Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

วิธีฝึกดูความคิด

mp3 (for download) : วิธีฝึกดูความคิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ขอโอกาสนมัสการถามเจ้าค่ะ เมื่อกี้หลวงพ่อบอกว่า รู้ว่าจิตคิดจะเห็นต้นทางของ…

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อเทียนบอก หลวงพ่อจำท่านมา

โยม: เจ้าค่ะ รู้นี่คือ ระหว่างตรงนั้น รู้ช่วงว่างระหว่างอารมณ์ หรือว่ารู้ขณะที่มันอยู่ใน…

หลวงพ่อปราโมทย์: คืออย่างนี้ จิตนี่นะแอบไปคิด จิตตอนแอบไปคิดนี่ยังรู้ไม่ได้ พอมันคิดไปแล้ว สมมติว่าคิดไปหนึ่งนาที หรือว่าห้านาที หรือสิบวินาที คิดอยู่ ยังไม่ทันเลิกนะ สติเกิดระลึกได้ว่ามันไปคิดอยู่ เป็นการตามระลึก ตรงนี้แหละเรียกว่ารู้ ตรงนี้นะ มันจะเป็นการตามรู้ เช่น เราเผลอมาห้านาทีแล้ว คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ไป เกิดระลึกได้ว่า เอ้ย หลงไปคิดอยู่นี่ ขณะนี้เรียกว่ารู้ จิตจะตื่นขึ้นชั่วขณะนะ สั้นๆ ตื่นแวบเดียว เดี๋ยวหนีไปคิดใหม่ หนีไปคิดใหม่รู้ใหม่ มันก็จะเป็นเผลอไปแล้วก็รู้ เผลอไป เผลอยาวๆ อย่างนี้ แล้วก็รู้เล็กๆ เผลอยาวๆ รู้เล็กๆ พอรู้ถี่ขึ้นๆ มันเหมือนจะรู้ต่อเนื่อง จริงๆ ไม่ได้ต่อเนื่องหรอก มันรู้ถี่ๆ ความเผลอนี่จะแคบลงๆ นะ ความรู้สึกตัวบ่อยขึ้นๆ แล้วก็เราไม่ได้ฝึกเพื่อจะให้รู้สึกตัวตลอดเวลาด้วย เราฝึกเพื่อ ประเดี๋ยวก็เผลอ ประเดี๋ยวก็รู้ ประเดี๋ยวก็เผลอ ประเดี๋ยวก็รู้ ฝึกเอาแค่นี้แหละ เพื่อจะได้เห็นว่า จิตที่เผลอนะ เราก็ห้ามมันไม่ได้ จิตที่รู้สึกตัว สั่งให้รู้สึกก็ไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไปนะ รักษาไว้ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จิตที่เผลอที่เป็นอกุศล กับจิตที่รู้สึกตัวที่เป็นกุศลนี่ เกิดแล้วดับเหมือนๆ กัน ไม่ยึดทั้งคู่เลย

โยม: ขณะที่รู้ว่า ลักษณะที่จิตเขาไปคิดนี่ แล้วก็ดูเขาอยู่นี่ แล้วบางครั้งเขาก็หยุดไป อย่างนี้จะถูกไหมเจ้าคะ

หลวงพ่อ: เขาหยุดคิด เขาหยุดคิดทันทีเลย เพราะคิดเมือไรก็ไม่รู้นะ รู้มันก็ไม่คิด

โยม: เจ้าค่ะ

CD สวนสันติธรรม 19

500302

41.56 – 43.54

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อนุสัย และบารมี

mp 3 (for download) : อนุสัย และบารมี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ภาษามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะ แต่กิเลสคนมันเหมือนเดิม   กี่ยุคกี่สมัยนะกิเลสมันก็ยังหน้าตาเหมือนๆเดิมเลยก็มีแค่ ราคะ,โทสะ,โมหะ มีอยู่สามตัวนี้เท่านั้นแหละ หมุนเวียนกันอยู่ครองจิตใจของเราอยู่ตลอดเวลา   ทำอย่างไรเราจึงจะรู้ทัน  ถ้ารู้ไม่ทันกิเลสครอบงำใจเรา เราจะหาความสุขไม่ได้  ถ้าเรารู้เท่าทันกิเลสที่หมุนเวียนเข้ามาอยู่ในใจ กิเลสครอบงำใจไม่ได้จิตใจก็มีความสุข

กิเลสหมุนเวียนเข้ามาอยู่ในใจได้อย่างไร ห้ามมันได้ไหม?ห้ามมันไม่ได้  เพราะอะไรใจเพราะใจนั่นแหละเป็นคนปรุงกิเลสขึ้นมา ใจของเราสร้างกิเลสขึ้นมานะ   เราหัดภาวนาดูจิตดูใจของเราไปจนถึงช่วงหนึ่งเราจะเห็นเลย เวลาตามองเห็นรูปใจเราคิดว่าไอ้นี่ไม่ดี นี่คือศัตรูเรา โทสะก็เกิดเห็นไหม เราคิดขึ้นมาเอง ใจมันปรุงกิเลสขึ้นมาเอง มันปรุงโทสะขึ้นมา หรือเรามองเห็นสาวมันสวยจังเลย เราก็คิดนะว่ามันสวยจังเลย ใจมันก็ปรุงราคะขึ้นมา ตามหลังความคิดของเราขึ้นมาเอง

พระพุทธเจ้าจึงเคยตอบคำถาม มีคนถามท่านว่าพระองค์มีกามราคะไหม ท่านบอกว่าท่านไม่มีถามราคะเพราะท่านไม่มีกามวิตก ท่านไม่คิด ทำนองเดียวกันถ้าถามท่านว่าจะมีพยาบาทโทสะไหม ท่านไม่มีเพราะท่านไม่มีพยาบาทวิตก ตรงที่ใจเราหลงไปคิดมันมีโมหะ พอหลงไปคิดแล้วมันก็เกิดราคะบ้างเกิดโทสะขึ้นมาบ้าง ใจเราเองปรุงมันขึ้นมา พอปรุงมันขึ้นมาแล้ว ราคะ,โทสะ,โมหะ ทั้งหลายนั่นเองกลับมาย้อมใจเรา กลับมาปรุงใจเรา เช่นใจเราปรุงโทสะขึ้นมา โทสะมาครอบงำเราทำให้เกิดพฤติกรรมทางใจขึ้นก่อน เช่นอยากด่าเขา ก็เกิดพฤติกรรมทางวาจาไปด่าเขา เกิดพฤติกรรมทางใจอยากชกเขา ก็เกิดพฤติกรรมทางกายไปชกเขา เกิดการกระทำขึ้นมา เพราะอำนาจกิเลสมันมาครอบงำเอง แปลกดีไหมเราสร้างกิเลสขึ้นมาเองแล้วก็ถูกมันครอบงำซะเอง น่าสงสารน่าสลดสังเวชใจที่สุด

ทำอย่างไรจึงจะไม่ตกเป็นทาสของมัน   ขั้นแรกเลยจะไม่ให้ปรุงไม่ได้ เพราะเรามีอนุสัย เราเคยปรุงมาจนชำนาญ อนุสัยเป็นความเคยชินฝ่ายชั่ว เราเคยถูกกิเลสครอบงำมานาน จนใจเราคุ้นเคยกับความชั่ว เพราะงั้นมันมีอนุสัยสะสมอยูในจิตใต้สำนึกของเรา จริงๆมันถูกเก็บไว้ในภวังคจิต ภาษาสมัยใหม่ชอบไปเรียนจิตใต้สำนึก เพราะตอนนั้นไม่ขึ้นมาวิถีมาสำนึกของมัน พออนุโลมนะ   พอ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ กระทบอารมณ์แล้ว อนุสัยทำงาน มันกระทบอารมณ์ ซึ่งจิตใจมันวิเคาะห์แล้วว่านี่อารมณ์ดี ราคะก็ผุดขึ้นมาผุดขึ้นมาจากราคานุสัย ราคานุสัยที่เป็นราคะสะสมมานาน ชำนาญที่จะมีราคะราคะก็เกิด   กระทบทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ จิตมันพิจารณาแล้วว่านี่ไม่ดี อนุสัยคือปฏิฆานุสัย อนุสัยคือความขี้โมโหก็ผุดขึ้นมากลายเป็นโทสะ   พอกิเลสผุดขึ้นมาแล้วมันครอบงำจิต จิตทำงานตามอำนาจบงการของกิเลส กิเลสจะยิ่งมีแรง พอกิเลสตัวนั้นดับไปมันไม่ได้ดับไปเปล่าๆมันได้เซฟข้อมูลลงในภวังคจิตอีก ตรงที่จิตขึ้นมารับอารมณ์ ตรงที่จิตขึ้นมาเสพย์อารมณ์อีก ขึ้นมากระทำกรรมทั้งหลาย จิตกลุ่มนี้เรียกว่า ชวนจิต(อ่านว่า ชะ-วะ-นะ-จิด) พอมันทำกรรมตามสมควรแล้ว แล้วมันเริ่มเซฟตัวเองตัวนี้เรียกว่า ตทาลัมพนจิต (อ่านว่า ตะ-ทา-ลัม-พะ-นะ-จิด)   เราไม่จำเป็นต้องจำชื่อนะ มันคล้ายๆตอนเราปิดคอมพิวเตอร์ตอน shutdown ตอน turn off   เห็นไหมมันจะทำงานอยู่ช่วงหนึ่งก่อนที่มันจะปิดตัวเองลงไป จิตก็ทำแบบนั้นพอจิตมันขึ้นวิถีขึ้นมาทำงานขึ้นมาเสพย์อารมณ์เต็มที่แล้วมันจะเริ่มสะสมเริ่มสรุปต่างๆสะสมเอาไว้ สะสมเอาไว้เป็นวิบาก    วิบากนั้นถ้าเป็นฝ่ายเคยชินทำชั่วเรียกว่าอนุสัย หรือถ้าเป็นความเคยชินทางดีก็เรียกว่าบารมี มันเก็บหมดนะทั้งความดีความชั่ว สะสมไปเรื่อยๆ ต่อไปเวลามันกระทบอารมณ์ใหม่ ถ้ามีบารมีมากคุณงามความดีมันทำงานขึ้นมา ถ้าอนุสัยมันรุนแรงอนุสัยมันก็จะทำงานขึ้นมา   ทำไมบางคนขี้โมโหบ่อยๆ ทำไมบางคนถูกด่าเท่าๆกันมันเกิดสงสารคนที่มาด่าเราเพราะมันสะสมมาไม่เหมือนกัน

เราเป็นหรือเราทำอย่างที่เราทำของเราเอง ไม่มีใครมาบงการเรา   จิตใจของเราเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ จิตเป็นอนัตตานะ แต่จิตเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้   เราสั่งให้จิตดีไม่ได้ แต่เราฝึกฝนให้จิตดีได้ เราห้ามจิตเราไม่ให้ชั่วไม่ได้ แต่เราฝึกตัวเองได้เราฝึกจิตได้   วิธีฝึกจิตที่จะไม่ให้หลงไปตามความชั่ว วิธีฝึกจิตที่จะให้มันมีคุณงามความดี ก็คือการมีสตินั่นเอง ทันทีที่เรามีสติอกุศลที่มีอยู่มันจะดับทันที ทันทีที่เรามีสติอยู่อกุศลใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ในขณะนั้น ทันทีที่เรามีสติกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะสตินั่นแหละเป็นตัวกุศล ทันทีที่เรามีสตินะ สติเกิดแล้วเกิดอีกเกิดแล้วเกิดอีก จิตจะคุ้นเคยที่จะมีสติคุ้นเคยที่จะรู้สึกตัว มันจะรู้สึกตัวบ่อย   พวกเราหัดใหม่ๆสังเกตไหมว่านานมากเลยกว่าจะรู้สึกตัวได้ครั้งหนึ่ง เพราะสติไม่คุ้นเคยที่จะเกิด ต่อมาเราฝึกไปเรื่อยฝึกไปเรื่อยนะสติจะเกิดบ่อย ขยับตัวแว้บสติก็เกิด เวทนาเกิดแว้บสติก็เกิด กุศล,อกุศลเกิดแว้บสติก็เกิด จิตเคลื่อนไหวปั๊บสติก็เกิด เพราะอะไรเพราะมันคุ้นเคย งั้นอยู่ที่เราสร้างความเคยชินที่ดีๆขึ้นมานะ   พยายามรู้สึกตัวอย่าเอาแต่หลงอย่างเดียว หลงมานานแล้ว หลงมานานแล้วไม่เห็นว่ามันจะมีความสุขแท้จริงเลย เราแต่ละคนปรารถนาความสุขด้วยกันทุกคน ตะเกียกตะกายหาความสุขด้วยกันทุกคน แต่ความสุขเหมือนภาพลวงตา ความสุขมันปรากฏอยู่ข้างหน้าเหมือนๆจะหยิบเอาไว้ได้ แต่พอเอื้อมมือไปหยิบมันก็เลื่อนหนีไปแล้ว มันไปลอยอยู่ข้างหน้าหลอกให้เราวิ่งต่อไปอีก งั้นเราเที่ยวหาความสุขไปเรื่อยๆ โดยที่เราไร้ทิศทาง   เราต้องฝึกสตินะฝึกสติ รู้ทันลงไป ถ้ากิเลสเกิดเรามีสติรู้ทันกิเลสดับทันทีเลย จิตใจก็มีความสุขทันทีเลย ง่ายขนาดนั้น

