Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การไม่ให้ทำอะไรที่หลวงพ่อสอนหมายความว่าเช่นไร?

MP3 (for download): การไม่ให้ทำอะไรที่หลวงพ่อสอนหมายความว่าเช่นไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่หลวงพ่อบอกว่าไม่ต้องทำอะไรๆ ไม่ใช่แปลว่าไม่ให้ทำอะไร แต่ไม่ได้ให้ทำด้วยโลภะ ไม่ได้ให้ทำด้วยอยาก ให้ทำอยู่ในร่องในรอยที่พระพุทธเจ้าสอน มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ต้องมี มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางในการรู้กายรู้ใจ อันนี้ต้องมีต้องฝึกทั้งสิ้น ไม่มีหรอกสติที่แท้จริงจะเกิดขึ้นลอยๆ ไม่มีหรอกสมาธิที่แท้จริงจะเกิดขึ้นลอยๆ ต้องทำเหตุทั้งสิ้น

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล

mp3 (for download): หลักการดูจิตที่ถูกต้อง ใน ๓ กาล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักการดูจิตที่ถูกต้อง จำไว้ง่าย ๆ นะ มันต้องดูถูกต้องใน ๓ กาล กาละนะ กาละ กาล ต้องดูถูกต้องใน ๓ กาลนะ ซึ่งยากมากเหมือนกันนะ ที่เราจะดูให้ถูกต้องทั้ง ๓ กาล

กาลที่ ๑ หมายถึงก่อนจะดู ก่อนจะดูเนี่ย อย่าไปดักไว้ อย่าไปเฝ้าดู อย่าไปจ้องเอาไว้ก่อน อย่าไปรอดูนะ ให้สภาวะธรรมใด ๆ เกิดขึ้นกับจิตก่อน แล้วค่อยมีสติรู้ไป เรียกว่าตามรู้นะ ให้มันโกรธขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้มันโลภขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโลภ ให้ใจลอยไปก่อน แล้วรู้ว่าใจลอย นี่คือกฎข้อที่ ๑ ถ้าเราไปดักดูแล้วมันจะนิ่ง ทำไมเราต้องไปดักดู หลายคนพอคิดถึงการดูจิต ก็จ้องปึกเลย แล้วทุกอย่างก็นิ่งหมดเลยนะ มันเกิดจากความอยากดู ตัณหามันเกิดก่อน อยากปฏิบัติ อยากดูจิต พออยากดูจิตก็เข้าไปจ้อง ไปรอดู พอเข้าไปจ้องไปรอดู มันคือการเพ่งนะ เมื่อไรเพ่ง เมื่อนั้นจิตก็นิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์ ไม่แสดงความจริงให้ดู ฉะนั้น กฎข้อที่ ๑ นะให้สภาวะธรรมเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยมีสติตามรู้ไป ตามรู้อย่างกระชั้นชิด อย่าไปดักรอดูด้วยความโลภที่อยากปฏิบัตินะ นี่ข้อที่ ๑ อย่าดักดู พวกเรามีคนไหนดักดูไหม เวลาดูจิต เอ้าช่วยยกมือ โชว์ตัวหน่อย พวกดักดู ดักทุกคนแหล่ะ พวกที่ไม่ยกเพราะดูไม่ออก หรือไม่ก็ขี้เกียจยกนะ ส่วนใหญ่พอคิดถึงการปฏิบัติก็เริ่มควาน ๆ ก่อนใช่ไหม เริ่มนึกจะดูอะไรดี ควาน ๆ ๆ อย่างนั้น เจออันนี้แหล่ะว้า จ้องไปอย่างนั้น จ้อง… ใจก็จะนิ่ง ๆ กลายเป็นเพ่งจิต ไม่ใช่ดูจิตล่ะ ฉะนั้นจะไม่เพ่งจิตนะ อันแรกเลยอย่าไปดักดู ให้สภาวะเกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยรู้

