Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

สู้กิเลสอย่างละเอียดด้วยวิปัสสนา

mp3 (for download): วิธีรับมือกิเลสอย่างละเอียด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สู้กิเลสอย่างละเอียดด้วยวิปัสสนา

สู้กิเลสอย่างละเอียดด้วยวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ทำอย่างไรเราจะเกิดปัญญาเห็นความจริงของขันธ์ เนี่ยเป็นเรื่องแตกหักแล้วนะ เรื่องสำคัญมากเลยในทางพระพุทธศาสนา การทำทาน รักษาศีล ทำสมาธินี้ มีมาก่อนพระพุทธเจ้า การสู้กิเลสอย่างหยาบ สู้กิเลสอย่างกลาง มีมาก่อนพระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้าท่านมาต่อยอดให้นักปราชญ์ทั้งหลายนั่นเอง

พวกนักปราชญ์ทั้งหลายเขาก็สอนให้คนถือศีล นักปราชญ์ทั้งหลายสอนให้คนทำสมาธิ จิตสงบ แต่ว่าพระพุทธเจ้ามาต่อยอด สงบอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเกิดปัญญาด้วย ปัญญาคืออะไร ปัญญาคือการเห็นความเป็นจริงของรูปของนาม ของกายของใจ ถ้าเราไม่เห็นความเป็นจริงของรูปนามกายใจ เรียกว่าไม่มีปัญญา เห็นความจริงนะ ไม่ใช่คิดเอา

เพราะฉะนั้นทำอย่างไรเราจะเห็นความจริงได้ เราต้องดูว่า จริงๆแล้วกายเป็นอย่างไร จริงๆจิตใจเป็นอย่างไร การดูความจริงของกายของใจนะ เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐานไม่ใช่เรื่องกำหนดอย่างโน้นอย่างนี้นะ หลักของวิปัสสนากรรมฐานแท้ๆเลยคือ มีสติรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจนี่ รู้อย่างที่มันเป็น มันเป็นอะไร กายนี้เป็นอะไร กายนี้เป็นของไม่เที่ยง กายนี้เป็นของเป็นทุกข์ กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นอนัตตา นี่คือความจริงของกาย ความจริงของใจก็คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน ความจริงของขันธ์ ๕ ก็คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน

ถ้าเราเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของขันธ์ ๕ ของกายของใจ ของรูปของนามได้ นั่นแหละคือการทำวิปัสสนากรรมฐาน พวกเราบางคนเรียนไม่พอนะ เราไปคิดว่า แค่รู้กายรู้ใจคือวิปัสสนากรรมฐาน รู้รูปรู้นาม เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ไม่เป็นหรอก ต้องเห็นความจริงของกายของใจ ต้องเห็นความจริงของรูปของนาม นะ ถึงจะเป็นวิปัสสนากรรมฐานนะ

เพราะฉะนั้นยกตัวอย่างเรานั่งอยู่ เห็นร่างกายนั่งอยู่เนี่ย เป็นวิปัสสนามั้ย ไม่เป็น ไม่เป็น ถ้าเห็นว่าร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา อย่างนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนานะ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาต้องเห็นไตรลักษณ์ ของกายของใจ

ตรงนี้ต้องแม่นนะ พวกเรา ถ้าเราไม่รู้หลักของวิปัสสนากรรมฐาน เราก็จะพูดแต่ว่าเราจะทำวิปัสสนา เอาเข้าจริงหาคนทำวิปัสสนาได้น้อยเต็มทีเลยนะ กระทั่งบอกว่าทำวิปัสสนาอยู่นั้น เอาเข้าจริงกลับทำสมถะ รู้เพ่งกายอยู่เรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก เพ่งนิ่งๆอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่วิปัสสนา เห็นท้องพอง เห็นท้องยุบอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่วิปัสสนา นะ เห็นร่างกายยกเท้าย่างเท้า ไม่ใช่วิปัสสนา

วิปัสสนาต้องเห็นร่างกายนั้นน่ะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ทั้งหลายนะ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนา ต้องเห็นไตรลักษณ์

ต้องแม่นนะ ถ้าหลักไม่แม่นแล้วทำผิดน่ะ ทำผิดแล้วจะมาบอกว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ดีจริง ทำมาตั้งหลายปี ๒๐-๓๐ปี ไม่เห็นนิพพานเสียที ก็ยังไม่เคยทำเส้นทางที่จะเข้าสู่พระนิพพานเลย คือไม่ได้เจริญปัญญาที่แท้จริงนะ

การเจริญปัญญา ปัญญาคือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ของกายของใจ ตรงนี้ต้องแม่นนะ หลวงพ่อย้ำทุกวันเลย เรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องแตกหักเลย ว่าเราจะเป็นชาวพุทธแท้หรือไม่แท้ ลำพังทำทาน รักษาศีล ทำสมาธินั้น ไม่ใช่ชาวพุทธเขาก็ทำกัน

ศาสนาอื่นก็มีนะ บางศาสนาเนี่ย หลวงพ่อยังรู้สึกยกย่องเลย ยกตัวอย่างมุสลิมเขาละหมาดวันละ ๕ ครั้งนะ เขาคิดถึงพระเจ้าวันละ ๕ ครั้ง นั่นก็คือการทำสมาธิวันละ ๕ ครั้ง ชาวพุทธเราให้ไหว้พระวันละครั้งยังทำแทบไมได้เลย น่าเกลียดที่สุดนะ ว่าน่าเกลียดแต่หัวเราะ มันเอ็นดูนะ ไม่ได้โกรธเกลียดหรอก รู้สึกน่าเอ็นดูดี ทุกข์ไปก่อน

เพราะฉะนั้นเราจะทำวิปัสสนา ต้องรู้ ต้องเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ของกายของใจ ของธาตุของขันธ์นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่บริษัท ดอกบัวคู่
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดอกบัวคู่
File: 540409A
ระหว่างนาทีที่  ๒๕ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

mp 3 (for download) : ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

ที่สุดของศีล ที่สุดของสมาธิ ที่สุดของปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัว ท่านไปเยี่ยมหลวงปู่เทสก์ ท่านถามหลวงปู่เทสก์ บอกว่า หลวงปู่ ที่สุดของศีลคืออะไร ที่สุดของสมาธิคืออะไร ที่สุดของปัญญาคืออะไร

หลวงปู่เทสก์ตอบในหลวงนะ ที่สุดของศีลคือเจตนาวิรัติ เจตนางดเว้นทำชั่ว ที่สุดของสมาธิคืออัปนาสมาธิ ที่สุดของปัญญาคือไตรลักษณ์

ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ เรียกได้ว่าไม่มีปัญญาจริงหรอก เป็นปัญญาตื้นๆซึ่งไม่พอที่จะต่อสู้กับกิเลส เพราะฉะนั้นที่เราภาวนาเนี่ย ก็เพื่อให้เกิดปัญญา ปัญญาก็คือการเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่าเป็นไตรลักษณ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ทนอยู่ไม่ได้ เราบังคับไม่ได้ เป็นไตรลักษณ์

พอเห็นตามความเป็นจริงแล้วอะไรจะเกิดขึ้น เมื่อเห็นตามความเป็นจริงจะเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก

เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจทิศทางของการปฏิบัติให้ดี เราไม่ได้ภาวนาเอานิ่งเอาสงบ การนิ่งการสงบเป็นการพักผ่อน เราต้องภาวนาให้เกิดปัญญา เห็นความจริงของกายของใจ อยากเห็นความจริงของกายของใจไม่ใช่คิดเอาเอง ต้องดูความจริง ดูของจริง ว่ากายจริงๆเป็นอย่างไร จิตใจจริงๆเป็นอย่างไร ไปนั่งคิดเอาเองไม่ได้ผลหรอก

การนั่งคิดเอาเองว่าร่างกายเป็นของสกปรกเปื่อยเน่าอะไรอย่างนี้ เสร็จแล้วมันก็ข่มราคะได้ชั่วคราว เดี๋ยวราคะก็เกิดอีก นี้มันเน่านะแต่ตอนนี้มันยังไม่เน่า มันยังสวยอยู่ นี่จะไปอย่างนี้ จะรู้สึกอย่างนี้

แต่ถ้าเราเห็นราคะเกิดขึ้นมาแล้ว แล้วราคะเบียดเบียนจิตใจ สติรู้ทันราคะดับไปเลย ไม่ต้องไปกังวลว่าจะมีราคะเพราะไปเห็นสาวสวยหรอก การเห็นสาวสวยก็เรามีบุญเราก็ได้เห็นของสวย ช่วยไม่ได้ ใช่มั้ย การที่เราได้เห็นของสวยหรือของไม่สวย มันอยู่ที่วิบาก ทำบุญมาดีเราก็เห็นของสวย เช่น เราเห็นสาวๆสวยๆอะไรอย่างนี้ ก็คนมันมีบุญน่ะ ไม่ใช่เห็นแต่ของน่าเกลียด

แต่ว่าเมื่อเราไปกระทบ นัยน์ตามองเห็นสาวสวยแล้วจิตเกิดราคะ ปัญหามันอยู่ตรงนี้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เห็นของสวย จิตเกิดราคะแล้วจะทำอย่างไร ถ้าไปพิจารณาสาว ว่าสาวนี้สกปรก ไม่งาม มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ มีรูรั่วใหญ่ๆ ๙ รู มีรูรั่วเล็กๆนับไม่ถ้วน มีของโสโครกไหลออกมาเป็นนิตย์ พิจารณาอย่างนี้ ก็ข่มราคะได้ชั่วคราว อันนี้เรียกว่าสมถกรรมฐาน แต่ถ้าเห็นสาวสวย จิตเกิดราคะ รู้ว่ามีราคะ จิตก็ไม่ใช่เรา ราคะก็ไม่ใช่เรานะ ภาพที่มองเห็นคือสาวก็ไม่ใช่เรา อะไรๆก็ไม่มีเรา อันนี้เรียกว่าเดินวิปัสสนา ถอดถอนความเห็นผิดลงไป มันจะแก้ปัญหาได้ถาวร

เพราะฉะนั้นที่เรามาเรียน ๓ วัน ๔ วัน เรียนเพื่อให้รู้วิธีนะ รู้วิธี เราต้องรู้เป้าหมาย วิธี เป้าหมายของเราก็คือ เราจะต้องรู้กายรู้ใจ จนเห็นความจริงของกายของใจว่าเป็นไตรลักษณ์ จนหมดความยึดถือกายยึดถือใจ จิตก็จะเข้าถึงวิมุติหลุดพ้น เป้าหมายของเรา ส่วนวิธีการก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน

การเจริญสติปัฏฐานมี ๒ ส่วน ส่วนที่เป็นสมถะ กับส่วนที่เป็นวิปัสสนา อย่านึกนะว่าทำสติปัฏฐานแล้วจะต้องเป็นวิปัสสนาเสมอไป ถ้ารู้กายถ้ารู้ใจ แต่ไม่เห็นไตรลักษณ์ ไม่เรียกว่าวิปัสสนานะ เป็นสมถะ ถ้าเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ถึงจะเป็นวิปัสสนา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตราบใดที่ยังเป็นสอง ไม่ใช่ของจริง

mp 3 (for download) : ตราบใดที่ยังเป็นสอง ไม่ใช่ของจริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิโมกข์: ความพ้น

วิโมกข์: ความพ้น

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอนาคามีนะ ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง ปัญญาในขั้นกลาง คือรู้ว่าถ้าอยากถ้ายึดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น รู้ว่าตัณหาหรือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ทีนี้ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่เมื่อทำมาถึงตรงนี้ จะรัก จะหวงแหนจิตผู้รู้นี้มากที่สุดเลย เพราะรู้ว่าถ้าเราอยู่กับตัวจิตผู้รู้เนี่ย ความทุกข์จะไม่ข้องแวะ เพราะฉะนั้นจิตจะมีอยู่สองชนิด คือจิตผู้รู้กับจิตผู้หลง จิตผู้รู้นี้มีแต่ความสุข จิตผู้หลงตามอารมณ์ตามกิเลสจะมีแต่ความทุกข์ จะรู้สึกว่ามีอยู่สองอย่าง เพราะฉะนั้นจะหวงแหนถนอมรักษาจิตผู้รู้นะ หวงที่สุด ส่วนมากผู้ปฎิบัติจะจบลงตรงนี้ ไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะพอใจแล้ว

คล้ายๆคนๆหนึ่งอยากจะเจอเหมืองทอง อยากได้เหมืองทองคำ เดินไปเจอเยาวราชนะ พอใจแล้ว ไม่ไปไหนแล้ว เฝ้ามันอยู่ตรงนี้ล่ะ ไม่ไปหาเหมืองแล้ว ผู้ปฏิบัติจำนวนมาก ก็จะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ พอตายไปก็ไปอยู่ในภูมิพรหมโลก ไปเป็นพระพรหม แต่พรหมพวกนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว จะนิพพานในพรหมโลก

ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติต่อไปเนี่ย สติปัญญาจะบีบวงแคบเข้ามา เพราะจิตใจมันเด่นดวงขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ออกไปแส่ส่ายหาอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกนะ ไม่ยุ่ง มีแต่จิตแต่ใจล้วนๆเลย พอจิตใจมันบีบวงเข้ามาอยู่ที่จิตที่ใจเนี่ย ถ้าสติปัญญาเพียงพอ ส่วนมากสติปัญญาไม่เพียงพอหรอก ต้องได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือว่าช่างสังเกต หรือมีครูบาอาจารย์บอกให้ ถ้าช่างสังเกตก็จะสังเกตได้เหมือนกัน

ยกตัวอย่างครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านสังเกตเอา ถ้าตรงนี้ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ ยังอิงอาศัยจิตผู้รู้อยู่ นิ่งนอนใจไม่ได้ ยังไม่พ้นทุกข์จริง หรือเรา ถ้าพวกเราช่างสังเกต เราก็จะรู้ว่า จิตเรายังมีสองอย่างอยู่ มีจิตผู้รู้ที่มีความสุข กับจิตผู้หลงที่ไม่มีความสุข ตาบใดที่ยังมีสองยังไม่ใช่ของจริง จำไว้นะ ตราบใดที่ยังเป็นสองยังไม่ใช่ของจริงหรอก ยังหลงอยู่กับสุขกับทุกข์ กับดีกับชั่ว กับสงบฟุ้งซ่านกับภายในภายนอก หยาบละเอียด อะไรๆที่ยังเป็นคู่ๆเนี่ย งานยังไม่เสร็จแน่นอน ถ้างานเสร็จจะเป็นหนึ่งเดียวรวดเลย ฐีติจิต จิตก็เป็นหนึ่งนะ ฐีติธรรม ธรรมก็เป็นหนึ่ง คำที่หลวงปู่มั่นท่านใช้

ทีนี้ถ้าเราไม่นิ่งนอนใจ เราก็คอยรู้เท่าทันจิตใจของเราต่อไป เสร็จแล้วมันจะพ้นสติปัญญาเราไม่ได้หรอก ตัวผู้รู้เนี่ย บางท่านก็จะเห็นว่ามันไม่เที่ยง มันผ่องใสอยู่ ผ่องใสอยู่ทั้งวันทั้งคืนนะ ถึงจุดหนึ่งมันหมองได้ คือมันไม่เที่ยง บางท่านพอเห็นว่าไม่เที่ยงก็ปล่อยวางได้ อย่างนี้เรียกว่า เป็นประเภทหลุดพ้นที่เรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เห็นแต่ว่าเกิดแล้วดับๆ ตัวผู้รู้ก็เกิดดับ

บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์ พวกที่ทรงสมาธิมากๆ จะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ เพราะถ้าท่านไม่เห็นว่าจิตผู้รู้เป็นทุกข์นะ จะไม่ยอมปล่อย เพราะสมาธิมากตัวผู้รู้มีแต่ความสุขนะ ถ้าปัญญาแก่รอบจริงๆจะเห็นเลย เป็นตัวทุกข์ ทุกข์แบบไม่มีอะไรเหมือน พอเห็นว่าตัวผู้รู้ก็เป็นทุกข์ จิตมีอันเดียวนะ คือจิตที่เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ไม่ใช่ว่าจิตมีทุกข์บ้างสุขบ้าง แต่เดิมเคยเข้าใจว่าจิตนี้ ถ้ารู้ตัวเป็นผู้รู้แล้วมีความสุข ถ้าเป็นผู้หลงแล้วมีความทุกข์ เข้าใจผิด แต่เมื่อไรสติปัญญาแก่รอบ ตัวจิตเองนั้นแหละตัวทุกข์ล้วนๆ จะปล่อยวาง ตรงคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านสอนบอกว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง

พวกเราแค่เห็นร่างกาย ก็ยังเห็นว่าร่างกายเราทุกข์บ้างสุขบ้างเลย อย่าว่าแต่จิตใจเลย จิตใจยังไงก็ยังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้าง สุขทุกข์ของเราอยู่ที่ว่า ได้อย่างที่อยากมั้ย ถ้าไม่ได้อย่างที่อยากก็ทุกข์ ถ้าได้อย่างที่อยากก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของเราที่พวกเรารู้จัก นี่คือทุกข์จากความไม่สมอยาก ส่วนทุกข์ของพระอนาคามีที่ท่านรู้เนี่ย ทุกข์เพราะความอยาก เห็นว่าถ้าอยากแล้วทุกข์นะ ของเราเห็นได้แค่ว่า ถ้าไม่สมอยากแล้วทุกข์ พระอนาคามีเห็นว่า แค่มีความอยากก็ทุกข์แล้ว ก็ยังมีสองอย่าง มีทุกข์กับสุข ถ้าอยากหรือไม่อยาก

ถ้าปัญญาเห็นแจ้งจริงๆเลย มีแต่ทุกข์ล้วนๆ จะอยากหรือไม่อยากก็ทุกข์แล้ว ทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อยากแล้ว ทุกข์อยู่ที่ตัวขันธ์เองแหละเป็นตัวทุกข์ อย่างนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว จิตจะปล่อยวางลง ปล่อยวางจิต ทีนี้บางท่านก็เห็นว่าจิตนี้เป็นสุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา คืน ยอมคืน ยอมสลัดคืนให้กับโลกเขาไป พวกนี้เรียกว่าสุญญตวิโมกข์ พวกปัญญากล้า หลุดพ้นด้วยการเห็นจิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ปลดปล่อยออกไปแล้ววางออกไป

ทางที่จิตดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นเนี่ย มีสามช่องในขั้นสุดท้าย เบื้องต้นของเราเนี่ยนะ คอยรู้กายคอยรู้ใจไว้ พอรู้กายเต็มที่นะ มันจะปล่อยวางกาย มันจะย้อนทวนเข้าหาธาตุรู้ ตัวจิต พอรู้จิตเต็มที่เนี่ย ว่าเป็นอนิจจัง หรือเป็นทุกขัง หรือเป็นอนัตตา ในมุมใดมุมหนึ่งก็ปล่อยวางจิต พอปล่อยวางหมดทั้งกายหมดทั้งจิตนะ จิตใจก็จะพ้นจากความทุกข์จริงๆ พ้นจากขันธ์ นิพพานก็คือจิตมันพรากออกจากขันธ์ มันสำรอกออกจากขันธ์ หลุดออกจากขันธ์ได้

    หมายเหตุ วิโมกข์ มี 3 อย่าง คือ

  • สุญญตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนัตตา
  • อนิมิตตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์คืออนิจจัง
  • อัปปณิหิตวิโมกข์ ความพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทุกขัง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน) เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๙

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓
File: 490716.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพราะไม่ยอมรับความจริงจึงดิ้นรน ดิ้นรนจึงทุกข์

mp3 (for download): เพราะไม่ยอมรับความจริงจึงดิ้นรน ดิ้นรนจึงทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพราะไม่ยอมรับความจริงจึงดิ้นรน ดิ้นรนจึงทุกข์

เพราะไม่ยอมรับความจริงจึงดิ้นรน ดิ้นรนจึงทุกข์

หลวงพ่อปราโมทย์ : กายกับใจนั้น เขาแปรปรวน เขาเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา เขาเป็นทุกข์นะ ถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ห้ามเขาไม่ได้หรอก ทีนี้เราไม่ฉลาด เราอยากให้เขาดี เราอยากให้เขาสุข เราอยากให้เขาสุขสงบถาวรด้วย เราไปอยากในสิ่งที่ไม่มีจริง