ศาลาลุงชิน
CD: 24
File: 510921.mp3
Time: 2.16 – 9.36

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้ามทะเลทั้งสี่ (โอฆะ) แล้วจะถึงจิตหนึ่ง

mp3 (for download) : ข้ามทะเลทั้งสี่ (โอฆะ) แล้วจะถึงจิตหนึ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: วันก่อนโน้น หลวงพ่อ ไม่ค่อยได้ฟังธรรมะที่สะใจมานานแล้ว ธรรมะที่สะใจครั้งสุดท้ายที่ได้ยินนะ คือ หลวงพ่อคำเขียน ไปหาท่าน ไปเยี่ยม ท่านไม่สบาย เมื่อเดือนพฤศจิกาฯ

ท่านบอกว่า โอ๊ย.. ผมไม่มีอะไรแล้ว ผมอยู่กับความไม่มีไม่เป็นอะไรหรอก อู๊ยสะใจ สะใจจริงๆ จริงๆเราอยู่กับความไม่มีไม่เป็น แต่ความสำคัญมั่นหมายของเราเพราะความเห็นผิดนั่นนะ ไปสำคัญว่ามันมีมันเป็นขึ้นมา มันมีเรามีเขาขึ้นมา

กว่าเราจะข้ามทิฎฐิ ที่ว่ามันมีเรามีเขาขึ้นมาได้นี้นะ ข้ามยาก อันนี้เป็นทะเลหรือเป็นมหาสมุทรอันแรกนะ ของผู้ปฎิบัติ เรียกว่าโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำห้วงมหาสมุทรอะไรอย่างนี้ มหาสมุทรในโลกมันมีกี่อัน จำไม่ได้แล้ว เคยเรียน แต่มหาสมุทรในการปฏิบัตินี้มันมี ๔ อันนะ ต้องข้ามให้ได้ให้หมดเลย มีทะเลอยู่ ๔ ทะเล ถ้าข้ามได้หมดก็จะเอาตัวรอดได้

มหาสมุทรอันแรกเลย คือ ทิฎฐิ ทะเลคือทิฎฐิ คือความเห็นผิดของเรานี้แหละ เราไปเห็นผิดในของที่ไม่มีตัวมีตน ว่ามีตัวมีตนขึ้นมา เวลาเรามองโลกแล้วสะดุดปั๊บขึ้นมาเลย เกิดเราเกิดเขา เกิดสัตว์เกิดคน เกิดต้นไม้ เกิดสิ่งโน้น เกิดสิ่งนี้ โลกนี้ลุ่มๆดอนๆ

ในทางมหายานนะเคยมีสูตรอยู่สูตรหนึ่ง พระสารีบุตร ไปบอกพระพุทธเจ้าบอกว่า พระองค์ สร้างบารมีไม่ค่อยดีเท่าไร พุทธเกษตรของ.. หรือโลกของพระองค์ดูลุ่มๆดอนๆ พวกพระโพธิสัตว์ก็เถียง บอกว่าไม่จริงหรอก พุทธเกษตรของพระพุทธเจ้าเนี่ยเรียบเลย ราบเรียบไปหมดเลย ไม่มีความเป็นลุ่มเป็นดอน ไม่มีอะไรสะดุดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนได้เลย มันว่างเปล่า แต่ไม่ใช่ว่างแบบไม่มีอะไร

จริงๆนี่ก็แต่งเกินไป พระสารีบุตรไม่ได้โง่ขนาดนั้นหรอก สาวกรุ่นหลังๆ ภาวนาไปยังเห็นโลกว่างได้เลย ทำไมพระสารีบุตรท่านจะไม่เห็น

มิจฉาทิฎฐิ เป็นสิ่งแรกที่พวกเราต้องภาวนา แล้วก็ข้ามมันให้ได้ คือเราสำคัญมั่นหมายว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา เราไปแบ่งแยกสมบัติของโลกส่วนหนึ่งออกมาเป็นตัวเราขึ้นมา ส่วนที่เหลือมันก็เป็นคนอื่น เป็นสิ่งอื่นๆ เป็นสิ่งที่แวดล้อมอยู่ ไปแบ่งตัวเองออกมา สำคัญมั่นหมายว่ามี ว่าเป็น เป็นโน่นเป็นนี่ด้วยนะ เป็นใหญ่เป็นโต เป็นคนดีเป็นคนเลว เป็นพวกทุศีลเป็นพวกมีศีล แบ่งตัวเองออกไปจากธรรมชาติ ซึ่งไม่มีอะไรอยู่แล้ว เสมอภาคกันทั้งหมด

พอมีตัวเราขึ้นมาก็มีมิจฉาทิฎฐิต่อไปอีก ถ้าตัวเราตายไป เราไปเกิดอีก ตัวเราเที่ยง จิตเรานี้เที่ยง ร่างกายแตกสลายไป จิตนี้ยังไม่เกิดได้อีก นี่ก็มิจฉาทิฎฐิแขนงหนึ่ง เรียกว่า สัสตทิฎฐิ อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตัวเรามีอยู่ แล้วตายไปก็หายไปเลย นี่ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอีก เรียกว่า อุจเฉทิกทิฎฐิ รากเหง้าของมันก็เริ่มมาจากความมีตัวเรานี่แหละ มีตัวเราแล้วก็มีตัวเราอย่างเที่ยงแท้ถาวร หรือมีตัวเราชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็หายสาบสูญไป

ทะเลทิฎฐินี้จะข้ามได้ต้องเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ๔ ทะเลนี้ พวกเรายังข้ามไม่ได้สักทะเลหนึ่งเลยนะ ข้ามได้แค่ริมทะเลอะไรอย่างนี้ เที่ยวๆไปอย่างนี้ จะข้ามทิฎฐิตัวนี้ได้ต้องมีสติ มีปัญญา มีสัมมาสมาธิ มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี่ มีใจที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ สักว่ารู้ สักว่าดู เวลาดูกายจะรู้สึกเหมือนว่ากายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เวลาดูเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ มันจะรู้สึกว่าเวทนาอยู่ส่วนหนึ่งจิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างนะ ไม่ ไม่เป็นอันเดียวกัน มีช่องว่างมาคั่น

เวลาดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล จะเห็นเลย อกุศลหรือกุศลทั้งหลายนะ กับจิตเนี่ยคนละอันกัน มีช่องว่างมาคั่น พวกเราดูออกแล้วใช่มั้ย เนี่ยเราดูไปเรื่อยนะ ใจเราตั้งมั่นจะสักว่ารู้สักว่าดูได้ เสร็จแล้วปัญญามันถึงจะเกิด มันจะเห็นเลย ทุกสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้าล้วนแต่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับไป บังคับไม่ได้สักอันเดียว ดูมาจนกระทั่งถึงจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูนี่เอง ก็เห็นมันเกิดดับ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เป็นผู้รู้บ้าง เป็นผู้หลงบ้าง ดูไปดูมาในขันธ์ ๕ นี้ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่มีตัวเราที่แท้จริง ให้มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี้นะ ถึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้

ข้ามทะเลตัวแรกได้ เหลืออีก ๓ ทะเล ข้ามยากนะ ทะเลหรือโอฆะตัวต่อไปคือกาม ข้ามยาก พวกเรา เห็นแต่กามคุณ เราไม่เห็นกามโทษ ทำให้เราข้ามไม่ได้ กามคืออะไร กามก็คืออารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ อย่างเราเห็นรูปที่สวยๆอย่างนี้ รูปนั้นเรียกว่ากาม หูเราได้ยินเสียงที่เพราะๆ ถูกอกถูกใจ เรียกว่ากาม กลิ่นหอมๆ ถูกอกถูกใจ นี่เขาเรียกว่ากาม รสอร่อยๆก็เรียกว่ากาม สัมผัสที่นุ่มนวล อบอุ่น สบาย อะไรอย่างนี้ ก็เรียกว่ากาม การคิดคำนึงถึงอารมณ์เหล่านี้ เป็นกามทางใจ เรียกว่า กามธรรม

พวกเราเกิดมา เราก็แสวงหาแต่อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจมาตลอดชีวิต เราเห็นว่าถ้าได้อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจได้แล้วเราจะมีความสุข งั้นเราเห็นว่ากามเนี่ยนำความสุขมาให้  ยากนักยากหนานะจะกล้าข้ามพ้นอำนาจของกามได้ ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีข้ามไม่ได้ ทีนี้ทำอย่างไรถึงจะข้ามพ้นทะเลอันที่สองคือทะเลกาม เคยได้ยินใช่มั้ย คนชอบพูดทะเลกาม แต่ไม่มีคนพูดทะเลทิฎฐิใช่มั้ย เพราะอะไร เพราะคนพูดเนี่ยยังมีทิฎฐิอยู่ ก็พูดไปอย่างนั้นแหละ ทะเลกาม ข้ามยาก ข้ามยาก

ต้องรู้ลงมาอีก รู้ลงมาในกายในใจนี้น่ะนะมากๆ จนวันใดเห็นนะว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ มันจะหมดความเพลิดเพลินยินดีพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลาย หมดความติดอกติดใจในกามคุณทั้งหลาย มันหมดของมันเองนะ ถ้ามันเห็นตัวนี้.. อย่างสังเกตมั้ย คนไหนเจ้าชู้มากๆนะ เกิดเจ็บหนักใกล้จะตายนะ หรือตัวเป็นแผลทั้งตัวแล้ว อะไรมาถูกนิดนึงก็แสบก็ปวดเนี่ย ให้มันไปกอดนางงามจักรวาลมันก็ไม่เอานะ เพราะมันไม่มีความสุขแล้ว

ถ้าเมื่อไรเราเห็นกายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆนะ มันจะไม่สนใจกามแล้ว จะไม่สนใจกามแล้ว ตาเห็นรูปจะสักว่าเห็นเลย ไม่ยินดีไม่ยินร้ายกับมันแล้ว หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส นะ จิตใจจะไม่ยินดียินร้าย มันไม่รักกายก็จะไม่รักกาม

ทะเลทิฏฐิเหมือนทะเลที่กว้างนะ ถ้าเทียบ เหมือนทะเลที่กว้างขวางไร้ขอบไร้เขต หลงเข้าไปแล้วไม่รู้จะไปทางไหนเลย ไม่รู้เหนือรู้ใต้ เพราะฉะนั้นปุถุชนทั้งหลาย หลงอยู่ในทะเลที่ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน มีพระพุทธเจ้ามาบอกทาง ทางนี้.. ทางนี้.. นะ คนที่รู้ทางเรียกว่าพระโสดาบัน รู้แล้ว ไปทางนี้แหละ ปลอดภัย งั้นจะข้ามทะเลทิฏฐิได้นะ ยาก เป็นทะเลที่กว้าง ไร้ขอบไร้เขต ดูอะไรดูไม่ออกหรอก ดูยาก แต่ข้ามได้ด้วยการที่เห็นลงมาในกายในใจว่าไม่ใช่เรา ทะเลกามนี้จะข้ามได้ เมื่อหมดความยึดถือกาย หมดความยึดถือในกาย

ถัดจากนั้นเหลืออีกสองทะเลนะ คือทะเลของภพ และทะเลของอวิชา เรียกว่า ภวะโอฆะ กับ อวิชาโอฆะ โอฆะคือภพ โอฆะคืออวิชา ห้วงน้ำ