กาลที่ ๒ หรือลำดับที่ ๒ คือ ขณะที่ดู ก่อนดูไม่ไปดักดู ขณะดูอย่าถลำลงไปจ้องนะ ดูแบบคนวงนอก นี่เป็นกฏข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง ดูแบบคนวงนอกนะ ส่วนใหญ่พอเราเห็นสภาวะธรรมเกิดขึ้นแล้ว มันจะมีตัณหา ตัณหาก็คืออยากรู้ให้ชัด พออยากรู้ให้ชัดแล้วมันจะถลำลงไปจ้องนะ คล้าย ๆ เราดู ก่อนนี้ใครเคยดูหนังจีนไหม หนังจีนสมัยก่อนนะ กำลังภายใน จ้าวยุทธภพอะไรแบบเนี่ย มันชอบมีบ่อน้ำกลม ๆ เนี่ย ใครเคยเห็นไหม ที่มีขอบปูนนะ แล้วผู้ร้ายชอบจับเอานางเอกไปโยนลงบ่อเนี่ย บางทีก็เอาคัมภีร์ไปโยนลงบ่อ คล้าย ๆ กันนะ เวลาเราจะดูของที่อยู่ก้นบ่อเนี่ย เราชะโงกลงไปดูจนหัวทิ่มลงบ่อไป อย่างนี้ใช้ไม่ได้ เราต้องดูอยู่ห่างๆ ดูอยู่ปากบ่อ อย่าถลำลงไปจนตกบ่อ พวกเราเวลาที่ดูจิตดูใจเนี่ย เราอยากดูให้ชัด ชะโงกลงไป ชะโงกลงไป ในที่สุดจิตมันถลำลงไปเพ่ง กลายเป็นเพ่งอีกล่ะ ใช่ไหม อยากดูไปดักดูนะ ก็กลายเป็นการเพ่ง พอกำลังดูอยู่ อยากดูให้ชัด ถลำลงไปจ้องอีกนะ ก็กลายเป็นการเพ่งนะ กลายเป็นเพ่งทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ก่อนจะรู้เนี่ย อย่าไปดักรู้ ให้สภาวะเกิดแล้ว ค่อยรู้เอา ให้มันโกรธขึ้นมาแล้วรู้ว่าโกรธ โลภขึ้นมาแล้วรู้ว่าโลภ ใจลอยแล้วรู้ว่าใจลอย สภาวะที่ ๒ ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้น ดูอยู่ห่าง ๆ อย่าถลำตามความโกรธไป อย่าไปจ้องใส่มัน หลวงพ่อเคยทำผิดนะ เห็นกิเลสโผล่ขึ้นมา แล้วเราจ้อง พอเราจ้องแล้วมันหดลงไป หดลึก ๆ ลงไปอยู่ข้างในนะ เราก็ตามลงไป กะว่าวันเนี่ยจะตามถึงไหนถึงกันนะ ตามลึกลงไป ควานหามันใหญ่เลย บุญนักหนานะ ไปเจอหลวงปู่สิมเข้า หลวงปู่สิมท่านเตือน ผู้รู้ ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่ ที่แท้ตกบ่อไปแล้ว ไม่เห็น ตกบ่อนะ พอรู้ทัน อ้อ…ใจมันถอนขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เห็นสภาวะผ่านไปผ่านมา คล้าย  ๆ เราเห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราอยู่ในบ้าน ใจเราไม่วิ่งตามเขาไปนะ ถ้าใจเราหลงตามอารมณ์ไป หลงตามสภาวะไป มันจะรู้ได้ไม่ชัดหรอก

