Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

mp3 for download : เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

เจริญปัญญาอย่าเพ่งอารมณ์ ให้เขาแสดงไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : การเพ่งตัวอารมณ์ ภาษาปริยัติเรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” อารัมณู อารัมณะนะ แล้วก็ ปนิชฌาน คือการเพ่งตัวอารมณ์ นี่คือการทำสมถกรรมฐาน เกือบทั้งหมดนะ ตัววิปัสสนากรรมฐานมีชื่อว่า “ลักขณูปนิชฌาน” การที่เราไปเห็นลักษณะ เห็นไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นจะเห็นไตรลักษณ์ก็อย่าไปเพ่งเอา ถ้าเพ่งตัวอารมณ์แล้วมันจะนิ่งๆ อารมณ์ไม่เคลื่อนไหว

เหมือนสมมุตินี้เป็นกระต่ายสักตัวหนึ่งนะ หรือแมวสักตัวหนึ่งนะ มันวิ่งไปวิ่งมานะ เราไปเพ่งมันก็คล้ายๆเราไปกดไว้อย่างนี้ มันกระดุกกระดิกไม่ได้ มันแสดงไตรลักษณ์ไม่ได้ ทีนี้พอเราไม่เพ่ง อะไรจะเกิดขึ้น ไอ้ตัวนี้เคยถูกกดมานาน พอเลิกกดนี่นะจะหนีๆหนีๆหนีๆไป เพราะฉะนั้นพวกที่เพ่งเก่งๆน่ะ พอเลิกเพ่งนะจะฟุ้งซ่านสุดๆเลย จะรู้สึกตัวยาก มันคิดดอกเบี้ยนะเพราะไปบังคับมันไว้นานแล้ว หน้าที่เราก็คือพยายามรู้สึกตัวไป

อาจจะมีเครื่องอยู่อะไรสักอันหนึ่งถ้าเราไม่ได้ติดเพ่งรุนแรงมาก่อนนะ จะรู้อะไรสักอย่างหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวตั้ง สมมุติว่าบางคนท่องพุทโธ เอาพุทโธเป็นตัวตั้ง พุทโธแล้วไม่ใช่บังคับจิตให้ไปอยู่ที่พุทโธ พุทโธแล้วจิตไปอยู่กับพุทโธนี่ก็รู้ จิตหนีไปที่อื่นก็รู้ พุทโธแล้วก็รู้ทันนะ เห็นจิตหนีไปหนีมา เห็นจิตสุขจิตทุกข์ จิตดีจิตร้าย พุทโธไว้เป็นตัวตั้งเพื่อที่จะดูจิต

บางคนถนัดรู้ลมหายใจ ถ้าไม่ไปเพ่งใส่ลมหายใจนะ เรารู้จิต เอาลมหายใจเป็นตัวตั้งแล้วมารู้จิต เช่น จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเราก็รู้ จิตหนีไปอยู่ที่อื่นเราก็รู้ จิตไปคิดเราก็รู้ จิตไปทำอะไรเราก็รู้ จิตสุขจิตทุกข์ จิตดีจิตร้าย เราก็รู้ไปเรื่อย รู้จิต เอาลมหายใจเป็นแบ็คกราวด์ไว้

เอาพุทโธเป็นแบ็คกราวด์ เอาลมเป็นแบ็คกราวด์ คนไหนถนัดพองยุบโดยที่ไม่ได้เข้าไปเพ่งท้องนะ ก็เอาพองยุบเป็นแบ็คกราวด์ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป เนี่ยไม่ว่ากรรมฐานอะไรนะ ถ้ามันเนืองด้วยกายด้วยใจของเราล่ะก็ เอามาใช้เป็นเครื่องมือในการปฎิบัติได้ทั้งหมด ถ้าเรามีเครื่องมือเครื่องสังเกตไว้อันหนึ่ง คล้ายๆเป็นที่สังเกต เป็นที่หมาย ถ้าจิตไหลมาที่นี่ก็รู้ จิตไหลไปก็รู้เนี่ยนะ ในที่สุดเราจะเห็นจิตได้ชัดเจน ต้องฝึกอย่างนี้นะมันจะไม่เผลอนาน แต่ถ้าอยู่ๆก็ปล่อยทิ้งทั้งหมดเลยนะ อย่างนี้ เรากดไว้นานนะ คราวนี้เตลิดเปิดเปิงไป หลงไปตั้งวัน ค่อยฝึกเอา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

mp3 for download : เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะทำวิปัสสนากรรมฐาน จะรู้กายรู้ใจตรงความเป็นจริงได้ ต้องไม่ลำเอียง จิตที่ไม่ลำเอียงก็คือจิตที่เป็นผู้รู้นั่นแหละ ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ใช่ผู้ตัดสิน ทำตัวเป็นแค่ผู้รู้เท่านั้นเอง นะ เรามาฝึกให้ได้จิตตัวนี้นะ

วิธีที่จะทำให้ได้จิตผู้รู้ ก็คือรู้ทันจิตที่หลงไปคิดนี่แหละ จิตเผลอ ตอนแรกพอรู้ทันว่าหลงไปคิดก็จะกลับมาเพ่ง เพ่งไปก่อนไม่เป็นไร เราก็รู้ว่าเพ่งเอา ต่อไปหลงไปคิดใหม่รู้ใหม่ หลงไปคิดใหม่รู้ใหม่ อย่าเพ่งตลอดกาล ถ้าเพ่งตลอดกาลเดี๋ยวมันไม่ยอมเผลอ ให้มันเผลอไว้ เผลอแล้วรู้ว่าเผลอดีที่สุดเลย ดีกว่าไปเพ่งไว้ไม่ยอมเผลอเลย ไปไหนไม่รอดนะ อยู่แค่นั้นแหละ กี่ปีกี่ชาติก็อยู่อย่างนั้นแหละ

มีอยู่คราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปเจอ มีลูกศิษย์คนหนึ่งไปซุ่มภาวนาอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เรียนกับหลวงพ่ออยู่พักหนึ่งนะ แล้วก็ไปซุ่มอยู่เป็นปีๆเลยนะ หายไปนาน เราไปเจอเข้า จะบอกว่าบังเอิญก็ไม่มีคำว่าบังเอิญในศาสนาพุทธนะ เรียกว่ากรรมจัดสรรไปเจอกันเข้า กรรมของมันหรือของเราก็ไม่รู้ เห็นแล้วทนไม่ได้นะ มันไปเดินจงกรมนะ เราก็บอก.. เรียกชื่อเขานะ เฮ้ย..ดอกเตอร์ นึกออกมั้ย ไอ้ที่ทำอยู่ตอนนี้นะ เมื่อหลายปีก่อนก็ทำแบบนี้ อีกหลายปีข้างหน้าก็จะเป็นอย่างนี้อีกแหละ ก็เลยได้สตินะ หันมาเจริญสติแทน งั้นก็เพ่งไว้นิ่งๆ นิ่งมาหลายปีแล้วนะ ไม่มีพัฒนาการก็ยังพอใจที่จะนิ่งอยู่อย่างนั้นน่ะ

นี่นะ เพ่งอยู่ไม่เจริญหรอก ได้แต่ความสุข ความสงบ ความสบาย ได้แต่ความดี เป็นคนดีมั้ย ดี ไม่ไปเกะกะระรานใครหรอก แต่มันไม่เจริญหรอก เจริญปัญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปเพ่งไว้ จิตนิ่งทื่อๆ นิ่ง สงบ แล้วสบาย ไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ไม่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๑๔ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

mp3 for download : จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนนี้ออกไปหลายจังหวัด ไปเห็น เราก็ไปเทศน์ที่โน่นที่นี่ ก็พบปรากฏการณ์อันหนึ่งก็คือ ทั้งพระทั้งโยมนะ ภาวนามาถึงขั้น แยกธาตุแยกขันธ์เป็นน่ะ เยอะมาก เยอะๆ ยังไม่เคยเจอว่าทำกันได้เยอะขนาดนี้มาก่อน

ช่วงปีแรกๆที่หลวงพ่อเทศน์นะ พวกเราตื่นกันเยอะนะ จิตก็ตื่นขึ้นๆ จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน นับไม่ถ้วน ตอนนี้เลยขั้นนั้นมาแล้ว พอจิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้วนะ ก็ต้องมาฝึกแยกธาตุแยกขันธ์ เข้าสู่การเดินปัญญา จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา ถ้าเราไม่มีจิตเป็นผู้รู้นะ เราเดินปัญญาไม่ได้ เพราะจิตที่ไม่เป็นผู้รู้มันจะเป็นสองอย่าง ถ้าไม่เป็นผู้คิดก็เป็นผู้เพ่ง จิตที่ไปหลงไปคิด แล้วเพ่ง

เพราะฉะนั้นช่วงแรกๆสอนพวกเรานะ จะสอนให้รู้จักสภาวะสองอย่าง เผลอไปกับเพ่งไว้ คนทั่วไปมันเผลอ ไม่เคยรู้เรื่องเลย หลงตลอดชีวิตไม่เคยรู้สึกตัว นักปฏิบัติก็เพ่งไม่ว่าไปที่ไหนก็เพ่งๆนะ ฝึกแบบไหนก็เพ่งทุกแบบเลย เหมือนกันหมดเลย พอเราไม่เผลอไม่เพ่งนะ ใจเราเป็นกลาง รู้ตื่นขึ้นมาได้ ค่อยๆฝึก ใจค่อย..

แต่เดิมคิดว่าการปฏิบัติธรรมต้องเพ่งเอา คนละเรื่องเลย การเพ่งจิตให้นิ่ง เป็นสมาธิชนิดทำสมถะ เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์อันเดียว จิตแนบอยู่ในอารมณ์อันเดียวนิ่งๆ ไม่เดินปัญญา แต่การที่เรารู้ทันจิตที่เผลอไป แล้วก็ไม่ไปเพ่งไว้ จิตเผลอไปทำอะไร จิตเผลอไปคิดเป็นส่วนใหญ่ ทันทีที่เรารู้ว่าจิตเผลอไปคิดนะ หัดใหม่ๆมันจะเพ่ง ถัดจากรู้ว่าเผลอจะเพ่ง ก็ฝึกไปเรื่อย เผลออีกก็รู้แล้วก็เพ่ง เผลอแล้วก็รู้แล้วก็เพ่ง

ทีแรกจับรู้ไม่ติดหรอก มองไม่ออกว่ามีรู้มาคั่น ระหว่างเผลอกับเพ่ง ทีนี้ฝึกมาช่วงหนึ่งแล้วเริ่มเห็นน่ะ จิตเผลอไป ตรงที่รู้ว่าเผลอนี่ ไม่เผลอด้วยไม่เพ่งด้วย อยู่ตรงกลางนี่เอง ทีนี้ความรักดี กล้วจะเผลออีกก็เลยไปเพ่งเอาไว้ นักปฏิบัติ พอรู้ทันว่าเอ้า..มันเกินจากรู้ไปแล้ว เริ่มคุ้นเคยกับรู้นะ จิตเผลอไปคิดแล้วรู้ทัน จิตเผลอไปคิดแล้วรู้ทัน ไม่ไปเพ่งต่อ คราวนี้ “รู้” ค่อยเด่นขึ้นๆ