ภพคืออะไร ภพคือการทำงานของจิต สังเกตมั้ยพวกเราภาวนา เห็นมั้ย จิตทำงานทั้งวันทั้งคืน หมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืน เห็นมั้ยจิตเดี๋ยวก็วิ่งพล่านๆไปทางตา เดี๋ยววิ่งพล่านๆไปทางหู วิ่งพล่าน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักนะ

จิตนี้สร้างภพสร้างชาติหมุนติ้วๆอยู่ภายในตลอดวันตลอดคืน จะข้ามมันไม่ใช่ง่ายนะ แค่เห็นมันยังยากเลย ภาวนากว่าจะเห็นจิตเข้าไปทำงานตรงนี้ยังยากแสนเข็ญเลย รู้สึกมั้ย นะ จะข้ามทะเลของภพได้นะ ภพนี้เหมือนทะเลที่น้ำเชี่ยว เพราะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืนนะ เดี๋ยวซัดไปทางโน้นซัดไปทางนี้ นะ กระแสน้ำนี้รุนแรง กระแสน้ำที่ซัดจิตใจเราวิ่งไปวิ่งมา พล่านๆทำงานไปในภพก็คือ ตัณหา นั่นเอง ตัณหาเป็นเหมือนคลื่นลูกใหญ่เลย เหมือนกระแสน้ำเชี่ยวที่ซัดเราไป ซัดไปไม่รู้ทิศทางเลยนะ สร้างภพไปเรื่อย เดี๋ยวไปเกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ จะข้ามภพข้ามชาติได้ ก็ต้องละตัณหาได้

ทีนี้ตัณหาเกิดจากอะไร ตัณหาเกิดจากอวิชา นี้ ทะเลตัวสุดท้ายนี้ ข้ามยากที่สุด ถ้าข้ามตัวนี้ได้นะ จะหลุดจากน้ำเชี่ยวนี้ได้ด้วย อวิชาเหมือนทะเลหมอก น้ำสงบนะ ไม่มีคลื่น ไม่มีลม สบายๆ แต่เหมือนมีหมอกปกคลุมจนไม่รู้อะไรเลย บางทีเราอยู่ห่างฝั่งใช่มั้ย ถูกคลื่นซัดตูมตาม ตูมตาม กระเสือกกระสนเข้ามา จนจะถึงฝั่งอยู่แล้ว เกือบถึงฝั่งแล้วนะ มันมีหมอกลง มันมองไม่เห็น ว่ายไปว่ายมา ว่ายออกทะเลลึกไปอีกแล้ว เพราะฉะนั้นข้ามอวิชานี้ยากที่สุดเลย ทะเลตัวนี้จะข้ามได้ต้องเห็นอริยสัจจ์ เห็นไม่เหมือนกันนะ เห็นมั้ย เห็นอริยสัจจ์ เห็นแจ้งอริยสัจจ์

อริยสัจจ์ที่ตัวลึกซึ้งที่สุดเลย คือการเห็นว่าจิตเป็นทุกข์นี่เอง นะ เราภาวนาไปนาน เราเห็นแต่จิตเป็นสุข เพราะจิตเริ่มสงบแล้ว ใช่มั้ย ข้ามทะเลโน้นทะเลนี้มาถึงภพที่สงบ ภพที่ไม่มีคลื่นมีลมแล้ว จิตใจก็พอใจ รักใคร่พอใจอยู่แค่นี้แหละ สบายใจแล้ว เสร็จแล้วก็ว่ายกลับไปกลับมาแล้ว ถูกคลื่นซัดออกไปอีกแล้ว

ถ้าเป็นปุถุชนเนี่ย ซัดไปหาทิฎฐิเลย เกิดมิจฉาทิฎฐิได้เรื่อยๆนะ ถ้าไม่ใช่พระอนาคาฯ ก็หลงไปในกามได้อีก เพราะฉะนั้นมันพร้อมจะถอยหลังได้ ทีนี้จะละอวิชาได้นะ ต้องรู้อริยสัจจ์ รู้ลงมานะ กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆเลย พวกเรามีแต่อวิชา เราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง นี่อวิชานะ อวิชาพาให้เห็น

ไหนสารภาพมา มีใครรู้สึกมั้ย กายนี้ เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง มีมั้ย สารภาพ มีผู้ร้ายปากแข็งครึ่งห้อง นะ ไม่ยอมสารภาพ นะ พวกเรารู้สึกมั้ย จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นอย่างนี้แหละ อวิชา

ถ้าเห็นอย่างมีวิชา ก็จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง เห็นยากนะ ถ้าสติ สมาธิ ปัญญา ไม่แก่กล้าพอ มันไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ โดยเฉพาะจิตเนี่ย จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้สงบ สะอาด สว่าง แหมฟังแล้วดีทั้งนั้นเลย ใช่มั้ย จะให้เห็นว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ง่ายนะ ปฎิบัติกันปางตายเลยล่ะ เหมือนเอาชีวิตเข้าแลกเลยนะ ถึงจะเห็น เพราะฉะนั้นทะเลตัวนี้ ทะเลอวิชา เป็นทะเลที่เรียบๆนะ แต่ยากสุดๆเลย ยากมากเลย จับต้นจับปลายไม่ถูก นะ มีแต่เรียนรู้นะ มาตามลำดับๆ รู้กาย รู้ใจมาตามลำดับ

พอรู้กายถูกต้องแจ่มแจ้งได้พระอนาคาฯ จิตใจก็จะสบายขึ้นเยอะเลย จะไม่แส่ส่ายไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเหลือแต่ความสงบสุขอยู่ภายใน เพลิดเพลินอยู่กับความสงบสุขภายในจิตในใจของเราเอง นี่เอง

ต่อมาสติปัญญาแก่รอบลงมาอีก เห็นเลย ตัวจิตตัวใจที่ว่าสุขว่าสงบเนี่ย เอาเข้าจริงก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ตัวนี้ไม่รู้ว่าจะพูดภาษามนุษย์ยังไงนะ ฟังเอาไว้ก็แล้วกัน มันเห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่นะ มันจะทิ้งแล้ว จะวาง แต่ถ้ายังเห็นทุกข์บ้างสุขบ้าง มันไม่วางหรอก มันทุกข์ล้วนๆ โอ้ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ตัณหาจะดับทันทีเลย เมื่อมันเป็นทุกข์ล้วนๆแล้วจะอยากให้มันสุขได้อย่างไร นะ ของเรามีตัณหาขึ้นมาเพราะอยากให้ขันธ์ ๕ มีความสุข รู้สึกมั้ย อยากให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์

แต่วันหนึ่งเรียนจนกระทั่งรู้ชัดเลย ขันธ์ ๕ นี่ทุกข์ล้วนๆน่ะ ไม่มีทางอยากให้มันมีความสุข ไม่มีทางอยากให้มันพ้นทุกข์อีกต่อไปแล้ว มันไม่สมหวัง มันทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ใจเข้าถึงตรงนี้ ใจยอมรับตรงนี้จริงๆแล้วจะสลัดคืนเลย จะหมดตัณหาแล้วก็สลัดคืนความยึดถือกายความยึดถือใจให้โลก คืนเจ้าของเดิมนั้นเอง จิตใจก็จะเข้าถึงความสงบ สันติ ที่แท้จริง คือ นิโรธ หรือ นิพพาน บางทีก็มีหลายชื่อนะ อุปสมะ ก็ได้ นะ มีหลายชื่อเยอะแยะเลย ชื่อ ความจริงก็คือ ความสงบ สันติ ซึ่งมันพ้นทุกข์ พ้นกิเลส พ้นความยึดถือในธาตุในขันธ์ ในกาย ในใจ นี้เอง

พอพ้นปั๊บเราจะเห็นโลกนี้ มี แต่ไม่มีอะไร โลกนี้มีอยู่ แต่ไม่มีอะไรเลย ว่างเปล่า ว่างเปล่าไม่ใช่แปลว่า ไม่มีอะไรเลย มันว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ว่างเปล่าจากกิเลส ว่างเปล่าจากขันธ์ ว่างเปล่าจากทุกข์ มันมีอยู่ของมันตามสภาพของมัน มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน แต่จิตใจที่ฝึกฝนอบรมจนกระทั่งไม่ยึดถือในจิตแล้วเนี่ย จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีก เห็นโลกนี้มีแต่ไม่มี ว่างเปล่าอยู่อย่างนั้นเอง จิตใจมีแต่ความสุขล้วนๆ สุขแบบนึกไม่ถึงนะ สุข สุขที่สุดเลย มีความสุขมาก ไม่รู้จะใช้ภาษาอะไร พระพุทธเจ้าท่านก็เลยใช้เอาง่ายๆ “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย ไม่รู้จะใช้คำอะไรแล้ว ท่านใช้คำว่า “ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย

ความสุขของโลกๆที่พวกเรารู้สึกน่ะนะ รู้จักกันนะ ความสุขลุ่มๆดอนๆ สุกๆดิบๆ เป็นความสุขร้อนๆ สุกๆ เผ็ดๆ นะ เผ็ดร้อนรุนแรง สุขชั่วครั้งชั่วคราวได้มาแล้วก็เสียไป ตะกายหาอีก จับได้ปั๊บหลุดมือไปอีกแล้ว อย่างนี้ตลอดชีวิตเลย เดินทางในสังสารวัฏฏ์นะ ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ ข้ามมหาสมุทรสี่อันนี้ไม่ได้ ก็ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ เพราะฉะนั้นตั้งอกตั้งใจนะ

อันแรก ต่อสู้กับมิจฉาทิฎฐิของตัวเองก่อน ทะเลอันที่หนึ่ง มิจฉาทิฎฐิ คือ ความเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ วิธีจะดูให้เห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ไม่ใช่ไปนั่งคิดเอาว่าตัวเราไม่มี คิดยังไงมันก็เชื่อว่า “ฉันมี” แต่ฉันแกล้งไม่มี นะ มันจะแกล้งทำ

ให้เรารู้ลงในกาย รู้ลงในใจ อะไรก็ได้ เริ่มจากกายก็ได้ ถ้าเริ่มจากกายถูกต้องก็จะรู้ใจ หรือจะเริ่มจากใจก่อนก็ได้ ถ้าเริ่มรู้ใจถูกต้องก็จะรู้กายด้วย นะ จะรู้สองอัน ไม่รู้อันเดียว ถ้าคนไหนภาวนาแล้วรู้อันเดียว ทำผิดแน่นอนนะ เพราะจริงๆมันมีสองอัน จะมารู้อันเดียว เลือกรู้อันเดียว ทำผิดแล้ว

เช่นบางคนจะดูแต่ลมหายใจอย่างเดียว ให้ลืมโลกไปเลย โลกนี้เหลือแต่ลมหายใจ เนี่ยสะสมมิจฉาทิฎฐินะ แทนที่จะละมิจฉาทิฎฐิ จะรู้สึก “กูเก่งๆ” “กูบังคับจิตให้อยู่กับลมได้” หรือ “กูบังคับจิตให้อยู่กับท้องพองยุบได้” จิตไม่หนีไปที่อื่นเลย “กูเก่งๆ”

ความจริงต้องรู้ ตามที่เขาเป็น ตามความเป็นจริง ของเราก็คือมันมีทั้งกายมีทั้งใจนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้ใจไป ถ้าจะรู้กาย เราก็เห็นร่างกายนี้ มันยืน มันเดิน มันนั่ง มันนอนไป ใจเป็นแค่คนรู้มัน ถ้าจะรู้จิตใจเราก็เห็นจิตใจเคลื่อนไหว ทำงานไป พอมีการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น ตามองเห็น จิตใจก็เคลื่อนไหวตาม หู ได้ยินเสียง เช่น เขาด่ามา ใจก็เคลื่อนไหว คือ โทสะเกิดขึ้น นะ มันเนื่องกัน ทั้งกายทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียวนะ ถ้าจงใจไปรู้อันเดียวเป็นสมถะ เป็นสมถกรรมฐาน ถ้ารู้ถูกต้อง มันรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ เห็นกายนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดูไป ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็จะเห็นเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้าเท่านั้นเอง เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ มันไม่บรรยายอย่างที่หลวงพ่อพูดนะ มันจะรู้สึกแค่ว่ามันไม่ใช่เราหรอก

