Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การดูกาย

ดูกาย

ดูกาย

mp 3 (for download) : การดูกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ฝึกมาแบบไหน

โยม: ดูกายค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูกายต้องมีใจที่ตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าดูนะ ใจต้องอยู่ต่างหากเป็นแค่คนดู ที่ฝึกอยู่พอใช้ได้แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว ตะกี้ใช้ได้ นี่ตรงนี้ใช้ได้

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าไปเพ่งนะ อย่าไปเพ่งกายให้ทื่อๆ ขึ้นมา ให้เราแค่เห็นร่างกายมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนดูกาย นี่หลวงพ่อพูดเหมาๆ นะ วันนี้มีเวลาครึ่งชั่วโมงเอง คนไหนดูกายนี่ให้เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นแค่คนดูร่างกายทำงาน อย่าเหลือแต่กายอันเดียว หลายคนภาวนาผิดนะ ไปรู้ลมหายใจ เหลือแต่ลมหายใจไม่มีความรู้สึกตัว จิตจมลงไปในลม บางคนดูท้องพองยุบนะ เหลือแต่ท้อง จิตไปเพ่งอยู่ที่ท้อง มันต้องมีจิตอยู่ต่างหาก

การแยกกายแยกใจนี่เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ’ ก่อนที่จะขึ้นวิปัสสนานี่ ญาณที่หนึ่งต้องมีนามรูปปริเฉทญาณ แยกรูปกับนามออกจากกันให้ได้ก่อน รูปธรรมอยู่ส่วนหนึ่งนะ นามธรรมเป็นคนดู เพราะฉะนั้นเราเห็นร่างกายที่เดินที่ยืนที่นั่งที่นอนนี่ไม่ใช่ตัวเรา มันจะเห็นทันทีเลย เพราะใจจะเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

เพราะฉะนั้นต้องพยายามนะ คนไหนที่หัดรู้กาย เวลาที่รู้ลมหายใจอย่างนี้อย่าให้จิตไหลไปจมอยู่ที่ลมหายใจ ให้จิตอยู่ต่างหาก จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายนี้หายใจไป จิตเป็นแค่คนดู บางคนดูท้องพองยุบก็ให้ร่างกายมันพองยุบไป จิตเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนเดินจงกรมก็เห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นคนดูอยู่ อย่าไปเพ่งใส่เท้านะ ถ้าไปเพ่งเท้าจนไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิต จิตไปรวมอยู่ที่เท้าเป็นสมถะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ที่ทำนะได้แค่สมถะ จิตถลำลงไป จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธินี่แหละเป็นของสำคัญมาก ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่สักว่าเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นี่ จิตจะถลำลงไป ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ มันจะไม่สามารถเห็นอารมณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง จิตมันจะไปแช่นิ่งๆ ซื่อบื้ออยู่กับอารมณ์ อย่างนั้นไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ

เพราะฉะนั้น คนไหนดูกายนะ รู้ไป ร่างกายเคลื่อนไหว ใจเราเป็นคนดูอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็จะเห็นเลย ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวของมันไปเรื่อย จิตใจมันก็ทำงานของมันไปเรื่อย บังคับไม่ได้สักอันเดียวทั้งกายทั้งใจ

ทำวิปัสสนาไม่ใช่รู้กายอันเดียวหรือรู้จิตอันเดียว ทำวิปัสสนาจริงๆ ไม่เหมือนสมถะ สมถะรู้อันเดียว ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่วิปัสสนานี่บางครั้งสติรู้กาย บางครั้งสติรู้จิต เลือกไม่ได้ เพราะสติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต เมื่อรู้กายเราก็ให้เห็นความจริงของกายนะ จิตเป็นแค่คนดูอยู่ เห็นความจริงร่างกายเป็นแค่วัตถุธาตุเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเราหรอก จะเห็นทันทีว่าไม่ใช่เรา แต่ถ้าเราไปเพ่งท้องพองยุบไปเรื่อยๆ มันจะไม่เห็นว่าไม่เป็นเรา มันจะสงบไปเฉยๆ เพราะฉะนั้นใจจะต้องตั้งมั่นเป็นแค่คนดูอยู่

 

 

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
Track: ๖
File:
500509.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

mp 3 (for download) : ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นคนรู้คนดู พวกเราหลายคนทำกรรมฐานมากมาย แต่สงสัยว่าทำไมมันไม่เกิดมรรคผลนิพพานตัวจริง เพราะมันไม่มีปัญญานั่นเอง ไม่มีปัญญาเห็นความจริงของรูปนาม มันคิดแต่จะบังคับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งลูกเดียวนะ ไม่ใช่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์

ทำไมไม่มีปัญญา เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นสำคัญนะ อย่างพระอยู่กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องคอยควบคุม บางวันจิตตามรู้กายตามรู้ใจมากเข้าๆ จิตกระจายๆ ออกไปนี่ ต้องเพิ่มสมถะละ เพิ่มความสงบให้ใจตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วขี้เกียจขี้คร้านอีก ต้องไล่อีกแล้ว ให้ออกมารู้กายมารู้ใจนะ

เนี่ยเวลาทำกรรมฐานก็คล้ายๆ เราขับรถยนต์นะ บางเวลาก็เหยียบเบรก เนี่ยทำสมถะ บางเวลาเหยียบคันเร่งเจริญปัญญา รถมันถึงจะไปถึงที่หมายได้ งั้นเราคอยดูนะ คอยดูกายคอยดูใจไป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นแค่คนดู

หลายคนทำมาหลายปีทำไมไม่ได้ผล หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ อย่างตอนนี้ฝึกพองยุบเยอะ ฝึกพองยุบแล้วเห็นท้องพองท้องยุบนะ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นจิตเราจะไหลไปตั้งอยู่ที่ท้อง จิตไปตั้งอยู่ที่ท้องเรียกว่าไปตั้งแช่ไม่ใช่ตั้งมั่น เข้าไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ จิตตั้งมั่นเนี่ยมันจะอยู่ต่างหากจากอารมณ์ มันจะเห็นเลยร่างกายที่พองร่างกายที่ยุบเป็นของถูกดู จิตอยู่ต่างหาก ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อน

เพราะฉะนั้นก่อนจะเกิดวิปัสสนาญาณนะ ญาณตัวแรกเลยนะเขาเรียกว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ” นามรูปปริจเฉทญาณคือแยกรูปกับนาม เห็นเลยเห็นท้องมันพองท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่นอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ใจถลำไปอยู่ที่ท้องนะ ตรงนี้ชอบดูลมหายใจก็ถลำไปอยู่ที่ลมหายใจ ขยับมือทำจังหวะก็ไปเพ่งใส่มือ จิตไหลไปอยู่ที่มือ เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ดูท้องจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูอิริยาบถสี่เพ่งมันทั้งตัวเลย อันนั้นเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตถลำลงไปตั้งแช่ในอารมณ์ จิตต้องตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สักว่ารู้อารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์นี่เป็นอันหนึ่ง ไหลเข้าไปรวมแช่อยู่กับอารมณ์เป็นอีกอันหนึ่ง

นี่พวกเราส่วนมากจิตไหลเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์ ไม่มีปัญญาจริงหรอก เกิดปัญญาไม่ได้ มันแช่ไปด้วยกัน ยกตัวอย่างให้ฟังนะ คล้ายๆ เรา ถ้าเรายืนอยู่บนบกริมคลองริมแม่น้ำ เราอยู่บนบกเราไม่ได้ตกน้ำ เราจะเห็นเลยในน้ำเดี๋ยวก็มีอันโน้นลอยมาอันนี้ลอยมา เดี๋ยวกอผักตบลอยมา เดี๋ยวท่อนไม้ลอยมา เดี๋ยวหมาเน่าลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไปเพราะว่าเราอยู่บนบก

แต่ถ้าเราตกลงไปในน้ำเราลอยไปกับมันนะ เห็นมันอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นมันอยู่ทั้งวัน ดูท้องก็เห็นท้องทั้งวันอยู่ทั้งวันนั่นแหละ ลอยไปด้วยกัน งั้นต้องเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