การที่เรามาเจริญสตินี้ เราก็ได้ค่อยๆเรียนรู้ ความเป็นจริงของกายของใจ จนวันหนึ่งเขายอมรับนะ เขายอมรับความเป็นจริงของกายของใจ แล้วเขาก็ไม่ยึดถือ มันพันทุกข์เพราะไม่ยึดถือ มีความสุขมากเลย ไม่มีอะไรเหมือนเลย

ความสุขอย่างโลกๆ หลวงพ่อก็รู้จักนะ ยกตัวอย่างพวกเราชาวโลกสุขอย่างไร หลวงพ่อก็เคยเป็นฆราวาสก็รู้จักนะ ความสุขของคนในโลกนะ มันเหมือนความสุขของเด็กน่ะ เด็กเล่นหิน เล่นทราย เล่นดิน สกปรกมอมแมมนะ มันก็มีความสุข มิใช่ว่าในโลกไม่มีความสุข แต่มันสุขแบบมอมแมม แต่ถ้าเราภาวนาเป็นนะ มันจะมีความสุขอีกชนิดหนึ่งที่สะอาด หมดจด มีความสุขจริงๆ

ความสุขในโลกมีแต่ความแปรปรวน ความสุขในธรรมนี้นะ ถาวร คงที่ ความสุขในโลกนี้อิงอาศัยคนอื่น อิงอาศัยสิ่งอื่น ความสุขในธรรมไม่ได้อิงอาศัยอะไรเลย เป็นความสุขของคนที่เป็นอิสระ

ทีนี้ใจของเรา ยังไม่เห็นความจริง เราก็พามันดูไปเรื่อยๆ ใจไม่ยอมรับธรรมะนะ ใจของเราแต่ละคนมันไม่ยอมรับธรรมะนะ ก็คือมันไม่ยอมรับความจริง ยกตัวอย่างร่างกายต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นความจริงนะ เราไม่ยอมรับนะ เราไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย จิตใจของเราต้องสุขบ้างทุกข์บ้าง เราก็ไม่ยอมรับ เราอยากสุขอย่างเดียว จิตใจของเราเป็นของบังคับไม่ได้ เดี๋ยวก็เป็นกุศล เดี๋ยวก็เป็นอกุศล เราบังคับไม่ได้ เราก็ไม่ยอมรับ เราอยากบังคับให้ได้ อยากให้มันดีถาวร

การที่เรามาหัดเจริญสติ รู้กายรู้ใจ เพื่อวันหนึ่งจิตใจจะได้ยอมรับความจริง เมื่อมันยอมรับความจริง มันจะเห็นเลย สภาวธรรมทั้งหลาย เสมอภาคโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความสุขและความทุกข์ก็เสมอภาคกันนะ เนี่ยเป็นเรื่องอัศจรรย์เลย ของเราๆรู้สึกเลย ความสุขกับความทุกข์ไม่เสมอกัน กุศลและอกุศลก็เสมอภาคกัน เราก็รู้สึกว่าไม่เสมอ แท้จริงแล้วสภาวธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ ล้วนแต่ไม่เที่ยงเหมือนกันหมดเลย ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว ล้วนแต่เป็นทุกข์ ทั้งกายทั้งใจนี้เป็นทุกข์นะ แล้วก็บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีอะไรบังคับได้แม้สักอันเดียว ใจเราไม่ยอมรับตรงนั้น

แท้จริงแล้วสภาวธรรมทั้งหลายนี้เสมอกันหมด ทั้งสุขและทุกข์ ทั้งดีและชั่ว ธรรมะที่เป็นคู่ๆทั้งหลายเสมอกัน ใจเราต่างหากที่ไม่เสมอกัน ใจเราจะรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง รักสุขเกลียดทุกข์ รักดีเกลียดชั่ว พอใจเราไม่เสมอภาค ใจเราจะดิ้นรน ใจเราดิ้นรนปรุงแต่ง ใจเราทำงานขึ้นมา ใจเราก็มีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าวันหนึ่งปัญญาเรารู้แจ้งแทงตลอดลงไปนะ ธรรมะที่เป็นคู่ๆทั้งหลาย สุขทุกข์ดีชั่วอะไรเนี่ย เสมอภาคกันหมด คือเกิดแล้วดับทั้งหมดเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราว พอใจมันมีปัญญาเห็นอย่างนี้นะ ใจก็เข้าสู่ความเป็นกลาง พอใจเป็นกลางใจก็จะไม่ดิ้นรน ใจไม่ดิ้นรนใจก็ไม่ทุกข์นะ เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ปัญญาเกิด เห็นสภาวธรรมทั้งหลายเสมอกันหมด ใจก็จะไม่ดิ้น ใจไม่ดิ้นใจไม่ทุกข์

ของเราไม่เห็น เรารู้สึกไม่เสมอกัน รู้สึกมั้ย สุขดีกว่าทุกข์ กุศลดีกว่าอกุศล เราจะมีสิ่งที่เป็นคู่ๆอยู่เยอะ ละเอียดดีกว่าหยาบ ที่ใกล้ดีกว่าที่ไกล ภายในดีกว่าภายนอก เราไปหลงธรรมะที่เป็นคู่ๆ ธรรมะภายในเช่น แหมสงบอยู่ข้างในดี ฟุ้งซ่านออกข้างนอกไม่ดี ธรรมะอยู่ใกล้ๆ อยู่กับกายกับใจแล้วดี ออกไปข้างนอกไม่ดี ยุ่งกับตัวเองดี ไปยุ่งกับคนอื่นไม่ดี ความจริงเสมอกันแหละ ยุ่งเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้นน่ะ ต้องเรียนนะ เรียนเพื่อให้เห็นความจริง สภาวะทั้งหลายเสมอภาคกัน ใจของเราต่างหากที่ไม่เสมอ ไม่เสมอภาค รักอันหนึ่งเกลียดอันหนึ่ง แล้วก็ดิ้นรน ดิ้นรนแล้วก็ทุกข์

ถ้าเมื่อไรปัญญาแจ่มแจ้ง ธรรมที่เป็นคู่เสมอภาคกันหมด ใจก็ไม่ดิ้นรนนะ ใจไม่ดิ้นรนใจก็พ้นทุกข์ นิพพานเป็นความสิ้นราคะ สิ้นตัณหา สิ้นความอยาก นิพพานเป็นวิสังขาร สิ้นความปรุงแต่งดิ้นรน เมื่อไรใจเราหมดความหิวโหย ในอารมณ์อันโน้น เกลียดอารมณ์อันนี้ หมดความปรุงแต่งอย่างโน้นอย่างนี้ จิตใจจะเข้าถึงสันติสุข เข้าถึงนิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
File: 500105
ระหว่างนาทีที่  ๐๒ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๐๘ วินาทีที่ ๐๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการหัดแยกธาตุแยกขันธ์

mp 3 (for download) : วิธีการหัดแยกธาตุแยกขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีการที่มาเรียน แล้วหัดแยกธาตุแยกขันธ์เนี่ย เป็นวิธีการเฉพาะในพระพุทธศาสนา ภาษาปริยัติเขาเรียกว่า วิภัชวิธี วอแหวนสระอิ พอสำเภา ไม้หันอากาศ ชอช้าง วิภัชวิธี

วิภัชวิธี จะเป็นการหัดมาแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวตน แยกตัวตนออกเป็นส่วนๆ แล้วจะพบว่าไม่มีตัวตน คล้ายๆมันมีรถยนต์ ๑ คัน เราคิดว่ารถยนต์มีจริงๆ เรามาถอดรถยนต์เป็นชิ้นๆนะ ลูกล้อ เราถอดลูกล้อออกมาก่อน ลูกล้อไม่ใช่รถยนต์ใช่มั้ย แต่รถยนต์ไม่มีลูกล้อไม่ได้ ใช่มั้ย เนี่ยถอดรถยนต์ออกมาเป็นส่วนๆนะ ลูกล้อไม่ใช่รถยนต์ กันชนก็ไม่ใช่รถยนต์ใช่มั้ย ตัวถังก็ไม่ใช่รถยนต์นะ ตัวถังก็ไม่ใช่รถยนต์ เบาะที่นั่งก็ไม่ใช่รถยนต์ พวงมาลัยก็ไม่ใช่รถยนต์ เครื่องยนต์ของมันก็ไม่ใช่รถยนต์ ถังน้ำมันก็ไม่ใช่รถยนต์ เห็นมั้ยพอเรามาถอดรถยนต์ออกเป็นชิ้นๆ ชิ้นเล็กชิ้นน้อยนะ พบว่าไม่มีรถยนต์แล้ว รถยนต์เป็นสิ่งที่เอาอะไหล่ทั้งหลายแหล่เนี่ยมาประกอบมารวมกันนะ แล้วเราก็สรุปหมายรู้เอาว่า นี่แหละคือรถยนต์

วิภัชวิธีที่จะมาเรียนรู้เพื่อทำลายความเห็นผิดว่ามีตัวกูของกู ตัวเราเนี่ย ก็คือมาหัดแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ เรียกว่าหัดแยกธาตุแยกขันธ์ดู เบื้องต้นหัดแยกกายกับใจก่อน ค่อยๆนั่งไป นั่งไปรู้สึกไป อย่าใจลอย ต้องไม่ใจลอยไปนะ รู้สึกตัวก่อน พอรู้สึกตัวแล้ว ดูกาย เห็นร่างกายที่นั่งอยู่เนี่ย เป็นของถูกรู้ถูกดู นั่งดูไปเรื่อยๆ อย่าเพิ่งกระดุกกระดิกนะ นั่งดูไปนานๆ จะเห็นว่ากายก็อยู่ส่วนกาย จิตก็อยู่ส่วนจิต กายกับจิตนี้เป็นคนละอันกัน จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู

พอเรานั่งไปนานๆมันปวดมันเมื่่อยขึ้นมา เห็นอีก ความปวดความเมื่อยแต่เดิมไม่มีนะ ร่างกายเรานั่งอยู่สบายๆ ความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามาทีหลัง แปลกปลอมเข้ามาทีหลัง เพราะฉะนั้นความปวดความเมื่อยไม่ใช่ร่างกาย เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาอีกอันหนึ่ง คนละอันกับร่างกาย ความปวดความเมื่อยเนี่ย ภาษาพระเขาเรียก เวทนา คือความรู้สึกสุขความรู้สึกทุกข์ ทางร่างกายก็ได้ ทางจิตใจก็ได้ ความรู้สึกสุขความรู้สึกทุกข์ทางกาย ความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์รู้สึกเฉยๆทางใจ ทางใจมีเฉยๆด้วย ตัวนี้ไม่ใช่ร่างกาย ตัวนี้ไม่ใช่จิตใจ

