Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เรื่องเล่าครูบาอาจารย์ : อยากได้ลูกสะใภ้หรือลูกพระ

อยากได้ลูกสะใภ้หรือลูกพระ  โดย คุณ วีรวงศ์

ศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อมหาวิบูลย์ท่านหนึ่ง
เริ่มภาวนาด้วยการอ่านหนังสือเอง
ตั้งแต่ตอนยังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยมีเพื่อนของท่านผู้นั้น เป็นลูกศิษย์ใน
พระเดชพระคุณหลวงพ่อมหาวิบูลย์
เมื่อเพื่อนทราบว่าท่านสนใจการภาวนา
จึงได้พาท่านมากราบหลวงพ่อมหาวิบูลย์ที่วัดอินทาราม
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๔ หรือ กว่าสี่สิบปีที่แล้ว

หลวงพ่อได้ซักถามถึงวิธีการและผลการภาวนา
หลวงพ่อได้กล่าวว่าถูกต้อง
และท่านยังได้แนะนำการภาวนาเพิ่มเติม
เป็นครั้งแรกที่ท่านผู้นั้นได้พระอาจารย์สอนกรรมฐาน

ต่อมา ท่านยังได้ศึกษาเพิ่มเติมในสำนักครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่รูปอื่น
โดยมี หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นอาทิ
เมื่อได้ลิ้มรสผลการภาวนามาพอสมควร จึงปรารภที่จะอุปสมบท
แต่ติดขัดอยู่ที่ มีมารดาที่ต้องดูแล และท่านก็เป็นบุตรเพียงคนเดียว
เมื่อมีเงินพอที่จะเลี้ยงมารดาต่อไปได้เอง
และฝากไว้กับญาติได้แล้วจึงจะได้อุปสมบท
ในสำนักของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นอุปัชฌาย์

หลวงพ่อมหาวิบูลย์ ท่านคงต้องการตอกย้ำความมั่นคงในการอุปสมบท
ให้กับมารดาของศิษย์ท่านนี้ เมื่อมีโอกาสได้พบมารดาของศิษย์ท่านนั้น
ท่านจึงได้ปรารภธรรมคติเพื่อให้รำลึกถึงคุณค่าของการอุปสมบทลูกให้มารดาฟังว่า

“โยมอยากได้ลูกสะใภ้ หรืออยากได้ลูกพระ”

“ลูกสะใภ้ อาจถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง”

“แต่ลูกพระคิดถึงเมื่อไรแล้วก็สุขใจ”

เมื่อท่านได้อุปสมบทเป็นพุทธชิโนรสแล้ว
ยังได้สงเคราะห์มารดาด้วยธรรมะตามสมควร
ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ของบุตรอย่างเต็มที่ จนได้จากกันไป
ซึ่งถ้าท่านมิได้อุปสมบท อาจมิได้ปฏิบัติได้ขนาดนี้
ศิษย์ท่านนั้นได้เจริญในสมณเพศจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันศิษย์ที่กล่าวถึงนั้นท่านคือ
พระเดชพระคุณ พระอาจารย์สุจินต์ สุจิณฺโณ ครับ

ปล. จดจำจากคำบอกเล่าของ หลวงพ่อสุจินต์ ครับ _/|\_ _/|\_ _/|\_

*** พระอาจารย์สุจินต์ สุจิณฺโณ เป็นหนึ่งในศิษย์อาวุโสท่านหนึ่งของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล และเป็นครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อปราโมทย์ให้ความเคารพมาก โดยในช่วงแรกของการออกบวชเป็นพระภิกษุของหลวงพ่อปราโมทย์ก็ได้ไปอยู่จำวัดที่ สวนโพธิญาณ อรัญวาสี ซึ่งมี พระอาจารย์สุจินต์ เป็นเจ้าอาวาส ภายใต้การอนุญาตของพระอุปัชฌาย์ ***

อ้างอิง  : http://www.romphosai.com/forums/หลวงพ่อมหาวิบูลย์-พุทธญาโณ/10813-เมตตาธรรมจากหลวงพ่อ-อยากได้ลูกสะใภ้หรือลูกพระ.html


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใจที่เป็นกลาง ไม่ปฏิเสธสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ

mp 3 (for download) : ใจที่เป็นกลาง ไม่ปฏิเสธสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

หลวงพ่อปราโมทย์ : ร้อนมั้ย ร้อน ไม่ร้อน จริงน่ะ ไม่จริงมั้ง มีครูบาอาจารย์หลวงปู่บุดดา น่ารัก อะไรๆท่านพอดีหมดเลย ร้อนก็ร้อนพอดี หนาวก็หนาวพอดี คนทำน้ำปานะไปถวายท่าน เห็นว่าท่านแก่แล้วต้องการวิตามินซีสูง ทำให้เปรี้ยวสุดๆเลย ตัวเองไม่ได้ชิมนะ เอาไปถวายท่าน เหลืออยู่หน่อยนึงนะแอบไปชิม โห เปรี้ยว อีกวันแก้ตัวทำให้หวาน ไปถามท่านว่าเมื่อวานน้ำปานะเปรี้ยวไปมั้ย ท่านบอกเปรี้ยวพอดี ถวายอันใหม่ไปนะท่านก็ฉันตัวเองเอามาชิมทีหลังนะ โห หวานไป ไปถามท่านนะหวานไปปล่าว ท่านบอกหวานพอดี เอากับท่านสิ

ถ้าใจพอดี คือใจไม่ปฏิเสธสิ่งแวดล้อม ใจท่านไม่ปฏิเสธ สิ่งแวดล้อมจะเป็นรูปเป็นเสียงเป็นกลิ่นเป็นรสเป็นโผฏฐัพพะ สิ่งที่มากระทบร่างกายความร้อนความหนาวความอ่อนความแข็ง สิ่งแวดล้อมที่มากระทบนี้ ใจท่านเป็นกลาง

ใจเป็นกลางใจไม่ดิ้นไม่ปรุงแต่ง ถ้าใจไม่ดิ้นใจไม่ปรุงแต่งใจก็ไม่ทุกข์ มันทุกข์ขึ้นมาเพราะใจมันดิ้นรนปรุงแต่ง เกิดจากมันไม่ยอมรับความจริงของสิ่งแวดล้อม สิ่งที่มากระทบทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ยอม เช่นสิ่งที่มากระทบมันไม่ดี อยากให้ดี สิ่งที่มากระทบมันไม่ดี อยากให้หายไป อยากให้หาย อยากให้สิ่งที่ดีๆมากระทบ ถ้าสิ่งดีๆมากระทบแล้วอยากให้อยู่ตลอด ไม่ยอมรับความจริงว่าทุกอย่างมันก็มาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป ทุกอย่างจะมาหรือไม่มาเพราะมันมีเหตุ สิ่งที่มากระทบเรานั้นจะชั่วหรือจะดีนะ มันมีเหตุ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๐
Track: ๒
File: 540501A.mp3
ระหว่างวินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาต้องเด็ดเดี่ยว

mp 3 (for download) : การภาวนาต้องเด็ดเดี่ยว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การภาวนาต้องเด็ดเดี่ยว

การภาวนาต้องเด็ดเดี่ยว

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนเราลองตั้งใจแล้วทำให้ได้เป็นบารมีนะเรียกอธิษฐานบารมี ตัวนี้สำคัญมากเลย เท่าที่หลวงพ่อสังเกตผู้ปฏิบัติดูเนี่ย คนที่เค้าได้ผลเนี่ยไม่ใช่ว่าเค้าฉลาดหรือเค้าเก่งกล้าสามารถอะไรเหนือกว่าเรา แต่เค้าเด็ดเดี่ยว เนี่ยตัวนี้สำคัญมากเลย เวลาตั้งใจที่จะภาวนานะก็ต้องทำ ลำบากยากเย็นยังไงก็ทำ จะเป็นบารมีชื่ออธิษฐานบารมี เป็นความเด็ดเดี่ยว ตัวนี้สำคัญ

หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะว่าพระภาวนา ตอนนั้นเราไม่ได้บวชหรอกแต่ท่านก็เทศน์ให้ฟัง บอกว่าตั้งใจปฏิบัตินะต้องทำจริงๆเลย อย่างพระทุกวันจะต้องมีข้อวัตรต้องกวาดวัดต้องกวาดกุฏิต้องอะไรเงี้ย วันนึงท่านป่วยหนักท่านลุกไม่ขึ้นเลย พอถึงเวลากวาดวัดเนี่ยท่านทำไงรู้มั้ย ท่านเอามือนะขยับมือเนี่ยกวาดข้างๆตัว วางใจว่ากำลังทำข้อวัตรอยู่ นี่ขนาดนี้นะ ขนาดว่าจะตายมิตายแหล่ยังไม่เลิกเลยนะ ใกล้จะตายแล้วยังไม่ทิ้งข้อปฏิบัติเพราะตั้งใจว่าจะทำ หรือบางองค์บางองค์นี้ไม่ใช่คนยุคเรานะ ตั้งใจเดินจงกรมจะภาวนาเดินๆจนเท้าแตก เท้าแตกหมดเลยเดินไม่ได้แล้ว เดินไม่ได้ท่านคลานคลานจนเข่าแตกนะ คลานไม่ได้นะท่านลงไปนอนนะ กลิ้งไปกลิ้งมานะนอนพลิกซ้ายพลิกขวาพลิกซ้ายพลิกขวาไปเรื่อย ขยับทำความรู้สึกไปเรื่อย เห็นธาตุเห็นขันธ์นี้ทำงานไปเรื่อย ถึงขนาดเดินไม่ได้แล้วนะคลานก็ไม่ได้นะนอนพลิกไปพลิกมานะก็เป็นพระอรหันต์นะ

งั้นตัวความเด็ดเดี่ยวเนี่ยสำคัญมากเลย ฆราวาสนะหลวงพ่อวิจารณ์ซื่อๆเลยนะ สิ่งที่พวกเราขาดนะคือความเด็ดเดี่ยว พระเด็ดเดี่ยวมากกว่าเพราะอะไร อย่างมันจะตายมิตายแหล่นะมันต้องสู้ตายแหล่ะ สู้ตาย อย่างพระเนี่ยเวลากามราคะเกิดนะจะเป็นจะตายนะ ทุกข์ทรมานมาก โยมไม่เป็นอะไรเห็นมั้ย เพราะนั้นพระเนี่ยสู้เด็ดเดี่ยวมากเลย พระดีๆเป็นยากนะ สู้ตาย ใจต้องแข็งจริงๆเลย ใจเหลาะๆแหละๆเป็นไม่ได้