ไม่ใช่ว่าต้องมาพร่ำรำพัน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นธาตุ เป็นขันธ์ มันไม่พูดนะ เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ รู้สึกถึงความไม่ใช่ตัวเรา ดูลงมาในเวทนา ในความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เราจะเห็นเลย ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จะเห็นอย่างนี้ นะ กุศล อกุศลทั้งหลาย นะ ที่เรียกว่าสังขาร กุศล อกุศลทั้งหลาย โลภ โกรธ หลง ทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ไม่ใช่เราอีก ดูไปอย่างนี้

ตัวจิตเองล่ะ จิตเดี๋ยวก็เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจ จิตเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น นะ ไม่ใช่มีจิตดวงเดียววิ่งไปวิ่งมา ถ้าเห็นว่าจิตมีดวงเดียววิ่งไปวิ่งมาเป็นมิจฉาทิฏฐินะ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ ท่านสอนดี ท่านบอกว่า ถ้าใครเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ ตัวผู้รู้เองก็ไม่เที่ยง เป็นผู้รู้แล้วก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็หลงไปทางตา หลงไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เนี่ยดูลงมาในกายในใจบ่อยๆ ดูจนเห็นความจริงเลย มันไม่ใช่ตัวเราสักอันเดียวเลยนะ ร่างกายมันก็เป็นแค่วัตถุ

พวกเราลองทดสอบนะ เอ้า แก้ง่วงไปด้วย เอามือของตัวเองมา แล้วลองลูบดู ลองสัมผัสดูไปรู้สึกมั้ย มันเป็นท่อนๆแข็งๆรู้สึกมั้ย เนี่ย รู้สึกนะ รู้สึกไว้ แล้วลองตั้งใจฟังมันบอกมั้ยว่ามันเป็นตัวเรา มันเงียบๆ รู้สึกมั้ย มันไม่พูดหรอก จริงๆเราไปขี้ตู่ว่ามันเป็นตัวเรานะ จริงๆ เนี่ย ลองจับลงไปสิ เป็นก้อนแข็งๆอะไรก้อนหนึ่ง

ถ้าเราจับไปนะเราจะรู้สึก มันไม่มีตัวเราในก้อนนี้แล้ว เวลาความสุขความทุกข์เกิดขึ้นเราก็รู้ไปตรงๆ เหมือนที่เรารู้สัมผัสมืออย่างนี้ กุศล อกุศล เกิดขึ้นก็รู้มันเข้าไปตรงๆนั้นแหละ แล้วมันจะบอกเรามั้ยว่าเป็นตัวเรา ไม่มีพูดสักคำหนึ่ง ความเป็นตัวเราจริงๆไม่มี ความเป็นตัวเราเกิดจากความคิดล้วนๆเลย คิดเอาเองว่าเป็นเรา

ถ้าไม่ไปหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา เนี่ย พอเราเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ นะ ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะรวมเข้ามา มันจะเข้าสมาธิ รวมเอง ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จิตมี ปีติ  สุข เอกัคคตา มีวิตกวิจารณ์คือการตรึกถึงอารมณ์ การตรองเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์นั้น อารมณ์อะไร อารมณ์นิพพาน จิตจะรวมเข้ามานะ ขั้นแรกพอรวมเข้ามาปั๊บ มันจะเห็นสภาวธรรม อะไรก็ไม่รู้ นะ ไม่รู้ว่าคืออะไร นะ ถ้ายังรู้ว่าคืออะไรนี่ยังเจือด้วยสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ของจริง จิตจะเห็นสภาวธรรมบางอย่าง เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ ขึ้นมา บางคนเห็นสองครั้ง บางคนเห็นสามครั้ง

เห็นสองทีเนี่ย จิตก็วางการรับรู้อารมณ์นั้นแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ทวนกระแสเข้ากลับมาหาธาตุรู้ จากนั้นสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังธาตุรู้ไว้ จะถูกแหวกถูกทำลายออกชั่วขณะ จะแหวกออก จิตที่เป็นอิสระล้วนๆเลยที่สัมผัสกับธรรมะคือนิพพานล้วนๆเลยจะปรากฎขึ้นมา

เสร็จแล้วจิตจะถอยออกมานะ ตรงนี้ไม่มีคำพูดนะ แว้บเดียวเอง แต่มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา  พร้อมอยู่ตรงนี้เลย พอถอยออกมากลับมาสู่โลกภายนอก จิตจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่า อ้อ..เมื่อตะกี้นี้เกิดอริยมรรคขึ้นแล้ว สังโยชน์เบื้องต้นถูกละไปแล้ว ความเห็นผิดถูกละไปแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ดูยังไงก็ไม่เป็นเราอีกต่อไปแล้ว จะละความเห็นผิดได้ จะหมดความลังเลสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรายังลังเล รู้สึกมั้ย ฝึกๆไปช่วงหนึ่งก็รู้สึก เอ้อ.. จริง ไม่จริงว้า.. จริง ไม่จริงว้า.. อั้นนั้นเป็นธรรมชาตินะ ต้องมี ไม่ต้องแกล้งทำเป็นไม่มี

หรือเราเคยงมงาย เห็นว่าต้องปฎิบัติอย่างนี้แล้วจะดี ปฏิบัติแล้วจะดี ต้องทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี จะหมดความงมงายอย่างนี้เลย รู้แต่ว่ามีแต่การเจริญสติรู้กายรู้ใจทางสายเดียว ทางสายเอก มีอันนี้อันเดียว ไม่มีอันอื่นอีกแล้ว เนี่ย พระโสดาบันละสิ่งเหล่านี้ได้ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ละความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยได้ ละการถือศีลบำเพ็ญพรตแบบงมงาย ลูบๆคลำๆ ว่าทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี รู้แล้วว่าไม่มีทางอื่นเลยนอกจากการมีสติรู้กายรู้ใจ หรือสติปัฏฐานนั่นเอง

เพราะฉะนั้นเวลาที่บรรลุพระโสดาบันไม่ใช่จิตดับนะ ทุกวันนี้มีคำสอนเรื่องจิตดับมากมาย คิดว่าภาวนาไปเรื่อย กำหนดไปเรื่อยนะ อย่างจะหยิบอะไรสักอันหนึ่ง กำหนดไปเรื่อยให้จิตมันแนบอยู่ที่มือเนี่ย เพ่งมากๆนะ จิตจะดับลงไป จิตดับแล้วสำคัญมั่นหมายว่าบรรลุธรรมแล้ว ดับ ๔ หน ก็เป็นพระอรหันต์นะ ออกมาจากพระอรหันต์ก็มาทะเลาะกับเมียเหมือนเดิมแหละ นะ ละกิเลสไม่ได้จริง

ในขณะที่บรรลุ มรรค ผล นิพพาน มีจิตนะ ไม่ใช่ไม่มีจิต ขณะที่บรรลุอริยมรรค นะ ก็มี มรรคจิต ขณะที่บรรลุอริยผล มีผลจิต มรรคจิตมี ๔ ดวง ผลจิตอีก ๔ ดวง นี่เรียก มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ คนโบราณชอบพูด

ถ้าพูดอย่างละเอียด ก็มี ๒๐ อย่างละ ๒๐ เพราะว่ามันเจือด้วยฌานเข้าไปในแต่ละชนิด ฌานมันไม่เท่ากัน มีฌาน ๕ อย่าง เพราะฉะนั้นจิตที่บรรลุมรรคผลเนี่ย รวมแล้วมีจิตตั้ง ๔๐ ดวงแหน่ะ ทีนี้พวกเรารุ่นหลังๆนะ เชื่อคำสอนของอาจารย์มากไป เลยคิดว่าเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน จิตดับวูบลงไปหมดสติ พอรู้สึกตัวขึ้นใหม่ บอกบรรลุไปแล้ว ตรงที่จิตดับลงไปนั้น คือ อสัญญสัตตาภูมิ คือ พรหมลูกฟักนะ

มีองค์หนึ่งท่านเล่น เมื่อไม่กี่วันมานี้ ท่านอนุสรณ์ เนี่ย ท่านลองเล่นๆของท่านนะ ดับปั๊บเลย และท่านรู้ว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ เพราะมันขาดสติ ออกมาแล้วไม่เห็นจะละกิเลสอะไรเลย ดับไปเฉยๆ ฝึกไม่กี่วันก็เป็นแล้ว นี่คือการเพ่งกาย เพ่งกายแล้วลืมจิต จนจิตดับลงไป เหลือแต่กายอันเดียวล้วนๆ

เพราะฉะนั้นเวลาบรรลุมรรคผลนิพพานมีจิต ไม่ใช่ไม่มี ถ้าไม่มีจิตแล้วใครจะรู้นิพพาน นิพพานเป็นอารมณ์นะ มีอารมณ์ต้องมีจิต เป็นกฎนะ กฏของธรรมะ ชื่อภาษาแขกเพราะๆเรียกว่า “ธรรมนิยาม” กฎของธรรมะ

ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด

เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง

เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย

ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ

ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ  สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
File:  500408B.mp3
Time: นาทีที่ ๓ วินาทีที่ -๙ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ละความเป็นตัวตน แต่สอนให้ละความเห็นผิดว่ามีตัวตน

mp 3 (for download) : พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ละความเป็นตัวตน แต่สอนให้ละความเห็นผิดว่ามีตัวตน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: อยากจะถามนิดนึงค่ะว่า ถ้าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา จิตก็ไม่ใช่เรา แล้วอะไรล่ะคะคือเราที่เชื่อมอดีตชาติ ปัจจุบัน อนาคต

หลวงพ่อปราโมทย์: ความคิด ความจำนะ เพราะฉะนั้นความเป็นเราจริงๆ ไม่มี พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ละความเป็นตัวตน ท่านสอนให้ละความเห็นผิดว่ามีตัวตน ความเห็นผิดว่ามีตัวตนเรียกว่า ‘สักกายทิฏฐิ’ ให้ละความเห็นผิดว่ามีตัวตน ทีนี้วิธีละความเห็นผิดว่ามีตัวตน จะละความเห็นผิดได้ต้องเห็นถูก จะเห็นถูกก็ต้องมารู้ลงมา สิ่งใดที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเรานะ ก็คือกายกับใจ ให้เรามารู้กายรู้ใจมากๆ จนวันหนึ่งเห็นเลยว่ามันทำงานเอง มันไม่ใช่เราหรอก

ที่นี้จิตนี่มันเกิดดับสืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นทำกรรมไว้นี่ จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นก็รับมรดก จิตดวงใหม่ก็เหมือนลูกของจิตดวงเก่า อย่างเราเป็นลูกนะ พ่อแม่เราทำงานรวยไว้ เราก็ก็รับมรดกรวย พ่อแม่ทำหนี้ไว้เยอะ เราก็รับมรดกหนี้ไว้ จิตดวงใหม่มันเกิดขึ้นมา มันก็รับมรดกสืบทอดไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเก่าหรอก ถ้าหัดภาวนาซักช่วงหนึ่งคุณจะเห็นเลย จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับนะ มีช่องว่างเล็กๆ มาคั่นนะ แล้วก็ดวงใหม่เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับ มีช่องว่างเล็กๆ มาคั่น ถ้าภาวนาจนถึงจุดที่เห็นสันตติ คือความสืบเนื่องนี้ขาด จะรู้เลยว่าจิตไม่ได้มีดวงเดียว จิตเกิดดับทั้งวันเลย และจิตจะไม่ใช่ตัวเราแล้ว แต่ว่าเกิดดับตลอดเวลาเลย เกิดดับเร็วมากเลยนะ

CD: 16
File: 25491104.mp3
Time: 58m54 – 1h00m34

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการเจริญสติในชีวิตประจำวัน

mp 3 (for download) : วิธีการเจริญสติในชีวิตประจำวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ใจจริงก็อยากจะ เหมือนที่หลวงพ่อเคยเขียนไว้นะครับ ควรจะฝึกให้ได้ตลอด กลมกลืนกับชีวิต ไม่ใช่ว่าเวลานี้ฝึก เวลานี้ไม่ฝึก แต่มันก็โดนบั่นทอน…

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือ เราจะฝึกใช้ชีวิตได้ เราต้องรู้หลักของการปฏิบัตินะ หัดสังเกตสภาวะไปเรื่อย จนสติมันเกิดเองในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น เริ่มต้นนี่เราหัดสังเกตสภาวะธรรม คือหัดสังเกตความรู้สึกของเราไปเรื่อยๆ สังเกตความรู้สึกของเรา แต่ละขณะๆ ไม่เหมือนกัน คือจุดตั้งต้นนี่ อย่าไปภาวนาเพื่อให้ดี ให้สุข ให้สงบ แต่ภาวนาเพื่อหัดสังเกตสภาวะ ตั้งใจไว้อย่างนี้ ว่าเราจะหัดเรียนรู้จิตใจตัวเอง จิตใจเราฟุ้งซ่าน เราก็รู้ จิตใจสงบเราก็รู้ เราคอยรู้ไปเรื่อยๆ ไม่ได้เอาดีนะ ไม่ได้เอาอะไรหรอก