ข้อที่ ๓ นะ ข้อที่ ๓ คือ เมื่อรู้แล้ว อันแรกอะ ก่อนจะรู้อย่าไปดักไว้ อันที่ ๒ ระหว่างรู้อย่าถลำลงไปจ้อง อันที่ ๓ เมื่อรู้แล้วนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง อย่าไปหลงยินดียินร้ายกับมัน ถ้าหลงยินดีหลงยินร้ายเนี่ย จิตจะเข้าไปแทรกแซง เช่น เห็นความสุขเกิดขึ้นแล้วก็ยินดีนะ ก็จะเผลอเพลินไป หรืออยากให้ความสุขอยู่นาน ๆ พอความทุกข์เกิดขึ้นก็เกลียดมัน อยากให้มันหายเร็ว ๆ นะ เนี่ยใจที่มันไม่เป็นกลาง มันจะทำให้จิตเกิดการดิ้นรน เพราะฉะนั้นถ้าใจไม่เป็นกลางนะ ให้มีสติรู้ทัน มีสติรู้ไป มันยินดีขึ้นมาก็รู้ทัน มันยินร้ายขึ้นมาก็รู้ทัน ในที่สุดใจจะเป็นกลาง รู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตที่เป็นกลางนะ นี่คือกฎข้อที่ ๓ คือ รู้แล้วไม่แทรกแซง มันสุขก็ได้ มันทุกข์ก็ได้ มันดีก็ได้ มันชั่วก็ได้ มันสว่างก็ได้ มันมืดก็ได้ มันหยาบก็ได้ มันละเอียดก็ได้ สภาวะทั้งหลายนั้นเสมอภาคกันในการทำวิปัสสนา เพราะสภาวะทั้งหลายนั้นไม่ว่าจะสุข ทุกข์ ดี ชั่ว หยาบ ละเอียดนะ ก็ล้วนแสดงไตรลักษณ์ เกิด-ดับเหมือน ๆ กันทั้งสิ้น ไม่ใช่จะเอาอันหนึ่ง จะเกลียดอีกอันหนึ่งนะ ใจของเราเนี่ย พอเห็นอะไรก็แล้วนะ มันจะรักอันหนึ่ง จะเกลียดอันหนึ่งอยู่เสมอแหล่ะ เช่น รักสุข เกลียดทุกข์ รักดี เกลียดชั่วนะ รักความสงบ เกลียดความฟุ้งซ่าน เนี่ยใจเราไม่เป็นกลาง เนี่ยอาจารย์อนันต์ วัดมาบจันทร์ นะ ท่านก็สอนมา ท่านบอก หลวงพ่อชาสอนมาว่า เวลาดูจิตเนี่ย ให้ดูด้วยความไม่ยินดี ไม่ยินร้ายเนี่ยหลวงพ่อชาสอนมาอย่างนี้นะ หลักอันเดียวกันนะ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ๆ ที่ท่านภาวนาเก่ง ๆ นะ ท่านสอนเหมือนกันหมดเลย หลวงปู่ดุลย์ก็สอนอย่างเดียวกันนะ องค์ไหนๆ ก็สอนอย่างเดียวกันนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงปู่เทสก์ใช้สำนวนบอกรู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงพ่อชาบอกรู้ด้วยความไม่ยินดีไม่ยินร้ายนะ บางองค์ก็ว่ารู้แล้วสักว่ารู้นะ รู้แล้วไม่แทรกแซง ก็คือสิ่งเดียวกันนั่นเอง มันเป็นยังไง รู้แล้วเป็นอย่างนั้น นี่สำนวนอาจารย์สุรวัฒน์ จิตเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น กายเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ใครไม่รู้จักอาจารย์สุรวัฒน์  พยายามรู้จักไว้นะ เพราะแกเป็นกัลยาณมิตร แกต้องน่วมแน่ ๆ เลยรอบเนี่ย… ใครฟุ้งซ่านยกมือหน่อย เห็นไหม เออ…มีผู้ร้ายปากแข็งหลายคนนะ… ฟุ้งทั้งนั้นแหล่ะนะ

จำได้ไหมข้อที่ ๑… ข้อที่ ๑ เนี่ยมันผิดพลาดตรงที่อยากปฏิบัติ..อยากปฏิบัติ ก็ไปจ้องรอดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น มันก็เลยไม่มีอะไร นอกจากความนิ่งความว่าง ข้อที่ ๒ นะ อยากรู้ให้ชัด ก็เลยถลำลงไปจ้อง ไปเพ่งเอาไว้ ไม่ให้คลาดสายตา มันก็นิ่งเหมือนกัน กลายเป็นการเพ่ง ข้อที่ ๓ นะ อยากดี อยากให้พ้นทุกข์ อยากดีนะ อยากให้สุข อยากให้สงบ อยากให้พ้นจากความฟุ้งซ่าน ก็เข้าไปแทรกแซงนะ แล้วก็เลยไม่เป็นกลาง แล้วสรุปง่าย ๆ นะ ต่อไปนี้ สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็รู้มันอย่างที่เป็นมันเป็น รู้แล้วก็อย่าเข้าไปแทรกแซงนะ รู้สบาย ๆ รู้อยู่ห่าง ๆ รู้แบบคนวงนอก รู้ด้วยความเป็นกลาง หัดรู้อย่างนี้เรื่อย ๆ พวกเรานะสำรวจใจตัวเองให้ดี ใน ๓  ข้อเนี่ย พวกเราผิดตัวไหนบ้างนะ หลวงพ่อถามที่วัดมาแล้วนะ คำถามนี่ ใครยกมือถามหลวงพ่อ หลวงพ่อถามเลย ใน ๓ ข้อเนี่ย ผิดข้อไหน พอตอบได้นะ ไม่ต้องมาถามหลวงพ่อ รู้แล้วนี่ ถ้ารู้ว่าผิดนะ มันก็ถูกของมันเองแหล่ะนะ พอเข้าใจไหม ไม่ยากนะ ง่าย

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๓  (วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒)

นาทีที่ ๑๖ – ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร?

