ นะ เมื่อวันจันทร์หลวงพ่อไปเทศน์ที่สระบุรี มีคนที่อยู่ทางโน้นนะ บางคนไม่เคยมาฟังที่นี่ นะ ไม่เคยเจอหลวงพ่อด้วย ฟังแต่ซีดีนะ เขาฟังแล้ว ได้ยินว่าให้หัดรู้สภาวะ รู้สภาวะ เขาก็หัดดูสภาวะไป นะ อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้เรื่อยๆนะ คอยรู้ไป โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่านหดหู่ สุขทุกข์ อะไรอย่างนี้ ดีใจ เสียใจ ยินดียินร้าย อะไรๆเกิดขึ้นในจิตในใจเขาคอยดูเรื่อยๆ ปรากฎว่าจิตของเขาตื่นขึ้นมา นะ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขึ้นมา นะ อันนี้เขาได้สมาธิแล้วนะ ได้สมาธิแล้ว

ถัดจากนั้นคือขั้นเจริญปัญญา นะ ทีนี้เราหัดดูสภาวะบ่อยๆ ต่อไปเนี่ยไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในจิตของเรา แม้แต่นิดเดียว สติจะระลึกได้เอง เราต้องฝึกจนสติเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติถึงจะเรียกว่าใช้ได้ ถ้าสติยังไม่อัตโนมัตินะ หัดดูสภาวะไปเรื่อย มันโลภแล้วก็รู้ รู้บ้างหลงบ้างนะ มันไม่ได้รู้ตลอดเวลาหรอก นะ เราเคยชินที่จะหลง มันหลงตลอดวันน่ะ ส่วนใหญ่นานๆรู้ทีหนึ่ง นะ

วิธีที่จะช่วยให้เรารู้ได้บ่อยๆนะ คือ หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง เรียกว่า วิหารธรรม นะ หาวิหารธรรมมาสักอันหนึ่ง อาจจะอยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ อยู่กับท้องพองยุบก็ได้ ขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ เดินจงกรมแล้วเห็นร่างกายเดินก็ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ไปเรื่อยๆก็ได้ หัดรู้สภาวะอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไว้ นะ คอยรู้ทันจิตเป็นตัวหลัก นะ เอาวิหารธรรม เอาเครื่องอยู่นี้เป็น Background เป็นพื้นหลังเท่านั้นเอง เป็นฉากหลัง นะ

เช่น เราคอย พุทโธ พุทโธ ไปนะ แล้วจิตมันหนีไปคิด เราก็รู้ทันว่าจิตหลงไปคิดแล้ว นี่คือการหัดรู้สภาวะ นะ อ้อ..จิตหลงไปคิดหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง มาพุทโธ พุทโธ อีก หลงไปคิด คราวนี้ไม่ทันรู้ทัน หลงไปคิดเรื่องนี้แล้วเกิดความโลภ มีสติแล้วไปรู้ทันอีก โอ้..นี่โลภเกิดขึ้นแล้ว เนี่ยจิตจำสภาวะของความโลภได้ ต่อไปความโลภเกิดนะ สติก็เกิดเอง

บางทีหลงไปคิด แล้วก็รู้ไม่ทันความโกรธเกิดขึ้น เกิดรู้ทันว่าจิตกำลังโกรธอยู่ อ๋อ..ความโกรธหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง นะ จิตจำสภาวะของความโกรธได้แม่น ต่อไปพอจิตมันโกรธขึ้นมานะ สติระลึกได้เองว่า อ้อ..โกรธไปแล้ว ไม่ได้เจตนารู้เลยนะ มันรู้เอง อ้าวโกรธไปแล้วนี่ โลภไปแล้วนี่ หลงไปแล้วนี่ ฟุ้งซ่านไปแล้ว หดหู่ไปแล้ว ดีใจเสียใจ สุขทุกข์ เฉยๆ ไปแล้ว นะ เฝ้ารู้อย่างนี้เรื่อยๆ

หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งเป็นเครื่องอยู่ของจิต แล้วคอยรู้ทันจิต เหมือนเป็นบ้าน เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับบ้านมากกว่าเจ้าของบ้าน จิตคือเจ้าของบ้าน นะ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจอะไรก็ได้ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วจิตมีปีติ รู้ทัน หายใจแล้วจิตเป็นสุข รู้ทัน หายใจแล้วจิตสงบ มีอุเบกขา รู้ทัน หายใจแล้วไม่ยอมสงบเลย ฟุ้งลูกเดียวเลย ก็รู้ทัน หัดรู้อย่างนี้เรียกว่าหัดรู้สภาวะนะ ต่อไปสติเกิดขึ้นมา

ทีนี้พอสติเกิดเอง แล้วต่อไป กิเลสมันเกิดอีก สติเห็นได้เอง ทันทีที่สติมันไปเห็นเองนะ กิเลสมันจะหายไปละ มันจะครอบงำจิตไม่ได้ นะ ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านเลยสอน สอนดีมาก หลวงปู่ทา อยู่วัดถ้ำซับมืด นี่ ท่านสิ้นไปแล้ว หลวงปู่ทานะ เจอท่านทีไรท่านพูดนิดเดียว บอก “มีสติรักษาจิต” มีสติรักษาจิตนะ ท่านไม่ได้บอกให้เรารักษาจิตนะ ท่านให้มีสติ แล้วสตินั่นแหละรักษาจิต หมายถึงว่า พอกิเลสใดๆเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทันนะ กิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ เมื่อกิเลสครอบงำจิตไม่ได้ เราจะผิดศีลได้มั้ย เราจะผิดศีลไม่ได้ จำไว้นะ

คนทั่วๆไปถือศีลอย่างยากลำบาก รู้สึกศีลเป็นของถือยาก เพราะอะไร เพราะไม่มีสติ แต่ถ้าเราฝึกนะ ตามรู้จิตรู้ใจตัวเองไป รู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นจนมันรู้อัตโนมัติขึ้นมาเนี่ย การรักษาศีลไม่ใช่ของยากอีกต่อไปแล้ว นะ เช่น ใจอยากคุยฟุ้งซ่าน สังเกตมั้ยพูดมากเนี่ย เป็นศีลที่ด่างพร้อยง่ายที่สุด รู้สึกมั้ย พูดเพ้อเจ้อ ศีลด่างพร้อยง่ายที่สุดเลย เพราะเรารู้สึกไม่มีโทษเท่าไหร่ พูดได้ สนุกดี นะ แต่พอต่อไปเรา สติเราเร็วนะ เราเห็นจิตอยากพูดเพ้อเจ้อ เราเห็นละ ความอยากนั้นดับไปนะ เราก็ไม่พูดเพ้อเจ้อแล้ว นี่เป็นตัวอย่างนะ ความโกรธเกิดขึ้นมา เรามีสติรู้ทัน ความโกรธครอบงำจิตไม่ได้เราก็ไม่ด่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ ไม่ไปส่อเสียดใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่ฆ่าใคร เห็นมั้ย เราคอยรู้ทันนะ มีสตินี้แหละ สติรักษาจิตให้มีศีลขึ้นมา นะ