อย่างคนมาขอบวขหลวงพ่อให้ไปทบทวนใหม่ซะเป็นส่วนมากนะ บางคนขอตั้งหลายปีถึงให้ไปบวชได้ ใจไม่แข็งพอมันไม่ได้กินหรอก นี้โยมเนี่ยส่วนใหญ่อ่อนแอไปหน่อย อึดนะอึดไว้ ไม่ต้องเร่งความเพียรหามรุ่งหามค่ำหรอกแต่ทำความเพียรให้สม่ำเสมอ สำคัญกว่าเร่งหามรุ่งหามค่ำอีกนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๘
Track: ๕
File: 531225B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

mp 3 (for download) : ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

ต้องรู้ตัวเอง กรรมฐานแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเราต้องใช้อะไรช่วย ใช้โยนิโสมนสิการช่วย สังเกตตัวเองเอากรรมฐานอะไรที่เหมาะกับเรา อย่างหลวงพ่อสอนสังเกตมั้ยหลวงพ่อไม่ได้สอนบอกว่า กรรมฐานต้องแบบนี้ต้องแบบนี้ นึกออกมั้ย จะสอนหลักให้นะเสร็จแล้วเราต้องไปสังเกตเอาว่าเราใช้กรรมฐานอะไรแล้วเหมาะกับตัวเราเอง ทำแบบไหนจิตเราจะสงบได้สมถะกรรมฐาน หลวงพ่อสอนหลักให้ว่าถ้าจะทำสมถะกรรมฐานนะ ศีลต้องมีนะไม่มีไม่ได้ ต้องมีศีลรองรับไว้ก่อน ต้องรู้จักเลือกอารมณ์ที่ว่าอยู่กับอารมณ์อันนั้นแล้วจิตใจมีความสุข อารมณ์นั้นต้องไม่ยั่วกิเลส นี่อยู่อย่างมีความสุขแต่อยู่กับกิเลสอย่างนั้นใช้ไม่ได้ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์​อันเดียว รู้ไปอย่างสบายๆ เคล็ดลับอยู่ที่สบายๆ

สอนหลัก ส่วนพวกเราก็ต้องไปดูเอาเอง คนนี้ไปดูไฟดูด้วยใจที่สบายๆ ถือศีลไว้ก่อนแล้วก็ไปดูไฟ ดูด้วยใจสบาย ดูแล้วชอบเห็นไฟนี้ชอบ ความจริงคนจำนวนมากชอบดูไฟนะ ยิ่งไฟไหม้นี่ชอบมากเลย พวกนี้ควรจะหัดกสิณไฟไว้นะ ใครเวลาไฟไหม้ชอบไปดูมีมั้ย ในห้องนี้มีมั้ย ยกมือให้หลวงพ่อดูซิ ไม่มีเลยเหรอ แปลก เห็นเวลาไฟไหม้ทีคนแน้นแน่นชอบดูไฟ ดูไฟมันสะบัดนะ ทำกสิณไฟก็ดูเปลวไฟนะมันไหวๆ มันจะเร้าใจสนใจ ถ้าใจชอบนะใจก็จดจ่อมีความสุข บางคนไม่ชอบดูไฟ ไปดูอย่างอื่น อย่างอาจารย์มหาวิบูลย์อยู่แม่สอด แรกๆดูไฟนะเล่นกสิณไฟ ทำกสิณไฟไว้วันนึงนะนั่งไปนั่งไป นั่งหลับตาเนี่ย โหวันนี้กสิณดีจังเลยนะได้กลิ่นไฟไหม้แล้วก็ร้อนขึ้นเรื่อยๆจนเอ่ะใจลืมตานะ ไฟกำลังจะไหม้กุฏิแล้วเทียนมันล้มไปนะ หลัังจากนั้นท่านเปลี่ยนเป็นกสิณน้ำ ท่านเลยเก่งกสิณน้ำ หลวงปู่คำพันธ์ ใครเคยได้ยินชื่อหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย เก่งปฐวีกสิณเก่งกสิณดิน

เห็นมั้ยครูบาอาจารย์แต่ละองค์นะ ลูกศิษย์อาจารย์เดียวกันแล้วนะ ครูบาอาจารย์ลงมาในรายละเอียดการปฏิบัติไม่เหมือนกันหรอก ต้องไปสำรวจตัวเองนะว่ากรรมฐานอะไรแล้วเหมาะกับตัวเอง อยู่แล้วมีความสุข อยู่แล้วรู้สึกตัวมีความสุขอยู่แล้วไม่ยั่วกิเลส ก็อยู่กับอารมณ์อันนั้นแหล่ะ ก็จะได้สมาธิได้สมถะกรรมฐาน นั้นหลวงพ่อจะสอนหลักนะ พวกเราต้องไปดูเอาเองว่าเราใช้กรรมฐานอะไรแล้วเหมาะกับตัวเอง อย่าเที่ยวเชื่อคนง่ายนะและอย่าตามอาจารย์​ หลวงพ่อทำอานาปานสติ ไม่ใช่ทุกคนต้องทำสมถะด้วยอานาปานสติ ไม่ใช่ หลวงพ่อเจริญวิปัสสนาโดยใช้จิตตานุปัสสนา ไม่ใช่ทุกคนต้องทำจิตตานุปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

CD: แสดงธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
File: 540820
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

mp3 (for download) : จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

จิตชอบพากย์ทำอย่างไร

โยม: แล้วสำหรับมือใหม่ที่เวลาฝึกไปเนี่ยค่ะ ตอนมีสติรู้เนี่ย ก็จะพากย์ไปอยู่เรื่อยๆอย่างนี้ค่ะผิดมั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ผิดหรอกห้ามไม่ได้นะ แต่ว่าตอนที่จิตมันพากย์นะ ก็แค่รู้เห็นว่ามันพากย์ได้เอง เดินปัญญาไปเลย นี่ เอ็งพูดได้เองเอ็งไม่ใช่ข้าหรอก ข้าไม่ได้พูดเอ็งพูด ดูไปเลยอย่าไปกลัวมัน แต่ว่าตราบใดที่มันยังพูดอยู่นะยังไม่เจอของจริง เจ้าคุณนรฯบอกของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง ท่านเจ้าคุณนรฯสอนเก่ง งั้นในสภาวะธรรมที่จะแตกจะหักกันไม่มีคำพูดหรอก เห็นแต่ความปรุงแต่งแต่ไม่มีคำพูดนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๗๓ วินาทีที่ ๒๐ ถึง นาทีที่ ๗๔ วินาทีที่ ๐๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

โอวาทครั้งสุดท้ายของอาจารย์มั่น

“ผู้ถือไม่มีบาป ไม่มีบุญ ก็มากมายเข้าแล้ว แผ่นดินนับวันแคบ มนุษย์แม้จะถึงตาย ก็นับวันมากขึ้น นโยบายในทางโลกีย์ใดๆก็นับวันประชันขันแข่งกันขึ้น พวกเราจะปฏิบัติลำบากในอนาคต เพราะเนื่องด้วยที่อยู่ไม่เหมาะสม เป็นไร่เป็นนาจะไม่วิเวกวังเวง

ศาสนาทางมิจฉาทิฎฐิ ก็นับวันจะแสดงปฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย

ฉะนั้นพวกเราทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรมดังไฟที่กำลังใหม้เรือน จงรีบดับเร็วพลันเถิด ให้จิตใจเบื่อหน่ายคลายเมาวัฏสงสาร ทั้งโลกภายในหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ทั้งโลกภายนอกที่รวมเป็นสังขารโลก ให้ยกดาบเล่มคมเข้าสู้ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาติดต่ออยู่ไม่มีกลางวันกลางคืนเถิด

ความเบื่อหน่ายคลายเมาไม่ต้องประสงค์ ก็จะต้องได้รับแบบเย็นๆและแยบคายด้วยจะเป็นสัมมาวิมุตติ และสัมมาญาณะอันถ่องแท้ ไม่ต้องสงสัยดอก

พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแหละ

โอวาทครั้งสุดท้ายของอาจารย์มั่น
(บันทึกโดยพระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต)
จากหนังสือ”เพชรน้ำหนึ่ง”

ขอขอบคุณ เวปหลวงปู่มั่นสำหรับข้อมูล  : http://www.luangpumun.org/pumun.html

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรื่องเล่าครูบาอาจารย์ : หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ บรรลุธรรมด้วยอิริยาบทเดิน

หลุดพ้นด้วยอิริยาบถเดิน

เพราะมันเป็นเรื่องของธรรมกับจิตที่มันจะตัดสินชี้บอก แต่สุดท้ายมันเสร็จกิจหมดแล้ว มันไม่ต้องทำ ไม่ต้องใช้เครื่องมือแล้วมันประหารเลยทีนี้ แม้แต่จิตมันก็ประหาร เพราะจิตมันใช้สำหรับคิดนึก มันไม่ต้องใช้อะไรแล้ว มันก็ไม่จำเป็นต้องมี ผมเองสังเกตดูแล้วคล้ายว่า “เอาให้พ้นทุกข์อย่างเดียว ไม่มีอะไรมากที่เราทำมา” เพราะฉะนั้นสามัญผลพิเศษพลังอย่างนั้นคงไม่มีอะไร อิทธิฤทธิ์อะไร มีฤทธิ์เดชอะไร มีอานุภาพอะไร อยู่เงียบๆ ไป แล้วแต่มันจะเกิด เหมือนกับครูบาอาจารย์บางองค์ ท่านไม่พูด ไม่สอน อยู่อย่างไรก็ได้ แล้วท่านก็มรณภาพไป มีหลายองค์ส่วนมากเป็นอย่างนี้