พอรู้เด่นขึ้นหลวงพ่อก็บอกว่า จิตมันตื่นแล้ว จิตตื่นแล้ว จิตตื่นเนี่ยจิตมันเข้าถึงฐานจริงๆนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน จิตสงบ สะอาด สว่าง จิตเบา จิตนุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว จิตซื่อตรงในการรู้อารมณ์ จิตควรแก่การทำวิปัสสนา ควรแก่การงาน นี่ล่ะคือจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นขึ้นมา

หลวงพ่อก็พยายามพาพวกเราเดินมาเป็นลำดับๆนะ หัดรู้เผลอรู้เพ่งก่อน จนกระทั่งในที่สุด ตัวรู้ก็ค่อยๆเด่นขึ้นๆ พอตัวรู้เด่นแล้วอย่าหยุดอยู่แค่นั้น มาเดินต่อ เรามาฝึกจนได้ตัวรู้มานี่น่ะ คล้ายๆเราเตรียมความพร้อมของจิตเพื่อการเดินวิปัสสนา เพื่อการเจริญปัญญา การเจริญปัญญาก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐานนั่นแหละ

หลักของการเดินปัญญาก็คือ ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงไม่เข้าไปแทรกแซง และต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตที่เป็นกลาง คือจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นนั่นเอง มิใช่จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่จิตผู้เพ่ง ให้ไปรู้ด้วยจิตที่เป็นผู้รู้ จิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรับรู้ รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้จิตใจอย่างที่เขาเป็น เรียนรู้ทุกอย่างอย่างที่มันเป็น ทำตัวเป็นแค่คนดู ไม่เข้าไปแทรกแซง

เมื่อเราทำตัวเป็นแค่คนดูโดยไม่เข้าไปแทรกแซง เราจะเห็นความจริง ถ้าเราเป็นคนดูแล้วแทรกแซงไปด้วย จะดูไม่ตรงกับความจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

mp 3 (for download) : ภาวนาแล้วติดว่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

โยม : ทุกครั้งที่ทำก็จะมี รู้สึก เหมือนเจอแต่ที่ว่างน่ะครับ แบบไม่ได้รู้สึกอะไรมากเท่าไหร่

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าอยู่ๆดูลงไปทีไรก็ว่าง ยังจงใจดูอยู่ เลิกปฏิบัติซะ แล้วให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา พอกระทบแล้วปล่อยให้จิตใจเกิดความรู้สึก ปฏิกริยาทั้งหลายเนี่ย รู้สึกขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน อย่าไปจงใจปฏิบัติด้วยการทำความรู้สึกตัวไว้ตลอดเวลา ถ้าจงใจทำความรู้สึกตัว มันจะเหมือนแกล้งรู้สึกนะ จะรู้สึกๆตลอดเวลาเลย จะกลายเป็นการเพ่งเอาไว้ จะโล่งๆ ใจมันจะโล่งๆไม่มีอะไร แต่ถ้าเราไม่ได้เจตนาจะรู้สึกเนี่ย เผลอๆไป เห็นคนนี้ก็ดีใจ เดินๆอยู่งูเลื้อยผ่านมาแล้วตกใจ มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา

ของคุณมันเป็นประคองไว้นิดนึง มันก็เลยเฉย คอยดูนะ สังเกตมั้ย เรายังจงใจรักษาจิตไว้ อย่ารักษามัน เราไม่มีหน้าที่รักษาจิตนะ หน้าที่ของการรักษาจิตเป็นหน้าที่ของสติ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ทันทีที่สติเกิดเนี่ย สติจะรักษาจิตโดยอัตโนมัติ รักษาอย่างไร ถ้าจิตในขณะนั้นเป็นอกุศลอยู่ อกุศลจะดับ รักษาอย่างไร อกุศลจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ในขณะที่มีสติ รักษาอย่างไร ทันทีที่มีสติ จิตก็เกิดกุศลเรียบร้อยแล้ว แล้วก็กุศลจะเกิดมากขึ้นๆ สติจะเกิดได้เร็วขึ้นๆนะ

เพราะฉะนั้นสตินั่นแหละมีหน้าที่รักษาจิต เราไม่มีหน้าที่รักษา ถ้าเมื่อไหร่เราคิดจะรักษาจิต อยากรู้สึกตัวตลอดเวลาเนี่ย เราจะไปเพ่งจิต มันเลยกลายเป็นการเพ่ง ไม่ใช่การรักษาจิตอะไรหรอก กลายเป็นการเพ่งให้จิตนิ่งๆ อย่าไปรักษามันอย่างนั้น ให้หัดฝึกไปจนสติเกิด แล้วสติก็รักษาจิตของเขาเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๔
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าจงใจรู้ ยังเข้าสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้

mp 3 (for download) : ถ้าจงใจรู้ ยังเข้าสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าจงใจรู้ ยังเข้าสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้

ถ้าจงใจรู้ ยังเข้าสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : ของคุณรู้สึกมั้ย มันมีตัวหนึ่งที่นิ่งยืนพื้นอยู่ ตัวที่นิ่งยืนพื้นอยู่นี้แหละ เราประคองไว้ ถ้าตราบใดที่มีตัวหนึ่งนิ่งอยู่ ตัวอื่นแสดงไตรลักษณ์ แต่เหลือตัวหนึ่งนิ่งอยู่เนี่ย แสดงว่ายังจงใจอยู่

โยม : ก็คอยรู้สึกกายอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าจงใจรู้สึก ปัญหาของคุณจงใจรู้สึกนะ ถ้าคุณจงใจรู้สึก จะมีตัวหนึ่งที่เกินจริง นิ่งอยู่นิดหนึ่ง ถ้าลดความจงใจลงแล้วง่าย

ในหนังสือวิถีแห่งความรู้แจ้ง ๒ นะ หลวงพ่อพูดถึงคำว่า โลภะเจตนา อยู่ท้ายๆเรื่องน่ะ โลภะเจตนานี่ดูยากมาก มันเป็นความจงใจที่เจือด้วยความอยาก ความจงใจที่เจือด้วยความอยาก มันจะทำให้เกิดการกระทำกรรม คือการทำงานทางใจ เพราะฉะนั้นตัวโลภะเจตนาเนี่ยนะ มันทำให้จิตใจเราปรุงแต่ง ปรุงการปฎิบัติขึ้นมา ตราบใดที่เรายังปรุงการปฏิบัติเนี่ย เรายังเข้าสู่มรรคผลในขณะนั้นไม่ได้เลย เพราะว่าความปรุงแต่งยังดำเนินอยู่

ให้เรารู้ทันความจงใจที่เจือด้วยโลภะนี้ ถึงความจงใจใดๆทางใจนะ เรียกว่ามโนสัญญเจตนา ความจงใจทางใจเนี่ย ความจงใจทางใจที่เจือด้วยสัญญา จงใจแบบรู้ตัวว่าจงใจอย่างนี้แหละ อันนี้แหละทำให้เกิดการกระทำกรรม เพราะฉะนั้นถ้าจงใจทางดี ก็เจือด้วยโลภะนะลึกๆน่ะ จงใจทางไม่ดีก็เจือด้วยโลภะอยู่ลึกๆ หรือเจือด้วยโทสะ

ถ้าจงใจขึ้นเมื่อไหร่ก็เกิดการทำงาน จิตจะหมุนเวียนทำงาน เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ดิ้นรน เดี๋ยวก็ประคองไว้ เดี๋ยวกดไว้ เดี๋ยวกระโจนไปวิ่งจับอารมณ์ เดี๋ยวอย่างโน้นเดี๋ยวอย่างนี้ เกิดการทำงานขึ้นมา ทุกคราวที่เกิดการทำงานขึ้นมาความทุกข์ก็จะเกิดขึ้น

ให้เรารู้ทันแต่ไม่ให้เราละ รู้การทำงานของเขา ไม่ละ ละเนี่ยเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญามีหน้าที่ละ ปัญญามีหน้าที่ตัด เรามีหน้าที่รู้ สติมีหน้าที่ระลึกเท่านั้นเอง ระลึกด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ถ้ารู้แล้วใจไม่เป็นกลางก็เรียกว่าไม่มีสัมมาสมาธิ

ถ้าปราศจากสัมมาสมาธิ ปัญญาจะไม่เกิด ปัญญาไม่เกิดเนี่ย ถึงกิเลสโผล่ขึ้นมานะ สภาวะก็ยังอยู่อย่างนั้นแหละ มันตัดไม่ได้จริงเท่าไหร่หรอก เพราะปัญญาจะเกิดนะ เกิดร่วมกับสตินะ แต่สติเกิดตัวเดียวได้ ไม่มีปัญญาก็ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๖
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สภาวะมีสองอย่าง

Mp3 for download: two sapawa

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สภาวะมีสองอย่าง

สภาวะมีสองอย่าง

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเราฝึกจิตใจของเราถึงช่วงนึง เราจะพบว่ามันเกิดสภาวะสองอย่างเท่านั้นเอง สภาวะที่ขณะนี้รู้ตัว หรือว่าขณะนี้เผลอไปแล้ว

พอเผลอไปก็จะไปปรุงแต่งอะไรเยอะแยะ เช่น เผลอไปเรื่องโลกๆ คิดเรื่องโลกๆ ใหญ่เลย นี่เผลอไปจริงๆ เผลอไปนั่งคิดๆ รู้เรื่องที่คิดแต่ไม่รู้ตัวเอง ก็เผลอเหมือนกัน

เผลอไปนั่งเพ่ง ไปจับอารมณ์ขึ้นมาอันนึงแล้วก็เพ่งนิ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียว ก็ยังเผลอ ยังหลงอยู่อีก หรือน้อมใจเข้าหาความสงบ น้อมไปเรื่่อย น้อมจนซึม ซึมเคลิ้มๆ ครึ่งหลับครึ่งตื่น ส่วนใหญ่จะคิดว่าดี ไม่ดีหรอก มันขาดสติ เพราะฉะนั้นการที่น้อมใจ ปรุงแต่งใจนั้นทำได้หลายรูปแบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑
File: 451117A
Track: ๑๑
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

mp 3 (for download) : ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

ดูพัฒนาการทางจิตใจ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส

โยม : ขอเรียนถามหลวงพ่อหน่อยครับ คือช่วงนี้ ไม่ทราบว่าสภาวะจิตของผมเป็นยังไงบ้างครับ มันเลวร้ายมากรึเปล่าครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เลวร้ายนะ ถ้าพูดตรงไปตรงมา สภาวะตอนนี้ดี แต่ก่อนนี้อึดอัดรู้สึกมั้ย แน่นกว่านี้เยอะเลย แต่ก่อนเพ่งลูกเดียว แล้วมีทิฏฐิด้วยว่า มีทฤษฎีน่ะ ทิฏฐิ คือทฤษฎี ว่าต้องเพ่ง ที่นี้เราคอยรู้สึกเอา รู้สึกเอา ทีแรกหลวงพ่อบอกให้รู้สึกตัวนะ ยังไม่มั่นใจ ต้องภาวนา ต้องมีรูปแบบ ต้องเพ่งไว้ กำหนดไว้ ตอนนี้ใจมันเริ่มคลายออก เริ่มเป็นความรู้สึกตัว ที่ภาวนาตอนนี้ถือว่ามีพัฒนาการนะ อย่างเวลาเราดูพัฒนาการทางจิตใจนี่ ห้ามดูรายวัน ต้องดูรายไตรมาส ดูแบบสภาพัฒน์นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๐
File: 491118B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

mp 3 (for download) : สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เราบอกว่าเราฟังธรรมเข้าใจเนี่ย   ความจริงไม่ได้เข้าใจด้วยการฟัง แต่เข้าใจด้วยการคิดเอาเอง การคิดเอาเองของเราเนี่ย  คิดถูกก็ได้  คิดผิดก็ได้ งั้นธรรมที่ฟัง ๆ เอานะยังใช้ไม่ได้ ฟังเอาพอเป็นแนว เพื่อจะมารู้กาย รู้ใจ  ศัตรูของการรู้กาย รู้ใจ  เบอร์หนึ่งเลยคือการที่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกาย ลืมใจที่เป็นปัจจุบัน รู้สึกไหม ขณะที่เราคิดไปเนี่ย เรานั่งอยู่เราก็ลืมไป จิตใจเราเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล เราก็ไม่รู้ นึกออกไหม   เนี่ยอย่างขณะนี้ลืมกาย ลืมใจแล้ว ตรงที่ไหลแว๊บไป