แต่ว่าทางที่ดีมันต้องมีรูปแบบของการปฏิบัติไว้ซักอันหนึ่ง เราจะหัดพุทโธก็ได้ หัดเดินจงกรมก็ได้ หรือจะดูท้องพองยุบก็ได้ อะไรก็ได้ซักอย่างหนึ่ง ขยับมืออย่างสายหลวงพ่อเทียนก็ได้ มีอยู่ ๑๔ จังหวะ ขยับมือ พอเราทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งแล้ว ให้เราคอยรู้ทันใจของเรา อย่างเช่น เราพุทโธๆ อยู่ ใจเราแอบไปคิดเรื่องอื่น รู้ทันว่ามันหนีไปแล้ว หรือเราพุทโธๆ อยู่ ใจมันฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน ใจสงบ รู้ว่าสงบ พุทโธแล้วใจเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้น หัดไปเรื่อยๆ อย่างนี้แล้วถึงจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้

การที่เราหัดดูจิตใจตัวเองนะ พุทโธแล้วก็ดูไป หลงไปก็รู้ เพ่งไว้ก็รู้ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล แต่ละอย่างก็รู้ จิตมันจะจำสภาวะแต่ละอย่างๆ ได้ พอมันจำสภาวะแต่ละอย่างได้แล้ว พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวันนี่ สภาวะที่เราจำได้แล้วเกิดขึ้น สติจะระลึกขึ้นเอง ไม่ต้องเจตนาระลึก พอสติระลึกได้เองนะ ถ้าเป็นอกุศลนะ มันจะขาดสะบั้นต่อหน้าต่อตาเลย จิตจะรู้ ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด สว่าง ตั้งมั่นขึ้นมาเลย

ทำไมมันอยู่ๆ มันดีฉับพลัน เพราะโดยธรรมดานั้น จิตมันดีอยู่แล้ว จิตมันมีธรรมชาติพื้นเดิมของมัน คือมันผ่องใส มันประภัสสร แต่ว่ามันหมองไป มันเศร้าหมองไปเพราะกิเลสต่างหาก ทีนี้ถ้าเรารู้ทัน กิเลสไหลแว๊บมา สติระลึกได้นะ จิตจะผ่องใสอัตโนมัติเลย สงบ สะอาด สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ขึ้นมาฉับพลันเลย เราก็จะสามารถอยู่กับโลกอย่างคนที่รู้ทันโลก ถูกโลกกัดน้อยลงๆ นะ แต่อย่าไปกัดกับโลกนะ คอยดูเอา

สวนสันติธรรม 19

500223A

24.17 – 27.02

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิจจสมุปบาท

mp 3 (for download) : ปฎิจจสมุปบาท

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ฝนตกแดดออกอะไรเนี่ยนะ มันมีเหตุทั้งสิ้นใช่มั้ย ไม่ตกลอยๆมาหรอก อยู่ๆไม่ตกหรอก นะ มันต้องมีเหตุมันถึงตกนะ ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่ตก สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุทั้งหมดเลย ตามเหตุตามปัจจัยปรุงแต่ง

นี่คนเราไม่เข้าใจความจริงตรงนี้ ว่าทุกอย่างมันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยปรุงแต่ง เราไปอยากให้มันเป็นอย่างอื่น อย่างฝนไม่ตกอยากให้ตก ฝนตกอยากให้มันไม่ตก อะไรอย่างนี้ มันไม่ได้เป็นอย่างที่อยาก มันเป็นไปเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง

ทีนี้ทำอย่างไรจะเห็นความจริงได้ ธรรมะที่เรื่องปัจจัย เรื่องปัจจยาการ เรื่องอะไรอย่างนี้ เรื่องปฏิจจสมุปบาท มันเป็นหลักธรรมสำคัญในศาสนาพุทธ เรื่องปฏิจจสมุปบาท ท่านสอนว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัวเรา ก็ล้วนแต่สะท้อนถึงธรรมะอันนี้ทั้งสิ้นเลย

ถ้าคนใดภาวนาแล้วเข้าใจปฏิจจสมุปบาทท่อนปลายจะได้โสดาฯ ท่อนปลายก็คือ เพราะมีอายตนะจึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะจึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานจึงมีภพ เพราะมีภพจึงมีชาติ เพราะมีชาติจึงมีทุกข์

ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทท่อนนี้ จะได้พระโสดาฯ แล้วก็ผู้ใดเข้าใจปฏิจจสมุปบาทท่อนแรก ท่อนต้นน่ะจะเป็นพระอรหันต์ รู้ว่าเพราะอวิชามีอยู่สังขารจึงมีอยู่ เพราะสังขารมีอยู่วิญญาณจึงมีอยู่ วิญญาณมีอยู่นามรูปจึงมีอยู่ เราก็ต้องค่อยๆเรียน วิธีที่จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาททั้งสองส่วนได้ ก็คือการเจริญสตินั่นเอง เจริญสติปัฏฐานไป เพราะสติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา เบื้องต้น สติปัฏฐานทำให้เกิดสติ เบื้องปลายสติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา เห็นความจริงของรูปของนาม ของกายของใจ

อย่างพวกเราตอนนี้หัดภาวนา พวกเราหลาย หลายพันแล้วนะ หลายพันคน เรามีสติจริงๆขึ้นมา เรามีสติเราก็เห็นกายมันทำงาน เห็นจิตมันทำงาน เราเห็นได้แล้ว พอพวกเราเห็นอย่างนี้มากเข้า มากเข้า พวกเรารู้สึกมั้ย เราเริ่มเห็น เราเริ่มรู้จักปฏิจจสมุปบาท ที่หลวงพ่อบอก

เรารู้เลยว่าเนี่ยตามันกระทบรูปใช่มั้ย แล้วใจมันก็ทำงานขึ้นมา มันยินดีบ้าง มันยินร้ายบ้าง ยินดีก็อยากได้ ยินร้ายก็อยากผลัก จะอยากได้หรืออยากผลักก็คือตัณหานั่นแหละ ก็คืออยาก พอมีตัณหาเนี่ย มีความอยากใดๆเกิดขึ้น สังเกตมั้ย ยิ่งอยาก นะ ถึงกระทั่งอยาก อยากไม่เอานะ จิตใจก็ยิ่งสนใจในสิ่งนั้น ยกตัวอย่างเราเกลียดใครนะ เราสนใจคนนั้นมาก รู้สึกมั้ย ไม่อยากเจอมันเลย อยากไม่เจอมัน รวมความแล้วอยากไม่เจอมัน ยิ่งสนใจ รักใครมากก็คิดถึงมากใช่มั้ย เกลียดใครมากก็คิดถึงมาก จิตใจมันไปจดจ่อใส่ ไปยึดไปถือ ไปหยิบไปฉวย เอาสิ่งนั้นมาเป็นอารมณ์ เรียกว่าอุปาทาน เข้าไปยึดไปถือ องค์ธรรมของอุปาทานนะ ก็คือโลภะ เช่นเดียวกับตัณหานั่นแหละ องค์ธรรมอันเดียวกัน แต่อุปาทานเนี่ยคือตัณหาซึ่งมีกำลังกล้า ตัณหามันแค่ความทะยานอยากของจิต

ออ..วันนี้ยังไม่โชว์ตัว (พูดถึงไอ้เหลือง) อ๋อ..วันนี้คนน้อย ญาติโยมน้อยมันไม่ชอบคลุกคลีนะ ไม่ชอบคลุกคลีหมู่คณะ มักน้อยสันโดษ ไม่คลุกคลี วันๆไม่ยุ่งกับใคร แต่เมื่อก่อนมันงกนะ อยู่สวนโพธิ์คนมาไม่มาก ญาติโยมมา มันจะคอยสำรวจ ว่าใครเอาอะไรมา แล้วขากลับมันไปดูอีก ว่าเอาอะไรกลับ ถ้ามาหยิบฉวยของวัดไปนะ ไม่ยอม ช่างมัน อย่าไปยุ่งกับมัน

เห็นมั้ย เนี่ย ตามองเห็น หูได้ยินเสียง ตามองเห็นใช่มั้ย ใจก็วิ่งไปใส่ พอใจเรากระโดดเข้าไปจับเนี่ย มีอุปาทานละ จับอะไร จับหมาไว้ ถ้าตายตอนนี้จะเป็นอะไร… มีคำตอบใช่มั้ย ทุกอย่างมีเหตุ มีผล หมดเลย มีคำตอบในตัวเอง พอใจเราไปจับอารมณ์นะ จับไม่จับเฉยๆ สังเกตมั้ย จับแล้วลูบคลำขยำขยี้ด้วย จับแล้วมีการทำงาน พอเข้าไปจับนะมีการทำงานทางใจขึ้นมา อยากได้ก็พยายามดึงไว้ ไม่ชอบก็พยายามดันไว้ มองไม่ออกว่าชอบไม่ชอบ ก็ลูบๆคลำๆอยู่นั่นแหละ นะ ไปผลักมันนะ ก็เป็นโทสะ ไปดึงไว้ก็เป็นโลภะ มองไม่ออกว่าจะเอาไงดีก็เป็นโมหะ นี่ กิเลสก็แฝงตัวทำงานอยู่ตลอดนะ ในขณะที่จิตเราปรุงแต่ง เรียกว่า จิตมันสร้างภพ เคยได้ยินใช่มั้ย อุปาทาน เพราะอุปาทานมีอยู่ ภพจึงมีอยู่ ภพ ภพไม่จำเป็นต้องเป็นภพใหญ่ๆ เกิดเป็นคนเป็นหมาเป็นแมวอะไรอย่างนี้นะ เป็นเปรต เป็นอสุรกาย

ในความเป็นจริงแล้วจิตเราสร้างภพอยู่ตลอดเวลา ภพตัวนี้ชื่อว่า “กรรมภพ” นะ เพราะมีกรรมภพนะ คือมีการทำงานทางใจใช่มั้ย สังเกตมั้ยพอใจเราทำงานแล้ว ความรู้สึกเป็นตัวเราก็เกิดขึ้น ชาติก็เกิดขึ้น จะมีเราผุดขึ้นมา ตอนนี้พวกเราที่ภาวนากับหลวงพ่อมีใครมองเห็นแล้ว มีมั้ย อยู่ๆมี มีความเป็นตัวเราผุดขึ้นมา ความเป็นตัวเราไม่ได้มีตลอดเวลา อาศัยการกระทบกันนะ ระหว่างตากับรูป หูกับเสียงเป็นคู่ๆไป มีการกระทบกัน แล้วเกิดการทำงานทางใจ

เวทนา นะ ไม่ใช่การทำงาน เวทนาเป็นวิบาก เป็นผลที่เกิดขึ้น พอมีเวทนาแล้วเกิดตัณหาละ เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน เนี่ยเป็นกิเลส เกิดภพ ภพคือการทำกรรม เกิดชาติคือความเป็นตัวเป็นตน เกิดทุกข์ขึ้นมา ชาติและทุกข์ นะ เป็นตัววิบาก เป็นตัวผล

พวกเราภาวนา เราสังเกตมั้ย อยู่ๆความเป็นตัวเราก็ผุดขึ้นมา พอรู้ทันก็หายไป ไม่มีจริง น่ะ ไม่มีจริง คนซึ่งไม่เคยภาวนารู้สึกว่าตัวเรามีจริงๆ มีจริงอย่างแน่นอน นะ ตัวเราเดี๋ยวนี้กับตัวเราเมื่อเด็กๆเป็นคนเดียวกัน แต่เมื่อมาหัดเจริญสติมากเข้ามากเข้า มากเข้า ปัญญามันเกิด มันเห็นเลย ความรู้สึกมีตัวมีตนนั้นน่ะ เกิดขึ้นเป็นคราวๆเมื่อจิตมันปรุงแต่ง จิตมันทำงาน จิตมันสร้างภพ มันก็เกิดความรู้สึกมีตัวมีตนขึ้นมา