เพราะฉะนั้นพวกเราทั้งหลาย ถ้าหากว่าพอจะมีบุญวาสนามีศรัทธาอยู่กับจิตเป็นกองทุนแล้ว ก็พยายามสร้างศรัทธาพร้อมกับวิริยะ ความพากเพียร สติปัญญาขึ้นมา คู่นี้แหละที่ปฏิบัติ เราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม สติปัญญาขึ้นมา ธรรมะเท่านี้แหละ พลังนี้แหละเป็นตัวสำคัญ มันรวมในมรรค มันอยู่ด้วยกัน จะว่ามรรคก็ได้ จะว่าพลังก็ได้ ธรรมะที่เด่นๆ ที่จะเอาชนะกิเลสได้นี่ ศรัทธา วิริยะ ตลอดทั้งสติ สมาธิ ปัญญานี่ มันตัวธรรมที่สำคัญมาก ไม่ต้องเอาอันอื่น เวลาสงบก็สงบ ถ้าต้องการสบายก็พิจารณา ทั้งกลางวันกลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน บางครั้งกำลังฉันนี่ มันไม่ได้อยู่ในฉันแล้ว มันไปอยู่ในธรรมะส่วนใหญ่ ทำข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ยิ่งปัดกวาดนี้ มันก็เกิดธรรมะสลดสังเวช หรือข้อวัตรต่างๆ นี้ มันเกิดขึ้นประจำ ถ้าเราชอบทำแล้ว จิตมันตั้งชอบแล้ว มันก็น้อมไปทางเรื่องที่ชอบไปทั้งนั้น เพราะฉะนั้นคราวนี้ที่มันไปรู้ ไปรู้อยู่โน้น จึงได้เป็นพยานยืนยัน อยู่ที่ไหนก็ทำได้ ไม่สงสัย ขอให้จิตเราอย่างเดียวเท่านั้นทีนี้พอตอนที่จิตมันจถอน ก็ไม่ใช่นอน ไม่ใช่นั่ง กำลังเดินจะถึงกุฏิ คือจุดปัญญามันจะพอของมัน พอมันปรากฏของมัน

มันอยู่ตรงไหนก็ได้ กลางวันก็ได้ กลางคืนก็ได้ แต่พลังในส่วนนั้นที่มันปรากฏเรื่อยๆ มา มันก็มีอยู่เหมือนกัน แต่เราก็ไม่ได้จดจำไว้ ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติก็มีอยู่เหมือนกันทีนี้กิเลสที่มันต่อสู้มันก็มีไม่ย่อยเหมือนกัน เหมือนคู่แข่งกันธาตุธรรม เพราะฉะนั้นคราวนี้จึงได้เห็นว่า เมื่อกิเลสดับแล้ว ธรรมะก็ดับไปด้วยกัน เครื่องมือก็ดับ มันดับคู่กัน มรรคก็ทำลายด้วยกัน สมุทัย ทุกข์ นิโรธ มันดับไปด้วยกัน เพราะมันหมดกิจแล้วนี่ ไม่ต้องใช้แล้วนี่ มันปรากฏไปอย่างนั้นแหละ จึงว่าแม้แต่มรรคแม้แต่จิต มันก็ไม่ได้ใช้แล้วนี่ มันไม่เคยปรากฏอย่างนี้มาก่อน

แต่มันปรากฏออกมาอย่างนี้ก็ไม่ทราบว่าจะว่ายังไง เหมือนกับไม่ใช่เถียงครูบาอาจารย์ แต่พูดตามที่มันปรากฏมาว่านี้แหละ เราก็เชื่อว่า “มันเป็นด้วยที่สร้างบารมีมา แต่ก่อน ก่อนมันจะขาด” ตอนนี้ไม่ว่าพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า ก่อนจะตรัสรู้ ที่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์มากน้อยเท่าไหร่ก็ตรงนี้แหละ แต่ถึงเวลาประหารไปแล้วมันไม่มีสีแสง ไม่มีอะไรกว่านั้น เป็นพระพุทธเจ้านั้น เป็นสาวกนั้นเป็นอะไร ไม่มีแล้ว มันเป็นธาตุธรรม ธรรมฐิติ เพราะมันไม่มีแสงสีที่กำหนดที่อะไร แต่มันมีอยู่ มันไม่ปฏิเสธ มันมีอันเดียว ไม่ทราบว่าจะเอาอันอื่นมาเทียบไม่ได้ ไม่มีอะไรที่จะเปรียบ ไม่มีอะไรจะเทียบ ก็ไม่มีอะไรที่จะบัญญัติด้วย ไม่ใช่ว่าบัญญัติ…..

ครูบาอาจารย์ที่หลุดพ้นแล้ว ที่ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดี ท่านได้ฉันดี นอนดี อยู่ดี อันนี้มันเป็นเรื่องเปลือก ไม่ใช่เรื่องแก่น ไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องสนใจ สนใจแต่ทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืนเฉพาะในจิตในใจโดยเฉพาะมันไม่ช่มากนะอันเรื่องที่จะพ้นทุกข์นี่ ดูเหมือนมันเฉพาะๆ พอเรารู้ตามพระองค์แล้ว ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปเห็นตาม รู้ตาม กำหนดตาม แล้วก็ดับไปตาม ปรากฏในจิตในใจที่มันมีธรรมะอยู่ในตัวของมันเอง มันชัดอยู่ในตัวของมันเอง เพราะฉะนั้นบางองค์ที่ท่านรู้ ท่านรู้จริง แต่บางองค์ที่ท่านไม่บัญญัติมาพูด ไม่ได้ตั้งใจมาพูด มันรู้เลย อย่างหลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน ครูบาอาจารย์ที่ท่านไม่พูด นึกว่าท่าน “ไม่พ้นไม่ใช่นะ” ไม่ใช่ว่าท่านไม่ได้อะไร บางคนไปเห็นนึกว่าท่านไม่ได้เทศน์ไม่สอน นึกว่าท่านไม่เก่งเหมือนตัวเอง บาปกินไม่รู้ตัว

ไม่มีอะไรจะพูดแล้วเวลานี้ เพราะมันไม่ได้อะไรเลย เพราะมันปรากฏแต่เท่านั้นเพราะมันทำลาย ไม่ใช่เรื่องได้นี่นะที่ปรากฏ นี่มันเรื่องทำลายหมด ไม่มีอะไรที่จะเหลือเลย จะเอาอะไรมาพูด ถ้าพูด ก็พูดแต่ของเก่าที่เคยจำมาแล้วเท่านั้นแหละถ้าพูดขึ้นมาก็ของเก่า

ที่นี้ถ้าหมดขันธ์อันนี้แล้ว ก็ไม่มีของเก่าที่เหลืออยู่ ไม่มีอะไรอีก อายตนะที่เกี่ยวเนื่องด้วยธาตุนี่มันก็มีอยู่ ก็อาจจะไม่ได้ทำความเพียรต่อเนื่องกันถึงตอนนี้หรอก

ทางจงกรมกับกุฏิก็อยู่ใกล้กันทำได้ตลอด อากาศก็ดี มันก็สัปปายะอันหนึ่ง แต่สำคัญว่าจิตของเราอย่าไปหลงความเจริญของบ้านเมือง ถ้าเราไปเอานั้นมานี้แล้วเสร็จ ธรรมะหายไปหมดเลย แต่จิตใจของคนมันไม่อัศจรรย์เลย แม้แต่เขาจะวิเศษยังไงมันก็ไม่

อัศจรรย์เลย อัศจรรย์แต่พระพุทธเจ้า ธรรมคือพระองค์สามารถที่จะพ้นทุกข์ความสุข จนขนาดเทวดานี่ พระองค์ยังเห็นโทษ ขนาดที่นั่งฌานสงบ ที่เรานั่งสงบมีความสุขพอใจในความสุขอันนั้น แต่พระองค์ก็ยังเห็นโทษไม่ติด ขนาดทำลายรูป มีแต่อากาศ มีแต่วิญญาณ แต่พระองค์ก็ยังเห็นทุกข์เห็นโทษจนพ้นได้ อันนี้มันอัศจรรย์ ปัญญาเราน่ะมันไปไม่ได้นะ เราต้องอาศัยพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นการปฏิบัติมันต้องยึดหลักพระองค์แล้วก็เร่งทำความเพียร เพราะทำแล้ว จะต้องรู้ นอกจากพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ที่เราใกล้ชิดที่เห็นปฏิบัติ….

(องค์ยืน) หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ณ วัดภูริทัตตวนาราม ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทำลายหมดไม่เหลือเศษ

แต่คราวนั้นทำลายแต่เพียงเวทนากับสัญญาขันธ์สองอย่างเท่านั้นเอง สามอย่างมันยังไม่ปรากฏมันไม่ได้บอก พอคราวนี้มันไม่เหลืออะไรเลย มันบอกถึงความบริสุทธิ์แล้วก็หมดกิจตลอดถึงโลกทั้งสามเลย มันทำลายหมดแล้วนี้ มันบอกหมด ไม่มีอะไรเหลือเศษแม้คำว่าเศษเหลือนิดเดียวก็ไม่มีอะไรเลย แม้แต่จิตกับมรรค อรหัตตมรรคผู้ทำลายนี่มันลายไปด้วยกัน เพราะไม่มีกิจจำเป็นจะต้องมีไว้แล้วหลังจากนั้นเราก็เดินทางไปเมืองนอก ไปจำพรรษาเมืองนอก

ขอขอบคุณ ป้านัยนิด ผู้นำมาเผยแพร่ใน Facebook

จาก http://www.fungdham.com/download/book/suwatbook.pdf

>>> แนะนำให้อ่าน : หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ แห่งวัดป่าเขาน้อย หนึ่งใน พ่อแม่ครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อปราโมทย์ <<<

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยสัจจ์แห่งจิต

mp3 (for download) : อริยสัจจ์แห่งจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมชาติจิตส่งออกนอก หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างนี้นะ ธรรมชาติของจิตย่อมส่งออกนอก แต่จิตส่งออกนอกแล้วกระเพื่อมหวั่นไหวไปตามอารมณ์นี่ เป็น”สมุทัย” มีผลเป็น”ทุกข์” จิตส่งออกนอกแล้วไม่กระเพื่อมหวั่นไหวน่ะไม่ทุกข์ ท่านว่าอย่างนี้นะ