เพราะฉะนั้นตราบใดที่คุณยังคิดไม่เลิกนะ  คุณไม่ได้ทำวิปัสสนาแน่นอน แล้วมันเป็นศัตรูด้วย   หลวงพ่อเลยไม่ส่งเสริมให้มานั่งคิดนั่งถามนะ ที่สงสัยได้เพราะคิดมาก   คิดมากก็สงสัยมาก สงสัยแล้วอยากถาม ถามไปแล้วก็จำเอาไว้แล้วหรือเอาไปคิดต่อ นะ มันจะเวียนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ  วิปัสสนาจริง ๆ ไม่ใช่การคิด วิปัสสนาจริงๆ ในอภิธรรมสอนนะเริ่มจากตัวอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณเนี่ยมันเห็นความเกิดดับของรูปนามนะ แล้วระบุไว้ด้วยว่า ต้องพ้นจากความคิดด้วย ถ้ายังเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเอา เช่นคิดเอาว่าจิตตะกี้กับจิตเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่าเป็นไตรลักษณ์ นี่ได้แค่สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นยังตราบใดที่ยังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนา

หลวงพ่อพุธเคยสอนนะบอกว่า “สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด” ความคิดเนี่ยคือศัตรูเบอร์หนึ่งเลย   มันทำให้เราลืมกายลืมใจตัวเอง ส่วนศัตรูเบอร์สองคือการที่บังคับกาย บังคับใจ นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับกาย บังคับใจ   เพ่งเอา ๆ นะ กำหนดเอา ๆ กายก็ทื่อ ๆ ใจก็ทื่อ ๆ  ถ้าเราบังคับกาย บังคับใจ จนมันทื่อ ๆ ไปแล้วไตรลักษณ์มันจะไปอยู่ที่ไหน มันไม่แสดงตัวขึ้นมา

ศัตรูของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันแรก  หลงไป เผลอไป ขาดสติ ลืมเนื้อ ลืมตัว ตามใจกิเลสไปนี้เรียกว่า  อกุศลาภิสังขารมั่ง   อปุญญาภิสังขารมั่ง   เรียกว่า  กามสุขัลลิกานุโยคบ้าง มีหลายชื่อ

ศัตรูหมายเลขสองคือการเพ่งกาย เพ่งใจ บังคับกาย บังคับใจ กำหนดกาย กำหนดใจ ควบคุมไว้ ทำกายทำใจให้ลำบากอันนี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร  ความปรุงแต่งฝ่ายที่เป็นบุญ  เรียกว่า กุศลาภิสังขาร ความปรุงแต่งที่เป็นกุศลเรียกว่า  อัตตกิลมถานุโยค  การบังคับตัวเอง

เนี่ยสองทางนี้แหละเป็นทางสุดโต่งสองด้านที่พระพุทธเจ้าห้าม ถ้าเรายังไปทำส่วนใหญ่ไปทำอย่างนั้นเองคือไปเพ่งเอา กำหนดเอา ใจแข็ง  ทื่อ ๆ จ้องเอาไว้ ๆ นั่นไม่ใช่การเจริญสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๖
File: 491106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

mp3 (for download): ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

ภาวนาเหมือนเรือทอดสมอ

หลวงพ่อปราโมทย์: คือ ตรงที่เราเห็นโทสะเนี่ย ดีแล้วนะ ตรงที่ข่มไว้เนี่ย เป็นส่วนเกิน แต่ว่าโดยที่เรายังไม่ชำนิชำนาญการปฏิบัติ ข่มไว้ก่อนก็ดี จะได้ไม่ทำอะไรผิดทางกายทางวาจา แต่ถ้าเราเจริญสติชำนิชำนาญขึ้น พอจิตมีโทสะ เรารู้ว่ามีโทสะ เราจะเห็นเลย จิตที่มีโทสะมันไม่ใช่ตัวเรา มันมีของมันเอง ใจของเราเป็นแค่คนดู เป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เห็นจิตมีโทสะเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ ก็ดับไป

ต่อไปสภาวะอย่างอื่น นอกเหนือจากโทสะ เช่น ราคะ โมหะ อะไรต่ออะไรนะ อิจฉา กังวล อะไรเกิดขึ้นมา เราก็ดูแบบเดียวกัน คือเห็นว่า มันเกิดขึ้นมาแล้วมันก็ดับไป เราไม่ได้ไปแก้ไขมัน ทีนี้การปฏิบัติเนี่ย มันมี ส่วนมากพวกเราชอบเก็บกด เราไปกดมัน พอสภาวธรรม ยกตัวอย่างกิเลสอะไรเกิดขึ้นมา เราไปพยายามเพ่ง ไปกดๆมัน มันจะไปซ่อนตัวไว้ อย่างนี้ไม่ดี

ถ้าเราเห็นกิเลสโผล่ขึ้น เราสักว่ารู้ สักว่าเห็นนะ จะเห็นมันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จะไม่ไปกดมันไว้ ต่อไปใจเราจะนิ่ง เบา สบาย ยิ่งภาวนาดี จะยิ่งสบาย แต่ถ้าเราฝืน เราต่อต้านกิเลสนะ เราจะเหนื่อย

เราจะทำกับจิตใจเรา ให้คล้ายเรือลำใหญ่ๆ จอดอยู่ในแม่น้ำ ในทะเล จอดทอดสมออยู่ น้ำไหลมา เรือนี้ไม่ไหลตามน้ำ คือใจเราไม่ไหลไปตามกิเลส ในขณะเดียวกัน เรือไม่เคยต้านน้ำ เรือก็จะปล่อยให้น้ำไหลผ่านไป ใจเราจะสักว่ารู้สักว่าเห็น ไม่ต้าน ถ้าเราไปพยายามแก้ พยายามเก็บกด พยายามอะไรอย่างนี้ เราไปต้านมัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๒
File: 491222
ระหว่างนาทีที่  ๐๓ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๐๕ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

 mp 3 (for download) : เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์: สมถกรรมฐาน มุ่งไปที่ความสุข ความสงบ ความดี วิปัสสนามุ่งให้เกิดปัญญา ปัญญาคือการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน วิธีการก็ไม่เหมือนกัน เราจะต้องเรียน ต้องแยกแยะให้ออกนะว่า การดำเนินจิตแบบไหนเป็นสมถกรรมฐาน การดำเนินจิตแบบไหนเป็นวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าแยกไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไปทำสมถะ แล้วคิดว่าทำวิปัสสนาอยู่

สมถกรรมฐาน หลักการของมัน ไม่ยากเท่าไหร่ หลักการของสมถกรรมฐานก็คือ ให้เราสังเกตความจริงของจิตใจของเราเองก่อน จิตใจของเรานั้น ร่อนเร่ ซัดส่าย ตลอดเวลา เดี๋ยวหลงไปทางโน้น เดี๋ยวหลงไปทางนี้ เดี๋ยวจับอารมณ์อันโน้น เดี๋ยวจับอารมณ์อันนี้ ฟุ้งซ่าน จับอารมณ์โน้นอารมณ์นี้ จิตใจนั้นเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง อุตลุดตลอดเวลา คนที่ภาวนาไม่เป็นก็พยายามบังคับใจ ให้สงบ ให้ดี บังคับยังไงมันก็ไม่สงบนะ มีแต่เครียด เพราะฉะนั้นพวกที่ภาวนาแล้วเครียดนะ แสดงว่าไปทำสมถะแบบผิด ผิดวิธีด้วย ถ้าทำถูกวิธีจะไม่เครียด

จิต ถ้าเรารู้จักลักษณะของจิตนะ จิตมันคล้ายๆเด็ก เหมือนเด็กซนๆคนหนึ่ง จิต เดี๋ยวก็วิ่งไปทางโน้น เดี๋ยวก็วิ่งไปทางนี้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ จิตมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเราทำสมถะผิดนะ ก็คล้ายๆว่าเราเอาไม้เรียวไป ไปยืนเฝ้าเด็กไว้ บังคับไม่ให้มันกระดุกกระดิก เด็กมันจะเครียด จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราไปบังคับให้มันนิ่งนะ มันจะเครียด เราต้องใช้อุบายวิธี หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ คล้ายๆกับว่า เรารู้ว่าเด็กคนนี้ชอบกินไอติม เราก็บอกเด็กว่า อย่าซนนอกบ้าน มา เข้ามาในบ้าน มากินไอติมให้สบายใจ เห็นมั้ย เด็กจะสมัครใจเข้ามาในบ้าน เด็กก็มีความสุขด้วย ใช่มั้ย แล้วเด็กก็ไม่ร่อนเร่ออกไปนอกบ้านด้วย

หลักของการทำสมถกรรมฐานก็แบบเดียวกัน เราต้องเลือก ว่าจิตใจของเรานี้ รู้อารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข บางคนรู้ลมหายใจแล้วมีความสุข ก็รู้ลมหายใจไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องไปคิด ว่าจะทำอย่างไรจิตจะสงบ ถ้ารู้ลมแล้วสบายใจนะ รู้ลมไป บางคนดูท้องพองยุบแล้วจิตสบายใจ ก็ดูท้องพองยุบ บางคนเดินจงกรม บางคนภาวนาพุทโธ บางคนขยับมือ ทำจังหวะแบบหลวงพ่อเทียน ทำแล้วจิตใจสบาย มีความสุข ก็ทำอย่างนั้น ความสุขนี้แหละเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ พอจิตมันมีความสุขนะ จิตจะไม่หนี ซัดส่าย ไปที่อื่น มันจะเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ที่มันมีความสุข นี่เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้