สังเกตมั้ย ทันทีที่รู้สึกมีตัวมีตนขึ้นมาความทุกข์ทางใจจะเกิดขึ้นทันที จิตจะหนักๆแน่นๆแข็งๆ ซึมๆนะ ไม่มีความสุข ไม่มีความสบาย จิตเกิดการบีบคั้นขึ้นมา นะ จิตทีแรกไม่ได้บีบคั้นอะไร ทำงานไปตามปฏิกริยาตามธรรมดา นะ แล้วพอกิเลสตัณหาเกิดขึ้น จิตทำกรรมขึ้นมา มีตัวเราขึ้นมา ความทุกข์ก็ตามมา

แต่ถ้าเรามีสตินะ เราเห็นจิตมันทำงาน ตัวเราไม่เกิด ความทุกข์ทางใจมันจะไม่เกิด มันจะเหลือแต่ทุกข์ในขันธ์ เพราะฉะนั้นทุกข์ของตัณหา ทุกข์เพราะตัณหาเนี่ย เป็นทุกข์ทางใจ เป็นทุกข์ทางใจ เพราะฉะนั้นผู้ใดเข้าใจปฏิจจสมุปบาทท่อนปลาย จะได้พระโสดาบัน จะได้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี สิ่งที่เรียกว่าตัวเรานั้น จิตมันปรุงขึ้นมาเป็นคราวๆ ตัวเราถาวรจริงๆไม่มี

ทีนี้พอได้โสดาฯแล้วเราเห็นเลย โลกนี้จะค่อนข้างแบนๆ มองโลกแล้วโลกจะราบๆแบนๆ ไม่โดดเด่น ฉูดฉาด ดึงดูดความสนใจเท่าแต่ก่อน ยิ่งได้สกิทาคานะ โลกเหมือนราบไปเลย ราบเป็นหน้ากลอง  นานๆจะมีอะไรฉูดฉาดขึ้นมาดึงดูดใจสักนิดนึง ส่วนใหญ่ก็จะเห็นไม่มีสาระอะไร ว่างๆ ไร้สาระไร้แก่นสาร ภาวนาไปต่อไปเรื่อยๆนะ ถึงวันหนึ่ง ได้เป็นพระอนาคามี เพราะว่าเห็นความจริงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความจริงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นก็คือ เห็นความจริงว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ แต่เดิมเห็นนะทั้งกายทั้งจิตไม่ใช่ตัวเรา เป็นพระโสดาบัน ก่อนจะเป็นพระโสดาบันเนี่ย เห็นว่ากายไม่ใช่เรา จิตยังเป็นเราอยู่ นะ ตอนจะก่อนจะได้โสดาฯ กาย กายไม่ใช่เรา จิตเป็นเรา ถูกแล้ว

พวกเราที่ภาวนารู้สึกมั้ย กายเริ่มไม่ใช่เราแล้ว แต่จิตยังเป็นเราอยู่ เพราะฉะนั้นภาวนาไปถึงจุดหนึ่งเราจะเห็นว่า กระทั่งจิตก็ไม่ใช่เรา ความเป็นเราไม่มี ความเป็นเรานั้นเป็นความปรุงแต่งที่เกิดขึ้นเป็นคราวๆ ตัวเราไม่มีได้โสดาฯ นะ

ต่อมาเราก็รู้กายรู้ใจอีก ถึงมันไม่ใช่ตัวเรานะ แต่ยังรักยังหวงแหน เพราะอาศัยกายนี้ใจนี้ จึงได้สัมผัสกับโลก โลกไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเราก็จริงนะ แต่การที่ได้สัมผัสกับโลกนั้น ยังนำความสุข ความเอร็ดอร่อยมาให้ ยังเอร็ดอร่อยในกามคุณอารมณ์อยู่ เพราะมีตาจึงได้เห็นรูปที่สวย เพราะมีหูจึงได้ฟังเสียงที่เพราะๆถูกอกถูกใจ เสียงบางอันไม่เพราะนะแต่ถูกใจ

เช่นบางคนได้ยินเสียงด่า หันไป เพื่อนเราด่า จำได้ เสียงนี้ เพื่อนเราด่า ด่าเป็นสัตว์เลี้ยงนานาชนิดอะไรอย่างนี้นะ ฟังแล้วไม่โกรธใช่มั้ย ฟังแล้วโอ๊ะดีใจเสียอีก เนี่ย เห็นมั้ย ได้ยินเสียง เสียงเนี่ย เสียงบางอย่างก็เพราะ เราก็ชอบ บางอย่างไม่เพราะนะ แต่เนื้อหาสาระที่อยู่เบื้องหลังนั้นถูกใจ เราก็ชอบได้เหมือนกัน นะ บางคนถูกด่าทุกวัน มีเมีย เมียด่าทุกวัน วันไหนเมียไม่ด่ากลุ้มใจนอนไม่หลับ อยู่ที่ความคุ้นเคย

เพราะว่าอาศัยมีตา หู จมูก ลิ้น กาย จึงได้สัมผัสความเอร็ดอร่อยของโลก เพราะอาศัยว่ามีใจ จึงได้คิดถึงความเอร็ดอร่อยของโลก มันก็เลยรักและหวงแหน แต่พอเจริญสติมากเข้า มากเข้า เราเห็นว่ากายนี้มันเป็นตัวทุกข์นะ ร่างกายนี้ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลาเลย หาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ ร่างกายนี้มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไปเลย ในกายนี้ พอเห็นอย่างนี้อย่างแจ่มแจ้ง จิตหนีไปก็รู้นะ เดี๋ยวธรรมะของหลวงพ่อก็หนีตามไปหมดหรอก ธรรมะที่หลวงพ่อเทศน์ไม่ได้มีสคริปต์นะ อยู่ที่คนฟังหรอก ไปถึงไหนแล้ว ชักหายแล้ว.. เอ้าตรวจการบ้าน เลยไม่ถึงตอนต้นเลย

โยม: กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ ตอนนี้ วันนี้มีโมหะมาก แล้วก็มีโทสะ เนื่องจากเมื่อคืนฟุ้งซ่านมาก มี..ความวิตกกังวลเนื่องจากเวทนา เกิดเวทนา ว่าก็ ก็เห็น..เห็นจิต..

หลวงพ่อปราโมทย์: เวทนาแล้ว แล้วมีตัณหามั้ย

โยม: มีเจ้าค่ะ ตัณหามันดิ้นรน จะผลัก มันไม่พอใจ

หลวงพ่อปราโมทย์: พอผลักมันแล้วเกิดการทำงานทางใจ มองเห็นมั้ย

โยม: เห็นเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ เรียกว่าภพ รู้สึกมั้ย มันทำงานทางใจแล้วมีตัวเราขึ้นมา

โยม: เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นเรียกว่า ชาติ แล้วก็ทุกข์

โยม: เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: พอทุกข์แล้วทำอย่างไร ทุกข์แล้วเรารู้สึกคร่ำครวญ รู้สึกมั้ย

โยม: ใช่เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: นี่ปฏิจจสมุปบาททั้งนั้นเลย นี่แหละ อย่างนี้และ ดูไป

โยม: เจ้าค่ะ พอ พอรู้สึกตัว ไม่ใช่ตัวเรานะ พอบีบคั้น พอความทุกข์รุนแรง ก็ดูไป เดี๋ยวก็หายไป เดี๋ยวก็เบา ทีนี้ก็ พอเผลอเป็นตัวเราเมื่อไหร่ก็ทุกข์ ทุกข์มากว่า วันนี้จะมาส่งการบ้านหลวงพ่อไม่ได้ ปวดหลังมากเจ้าค่ะ นึกว่าจะเดินไม่ไหว ก็เลย.. เห็นจิตที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดี

โยม: แล้วมีโทสะนิดๆ ว่า ไม่น่า..

หลวงพ่อปราโมทย์: เห็นมั้ยเขาทำงานเอง

โยม: เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เห็นมั้ยโทสะเนี่ย แทรกมากับทุกขเวทนา

โยม: แทรกเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะมีทุกขเวทนา โทสะจึงมี เห็นมั้ย สัมพันธ์กัน มีเหตุมีผลหมดน่ะ

โยม: เห็นชัดเลยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เนี่ยเราเรียนไปจนเราเห็น เห็นแจ่มแจ้ง โอ้.. ตัวเราไม่มีหรอก ถ้ามีตัวเราด้วยความยึดถือขึ้นมา ด้วยความปรุงแต่งขึ้นมาเมื่อไหร่นะ ความทุกข์ก็ตามมา ใจก็มีปัญญามากขึ้น มากขึ้น ในที่สุด ไม่เอา ตัวเราจริงๆไม่มีหรอก นะ แล้วดูไปอีก เห็นมั้ยกายนี้ทุกข์ล้วนๆ พอมีสตินะ กายจะเป็นทุกข์ล้วนๆให้ดู

ยกตัวอย่างนะ หลวงพ่อเองน่ะ ตอนหลวงพ่อเด็กๆนะ เวลานอนเนี่ยรู้สึกเป็นการเสพสุข รู้สึกมั้ย นอนนะ กลิ้งไปกลิ้งมามีความสุข นะ เดี๋ยวนี้ไม่เคยรู้สึกว่านอนมีความสุขเลย รู้สึกนอนบรรเทาทุกข์ แล้วบรรเทาไม่ได้จริง เดี๋ยวความทุกข์ก็ตามมาอีก ต้องนอนกลิ้งไปกลิ้งมา พลิกไปพลิกมานะ เพราะความทุกข์มันบีบคั้นทั้งคืนเลย ดูลงไปนะ กายนี้มีแต่ทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ถ้าดูอย่างนี้ได้นะ วันหนึ่งใจปิ๊งขึ้นมา กายนี้ทุกข์ล้วนๆนะ จิตไม่ยึดถือกายแล้ว พอไม่ยึดถือกายก็ไม่ยึดถือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ไม่ยึดถือในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ จะยึดทำไม มันกระทบลงมานะ กายนี้มันมีแต่ทุกข์ ไม่ใช่ว่ากระทบแล้วมันมีสุขอะไร

อย่างตาเราเจ็บใช่มั้ย ตาเราเจ็บมากๆ อยากให้หมอผ่าเอาลูกตาออกไปเลย ไม่อยากดูแล้ว สมมุติตาเจ็บมากๆ ไม่หวงแล้ว ที่มันหวงแหนเพราะมันเอร็ดอร่อยอยู่ แต่ถ้ามันเห็นว่ามันเป็นทุกข์จริงๆนะ ไม่เอา ใจจะวาง พอวางไปนะ ได้พระอนาคาฯแล้ว พอได้พระอนาคาฯแล้ว นี่ต่อได้แล้วธรรมะ ต่อติดละ

ใจมันจะตั้งมั่นนะ เด่นดวงอยู่อย่างนั้น ทั้งวันทั้งคืนเลย นานๆมันจะหมองๆสักทีหนึ่ง หลายๆวันจะหมองๆนะ แค่หมองหน่อยๆ ทำไมหมอง เพราะมันสบายหลายๆวันนี่นะ ใจมันชักเร่าร้อนนิดๆนะ ว่า เอ.. ขี้เกียจไปมั้ง ยังไม่จบการปฏิบัติ งานยังไม่เสร็จเลย อะไรอย่างนี้ ใจมันเริ่มดิ้นรนว่าทำอย่างไรจะหลุดพ้น

พอมันดิ้นขึ้นมานะ มันหมองๆไปอีก เสร็จแล้วพอเรามีสติรู้ทันนะ ก็สดใสขึ้นมาอีก นะ อย่างนี้กลับไปกลับมานะ เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ จิตจะหมุนเวียนอยู่อย่างนั้นเอง เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ วนไปวนมา ถึงจุดสุดขีดเลย ปัญญามันแจ้งนะ ตัวจิตนี้ ตัวจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆนะ เป็นตัวทุกข์ล้วนๆเพราะอะไร เพราะเอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ มันเป็นของที่เจริญแล้วก็เสื่อมไป นะ แล้วเป็นของที่มีความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา นะ คนไหนถ้าทรงฌานอยู่นะ เวลาบรรลุพระอรหันต์จะเห็นทุกข์ จะบรรลุด้วยการเห็นทุกข์ เห็นจิตเป็นทุกข์