อย่างสายอภิธรรม อาจารย์แนบก็ชอบสอน ต้องเป็นคนดูละครนะ เป็นคนดูละครอย่าโดดเข้าไปในเวทีละคร ถ้าพูดสมัยใหม่คนรุ่นเราชอบดูฟุตบอล เราต้องดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์นะ อย่าไปดูฟุตบอลอยู่กลางสนามฟุตบอล เดี๋ยวถูกเขาเตะเอานะ ถูกกิเลสเตะเอา

งั้นเราต้องดูอยู่ห่างๆ เนี่ยเรียกว่าเราตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยินดียินร้ายกับมัน เป็นกลางในการรู้ จิตใจอ่อนโยนนุ่มนวล ตั้งมั่น คล่องแคล่วว่องไวนะ ไม่ไหลเข้าไป เนี่ยอย่างนี้จิตใจถึงจะมีปัญญาจริงเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ เพราะจิตมันไม่หลงตามไป จะเห็นแต่ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ถ้าไหลคู่กันไปมันคือการเพ่ง มันจะแนบอยู่ที่อันเดียวนะ เป็นการเพ่ง ได้สมถะ ได้แต่สมถะ

ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ทางวัดป่าท่านจะเรียกว่าจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นคนดู เป็นคนดูกาย ดูเวทนา ดูกุศลอกุศล ก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นกุศลอกุศลล้วนแต่เกิดแล้วก็ดับ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู ปัญญาถึงจะเกิด

งั้นสติเป็นเครื่องระลึกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแปลกปลอมขึ้นในกายในใจ สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการไปรู้อารมณ์ไม่ถลำลงไป ปัญญาก็จะเห็นความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา นี่สติสมาธิปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างนี้นะถึงจะเกิดมรรคเกิดผลได้ ทำไมเกิดมรรคเกิดผลได้เพราะว่ามีปัญญาแก่รอบแล้ว มีสมาธิบริบูรณ์ขึ้นมานะ ศีลสมาธิปัญญาพร้อมมูลขึ้นมานะ อริยมรรคถึงจะเกิด ตัวหนึ่งมากตัวหนึ่งน้อยกะพร่องกะแพร่งไม่เกิดหรอก งั้นต้องมีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางสักว่ารู้สักว่าเห็นนะ ถึงจะเห็นความจริงของกายของใจ ฟังเหมือนยากนะแต่ง่าย


แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
ลำดับที่: ๘
File: 491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

mp 3 (for download) : จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ

คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ

ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ

พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ

ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย…

อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊

เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง

จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัตินี่ถ้าเราแยกส่วนการปฏิบัติออกจากการดำเนินชีวิตปกติของเรา อย่ามาพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานเลย ชาตินี้ไม่ได้ ถ้ายังรู้สึกนะ เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ใช่เวลาปฏิบัติ ถ้ารู้สึกอย่างนี้อย่าพูดเรื่องมรรค ผล นิพพาน เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราได้ ก็ไม่ต้องพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานนะ อย่างไรก็ต้องได้ เพราะฉะนั้นต้องหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราให้ได้

เมื่อสักเดือนสองเดือนนะ มีคนไปเรียนกับหลวงพ่อที่ศรีราชา ศาลาหลวงพ่อใหญ่กว่านี้ตั้งเกือบเท่า วันนั้นคนเต็ม ยาว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า ผมอยากเดินจงกรม จะเดินอย่างไร อยากเดินจงกรม หลวงพ่อบอกว่า กล้าออกมาเดินโชว์ไหม เดินตรงนี้ กล้าไหม เด็กคนนี้กล้า ค่อยๆ แหวกคนออกมานะ แหวกเดินออกมา หลวงพ่อบอกว่าหยุดก่อน ใช้ไม่ได้แล้ว ทำไม ขาดสติ ที่ขาดสติก็ตอนที่แหวกคนออกมา จะมาเข้าทางจงกรม คิดว่าเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ คิดว่าตอนนี้ไม่ต้องปฏิบัติ เดี๋ยวเอาไว้เข้าทางจงกรมก่อนค่อยปฏิบัติ นี่เข้าใจผิดแล้ว แท้จริงแล้วทุกก้าวที่เดินถ้ามีความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย เดินอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมานะ ก็เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมด ถ้าเดินกลับไปกลับมาแล้วขาดสติ ก็เรียกเดินเรื่อยเปื่อย ถ้าเดินแล้วก็เพ่งเอาเพ่งเอา บังคับกาย บังคับใจ ก็เรียกเดินทรมาน ทรมานกายทรมานใจ ถ้าเดินแบบมีสติก็เรียกว่าเดินจงกรม

หลวงพ่อก็ให้เดินต่อ คราวนี้เขาก็ไม่เดินใจลอยแล้ว เขาเดินค่อยๆ รู้สึกตัวมานะ กำลังพอดีเลย พอเริ่มเข้าทางจงกรมปุ๊บ เริ่มวางฟอร์มแบบนักปฏิบัติ วางฟอร์ม ทำขรึม บอกนี่ผิดไปอีกข้างหนึ่งแล้ว สิ่งที่ผิดหลวงพ่อพูดบ่อยๆ สุดโต่งมีสองอัน อันหนึ่งเผลอไป ตอนเดินออกมาทีแรก เผลอไป เรื่อยเปื่อย พอเริ่มลงมือปฏิบัติ บังคับกาย บังคับใจ สุดโต่ง

พอเราบังคับกายบังคับใจนะ กายก็นิ่งผิดความเป็นจริง จิตก็นิ่งผิดความเป็นจริง เราต้องการดูให้เห็นความจริงต่างหาก ไปทำจนมันผิดความจริง แล้วจะเอาความจริงที่ไหนไปดู เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ตามที่เขาเป็นจริงๆ นะ อย่าไปดัดแปลอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานไม่ได้เอาไว้ฝึกดัดแปลง แต่เอาไว้ดูเพื่อให้เห็นความจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา พอรู้ความจริงแล้วมันจะปล่อยวาง แต่ถ้าไปบังคับไปทำขรึม ทื่อๆ ไว้นะ ยิ่งแก่ยิ่งเก่งนะ ยิ่งแก่ยิ่งเพ่งเก่ง ใครด่าก็เฉย ใครชมก็เฉยนะ ฝึกจนกระทั่งมีรู้สึกเหมือนตนเองเป็นต้นไม้และก้อนหิน ไร้ความรู้สึก ฝึกอย่างนั้นน่าสงสาร เหนื่อย บางคนเพ่งมากๆๆ เพ่งไปกันจนพิกลพิการนะ ต้องหอบหิ้วกันมาให้เราแก้ให้ มันก็แก้ยากนะ

เพราะฉะนั้นอย่ารีบร้อน อย่าใจร้อนรีบปฏิบัติมากนัก ฟังให้รู้เรื่องหน่อย แล้วค่อยลงมือทำ เรียนก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓
File:
490716.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

mp3 for download : สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติเป็นความระลึกได้ ไม่ได้เจตนาระลึก นะ ถ้าเจตนาระลึกอยู่ล่ะก็ ไม่เจอของจริงหรอก ไปเพ่งเอา ปัญญาจะไม่เกิด เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่าง เจตนาระลึกรู้กาย เจตนาระลึกรู้ใจ อะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่เจตนาธรรมดา มันเป็นโลภเจตนา มันเจือด้วยความอยากด้วย เช่นอยากปฏิบัติแล้วมาคอยรู้กาย อยากปฎิบัติแล้วมาคอยรู้ใจ เนี่ยความอยากมันนำหน้า ถ้ามีความอยากนำหน้าอยู่ เจตนาตัวนั้นไม่บริสุทธิ์แล้ว เรียกโลภเจตนา นะ