เพราะฉะนั้นบางคนภาวนานะ ทำอย่างไรก็ไม่สงบๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะไปพยายามบังคับจิตให้สงบ มันไม่ยอมสงบหรอก ต้องหาอารมณ์ที่มีความสุขมาล่อมัน ยกตัวอย่างหลวงพ่อตอนเด็กๆ หลวงพ่อชอบลมหายใจ ไปเรียนหายใจออก หายใจเข้า จากท่านพ่อลี วัดอโศการาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ ส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด พอหายใจแล้วมีความสุข พอมีความสุขแล้วจิตสงบ คล้ายๆเด็กได้กินไอติม เด็กก็ไม่ไปซน นี่เคล็ดลับของสมาธินะ เคล็ดลับของสมถะ คือเลือกอารมณ์ที่เรามีความสุข แล้วจิตจะสงบเอง ถ้าจิตสงบโดยที่ไม่ได้บังคับ จิตจะไม่เครียด

ถ้าคนไหนภาวนาแล้วก็เครียด แสดงว่าสมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่มี ถ้าภาวนาแล้วจิตใจมีความสุข มีความสงบ อยู่ในตัวเอง ได้สมถะ โดยไม่ได้บังคับ ทีนี้พอมีความสุขแล้ว มีความสงบแล้ว อย่าหยุดอยู่แค่นี้ ถ้าลำพังการปฏิบัติธรรมนะ มุ่งเอาความสุข ความสงบ ยังตื้นเกินไป ศาสนาพุทธมีสิ่งที่ปราณีต ลึกซึ้ง กว่านั้นอีกเยอะ ลำพังแค่ภาวนาเพื่อให้จิตมีความสุข มีความสงบเนี่ย ไม่มีพระพุทธเจ้า เขาก็สอนกันได้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แล้วคนอื่นไม่มี คือ วิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อ วันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

mp 3 (for download) : ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูอายตนะ ผิดได้ ๔ แบบ

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์: เราชอบตีความเพี้ยน ตีความเพี้ยนนะ ยกตัวอย่างบางคนหัดภาวนา เมื่อตามองเห็นรูป ท่านสอนอย่างนี้นะ เมื่อตามองเห็นรูป ความรู้สึกเกิดที่จิตน่ะ ความยินดียินร้ายเกิดที่จิต ให้มีสติรู้ทันนะ หน้าที่ของเราก็รู้ทันอย่างนี้นะ ไม่ใช่เมื่อตามองเห็นรูป เอาสติกำหนดไว้ที่จักษุประสาท จักขุประสาท เฉยๆ กำหนดอยู่ที่จักขุประสาท รู้จักมั้ย คือตัวที่รับภาพน่ะ ตัวเส้นประสาทที่รับภาพน่ะ

ถ้าจิตไปกำหนดไว้ที่จักขุประสาทเนี่ย ทุกอย่างจะนิ่งหมดเลย ไม่มีกิเลส เพราะอะไร เพราะจักขุประสาทเป็นรูป กิเลสไม่ได้อยู่ที่รูป แล้วก็จิตที่เกิดที่ตาที่เรียกว่าจักขุวิญญาณจิต จักขุวิญญาณจิตเป็นวิบากจิต เป็นจิตอัตโนมัติเกิดขึ้นธรรมดา หมาก็มี พระอรหันต์ก็มีนะ ไม่ได้ว่าท่านเทียบกับหมาหรอกนะ แต่หมายถึงว่าสัตว์ที่มีตาทั้งหมดน่ะ มันก็มีจักขุวิญญาณจิต แล้วจักขุวิญญาณจิตนี้ไม่มีกิเลสสักตัวเดียว ในขณะที่หมามองเห็นก็ไม่เกิดกิเลส ในขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมมองเห็นก็ไม่ได้เกิดกิเลส กิเลสเกิดตามหลังนั้นมาต่างหาก ถ้าเราเอาสติไปจ้องอยู่ที่ตานะ เอาสติไปจ้องอยู่ที่ประสาทหู จ้องอยู่ที่ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย กายะประสาท ทุกอย่างจะนิ่ง ไม่มีกิเลส

ไม่มีกิเลสไม่ใช่เพราะว่าไม่มีกิเลส ไม่ใช่เพราะว่าไม่มีอนุสัย แต่อนุสัยไม่มีโอกาสทำงาน เพราะไปเพ่งไว้เฉยๆ เพราะฉะนั้นมันคือการเพ่งรูปนะ มันคือการเพ่งรูป ถ้าเพ่งเข้าไปเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็ไม่มีกิเลสเกิดแล้วแหละ ในขณะที่เพ่งอยู่ไม่มีกิเลสหยาบๆขึ้นมาได้หรอก แต่มีกิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่ง กิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่งนั้นคือโลภะ และทิฏฐิ โลภะก็คือ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ ทิฎฐิก็คือคิดว่าทำอย่างนี้แล้วจะดี ทำอย่างนี้แล้วจะถูก เพราะฉะนั้นในขณะนั้นกิเลสครอบงำจิตอยู่แท้ๆเลย แต่ไม่รู้ไม่เห็นเลย

เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังมากนะในการเรียนกรรมฐานเนี่ย แค่ตามองเห็นรูปเนี่ยทำผิดได้ ๔ แบบ อย่างนี้จะมากกว่านี้ก็คงมีนะ แต่ภูมิปัญญาของหลวงพ่อรู้ได้แค่ ๔ แบบ ที่เห็นทำผิดอยู่

แบบที่ ๑ ไปกำหนดอยู่ที่รูป (ที่ตาเห็น) อันนี้ออกนอกเลย ไปกำหนดอยู่ที่รูป

อย่างที่ ๒ ไปกำหนดอยู่ที่จักขุประสาท ถามว่าตรงนี้จิตออกนอกมั้ย ออกนอกเรียบร้อยแล้ว จิตเคลื่อนไปที่จักขุประสาท จิตส่งออกนอกไปเรียบร้อยแล้ว ไปเพ่งจักขุประสาท

อย่างที่ ๓ นะ เอาสติไปจ่ออยู่ตรงผัสสะ ตรงที่มีการกระทบระหว่างตา รูป และความรู้สึก สิ่งที่เรียกว่าผัสสะนะ คือการประชุมกันของธรรมะ ๓ อย่าง คือ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน แล้วก็จิต เพราะฉะนั้นไปดักดูตรงการกระทบของสิ่งสามสิ่งนี้ ก็นิ่งเหมือนกัน

อย่างที่ ๔ ก็ไปเพ่งจิตที่เกิดขึ้นทางอายตนะ เพ่งจิตที่ไปเห็นรูป

เพราะฉะนั้นตรงนี้เพ่งได้ตั้ง ๔ แบบ เห็นมั้ย ทางที่ผิดนี้ละเอียดละออเลย ยิบยับไปหมดเลย ถ้าไม่เรียนให้ดีจะนึกว่าดี ว่าทำอยู่ตรงนี้แล้วเหมือนไม่มีกิเลส กิเลสไม่มีโอกาสเกิดต่างหาก แต่ว่ามันเกิดไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ส่งจิตไปดู แค่นั้นก็ส่งจิตออกนอกแล้ว คือเมื่อไรออกนอกจากการรู้นะ รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เมื่อนั้นออกนอกทั้งนั้นล่ะ แต่หลวงปู่ดูลย์ไม่ได้ห้าม

หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ธรรมดาจิตต้องออกนอกเพื่อจะไปรู้อารมณ์ เพียงแต่ออกนอกแล้วนะ พระอริยเจ้าทั้งหลายเนี่ย จิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ต่างกันตรงนี้เท่านั้นเอง ส่วน พระอริยเจ้า คำว่าพระอริยเจ้าของท่านเนี่ย หมายถึงพระอรหันต์ พระอนาคาฯก็ยังกระเพื่อมหวั่นไหวได้นะ หวั่นไหวในอะไรพระอนาคาฯ หวั่นไหวในรูปฌาน อรูปฌาน ยังยินดีพอใจในรูปฌาน อรูปฌาน ถ้าต่ำกว่าพระอนาคาฯนี้ จะยินดีในกาม ยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินดีในการคิดเรื่องกาม และก็ยินร้ายในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินร้ายในการคิดเรื่องกาม เพราะฉะนั้นจะมีความยินดียินร้ายเกิดขึ้นทั้งสิ้น

เพราะธรรมชาติของจิตต้องออกไปรู้อารมณ์ แต่เมื่อรู้อารมณ์แล้วเนี่ย เฉพาะพระอรหันต์จิตไม่ยินดียินร้ายไม่กระเพื่อมหวั่นไหว นอกนั้นกระเพื่อมหวั่นไหวอยู่ กระเพื่อมหวั่นไหวอยู่มีสติรู้ทันมัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ภาวนาดูจิตแล้วห้ามกระเพื่อมหวั่นไหวนะ เข้าใจผิดอย่างร้ายแรงเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๘
File: 530829B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

mp 3 (for download) : ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

ผู้ปฏิบัติเพ่งได้ ๔ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านสอนนะ รู้แล้วจบลงที่รู้นะ เราก็ฟังก็เพลินๆไปอย่างงั้นแหละ มันไม่จบหรอก รู้แล้วก็ปรุงแต่ง รู้แล้วหยุดไม่ได้หรอก มันยังไงก็ต้องปรุงแต่ง เพราะปัญญามันไม่พอ

บางคนก็อยากจะไม่ปรุงแต่งต่อ พอรู้อะไรแล้วก็รีบกำหนดลงไปเลย เช่น ตามองเห็นรูปกำหนดอยู่ที่ตาบ้าง กำหนดอยู่ที่รูปบ้าง กำหนดอยู่ที่ผัสสะบ้าง กำหนดอยู่ที่จิตทางตาบ้าง จิตก็นิ่งๆไปเลย เพราะจิตที่เกิดที่ตาก็เป็นอุเบกขา ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์อะไรอยู่แล้วโดยตัวมันเอง ก็คิดว่าดี จิตที่เกิดที่ตาเป็นวิบากจิต ไม่มีกุศล อกุศล ก็คิดว่าอยู่ตรงนี้แล้วดี ไปเพ่งอยู่ที่ตาบ้าง เพ่งอยู่ที่หูบ้าง เพ่งอยู่ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กายบ้าง เพ่งอยู่ จิตก็เฉยๆแล้วคิดว่าดี ตรงที่จงใจเพ่งนั่นแหละทำต่อเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่รู้แล้วจบลงที่รู้ รู้แล้วมีการแทรกแซง คือตามองเห็นรูปปุ๊บ เห็นหนอ นี่ แทรกแซงนะ คิดละ นี่คิดฟุ้งซ่านไปละ หรือไปเพ่งอยู่ที่จิตที่เกิดที่ตา ตอนที่ตากระทบรูปนี่เพ่งได้สี่แบบ นี่ไม่มีใครสอนนะ สอนเอง เพ่งอะไรได้บ้าง

อันหนึ่งเพ่งรูป อันที่หนึ่งนะ  เพ่งรูปที่ตาไปเห็น

อันที่สองเพ่งจักขุประสาท ประสาทตา เพ่งได้นะ เพ่งประสาทตา เพ่งรูปออกข้างนอก เพ่งประสาทตาอยู่ข้างใน เพ่งอายตนะ