ยกตัวอย่าง พอเรานั่งไปนานๆพอมันปวดขึ้นมา ค่อยดูไป ทำใจสบายๆดูไป ความปวดก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความปวดเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความปวดเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามาในร่างกาย ไม่ใช่ร่างกายด้วย แล้วก็ไม่ใช่จิต เพราะมันเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้านะ เนี่ยค่อยๆหัดตัวนี้นะ พอมันปวดมากเข้าๆอย่าเพิ่งกระดุกกระดิกนะ ทนๆเอาก่อน

มันปวดมากๆนะ ใจมันชักทุรนทุราย เช่นชักเป็นห่วงร่างกายแล้ว นั่งนานปวดมากอย่างนี้อาจจะเป็นอัมพาตได้ เดี๋ยวเดินไม่ได้ จะพิกลพิการใครจะเลี้ยง เห็นมั้ย ใจเริ่มฟุ้งแล้ว ใจเริ่มปรุงแต่ง วิตกกังวลอะไรต่ออะไรขึ้นมาเยอะแยะไปหมดเลย ความปวดมันอยู่ที่ร่างกายนะ แต่ความทุรนทุรายมันอยู่ที่จิต เพราะฉะนั้นเนี่ย ความปวดนะ กับความกลุ้มอกกลุ้มใจเนี่ย คนละอันกัน คนละขันธ์กัน ความกลุ้มอกกลุ้มใจเนี่ย ภาษาพระเขาเรียกว่า “สังขารขันธ์” คนละขันธ์กันนะ

เนี่ยมาหัดแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา จะเห็นเลย ความทุรนทุรายเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ไม่ใช่จิตด้วย ไม่ใช่ร่างกายด้วย ไม่ใช่เวทนาคือความปวดความเมื่อยนั้นด้วย คนละอันกันนะ นี่ค่อยๆหัดแยกนะ ค่อยๆฝึกทุกวันๆแล้วค่อยแยกไป

จะทำงาน จะกวาดบ้าน จะถูพื้น จะซักผ้า จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน คอยดูร่างกายมันทำงานไปเรื่อยนะ มันเจ็บ มันปวดขึ้นมา ก็คอยรู้เอา มันสุขมันสบายก็คอยรู้เอา มันดีใจ มันเสียใจ มันจะมีความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้น คอยรู้เอา สุดท้ายเราจะแยกธาตุแยกขันธ์ออกไป เราจะเห็นเลยร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้าเท่านั้น เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งนะ เดินไปเดินมา ไม่มีตัวเราในร่างกายนี้

ความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้น ก็เป็นแค่สภาวธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่ตัวเราอีก สั่งให้เกิดก็ไม่ได้ ยกตัวอย่าง สั่งให้มีความสุขก็สั่งขึ้นมาไม่ได้ ห้ามไม่ให้มีความทุกข์ก็ห้ามไม่ได้ พอมันสุขแล้วรักษาเอาไว้ก็ไม่ได้ มีความทุกข์ขึ้นมาไล่มันก็ไม่ไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ เนี่ยดูของจริงเข้าไป ดูเข้าไป

จะเห็นเลยว่าร่างกายก็ไม่ใช่ตัวเรา แล้วร่างกายนี้ก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวหายใจออก เดี๋ยวหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดี๋ยวเดิน เดี๋ยวนั่ง เดี๋ยวนอน ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง ร่างกายมีแต่ความทุกข์ นั่งอยู่ก็ทุกข์ เดินอยู่ก็ทุกข์ นอนอยู่ก็ทุกข์ กลางคืนนอนพลิกซ้ายพลิกขวาประมาณ ๔๐ ครั้งนะ คืนหนึ่งๆ มันปวดมันเมื่อยมันทุกข์นะ เราไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ก็นึกว่าร่างกายเราไม่ทุกข์ ความจริงร่างกายเราทุกข์ตลอดเวลาเลย

ร่างกายเป็นเหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งนะ เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นก้อนดิน ก้อนน้ำ ก้อนไฟ ก้อนลม นี้มันเป็นอนัตตา

ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ก็เป็นของไม่เที่ยง มีแล้วก็ไม่มี อย่างนี้นะ ยกตัวอย่างความสุข มีแล้วก็หายไป ความทุกข์ก็หายเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่หาย ทุกอย่างเกิดแล้วดับทั้งสิ้นเลย เนี่ยเฝ้ารู้ลงไปนะ จะเป็นหายใจออกเกิดแล้วก็ดับ หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ ยืนเกิดแล้วก็ดับ นั่งเกิดแล้วก็ดับ นั่งแล้วไม่ได้นั่งตลอดนี่ เดี่ยวก็เปลี่ยน ความสุขความทุกข์นะ สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศล อกุศล ที่เกิดขึ้นนะ เช่นความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ชั่วคราวอีก มีใครโกรธตลอด มีมั้ย มีใครโลภตลอดมั้ย ไม่มี มีแต่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับอยู่ตลอดเวลานะ เนี่ย เฝ้าดูของจริงลงไป

ส่วนตัวจิตตัวใจดูอย่างไร ตอนนี้ต้องค่อยๆหัดดูะ จิตเดี๋ยวก็วิ่งไปทางตา วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปทางหู วิ่งไปฟังนะ วิ่งไปดูอย่างเดียวไม่พอ สังเกตให้ดีตอนที่นั่งฟังหลวงพ่อเทศน์เนี่ย ดูหน้าหลวงพ่อบ้างใช่มั้ย ตั้งใจฟังบ้างใช่มั้ย หนีไปคิดบ้างใช่มั้ย สลับกันตลอดเวลา นึกออกมั้ย ไม่ได้ฟังอย่างเดียว ฟังไปคิดไป แล้วบางทีก็ดูหน้าหน่อยนึ่ง นึกออกมั้ย แล้วก็ตั้งใจฟัง ตอนที่ตั้งใจฟังไม่ได้ดูหน้าหรอกนะ ฟังนิดนึงแล้วก็หนีไปคิด ฟังแล้วก็หนีไปคิด เห็นมั้ย เนี่ยจิตมันเปลี่ยนนะ เดี๋ยวก็เปลี่ยน เดี๋ยวจิตก็ดู เดี๋ยวจิตก็ฟัง เดี๋ยวจิตก็คิด จิตเกิดดับเหมือนกัน เกิดดับอยู่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

จิตจะเกิดที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ สั่งไม่ได้ มันเกิดเอง เดี๋ยวก็ไปดู เดี๋ยวก็ไปฟัง เดี๋ยวก็ไปคิด พวกเราตอนนี้ดูของจริงลงไปเลย จริงหรือเปล่า? ฟังไปคิดไปจริงมั้ย? หัดรู้ตรงนี้เลยนะ เราจะเห็นเลยว่า เดี๋ยวก็ฟัง เดี๋ยวก็คิด จิตจะไปฟัง ไม่ได้เจตนาฟัง จิตจะไปคิด ไม่ได้เจตนาคิด มันเป็นของมันเอง ตรงที่เห็นมันเกิดดับทางอายตนะเนี่ย มัน “ไม่เที่ยง” ตรงที่เห็นเราบังคับ(จิต)ไม่ได้เนี่ย เรียกว่า “อนัตตา”

เนี่ยเรามาดูสิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” ขันธ์ ๕ เนี่ย ตัวรูป ตัวเวทนา ตัวสังขาร ตัวจิตคือตัววิญญาณ ดูก็เห็นมีแต่เกิดดับไปเรื่อย ดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจอยู่ ไม่ใช่เรา ความสุขความทุกข์ไม่ใช่เรา กุศล อกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่เรา ตัวจิตก็ไม่ใช่เรา ฝึกไปแล้วมันจะเห็นเองนะ ฝึกแล้วมันจะเห็นเอง จะพบว่าไม่มีตัวเราไม่มีในกายนี้ ไม่มีตัวเราในจิตนี้ ตัวเราเกิดจากความคิด ต้องหลงน่ะ ต้องหลงไปก่อนถึงจะไปคิดนะ จิตหลงเมื่อไหร่จิตก็ไปคิด จิตไปคิดก็เกิดตัวตนขึ้นมา ถ้าจิตมีสติ รู้สึกอยู่นะ จิตไม่หลงไปอยู่ในความคิดนะ ตัวตนจะไม่มีหรอก ตัวตนมันเกิดจากความคิดเท่านั้นเอง เหมือนคำว่ารถยนต์เนี่ย เราคิดว่ามีรถยนต์ ก็คิดขึ้นมา ทั้งที่จริงๆแล้วมันเป็นอะไหล่หลายร้อยหลายพันชิ้นมารวมกัน ตัวนี้ก็เหมือนกัน เราคิดว่าเป็นตัวเรา แต่พอเราแยกธาตุแยกขันธ์ออกไปแล้ว มันไม่ใช่ตัวเราหรอก เนี่ยหัดดูอย่างนี้นะ เรียกว่าการเจริญปัญญา ฟังเหมือนยาก ไม่ยากหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดประชาสันติ จ.พังงา
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: วัดประชาสันติ จ.พังงา วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
File: 540123.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๔๐ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

mp 3 (for download) : ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางจะเลิกดิ้น ใจที่ไม่ดิ้นใกล้กับมรรคผลนิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์: บางวันก็สุขบางวันก็ทุกข์นะ ไม่ใช่ภาวนาเอาสุขทุกวัน ไม่เอาสงบทุกวัน เอาดีทุกวันไม่ใช่

ภาวนาเพื่อให้เห็นความจริง ความสุขก็ไม่เที่ยง ความสงบก็ไม่เที่ยง กุศลทั้งหลายก็ไม่เที่ยง ภาวนาให้เห็นของจริง แรกๆ พอไปเห็นว่าความสุขก็ไม่เที่ยง ไม่ยอมรับ ไม่ชอบอยากให้เที่ยง ก็ดิ้นใหญ่เลย เห็นว่าความสงบไม่เที่ยงก็ไม่ยอมรับนะอยากให้เที่ยง เห็นว่ากุศลทั้งหลายไม่เที่ยงไม่ยอมรับ อยากให้เที่ยง ใจเราไปอยากในของที่ไม่มีจริง ใจอย่าดิ้น ดิ้นเหนื่อยเปล่า