โลภเจตนาเป็นความจงใจทางใจที่จะทำสิ่งบางสิ่ง ภาษาปริยัติมีทรัพย์อีกคำหนึ่งชื่อ มโนสัญญเจตนา เป็นมโนสัญญา มโนสัญญเจตนา หมายรู้ทางใจ มันจะจงใจไปหมายรู้ทางใจ เบื้องหลังมันจริงๆส่วนใหญ่ก็โลภะนั้นแหละ มันก็เลยจงใจไปหมายรู้ พอจงใจไปหมายรู้นะ โลภะแทรก สติแท้ๆมันไม่เกิดหรอก เนี่ยเราต้องค่อยๆพัฒนาจนสติอัตโนมัติเกิดขึ้นมา นะ ถ้าสติอัตโนมัติเกิดขึ้นมาเนี่ย ไม่ได้จงใจจะรู้ แต่มันรู้ของมันเอง แต่อยู่ดีๆจะให้มันรู้ของมันเองน่ะรู้ไม่ได้ ต้องฝึก ต้องทำเหตุ เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิด คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น เพราะฉะนั้นให้หัดรู้สภาวะบ่อยๆ

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
CD แผ่นที่  ๓๓
ลำดับที่ ๑๒
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๑๒ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พอดีตรงที่รู้

พอดีตรงที่รู้

mp3 (for download) : พอดีตรงที่รู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราลืมกายลืมใจ เรียกว่าเผลอ ถ้าเราไปจ้องไว้นะ ไปเพ่งกาย เพ่งใจ เรียกว่าเพ่ง สองอันนี้ไม่เอา เอาแค่รู้กายรู้ใจ นะ เนี่ยตอนแรกๆเราเคยชินที่จะเพ่ง เราก็มาคอยรู้คอยดู ยิ่งเพ่งยิ่งทุกข์ ยิ่งเพ่งยิ่งทุกข์นะ พอฝึกไป ฝึกไป ใจมันค่อยๆปรับตัวของมัน มันลดการเพ่งลง ใจก็โปร่งขึ้น โปร่งขึ้น ต่อไปมันรู้ว่าที่พอดีก็คือตรงที่รู้นั่นแหละ ทีนี้ภาวนาง่ายล่ะ นะ

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๒
ลำดับที่ ๑๗
File: 521127B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่ตั้งมั่น จะเห็นความจริง เกิดปัญญา

mp3 for download: จิตที่ตั้งมั่น จะเห็นความจริง เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว

แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย

แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่

ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ

ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ

พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด

การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา

เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่

ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่

ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File:  510427A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๐ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้เท่าที่รู้ได้สบายๆ ไม่ค้นคว้า

รู้เท่าที่รู้ได้สบายๆ ไม่ค้นคว้า

รู้เท่าที่รู้ได้สบายๆ ไม่ค้นคว้า

mp3 for download: รู้เท่าที่รู้ได้สบายๆ ไม่ค้นคว้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: รู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ต้องค้นคว้านะ ยิ่งค้นคว้ายิ่งเสียเวลา รู้เฉพาะหน้าไป

โยม: แต่หนูเหมือนรู้สึกว่า บางทีการที่ให้มันรู้เป็นกลางได้นี่มันค่อนข้างยาก เหมือนกับว่ามันต้องไม่เพ่งไป มันก็เหมือนกับว่าไปส่งเข้าข้างใน บางทีก็ไปคนข้างใน

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่ เพราะงั้นตอนมาหัดเบื้องต้น หลวงพ่อถึงได้จ้ำจี้จ้ำไชพวกเรา ไม่เผลอไป ไม่เพ่งไว้ ไม่ส่งนอกไม่ส่งใน รู้ไป รู้ไปเล่นๆ รู้ไปสบายๆ รู้แบบมันรู้เอง เราเรียนจนกระทั่งเราได้ตัวนี้ขึ้นมา เรามีจิตรู้ที่เป็นกลาง จิตรู้ที่เกิดขึ้นเอง รู้สบายๆไม่เผลอไม่เพ่ง เมื่อมีจิตตัวนี้แล้วเรียกว่าเรามีสัมมาสมาธิ จิตนี้มีสัมมาสมาธิ ต่อไปอะไรเกิดขึ้นในกายในใจสติรู้เอง ในขณะที่สติรู้สภาวะที่เกิดขึ้นนั้น จิตก็ยังตั้งมั่นเป็นกลาง นุ่มนวล อ่อนโยนอยู่ สบายๆอยู่อย่างนี้เอง เป็นคนดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย แล้วปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นว่าสภาวะทั้งหลายผ่านมาแล้วผ่านไปทั้งหมดเลย

เพราะฉะนั้นจิตจะเกิดปัญญาได้ จิตต้องมีสัมมาสมาธิ จิตใจที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้เป็นผู้ดูที่เป็นกลาง มีความสุขอยู่อย่างนี้แหละ

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๑
ลำดับที่ ๔
File: 500708A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๒ ถึงนาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

mp 3 (for download) : เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เืบื้องต้นน่ะมันต้องตามรู้กาย ตามรู้ใจ  “ตามรู้” นะ

เพื่ออะไร? เพื่อให้เกิดสติ ตามรู้เพื่อให้จิตจำสภาวะได้ แล้วเกิดสติ

ฉะนั้นในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำเหมือนกันหมดเลย กายนุปัสสนา-การตามเห็นกาย  จิตตานุปัสสนา-การตามเห็นจิต  เป็นคนละส่วนกับขั้นที่ทำให้เิกิดปัญญา คนละส่วนกัน    ในสติปัฏฐานมีสองส่วน  ส่วนที่ทำให้เกิดสติ ตามเห็นกาย ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ตามเห็นมากๆแล้ว จิตจำสภาวะของรูปนามได้แม่น  พอรูปนามเคลื่อนไหวขึ้นมา สติเกิดเอง  เมื่อสติเกิดเองแล้ว คราวนี้มันไม่มีแล้ว สายกาย สายจิต เพราะสติเป็นอนัตตา บางทีสติระลึกรู้กาย บางทีก็ระลึกรู้ใจ ไ่ม่มีสายแล้ว   ฉะนั้นตอนสุดท้ายก็จะเหลือแต่ว่า ขณะนี้มีสติ หรือว่า ขณะนี้ขาดสติ

ทีนี้ มีสติขึ้นมาก็ไม่ใช่เพื่อว่าจะมีสติต่อเนื่อง สติเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป แค่นั้นพอแล้ว  เรามีสติขึ้นมาเพื่ออะไร? เพื่อจะตัดตอนชีวิตของเราให้ขาดเป็นท่อนๆ แต่เดิมชีวิตของเรานี้เป็นอันเดียวรวดเลย คือหลงตลอดชาติเลย เราจะไม่รู้สึกตัวว่าหลง เราจะรู้สึกว่า เรามีอยู่จริงๆ  รู้สึกว่าจิตนี้เที่ยง จิตนี้คือตัวเรา เพราะว่าจิตมันหลง ไม่เคยขาดตอนลงไปให้เห็นเลย   เราฝึกจนสติเกิดนะ มันจะขาดตอนอัตโนมัติเลย  จิตที่หลงเกิดขึ้นแล้วดับไป จิตที่รู้สึกตัวเกิดแล้วดับไป  ฝึกอย่างนี้ ในที่สุดเห็นเลย จิตทั้งที่เผลอไป ที่ทั้งรู้สึกตัว ที่มีสติ ที่ไม่มีสติ ล้วนแต่เกิดแล้วดับ

เวลาเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมนี้ เข้าใจทั้งคู่เลย ไม่ใช่เอาอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง  ไม่ใช่เอาจิตที่มีีสติ เกลียดจิตที่ขาดสติ  เพียงแต่จิตที่มีสติเป็นแค่เครื่องอาศัยเท่านั้นเอง เพื่อจะได้เห็นไตรลักษณ์นั่นเอง  ท่านถึงบอกว่า ธรรมะเหมือนเรือ เป็นเครื่องอาศัย