เพ่งที่สามคือ จดจ่ออยู่ที่การกระทบ อยู่ตรงจุดกระทบ ตรงที่กระทบสัมผัสทางตา

อีกอันนึงเพ่งอยู่ที่จิตที่เกิดที่ตา ทำได้สี่แบบ

บรรดานักเพ่งทั้งหลายนะ หนีไม่รอดสี่อย่างเนี้ย  นี่หลวงพ่อสรุปมาจากการสังเกตตัวอย่างมากมายของผู้ปฏิบัติ มันก็ผิดอยู่อย่างนี้แหละ ซ้ำๆซากๆเหมือนๆกันหมดแหละ ตรงที่ไปเพ่งไว้นะก็คือแทรกแซงเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่รู้แล้วจบลงที่รู้ ถ้ารู้แล้วจบลงที่รู้ทำยังไง เช่น ตามองเห็นรูป ใจมันพิจารณาเลย ใจมันพิจารณารูปนี้ อุ๊ยนี่ผู้หญิงสวย จิตก็ทำงานตอนมีราคะ

นี่มันทำของมันเองนะ เราไม่ได้ทำ นี่แหละเรียกว่ารู้แล้วจบลงที่รู้ ไม่ใช่ตามองเห็นรูปปุ๊บ จ้องเลย ไม่รู้ว่ารูปอะไร นี่รูปเฉยๆ ไม่มีผู้หญิงผู้ชาย นี่แทรกแซง เพราะงั้นตามองเห็นรูป จิตรู้ว่านี่รูปผู้หญิงสวย จิตเกิดราคะ รู้ว่ามีราคะ รู้ว่ามีราคะแล้วทำยังไง ไม่ทำอะไร ก็ดูมันไปสิ ถ้าตามดูทุกอย่างที่กำลังปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตา นี่้แหละสักว่ารู้ ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง ถ้าเข้าไปแทรกแซงเมื่อไหร่ ไปพยายามล็อคมัน ไปพยายามห้ามมัน ไปพยายามรักษามัน

ผู้ปฏิบัตินะ อดแทรกแซงไม่ได้หรอก ชอบมาถามหลวงพ่อว่า “ทำยังไงแล้วหนูจะดี” ทำนั่นแหละแทรกแซง ทำไมไม่รู้เอาล่ะ “หนูควรจะยังไง ห้ามอะไรบ้าง อันไหนไม่ควร อันไหนควร” คิดมาก คิดมากยากนาน รู้ลงสิ รู้ลงปัจจุบันไป รู้ไปเรื่อยเลย จนปัญญามันแก่รอบขึ้นมา มันเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราว จิตมันเป็นกลางเอง

คราวนี้กระบวนการที่จิตทำงาน มันทำของมันเองนะ แต่พอตากระทบแล้วจิตพิจารณาแล้วแทนที่อกุศลจะเกิดนะ กุศลมันจะเกิดแทน สติปัญญามันจะเกิดขึ้นมาแทน ในชวนจิตมันจะกลายเป็นจิตที่เป็นกุศลขึ้นมา แต่บางทีก็อกุศลเกิด พออกุศลเกิดก็มีสติรู้ทันอีก จิตก็ขึ้นวิถีอันใหม่ ขึ้นวิถีใหม่ที่เป็นกุศล จิตก็หมุนๆๆๆไปเรื่อย

ดูเขาทำงานไปนะ ดูเขาทำงานไปเรื่อยๆ ดูเล่นๆไป วันนึงปัญญาก็แก่กล้าขึ้นมา เห็นทุกอย่างมันไหลไปเรื่อยๆ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไหลไปเรื่อยๆเหมือนดวงดาวโคจรอยู่ในท้องฟ้า ไหลไปเรื่อยๆ ไหลไปตามเหตุของมัน ไหลไปแง่ใดมุมใด ก็ไปตามหลักของมัน ตามกฎของมัน จิตใจก็ทำงานไปเคลื่อนไหวไป เราทำหน้าที่แค่รู้นะ รู้ไปเรื่อยไปวันนึงเห็นเลย มันไม่ใช่เราหรอก มันทำงานของมันได้เอง เห็นว่ามันไม่ใช่เราก็ได้โสดา เป็นพระโสดาบัน กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๙
Track: ๑
File: 520210A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะรู้ได้อย่างไรว่าจิตทำหรือเราทำ

mp3 for download: mind or me 501130B

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตทำหรือเราทำ

จิตทำหรือเราทำ

โยม : อย่างบางทีเอ่อ..มันมีการกระทำอะไรบางอย่างน่ะครับ แล้วเราจะแยกได้ยังไงว่ามันเป็นเราจงใจทำหรือว่ามันทำของมันเองล่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราคอยเป็นคนดูไปนะ เหมือนเราดูละครน่ะ เราก็เห็นกายเห็นใจเขาเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่มีเจตนา มีความจงใจขึ้นมา เราไปทำเองนะ ใจมันจะแน่นๆขึ้นมา จะหนักๆแน่นๆ แข็งๆขึ้นมา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ หลังฉันเช้า


CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๒
ลำดับที่ ๑๔
ไฟล์ 501130B
นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

mp 3 (for download) : เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอา.. ต่อไปหลวงพ่อจะสอนปิดท้ายนิดหนึ่ง เป็นเคล็ดลับของการดูจิต พวกเราเคยได้ยินคำว่า “ดูจิต” มั้ย ยุคนี้ใครไม่ได้ยินนะ เรียกว่าเชยแหลกเลย บางคนดูยังไม่เป็นหรอกนะ ก็ยังอุตส่าห์บอกว่าดูจิต ใครไม่ดูจิตเรียกว่าล้าสมัย จริงๆเคล็ดลับของการดูจิตเนี่ยไม่ยากเท่าไหร่ มีอยู่ ๓ ขั้นตอนนะ

การดูจิตไม่ใช่ทั้งหมดของการปฏิบัตินะ บางคนดูกายก็ได้ บางคนดูเวทนาก็ได้ บางคนดูจิตก็ได้ แต่พวกเราเป็นคนในเมือง กรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมืองคือการดูจิต ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ หลวงปู่ดูลย์เคยสอนไว้

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ วันหนึ่งหลวงพ่อนั่งอยู่กับหลวงปู่ดูลย์ จู่ๆท่านก็พูดขึ้นมานะ ต่อไปการดูจิตจะรุ่งเรืองในเมือง ตอนนั้นเราไม่เชื่อนะ จะรุ่งเรื่องจริงเร้อ มันน่าจะรุ่งริ่งมากกว่า ไปไหนก็ไม่เห็นมีใครรู้จักดูจิตเลย แล้วเมื่อสักอาทิตย์ สองอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ หลวงพ่อไปเยี่ยมครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ลูกศิษย์หลวงพ่อชา ท่านก็บอกว่า โอ้..อาจารย์ปราโมทย์สอนให้คนดูจิต ดีนะ หลวงพ่อชาเคยบอกท่านไว้ว่า คนในเมืองน่ะ พวกปัญญาชน พวกคนในเมือง อะไรพวกนี้นะ อย่าไปสอนเรื่องอื่นเลย สอนให้ดูจิตไปเลย แต่ต้องดูด้วยความเป็นกลาง

เพราะฉะนั้นเราดูจิตไปนะ แล้วจิตไม่เป็นกลางคอยรู้ทันไว้ ดูด้วยความเป็นกลาง จิตดีก็รู้ไป ไม่ต้องไปชอบมัน จิตร้ายก็รู้ไป ไม่ต้องไปเกลียดมัน รู้อย่างเป็นกลางไปเรื่อย แค่นี้เอง นี่คือคำว่า “ดูจิต” ดูจิตก็คือ จิตใจเราเป็นอย่างไร รู้ ว่าเป็นอย่างนั้น

ทีนี้เราจะดูจิตให้เห็นว่าจิตเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้นได้เนี่ย มันมี ๓ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ก่อนจะดู อย่าอยากดูแล้วไปรอดู เวลาพวกเราคิดถึงการดูจิต พวกเราจะไปดักดูไว้ก่อน ไหนดูสิ หายใจไป แล้วดูสิ จิตจะกระดุกกระดิกเมื่อไหร่ จ้องๆๆ จิตจะนิ่งไปเลย ไม่มีอะไรให้ดูนะ มีแต่นิ่ง

เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ของการดูจิตเนี่ยนะ อย่าดักดู จริงๆแล้วการทำวิปัสสนาจะไม่ดักดูทั้งนั้นแหละ ดูจิตห้ามดักดูเลย ถ้าดักดูเมื่อไรจิตจะนิ่ง การดูจิตก็คล้ายกับการจะดูพฤติกรรมของเด็กซนๆสักคนหนึ่ง ถ้าเราถือไม้เรียวเฝ้าไว้นะ เราไปถือจ้องไว้อย่างนี้นะ เด็กก็ไม่กล้าซน ใช่มั้ย ไม่กล้าซน จิตก็เหมือนกัน ถ้าเราไปนั่งจ้องอยู่นะ มันไม่กล้าซน มันจะนิ่ง เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ของการดูจิตนะ อย่าไปจ้องมันไว้ ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนนะ แล้วค่อยรู้เอา นี่กฎข้อที่ ๑ นะ ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้เอา เช่น ให้ใจลอยไปก่อน แล้วรู้ว่าใจลอย ให้โกรธไปก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้โลภไปก่อนแล้วรู้ว่าโลภ

ทำไมต้องให้มันเป็นไปก่อน คำว่า “จิตตานุปัสนนา” เนี่ย โดยคำศัพท์มันนะ คือคำว่า “จิต” คำว่า “อนุ” คำว่า “ปัสสนา” ปัสสนาคือการเห็น อนุแปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต เพราะฉะนั้นจิตโกรธขึ้นมา รู้ว่าจิตโกรธ ไม่ใช่ให้ไปรอดูนะว่าต่อไปนี้จิตชนิดไหนจะเกิดขึ้น ถ้าไปอ่านสติปัฏฐานให้ดีท่านจะสอนไว้ชัดๆเลยนะ ท่านบอกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ เห็นมั้ย ราคะเกิดก่อนนะ แล้วรู้ว่ามีราคะ ท่านไม่ได้สอนนะ ภิกษุทั้งหลาย จงรอดูสิว่าอะไรจะเกิดในจิตของเธอ ไม่ได้สอนอย่างนี้เลยนะ เพราะฉะนั้น จิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ จิตมีโทสะ ให้รู้ว่ามีโทสะ จิตหลงไปใจลอยไป รู้ว่าใจลอยไป ไม่ห้ามนะ แต่ใจลอยไปรู้ว่าใจลอยไป ให้สภาวะเกิดก่อนแล้วตามรู้ นี่คือกฎข้อที่ ๑ อันแรกก็คือ ก่อนจะรู้อย่าไปดักนะ อย่าไปดักดู ก่อนจะดูเนี่ย ก่อนจะรู้จิต ก่อนจะดูจิต อย่าไปจ้องเอาไว้ ให้สภาวะเกิดแล้วก็ค่อยตามดูเอา