ใจเรามีสติตามรู้กายตามรู้ใจไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ของเป็นทุกข์ ของบังคับไม่ได้ทั้งหมด ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศล อกุศลก็ชั่วคราว ถ้าเห็นอย่างนี้นะใจจะเป็นกลาง เมื่อไรใจเข้าถึงความเป็นกลางใจก็เลิกดิ้น ไม่ดิ้นแล้ว ใจที่ไม่ดิ้นเนี่ยใกล้กับมรรคผลนิพพาน เพราะนิพพานเป็นความไม่ดิ้นเรียกว่าวิสังขาร ไม่ดิ้น นิพพานไม่มีความอยาก ไม่มีความหิวเรียกว่าวิราคะ ใจมันเต็มอิ่มไม่ดิ้น ก็ใกล้ถึงนิพพาน ฉะนั้นเราภาวนาไปจนใจเราเป็นกลาง

หลวงปู่เทสก์เคยสอนหลวงพ่อนะ บอก “ผู้ใดเข้าถึงความเป็นกลางจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”

เข้าถึงความเป็นกลาง เป็นกลางมีหลายแบบ เป็นกลางเพราะสมถะ อันนี้ไม่พ้นทุกข์หรอก พ้นชั่วคราว ใจเป็นกลางเพราะสมถะเป็นอุเบกขา อีกอัน เป็นกลางเพราะปัญญา ตัวนี้ตัวสำคัญเป็นกลางเพราะวิปัสสนา เห็นสุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วก็ชั่วคราว เป็นกลาง ใจไม่ดิ้น ตอนนี้ดูไปก็ยังดิ้นไปนะ ธรรมดา ดูไปมากๆ ดูไปก็ไม่ใช่เราหรอก ก็ไม่ดิ้น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File: 491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

mp3 (for download): เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

เพราะใจเราปฎิเสธธรรมะ ธรรมะจึงเข้าสู่ใจเราไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตใจของเราเอง โดยตัวมันเองนะ มันก็มีแนวโน้มที่จะดีเหมือนกัน แต่เราเองปิดกั้นมันไว้จากมรรคผลนิพพาน ไปต่อต้านนะ ธรรมะพยามแสดงความจริงให้ดู แต่เราไม่อยากเห็นธรรมะ เราอยากเห็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมะ ยกตัวอย่างธรรมะแสดงให้ดูว่าเราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เราไม่อยากได้ เราอยากได้ที่ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ธรรมะแสดงให้ดูว่าความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง เราอยากให้ความสุขเที่ยง อยากให้ไม่มีความทุกข์ ใจเราเองแหละปฏิเสธธรรมะ ธรรมะก็เลยเข้าสู่ใจเราไม่ได้

การที่เราคอยรู้กาย คอยรู้ใจ มากเข้าๆ ก็เพื่อวันหนึ่ง จิตใจมันจะยอมรับธรรมะ ยอมรับความจริงของกายของใจว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา พอเขายอมรับความจริงเมื่อไหร่ เขาจะเลิกดิ้นรน พอมันไม่ดิ้น มันก็ไม่ทุกข์นะ ไม่ดิ้นไม่ทุกข์หรอก ดิ้นทีไรก็ทุกข์ทุกทีนะ พอทุกข์ก็ยิ่งดิ้น พอยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์อีก ก็เลยดิ้นไปเรื่อย ดิ้นไม่เลิกหรอก

ถ้าเราคอยรู้ไปเรื่อย.. แล้ววันหนึ่ง เกิดปัญญา เห็นกาย เห็นใจ ไม่ใช่เราหรอก เป็นของๆโลก ยืมเขามาใช้ชั่วครั้งชั่วคราว หมดความรักในกายในใจเมื่อไหร่นะ ก็หมดความยึดถือ หมดความทุกข์ กายกับใจก็ดูแลมันไป เหมือนเรายืมของเขามาใช้ ก็มีหน้าที่ดูแล ไม่ใช่ยืมของเขามาใช้ แล้วก็ใช้ให้พังๆไป เรายืมกายยืมใจมาจากโลก เอามาใช้ ก็มาทำประโยชน์ของเราเอง ทำประโยชน์แก่คนอื่น อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๒
File: 491222.mp3
ระหว่างนาทีที่  ๐๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์

mp 3 (for download) : อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์

อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์

หลวงพ่อปราโมทย์: ธรรมะนะ แปลว่าอะไร แปลยากนะ เหมือนคำว่าเต๋าแปลว่าอะไร ไม่ใช่ลูกเต๋า ธรรมะมันครอบคลุมสรรพสิ่ง มีทั้งสิ่งซึ่งเป็นความปรุงแต่ง และสิ่งที่พ้นจากความปรุงแต่ง ในสิ่งที่ปรุงแต่งก็มีทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม งั้นธรรมะจริงๆเป็นคำที่ใหญ่ เป็นคำที่กว้าง แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าเอามาสอนนะ ท่านเลือกเอามาสอนนิดเดียวเองจากความรู้อันมหาศาล ท่านสอนนิดเดียวว่า เรื่องทุกข์กับความพ้นทุกข์ ความดับทุกข์

เพราะฉะนั้นของเขตคำสอนของศาสนาพุทธนะเล็กนิดเดียวเอง เราจะเรียนเรื่องสิ่งที่เป็นทุกข์นะ กับเรียนเรื่องความพ้นทุกข์ เรียนแค่นี้นะ

สิ่งที่เป็นตัวทุกข์ก็เรียกว่าขันธ์ เป็นตัวทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้นะบอก สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา โดยสรุปเนี่ย อุปาขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์ พวกเราได้ยินคำว่าอุปาทานขันธ์เป็นทุกข์ บางทีก็เลยไปแปลผิด ไปแปลว่าขันธ์อันไหนถ้าเราเข้าไปยึดแล้วเป็นทุกข์ ถ้าไม่ยึดไม่ทุก ไม่ใช่ คำว่าอุปาทานขันธ์นั้นเป็น technical term (ศัพท์เฉพาะ) ก็คือขันธ์ที่เรามีอยู่นี่แหละ ขันธ์บางอย่างไม่เป็นอุปาทานขันธ์ ไม่จัดอยู่ในกองทุกข์ อะไรบ้าง ก็บรรดาจิตมรรคจิต ผลจิตทั้งหลาย ไม่จัดอยู่ในกองทุกข์นะ โลกุตรจิตทั้งหลายไม่เป็นกองทุกข์ กิริยาจิตของพระอรหันต์ทั้งหลายเนี่ย ไม่จัดว่าเป็นกองทุกข์

ส่วนขันธ์อย่างอื่นๆนะ อย่างที่พวกเรามี เป็นขันธ์ที่เรียกว่าเป็นอุปาทานขันธ์ทั้งนั้นเลยเป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ั้ตั้งของความยึดมั่นได้ ส่วนโลกุตรจิตไม่ใช่ที่ตั้งของความยึดมั่น และไม่เรียกว่าอุปาทานขันธ์

เพราะฉะนั้นคำว่ารู้ทุกข์เนี่ย เราไม่ต้องไปรู้หรอกว่าจิตของพระอรหันต์เป็นยังไง ไม่มีความจำเป็นสักนิดเลย ดูจิตของเราเองนี่แหละ นี่แหละเรียกว่าอุปาทานขันธ์ งั้นพูดง่ายๆสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ก็คือตัวเรานี้แหละ ตัวทุกข์ ทำยังไงจะดับทุกข์ ทำยังไงจะพ้นทุกข์ พ้นจากความยึดถือในตัวในตนได้ มีอยู่แต่ไม่ยึดนะ มันก็เหมือนไม่มี ถ้ายังยึดอยู่ก็ไปแบกเอาความทุกข์ขึ้นมา

ยกตัวอย่างนะ หลวงพ่อยกกระติกน้ำขึ้นมา ส่วนอีกอันนึงยกยาดม เราจะรู้สึกว่ากระติกหนักใช่มั้ย ถ้าหลวงพ่อวางกระติกไปใช่มั้ย ยาดมหนัก ใช่มั้ย กระติกไม่หนักละ ถ้าทิ้งไปทั้งหมดเนี่ย ไม่มีอะไรหนัก งั้นอะไรที่เราเข้าไปยึดไปถือนะ อันนั้นแหละหนัก เป็นภาระเป็นกองทุกข์

ถ้าไม่ไปยึดไปถือนะ มันทุกข์โดยตัวของมันเอง มันหนักโดยตัวของมันเอง แต่เราไม่ไปแบก ไม่เกี่ยว งั้นเราจะฝึกจนกระทั่งเราไม่ยึดไม่ถือในกายในใจนี้ ที่เราไม่ยึดถือในกายในใจได้เพราะมีปัญญา เพราะมีปัญญานะถึงไม่ยึดถือ มีปัญหาเห็นความจริง ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย ถ้าเราขืนไปหยิบไปฉวยขึ้นมา จะไปแบกภาระ จะไปแบกความทุกข์ขึ้นมา

มีบทสวดมนต์อยู่บทนึง ภารา หะเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาระ เป็นของหนัก คนทั้งหลายแบกของหนักไป ก็ไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง พระอริยเจ้าวางของหนักลงแล้ว แล้วก็ไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ก็พ้นจากทุกข์ ไม่มีภาระ

เราจะวางภาระ วางของหนัก คือวางความยึดถือในขันธ์ลงได้ เราต้องเห็นความจริงของขันธ์ซะก่อน ว่าขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆเลย ไม่ใช่ของดีของวิเศษ เราไปหยิบไปฉวยเอาไว้เพราะเราคิดคิดว่าเป็นของดีของวิเศษ แต่ถ้าปัญญาเราเห็นแจ่มแจ้ง ไม่ใช่ของดีของวิเศษ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของเป็นทุกข์ เป็นของที่ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีสิ่งที่ถาวรเลย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน ถ้าพูดอย่างนี้ยังแปลไม่ออก ฟังแล้วไม่เห็นภาพ ขยายความให้ฟังก็ได้

สิ่งซึ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ทุกข์ตัวนี้ไม่ใช่แปลว่าความทุกข์นะ ทุกข์ตัวนี้แปลว่าทนอยู่ไม่ได้ งั้นสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้นะ