ฉะนั้นเรามีสติขึ้นมา แว๊บ  เห็นเลย ชีวิตที่ขาดสติดับไปแล้ว มีสติอยู่ชั่วขณะ สติก็ดับอีก  ถัดไป จิตอาจจะมีสติหรืออาจจะขาดสติก็ได้ เราเลือกไม่ได้ โวฎฐัพพนจิตมันเลือก มีตัวหนึ่งเลือกแทนเรา เราเลือกไม่ได้  ฉะนั้นจิตจะมีสติ จิตจะขาดสติ ก็เลือกไม่ได้    ถ้าจิตมีสติขึ้นมาอีก มันก็จะระลึกได้ว่า เมื่อกี้มีสติอยู่ เมื่อกี้รู้สึกตัวแล้ว  ถ้าจิตดวงถัดมาไม่มีสติ มันก็เผลอไปอีก  แล้วเดี๋ยวมีจิตที่มีสติมาระลึกใหม่ อ้อเมื่อกี้เผลอไป  เมื่อกี้เผลอไป รู้สึกตัวแว๊บ เกิดโลภะแทรก กลัวเผลอ ไม่อยากเผลอ อยากจะรู้ตัว เพ่ง  เกิดการทำงานทางใจ ให้รู้ทันว่าทำงานทางใจแล้ว

ฉะนั้นรู้ลงปัจจุบันไปเรื่อยๆ เขาจะดัดแปลง เขาจะพลิกแพลงอย่างไร ตามรู้ไป  ตามรู้ไม่ใช่เพื่อเอาอันใดอันหนึ่ง หรือเพื่อปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ไม่ได้เอาจิตที่มีสติ ไม่ได้ปฏิเสธจิตที่ขาดสติ  เพราะจิตที่มีสติและจิตที่ขาดสติสอนธรรมะเราอย่างเท่าเทียมกัน  เพียงแต่ต้องมีสติขึ้นมาเพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ อยู่ในช่องเล็กๆของปัจจุบัน ช่องเล็กๆ มันจะเห็นแต่ว่ามีความเกิดดับเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ถึงจุดที่แ่จ่มแจ้งก็จะรู้เลย ทุกสิ่งเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ปัญญามันอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าฝึกจนไม่มีความขาดสตินะ สติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้หรอก เกิดได้ก็ดับได้


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๑
File: 491123A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติ ไม่มีสายกาย สายจิต

mp 3 (for download) : การปฏิบัติ ไม่มีสายกาย สายจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จริงๆแล้วธรรมะง่ายที่สุดเลย เราไปคิดมากเลยยากนาน เราคิดแต่ว่าจะต้องทำยังไง ต้องทำยังไง ทำยังไงแล้วจะดี เห็นมั้ย วัตถุประสงค์ที่ต้องการ คือ ต้องการดี สิ่งทีต้องการจะได้ ต้องการดี ทำยังไงมันจะดี ก็คิดแต่จะทำ เราลืมสภาวะของวิปัสสนาคือการรู้ไป

รู้เนี่ยไม่ใช่เอาดี รู้เอาความจริงนะ รู้เพื่อให้เห็นความจริง เพราะฉะนั้นอย่างสมถะทั้งหลายเนี่ย มุ่งเอาสุข เอาสงบ เอาดี ก็คิดแต่ว่าทำอย่างไรจะเอาสุข เอาสงบ เอาดี ส่วนวิปัสสนานะ รู้กาย รู้ใจ ตามที่เขาเป็น เพื่ออะไร เพื่อรู้ความจริง สิ่งที่ต้องการคือความจริงเท่านั้นเอง ธรรมะก็คือความจริงนั้นแหละ ตัวสัมมาทิฎฐินั้นแหละ

เนี่ยเราคอยรู้ลงไปนะ ไม่ใช่เรื่องยาก อย่าใจลอยก็แล้วกัน ถ้าใจลอยก็รู้กายรู้ใจไม่ได้ อย่าเอาแต่นั่งเพ่งไว้ กำหนดไว้ ประคองไว้ ถ้าเพ่งไว้ กำหนดไว้ ประคองไว้ ควบคุมไว้ กายกับใจก็จะนิ่งๆผิดความเป็นจริง เพราะฉะนั้นแค่รู้สึกตัว สติระลึกรู้กาย ก็รู้กาย สติระลึกรู้จิตก็รู้จิต มันไม่เลือกแล้วนะ ถ้าสติเกิดแล้วไม่มีสายไหนแล้ว มีแต่ว่าขณะนี้มีสติหรือว่าขณะนี้ขาดสติ ไม่มีสายกายสายจิตอะไรหรอก อันนั้นเป็นแค่จุดตั้งต้น เพื่อฝึกให้มีสติขึ้นมา

จุดตั้งต้นเพื่อฝึกให้มีสติขึ้นมาเป็นการตามรู้ทั้งหมดเลยนะ เพราะฉะนั้นในสติปัฏฐานท่านถึงใช้ว่า การตามเห็นกายเนืองๆ ตามเห็นนะ ไม่ใช่รู้ลงในปัจจุบันนะ การตามเห็นเวทนาเนืองๆ การตามเห็นจิตเนืองๆ ตามเห็นธรรมเนืองๆ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๑
File: 491123A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พอไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมจะพ้นจากความเสื่อม

mp3 for download: ไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมจะพ้นจากความเสื่อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กว่าจะเข้าใจว่าการปฏิบัติจริงๆนะคือการรู้ ไม่ใช่การทำ ใช้เวลา… ใช้เวลา…ค่อยๆเรียนไป จนภาวนาเป็นแล้วนะ บางครั้งก็ยังหลงไปทำอีก มันจะอดไม่ได้หรอกนะ..อดไม่ได้ จนมาบวชอยู่สวนโพธิ์พรรษาแรกเนี่ย ยังทำอยู่เลย มันอดไม่ได้ มันกลัวไม่ดี ทำไมมันกลัวไม่ดี มันรักตัวเอง เราไม่เห็นน่ะ เบื้องหลังมันคือมันรักตัวเอง เราก็รู้อยู่อย่างเดียวว่างานเราไม่เสร็จ…งานเราไม่เสร็จ ทำไปเรื่อยนะ หาทาง เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์…เมื่อไหร่จะพ้นทุกข์

วันนึงไปเห็นเข้า เราทำอะไรไม่ได้ มันเจริญแล้วก็เสื่อม มันเจริญแล้วก็เสื่อมอยู่ เอ้าช่างมันเถอะ มันได้แค่นี้ก็แค่นี้เนาะ ไม่ดิ้นเลย ไม่ดิ้นต่อละ ใจจะหมองๆรู้ว่าหมอง ไม่ดิ้นต่อว่าทำยังไงจะหายอีกละ พอเราไม่หวั่นไหวกับความเสื่อมนะ เราจะพ้นจากความเสื่อม จำไว้นะ

ถ้าเรายังหวั่นไหวกับความเจริญและความเสื่อม ความเจริญและความเสื่อมก็จะเวียนมาให้ดูเรื่อยๆ ถ้าเราหมดความหวั่นไหวต่อความเจริญและความเสื่อม เข้าถึงความเป็นกลางที่แท้จริงเนี่ย คำว่าเสื่อมจะไม่มีอีกละ ค่อยหัดไปนะ หัดไป

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๑
File: 500708A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

mp 3 (for download) : สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สติปัฏฐานมีสองส่วน ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ และทำให้เกิดปัญญา

ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ ให้ตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิตไป

ส่วนที่ทำให้เกิดปัญญานี้นะ รู้กายลงไปเป็นปัจจุบัน แล้วก็ตามรู้จิต จะต่างกันนะ

ฉนั้นในขั้นที่เราจะกระตุ้นให้สติเกิด ก็ตามรู้ทั้งกายทั้งจิตนั่นแหล่ะ อย่าไปดูลงปัจจุบันที่กาย เพราะถ้าดูลงปัจจุับันที่กาย จะไปเพ่งกายอัตโนมัติเลย

ในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา“  “ปัสนา” คือการเห็น ตามเห็นเนืองๆ ซึ่งกาย   ตามเห็นน่ะ เป็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ทีนี้ตามเห็นไปเรื่อยๆ แล้วมันเกิดสติ แล้วจิตมันจำสภาวะได้ กำลังเผลอๆ อยู่นี่ เกิดขยับตัววับนะ สติก็เกิดแล้ว หรือกำลังเผลอๆ อยู่ เกิดความรู้สึกทุกข์อะไรแว๊บขึ้นมานะ สติก็เกิด  หรือกำลังเผลออยู่ จิตเป็นกุศลอกุศลขึ้นมา สติก็เกิด  คนไหนเคยตามรู้กายเนืองๆ พอร่างกายเคลื่อนไหวปุ๊บ สติเกิด  คนไหนตามรู้จิตเนืองๆ พอจิตเคลื่อนไหว สติก็เกิด