ทีนี้พอเราคอยรู้ทันบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ยจิตจะค่อยๆตั้งมั่น กิเลสนั้นล่ะเป็นตัวลากให้จิตมันไหลไป นะ กิเลสหยาบๆนะมันจะขึ้นมาครอบงำจิตแล้วจะทำให้ผิดศีล ถ้ากิเลสยังไม่หยาบ กิเลสมันละเอียดขึ้นมาเรียกว่านิวรณ์ เช่น กามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น จิตมันอาลัยอาวรณ์ในความสุขทางโลกๆขึ้นมา หรือพยาบาทเกิดขึ้น จิตมันคอยคิดคอยปรุงแต่เรื่องไม่ดี เขาว่าเราเมื่อ ๒๐ ปีก่อน เรายังเจ็บไม่หายเนี่ย เพราะใจมีพยาบาท ถ้าเรามีสติรู้ทันนิวรณ์ที่กำลังปรากฎอยู่ นิวรณ์จะดับไปนะ เมื่อไรนิวรณ์ดับไป เมื่อนั้นจิตตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ สมาธิเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติรู้ทันจิตเรื่อยๆนะ จะเกิดศีลอัตโนมัติ แล้วก็รู้ทันลงไปอีกนะ ถ้านิวรณ์กิเลสละเอียดๆผุดขึ้นมาเรารู้ทัน รู้ทัน รู้ทัน ไปเรื่อยนะ กิเลสพวกนี้ลากจิตให้วิ่งไปไม่ได้ กิเลสนิวรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยมายั่ว ยั่วยวน นะ จนกระทั่งกลายเป็นกิเลสหยาบๆ ลากเอาจิตกระเจิดกระเจิงลงไป แต่ถ้าเรารู้ตั้งแต่มันยังตัวเล็กๆนี่มันลากเอาไปไม่ได้ จิตใจก็สงบสิ ใช่มั้ย จิตไม่ถูกมันลากให้ไปคิดในเรื่องกาม ไม่ถูกให้มันลากไปคิดในเรื่องที่พยาบาท ไม่ลากไปคิดฟุ้งซ่าน ไม่ลากไปคิดหดหู่ ไม่ลากไปคิดเรื่องธรรมะแล้วก็สงสัยอยู่นั้นแหละ ไม่ยอมดู นะ เมื่อจิตไม่ถูกกิเลสลากเอาไป ไม่ถูกนิวรณ์ลากเอาไป จิตก็สงบสิ จิตก็ตั้งมั่นเห็นมั้ย ดูจิตแล้วมีสมาธิขึ้นมา

เมื่อปี ๒๕ นะ ปลายๆปี หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์เป็นครั้งที่ ๓ นะ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๑ เนี่ย ไปช่วงเดือนมาฆะ ช่วงมาฆบูชา ใกล้ๆมาฆบูชา ครั้งที่ ๒ ไปช่วงใกล้ๆวิสาขะ นะ แล้วครั้งที่ ๓ เนี่ย หลังจากออกพรรษาแล้วไป ไปส่งการบ้านท่าน ไปส่งรายงานท่านว่าดูจิตแล้วอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ ท่านก็บอกว่า อ้อ..จิตตรงนี้เข้าสมาธิ นะ จิตเป็นสมาธิ ตอนนั้นหลวงพ่อก็ไปบอกท่านนะ เอ๊..หลวงปู่ผมไม่ได้นั่งสมาธินะ ผมดูจิตอยู่เฉยๆน่ะ ทำไมหลวงปู่ว่าเข้าสมาธิ เราลูกศิษย์ชั้นดีนะ ครูบาอาจารย์บอกอะไร เรายังสงสัยเรายังไม่เชื่อทีเดียว เราฟังแต่ไม่เชื่อ ชาวพุทธต้องหัดนิสัยใหม่นะ ทุกวันนี้เราเน้นเรื่องเชื่อฟัง อย่าเชื่อง่าย เชื่อง่ายไม่ใช่ชาวพุทธแต่ต้องฟังนะ ฟังแล้วพิจารณา ฟังแล้วใคร่ครวญ ฟังแล้วตรวจสอบ นะ เห็นจริงแล้วถึงจะเชื่อ

เพราะฉะนั้นหลวงปู่สอนหลวงพ่อนะ บอกว่าจิตมันทำสมาธิ หลวงพ่อก็ยังสงสัยอยู่ กราบเรียนถามท่าน หลวงปู่ ผมไม่ได้นั่งสมาธินะผมดูจิตอยู่ หลวงปู่บอกว่าการดูจิตนั้นจะได้สมาธิอัตโนมัติ นะ โอ้.. ท่านว่าอย่างนี้นะ น้อมรับมา เดี๋ยวมาดูว่าจริงหรือไม่จริง นะ เนี่ยท่านว่าอย่างนี้เราก็ฟัง นะ ไม่เถียงนะ ไม่ใช่เถียงไม่จริงหรอกครับ ยังไม่ได้พิสูจน์เลยดันไปบอกว่าไม่จริง โง่ อย่างนั้นโง่ นะ ก่อนจะบอกว่าจริงหรือไม่จริงนะต้องพิสูจน์ก่อน