เพราะมันไม่เที่ยงนี่แหละ มันถึงทนอยู่ไม่ได้ เมื่อทนอยู่ไม่ได้ หมายถึงว่ามันมีแล้วสักวันนึงมันต้องไม่มี มีขึ้นมาตอนนี้ต่อไปต้องไม่มี เพราะงั้นไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร ไม่มีคำว่าถาวร มีขึ้นมาก็มีเหตุ พอหมดเหตุ มันดับไป มันก็ไม่มี

คำว่าอนัตตาไม่ได้แปลว่าไม่มีอะไรเลย อนัตตาก็คือไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร

มันจะตัวตนถาวรได้ยังไง กระทั่งจิตเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ใช่ว่าจิตมีดวงเดียวนะ กี่ภพกี่ชาติ เวียนว่ายตายเกิดก็จิตมีอยู่ดวงเดียว

แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
Track: ๖
File: 521210B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๒ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาไม่ใช่การรู้กายรู้ใจ แต่รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ

mp3 (for download): วิปัสสนาไม่ใช่การรู้กายรู้ใจ แต่รู้ความเป็นจริงของกายของใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิปัสสนาไม่ใช่การรู้กายรู้ใจ แต่รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ

วิปัสสนาไม่ใช่การรู้กายรู้ใจ แต่รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ

หลวงพ่อปราโมทย์ :

พวกเราอย่านึกว่าแค่รู้กายรู้ใจแล้วเป็นวิปัสสนา ไม่เป็นหรอก วิปัสสนาจริงๆ ไม่ใช่การรู้กายรู้ใจ วิปัสสนาจริงๆ คือรู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ ต้องชัดเจนขนาดนี้นะ เพราะอะไร เพราะว่าวิปัสสนาทำไปเพื่อถอนความเห็นผิด เพื่อละความเห็นผิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา ถ้าเราเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์เราก็รู้แล้วว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ละความเห็นผิดได้ ลำพังเห็นกายเห็นใจแล้วก็ทื่อๆ นิ่งๆ ทื่อๆ อยู่นะ สามวันสามคืน หรือทำสมาบัติ นิ่ง ไม่กระดุกกระดิก ไม่กินข้าวอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืน มันไม่มีปัญญา มันไม่สามารถถอดถอนความเห็นผิดว่ากายกับใจเป็นตัวเราได้

ฉะนั้นเราต้องมีทั้งสติ มีทั้งปัญญา มีสติรู้สภาวะ คือรู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฎ มีปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่เป็นตัวเรา บางคนเห็นว่ามันไม่เป็นตัวเราเพราะมันไม่เที่ยง บางคนเห็นว่ามันไม่ใช่ตัวเราเพราะมันเป็นทุกข์ บางคนเห็นว่ามันไม่ใช่ตัวเรา เพราะมันบังคับไม่ได้ มันเป็นวัตถุ มันเป็นก้อนธาตุ มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา

ดังนั้นเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพียงอันใดอันหนึ่ง ย้ำคำว่าเพียงอันใดอันหนึ่ง ก็สามารถละความเห็นผิดว่ากายกับใจเป็นตัวเราได้ อันนี้แล้วแต่บุคคล หน้าที่ของเราแค่มีสติรู้กายรู้ใจ มีปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจไปเรื่อยๆ ตรงที่อริยมรรคจะเกิดนะ บางคนเกิดเพราะเห็นอนิจจังของกายของใจ บางคนเห็นทุกข์ของกายของใจ บางคนเห็นอนัตตาของกายของใจ แล้วก็ละความเห็นผิดว่ากายกับใจเป็นเรา มีเราในกายในใจนี้ มีเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ ต้องรู้อย่างนี้นะ รู้ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
File: 510216A
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

mp3 for download : ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ ต้องอาศัยรู้เจตสิกอาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นภาวนาไปนะ อย่าไปเพ่งใส่จิต ภาวนาแล้วก็รู้จิตแต่ละดวงๆนะ รู้โดยอาศัยรู้ผ่านเจตสิกบ้าง อาศัยผ่านอายตนะที่จิตมันเกิดดับอยู่บ้าง เราจะเห็นว่าจิตเองก็เกิดดับ ยากมากที่จะเห็นจิตเกิดดับ อาศัยรู้เจตสิก อาศัยรู้ความรับรู้ทางอายตนะ ก็จะเห็นจิตเกิดดับได้ ถึงวันหนึ่งก็จะแจ้ง จิตมันก็เกิดดับเหมือนกัน จิตก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน จิตก็เป็นทุกข์เหมือนกัน จิตก็เป็นอนัตตาเหมือนกัน

จิตจะเกิดที่ตา หรือเกิดที่หู หรือเกิดที่ใจ เราก็สั่งไม่ได้ ยกตัวอย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้สึกมั้ย บางทีมองหน้าหลวงพ่อ บางทีก็ตั้งใจฟัง บางทีก็สลับไปคิด ฟังไปคิดไปๆ เห็นมั้ยว่าจิตมันฟังบ้างจิตมันคิดบ้าง เลือกได้มั้ย เลือกไม่ได้ เนี่ยดูของจริงลงไปอย่างนี้ เห็นเลยมันเลือกไม่ได้ มันสั่งไม่ได้ จิตมันสุข หรือจิตมันทุกข์ ก็เลือกไม่ได้ใช่มั้ย จิตมันดีหรือจิตมันชั่วก็เลือกไม่ได้ ดูลงไปอย่างนี้ เราจะเห็นว่าแต่ละอันๆ มันเลือกไม่ได้เลย จิตมันเกิดดับ

เนี่ยเฝ้ารู้ลงไปนะ อย่างนี้เรียกว่าเราดูจิตตัวเองอยู่ ไม่ได้ดูลอยๆ เฉยๆ เป็นผู้รู้อยู่เฉยๆ แต่ดูโดยมันร่วมอยู่กับเจตสิก มันร่วมกับอายตนะ ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้มาช่วย ถึงจะเห็นว่าจิตแต่ละดวงนั้นเกิดแล้วดับทั้งสิ้น

เฝ้ารู้เฝ้าดูไปนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ดูไปสบายๆ ดูไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็แจ้งขึ้นมานะ จิตไม่ใช่เรา ถ้าจิตไม่ใช่เรา จะไม่มีอะไรเป็นเราอีกแล้ว เพราะในบรรดาขันธ์ ๕ ทั้งหลายเนี่ย กายไม่ใช่เราดูง่ายที่สุดเลย ฝึกกับหลวงพ่อเดือนเดียวก็เริ่มเห็นแล้วว่า กายไม่ใช่เรา ฝึกว่าจิตไม่ใช่เรา ดูกันแรมปีนะ ดูกันไปเรื่อย อย่าไปท้อถอยนะ วันนี้ยังไม่เห็นไม่เป็นไร ดูไปเรื่อย

ต่อมามันจะเริ่มเห็นน่ะ บางวันก็เป็นเรา บางขณะเป็นเรา บางขณะไม่เป็นเรา เริ่มเห็นแว้บๆแล้ว ตัวเราเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วก็แว้บ..ก็หายไป แต่พอเผลอเมื่อไหร่นะ ก็รู้สึกว่าจิตเป็นเราขึ้นมาอีกนะ ต้องดูไปเรื่อยจนวันหนึ่งเกิดอริยมรรค โสดาปัตติมรรคตัดฉับเข้าให้ หลังจากนั้นจิตไม่เป็นเราอีกแล้ว ไม่มีเงาแห่งความเป็นเราเกิดขึ้นในจิตอีกต่อไป นี่ละแล้วเป็นสมุจฺเฉทปหานฺ* ฝึกเอานะ ฝึกเอา ไม่ได้ยากหรอก ง่ายสุดๆเลย ถูกเขาด่าแล้วโมโห รู้ว่าโมโหไป เห็นจิตมันโมโหไม่ใช่เราโมโห ดูอย่างนี้ เห็นร่างกายมันยืนไม่ใช่เรายืน แต่ไม่ใช่คิดเอานะ

หลวงพ่อพูดให้ฟังเนี่ยไม่ใช่พูดให้คิด แต่พูดนำร่องให้จิตของพวกเรา พวกเราเองมีหน้าที่ฝึกรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ อย่าเผลออย่าเพ่ง รู้สึกเรื่อยๆ รู้กายบ้างรู้ใจบ้าง รู้เล่นๆไป เดี๋ยววันหนึ่งจะเห็นเลย ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่เรายืนเดินนั่งนอน จิตที่สุขที่ทุกข์ที่ดีที่ชั่วไม่ใช่เราดีเราชั่วเราสุขเราทุกข์อะไร เห็นกายเห็นใจมันทำงาน

ที่พูดเนี่ยพูดนำร่องให้จิตมันฟัง มิใช่พูดให้พวกเราจำใส่สมองนะ จำใส่สมองไปแล้วกิเลสจะเอาไปกินหมดเลย พูดให้ฟังเล่นๆไปอย่างนั้นไม่ต้องซีเรียส ให้หัดมีสติรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ ดูมันทำงานไป ดูกายดูใจไป แล้วจิตที่มันเคยได้ยินธรรมะนำร่องไว้อย่างนี้ เดี๋ยววันหนึ่งมันจะเฉลียวมาเห็นเอง มันเฉลียวนะ ไม่ใช่ฉลาด มันเฉลียวมาเห็นเองว่า กายนี้ที่กำลังเคลื่อนไหวไม่ใช่เราหรอก จิตที่กำลังทำงานอยู่นี้ไม่ใช่เรา มันเห็นเองนะ

พวกเราก็มีหน้าที่รู้สึกตัว รู้กายรู้ใจ ไม่ลืมมันนาน ไม่เพ่งมันไว้ รู้สึกไป ส่วนธรรมะนี้หลวงพ่อก็พูดนำร่องให้จิตมันรู้ไว้นะ เดี๋ยววันหนึ่งมันจะเห็นด้วยตัวของเราเอง