พอสติเกิดแล้ว คราวนี้มารู้กายลงเป็นปัจจุบัน รู้สึกเลย ตัวที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นรูปธรรมอันนึงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีธาตุไหลเข้า ธาตุไหลออกตลอด แล้วธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นกายนี้ ก็เปลี่ยนแปลงตลอด

รู้ลงปัจจุับันนะ ถ้าดูจิตก็ตามดูัมันไปเรื่อยๆ  ดูกายมีสอง step  ถ้าดูจิตนะ ดูตั้งแต่ต้นจนจบ ดูอย่างเดียว ดูอย่างเดียวกัน แต่ตอนดูก็ให้สติเกิดเอง ก่อนดูให้สติเกิดเอง อย่าจงใจให้เกิด  จงใจให้เกิดแล้วกลายเป็นเพ่งจ้อง  ระหว่างรู้ก็อย่าถลำลงไปรู้ ให้สักว่ารู้ ให้สักว่าเห็น ดูแบบคนวงนอก ไม่มีส่วนได้เสีย ดูกายเหมือนเราดูกายคนอื่น  ดูจิตใจเหมือนเราดูจิตใจคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย

จิตมันโกรธขึ้นมานะ ก็ดูเหมือนเห็นคนอื่นโกรธ เห็นความโกรธไหลมาไหลไป ดูอย่างไม่มีส่วนได้เสีย ดูอยู่ห่างๆ มันจะเหมือนเราอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปคลุกกับมัน เหมือนเราอยู่บนยอดตึำกนะ มองลงมา เห็นรถวิ่งเต็มถนนนะ  รถจะชนกันข้างล่างนะ ก็ไม่ได้มากระเทือนถึงเราที่เป็นแค่คนดู   จิตใจเป็นกุศลอกุศล จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรเนี่ย ก็ไม่กระเทือนเข้ามาถึงคนดู

พอรู้แล้วก็อย่าไปแทรกแซงมัน ก่อนจะรู้อย่าจงใจรู้  ระหว่างรู้นะให้สักว่ารู้ อย่าถลำลงไปรู้  รู้แล้วอย่าแทรกแซง  เกือบทั้งหมดก็แทรกแซง เจอกุศลก็อยากให้เกิดบ่อยๆ เกิดแล้วก็อยากให้อยู่นานๆ  เจอสุขก็อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้อยู่นานๆ  เจออกุศล เจอทุกข์ก็อยากให้หายไปเร็วๆ หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น  ตรงที่เข้าไปแทรกแซงมีปัญหามาก ลำพังกายนี้ใจนี้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง  มันเรื่องของกายเรื่องของใจ เรื่องของธาตุเรื่องของขันธ์ ไม่เกี่ยวกับเรา  ถ้าเมื่อไรเราหลงยินดียินร้าย  อย่างความโกรธเกิด อยากให้หาย  พออยากให้หายนะ ใจมันจะดิ้น  ใจจะดิ้นรนขึ้นมาทำงาน   พอใจดิ้นรนทำงาน ความทุกข์เกิดซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก อันนี้เป็นความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109A.mp3
Time: 3.25 – 7.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเราจงใจให้สติเกิด เรียกว่ามีโลภเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

mp3 (for download) : ถ้าเราจงใจให้สติเกิด มีโลภะเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราหัดรู้สภาวะไปเรื่อย ๆ ถึงจุดหนี่งสติจะเกิดเอง ถ้าเราจงใจให้ เกิด เช่น เราตั้งใจ ต่อไปนี้เราจะไม่เผลอเลย เราก็มารู้ลมหายใจหายใจออก คอยรู้หายใจเข้าคอยรู้ เราจ้องไม่ให้เผลอไปที่อื่นเลย อันนี้มี โลภเจตนา ซ่อนอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติ มีความโลภนะ โลภอะไร โลภอยากจะดี อยากจะรู้สึกตัว อยากจะให้เกิดสติ อยากจะให้เกิดปัญญา มีความโลภอยู่

ตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่สติแท้ ๆ ไม่มีหรอก สติแท้ๆ ไม่เกิดร่วมกับโลภะหรอก ที่นี้เราต้องหัดจนกระทั้งจิตมันเคยชินที่จะเกิดสติ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ แล้ววันหนี่งสติเกิดเอง ตรงที่สติเกิดได้เองนี่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนท่านชอบใช้คำว่า มหาสติ พวกเราเคยได้ยินไหม มหาสติ มหาปัญญา บางทีครูบาอาจารย์ใช้ มหาสติ คือสติอัตโนมัติ มหาปัญญา ปัญญารู้แจ้งความจริงของกายของใจโดยอัตโนมัติ ก่อนจะมีปัญญาอัตโนมัติ ต้องฝึกให้มีสติอัตโนมัติก่อน ถ้าขาดสติไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น เราค่อยๆฝึกหัดดูสภาวะไปเรื่อย แล้ววันหนี่งจิตมันจะเห็นสภาวะได้เอง พอจิตมันเห็นสภาวะปุ๊บ โดยที่ไม่เจตนานะ จิตมันจ ะรู้เนื้อรู้ตัว มันจะตื่นขึ้นมาเต็มที่เลย มันจะเห็นความจริงเลยว่า สภาวะทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

11.07 – 12.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การสำรวม คืออะไร?

mp 3 (for download) : การสำรวม คืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะฉะนั้นมีธุระ จะยิ้มก็ยิ้มไป จะหัวเราะก็หัวเราะไป เพื่อเอื้อเฟื้อคนที่เราคุยด้วย ถ้าเราทำหน้าอย่างนี้… สอนธรรมะ นานๆพูดคำหนึ่ง นะ เดี๋ยวคนก็ไปหมดเลย

โยม: บางที มันดูเหมือนไม่สำรวม เหมือนๆ เราล่อกแล่กเกินไป

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่ต้องสำรวม สำรวมไม่ใช่แปลว่า ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ สำรวมหมายถึงมีสติ นะ ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์แล้ว เกิดปฏิกริยายินดียินร้ายขึ้นที่จิต มีสติรู้ทัน นี้เรียกว่าสำรวม

สำรวมไม่ใช่แกล้งขรึม การแกล้งขรึมทำไปด้วยทิฎฐิ แกล้งขรึมนี่ทำไปด้วยทิฎฐินะ มีความเห็นว่าต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ รู้สึกมั้ยบางทีครูบาอาจารยท่านหัวเราะนะ บางทีหัวเราะหลอกเรานะ หลวงพ่อเคยเจอทีหนึ่ง เจอท่านอาจารย์บุญจันทร์

ท่านอาจารย์บุญจันทร์นะ โอโห จิตนี้เปรียว สุดๆองค์หนึ่งเลย ไม่รู้จักท่านหรอก จะไปหาอาจารย์ทองอินทร์ที่วัดสันติธรรม พอไปถึงนะ ค่ำละ สักสองทุ่ม มีพระมาดักอยู่หน้าวัด พระหนุ่มๆ บอกวันนี้ อาจารย์บุญจันทร์มาให้ไปหาอาจารย์บุญจันทร์หน่อย เราบอกไม่ไปไม่รู้จัก จะมาหาอาจารย์ทองอินทร์ เสร็จแล้วไปคุยกับอาจารย์ทองอินทร์นะ จนดึกเลย ออกมาหนาวจัด พระยังเฝ้าอยู่อีก ยังเฝ้าอยู่บอก ไปหน่อยน่า.. อ้อนวอนเรานะ เราไม่อยากไปเลย เราไม่รู้จัก เสียอ้อนวอนไม่ได้นะ ก็ไปกับท่าน ขึ้นไป โดนอาจารย์บุญจันทร์ตะคอกเอา