ถ้าไม่เห็นจิตเป็นทุกข์จะไม่วาง เพราะอะไร เพราะจิตมีความสุขมาก เพราะจิตทรงฌาน เพราะฉะนั้นคนซึ่งสมาธิมากๆเนี่ย ขั้นสุดท้ายจะไปบรรลุด้วยการเห็นจิตเป็นทุกข์ พวกปัญญามากก็เห็นแค่ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก นะ มันทำงานของมันเอง มันไม่ใช่ตัวเรา แล้วก็ยอมวางแล้ว นี่พวกปัญญามาก สุดท้ายก็คือปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือจิตไป คืนกายคืนจิตให้โลก นะ คืนกายคืนจิตให้โลกไป

นิโรธมี ๕ ตัว นะ นิโรธถ้าแปลหยาบๆก็แปลว่านิพพาน ถ้าอย่างละเอียดขึ้นมาเนี่ย นิโรธไม่ใช่นิพพานทั้งหมดหรอก นิโรธอันหนึ่งนั้น เป็นการข่มไว้ ยังมีกิเลสอยู่แล้วข่มกิเลส กิเลสดับไป นิพพานตัวนี้ เรียกนิโรธตัวนี้เป็นความดับ นะ ดับ ข่มกิเลสลงไปแล้วกิเลสดับ ด้วยสมถะ ก็เป็นนิโรธชนิดหนึ่งนะ เรียก วิกขัมภนนิโรธ นี่ต้องถามฝ่ายวิชาการ เราเดี๋ยวนี้ไม่จำอะไรละ

ถ้าเรามามีสติใช่มั้ย พวกเราหลงอยู่กับโลกที่ปรุงแต่งมานาน เราเห็นของไม่สวยว่าสวย เห็นของไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นของเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นของไม่ใช่ตัวเราว่าเป็นตัวเรา เรียกว่าวิปลาสอยู่ เรามาทำวิปัสสนานะ แก้วิปลาส แก้ด้วยธรรมะที่ตรงข้ามกัน เคยเห็นว่ามันสวยงามเนี่ย เห็นว่ามันไม่สวยงาม ละความเห็นผิดว่ามันสวยมันงามได้ เคยเห็นว่ามันเที่ยง อย่างรู้สึกว่าจิตใจของเราเที่ยงนะ จิตใจของเราเดี๋ยวนี้ กับจิตใจเราเด็กๆ คนเดิม มันเที่ยง เห็นความจริงว่าไม่เที่ยง เห็นด้วยธรรมที่ตรงข้ามกัน

เคยเห็นว่าจิตใจมีแต่ความสุขล้วนๆเลย นะ มีแต่ความสุขล้วนๆ นะ อันนี้ภูมิของพระอนาคาฯ ก็จะเห็นว่า ไม่ใช่หรอก นะ จิตใจไม่ใช่มีความสุข จิตใจเป็นทุกข์ กายก็ทุกข์ ใจก็ทุกข์ เคยเห็นว่ามันเป็นตัวเรา ทั้งกายทั้งใจนะ ก็เห็นความจริงว่าไม่มีตัวเรา ตัวเราปรุงขึ้นมาเป็นคราวๆ ปรุงความรู้สึกนะ เห็นด้วยธรรมะที่ตรงข้ามกัน นะ เรียกว่าอะไร เรียกว่า ตทังคนิโรธ ฝ่ายวิชาการนึกไม่ออก ยังนึกไม่ทัน นะ

ตรงที่เกิดอริยมรรคนะ ก็ตัดสังโยชน์ ตัดแล้วตัดเลย เลยเรียก สมุจเฉทนิโรธ นะ ต่อไปก็เรียกว่า เรียกว่าอะไร เรียกว่าอะไรช่างมันเถอะ ลืมหมดแล้ว พอใจของพวกเราแกว่งนะ ธรรมะก็หายหมดอีกแล้ว นะ ฟังธรรมะถ้าจะฟังละเอียดๆต้องใจมีสมาธิ สมาธิพอถึงจะฟังได้ เอ้า.. ว่าไป จบหรือยัง

โยม: เมื่อคืนได้เห็นกระบวนการของจิตเยอะเลย

หลวงพ่อปราโมทย์: น่าน ดีแล้ว เห็นมั้ย เห็นท่อนปลาย

โยม: เห็น เห็น

หลวงพ่อปราโมทย์: หรือเห็นท่อนต้น ถ้าเห็นท่อนต้นนะ แล้วก็แจ่มแจ้งแล้วก็จะได้เป็นพระอรหันต์ ถ้าเห็นท่อนปลายแจ่มแจ้งก็จะได้โสดาฯ ตอนนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง ต้องดูอีก ดูซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ดูไป

โยม: เจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

หมายเหตุ: นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๖
File: 510911.mp3
ระหว่างวินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาที ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สอนให้ภาวนาในปัจจุบัน

mp3 (for download): สอนให้ภาวนาในปัจจุบัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ที่นี่ไม่สอนนะแสนๆชาติ สอนให้ปัจจุบันน่ะ ทำให้ได้ก็แล้วกันเถอะ ถ้าปัจจุบันทำไม่ได้นะ อีกแสนชาติก็ไม่ทำอยู่ดีแหละ เพราะฉะนั้นต้องทำตั้งแต่ขณะนี้เลย

วิธีปฏิบัติธรรมไม่มีอะไรหรอก รู้สึกตัวขึ้นมา อย่าลืมตัว อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ อย่าเอาแต่ฝัน ไปอยู่ในโลกของความคิด พยายามรู้สึกตัว อย่าใจลอยไป ในขณะเดียวกันอย่าไปเพ่งกายเพ่งใจไว้ แค่รู้สึกกายแค่รู้สึกใจ ไม่ใช่เพ่งกายเพ่งใจ รู้สึกเรื่อยๆ พอเรารู้สึกตัวขึ้นมา เราหลุดออกจากโลกของความคิด ความคิดนั่นแหละเป็นสิ่งที่ปิดบังความจริงไว้…

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕ Track ที่ ๓
File: 510420
วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒๖ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อสอนอะไร? หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ

mp3 (for download) : หลวงพ่อสอนอะไร? หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเมื่อไรรู้สภาวะตรงตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน เมื่อนั้นสติก็เกิดแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าอยากให้สติเกิดนะ ไม่มีใครสั่งให้สติเกิดได้ สติเป็นอนัตตา สติเองก็ตกอยู่ใต้อนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิด แต่ถ้ามีเหตุสติถึงจะเกิด เพราะฉะนั้นมาเรียนที่หลวงพ่อนะ ถ้ามาเรียนบ่อยๆ จะรู้เลย หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ เหตุให้เกิดสติก็คือการที่จิตนี้จำสภาวะธรรมได้

เพราะฉะนั้นมาเรียนที่หลวงพ่อ ไม่ได้มาเรียนเรื่องอื่นหรอก เรียนเรื่องสภาวะธรรม เช่น ความโลภเป็นอย่างนี้ ความโกรธ ความหลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ อิจฉา ดีใจ เสียใจ เป็นสุข เป็นทุกข์ หัดรู้สภาวะแต่ละอย่างๆ สภาวะอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจคอยหัดรู้หัดดูไป ต่อไปจิตมันจำสภาวะได้ พอสติมันจำสภาวะได้นี่ พอสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นสติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิดเอง สัมมาสมาธิก็เกิดเอง จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเลย จิตจะรู้ ตื่น เบิกบาน จิตจะสงบ สะอาด สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมา แล้วก็จะเห็นสภาวะธรรมทั้งหลายเกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป นี่เป็นการเจริญปัญญา

เพราะฉะนั้นเราจะเรียนนี่ ต้องเรียนจนสติตัวจริงเกิด ถ้ามาเรียนที่หลวงพ่อ จะเห็นว่าหลวงพ่อไม่ได้เน้นว่าให้นั่งท่าไหน ให้เดินท่าไหน หรือว่าห้ามกินข้าว หรือว่าห้ามนอนอะไรอย่างนี้ ไม่ได้เน้นตรงนั้น เพราะจริตนิสัยคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ใครเคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำอย่างนั้นแหละ ถนัดอะไรก็ใช้กรรมฐานอันนั้นแหละ เพียงแต่ว่าทำให้สติตัวจริงมันเกิด

ส่วนใหญ่ที่เราทำกรรมฐานแล้วสติไม่ค่อยเกิดเพราะอะไร เพราะเราชอบไปเพ่ง เราไปเพ่งใส่ตัวอารมณ์กรรมฐาน เช่น เราดูท้อง เราก็ไปเพ่งท้อง เราดูลมหายใจ เราก็ไปเพ่งลมหายใจ เราขยับมือทำจังหวะ เราก็ไปเพ่งใส่มือ เราเดินจงกรม เราก็ไปเพ่งใส่เท้า พอไปเพ่งใจมันก็แข็งๆ ทื่อๆ นะ มันจงใจปฏิบัติ สติตัวจริงไม่ได้เกิดขึ้นมา สติตัวจริงไม่เกิด จิตใจก็ไม่ตั้งมั่นมีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น ไม่อ่อนโยน ไม่นุ่มนวล ไม่คล่องแคล่วว่องไว ไม่ควรแก่การงาน

เพราะฉะนั้นเรียนกับหลวงพ่อ บางคนฟังแล้วจะงง มาใหม่ๆ จะงงนะ ว่าหลวงพ่อพูดอะไร ฟังไม่รู้เรื่อง บอกให้ก็ได้ หลวงพ่อสอนให้พวกเราหัดดูสภาวะธรรมนั่นเอง ต้องหัดรู้สภาวะธรรม สภาวะธรรมก็คือตัวรูปธรรม นามธรรม ถ้ามาเรียนที่หลวงพ่อบางคนหลวงพ่อก็สอนให้ดูกาย ทำสมาธิก่อนแล้วก็ดูกาย แต่ส่วนมากจะสอนให้ดูจิตใจตัวเอง เพราะอะไร เพราะคนที่มาที่นี่ส่วนมากเป็นพวกคิดมาก พวกทิฏฐิจริต พวกคิดมาก วันๆ นะนั่งคิดทั้งวัน พวกคิดมากเหมาะกับการดูจิต

การดูจิตนี้ให้ตามรู้ตามดูไปเลย จิตใจเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คอยรู้คอยดูไปเรื่อย ในที่สุดจิตจะจำสภาวะธรรมได้ เมื่อจิตจำสภาวะธรรมได้แล้ว พอสภาวะธรรมใดๆ ปรากฏขึ้นมานี่สติจะเกิดเอง ไม่ต้องแกล้งให้เกิดนะ เกิดเอง สติที่เกิดเองเพราะมีเหตุคือจิตจำสภาวะได้นี่อัศจรรย์ อกุศลจะดับทันทีเลย กุศลจะเกิดขึ้นทันทีเลย อย่างเรากำลังเผลอๆ อยู่ จิตมันรู้จักว่าเผลอเป็นอย่างไร มาเรียนที่หลวงพ่อๆ ชอบไล่นะว่า เผลอไปแล้วๆ นี่เพราะอะไร เพราะเผลอนี่เป็นกิเลสที่เกิดบ่อยที่สุด ความหลง โมหะ เกิดบ่อยที่สุด ถ้าเรารู้ว่าเผลอคืออะไร เราจะปฏิบัติได้แทบทั้งวันแล้ว เพราะเราเผลอทั้งวัน

ทีนี้พอเราจำสภาวะได้ เช่น จำว่าเผลอเป็นแบบนี้ ใจเราเผลอ เราหลงไปคิดเป็นแบบนี้ พอมันเผลอไปคิดปั๊บ สติจะเกิดเลย จะระลึกได้นะว่าเผลอไปแล้ว อ้อ เผลอไปแล้วๆ นี่จิตจะตื่นขึ้นในฉับพลันโดยที่ไม่ต้องเจตนาจะตื่นเลยนะ จิตจะตื่นในฉับพลัน จะรู้สึกตัวขึ้นมาเลย ใจก็จะตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว สัมมาสมาธิก็เกิดขึ้น เราก็จะเห็นเลยทุกสิ่งล้วนแต่ไหลมาแล้วไหลไป ผ่านมาแล้วผ่านไป นี่เป็นขั้นเจริญปัญญา เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี่ขั้นต้นทำให้มีสติ ขั้นกลาง ขั้นปลายนี่ทำให้มีปัญญา คอยรู้ไปเรื่อย