พระอรหันต์มีจิตออกนอกมั้ย มีมั้ยเอ่ย? ไม่มี…เพราะไม่มีนอกมีใน มันเท่ากันหมดนะ เท่ากันหมด หลวงปู่ดุลย์เลยบอก พระอริยเจ้ามีจิตไม่ส่งออกนอก คำว่า พระอริยเจ้าของท่านคือพระอรหันต์ มีจิตไม่ส่งออกนอก จะออกทำไม จิตท่านเต็มโลกธาตุ เต็มจักรวาล ไม่เห็นต้องออกตรงไหนเลย รู้สึกตอนไหนก็ได้ ฉะนั้นพระอริยเจ้ามีจิตไม่ส่งออกนอก มีจิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว มีความสุข เดี๋ยววันหลังต้องเขียนป้าย หลวงปู่ดุลย์ข้างหน้าต้องเขียนให้ครบดีกว่า มันขาด นี่มันบทแรกเท่านั้นนะ มีอีก บทหลังก็มีอีก นี่ไม่ครบหรอก แต่คนรุ่นหลังลืมไปแล้ว

แต่ก่อนนี้ เวลาจะเขียนมันเยอะไป เขียนต้องเขียนรอบสี่ทิศเลยละมั้งกว่าจะครบ แต่ธรรมะของท่านดีมากนะ “จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อนึ่งธรรมชาติของจิตย่อมส่งออกนอก เมื่อจิตส่งออกนอกแล้วกระเพื่อมหวั่นไหวนะในการสนองรับอารมณ์ เป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกแล้วกระเพื่อมหวั่นไหว เป็นทุกข์ จิตส่งออกนอกนะไม่กระเพื่อมหวั่นไหว มีความรู้สึกตัวอยู่เป็นวิหารธรรม ไม่ทุกข์หรอกนะ แต่เสร็จแล้วท่านตบท้าย พระอริยเจ้าทั้งหลาย พระอรหันต์ มีจิตไม่ออกนอก มีจิตไม่ปรุงแต่ง คำสอนท่านลึก คำว่าพระอริยเจ้าคือพระอรหันต์ คำว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งหมายถึงอะไร เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิต จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เห็นว่าจิตเป็นไตรลักษณ์”

นี่เมื่อไม่นาน หลวงพ่อไปเทศน์​ที่วัดบูรพารามนะ เทศน์เรื่องการดูจิต บอกบางคนนะ เรียนหรืออ่านคำสอนหลวงปู่ดุลย์แล้วอ่านแล้วไม่เข้าใจ อย่างบางคนเนี่ยหลวงปู่ดุลย์สอนบอกว่า ประคองจิตให้นิ่งเลยนะ ความคิดนึกปรุงแต่งเกิดขึ้นให้ปัดทิ้งไป แล้วบอกว่าหลวงปู่ดุลย์สอนดูจิตแบบนี้ ท่านสอนแบบนี้เหมือนกัน “แต่นั่นเป็นการดูจิตในขั้นการทำสมถะ” หรือบางท่านก็บอก หลวงปู่ดุลย์สอนดูจิตบอกว่าง สว่าง บริสุทธ์ หยุดความปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกิริยาของจิต ไม่มีอะไรเลย ไม่เหลืออะไรซักอย่าง อันนี้บอกหลวงปู่ดุลย์สอน ก็ถูกอีกหลวงปู่ก็สอน “แต่นั่นเป็นผล เป็นผลที่พระอรหันต์ท่านเป็น ไม่ใช่อย่างพวกเราเป็น” จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค อันนี้ต้องเรียนให้มาก จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งไม่ใช่แปลว่าเห็นจิตชัดๆ ไม่คลาดสายตา จิตเห็นจิตแจ่มแจ้งที่จะเดินปัญญาก็คือ”เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิต”นั่นเอง ถ้าเห็นไตรลักษณ์ของจิตได้ ก็วาง ปล่อยวางได้ นี่ หลวงปู่มั่นสอนหลวงปู่ดุลย์นะ ให้ดูสังขาร ดูสัญญานะ มันปรุงแต่งจิตขึ้นมา หลวงปู่ดุลย์รู้ทันสัญญา รู้ทันสังขาร ก็เลยรู้แจ้งอริยสัจ

หลวงปู่มั่นไม่ได้สอนหลวงปู่ดุลย์ให้ดูจิตนิ่งๆว่างๆนะ แต่ให้เห็นสังขารคือความปรุงของจิต ให้เห็นสัญญาคือการหมายรู้ของจิต ทำงานควบกันอยู่ เพราะมันไปหมายเข้ามันก็เลยไปปรุง พอไปปรุงแล้วมันก็ไปหมาย อย่างพวกเราอยู่ๆนะ บางที ความจำมันเกิดขึ้น หน้าของคนนี้โผล่ขึ้นมา นี่สัญญามันผุดขึ้นมาก่อน สังขารก็ปรุงเลย นี่ผู้หญิงสวยคนนี้ แฟนเก่าเราชอบ รักมาก ความรัก ความรู้สึกรักเกิดขึ้น หรือความรู้สึกโกรธเกิดขึ้น กิเลสมาปรุงจิตแล้ว ก็ไปหมายผิดๆนะ พอปรุงนี่แฟนเรานะ ก็หมายผิดๆ ว่ามีตัวมีตนมีจริงๆนี่หมายผิดอีกแล้ว อาศัยสัญญาทำให้เกิดสังขาร อาศัยสังขารทำให้สัญญาทำงาน หมายไปผิดๆต่อไปอีก กระทบกันไปกระทบกันมา สังสารวัฏยืดเยื้อยาวนานเลย

ฉะนั้นเวลาเราฟังพระพุทธเจ้า ฟังธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนก็ดี ฟังที่หลวงพ่อสอนก็ดีนะ หรือฟังจากหลวงปู่ดุลย์สอน หรือ ครูบาอาจารย์องค์ไหนก็ดี ต้องแยกให้ออกว่า สิ่งที่ท่านสอนนั้นเป็นธรรมะระดับไหน สอนใคร ธรรมะแต่ละชั้น แต่ละชั้น ไม่เหมือนกัน อย่างดูจิตเพื่อให้เกิดศีล ดูจิตเพื่อให้เกิดสมาธิ ดูจิตเพื่อให้ตั้งมั่น ดูจิตเพื่อให้เกิดปัญญา คนละแบบกัน หรือ ดูจิตเป็นวิหารธรรมของพระอรหันต์ คนละแบบกัน อย่าไปมั่วนะ บอก หลวงปู่ดุลย์​บอกประคองจิตให้ว่าง โถ นั่นสอนพวกทำสมถะไม่เป็นให้ทำสมถะก่อนอะไรนี้นะ คนละเรื่องกันเลย หลวงพ่อเคยไปทำนะ ประคองไว้ โดนท่านจวกเอา ไม่ได้ดูจิต ดูจิตต้องปล่อยให้มันทำงาน ถึงเจริญปัญญา เห็นไตรลักษณ์ เห็นมันทำงานได้เองนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๔๘ ถึงนาทีที่ ๕๒ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรามีหน้าที่เพียงเจริญไตรสิกขา จิตบรรลุหรือไม่เป็นเรื่องของเขา

mp3 for download : เรามีหน้าที่เพียงเจริญไตรสิกขา จิตบรรลุหรือไม่เป็นเรื่องของเขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เจอท่านนานเลย หลายปี จนก่อนท่านมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์ ปีสี่เท่าไหร่ ปี ๔๑ ประมาณนี้ จำไม่ได้แล้ว พอเข้าไป ท่านมาเทศน์เสร็จก็คลานเข้าไป กราบท่าน บอกว่า หลวงพ่อผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว ท่านบอกว่า หลวงพ่อจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก

หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย โอ้..คราวนี้นะ ท่านเปลี่ยนไปเลยนะ เหมือนท่านเป็นคนอีกคนหนึ่งเลย กริยาท่าทางของท่านองอาจผึ่งผายนะ ท่านบอกว่า จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่แล้ว จะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง พูดห้าวหาญมากเลย โห..เราฟังปุ๊บเราเข้าใจแล้ว ท่านทำลายเปลือกออกมาได้แล้ว ท่านห้าวหาญมากเลย ท่านบอกวิธีให้นะ ไม่ได้ทำอะไรนะ รอให้ลูกไก่นี้โตขึ้นมา แล้วลูกไก่จะเจาะเปลือกเอง

ก็คือธรรมะอันเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเคยสอนนั่นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรผลนิพพานได้นะ จิตบรรลุเอง เรามีหน้าที่เจริญศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญไตรสิกขานั่นเอง เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนี่นะ จิตมีพลัง มีพลานุภาพเต็มที่แล้วนี่นะ จะเจาะทำลายอาสวะออกมาเอง

พระพุทธเจ้าท่านเทียบเหมือนคนทำนา บอกว่าชาวนานไม่สามารถทำให้ข้าวออกรวงได้ ข้าวมันออกรวงของมันเอง สิ่งที่ชาวนาทำได้คือไถนา ไถอยู่ที่ดินไม่ได้ไปไถต้นข้าว หว่านเมล็ดข้าวลงไปในนา แล้วก็เอาน้ำเข้านา ช่วงไหนน้ำน้อยก็เติมน้ำ ช่วงไหนน้ำมากก็ไขน้ำออก ถึงเวลาแล้วข้าวก็ออกรวง ข้าวออกเมล็ด ข้าวก็ออกของมันเอง ชาวนาไม่ได้ออกเมล็ดข้าวมา

จิตนี้ก็เหมือนกันนะ เราเจริญไตรสิกขา ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญอย่างนี้แหละ ถึงวันที่เขาพอเพียงแล้ว อริยมรรคก็จะเกิดขึ้นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพวกเรานะ ค่อยฝึกไป คอยรู้กายคอยรู้ใจนะ ถือศีล ๕ ไว้เป็นเบื้องต้น วันไหนจิตใจฟุ้งซ่านมากก็ทำความสงบเข้ามา ให้จิตใจได้พักผ่อนบ้าง พอจิตใจสงบแล้วและพักผ่อนพอสมควรแล้วก็ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน ให้เจริญปัญญาด้วยการมีสติรู้กายอย่างที่กายเขาเป็น มีสติรู้จิตอย่างที่จิตเขาเป็น ไม่เข้าไปแทรกแซงเขา