“ภาวนายังไง” แก้กรรมฐานให้เรา ไม่รู้จักเลยนะ อยู่ๆเรียกตัวไป เสร็จแล้วนะพอเราเข้าใจ จิตวางหลุดภพออกมา ท่านหัวเราะนะ ท่านหัวเราะเราก็หัวเราะมั่งสิ พอท่านไม่หัวเราะ ท่านสำรวม เราก็ทำสำรวมบ้าง ท่านหัวเราะเราก็ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ตามท่านไปเลยนะ ท่านหัวเราะดังเลยนะ หัวเราะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า เลย พอเราหัวเราะปั๊บ หันมามองหน้าเลย เราก็หยุดปุ๊บ ใจเราก็เรียบไม่มีอะไรเลย ไม่ได้กระเพื่อมเลย ท่านบอกอย่างนี้ใช้ได้ ไปได้แล้ว แกล้งหัวเราะนะ หัวเราะเพื่ออนุเคราะห์ แล้วไงอีก จะถามแต่เรื่องนี้รึ

โยม: ให้หลวงพ่อแนะนำ หลวงพ่อแนะนำเรื่องอื่น

หลวงพ่อปราโมทย์: ลอกเปลือกตัวเองออกมา ให้ตัวจริงมันโผล่ขึ้นมา ถือศีล ๕ ไว้

โยม: ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ช่วงหลังๆ พอสึกมาหลายวันเนี่ย เริ่มมีตัวปลอม เป็นผู้นำหมู่ ผู้นำคณะ ต้องสำรวมเรียบร้อย เป็นลิงไปเลย นะ มันเป็นอย่างไรรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น ไม่แกล้งนะ ไม่แกล้ง มันคือวาสนา วาสนาเนี่ยแก้ไม่ได้ ไม่ต้องแก้ พระอรหันต์แต่ละองค์ ก็มีวาสนาของตัวเอง ไม่ต้องแก้

เพราะฉะนั้นไม่ต้องแกล้งทำซึม การแกล้งทำซึม แกล้งทำสำรวม ไม่ได้ช่วยให้บรรลุมรรคผลอะไร แต่การสำรวมอินทรีย์เนี่ย จำเป็นมากเลย ต่อการบรรลุมรรคผล สำรวมอินทรีย์ไม่ใช่การแกล้งสำรวม ไม่ใช่ให้ไม่มอง ไม่ใช่ไม่ฟัง ไม่ใช่ไม่ดมกลิ่น ไม่ใช่ไม่รู้รส สำรวมอินทรีย์ก็คือ เมื่อกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเนี่ย ยินดียินร้ายขึ้นมาให้รู้ทัน ไม่ใช่แกล้งไม่กระทบ

เคยมีพระองค์หนึ่งชื่อหลวงปู่คำพันธ์ มีใครเคยรู้จักมั้ย อยู่วัดธาตุมหาชัย ที่ปลาปาก ลูกศิษย์หลวงปู่เสาร์ ลูกศิษย์ของท่านนะ ไปภาวนากัน พรรษาหนึ่งก็กลับมา บอกว่า พรรษานี้สำรวมในรส เวลาบิณฑบาตได้อาหารมานะ เอาน้ำร้อนเทใส่ ล้างนะ ให้รสชาติจืดชืดหมดเลย แล้วก็ฉันอาหารที่จืดชืดนี้ นี่ปฏิบัติอย่างนี้ ภูมิใจ ได้สำรวม ท่านบอก ทำไมยุ่งยากอย่างนั้น เปลืองน้ำร้อน เอาน้ำร้อนราดลิ้นก็พอแล้ว เอาน้ำร้อนราดลิ้นเข้าไปเลย นี่สำรวมแบบไม่ฉลาด

สำรวมไม่ใช่ว่าไม่รู้รส สำรวมไม่ใช่ไม่รู้สัมผัสทางกาย ถ้าไม่รู้สัมผัสทางกายแล้วบรรลุง่าย พวกเป็นโรคเรื้อนจะบรรลุก่อน สำรวมทางตาด้วยการไม่เห็นแล้วบรรลุง่าย คนตาบอดก็จะบรรลุก่อน สำรวมทางหูพวกหูหนวกก็จะบรรลุก่อน ไม่ใช่

สำรวมหรือไม่สำรวมอยู่ที่ มีสติรู้ทันจิตของตนเองมั้ยเมื่อมีการกระทบอารมณ์ นะ เพราะฉะนั้นไม่แกล้งนะ ปล่อยตัวเองออกมา ปลดปล่อยตัวเองที่แท้จริงออกมาแต่มีศีล ๕ เพราะว่าตัวตนที่แท้จริงของแต่ละคน น่าเกลียดสุดๆเลย ต้องมีศีล ๕ ถ้าไม่มีศีล ๕ นะ มันจะอุบาทว์ นะ มันจะไปรังแกคนอื่น นะ แต่ละคนน่ะร้ายจริงๆ ไม่ได้แกล้งว่า หลวงพ่อก็ร้าย หลวงพ่อแต่ก่อนนะ ขี้โมโห โทสะมาก

โยม: หลวงพ่อครับ บางที พอปลดปล่อยมากแล้ว บางทีเห็นตัวเองน่าเกลียดมากเกินไป

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ นั่นแหละ

โยม: รู้สึก รู้สึกขัดใจมากรับไม่ค่อยได้ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ อยากให้คนนับถือมั้ย ต้องแบบ ไม่นับถือก็อย่านับถือสิ นี่ เราอยากดูว่าจริงๆเป็นอย่างไร ถ้าเราออกแรงกดสักนิดหนึ่ง พอตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์นะ ตัวจริงมันจะไม่โผล่ กิเลสจะไม่แสดงขึ้นมาให้ดู เพราะฉะนั้นตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์แล้วตัวจริงมันแสดงขึ้นมาแล้วเราจะได้รู้ทัน นี่ราคะเกิดขึ้น โทสะเกิดขึ้น ทันทีที่อนุสัยทำงานขึ้นมาเนี่ย พอเราเห็นทัน กิเลสจะขาด

โยม: เพราะฉะนั้นเราก็ต้อง ต้องใจถึงๆยอมเป็นคนเลวให้ตัวเองดู ให้เห็นชัดๆ อย่างนี้ใช่มั้ยครับ

หลวงพ่อ: ใช่ๆ ไม่ใช่ยอมเป็นคนเลว ยอมดูความจริงของตัวเอง นะ ไม่ใช่ยอมเป็นคนเลวนะ

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๒

File: 501006A.mp3

นาทีที่  ๒๙ ถึงนาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตล้วนๆไม่ไหว ทำอย่างไร?

mp3 (for download) : ดูจิตล้วนๆไม่ไหว ทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เอ้า ต่อไปตรวจการบ้าน พวกอยู่วัดทำไมเยอะมาก วันนี้ เอ้าเชิญ คนไหนก่อน พวกอยู่วัดนะ คนไหนไม่อยากส่งการบ้านไม่ส่งก็ได้นะ ไม่ว่า

โยม: นมัสการหลวงพ่อค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มาส่งการบ้านกับหลวงพ่อนะคะ แต่ได้ฟังซีดีของหลวงพ่อแล้วก็พยายามที่จะหัดดูจิตของตัวเองนะคะ สังเกตตัวเองว่า เวลาที่ตัวเองเดินจงกรมเนี่ยเราจะมีสติมากกว่า ในขณะที่เรา เวลานั่งปฎิบัติ เหมือนเราจะพยายามกด แล้วก็ข่มบังคับตัวเองน่ะค่ะ มันทำให้รู้สึกหนักๆแน่นๆที่กลางหน้าอก แล้วมันก็ไม่เดินปัญญา ก็อยากจะขอให้หลวงพ่อช่วยแนะนำด้วยน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: แนะนำนะ เดินให้เยอะๆเข้าไว้ ยังมีแรงเดินก็เดินเข้าไป เราภาวนาแบบไหนดีเราก็ทำอย่างนั้น แต่ถ้าเราเดินจนเมื่อยแล้วจะทำอย่างไร เราก็นั่งขยับ ไม่นั่งนิ่งๆนะ นั่งขยับไป ขยับอย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ เราไม่ถนัดกระบวนท่าของหลวงพ่อเทียน เราบัญญัติกระบวนท่าเองก็ได้ แต่อย่าให้น่าเกลียดมากนะ บางคนบัญญัติกระบวนท่าเขกหัวตัวเองป๊อกๆๆ ใครเขามาเห็น เขาก็ดูถูก(หมิ่น)ศาสนาพุทธไปเลย พอบรรลุพระอรหันต์ก็ปัญญาอ่อนพอดี ขับไม้ขยับมือไป ขยับนิ้ว อะไรอย่างนี้ เคลื่อนไหวไป เอากายมาช่วยให้รู้สึกไว้