MP3 (for download): มิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: ส่วนมิจฉาสมาธิ ที่เกิดร่วมกับจิต เกือบทั้งหมดนะ จิตเนี่ยมันไหลเข้าไปเกาะนิ่งๆอยู่กับตัวอารมณ์ ไปจับตัวอารมณ์ แน่นๆอยู่ที่ตัวอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเราเดินจงกรม จิตมันไปเกาะอยู่ที่เท้า เท้าขยับ เท้ายก เท้าย่าง อะไรนี่รู้หมดเลย จิตมันเกาะอยู่ที่เท้า อันนั้นไม่เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ แต่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันไหลไปเกาะอยู่ที่เท้า จิตไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ การที่จิตไปแช่อยู่กับตัวอารมณ์นะ ภาษาแขกมีชื่อว่า ‘อารัมมณูปนิชฌาน’ การเพ่งตัวอารมณ์ การเพ่งตัวอารมณ์เป็นการทำสมถกรรมฐาน ฉะนั้นบางคนเพ่งเท้าไปเรื่อยนะแล้วตัวลอย ตัวเบา ตัวโคลง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัดตัวนะ บางทีก็มีตัวอะไรมาไต่ รู้สึกวูบๆวาบๆ รู้สึกขนลุกขนพอง นี้เป็นอาการของสมถะ อาการของปีติทั้งสิ้นเลย ทำไมเกิดปีติ เกิดขึ้นมาได้ เพราะว่าไปเพ่งเท้าไว้ เพ่งตัวอารมณ์นะ เป็นสมถะ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะควรทำเมื่อไหร่

mp3: (for download) สมถะควรทำเมื่อไหร่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: แล้วทำสมถะจะทำตอนไหนครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: สมถะทำตอนที่ดูกายก็ไม่ได้ ดูใจก็ไม่ได้ ถ้าทำสมถะก็ต้องทำเบาๆ ทำสบายๆ อย่าทำอย่างเคร่งเครียด ทำแบบเคร่งเครียดไม่มีความสุข ต้องทำให้สบายๆ ให้มีความสุข จิตถึงจะสงบ พอจิตสงบแล้ว เราก็รู้ทันว่าจิตสงบ เรามีแรงละ เรากลับมาดูจิตได้ละ เราก็ดูจิตเรื่อย จิตตอนนี้สงบ พอเราออกจากสมาธิมาจิตเริ่มฟุ้งซ่าเรารู้ว่าฟุ้งซ่าน นะ เราก็ดูจิตไปเรื่อยๆ ตอนไหนไปรู้กายก็ไม่ว่ามัน เพราะรู้ไปทั้งกายรู้ทั้งจิต ดูจิตไม่ได้ก็ดูกาย ดูกายไม่ได้ก็รู้จิต รู้ไปเรื่อยๆ ถ้ารู้กายรู้จิตไม่ได้ก็ทำความสงบเข้ามา ทำความสงบก็ยังไม่ไหวอีก ก็พักผ่อน สมมุติว่าเครียดจัดแล้วก็พักผ่อน เพราะฉะนั้นการพักผ่อนก็จำเป็นนะ

โยม: พักผ่อนกับนอน หรืออ่านหนังสือ

หลวงพ่อปราโมทย์: ผ่อนคลายก็ได้นะ อ่านหนังสือก็ได้นะ ทำอะไรก็ได้นะ อย่าหมกมุ่นในการปฎิบัติ เราต้องจริงจังในการปฏิบัติ แต่ไม่หมกมุ่นในการปฎิบัติ จริงจังหมายถึงว่า ฝึกของเราทุกวันเลย ไม่ท้อถอย ดูมากที่สุดเท่าที่จะดูได้ รู้สึกไปเรื่อยๆ แต่ว่าไม่ใช่ดูแบบ เมื่อไหร่จะได้ เมื่อไหร่จะได้ เมื่อไหร่จะได้ ดูแบบนั้นแล้วเครียด เพราะดูด้วยโลภะ ด้วยตัณหา ใช้ไม่ได้ ใจจะเครียดๆ เพราะฉะนั้นดูเล่นๆไป ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ช่างมัน ชาตินี้ไม่ได้ ชาติต่อไปมันคงได้สักชาติหนึ่ง ต้องทำใจขนาดนี้นะ ถ้าทำใจขนาดได้ขนาดนี้แล้วจะได้ในชาตินี้แหละ ถ้าชาตินี้ต้องเอาให้ได้ ต้องเอาให้ได้ กูจะต้องเอาให้ได้…