เวลารู้ ให้รู้อยู่ห่างๆ อย่าถลำลงไปรู้ อย่ากระโจนลงไปรู้ รู้อยู่ห่างๆเหมือนดูคนอื่น ดูกายนี้เหมือนดูกายคนอื่น ดูเวทนานี้เหมือนดูเวทนาคนอื่น ดูจิตนี้เหมือนดูจิตคนอื่นไป ดูเหมือนดูคนอื่นเรื่อยๆ ทั้งกายทั้งเวทนาทั้งจิตนี้เป็นแต่สภาวธรรมซึ่งถูกรู้ถูกดู สิ่งใดถูกรู้สิ่งใดถูกดูสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นของอยู่นอกๆนะไม่ใช่ตัวเราหรอก

ให้เฝ้ารู้เฝ้าดูไป กระทั่งต่อมาเราจะเห็นว่า แม้กระทั่งผู้รู้ผู้ดูเองก็เกิดๆดับๆ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง ใช่มั้ย เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ผู้รู้เองก็เกิดดับๆเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆไม่มีอะไรคงที่สักอันเดียวเลย เนี่ยดูอย่างนี้เรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งลูกไก่ก็จะหลุดออกมาจากเปลือกได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๔๒ ถึงนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เบื้องต้นยังดูไม่ถึงจิต ให้ดูอารมณ์ไปก่อน

mp3 for download : เบื้องต้นยังดูไม่ถึงจิต ให้ดูอารมณ์ไปก่อน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คำว่าดูจิตๆนั้นส่วนใหญ่เราพูดโดยอนุโลม ส่วนมากดูไม่ถึงจิตหรอก ส่วนมากเราจะไปดูอารมณ์มากกว่า เช่นเราเห็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ความสุขความทุกข์ใดๆเกิดขึ้น เราก็คอยรู้ไปเรื่อยๆ

เราไม่สามารถเห็นตัวจิตตรงๆได้ ก็อาศัยการรู้จิตตสังขาร คือสิ่งที่ปรุงแต่งจิต แล้วก็เห็นเลย จิตที่มีความโลภเกิดมาแล้วก็หายไป เกิดจิตไม่โลภ เดี๋ยวก็เป็นจิตที่มีความหลงเกิดมาแล้วก็หายไปเป็นจิตไม่หลง จิตมีความโกรธ เกิดมีโลภโกรธหลงอะไรอย่างนี้ เกิดแล้วก็หาย แต่ละอย่างๆ เห็นอย่างนี้ยังไม่เรียกว่าเห็นจิตหรอก แต่เห็นจิตตสังขาร เพราะตัวจิตไม่มีรูปร่างแสงสีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีอะไรที่จะให้สัมผัสร่องรอยของมันได้ จิตเป็นแต่ธรรมชาติรู้

แต่ถ้าเราฝึกจนชำนิชำนาญนะ เบื้องต้นก็หัดดูความรู้สึกไปก่อน ต่อไปเราก็จะค่อยๆสังเกตเห็นพฤติกรรมของจิต ตัวพฤติกรรมของจิตนี้บางทีเราก็รู้สึก จิตมันเหมือนวิ่งไปที่ตา วิ่งไปที่หู วิ่งไปที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ วิ่งไปวิ่งมา เหมือนจิตมีดวงเดียววิ่งไปวิ่งมาได้ อันนี้จริงๆก็ยังไม่ใช่จิตอีก เป็นวิญญาณ ที่หลวงปู่ดูลย์บอกว่าให้ดูจิตน่ะ ไม่ใช่ดูแค่นั้นหรอกนะ นั่นเป็นวิญญาณทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับไปเรื่อยๆ ยังไม่ใช่ตัวธาตุรู้นะ ดูยากนะจิตแท้ๆ

ทีนี้ถ้าหากละเอียดปราณีตขึ้นมาอีกนะ เราดูความไหว ความไหวของจิต เราจะรู้สึกนะ เวลาตัณหาเกิด อยากดูรูป จิตเหมือนจะขยับไป เหมือนจะขยับไปดูนะ เวลาได้ยินเสียงเมือนจะขยับไปฟัง เวลาได้กลิ่นได้รสได้สัมผัส เหมือนมันขยับไป จะไปรู้อารมณ์ แค่มันขยับตัวขึ้นมาก็เห็นแล้ว ก็ไม่ต้องไปดูนาน คล้ายๆดูที่ต้นตอมัน พอมันไหวตัวขึ้นมา ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตส่งออกนอก รู้ทันตรงที่จิตส่งออกนอกนี่ ไม่ใช่ไปรู้อารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า

แต่ว่าบางคนก็ทำตรงนี้ไม่ได้ ทำตรงนี้ไม่ได้ก็ดูความรู้สึกดูอารมณ์ไปก่อน เห็นมันโลภมันโกรธมันหลงไป มันสงสัย มันหดหู่ มันว้าเหว่ มันดีใจ มันเสียใจ มันสุขมันทุกข์ หมุนเวียน ดูอย่างนั้นไปก่อน เก่งขึ้นมาก็เห็นเลย เดี๋ยวจิตวิ่งไปที่ตา วิ่งไปที่หู ถ้าเห็นอย่างนี้ใช้ได้เลย เก่งขึ้นมาเยอะแล้ว ต่อไปนะมันจะรู้อยู่ที่จิต พอจิตจะส่งออกนอกก็เห็นแล้ว

เหมือนคำของหลวงปู่ดูลย์ ลึกซึ้งนะ จิตส่งออกนอก มันมีตัณหาขึ้นมาเมื่อไหร่ จิตก็จะออกนอกเมื่อนั้นน่ะ มันมีแรงผลัก หรือกิเลสเกิดขึ้นนะ มันเย้ายวน เห็นอารมณ์บางอย่างเย้ายวนใจ เหมือนดึงดูดให้จิตขยับตัว จะวิ่งเข้าไปหา…

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510414A
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๑๕ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เมื่อเด็กวัยรุ่นตั้งใจภาวนาให้ถึงนิพพาน (ปัญหาของการปรับตัวระหว่างโลก-ธรรม)

เมื่อเด็กวัยรุ่นตั้งใจภาวนาให้ถึงนิพพาน (ปัญหาของการปรับตัวระหว่างโลก-ธรรม)

ถาม : คือหนูเป็นเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจการดูจิตและได้ปฏิบัติตามมาสักพักแล้วค่ะ
แต่ช่วงนี้รู้สึกสับสน และกังวล ว่าจะปรับวิธีการดูจิตยังไงให้เข้ากับตัวเองค่ะ

หนูทราบมาว่า การที่จะปฏิบัติเพื่อหวังที่จะได้นิพพานในชาติใดชาตินึง ไม่ใช่แค่อยู่แบบมีความสุขกับโลกไปวันๆ
ควรจะเอาจริงเอาจังกับการปฏิบัติ  อย่างเช่น ไม่ควรสุงสิงกับโลกมากเกิน ไม่งั้นจะฟุ้งซ่าน ปฏิบัติไม่ก้าวหน้า
ควรจะหมั่นรู้หมั่นดูจิตตัวเองอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดระยะ  ฯลฯ

ปัญหาของหนูตามตรงก็คือ หนูคิดว่าตัวเองยังไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เอาจริงเอาจังขนาดนั้นได้ค่ะ

หนูรู้สึกไม่สบายใจเลยค่ะ  เหมือนปฏิบัติทั้งทีก็ไม่เอาไหน อยู่ครึ่งๆกลางๆ
กลัวทำไปแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาในระยะยาวค่ะ
พอคิดกังวลเรื่องนี้มากๆเข้า  ก็โกรธตัวเองว่าทำไมไม่จริงจังกับมัน ทำไมยังติดกับโลกอยู่มาก
เครียดจนเลิกดูจิตไปเลย หลายครั้งมากๆค่ะ

รบกวนอาจารย์สุรวัฒน์ให้คำแนะนำหนูด้วยค่ะ ว่าควรจะจัดการอย่างไรกับตรงนี้ดี
ถ้าหนูต้องการปฏิบัติชนิดที่เป็นต้นทุนข้ามภาพข้ามชาติได้ ไม่ใช่แค่มีความสุขไปวันๆ
หนูควรจะทำพฤติกรรมอย่างไร หาความพอดีในการปฏิบัติให้กับชิวิตวัยรุ่นตอนนี้ได้อย่างไรบ้างคะ

ตอบ : ปัญหาของคุณนั้น
จริงๆ แล้วเป็นเพราะยังปรับตัวให้เป็นกลางๆ ระหว่างโลกกับธรรมไม่ได้
ซึ่งจะเป็นอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อใดที่สามารถปรับตัวได้
ก็จะสามารถปฏิบัติกลมกลืนอยู่ในชีวิตประจำวันตามปกติได้ครับ

ช่วงนี้ให้ใช้วิธี
แบ่งแยกเวลาภาวนากับเวลาที่ต้องทำกิจกรรมทางโลกออกจากกันก่อน
คือเวลาไหนที่ต้องทำหน้าที่ทางโลก เรียนหนังสือ ต้องอยู่กับสังคม
ก็ยังไม่ต้องห่วงเรื่องการภาวนา ให้ทำกิจกรรมต่างๆ เหมือนคนทั่วไป
แต่ให้รักษาศีล 5 ไว้ก่อน (ข้อ 4 เอาแค่ไม่พูดโหกให้คนอื่นเดือดร้อน)
จะเผลอเพลินไปกับโลกก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดานะครับ
พอจังหวะใดที่นึกได้ว่าเผลอเพลินไป ก็ให้แค่รู้ว่าเมื่อกี้เผลอเพลินไป
แล้วก็ปล่อยใจสบายๆ ไม่ต้องฝืน จะเผลอเพลินอีกก็ค่อยไปรู้เอาใหม่
หัดไปสบายๆ ก็จะค่อยๆ อยู่กับโลกสลับกับกลับมารู้ตัวได้บ่อยขึ้นเอง
โดยที่ไม่ต้องทำตัวให้แปลกแยกไปจากสังคมเลยครับ

สำหรับกิจกรรมทางโลกทั่วไปเช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านนิยาย
อันนี้ก็แบ่งเวลาให้เหมาะสม ดูหนัง ฟังเพลง อ่านนิยาย
ไปตามสมควรเพื่อเป็นการพักผ่อน
ทำอะไรแล้วก็ย้อนมาสังเกตจิตใจไปบ้างตามสมควร
เท่าที่จะทำได้ก็เพียงพอแล้วครับ