กฎข้อที่ ๒ ระหว่างดูจิตเนี่ย ระวังอย่าให้ถลำลงไปจ้อง ระวังอย่าถลำลงไปเพ่ง ยกตัวอย่างพวกเรา เวลาหายใจ สังเกตมั้ย เวลารู้ลมหายใจ บางทีจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ เวลาดูท้องพองยุบจิตชอบไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาเดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า นี่เรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น เวลาเราดูจิตก็เหมือนกัน ถ้าเห็นความโกรธผุดขึ้นมานะ ให้ดูสบายๆนะ ดูแล้วเหมือนจะเห็นว่าคนอื่นโกรธนะ ไม่ใช่เราโกรธนะ ดูห่างๆ เราเห็นความโกรธเหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน หรือเหมือนเห็นรถยนต์วิ่งผ่านหน้าสเถียรฯอย่างนี้ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา มันมาแล้วมันไปๆ ใจเราอยู่ห่างๆ เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๒ เวลาดู อย่าถลำลงไปจ้อง ดูห่างๆ ดูสบายๆ ดูแบบคนวงนอก ดูเหมือนคนดูฟุตบอล นั่งบนอัฒจรรย์เห็นนักฟุตบอลวิ่งไปวิ่งมา อย่ากระโดดลงไปในสนามฟุตบอล

กฎข้อที่ ๓ ก็คือ เมื่อเห็นสภาวะใดๆแล้วนะ อย่าเข้าไปแทรกแซง อันที่ ๑ ก่อนจะรู้ อย่าไปดักรู้ อันที่ ๒ ระหว่างรู้ อย่าไปจ้อง อย่าไปถลำไปจ้อง อันที่ ๓ เมื่อรู้แล้วอย่าเข้าไปแทรกแซง เช่นความโกรธเกิดขึ้น รู้ว่าจิตมันโกรธ อย่าไปห้ามมัน ไม่ต้องห้ามมัน ความโกรธก็จะแสดงไตรลักษณ์ให้ดู เกิดได้ก็ดับได้เหมือนกัน ความโลภเกิดขึ้นก็อย่าไปว่ามันนะ ก็จะเห็นว่าความโลภเกิดขึ้นแล้วก็ดับเองได้ ความสุขความทุกข์มันก็ดับของมันเอง สิ่งทั้งหลายมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ เราจะเห็นอย่างนี้เนืองๆ เพราะฉะนั้น เราไม่ใช่ว่า สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็เข้าไปแทรกแซง

ยกตัวอย่างเวลาเราใจลอยไป เรานั่งหายใจอยู่ พอใจลอยปุ๊บ อุ๊ยใจลอยไมดี ดึงกลับมาอยู่ที่ลม บังคับจิตไม่ให้หนีไปไหนนะ อย่างนี้แทรกแซงแล้ว อย่าไปแทรกแซงนะ ให้รู้ สักว่ารู้ หมายถึง รู้โดยไม่เข้าไปแทรกแซง

ถ้าพวกเราทำได้ ๓ ขั้นตอนนี้นะ ก่อนจะดูนะ อย่าอยากดูแล้วถลำเข้าไปจ้อง ไปอยากดูน่ะ แล้วก็ไปคอยดักดูไว้ก่อน อันที่ ๒ ระหว่างดู อย่าถลำลงไปจ้อง ดูอยู่ห่างๆ เหมือนคนดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจรรย์ อันที่ ๓ รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซง มันดีก็รู้ไป มันก็จะเห็นว่าดีอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย.. มันชั่วก็เห็นไป ความชั่วอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย มันสุขก็รู้ไปนะ แล้วก็จะเห็นความสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย ทุกอย่างอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปทั้งสิ้นเลย อย่าเข้าไปแทรกแซง เพราะเมื่อเข้าไปแทรกแซงเมื่อไร เป็นสมถะเมื่อนั้นเลย เป็นการทำสมถกรรมฐาน


CD: เสถียรธรรมสถาน วันที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520906.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความเป็นกลางมีหลายระดับ

mp 3 (for download) : ความเป็นกลางมีหลายระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความเป็นกลางมีหลายระดับ

ความเป็นกลางมีหลายระดับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่างเราเจริญสติรู้กายรู้ใจไปนี้ ถึงจุดที่สติปัญญามันแก่กล้าขึ้นมา จิตจะเป็นกลาง จิตจะเป็นกลางต่อสังขาร ต่อความปรุงแต่งทั้งหลาย ด้วยปัญญา

เป็นกลางก็มีหลายกลางนะ เป็นกลางมีหลายแบบ

อันหนึ่งเป็นกลางด้วยการบังคับไว้ เพ่งเอาไว้ นี้เป็นกลางด้วยสมถะ

อันหนึ่งเป็นกลางด้วยวิปัสสนา เป็นกลางด้วยวิปัสสนาคือเห็นทุกอย่างเกิดแล้วดับ รู้ทันความไม่เป็นกลาง ใจค่อยเป็นกลางขึ้นมา

ทีนี้พัฒนามาเรื่อยๆนะ จนถึงวิปัสสนาญาณ ตัวสุดท้ายเลยที่เป็นฝ่ายโลกียะอยู่ ก็คือ สังขารุเบกขาฯ จิตมันเป็นกลางกับสังขาร เป็นกลางกับความปรุงแต่ง เพราะเราเจริญสติไปเรื่อยๆนะ เราจะเห็นเลย ในร่างกายนี้ ร่างกายที่หายใจออกก็ทุกข์นะ ร่างกายที่หายใจเข้าก็ทุกข์ ไม่เห็นสุขตรงไหนเลย ใจก็รู้แล้วใจยอมรับความจริงนี้ ใจเป็นกลางกับร่างกาย

ดูลงไปที่จิตนะ ก็จะเห็นเลย จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ จิตเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายใช่ไหม จิตสุขก็ชั่วคราว จิตทุกข์ก็ชั่วคราว จิตดีก็ชั่วคราว จิตร้ายก็ชั่วคราว ทีนี้พอเราเห็นอย่างนี้มากเข้าๆนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ทุกสิ่งชั่วคราวหมดเลย ความสุขเกิดขึ้นจิตก็ไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตก็ไม่เศร้าหมอง จิตเป็นกลาง นี้เรียกว่ากลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมาก เป็นกลางด้วยปัญญา ไม่ใช่กลางด้วยสติที่ไประลึกรู้แล้วเกิดเป็นกลาง แต่เป็นกลางด้วยปัญญา และไม่ใช่เป็นกลางด้วยการเพ่งเอาไว้ เพราะฉะนั้นเป็นกลางมีหลายระดับ

ทีนี้บางคนนะ ภาวนาไป แล้วก็ประคองใจให้นิ่งไห้ว่าง ก็บอกว่าเป็นกลางแล้ว อันนี้ไม่เป็น หรือบางคน พอความไม่เป็นกลาง เช่นความยินดียินร้ายเกิดขึ้น สติระลึกรู้แล้วบอกว่าเป็นกลาง อันนี้ยังไม่พอนะ ต่อเมื่อปัญญามันเกิดจริงๆเลย เห็นสุข เห็นทุกข์ เห็นดี เห็นชั่ว ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ในใจมันยอมรับตรงนี้ ใจมันเป็นกลางต่อความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว พอใจเป็นกลางตัวนี้ ใจก็หยุดความดิ้นรน หยุดความปรุงแต่ง

ใจถ้ายังไม่เป็นกลางมันจะดิ้นมันยังปรุงแต่งไม่เลิก ถ้าใจเป็นกลางอย่างแท้จริงด้วยสติ ด้วยปัญญาที่แท้จริง จะหมดความปรุงแต่ง เมื่อจิตใจหมดความปรุงแต่งแล้ว จิตมันจะสงบของมันเอง แล้วถ้าสติปัญญามันพอ เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจมามากพอแล้ว มันจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะอริยมรรคเวลาเกิด เกิดในอัปนาสมาธิ ไม่ได้เกิดอยู่ในจิตของคนทั่วๆไป จิตของเราทั่วๆไปนี้เรียกว่าจิตที่โคจรอยู่ในกามาวจรภูมิ เรียกว่า “กามวจรจิต” ยังร่อนเร่ไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เวลาที่เกิดอริยมรรคนี่มันจะรวมเข้ามาที่ใจอันเดียวนะ ไม่ได้ร่อนเร่ไปทางทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะรวมลงที่ใจอันเดียว แล้วก็มาตัดสินใจที่ใจนี้เองนะ

แล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับๆไป ๒-๓ ขณะ ถัดจากนั้นจิตรู้ด้วยความเป็นกลางอย่างแท้จริง อะไรมายั่วจิตก็ไม่กระเพื่อมหวั่นไหว จิตมีขันติที่แท้จริงเลย พอไม่กระเพื่อมหวั่นไหว สักว่ารู้สักว่าเห็น รู้แล้ววางลงไป มันวางของมันเอง บางคนได้ยินครูบาอาจารย์พูด บอกว่ารู้แล้ววางนะ จงใจวางก็ไม่ใช่ของจริงนะ จงใจวางก็ของปลอมอีก ก็เป็นการสร้างภพว่างๆขึ้นมา จงใจวางเป็นการสร้างภพอีกชนิดหนึ่งขึ้นมา แต่ถ้าจิตมันวางเองนะ มันจะถอนตัวออกจากภพเลย หมดจากความปรุงแต่ง จิตหมดจากความปรุงแต่งแล้ว มันรวมลงที่จิตนะ อริยมรรคถึงจะเกิดขึ้น เกิดอริยมรรค ๑ ขณะเท่านั้น ไม่เกิด ๒ ขณะ แล้วเกิดอริยผลขึ้น ๒-๓ ขณะ ไม่เกิน ๓ ขณะ มีเท่านั้นเอง แล้วจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอกนี่ กลับมาสู่จิตของมนุษย์ปกติอย่างนี้อีก


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๙
File: 520517.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพ่งใส่ตัวรู้จะไปเป็นพรหม

mp3 for download : เพ่งใส่ตัวรู้จะไปเป็นพรหม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพ่งใส่ตัวรู้จะไปเป็นพรหม

เพ่งใส่ตัวรู้จะไปเป็นพรหม

หลวงพ่อปราโมทย์ : การภาวนาจริงๆไม่ใช่เอาตัวไหนทั้งสิ้นหรอก ภาวนาเพื่อให้เห็นเลยว่า ทุกสิ่งมันไม่มีตัวเรา เป็นแต่สภาวธรรมล้วนๆ มีแต่สภาวธรรมนะ รูปธรรม นามธรรม ตัวจิตก็เป็นสภาวธรรม ตัวรู้นี่เป็นสภาวธรรม ตัว “เจตสิก” คือสิ่งที่มาประกอบจิต เช่น ความสุข ความทุกข์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้เรียก “เจตสิก” เป็นสิ่งที่มาประกอบจิต ทำให้จิตแต่ละดวงหน้าตาไม่เหมือนกัน

จิตโดยตัวของมันเอง เป็นแค่ธรรมชาติรู้ เป็นธรรมชาติรู้เหมือนกันหมดเลย เป็นแค่นี้เอง เหมือนไฟมีธรรมชาติร้อนอย่างนี้ เป็นอย่างนี้แหละ เป็นลักษณะเฉพาะตัว จิตมีลักษณะเฉพาะตัวคือเป็นธรรมชาติรู้ แต่ธรรมชาติรู้ดวงนี้ กับธรรมชาติรู้อีกดวงหนึ่ง มันไม่เหมือนกัน เพราะเจตสิกที่มาประกอบกัน มันไม่เหมือนกัน