หลวงพ่อรู้จักพี่คนหนึ่งนะ เพื่อน เพื่อนพี่ไวยนี่แหละ แกบอกนะว่า แกจะทำสามเดือน นี่ผ่านมาเนิ่นนาน… เพราะฉะนั้นอย่างตั้งเป้า หน้าที่ของเราทำเหตุ ส่วนผลจะได้เมื่อไหร่นั้น มันได้สมควรแก่เหตุ หน้าที่เราทำเหตุอย่างเดียว หวังผลไม่มีประโยชน์อะไร หวังผลเนี่ยเลื่อนลอยแล้ว อย่างเราหวังผลว่าเราจะต้องเป็นพระโสดาในวันนี้ เลื่อนลอยไปแล้ว หน้าที่เราทำเหตุให้มากๆ รู้สึกกายรู้สึกใจให้มาก ส่วนว่ามันพอสมควรมันก็ได้ของมันเอง อย่าอยากนะ ภาวนาด้วยความอยากไปไม่รอด

CD: สวนสันติธรรม ๒๕
File: 510420.mp3
Time: นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ประคองใจไว้เพราะยึดถือ

mp3: (for download) ประคองใจไว้เพราะยึดถือ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ ศิษย์สวนสันติธรรม ศรีราชา

โยม: ใจมีความสุขมากกว่าเมื่อวานค่ะ แต่ว่ามันไปประคองค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ.. อย่าไปประคองนะ ให้มันดิ้นไปดิ้นมาอย่าไปรักษามันไว้ ทำไมเราต้องรักษาใจเราไว้ ไม่ยอมให้มันหนีไป เพราะเรายึดถืออย่างเหนียวแน่นว่ามันคือตัวเรา เพราะฉะนั้นเราเห็นจิตนี้ว่าคือตัวเรา เราก็อยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ ถ้าดีถาวร สุขถาวร สงบถาวรได้ยิ่งดีใหญ่ เพราะฉะนั้นภาวนาแทบเป็นแทบตายนะ อยากดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร เพื่ออะไร เพื่อตัวเราจะได้สบาย สุดท้ายนะ ภาวนาเพื่อตัวเรา ให้รู้ทันลงไปอีก รู้ทัน รู้ทัน ในที่สุดนะ กิเลสจะไม่มาแอบแฝงอยู่ในใจเรา ทนกำลังของสติปัญญาไม่ได้ มันจะว่องไวขึ้นเรื่อยๆ รู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ อะไรแอบแฝงเข้ามานะ สติระลึกปั๊บเลย ปัญญานี่สอดส่องเข้าไป ขาดสะบั้นหมด ความปรุงแต่งใดๆมาสร้างภพสร้างชาติขึ้นในหัวใจของเราไม่ได้อีกแล้ว ค่อยฝึกไป ดีชมพู

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510420.mp3
Time: นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตด้วยการบริกรรมพุทโธ

MP3: ดูจิตด้วยการบริกรรมพุทโธ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: สวดมนต์แล้วก็จะบริกรรมพุทโธค่ะ ไม่ทราบว่าเหมาะกับจริตไหมคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เหมาะนะ แต่ต้องรู้ว่าเราพุทโธนะ เราดูจิตเป็นหลัก พุทโธเป็นตัวรองเท่านั้นเอง พุทโธเพื่อจะรู้ทันจิต เพราะฉะนั้น พุทโธแล้วจิตเราเป็นอย่างไรเราคอยรู้ทันจิตไว้ ไม่ใช่พุทโธให้จิตนิ่งนะ ของคุณพุทโธแล้วจิตมันน้อมไปสู่ความนิ่งมากไป

โยม: อย่างนี้ต้องไปดูกายเพิ่มด้วยใช่ไหมคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ยังไม่ต้องหรอกนะ

โยม: ดูแต่จิต

หลวงพ่อปราโมทย์: รู้ทันก่อนนะ พุทโธไปๆ แล้วจิตนิ่งลงมารู้ว่าจิตนิ่ง พุทโธแล้วจิตแอบไปคิดรู้ว่าจิตแอบไปคิด พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตไว้