อย่างทุกวันนี้ข่าวลือเยอะนะ ชอบลือว่าคนนั้นเป็นพระอรหันต์ นี่ คนนี้อรหันต์ หลวงพ่อปราโมทย์ก็อรหันต์ หันไปหันมา เชื่อก็โง่แล้ว นะ ถ้าเชื่อก็โง่แล้ว ถ้าไม่เชื่อแล้วก็ไม่จริงหรอก ไม่จริงหรอก อันนี้ก็โง่อีกแบบหนึ่ง ใช่มั้ย ต้อง ต้องดู ใช่มั้ย ต้องตรวจสอบ ต้องพิสูจน์ เนี่ย เราแต่ละคนอย่าเชื่อง่าย

นี่หลวงพ่อก็มาดูๆ ผ่านมา ฝึกมาเรื่อยๆ อ๋อ เราดูจิตดูใจเนี่ย มันพลิกไปพลิกมานะ ระหว่างการเดินปัญญากับการทำสมาธิ ถ้าเมื่อไรจิตไปจับอารมณ์อันเดียวไว้ล่ะก็นิ่ง..หยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้น ในความสงบ ในความว่าง ในความไม่มีอะไร อันนั้นคือการทำสมาธิด้วยการดูจิต นะ หรืออย่างเรารู้ทันกิเลส รู้ทันนิวรณ์ที่จะมาย้อมจิต พอรู้ทันนะ กิเลสนิวรณ์ดับไปเนี่ย จิตสงบ จิตตั้งมั่น มีสมาธิขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นี่ดูจิตก็ได้สมาธิจริงๆอย่างที่ครูบาอาจารย์บอก เห็นมั้ยท่านบอกไม่ผิด ท่านบอกถูก แต่ตอนที่ท่านบอกเรายังรู้ไม่ถึง นะ เราก็มาฝึกเอา ไม่ใช่รู้ไม่ถึงแล้วเถียงไว้ก่อน แล้วก็ไม่ลองทำ อันนั้นใช้ไม่ได้ นะ

ทีนี้ ดูจิตนะ กิเลสหยาบครอบงำจิตไม่ได้ ต่อไปก็มีศีล ดูจิตนะ นิวรณ์เกิดขึ้น รู้ทันนิวรณ์ นิวรณ์สลายไป จิตก็ตั้งมั่น มีสมาธิ เรามาดูจิตต่อไปให้เกิดปัญญาทำได้มั้ย ทำได้ เราจะเห็นว่าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น จิตดวงหนึ่งดับไป อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน นะ จิตนี้ไม่คงที่เลย จิตนี้แต่ละดวง แต่ละดวงเนี่ย เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ จิตไม่ได้มีดวงเดียว มิจฉาทิฎฐิจะเห็นว่าจิตมีดวงเดียวแล้วก็เที่ยง คงที่ถาวร จิตนี้คือตัวเรา เป็นอัตตาตัวตนถาวร

แต่ถ้าเราหัด มีสติ รู้ทันจิตเรื่อยๆ เราจะเห็นว่าจิตไม่เที่ยงหรอก จิตบางดวงมีความสุข จิตบางดวงมีความทุกข์ จิตบางดวงเฉยๆ จิตบางดวงเป็นกุศล จิตบางดวงมีกิเลส นะ คนละดวงกัน จิตที่เป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีกิเลสก็อย่างหนึ่ง จิตที่เป็นกุศลก็ยังมีหลายแบบ เป็นกุศลเฉยๆ เป็นกุศลธรรมดา หรือเป็นกุศลที่ประกอบด้วยสติปัญญา นะ มีสติอย่างเดียว หรือมีสติและปัญญา เนี่ย จิตที่เป็นกุศลก็จะมีสองแบบ นะ