แล้วพอถึงเวลาที่เราอยู่ตามลำพัง
ก็ให้กำหนดเวลาที่จะปฏิบัติภาวนาตามรูปแบบทุกวัน
(เอาแค่พอสะดวกและไม่ทำให้เสียเวลาเรียนหนังสือไป)
ช่วงเวลาตรงนี้เราจะจริงจังกับการภาวนาให้มาก
ปิดโทรศัพท์ หัดภาวนามีสติอยู่กับตัวเองเท่านั้น

ลองปรับดูตามนี้นะครับ :D

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รวมภาพและคำสอนของหลวงปู่ดู่

รวมภาพและคำสอนหลวงปู่ดู่

(คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หน้าที่ของชาวพุทธ

mp3 (for download): โอวาทหลวงพ่อแด่ชาวพุทธทุกคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาท

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราต้องช่วยกันนะ ช่วยกัน ฟังธรรมะแล้วค่อยๆสังเกตลงในกายในใจของตัวเอง ช่วยตัวเองก่อนนะ ต่อๆไปก็จะได้ช่วยคนรอบๆตัวเรา ในภาพรวมก็จะได้ช่วยสังคมให้มันร่มเย็น อย่างน้อยสังคมนี้ร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ ยังมีจุดที่เย็นๆเหลืออยู่สักจุด สองจุด เล็กๆก็ยังดีนะ อยู่ในบ้านเราน่ะ ค่อยๆฝึกไป

ชาวพุทธทุกวันนี้ร่อยหรอสุดขีดแล้วนะ ศาสนาพุทธตกอยู่ในอันตรายที่น่ากลัวที่สุดแล้ว ศาสนาพุทธแท้ๆที่สืบทอดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเถรวาทเหลือนิดเดียวแล้ว เหลืออยู่ไม่กี่ประเทศ เหลือยู่ในเมืองไทย ในลังกา ในพม่า อะไรอย่างนี้

ในเมืองไทยแล้ว จริงศาสนาพุทธแทบจะเรียกได้ว่าสูญไปแล้ว หรือเกือบๆจะสูญไปแล้ว เราอย่าภูมิใจว่ามีชาวพุทธเก้าสิบกว่าเปอร์เซนต์ เก้าสิบกว่าเปอร์เซนต์นั้นเป็นคนไม่มีศาสนาต่างหาก (คนเหล่านี้-ผู้ถอด)อะไรก็ได้ ขอให้รวยก็แล้วกัน ใช่มั้ย พร้อมจะนับถืออะไรก็ได้ เอาอะไรมาห้อยก็ได้นะ ไหว้มันหมดแหละ หมู หมา กา ไก่ วัวสามขาก็ไหว้ ใช่มั้ย อะไรๆเกิดขึ้นมาเราก็นับถือหมด เทวดงเทวดา มนุษย์สร้างเทวดาแล้วมนุษย์ก็กลัวเทวดา แล้วมนุษย์ก็ไปไหว้เทวดา เราขายพระพุทธเจ้าได้นะ ขอให้รวยก็แล้วกัน

เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วเราไม่ใช่ชาวพุทธ คนส่วนมากไม่ใช่ชาวพุทธ พวกเรานี้ชาวพุทธนะ เพราะพวกเราศึกษาธรรมะ ถ้าคนไหนไม่ได้ศึกษาธรรมะไม่ใช่ชาวพุทธหรอก เป็นชาวพุทธแต่ชื่อ เป็นพุทธในทะเบียนบ้านหรือในบัตรประชาชน ไม่ใช่พุทธตัวจริง พุทธตัวจริงมีนับตัวได้เลย นับจำนวนได้เลย มีไม่เท่าไหร่หรอก หลวงพ่อกะว่าคงมีเพียงระดับหลักหมื่นเท่านั้นมั้ง คือพุทธที่ต้องศึกษาธรรมะนะ ถ้าเป็นพุทธเฉยๆ พุทธตามบรรพบุรุษอะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่หรอก

ทุกวันนี้สติปัญญาของคนตกต่ำลงเรื่อยๆ ยกตัวอย่างคนสมัยโบราณคนนับถือเทวดา นับถือเทพใช่มั้ย พอเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมา คนไม่ได้นับถือเทวดา คนนับถือธรรมะ ธรรมะคืออะไร ธรรมะคือความจริง คนยอมรับความจริง ดำรงชีวิตสอดคล้องกับความเป็นจริงแล้วก็ไม่ทุกข์ ไม่ใช่ให้คนอื่นช่วย คนเรารู้เลยว่า เราช่วยตัวเองได้ เราต้องพึ่งตัวเอง เราทำอะไรเราก็ต้องได้รับผลอย่างนั้น

มนุษย์พอเปลี่ยนจากเชื่อเทวดา เชื่อเทพเจ้า มาเชื่อในธรรมะ มนุษย์ก็จะไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิต หรือใครมาบงการ เราจะเชื่อกรรม กรรมคือการกระทำของเราเอง กำหนดชีวิตของเราเอง

เนี่ยถ้าเราทำกรรมฐานนะ รู้สึกกายรู้สึกใจ เราจะรู้เลย ชีวิตเราเปลี่ยนจริงๆนะ มันเปลี่ยนจริงๆ เราทำกรรมชั่ว เราก็เดือดร้อนจริงๆ มนุษย์ที่พัฒนาแล้วนะ พัฒนาทางสติปัญญาแล้วจะไม่เชื่อเรื่องอำนาจภายนอกนะ แต่ยอมรับเรื่องกรรมและผลของกรรมซึ่งเราทำเอง

แล้วมนุษย์ถ้าอยากให้มีสติปัญญามากขึ้น ก็ต้องศึกษาธรรมะ เรียกว่าไตรสิกขา ศึกษาเรื่องศีล ศึกษาเรื่องจิต ศึกษาเรื่องการเจริญปัญญา เมื่อศึกษาแจ่มแจ้งแล้ว จิตใจก็ไม่ยึดถืออะไร จิตใจดำรงชีวิตสอดคล้องอยู่กับธรรมะล้วนๆเลย คราวนี้ จิตธรรมะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แยกจากกัน เนี่ยมีความสุขล้วนๆ นี่เป็นพัฒนาการที่สูงที่สุดแล้วที่มนุษย์เคยมีมา แต่พวกเราเคยมีสิ่งเหล่านี้ เรากำลังสูญเสียไป

ยกตัวอย่างเราเคยมีพระพุทธเจ้า ต่อมาเราก็ลดลงมาเหลือพระพุทธรูป ท่านพุทธทาสท่านเคยพูดไว้นานแล้ว แล้วท่านทายไว้ด้วย ต่อไปไม่ใช่พระพุทธรูป ต่อไปจะนับถือรูปเจว็ดต่างๆนะ ซึ่งไม่ใช่อะไรที่เป็นศาสนาพุทธ

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้นนะ แล้วก็จะเกิดต่อไปอีก หน้าที่ของเราทุกคน ทุกคนมีความสำคัญนะ สำคัญต่อตนเอง สำคัญต่อครอบครัว สำคัญต่อสังคมที่แวดล้อมอยู่ และสำคัญที่จะสืบทอดศาสนาต่อไปอีก ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้มีโอกาสฟังธรรมะ เหมือนที่พวกเรามีโอกาส

เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาธรรมะ วิธีรักษาธรรมะที่ดีที่สุด คือ การศึกษาธรรมะ จนธรรมะเข้าไปสู่ใจของเรา ธรรมะที่ต้องศึกษาให้รู้เรื่อง คือเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน เรื่องสมถกรรมฐานเป็นของง่าย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้าก็มีสมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นต้องฟังเรื่องวิปัสสนา ก็คือการที่เรามีสติ รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาแล้วคอยรู้กายอย่างที่มันเป็น รู้จิตใจอย่างที่มันเป็น รู้มากเข้าๆนะ จนเห็นผลของการปฏิบัติ เมื่อเราเห็นผลแล้วเนี่ย เราจะเชื่อมั่น ศรัทธา ในศาสนาพุทธอย่างแน่นแฟ้น เชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่นแฟ้น คนที่จะเชื่ออย่างแน่นแฟ้นก็คือคนที่เห็นผลของการปฏิบัติแล้ว คือพระโสดาบันขึ้นไป

เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าประมาทนะ ศรัทธาของพวกเราส่วนใหญ่ซึ่งเป็นปุถุชนนี้ ยังเป็นศรัทธาที่ยังกลับกลอกได้ ตอนนี้นับถือพุทธนะ แต่อีกหน่อยอาจจะไม่นับถือก็ยังได้นะ เพราะฉะนั้นต้องพากเพียรศึกษาลงมาในกายในใจนี้ ถ้าศึกษาจนเริ่มเห็นผลแล้วนะ ให้เอาไปตัดคอซะถ้าไม่บอกว่าพระพุทธเจ้าโกหกเนี่ย ยังไงก็ไม่ยอม เพราะว่ารู้แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้โกหก ธรรมะที่ท่านสอนเป็นของจริงล้วนๆ ปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์จริงๆ เห็นได้ด้วยตนเองจริงๆ

เพราะฉะนั้นพวกเราพากเพียรไปนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

CD: แสดงธรรมที่ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
File:
500916
ระหว่างนาทีที่  ๒๔ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขาดสติคือขาดความเพียร

Mp3 for download: 451117A_no sati no pawana

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขาดสติ คือขาดความเพียร

ขาดสติ คือขาดความเพียร

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงปู่มั่นท่านบอกว่ามีสติคือมีความเพียร ขาดสติคือขาดความเพียร เพราะฉะนั้นอย่างเราไปเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน ถ้าเราเดินแบบไม่มีสติก็คือไม่ได้ทำความเพียรอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑

File: 451117A
Track: ๑๑
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อาสาฬหบูชา : ปฐมแสงธรรมของพระพุทธศาสนา

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม

เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘

ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ          สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา          สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไปมีความโดยย่อว่า

ที่สุด 2 อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุดอีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริห์ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ  และตั้งใจชอบ  อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี 4 ประการได้แก่

ความทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ  อุปาทานในขันธ์ 5 เป็นทุกข์

สาเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ

ความดับทุกข์ โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน

หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์  8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า

นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้  และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว

นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว

นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง  และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว

นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ  และพระองค์ ได้เจริญแล้ว

สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ 4   มีรอบ 3   มีอาการ 12   คือ   ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ 3 พระองค์ได้ กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว

พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญา   ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 มี รอบ 3 มีอาการ 12 อย่างหมดจดดีแล้ว

เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้

วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการคือ

1.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร   ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย

2. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น

3. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

สมเด็จพระสังฆราชประทานโอวาทวันอาสาฬหบูชา

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา พ.ศ. 2554 ใจความว่า วันอาสาฬหบูชาเป็นวันบูชาที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา ตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือ เดือนอาสาฬหะ เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะ หลังจากได้ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ทรงเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ 2 เดือน ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ทรงประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรกโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม รู้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” โดยสมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปล่งพระพุทธวาจาให้เป็นที่ประจักษ์ว่า อัญญาโกณทัญญะ คือ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ วันนั้นจึงเป็นวันที่พระรัตนตรัยเกิดครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ องค์แรกที่เกิดขึ้น คือ ท่านโกณฑัญญะ ด้วยพระบารมีพระรัตนตรัย จงมั่นใจและจงปฏิบัติเทิดทูนบูชาพระรัตนตรัยให้เต็มจิตใจทุกเวลา ขออำนวยพร

ธรรมะโดยหลวงพ่อปราโมทย์ที่แนะนำวัน อาสาฬหบูชา Click >>

1. อริยสัจจ์เป็นธรรมะที่สำคัญที่สุด

2.ทางที่ผิดสองทางคือ ลืมกายลืมใจตัวเอง และ บังคับกายบังคับใจตัวเอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะจากพระอาจารย์มั่น : นิโรธของพระอริยะเจ้า ***แนะนำ***

นิโรธของพระอริยะเจ้า

พระอาจารย์จวนเล่าไว้ในประวัติของท่าน เมื่อครั้งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ถ้ำจันทร์

ข้าพเจ้าจึงมาคำนึงถึงโอวาทที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระได้เคยเล่าเรื่องการเข้านิโรธของพระอาจารย์ลูกศิษย์ท่าน องค์หนึ่งให้ฟัง ขณะที่ข้าพเจ้าอยู่จำพรรษาร่วมกับท่าน ท่านได้ประกาศให้บรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายทราบทุกๆ องค์ว่าในสมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์องค์นั้นได้เข้าไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ท่านได้ถาม ท่านอาจารย์องค์นั้นว่า “ท่าน….จากกันไปนาน การภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง ดีหรือไม่”

ท่านพระอาจารย์องค์นั้น ตอบถวายท่านพระอาจารย์มั่นว่า “กระผมเข้านิโรธอยู่เสมอๆ”

“ เข้าอย่างไร ? ”

“น้อมจิต เข้าสู่นิโรธ”

ท่านพระอาจารย์มั่น ย้อนถามว่า “น้อมจิตเข้านิโรธ น้อมจิตอย่างไร”

ก็ตอบว่า “น้อมจิตเข้านิโรธ ก็คือ ทำจิตให้สงบแล้วนิ่งอยู่โดยไม่ให้จิตนั้นนึกคิดไปอย่างไร ให้สงบและทรงอยู่อย่างนั้น”

“แล้วเป็นอย่างไร เข้าไปแล้วเป็นอย่างไร” ท่านพระอาจารย์มั่นซักถาม

“มันสบาย ไม่มีทุกขเวทนา”

ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า “เวลาถอนเป็นอย่างไร”

ท่านพระอาจารย์องคนั้นตอบว่า “เวลาถอนก็สบายทำให้กายและจิตเบา”

“กิเลสเป็นอย่างไร”

“กิเลสก็สงบอยู่เป็นธรรมดา แต่บางครั้งก็มีกำเริบขึ้น”

พอถึงตอนนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงได้ประกาศเรื่องนิโรธให้บรรดาสานุศิษย์ทราบทั่วกันว่า

“นิโรธแบบนี้ นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติเพราะเป็นนิโรธที่น้อมเข้าเอง ไม่มีตัวอย่างว่า พระอริยเจ้าน้อมจิตเข้านิโรธได้ ใครจะไปน้อมจิตเข้าได้ เมื่อจิตยังหยาบอยู่ จะไปน้อมจิตเข้าไปสู่นิโรธที่ละเอียดไม่ได้ เหมือนกับบุคคลที่ไล่ช้างเข้ารูปู ใครเล่าจะไล่เข้าได้รูปูมันรูเล็กๆ หรือเหมือนกับบุคคลที่เอาเชือกเส้นใหญ่จะไปแหย่ร้อยเข้ารูเข็ม มันจะร้อยเข้าไปได้ไหม..? เพราะนิโรธเป็นของที่ละเอียด จิตที่ยังหยาบอยู่จะไปน้อมเข้าสู่นิโรธไม่ได้ เป็นแต่นิโรธน้อม นิโรธสมมติ นิโรธบัญญัติ นิโรธสังขาร นิโรธหลง…!”

แล้วท่านก็เลยอธิบาย เรื่องนิโรธต่อไปว่า

“นิโรธะ” แปลว่า ความดับ คือดับทุกข์ ดับเหตุ ดับปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เกิดทุกข์ทั้งหลาย ดับอวิชชา ดับตัณหานั่นเอง จึงเรียกว่า เป็นนิโรธ อย่าไป ถือเอาว่าจิต ที่ไปรวมลงสู่ภวังค์ หรือฐีติจิต จิตเดิม เป็นนิโรธ มันใช้ไม่ได้

-ท่านว่า-จิตชนิดนั้นถ้าขาดสติปัญญาพิจารณาทางวิปัสสนาแล้ว ก็ยังไม่ขาดจากสังโยชน์ ยังมีสังโยชน์ครอบคลุมอยู่ เมื่อถอนออกมาก็เป็นจิตธรรมดา เมื่อกระทบกับอารมณ์ต่างๆ นานเข้า ก็เป็นจิตที่ฟุ้งซ่านและเสื่อมจากความสงบหรือความรวมชนิดนั้น

ท่านพระอาจารย์มั่นได้ประกาศให้ทราบว่า

“กระผมก็เลยไปพิจารณาดูนิโรธของพระอริยเจ้าดูแล้วได้ความว่า นิโรธะ แปลว่า ความดับ ดับเหตุ ดับปัจจัย ที่ทำให้เกิดทุกข์ ทั้งหลาย คือทำตัณหาให้สิ้นไป ดับตัณหา โดยไม่ให้เหลือ ความละตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความสละ สลัดตัดขาด จากตัณหานี้ จึงเรียกว่า “นิโรธ”

นี่เป็นนิโรธ ของพระอริยเจ้า….ท่านว่า

นิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็น “อกาลิโก” ความเป็นนิโรธ การดับทุกข์อยู่ตลอดเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา ไม่เหมือน “นิโรธ” ของพวกฤาษีชีไพรภายนอกศาส ส่วนนิโรธของพวกฤาษีชีไพรภายนอกศาสนานั้นมีความมุ่งหมายเฉพาะ อยากแต่จะให้จิตของตนรวมอย่างเดียว สงบอยู่อย่างเดียว วางอารมณ์อย่างเดียว เมื่อจิตถอนจากอารมณ์แล้ว ก็ไม่นึกน้อมเข้ามาพิจารณาให้รู้เห็นสัจธรรม คือให้รู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ยินดีเฉพาะแต่จิตที่สงบหรือรวมอยู่เท่านั้น ว่าเป็นที่สุดของทุกข์เมื่อจิตถอนก็ยินดี เอื้อเฟื้อ อาลัย ในจิตที่รวมแล้วก็เลยส่งจิตของตนให้ยึดในเรื่องอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ปัจจุบันบ้าง ส่วนกิเลส ตัณหานั้นยังมีอยู่ ยังเป็นอาสาวะนอนนิ่งอยู่ภายในหัวใจ

ท่านเลยอธิบายถึงนิโรธของพระพุทธเจ้าและพระอริยะเจ้าต่อไปว่า

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ของพระอริยเจ้านั้น ต้องเดินตามมัชฌิมปฏิปทา…ทางสายกลาง คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ…นี่จึงจะถึงนิโรธคือความดับทุกข์ ดับเหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธของพระอริยเจ้านั้นเป็นนิโรธอยู่ตลอดกาลเวลา ไม่อ้างกาล ไม่อ้างเวลา ไม่อ้างกาลนั้นจึงจะเข้านิโรธกาลนี้จึงจะออกนิโรธ ไม่เหมือนนิโรธของพวกฤาษีชีไพรภายนอกพระพุทธศาสนา

นี่เป็นคำสอนของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระที่ได้แสดงไว้ ข้าพเจ้า (พระอาจารย์จวน) จำความนั้นได้้

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระอาจารย์วันชัยแห่งภูสังโฆ พระดี ที่หลวงตามหาบัวฯ บอกว่า “ครองแต่ธรรมเต็มหัวใจ”

พระอาจารย์วันชัยแห่งภูสังโฆ พระดี ที่หลวงตามหาบัวฯ บอกว่า “ครองแต่ธรรมเต็มหัวใจ”

บางส่วนจากคำเทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด “ท่านวันชัยครองแต่ธรรมเต็มหัวใจ” เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๑ >>>

“…ทางนั้นก็มีวัดภูสังโฆกับวัดผาแดง ธรรมลีอยู่ที่นั่น มีแต่พระมากๆ ทั้งนั้นละอยู่ที่นั่น เราไม่ค่อยได้ไปไหนละเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยไปไหน ไปตามจุดที่จำเป็นๆ เท่านั้นละ ที่จะไปเยี่ยมวัดนั้นวัดนี้ไม่ค่อยได้ไป ธุระของเรามีมากต่อมาก วันหนึ่งๆ ไม่ว่างนะ ท่านวันชัยก็ดี มีหลักใจเรียบร้อยแล้ว ท่านพูดเรื่องจิตตภาวนาให้ฟังทุกอย่างๆ เราก็เพียงคอยเพียงคอยแนะๆ เท่านั้น ก็ผ่านไปได้ล่ะ เรียกว่าผ่าน ผ่านได้แล้วท่านวันชัย ผ่านโดยสมบูรณ์ ไม่มีอะไรล่ะกิเลสตัณหาตัวไหนไม่มี เรียกว่าขาดสะบั้นไปเลยละ ครองแต่ธรรมเต็มหัวใจ ถ้าธรรมครองใจแล้วสบายมาก ถ้ากิเลสครองใจเป็นไฟไปเลย มันต่างกัน…”