คล้ายๆจิตเป็นน้ำที่สะอาดนะ ใส..ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสี เราเอาสีเข้าไปใส่ เอากลิ่นเข้าไปใส่ อัดแก๊สลงไปแล้วก็เรียก นี่เป๊บซี่ นี่โคล่า นี่แฟนต้า นี่น้ำหอม นี่น้ำเน่า ถามว่าน้ำ มันก็น้ำเดียวกันใช่ไหม  พอแยกธาตุออกมาแล้วมันก็เป็นอันเดียวกัน น้ำใสๆไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แต่มันแตกต่างกันขึ้นมา เรารู้น้ำขวดนี้กับน้ำขวดนี้เป็นคนละอย่างกัน เราเห็นเลยว่ามันเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างอันนี้น้ำหอมนะ เก็บไว้หลายวันกลายเป็นน้ำเน่าน้ำเหม็น เราก็จะเห็น แต่ละอันๆมันเปลี่ยน ไม่คงที่ จิตนี้ก็ไม่คงที่หรอก เดี๋ยวก็เป็นจิตโลภ เดี๋ยวก็เป็นจิตไม่โลภ เดี๋ยวเป็นจิตโกรธ เดี๋ยวเป็นจิตไม่โกรธ เดี๋ยวเป็นจิตหลง เดี๋ยวเป็นจิตไม่หลง

แต่ถ้าเราไปจ้องใส่ตัวรู้ เราจะรู้สึกเที่ยง เพราะเพ่งใส่ตัวรู้จะเป็นพรหมนะ จะไปเป็นผีใหญ่ นิ่งๆอยู่อย่างนั้นเอง รู้สึกเที่ยง แต่ถ้าเราเห็นเลย จิตมันทำงาน มันเกิดดับ มันเกิดดับร่วมกับเจตสิกแต่ละดวงๆ เจตสิกแต่ละดวงมันไม่เหมือนกันนี่ เช่นความโกรธกับความโลภไม่เหมือนกัน จิตที่โกรธจิตที่โลภมันก็เลยไม่เหมือนกัน เราเห็นเลยว่ามันเป็นคนละดวงกัน เราเห็นแล้วจิตเป็นคนละดวงๆ เราเห็นจิตเป็นคนละดวงได้เพราะว่าเจตสิกที่มาประกอบกันนั้นน่ะ ไม่คงที่ เปลี่ยนไป เราก็เลยเห็นเลย จิตก็เกิดดับเหมือนกัน

ถ้าจะดูแต่ตัวจิตจริงๆนะ ไปเพ่งใส่ตัวจิตเลย จะเห็นว่าไม่เกิดดับนะ เห็นเที่ยงน่ะ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ ถึงสอนว่า “ผู้ใดเห็นว่าจิตเที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ” นี่ท่านว่าซะเสียหาย เป็นมิจฉาทิฎฐิ จริงๆไม่เที่ยง มันเกิดดับ ดูตัวมันเกิดดับ ดูตัวมันตรงๆไม่ได้ จะไม่เห็น ให้ดูว่ามันเกิดร่วมกับเจตสิก จิตโลภเกิดแล้วก็ดับ จิตโกรธเกิดแล้วก็ดับ จิตหลงเกิดแล้วดับ จิตสุขจิตทุกข์เกิดแล้วดับ ดูอย่างนี้ก็ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520418.mp3
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเป็นแล้วทำไมกิเลสเกิดบ่อยขึ้น?

mp 3 (for download) : ภาวนาเป็นแล้วทำไมกิเลสเกิดบ่อยขึ้น?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาวนาเป็นแล้วทำไมกิเลสเกิดบ่อยขึ้น?

ภาวนาเป็นแล้วทำไมกิเลสเกิดบ่อยขึ้น?

โยม : จะขอคำแนะนำจากหลวงพ่อครับ ถึงเรื่องวิธีการฝึกจิตแล้วก็ดูสติน่ะครับ ไม่ทราบว่าทำถูกวิธีหรือเปล่า เพราะว่าปัญหาของตัวเองก็คือมีโทสะค่อนข้างมาไวแล้วไม่ค่อยทัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : อะไรนะ โทสะอะไรนะ

โยม : โทสะน่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไม โทสะทำอะไร

โยม : คือมาค่อนข้างไว เหมือนกับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : แล้วไง

โยม : คือ รู้ครับ แต่มารู้ทีหลังทุกทีครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้ทีหลังก็ถูกแล้ว คนที่ภาวนาเป็นน่ะนะ กิเลสจะเกิดบ่อย คนที่ภาวนาไม่เป็นไปเพ่งไว้นะ ทั้งวันเลยไม่เกิดกิเลส มันนิ่งลูกเดียว เราอย่ากลัวกิเลส แต่ว่าอย่าผิดศีล ๕ นะ เบื้องต้นต้องมีศีล ๕ ไว้ก่อน เพราะว่าต่อไปนี้เวลาเราเจริญวิปัสสนาเนี่ย เราจะไม่เก็บกด

คนซึ่งทำสมถะเนี่ยนะ ไม่ต้องถือศีลมากก็ได้นะ เพราะว่ามันเก็บกด ไม่ได้ไปทำชั่วอะไรหรอก วันๆก็ซึมกระทืออยู่อย่างนี้นะ ไม่ยุ่งกับใคร ทั้งวันอยู่อย่างนี้ ไม่ได้เรื่องหรอก แต่พอเราไม่ได้เก็บกด เราปล่อยเนี่ย ความชั่วในส่วนลึก ที่เรียกว่าอนุสัยทั้งหลายเนี่ย จะผุดขึ้นมาอย่างอิสระ ตากระทบรูปปุ๊บ ไม่ได้เก็บกดนะ โทสะพุ่งแล้ว กระทบสาวปุ๊บราคะขึ้นแล้ว จะขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นตรงนี้แสดงว่าเราไม่ได้กดไว้แล้ว เป็นการที่กิเลสเกิดบ่อย

พอมีกิเลสเกิดบ่อยเราก็มีสติรู้ทัน เราจะเห็น ต่อไปมันก็เกิดปัญญา เห็นมั้ยกิเลสจะเกิดก็ห้ามมันไม่ได้นะ เกิดมาแล้วเรารู้ทันมันไป กิเลสก็เกิดแล้วก็ดับ อย่าไปฝึกดับกิเลสนะ แต่ฝึกเห็นกิเลสเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ฝึกดับกิเลส คนละเรื่องกันเลย

โยม : คือดูไปเรื่อยๆแล้วมันจะค่อยลดเองใช่มั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อยากลดเหรอ

โยม : อ๋อ.. คือที่รู้สึกก็คือรู้ว่าน้อยกว่าเมื่อก่อนครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือกิเลสจะเกิดบ่อยกว่าแต่ก่อน แต่กิเลสจะเบา ทำไมมันเบา เพราะเรารู้เร็ว กิเลสเหมือนไฟไหม้บ้านนะ ถ้าปล่อยให้ไหม้หลายนาทีเนี่ย จะไหม้เยอะ ถ้าคนมันมาวางเพลิง มาขีดไฟแช็คปุ๊บ เราเห็นแล้วถีบมันเปรี๊ยง ไฟไม่ติดละ ดังนั้นกิเลสเนี่ย พอเรามีสติรู้เร็ว กิเลสมันก็อ่อน กิเลสจะเกิดบ่อยนะ ไหววับรู้สึก วับรู้สึก วับรู้สึก ไม่ต้องทำอะไรมัน


CD: บ้านอารีย์ วันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑
File: 510914.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๓ วินาทีที่ ๑๖ ถึง นาทีที่ ๔๕ วินาทีที่ ๓๒
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

mp 3 (for download) : ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตนะมันก็คล้ายๆเด็กคนหนึ่ง เป็นเด็กซนด้วย จิตของทุกคนเป็นเด็กซนๆ นะ เพราะฉะนั้นจิตจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ทำงานอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราเป็นแบบผู้ใหญ่ใจร้าย เราไปถือไม้เรียวเฝ้าเด็กไว้เนี่ย เด็กก็ตัวแข็งๆ ไม่กล้ากระดุกกระดิก เด็กก็ผิดธรรมชาติแล้ว เด็กไม่กล้าเคลื่อนไหว

จิตนี้เหมือนกัน ถ้าเราไปนั่งเพ่ง นั่งจ้อง นะ จิตก็จะนิ่ง ไม่กล้าเคลื่อนไหว ไม่กล้ากระดุกกระดิก เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งมัน ปล่อยให้มันทำงานเป็นอิสระเลย แล้วมีสติตามดู ผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็นเนี่ย ต่างกันนิดเดียว เด็กๆที่ปฏิบัติไม่เป็นนะ จิตมันเดี๋ยวก็แกว่งขึ้น เดี๋ยวก็แกว่งลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ตลอดเวลา จิตมันเป็นอย่างนั้นเอง เป็นธรรมชาติ เจอสิ่งนี้มันดีใจ เจอสิ่งนี้มันไม่พอใจนะ เปลี่ยนแปลงไป

แต่ว่าเด็กนั้นอารมณ์มันเปลี่ยนแปลงนะ แต่มันไม่รู้ นะ มันไม่รู้ มันมัวแต่หลงออกไปภายนอก ผู้ปฏิบัติต่างจากเด็กนิดเดียว ตรงที่ว่าเรารู้ทัน จิตเราโลภขึ้นมาเรารู้ทัน จิตเราโกรธขึ้นมาเรารู้ทัน จิตเราหลงขึ้นมารู้ทัน จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตสงสัย จิตเป็นอย่างไรคอยรู้ทันไปเรื่อยๆ แต่ว่าปล่อยจิตให้มันทำงานไปอย่างอิสระนะ เหมือนเราเป็นเด็กๆ ปล่อยจิตมันให้ทำงานไป เหมือนจิตใจของเด็กธรรมดานั่นเอง

นี่ฝึกไปอย่างนี้ ง่ายๆ เราก็จะได้เห็นความจริง ว่าจิตนี้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นี่คือ “ไม่เที่ยง” นะ จิตนั้นทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ เช่นสุขก็สุขไม่นานนะ ทุกข์ก็ทุกข์ได้ชั่วคราว เนี่ยเรียกว่ามันเป็น “ทุกขัง” มันทนอยู่ไม่ได้ มันถูกบีบคั้นตลอดเวลา จิตนี้นะ เราสั่งมันไม่ได้ มันจะสุข มันจะทุกข์ มันจะดี จะชั่ว เราสั่งมันไม่ได้ นี่เรียกว่า “อนัตตา”

เราดูของจริงนะ เราจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดูในกาย ดูในจิตนะ ดูไปเรื่อยๆ ดูเขาทำงานไปเรื่อย อย่าไปบังคับเขา ถ้าเราลืมดู เรียกว่า “หลงไป” นะ ใช้ไม่ได้ ถ้าเราไปเพ่งกายเพ่งจิต มันก็นิ่งๆ ไม่เห็นความจริง ก็ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นให้เรารู้เล่นๆ