เพราะฉะนั้น ถ้าเราภาวนานะ เราดูจิตล้วนๆไม่ไหว เราเอากายมาช่วย ดูกายที่เคลื่อนไหว อย่างดูกายนิ่งๆ…

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510451A
Time: นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ห่วงบ้านเมืองแล้วควรทำอย่างไร?

mp3 (for download) : ห่วงบ้านเมืองแล้วควรทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

**หมายเหตุ** คลิปเสียงหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม ณ หอประชุมพุทธคยา สำนึกพิมพ์ DMG เมื่อวันที่ ๓ พฤษจิกายน ๒๕๕๑

โยม: กราบนมัสการพระคุณเจ้าเจ้าคะ ขอถามคำถามที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องวันนี้เพราะไม่มีประสบการณ์เรื่องการนั่งกรรมฐานและสมาธิมาก่อน แต่เห็นจากการบรรยายของหลวงพ่อกับจิตที่เป็นกุศล อยากให้หลวงพ่อแนะนำว่าในสถานะการณ์บ้านเมืองอย่างนี้เหล่าพุทธศาสนิกชนควรทำจิตใจอย่างไร ควรจะทำยังไง เพื่อที่จะใช้ธรรมะให้เห็นว่าในสถานการณ์อย่างนี้ พุทธศาสนิกชนซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ได้ใช้สิ่งที่เป็นหลักธรรมมาค้ำจุนแผ่นดินคะ ขอบพระคุณคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขั้นแรกนะต้องให้สติรักษาจิตไว้ก่อน ถ้าจิตเรายังไม่มีปัญญารักษา รักษาแผ่นดินไม่ไหวหรอก (โยมหัวเราะ)

เราต้องฝึกของเราให้ดีนะ ทุกวันนี้เราแยกค่ายกัน เราแบ่งแยกกันทุกคนเลย ในบ้านเดียวกันยังมีสองค่ายเลยรู้สึกไหม เคยมียุคใดสมัยใดมันอุบาทว์เท่านี้ไหม ทำไมเราลืมไปนะว่าจริง ๆ เราเป็นอะไร อย่างถ้าคุณบอกว่าเราเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธไม่ได้แบ่งแยกนะ เรื่องที่ทะเลาะกันก็ไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธด้วย

อย่างวัดหลวงพ่อนะ หลวงพ่อเลยบอกหลวงพ่อไม่มีไซด์นะ ไม่เท็กไซด์ทางการเมือง ลูกศิษย์หลวงพ่อมีทั้งสองค่ายเลย พวกนึงพอตอนเช้ามาฟังธรรมเสร็จนะ เดี๋ยวตอนบ่ายจะไปร่วมชุมนุม (โยมหัวเราะ) มีนะ บางคนขยันมา บอกว่าเกิดปุปปัปตายตอนนั้นจะได้ไปแบบสุขคติ (โยมหัวเราะ) นี่เรียกว่าผู้ประท้วงแบบรอบคอบ (โยมหัวเราะ) ฝ่ายรัฐบาลก็มี หลวงพ่อถึงบอกว่าวัดหลวงพ่อเว้นไว้ที่นึงได้ไหม ให้มันไม่มีค่าย ให้ทุกคนมาเรียนในฐานะที่ทุกคนเป็นลูกของพระพุทธเจ้า

เหมือนอย่างที่พระเจ้าอยู่หัวท่านก็พยายามบอกใช่ไหม ทุกคนมันก็คนไทย เราต่างหากเราไม่เชื่อ เราไม่เชื่อเรานะเราก็ช่วยกันทำลาย โกรธแค้น โกรธไม้ ของคุณไม่ค่อยโกรธหรอก เพราะคุณเพ่งไว้เยอะ (โยมหัวเราะ)

โยม: แปลว่าอะไรเจ้าคะเพ่งไว้เยอะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเรากดใจเราให้นิ่งนะ เราไม่โกรธ หลวงพ่อทำหน้าให้ดูนะ เอ้าใครอยากด่า เชิญ (โยมหัวเราะ) ถ้าออกมาตรงนี้อย่าด่านะ เดี๋ยวชกให้ (โยมหัวเราะ) คือถ้าเราไปภาวนานะ อย่าไปกด ให้รู้ตามความเป็นจริง

ห่วงบ้านเมืองก็ดีแล้วนะ เพราะว่าไม่มีบ้านเมืองเราก็อยู่ไม่ได้ แต่ว่าก่อนจะห่วงบ้านเมืองห่วงตัวเองเสียบ้าง ดูตัวเองนะ ดูใจของเรา ใจของเราไม่ถูกอกุศลครอบงำมันจะเต็มไปด้วยเหตุผล ทุกวันนี้เราขาดสติ พอขาดสติก็มีแต่โทสะเข้าใส่ซึ่งกันและกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้น บ้านเมืองเต็มไปด้วยโทสะ โทสะมันนำไปสู่อะไร ไปอบายนะ เรากำลังจะช่วยกันสร้างบ้านเมืองให้เป็นอบายภูมิหรืออย่างไร ทำไมเราไม่ตั้งสติให้ดีละ รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาก่อนนะ อย่าเกลียดกัน ทันทีที่เราเกลียดคนอื่นความทุกข์จะเกิดขึ้นทันทีเลย

โยม: อยากให้ไปถึงคนที่ใช่เจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันถึงคนทุกคนไม่ได้ ศาสนาพุทธไม่ได้เหมาะกับคนทั่ว ๆ ไปหรอก

โยม: หญิงหมายถึงผู้นำนะคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ผู้นำเขาไม่มีเวลาฟังหรอก หูเค้าอื้อ (โยมหัวเราะ) เพราะว่าคนโน้นประท้วง คนนี้ประท้วง ไม่ได้ฟังหลวงพ่อหรอก อย่าห่วงคนอื่นนักเลยนะ ห่วงตัวเองก่อน (โยมหัวเราะ)

โยม: ทราบแล้วคะว่าถ้าถามคำถามนี้หลวงพ่อจะต้องตอบประโยคนี้ ซึ่งอันนี้จริง แต่ว่าขณะเดียวกันก็อยากให้พลังบุญที่เป็นธรรมะของพระพุทธองค์ช่วยแผ่นดินได้บ้าง ไม่ใช่เฉพาะใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเรามีความเมตตาบ้างไหม เรามีความเมตตาจริง ๆ ไหม หรือเราเมตตาเฉพาะคนที่เห็นด้วยกับเรา ความเมตตาของเราคับแคบหรือความเมตตาของเราไม่มีประมาณ ถ้าเราเมตตาเฉพาะพวกเรา อย่างนั้นใครเค้าก็เมตตาใช่ไหม เมตตาอย่างนั้นจริง ๆ ก็ไม่เรียกว่าเมตตานะ แต่เรียกว่าราคะ มันรักพวกรักพ้องทั้งสิ้นเลย มีราคะได้ โทสะมันก็ได้ มีพวกเรา มีพวกเขา

ชาวพุทธที่แท้นะ จะไม่มองคนอื่นก่อนหรอก มีปัญหาเนี่ยจะมองเข้ามาที่ใจของเราก่อน จัดการกับกิเลสของเราก่อน พอใจของเราปลอดโปร่งจริง ๆ นะ ไม่ได้ถูกอคติทั้งหลายครอบงำ ไปแก้ปัญหาด้วยเหตุด้วยผล พอโทสะมันเกิด เราลืมเห็นลืมผลไปหมด คราวนี้ก็มีแต่ความรุนแรง ไม่เคยมีใครชนะด้วยความรุนแรงนะ