จิตที่เป็นอกุศลก็มีหลายแบบ จิตที่โลภก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่โกรธก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่หลงก็เป็นแบบหนึ่ง นะ แล้วจิตที่หลงมีความพิเศษ จิตอกุศลทั้งหมดจะเป็นจิตที่หลง จิตจะโกรธได้ก็ต้องหลงด้วย จิตจะโลภได้ก็ต้องหลงด้วย เพราะฉะนั้นความโกรธและความโลภไม่เกิดเดี่ยวๆ จะต้องเกิดร่วมกับความหลง เกิดร่วมกับโมหะเสมอ ทีนี้บางทีจิตมีโมหะเฉยๆ ฟุ้งซ่านเฉยๆ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีลังเลสงสัยอยู่ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีมีโมหะขึ้นมา นะ แล้วก็โลภ แล้วก็โกรธ นะ ไม่แน่ แต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยเราค่อยเฝ้ารู้ลงไปนะ จิตที่มีความสุขมันก็แบบหนึ่ง จิตที่มีความทุกข์มันก็แบบหนึ่ง จิตที่เฉยๆก็แบบหนึ่ง จิตที่มีปัญญาก็แบบหนึ่ง จิตที่ไม่มีปัญญานะ มีแต่ความรู้สึกตัวอยู่เฉยๆก็แบบหนึ่ง นะ จิตที่โลภ จิตที่โกรธ จิตที่หลง จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่หดหู่ จิตที่ลังเลสงสัย แต่ละอัน แต่ละอัน คนละแบบกันทั้งนั้นเลย จิตที่กลัวกับจิตที่อิจฉาเหมือนกันมั้ย เอ้อ.. กลัวก็เป็นโทสะเหมือนกันนะ อิจฉาก็เป็นโทสะ แต่เห็นมั้ย ไม่เหมือนกัน ยังมีสไตล์ที่แยกออกไป มีรูปแบบย่อยๆออกไปอีก เพราะฉะนั้นกิเลสนานาชนิด ก็อยู่กับจิตนานาชนิด

เราเห็นลงไป ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ จิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล แต่ละดวงไม่เหมือนกัน ดูจากอายตนะก็ได้ จิตที่ไปดูกับจิตที่ไปฟังก็ไม่เหมือนกัน จิตที่ไปดู จิตที่ไปฟัง กับจิตที่ไปคิด ก็ไม่เหมือนกัน เนี่ยดูอย่างนี้นะ เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยวิธีดูจิตที่จะทำให้เกิดปัญญา คือ ดูให้เห็นเลยว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกันหรอก พอเราเห็นว่าจิตแต่ละดวงไม่เหมือนกันแล้วเนี่ย ต่อไปปัญญามันจะเกิดละ มันจะเห็นว่า อ้อ..จิตที่โลภอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปนะ กลายเป็นจิตเฉยๆ จิตเฉยๆอยู่ชั่วคราวแล้วก็กลายเป็นจิตที่โกรธนะ จิตที่โกรธอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป เกิดเฉยๆอีกละ อะไรอย่างนี้ เนี่ยมันจะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย แล้วจะเห็นเลยจิตนี้เกิดดับอยู่เรื่อยๆ

หรือบางทีจิตก็เกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่ใจ เกิดแล้วก็ดับทั้งสิ้น นะ เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อย เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ จิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ดวงเดียวกัน นะ เห็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เราจะรู้เลยว่า จิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล เกิดแล้วดับทั้งสิ้น การที่เห็นจิตที่เป็นกุศลอกุศลเกิดแล้วดับทั้งสิ้น มันจะไม่ได้รู้แค่จิต เราจะรู้สิ่งที่ประกอบจิตด้วย นะ คือ เจตสิก นะ ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล เราก็จะเห็นด้วยว่ามันเกิดดับไปพร้อมๆกับจิตนั่นแหละ นะ นี่เราจะเห็นทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ นะ ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว นะ ทั้งรู้ ทั้งไม่รู้ นี่ เกิดแล้วดับหมดเลย