เพราะฉะนั้น เด็กๆ เนี่ย จิตใจมันจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง มันอยากจะวิ่งมันก็วิ่งนะ ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวไป หกล้มขึ้นมา มันเจ็บมันก็ร้องไห้ มันไม่ได้มีมารยา นะ ของเราถ้าหกล้มใช่มั้ย เราเจ็บเนี้ยไม่เท่าไหร่ แต่อายมากกว่า เห็นมั้ย เด็กไม่อาย รู้สึกมั้ย แต่หลวงพ่อไม่ได้สอนให้พวกเราหน้าด้านนะ แต่เทียบให้ฟังน่ะ อย่างเด็กหกล้มเนี่ย เด็กเจ็บ แต่ของเราเนี่ยอาย ใช่มั้ย เจ็บด้วย แล้วอายด้วย นี่บวกมารยาเข้าไป นะ ถ้าเรามีใจอย่างเด็กๆ นะ ใจซื่อๆ ความรู้สึกใดๆ เกิดขึ้น ก็มีสติรู้ทันนะ ต่างกับเด็กตรงที่เด็กมันไม่รู้เท่านั้นเอง

แต่เด็กบางคนรู้นะ หลวงพ่อตอนอายุสิบขวบ ไฟไหม้ข้างบ้าน ตกใจ วิ่งจะไปบอกพ่อ วิ่งไป ตึ๊บ ตึ๊บ ตึ๊บ วิ่งไปสามก้าวเท่านั้น มันไปเห็นจิตที่ตกใจเข้า ความตกใจมันดับลงตรงนั้นเลย นะ มันตื่นขึ้นมา เพราะฉะนั้นเด็กบางคนมันก็เป็นเหมือนกันนะ ทีนี้พวกเรานะ ปล่อย..ให้กายให้ใจเขาทำงาน ให้เขาเคลื่อนไหว ให้เขาเปลี่ยนแปลงแล้วเราตามดู

ผู้ปฏิบัติไปพลาดตรงไหน พลาดตรงที่ไปทำลายหัวใจของเด็กๆ เสียนะ เป็นหัวใจที่เต็มไปด้วยมารยานะ เรากดข่ม บังคับตัวเองสารพัดเลยนะ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ไม่เป็นธรรมชาตินะ ใจเราจะมีความรู้สึกอะไร เราก็คอยควบคุม คอยบังคับ คอยกดข่ม จนเครียดไปหมดเลย นะ เพราะฉะนั้นเราเต็มไปด้วยความทุกข์ เราสร้างความทุกข์ขึ้นมาเอง เราสร้างความลำบากในกายในใจขึ้นมาเอง

ลองเปลี่ยนซะนะ อย่าไปเพ่งกาย อย่าไปเพ่งใจ อย่าไปกำหนดกาย อย่าไปกำหนดใจ ให้มีสติรู้กาย ให้มีสติรู้ใจ รู้ไปเรื่อยๆ รู้ไปเล่นๆ วันหนึ่งเราจะเห็นความจริงเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานะ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เห็นแต่สภาวธรรม แต่ไม่มีตัวเรา

เช่น ความโกรธเกิดขึ้น เราเห็นเลย ความโกรธไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสภาวธรรมที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความโลภเกิดขึ้นก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปหมดเลย ความสุขเกิดขึ้นนี่ เรามีสติรู้อยู่ มีใจตั้งมั่น เห็นเลย ความสุขนั้นเป็นแค่สิ่งที่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป เป็นของแปลกปลอมมาชั่วครั้งชั่วคราว ความสุขไม่ใช่ตัวเรา นะ

เราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างผ่านมาผ่านไปล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเรา นี่เราคอยรู้สึกไป รู้สึกไปนะ ในกายนี้ก็มีแต่สภาวธรรม ไม่ใช่ตัวเรา ในจิตก็มีแต่สภาวธรรม ไม่ใช่ตัวเรา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเศก (ศาลาลุงชิน) ครั้งที่ ๒๗
เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕๒
CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๗
File: 520215.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔๑

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กิเลสที่ทำให้เนิ่นช้า

mp 3 (for download) : กิเลสที่ทำให้เนิ่นช้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

กิเ้ลสที่ทำให้เนิ่นช้า

กิเ้ลสที่ทำให้เนิ่นช้า

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัตินี่ไม่ใช่ให้เราลงมือทำอะไร เราไม่ทำอะไรเกินจากการรู้ตามความเป็นจริงนะ รู้กายตามความเป็นจริง รู้ใจตามความเป็นจริง แค่นี้เรียกว่าปฏิบัติ ถ้าเกินจากนี้ไม่ใช่ละ เกินจากนี้เป็นการหลงความปรุงแต่งฝ่ายกุศลแล้ว

อยากจะดีก็ปรุงใหญ่เลยนะ กดข่มบังคับ เครียด เก็บกด มันทำของง่ายให้กลายเป็นของยาก สิ่งที่ทำของง่ายให้กลายเป็นของยากนะ ท่านเรียกว่า ‘ปปัญจธรรม’ ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า มีตัณหา อยากปฏิบัติมาก ก็ยิ่งดิ้นมาก มีทิฎฐิ คิดมาก ก็ยิ่งฟุ้งซ่านมาก เปรียบเทียบไปเรื่อย ไม่ยอมรู้กายรู้ใจ มีมานะมาก ถือว่ากูเก่ง กูรู้หมดแล้ว กูเลยเรียนอะไรไม่ได้เลย หรือกูโง่สุดๆ แล้ว กูก็เลยเรียนอะไรไม่ได้เหมือนกันเพราะใจฝ่อ เพราะฉะนั้นอย่าให้กิเลส ๓ ตัวนี้มาครอบงำ

ความอยากปฏิบัตินั้นแหละตัวดีเลย ทันทีที่อยากปฏิบัติมันจะเกิดการหมายรู้ มันจะหมายลงไป จะจงใจเข้าไปรู้ ทันทีที่จงใจเข้าไปรู้เกิดการกระทำกรรมแล้ว การกระทำกรรมคือการจงใจเข้าไปรู้ เมื่อจงใจเข้าไปรู้ปุ๊บ วิบากคือความทุกข์ก็จะเกิดทันทีเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณอรัญวาสี
หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
CD: สวนโพธิญาณอรัญวาสี แผ่นที่ ๑๐
Track: ๑
File: 480911A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๑๒ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๓๕
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปล่อยใจให้กระทบกระเทือนไปตามธรรมชาติ แล้วรู้ทัน

ปล่อยใจให้กระทบกระเทือนไปตามธรรมชาติ แล้วรู้ทัน

ปล่อยใจให้กระทบกระเทือนไปตามธรรมชาติ แล้วรู้ทัน

mp3 (for download) : ปล่อยใจให้กระทบกระเทือนไปตามธรรมชาติ แล้วรู้ทัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: สวมหัวใจเด็กไว้นะ เด็กน่ะมีหัวใจที่ซื่อๆ กระทบอารมณ์อย่างนี้ดีใจมันก็ดีใจ กระทบอารมณ์อย่างนี้เสียใจมันก็เสียใจ  เราต่างกับเด็กนิดเดียว ตรงที่ดีใจแล้วเรารู้ทัน เสียใจเรารู้ทัน เรารู้ทันใจ แต่ปล่อยใจให้มันกระทบอารมณ์ตามธรรมชาติ กระทบแล้วก็ให้มันเกิดความรู้สึก ให้มันเกิดปฏิกิริยาไปตามธรรมชาติ ของพวกผู้ใหญ่เนี่ยนะกระทบอารมณ์หรอก แต่ว่าพอจะเกิดปฏิกิริยาขึ้นที่ใจเนี่ย ไปดัดแปลงให้ผิดธรรมชาติ เช่นไปข่มใจให้นิ่ง โกรธก็ไม่เอาข่มไว้ โลภก็ไม่เอา ข่มไว้ นี่ไม่ใช่สวมหัวใจเด็กละ สวมหัวใจมายากล มายากร ดัดแปลง

เพราะฉะนั้นปล่อยให้กระทบอารมณ์ตามธรรมชาตินะ ธรรมดาเลย ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบ กระทบแล้วปล่อยให้ใจมันกระเทือนไปตามธรรมชาติ หน้าที่ของเราก็คือใจมันกระเทือนแล้วรู้ทัน ตามรู้ไปเรื่อยๆ

ที่นี้พวกนักปฏิบัติผิดสองอัน ผิดสองอันตรงที่ กระทบเนี่ยก็มักจะจงใจกระทบ เช่น ดัดแปลงการเดิน เดินไม่เหมือนคนธรรมดา หายใจไม่เหมือนคนธรรมดา จะขยับไม้ขยับมือไม่เหมือนคนธรรมดา นี่ดัดแปลงการกระทบละ

อันที่สองกดจิตไว้ไม่ให้กระเทือน พอกระทบก็ผิดธรรมดานะ เช่น เวลามองอะไรทีนะ ต้องตั้งหลักให้ดีละ ค่อยๆมอง นี่ดัดแปลงการกระทบนะ พอมองไปแล้วเกิดอะไรล่ะ ก็เฉยสิ ใจไม่กระเทือนขึ้นมา รู้สึก โอ้…ชะรอยกูจะเป็นพระอรหันต์ละ เนี่ย เหมือนคนเป็นอัมพาตหน่อยๆ ชะรอยพระอรหันต์จะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติเนี่ยนะ พอกระทบผัสสะก็บิดเบือน เดินก็ไม่เหมือนคนธรรมดา ย่องๆๆ นะ ทำอะไรก็ผิดคนธรรมดา จะกินข้าว บางคนนะ เคยได้ยินมา กินข้าวคำนึงเนี่ยตั้งครึ่งช.ม. ตักอยู่นั่นแหละ ยกอยู่นั่นแหละ กว่าจะเข้าปากนะ อ้าอยู่นั่นแหละ แมลงวันเข้าไปหลายตัวละ เพราะฉะนั้นใช้ชีวิตนะ  กระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา กระทบแล้วอย่าไปดัดแปลงใจ หน้าที่ของเรามีอันเดียว คือ เมื่อใจเป็นยังไงนะ ตามรู้เข้าไปเรื่อยๆ

ทีนี้ ส่วนคนไม่ปฏิบัติ กระทบตามธรรมชาติ กระทบแล้วกระเทือนตามธรรมชาติ ฟังแล้วดีกว่านะ แต่ไม่เห็น ไม่เห็นสิ่งที่เกิดตามมา แยกได้มั้ย คนทั่วๆไปนะกระทบตามธรรมดา กระเทือนตามธรรมดา แต่ไม่รู้ไม่เห็นจิตใจตนเอง นักปฏิบัติ จะกระทบก็ผิดธรรมดา จะกระเทือนก็ข่มเอาไว้ อาจจะรู้โดยการจ้องๆไว้ รู้แล้วมันก็จะนิ่งๆไป เนี่ย มันใช้ไม่ได้ทั้งคู่แหละนะ

เพราะฉะนั้นเราให้กระทบไปกระเทือนไปเหมือนคนธรรมดา สิ่งที่เกินคนธรรมดาขึ้นมาก็คือ อะไรเกิดขึ้นในใจ ตามรู้ไปเรื่อยๆ แค่นี้เอง เพราะงั้นงานของเราที่เกินกว่าปกตินะก็คือ สิ่งใดแปลกปลอมขึ้นในจิตใจ คอยตามรู้ไป เท่านี้เอง แค่นี้เอง ไม่มากกว่านี้ละ ไม่ดัดแปลงการกระทบ ไม่ห้ามการกระเทือน

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๑
File: 500720A
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๙ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 2 of 41234