เอ้า.. เชิญไปทานข้าว นิมนต์เลยครับ

*สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค
อ้างอิงจาก : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520418.mp3
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาแท้ๆ ต้องเห็นสันตติขาด หรือ ฆนะแตก

mp 3 (for download) : วิปัสสนาแท้ๆ ต้องเห็นสันตติขาด หรือ ฆนะแตก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: รู้กายรู้ใจแล้วต้องเห็นไตรลักษณ์ ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ อาศัยสัญญาลงไปหมายรู้ ดูลงที่กาย ในมุมอะไรที่เหมาะกับการดูกาย ในมุมของความเป็นทุกข์ กายนี้มีแต่ทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลานะ อย่าไปมองมุมของกายในแง่อนิจจัง ดูยาก เพราะอายุของกายมันยาวกว่าจิต กายมันอายุยืนกว่าจิต รูปอายุยืนกว่านาม

เพราะฉะนั้นดูความเป็นทุกข์ของมัน กายนี้มีแต่ทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา หายใจออกหายใจเข้าเต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่หายใจก็ทุกข์ ยืนเดินนั่งนอนเต็มไปด้วยความทุกข์ ดูไปเรื่อยๆ ทำไมต้องเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะมันมีความทุกข์บีบคั้นเรื่อยๆ อันนี้เป็นการหมายเข้าไปๆ ยังไม่ใช่ของจริงนะ

หรือมองในมุมของอนัตตา ร่างกายเป็นแค่วัตถุเป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นวัตถุ มันเป็นก้อนธาตุ มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก นี่ไปหมายเอา นี่เรียกอนัตสัญญา ไปหมายเอา อันนี้ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ วิปัสสนาแท้ๆไม่ได้เจตนาไปหมายเอา แต่เป็นการนำร่องให้จิตซึ่้งไม่ยอมเดินปัญญานั้นมันรู้จักการเดินปัญญา รู้จักมามองไตรลักษณ์ พอมันมองไตรลักษณ์เป็นแล้ว คราวเนี้ยมันจะเห็นรูปนามนั้นแสดงไตรลักษณ์โดยตัวของมันเอง ไม่ได้มีเจตนา ตรงนี้จะขึ้นวิปัสสนาละ จะเห็นรูปเกิดแล้วก็ดับไป เห็นนามเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นรูปแตกกระจายตัวออกไป นามแตกกระจายตัวออกไป ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนของรูปนามแตกออกไป เรียกว่าฆนะ ฆนะ ฆ.ระฆัง น.หนู ฆนะมันแตก

หรือเห็นความเกิดดับ เห็นจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นดับไป มีช่องว่างมาคั่น ดวงหนึ่งเกิดขึ้นดับไป มีช่องว่างมาคั่น อันนี้เรียกว่าสันตติมันขาด ตรงที่ขึ้นวิปัสสนาเนี่ย บางคนเห็นฆนะมันแตก ฆนะไม่ใช่ค.ควายนะ เป็นฆ. ระฆัง ฆนะ ฆ.ระฆัง น. หนู เห็นฆนะมันแตก เห็นสันตติมันขาด

อย่างบางคนภาวนาเห็นมั้ยขันธ์มันกระจายตัวไป ที่หลวงพ่อบอกขันธ์มันกระจายออกไป นั่นคือฆนะมันแตกแล้ว หรือบางคนเห็นว่ามันเกิดแล้วดับวับ แล้วมีช่องว่างมาคั่น เนี่ยสันตติมันขาด ถ้าเห็นอย่างนี้นะ จะรู้เลยว่าตัวตนจริงๆไม่มี

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๔
File: 510421.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

mp3 for download : สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้เราจะทำอย่างไรให้เราจะมีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาบริบูรณ์ ขึ้นมาได้นะ เราต้องหัดเจริญสตินะ ถ้าเจริญสติถูกต้อง ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเกิดขึ้นมา

สติที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดเนี่ย ต้องเป็นสติปัฏฐาน ความจริง ถ้าพูดตรงๆก็คือ สติธรรมดาเนี่ยทำให้มีศีลได้ สติธรรมดาทำให้มีสมาธิได้ แต่สติธรรมดาทำให้เกิดปัญญาไม่ได้ ต้องสติปัฏฐานถึงจะทำให้เกิดปัญญา

ยกตัวอย่าง เรามีสตินะ กิเลสเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้น เรารู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้นะ ศีลมันเกิดขึ้นเอง ยังไม่ทันจะเห็นความเป็นไตรลักษณ์เลย ยังไม่ได้เห็นว่า โลภ โกรธ หลง เป็นไตรลักษณ์เลยนะ แค่รู้ทันมัน มันดับไปเองแล้ว เพราะมีสติเมื่อไหร่นะ อกุศลจะดับทันที เมื่ออกุศลดับไปนะ อกุศลครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็ไม่ผิดศีล เห็นมั้ย แค่มีสติธรรมดานี่แหละ ก็ไม่ผิดศีลได้

ยกตัวอย่าง มันเกลียดคนนี้มากเลย เห็นแล้วเกลียดมากเลย มันเกิดรู้ทันว่าเกลียดขึ้นมานะ ยังไม่ทันจะเห็นว่าความเกลียดก็เป็นไตรลักษณ์ จิตที่ไปรู้ความเกลียดก็เป็นไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นน่ะ แค่มีสติขึ้นมาความเกลียดก็ดับไป ความเกลียดครอบงำจิตไม่ได้ ก็ไม่ฆ่าเขา ไม่ตีเขา ไม่ด่าเขา อะไรอย่างนี้ ศีลก็มีขึ้นมา

ไปเห็นของคนอื่น สวยๆงามๆ ใจมันอยากได้ เกิดรู้ทันว่าอยากได้ เนี่ยยังไม่ทันมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์เลยว่า ความอยากก็เป็นไตรลักษณ์ จิตที่รู้จิตที่มีความอยากขึ้นมา ก็เป็นไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้ สิ่งที่เราไปอยากเข้าก็เป็นไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นหรอก แค่มีสติขึ้นมานะ เห็นใจมันอยาก ความอยากก็ดับไปแล้ว

ทำไมมันดับได้เอง เพราะเมื่อไรมีสติเมื่อนั้นจิตเป็นกุศล จิตที่เป็นกุศล ไม่เกิดร่วมกับอกุศล อกุศลต้องดับไปเอง ไม่ต้องทำอะไร มันดับของมันเอง ตรงนี้ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนานะ ถึงขั้นมีสติรู้ทันก็ดับไป

หรือจิตใจของเราแส่ส่าย วิ่งซ้ายวิ่งขวาตลอดเวลา วิ่งร่อนเร่ไปเรื่อย เรามีสติรู้ทันนะ ใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา หรือไปกำหนด มีสติไปจับอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข จิตจะสงบ จิตของเราปกติร่อนเร่ตลอดเวลา หนีไปหนีมาๆ เรื่อย ทำไมมันหนีได้ล่ะ มันถูกอารมณ์มายั่ว เที่ยวหาความสุข เที่ยวหนีความทุกข์ไปเรื่อย เรารู้ทันๆนะ ใจมันจะตั้งขึ้นมา เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นใจที่วิ่งไปวิ่งมานะ รู้เฉยๆนะ ใจก็จะตั้ง เพราะคนที่รู้เนี่ย ไม่ได้วิ่ง คนที่วิ่งไม่ได้รู้ จิตดวงที่วิ่งนั้นวิ่งไปแล้ว จิตอีกดวงหนึ่งเป็นคนรู้ ก็แยกออกมา ตัวที่วิ่งก็ดับไป เกิดตัวที่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นมีสตินะใจก็ตั้งมั่น ใจก็สงบได้เอง ยังไม่ได้ขึ้นวิปัสสนาเลย

แต่จะมีสติที่จะใช้ทำวิปัสสนา เดินปัญญา เรียกว่าเจริญปัญญา ต้องเป็นสติปัฏฐาน สติอื่นๆใช้ไม่ได้ มีคนหนึ่งเขียนจดหมายมาเล่าให้หลวงพ่อฟัง เขียนมายาวมากเลย เขียนมายาวมาก ไม่เคยเจอใครเขียนจดหมายมายาวเท่านี้ พอๆกับหนังสือเล่มหนึ่งเล็กๆ อ่านซะเหนื่อยเลย ก็เป็นเรื่องคอยรู้ทันนะ แล้วก็คอยคิดพิจารณา ยกตัวอย่างเห็นร่างกายก็พิจารณาเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ อะไรอย่างนี้ อันนี้ยังคิดอยู่ ยังเจือด้วยการคิดอยู่ ตราบใดที่ยังเจือด้วยการคิดจะไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก

ต้องทำสติปัฏฐานให้เป็นนะ คอยรู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ แล้วก็รู้ความเป็นจริงของกายของใจ ตามดูมันไปอย่างที่มันเป็น นี่คือการเจริญสติปัฏฐานนะ เบื้องต้นคอยรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ อย่าไปเพ่งใส่มัน แค่รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ รู้สึกไปเรื่อยนะ พอเรารู้สึกบ่อยๆ รู้สึกไปเรื่อยนะ ทีแรกเรารู้สึกจะรู้สึกเป็นจุดๆ แต่ที่เรารู้สึกที่ละจุดๆ ทีละขณะๆ เนี่ย พอมากๆเข้านะ มันจะเริ่มเห็นแล้ว ขณะนี้กับอีกขณะหนึ่ง มันเริ่มไม่เหมือนกัน มันจะเริ่มเห็นสภาวะเนี่ยมันเปลี่ยนๆๆไปเรื่อย

ยกตัวอย่างร่างกายนะ อยู่ตรงนี้ๆๆๆ มันก็เปลี่ยน หายใจออก หายใจเข้า เนี่ยมันเปลี่ยนนะ จิตก็เหมือนกัน จิตมันก็ขยับ ปั๊บๆๆๆ มันเปลี่ยนไปเรื่อย

ยกตัวอย่างความโกรธเกิดขึ้นนะ เห็น พุ่งขึ้นมาปึ๊บๆๆๆ ถึงหน้าแล้ว เรียกว่าเลือดขึ้นหน้า นี่โกรธแรง พอไปเห็น เดี๋ยวมันก็ลง ปุ๊บๆๆๆ เดี๋ยวก็ขึ้นอีก พอคิดอีก ขึ้นอีก พอไปรู้มัน มันก็ลง เราเห็น โอ๊ะ! มันเปลี่ยนแปลงแฮะ มันขึ้นๆลงๆได้เองแฮะ การที่เห็นมันเปลี่ยนแปลงเรียกว่าเห็นอนิจจังนะ เห็นเลยมันไม่คงทนอยู่ที่ใดที่หนึ่งนะ(ไม่คงทนอยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่งนะ-ผู้ถอด) เรียกว่าทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ เห็นว่ามันเป็นของมันเอง ถ้าเราคิดขึ้นมานะ โทสะก็เกิด พอไปรู้ทัน ไม่ได้คิดนะแต่ว่ารู้ทัน โทสะก็ดับ พอมีสติโทสะก็ดับ พอมีพยาบาทวิตก*โทสะก็เกิด เห็นมั้ย มันเป็นเองมัน ไม่ใช่เรา