โยม: ค่ะ เพราะตอนนี้จะรู้สึกเหมือนกันว่าเครียดๆ ตึงๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ มันน้อมใจให้ตึงๆ นิ่งๆ ไว้ ไปกดจิตให้นิ่งนั่นแหละ ไปพุทโธแล้วทำจิตให้นิ่ง อย่าไปให้นิ่ง พุทโธแล้วก็ปล่อยให้จิตทำงานแล้วเราคอยรู้ทันไปเรื่อยๆ พุทโธเป็น background เราดูจิตเป็นตัวหลัก ไม่ใช่พุทโธเพื่อให้จิตสงบ ของคุณไปพุทโธมุ่งให้จิตมันนิ่ง ก็เลยเครียดขึ้นมา

โยม: ถ้าเรารู้แบบเบาๆ นี่คือจิตมันจะตื่นขึ้นมาเองใช่ไหมคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูเบาๆ ถ้าจงใจเบาๆ ก็แกล้งเบาก็ไม่ใช่อีกนะ แต่ถ้าจ้องไว้นี่ผิดแน่นอน ถ้าเบาๆ นี่อาจจะถูกหรืออาจจะผิดก็ได้ เพราะฉะนั้นคุณพุทโธไป แล้วคุณก็รู้ทันจิตไป ไม่ใช่พุทโธเพื่อให้จิตนิ่ง แต่พุทโธเพื่อรู้ทันจิต จิตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงปล่อยให้เขาเคลื่อนไหวไปแล้วก็คอยรู้เอา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตด้วยอานาปานสติ

MP3: ดูจิตด้วยอานาปานสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : คุณแม่ทำอานาปานสติมา ๓๐ ปีแล้วค่ะ

หลวงพ่อ: นานกว่าหลวงพ่อ หลวงพ่อทำมา ๒๒ ปี

โยม: แล้วก็มาเริ่มฝึกดูจิตตามแนวหลวงพ่อประมาณ ๖ - ๗ เดือน อยากจะทราบว่าคุณแม่ยังติดเพ่งอยู่หรือเปล่าคะ

หลวงพ่อ : นิดหน่อย ยังมีนิดหน่อยนะ เพราะฉะนั้นเวลาเราทำอานาปานสติเราปรับนิดหนึ่ง แต่เดิมเราทำอานาปานสติแล้วจิตเราไหลไปอยู่ที่ลม มันไปสงบอยู่ที่ลม เราเปลี่ยนใหม่ เราทำอานาปานสติแล้ว เราเห็นร่างกายหายใจไปเรื่อย เราลืมตานะ นั่งดูร่างกายนี้หายใจไป ใจเราเป็นแค่คนดู ต่อไปไม่ว่าทำอะไรนะก็จะมีใจเป็นคนดูเรื่อยๆ ความสุขความทุกข์เกิดก็มีใจเป็นคนดู โลภโกรธหลงเกิดก็มีใจเป็นคนดู ฝึกไปเรื่อยนะมันจะมีใจเป็นคนดูเรื่อยๆ ฝึกอย่างนี้ได้ไหม ฝึกไปนะร่างกายก็ของถูกดู

โยม : ลืมตาด้วยใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ลืมตาไว้ หลับตาเดี๋ยวมันเคลิ้มเข้าข้างในเหมือนที่มันเคยชิน พยายามลืมตาไว้นะ แล้วก็เดินนะ เดินอยู่ก็เห็นร่างกายมันหายใจไป ยืนเดินนั่งนอนทำในทุกๆอิริยาบถ อย่านั่งนาน นั่งแล้วซึม

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บังคับหรือเปล่า?

mp3: บังคับหรือเปล่า?

Media Player:

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

…………..วิธีดูง่ายๆว่าบังคับหรือเปล่านะ   ก็คือถ้ากลับมาแล้วมันแน่นๆขึ้นมาอีก   แน่นๆหนักๆขึ้นมานี่บังคับ   กลับมารู้ตื่นเบิกบานเบาสบายก็ไม่ได้บังคับไว้   อย่าไปอยู่ข้างนอกแล้วเบาๆสบาย   ใช้ไม่ได้นะ  มันไปหลงอยู่ข้างนอก

หมายเหตุ

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สุดโต่งในการภาวนา

mp3: สุดโต่ง

Media Player:

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

…………..การที่เราไปเพ่งไว้ก็ใช้ไม่ได้   การที่จิตไหลไปว่างๆอยู่ข้างนอกก็ใช้ไม่ได้   เป็นความสุดโต่งทั้งนั้นเลย   ให้เรารู้สึกนะ   เช่น   ใจไปข้างนอก  ใจเราเพ่งอยู่ก็รู้ทัน   ใจเราเป็นยังไงก็รู้ไปเรื่อยๆ

หมายเหตุ

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 4 of 41234