ประวัติพระอาจารย์วันชัย

พระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต เกิดวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ อดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่น ๘ และ จปร. รุ่น ๑๙ ท่านได้ทำงานรับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงออกบวช แล้วได้พบหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นครั้งแรกที่มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซ.จรัญสนิทวงศ์ ๓๗ ฝั่งธนบุรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

หลวงตามหาบัวได้ให้คำแนะนำว่า “ไม่ควรอยู่เร่ ๆ ร่อน ๆ ควรจะอยู่กับครูบาอาจารย์” จากนั้นไม่นานท่านก็เดินทางไปศึกษากับหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

“ถ้าเป็นน้ำก็แหวกลงไป แหวกจอกแหวกแหลงไป เห็นแล้วน้ำใสสะอาดซ่อนอยู่หลัง ความหมายมั่นสำคัญผิดนี่เอง แหวกความสำคัญทั้งหลายออก ออกให้หมด ธรรมทุกประเภท อนิจจังก็แล้ว ทุกขังก็แล้ว อนัตตาก็แล้ว แหวกออก ๆ จนไม่มีอะไรจะแหวก ถึงน้ำใสบริสุทธิ์ ถึงจิตดั้งเดิม ตัวจริงของจิตเป็นแบบนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเลยเจือปน ใสแท้เห็นธรรม บรรลุธรรม เห็นกายก็จริง เห็นเวทนาก็จริง เห็นจิตจริง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างจริงไปหมด  ฝึกแล้วฝึกเล่า ภาวนาแล้วภาวนาเล่า ทุกข์แล้วทุกข์เล่า พยายามแหวกสิ่งที่คนทั้งหลายเขาละเลย ท่านเห็นอะไรท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม ได้ยินอะไรท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม ได้กลิ่นลิ้มรสได้สัมผัสอะไรก็พินิจพิจารณาอยู่อย่างนั้น ถึงเอียงซ้ายเอี้ยงขวามันก็ไม่เอียง ต้องปรับให้มันตรงอยู่เรื่อย ตรงความจริงอยู่เรื่อย ในที่สุดก็แหวกออกหมด เหลือแต่ความจริงของจิต ทางภาคปฏิบัติ ปฏิบัติไป ๆ เหมือนกับจะไม่เห็นฝั่งเห็นฝาอะไรเลย เหมือนกับไม่มีวันถึงไหน

ถึงต้องถึง นักปฏิบัติไม่หยุดไม่ถอย ยังไงมันก็ต้องถึง เหมือนกับมืดสนิทจะไม่มีวันสว่างเลย เหมือนกับโง่ดักดานจนไม่มีวันรู้เลย ไม่ใช่ มันค่อยเปลี่ยนแปลงไป ๆ จากการประพฤติปฏิบัติของเรา เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด จากชั่วเปลี่ยนไปดี จากมืดเปลี่ยนไปสว่างไปเรื่อย จากขุ่นมัวเปลี่ยนเป็นผ่องใสไป ๆ จากกิเลสก็เปลี่ยนเป็นธรรมขึ้นมา”

โอวาทธรรมจากพระอาจารย์วันชัย

“คนเราโลภ โกรธ หลง มาตั้งแต่เกิด จนแก่ จนตาย ไม่
เห็นมีอะไรดี กิเลสมันร้าย  เราไม่ได้ไปร่ำไปเรียน กิเลสมันก็ติดตัวเรา
ตั้งแต่เกิด ก็เพราะความหลงผิด ในตัวตนนั่นเอง”

“เวลาเราเหลือน้อยลงทุกที
อย่าได้ประมาท ให้เร่งภาวนากัน”

“ภาวนาให้มาก ต้องต่อสู้ ต้องพากเพียร จึงจะได้ของจริง”

“เอ้า แยกย้ายกันภาวนา”

วัดสังโฆญาณวิสุทธิโสภณ(ภูสังโฆ)

ตั้งอยู่บ้านกุดหมากไฟ หมู่ที่ 1 ตำบลกุดหมากไฟ  อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอาจารย์วันชัย  วิจิตโต เป็นประธานสงฆ์ เดินทางจากจังหวัดอุดรธานี ถึงอำเภอหนองวัวซอ บ้านอูบมุง บ้านกุดหมากไฟ ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร


วัดภูสังโฆญาณวิสุทธิโสภณ (วัดภูสังโฆ, วัดป่าสังฆาราม) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดเสิงเคิง เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นวัดที่เน้นหนักและเข้มงวดเรื่องการปฏิบัติภาวนา สถานที่สัปปายะ เหมาะอย่างยิ่งในการเร่งปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง

การเดินทาง : มาจากตัวเมืองอุดร บนถนนอุดร-เลย ถึงทางแยกไปตัว อ.หนองวัวซอ เลี้ยวซ้าย ระยะทางตรงนี้ ประมาณ 22 กม. ตรงไปเรื่อย จะผ่านตัว อ.หนองวัวซอ ให้ตรงไปอีกบนถนนลาดยาง จนเกือบสุดถนน ให้เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านกุดหมากไฟ ตามถนนลาดยางไปไม่ไกล จะต้องเลี้ยวซ้าย มีป้ายบอก ให้สังเกตป้าย และถามทางไปเรื่อยๆ จนสุดถนนลาดยาง จะมีทางเลี้ยวขวา (ถนนดินแดง) ไปเรื่อยๆ ก็จะถึงวัด หรือเดินทางจาก อ.เมือง จ.อุดรธานี ก็นั่งรถสองแถวที่จะไปบ้านกุดหมากไฟ สุดสายเลย แล้วบอกให้สองแถวเลยไปส่งต่อที่วัดภูสังโฆ ได้เลย สองแถวจะรู้หมดทุกคัน ชาวบ้านจะเรียกชื่อวัดว่า วัดเสิงเคิงหรือวัดภูสังโฆ ก็จะทราบเป็นส่วนใหญ่

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาพเก่าๆของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น (หาดูยากมาก)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

mp 3 (for download) : สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เราบอกว่าเราฟังธรรมเข้าใจเนี่ย   ความจริงไม่ได้เข้าใจด้วยการฟัง แต่เข้าใจด้วยการคิดเอาเอง การคิดเอาเองของเราเนี่ย  คิดถูกก็ได้  คิดผิดก็ได้ งั้นธรรมที่ฟัง ๆ เอานะยังใช้ไม่ได้ ฟังเอาพอเป็นแนว เพื่อจะมารู้กาย รู้ใจ  ศัตรูของการรู้กาย รู้ใจ  เบอร์หนึ่งเลยคือการที่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกาย ลืมใจที่เป็นปัจจุบัน รู้สึกไหม ขณะที่เราคิดไปเนี่ย เรานั่งอยู่เราก็ลืมไป จิตใจเราเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล เราก็ไม่รู้ นึกออกไหม   เนี่ยอย่างขณะนี้ลืมกาย ลืมใจแล้ว ตรงที่ไหลแว๊บไป

เพราะฉะนั้นตราบใดที่คุณยังคิดไม่เลิกนะ  คุณไม่ได้ทำวิปัสสนาแน่นอน แล้วมันเป็นศัตรูด้วย   หลวงพ่อเลยไม่ส่งเสริมให้มานั่งคิดนั่งถามนะ ที่สงสัยได้เพราะคิดมาก   คิดมากก็สงสัยมาก สงสัยแล้วอยากถาม ถามไปแล้วก็จำเอาไว้แล้วหรือเอาไปคิดต่อ นะ มันจะเวียนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ  วิปัสสนาจริง ๆ ไม่ใช่การคิด วิปัสสนาจริงๆ ในอภิธรรมสอนนะเริ่มจากตัวอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณเนี่ยมันเห็นความเกิดดับของรูปนามนะ แล้วระบุไว้ด้วยว่า ต้องพ้นจากความคิดด้วย ถ้ายังเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเอา เช่นคิดเอาว่าจิตตะกี้กับจิตเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่าเป็นไตรลักษณ์ นี่ได้แค่สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นยังตราบใดที่ยังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนา

หลวงพ่อพุธเคยสอนนะบอกว่า “สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด” ความคิดเนี่ยคือศัตรูเบอร์หนึ่งเลย   มันทำให้เราลืมกายลืมใจตัวเอง ส่วนศัตรูเบอร์สองคือการที่บังคับกาย บังคับใจ นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับกาย บังคับใจ   เพ่งเอา ๆ นะ กำหนดเอา ๆ กายก็ทื่อ ๆ ใจก็ทื่อ ๆ  ถ้าเราบังคับกาย บังคับใจ จนมันทื่อ ๆ ไปแล้วไตรลักษณ์มันจะไปอยู่ที่ไหน มันไม่แสดงตัวขึ้นมา

ศัตรูของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันแรก  หลงไป เผลอไป ขาดสติ ลืมเนื้อ ลืมตัว ตามใจกิเลสไปนี้เรียกว่า  อกุศลาภิสังขารมั่ง   อปุญญาภิสังขารมั่ง   เรียกว่า  กามสุขัลลิกานุโยคบ้าง มีหลายชื่อ

ศัตรูหมายเลขสองคือการเพ่งกาย เพ่งใจ บังคับกาย บังคับใจ กำหนดกาย กำหนดใจ ควบคุมไว้ ทำกายทำใจให้ลำบากอันนี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร  ความปรุงแต่งฝ่ายที่เป็นบุญ  เรียกว่า กุศลาภิสังขาร ความปรุงแต่งที่เป็นกุศลเรียกว่า  อัตตกิลมถานุโยค  การบังคับตัวเอง

เนี่ยสองทางนี้แหละเป็นทางสุดโต่งสองด้านที่พระพุทธเจ้าห้าม ถ้าเรายังไปทำส่วนใหญ่ไปทำอย่างนั้นเองคือไปเพ่งเอา กำหนดเอา ใจแข็ง  ทื่อ ๆ จ้องเอาไว้ ๆ นั่นไม่ใช่การเจริญสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๖
File: 491106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 8 of 10« First...678910