นี่เราเดินปัญญา แต่ไม่ใช่คิดนะ ที่พูดให้ฟังเนี่ย ไปรู้เอา ทีแรกเราจะรู้เป็นจุดๆอย่างนี้ แต่รู้บ่อยๆแล้วเราจะเห็นว่ามันเปลี่ยน ไม่ใช่ดูไม่ให้คลาดสายตานะ บางคนเข้าใจผิด คิดว่าต้องจ้องไม่ให้คลาดสายตา เช่นดูพัดเนี่ย จ้องๆๆ อย่างนี้ไม่ใช่หรอกนะ

เวลาที่สติระลึก มันจะรู้ระลึกตรงนี้ได้แว้บหนึ่ง แล้วมันดับไป มันมาระลึกตรงนี้อีกแว้บหนึ่งแล้วมันดับ ระลึกตรงนี้อีกแว้บแล้วมันดับ มันจะเห็นน่ะว่ารูปแต่ละรูปมันเกิดดับได้ นามธรรมแต่ละอันก็เกิดดับวับๆๆๆไป อย่างนี้เรียกว่าเราเจริญปัญญาแล้ว มีปัญญา เห็นอะไร เห็นไตรลักษณ์

ทำสติปัฏฐาน มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ใจตั้งมั่นเป็นคนดู เราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจ เราเห็นปัจจุบันนะ เป็นขณะๆไป พอเห็นหลายๆอันนะ ต่อๆกันไปเรื่อยนะ ตามรู้เนืองๆ ท่านถึงบอกให้รู้เนืองๆ ไม่ใช่รู้ครั้งเดียว ถ้ารู้ครั้งเดียวไม่พอนะ ต้องรู้เนืองๆ

รู้เนืองๆไม่ใช่ว่า วันนี้โกรธแล้วรู้ พรุ่งนี้โกรธรู้อีก อย่างนั้นไม่ใช่ ถ้าความโกรธผุดขึ้นมาก็รู้ไปๆ เห็นมันดับไปนะ เดี๋ยวตัวอื่นเกิดขึ้นมาแล้วก็รู้..เห็นมันดับไป นี่รู้เนืองๆ แต่ไม่ได้จ้อง ถ้าจ้องเนี่ยรู้แบบไม่ให้คลาดสายตานะ ผิดนะ

*พยาบาทวิตก ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น, ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สิ่งทั้งหลายมีอยู่ก็เพราะเหตุ ถ้าเหตุดับมันก็ดับไป

mp3 for download : สิ่งทั้งหลายมีอยู่ก็เพราะเหตุ ถ้าเหตุดับมันก็ดับไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สิ่งทั้งหลายมีอยู่ก็เพราะเหตุ ถ้าเหตุดับมันก็ดับไป

สิ่งทั้งหลายมีอยู่ก็เพราะเหตุ ถ้าเหตุดับมันก็ดับไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : หรือพวกเราสังเกตให้ดี ช่วงไหนราคะมากนะ อีกช่วงหนึ่งโทสะจะแรง ลองดูสิจริงหรือเปล่า? มันจะเหวี่ยงเหมือนลูกตุ้นนาฬิกานะ ถ้าเหวี่ยงซ้ายแรงก็เหวี่ยงขวาแรง กลับข้างแรง นี่มันคือความไม่แน่นอน แปรปรวน

การที่สิ่งทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปนี่ เราบังคับไม่ได้จริงนะ คำว่าบังคับไม่ได้คือคำว่า “อนัตตา” การที่ทุกอย่างมันเคลื่อนไหว มันเปลี่ยนแปลงนะ มันเป็น “อนิจจัง” มันทนอยู่กับที่ไม่ได้เรียกว่า “ทุกขัง” มันถูกบีบคั้นอยู่กับที่ไม่ได้ แล้วมันบังคับไม่ได้

สิ่งทั้งหลายนะ จะมีอยู่ก็เพราะเหตุ ถ้าเหตุมันดับไป มันก็ดับไป สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับตัวมันก็ดับ เป็นอย่างนี้ตลอด ไม่มีใครบังคับได้ นี้เรียกว่าอนัตตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
ลำดับที่ ๗
File: 530606A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ผู้ใดเห็นว่าจิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ

mp3 for download : ผู้ใดเห็นว่าจิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ผู้ใดเห็นว่าจิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ

ผู้ใดเห็นว่าจิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอย่างไรจะเห็นว่าจิตไม่ใช่เรา ต้องดูให้เห็นว่าจิตเองก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตเองก็เกิดดับได้นะ

วิธีดูจิตที่เกิดดับนี้  จิตไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน ดูมันตรงๆจะไม่เห็นอะไร เราต้องดูอ้อมๆ ดูผ่านสิ่งอื่นเข้ามา จิตไม่ได้เกิดลอยๆ จิตไม่ได้เกิดคนเดียว จิตต้องเกิดร่วมกับสิ่งอื่น จิตเกิดร่วมกับอะไร? จิตเกิดร่วมกับเจตสิก ความรู้สึกที่ประกอบจิต จิตเกิดร่วมกับกับอะไร? จิตเกิดร่วมกับอายตนะได้ เกิดที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจได้

เพราะฉะนั้นเราสังเกตความมีอยู่ ความเกิดดับของจิต ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไปของจิต สังเกตผ่านเจตสิก และสังเกตผ่านอายตนะ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไปดูจิตตรงๆจะไม่มีให้เห็นเลย ไม่มีอะไรเลย ถ้าอยู่ๆเรานึกอยากดูจิต แล้วก็ดูปุ๊บลงไป เราจะเอาจิตไปดู เราไม่ได้ดูจิต ดูไม่ถึงจิตหรอก

หรือดูไปๆ ก็จะเห็นว่า ว่างๆ ยกตัวอย่างไปนั่งจ้องไว้อย่างนี้นะ นั่งจ้องไว้ ก็จะว่างๆ คิดว่าว่างๆเป็นจิต ว่างๆไม่ใช่จิต ว่างเป็นเจตสิก เป็นสังขารชนิดหนึ่ง ชื่อ “อากาสานัญจายตนะ” ไม่ใช่จิตหรอก

เพราะฉะนั้นถ้าอยากเห็นจิตจริงๆ อย่าเที่ยวหาจิต หลวงปู่ดูลย์เคยสอนหลวงพ่อว่า “อย่าใช้จิตแสวงหาจิต อีกกัปป์หนึ่งก็ไม่เจอ” สอนอย่างนี้นะ หาอีกกัปป์หนึ่งก็ไม่เจอ ไม่ต้องหามันนะ ให้เรียนรู้จากเจตสิก

ตอนที่หลวงปู่มั่นสอนหลวงปู่ดูลย์นะ ก็สอนอย่างนี้นะ หลวงปู่มั่นสอนหลวงปู่ดูลย์บอกว่า สัพเพ สังขารา เห็นไหมให้เรียนที่สังขารนะ “สัพเพ สังขารา สัพพะ สัญญา อนัตตา* สังขารทั้งหลาย สัญญาทั้งหลาย ไม่เที่ยง สังขารทั้งหลาย สัญญาทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา ท่านสอนอย่างนี้ เพราะฉะนั้นหลวงปู่ดูลย์มาดูจิต เริ่มจากอะไร ดูสังขารนะ ไม่ใช่ดูจิต

จิตสุขก็รู้ จิตทุกข์ก็รู้ ความสุขเกิดขึ้น ความทุกข์เกิดขึ้น ทีแรกยังไม่รู้สึกว่าความสุขความทุกข์เกิดขึ้น แต่จะรู้สึกว่ามีเราสุขเราทุกข์นะ ต่อมาค่อยๆสังเกต อ๋อ จิตมันมีความสุขขึ้นมา จิตมันมีความทุกข์ขึ้นมา จิตมันโลภ จิตมันโกรธ จิตมันหลงขึ้นมา ถ้ายังดูไม่เป็นก็จะรู้สึกว่า จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตสุข จิตทุกข์

ถ้าค่อยๆดูนะ สติปัญญาแก่กล้าขึ้น จะเห็นว่า จิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง ความสุขความทุกข์ก็อยู่ส่วนหนึ่ง ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ส่วนหนึ่ง สามารถแยกเจตสิกออกจากจิตได้นะ เห็นไหม เราเรียนรู้จิต ผ่านการดูเจตสิกนะ แล้วสามารถแยกมันออกไปได้ ในที่สุดจะรู้ ว่าธรรมชาติรู้นี้ เป็นอย่างไร

ธรรมชาติรู้นี้ ไม่มีอะไร แต่เป็นแต่ธรรมชาติรู้ นี่ค่อยแยก แต่ว่าไม่ใช่เอาตัวนี้นะ ยังต้องเห็นว่าตัวนี้เองตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์อีกทีหนึ่ง ถ้ายังเห็นว่าตัวรู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิเลย มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่งชื่อ หลวงปู่หล้า อยู่ภูจ้อก้อ ที่มุกดาหาร บอกว่าใครเห็นตัวผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฎฐิ จิตเที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ สอนขนาดนี้นะ สอนตรงพระอภิธรรมเปี๊ยบเลย จิตก็เกิดดับ

เพราะฉะนั้นเมื่อเราเห็นตัวผู้รู้แล้ว แยกเอาเจตสิกออกไปแล้ว จะเจอตัวผู้รู้นะ บางทีก็อาศัยการรู้ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ แล้วเห็นการเกิดดับของจิตได้นะ ค่อยๆฝึกไป หมดเวลาซะแล้ว เทศน์ยังไม่จบเลย วันนี้ เอ้า… พวกเรา ไปทานข้าว…

*หมายเหตุ เคยเห็นปรากฎในที่บางแห่งว่า “สัพเพสังขารา อนิจจา สัพพะสัญญา อนัตตา” – ผู้ถอดคลิปส์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
ลำดับที่ ๗
File: 530606A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔๖ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 3123