การที่เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก วันหนึ่งจิตเกิดปัญญาขึ้นมา มันรู้เลยว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา โดยการที่เราเรียนรู้จิตนี่แหละเป็นตัวหลัก นะ ความจริงเรียนอย่างอื่นก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา อะไรอย่างนี้ก็ใช้ได้นะ แต่วันนี้พูดเรื่องการดูจิตมาตั้งแต่เรื่อง ดูจิตให้เกิดศีล ดูจิตจนเกิดสมาธิ นี่ดูจิตจนเกิดปัญญา เราเห็นจิตเขาเกิดดับ เกิดดับ ไปเรื่อย ในที่สุดปัญญามันเกิด สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร ละสักกายทิฎฐิ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ พอละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ มันจะละมิจฉาทิฎฐิอื่นๆขาดไปด้วย

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๕ (วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒)

File: 521220

ระหว่างนาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คิดว่าจิตไม่ใช่เราอย่างนี้ถูกไหม?

mp3 (for download): คิดว่าจิตไม่ใช่เราถูกไหม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์ฯ

เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์ฯ

โยม: ตอนเจริญสมถะนะครับ ก่อนหน้านี้ผมจะเจริญด้วยลักษณะที่ว่า..พากษ์ตัวเองว่าลมหายใจเข้านี่ไม่ใช่ของเรา พอเห็นจิตมันฟุ้งรู้สึกว่า อ้อ จิตมันคุมไม่ได้นะไม่ใช่ของเรา อย่างนี้ถูกไหมครับ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันนั้นก็ถูกนะ แต่ถูกแบบสมถะ เราสอนมันไปเรื่อย ๆ แล้วจิตก็สงบลงมา

แต่ถ้าวิปัสสนาเนี่ย จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน เรารู้ไปเรื่อย ๆ จนวันนึงเรารู้เองแหละว่ามันบังคับไม่ได้ เราไม่ได้พูดนะ เราไม่ได้สอน

ถ้ายังพูดอยู่ ยังสอนอยู่ ยังเป็นสมถะอยู่ ถ้าวิปัสสนาแท้ ๆ ไม่มีคำพูด ไม่มีการคิด

เจ้าคุณนรฯ เคยได้ยินชื่อท่านไหม เจ้าคุณนรฯ เด็กรุ่นนี้ไม่รู้จักแล้ว เจ้าคุณนรฯ เป็นพระดีนะ อยู่วัดเทพศิรินทร์ ท่านสอนบอกว่าของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง

ใจเรายังพูดอยู่ เห็นไหม ส่วนของจริงเป็นอย่างไร ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นเรารู้เรื่อย ๆ ไป รู้ความรู้สึกนะ ไม่มีคำพูดอะไรหรอก

เราจะเห็นว่าความรู้สึกทุกชนิดเกิดขึ้นล้วนแต่ดับทั้งสิ้น ไม่ต้องพูดนะแต่เราเห็นจริง ๆ อย่างความโกรธเกิดขึ้น เราก็ไปรู้มัน มันก็หายไป หายไปเอง เราไม่ต้องทำอะไร ความโลภความอะไรต่ออะไรเกิดขึ้น เราคอยดูไปเรื่อย มันก็หายไปให้ดู ถึงจุดหนึ่งก็หายหมด เราดูไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จนใจมันเห็นจริงว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับไป ไม่ได้คิดเอา ไม่ได้พูดเอา แต่ใจมันเห็นความจริงนะ

*หมายเหตุ* เจ้าคุณนรฯ คือท่านธมมฺวิตกโกภิกขุ หรือพระยานรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอังคาร ที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม 23
๕๑๐๑๐๑
นาทีที่ ๓๒.๔๑ ถึง ๓๔.๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 9 of 10« First...678910