พอแล้วมั้ง ถามอะไร การบ้านการเมืองหลวงพ่อไม่รู้เรื่องหรอก (โยมหัวเราะ) ก็เคยอ่านหนังสือพิมพ์ที่ไหนละ วิทยุก็ไม่มี โทรทัศน์ก็ไม่มี ไม่รู้เรื่องหรอก


CD: หอประชุมพุทธคยา สนพ.DMG

File 511103

นาที่ 74.44 – 79.27

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ล้มกระดานวันละครั้ง

mp 3 (for download): ล้มกระดาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ช่วงที่ผ่านมาเคยเพ่ง แล้วก็ล้มกระดาน ปฏิบัติใหม่ ทีนี้มันล้มกระดานบ่อยมากครับ ประมาณอาทิตย์ละครั้งราวๆนี้

หลวงพ่อปราโมทย์: เหรอ เอาให้ได้วันละครั้ง

โยม: (หัวเราะ) ก็เลยจะขอคำแนะนำจากหลวงพ่อ…

หลวงพ่อปราโมทย์ : แนะแล้วนะ เอาวันละครั้ง ตื่นขึ้นมาก็เริ่มต้นใหม่ เรามีชีวิตใหม่ทุกวัน ชีวิตเมื่อวานที่ฝึกมาแล้ว ปฏิบัติมาแล้ว ลืมมันไปซะ เรามีชีวิตอยู่กับปัจจุบันไปเรื่อย เริ่มต้นใหม่ไปเรื่อยๆ ล้มกระดานตลอดเลย

โยม: รู้สึกมันผิดทุกวันครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถูกต้อง นั่นแหละถูกละ ถ้าถูกเมื่อไหร่อริยมรรคก็เกิด เพราะงั้นจิตมันเดินผิดตลอด สังเกตมั้ย ไม่ปรุงอย่างนี้มันก็ปรุงอย่างโน้น สิ่งที่เราเรียกว่าการปฏิบัติ จริงๆแล้วคือการปรุงแต่งทั้งหมดเลย งั้นให้เราตามรู้ รู้ทันความปรุงแต่งไปเรื่อย วันหนึ่งมันก็หมดความปรุงแต่งไปเอง พอมันรู้ทันแล้วว่าไอ้นี่ก็ปรุงๆๆ ปรุงอย่างนี้นึกว่าถูกนะ ดูไปสักพักอ้าวผิดอีกแล้ว ไปปรุงอย่างอื่น คิดว่าอย่างนี้จะถูก ถูกอีกก็ผิดอีก

CD สวนสันติธรรม ๒๓

๕๑๐๑๒๗

6min42-7min44

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตแล้วอึดอัดกลางอก

MP3 (for download): ดูจิตแล้วอึดอัดกลางอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: นมัสการค่ะหลวงพ่อ จะถามว่า ที่หลวงพ่อเคยบอกว่าไปกดไว้ แล้วมันยังอึดอัดอยู่กลางอก มันเป็นตลอดเลยค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ยังเป็นอยู่ไหม รู้ด้วยความเป็นกลาง

โยม: มันเป็นเบาๆ ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: มันน้อยลงแล้วนี่ รู้สึกไหม

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: มันน้อยลงก็ดีแล้วล่ะ มันมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆ ไปกดไว้เพราะเราอยากดี เราอยากสุข เราอยากสงบ เราอยากพ้นทุกข์ เราอยากปฏิบัติ

เห็นไหม มีคำว่าอยากนำหน้า เพราะฉะนั้นถ้าใจเรามีความอยากใดๆ เกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ไปลงมือทำอะไรบางอย่างขึ้นมา

สิ่งที่ทำก็มีแต่เรื่องบังคับกายบังคับใจ พอบังคับแล้วมันก็อึดอัดแน่นๆ ขึ้นมา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อัตตกิลมถานุโยค:-หลุมพรางนักภาวนา

MP3 (for download): อัตตกิลมถานุโยค:-หลุมพรางนักภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: สติไม่ได้แปลว่ากำหนดนะ อย่าไปแปลสติว่ากำหนด ถ้าแปลสติว่ากำหนดล่ะก็ผิดทันทีเลย  กำหนดแปลว่ากด แปลว่าข่มไว้ จงใจไปกำหนดนะ อะไรทำให้จงใจกำหนด ก็โลภะ เบื้องหลังเลยก็คืออวิชา ความเห็นผิดน่ะ ว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ กายนี้ใจนี้คือตัวเรา ไปยึดถือมันเป็นของดีของวิเศษ ก็เลยอยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ อยากให้ตัวเราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมีความไม่รู้ คิดว่ามีตัวเราขึ้นมา ก็มีความอยาก เนี่ยอวิชา มันทำให้มีตัณหา มีความอยากขึ้นมา พออยากแล้วใจก็ปรุงแต่ง

คนโง่ คนชั่ว ก็ปรุงชั่ว คนดีก็ปรุงดี เช่น อยากปฏิบัตินะ ก็ลงมือกำหนด ในอภิธรรมสอนไว้หมด เวลาความปรุงแต่งฝ่ายดีเกิดขึ้น นะ สิ่งที่ทำนะมักจะเป็น อัตตกิลมถานุโยค ไม่บังคับกายก็บังคับใจ สังเกตมั้ย เวลา เมื่อก่อนนะ ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ เมื่อก่อนเวลาพวกเราหัดภาวนา สิ่งที่เราทำนะ ไม่บังคับกายก็บังคับใจ นึกออกมั้ย หรือลืมไปแล้ว ลืมความหลังอันอัปยศ ที่ทำไม่บังคับกายก็บังคับใจ มีอยู่เท่านั้นเอง คืออัตตกิลมถานุโยค คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าไปทำ

ยกตัวอย่างนะ พอจะมีสติไปรู้ลมหายใจ คุยบอกว่าจะมีอานาปานสติ ทำอานาปานสติ มีสติไปรู้ลมหายใจ ก็ไปกำหนดลมหายใจ ไม่ให้จิตนี้เคลื่อนไปจากลมเลย กำหนดไว้กับลม เป็นสมถะ สติอย่างนี้สติกำหนดนะ สูงสุดทำได้แค่สมถะ

หรือเดินจงกรม กำหนดไว้ที่เท้า จิตแนบอยู่กับเท้าเลย จิตไม่หนีไปไหนเลย ไม่เผลอเลย เท้าขยับอย่างไรรู้หมดเลย ม้นคือการเพ่งเท้า เพ่งอารมณ์นั่นเอง เรียกอารัมณูปนิชฌาน คือการทำสมถะ ก็เพ่งไปเรื่อย ตัวเบา ตัวลอย ตัวโคลง ขนลุกขนพอง รู้สึกเหมือนแมลงมาไต่ รู้สึกวูบๆวาบๆ ก็ไปคิดว่าเกิดวิปัสสนาญาณ ไม่เกิดหรอก เป็นสมถะทั้งหมดเลย เป็นอาการของปีตินานาชนิด

เพราะฉะนั้นนะ สตินะถ้าเราจงใจไปกำหนด มันมีโลภะอยู่เบื้องหลัง มันอยากปฏิบัตินะ ทำไมอยากปฏิบัติเพราะมันอยากดี อยากมีความสุข อยากได้มรรคผลนิพพาน ทำไมอยากดี อยากมีความสุข อยากได้มรรคผลนิพพาน เพื่อ “ตัวกู” จะได้มีความสุข นะ

สุดท้าย ก็มีตัวเราซ่อนอยู่ข้างหลัง มีอวิชาซ่อนอยู่ข้างหลัง ก็มีความอยากขึ้นมาก็ดิ้น ปรุงแต่งไปเรื่อย ปรุงดี ปรุงดีก็ไปสู่สุคติ ได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม แต่ไปนิพพานไม่ได้

เพราะฉะนั้นสติอย่าไปกำหนดเอา สติแปลว่าความระลึกได้ ถ้าสติแปลว่ากำหนดล่ะก็ผิดละ เป็นสมถะหมดเลย สติแท้ๆคือความระลึก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 41234