สวนสันติธรรม 12

490505A

15.04 – 19.38

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ค่อยๆ ทำความรู้จักสภาวะ

mp 3 (for download) : ค่อย ๆ ทำความรู้จักสภาวะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คอยดูบ่อยๆ นะ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ ทำความรู้จักสภาวะเพิ่มขึ้นวันละอย่างสองอย่าง นานๆ ไปเราก็จะรู้จักสภาวะเยอะ เช่น แต่แรกๆ ก็ต้องโกรธแรงๆ ถึงจะเห็น ต่อมาขัดใจเล็กๆ ก็เห็น ต่อมาอย่างเรานั่งอยู่ในศาลาร่มๆ อย่างนี้ พอเดินออกจากศาลานะ แสงสว่างจ้าๆ กระทบเปลือกตานี่โทสะยังเกิดเลย สติเราจะไวขึ้นๆ เราจะเห็นได้ละเอียดขึ้น กิเลสตัวเล็กตัวน้อยเราก็มองเห็น หัดใหม่ๆ ก็เห็นตัวโตๆ ก่อนนะ เห็นของหยาบก่อน ฝึกมากเข้าๆ จำสภาวะได้เยอะ ก็จะเห็นของละเอียด

สวนสันติธรรม 12

490505A

20.11 – 20.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความเป็นกลางของจิตมีหลายแบบ

mp 3 (for download) : ความเป็นกลางของจิตมีหลายแบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความเป็นกลางของจิตนี่มีหลายแบบ เป็นกลางแบบซื่อบื้อ อย่างเช่นคนๆ หนึ่งถูกเขาด่าทั้งวันเลย ถูกด่าทุกวัน ตอนแรกก็โมโหนะ ถูกด่าไปเรื่อยๆ ใจเป็นกลาง เรียกว่ามันดื้อด้านไปแล้ว อย่างนี้ก็มีนะ ใช้ไม่ได้ อย่างนี้เป็นกลางแบบที่หนึ่งใช้ไม่ได้เลย กลางแบบเคยชินกับกิเลสแล้วบอกเป็นกลาง

อันที่สอง เป็นกลางเพราะสมถะ เป็นกลางเพราะเราประคองไว้ เป็นกลางเพราะเราควบคุมบังคับไว้ เช่น พอความโกรธเกิดขึ้น เราก็พุทโธ พุทโธ พุทโธ ให้หายโกรธ หรือ โกรธหนอ โกรธหนอ ให้หายโกรธ พอหายโกรธไปนี่ เราก็บอกเป็นกลาง กลางอันนี้เพราะไปรักษาไว้ ไปประคองไว้ กลางเพราะสมถะ กลางเพราะสมถะอยู่ได้นานๆ นะ อยู่ได้นาน

อันที่สาม เป็นกลางเพราะปัญญา มีศัพท์อยู่คำหนึ่งในอภิธรรม ชื่อ  ‘ตัตรมัชฌัตตตา’ หลวงพ่อเรียกไม่ค่อยถูกนะ ชื่อมันยาว ตัวนี้เป็นกลางเพราะมีปัญญา มันเกิดจากการที่เรามีสตินั่นเอง เช่นเราเห็นว่าความโกรธเกิดขึ้นมาก็ชั่วคราว ความโลภ ความหลงก็ชั่วคราว เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล ล้วนแต่ของชั่วคราว นี่มันเกิดจากการที่เรามีสติคอยรู้สภาวะบ่อยๆ ในที่สุดเราจะเห็นเลยว่าสภาวะทั้งหมดเป็นของชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว ในที่สุดใจก็เลยเป็นกลางกับสภาวะธรรม กลางชนิดนี้เป็นกลางชั้นเลิศเลยนะ กลางชนิดนี้เป็นกลางที่ใกล้กับมรรค ผล นิพพานแล้ว เป็นกลางเพราะปัญญา

ค่อยๆ ฝึกไป เป็นกลางเพราะปัญญาไม่อยู่นานนะ อยู่ทีละขณะๆ หรอก เดี๋ยวก็กลาง เดี๋ยวก็ไม่กลาง เดี๋ยวก็กลาง เดี๋ยวไม่กลางนะ ดูไปเรื่อย ในที่สุดเข้าไปสู่ความเป็นกลาง ทำไมมันไม่กลางถาวร กระทั่งภาวนาเก่งมากๆ เลยนะ จิตเข้าไปถึงสังขารุเบกขาญาณ เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อสังขาร มีปัญญาเลยเป็นกลางต่อสังขาร สังขารุเบกขาญาณเองยังเป็นโลกียญาณ เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานี่ เราสปีดตัวเองมาเรื่อย จนถึงสังขารุเบกขา บางคนก้าวกระโดดข้ามไปเลย อันนี้พ้นไปเลย เกิดมรรคเกิดผลไปเลย บางคนยังไม่เกิด ไปทรงตัวอยู่ที่สังขารุเบกขา ช่วงหนึ่งก็เสื่อม เสื่อมลงมาอีก เสื่อมมาอีกทำอีก ขึ้นไปอีก

เพราะฉะนั้นหน้าที่เราคอยฝึกรู้สภาวะไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดจิตเป็นกลางต่อสภาวะ ความเป็นกลางต่อสภาวะนี้ไม่ใช่กลางแบบทื่อๆ เป็นกลางด้วย มีความสุขด้วย เป็นกลางแล้วก็อิ่มเอิบไปด้วย เป็นกลางไปด้วย อิ่มเอิบไปด้วย เป็นกลางต่อสังขารแต่จิตใจนั้นอิ่มเอิบเบิกบาน เป็นสภาวะธรรมที่แปลก แต่ถ้าเป็นกลางแบบจิตใจแห้งแล้งแข็งกระด้าง อันนี้กลางจอมปลอม เช่นหลวงพ่อทำหน้าให้ดูนะ ต้องทำหน้า เราดูจิตไม่เป็นต้องทำหน้าเอา เป็นกลาง กลางนะกลาง กลางอย่างนี้กลางปลอมนะ กลางปลอม กลางแกล้งทำ

เป็นกลางจริงๆ กลางเพราะปัญญา ปัญญาเกิดจากการที่เรามีสตินั่นเอง มีสติรู้กายรู้ใจเห็นสภาวะธรรมทั้งหลายล้วนแต่ผ่านมาผ่านไป ล้วนแต่เป็นของชั่วคราว ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ใจก็เป็นกลาง แต่เดิมไม่ชั่วคราว เช่น ความสุขเกิดขึ้นก็ยินดี ความทุกข์เกิดขึ้นก็ยินร้าย ไม่เป็นกลาง พอไม่เป็นกลางทำอย่างไร ให้รู้ทันอีก ความสุขเกิดขึ้นใจเรายินดี รู้ทันว่ายินดี ความยินดีก็จะดับไป อันนี้ดับเพราะการที่มีสติไปรู้เข้า ยังไม่ใช่ดับเพราะปัญญาจริงๆ โอ ธรรมะสนุกนะ มีหลายขั้นหลายตอน ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ฟังไป

สวนสันติธรรม 12

490505A

21.08 – 25.18

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ด้วยความเป็นกลางไว้

mp3 (for download) : รู้ด้วยความเป็นกลางไปเรื่อย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใครยังเอาตัวไม่รอดก็พยายามรู้กายรู้ใจนะ ไม่ได้มีอะไรยากเลย รู้กายด้วยความเป็นกลาง รู้ใจด้วยความเป็นกลาง รู้ด้วยความเป็นกลางไปเรื่อย เป็นกลางต่อกาย เป็นกลางต่อใจ เป็นกลางต่อความสุขความทุกข์ ถ้าหากไม่เป็นกลางล่ะ ไม่เป็นกลางรู้ว่าไม่เป็นกลาง เช่น เห็นความทุกข์เกิดขึ้นแล้วเกลียดมัน รู้ว่าเกลียด เห็นความสุขเกิดขึ้นแล้วพอใจ รู้ว่าพอใจ

CD: สวนสันติธรรม 12

490505B

2.38 – 3.05

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดีไม่ได้แปลว่าไม่มีกิเลส แต่มีกิเลสแล้วรู้ทัน

mp3 (for download) : ดีไม่ได้แปลว่าไม่มีกิเลส แต่มีกิเลสแล้วรู้ทัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเราปฏิบัตินี่เราไม่ได้ปฏิบัติเอาสงบ ไม่ได้ปฏิบัติเอาดี แต่เราปฏิบัติ หลวงพ่อบอกไปแล้วนะ เพื่อจะละความเห็นผิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เพราะฉะนั้นเราจะเห็นเลย จิตนี้เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ไม่ดี เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวสงบ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน หาความแน่นอนไม่ได้สักอย่างเดียว ไม่มีอะไรเป็นที่แน่นอนที่ยึดถือได้เลย นี่ถ้าปฏิบัติแล้วมุ่งมาในแนวที่จะเห็นอย่างนี้นะ ใช้ได้เลย ดี

เพราะฉะนั้น คำว่า ดี กับคำว่า ไม่ดี นี่ไม่ใช่แปลว่า มีกิเลส หรือไม่มีกิเลส คำว่าดีเพราะว่าไม่มีกิเลสนะ หรือไม่ดีเพราะว่ามีกิเลส เป็นดีในทางจริยธรรม แต่ถ้าเราจะปฏิบัติเพื่อเอามรรค ผล นิพพาน มาตรฐานคำว่า ดีกับไม่ดี นี่จะต่างไปจากเดิม จิตเป็นอกุศล รู้ว่าเป็นอกุศลอยู่ ดีเรียบร้อยแล้วนะ พระพุทธเจ้าบอกไว้ จิตเป็นอกุศลรู้ว่าเป็นอกุศลดี จิตเป็นกุศล ไม่รู้ว่าเป็นกุศล ไม่ดี เช่น บางคนมานั่งฟังธรรมะ จิตใจปลาบปลื้ม มีความสุขมากเลย ปลื้ม ปลื้มจนลืมเนื้อลืมตัว ไม่ดีนะ อย่างนี้ไม่ดี ฟังหลวงพ่อแล้วงง พูดอะไรก็ไม่รู้เรื่องนะ ฟังแล้วงง งงรู้ว่างง ดี  เห็นไหม จิตเป็นอกุศล รู้ว่าเป็นอกุศลนี่ดี

เพราะฉะนั้น ดีกว่าไม่ดี นี่มีคนละมาตรฐานกัน ถ้ามาตรฐานทางจริยธรรมนี่ ถ้าจิตมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ไม่ดี ถ้ามาตรฐานของการปฏิบัตินี่ จิตไม่ดี จิตเป็นอกุศล รู้ว่าเป็นอกุศล ดี คนละมาตรฐานกัน เพราะฉะนั้นเราจะเรียนเพื่อให้เห็นความจริงว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเมื่อไรไปเห็นว่าไม่ใช่เรานะ มันทำงานของมันเอง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวชั่ว ดีแล้ว อย่างนี้เรียกว่าปฏิบัติถูก

CD: สวนสันติธรรม 12

490505B

35.21 – 37.21

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ทางใครทางมัน

mp 3 (for download) : ธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ทางใครทางมัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 25491123B.mp3
Time: 16m42 – 20m46

หลวงพ่อบอกให้อย่างนึงนะ บอกซื่อๆ บอกโง่ๆ เลยนะ แบบเทกระเป๋าให้เลย ทางใครทางมัน ทางใครทางมันนะ กรรมฐานเป็นเรื่องเฉพาะตัว  แต่ต้องอยู่ในหลักที่พระพุทธเจ้าสอน แต่เรื่องแทคติก (tactic) เรื่องกลยุทธ์เรื่องอุบาย เรื่องเฉพาะตัวทั้งสิ้นเลย มันต้องรู้ตัวเองนะ ว่าทำยังไงแล้วสติเกิดบ่อยก็ทำอย่างนั้นแหละ ตอนนี้สติเกิดบ่อยไปแล้ว ชักมั่วๆ แล้ว สติเกิดไปเกิดมาเลยชักไม่เกิด เลยฟุ้งซ่านแทน เราก็ต้องแยบคาย ต้องรู้ทัน เราฟุ้งไปแล้ว ฟุ้งไปแล้วเราควรจะทำยังไงดี เราก็ต้องรู้ตัวเองอีก จะตามรู้ความฟุ้งด้วยวิปัสสนา หรือทำความสงบด้วยสมถะ หรือว่าเครียดจัด ลืมมันไปเลย ไปร้องเพลงสักเพลงหนึ่งก็ได้ บางคนเครียดจัด มาหาหลวงพ่อ ติดกรรมฐานมา เครียด ใกล้บ้ามาแล้ว ความจริงบ้าแล้วล่ะ แต่หลวงพ่อก็พูดให้สุภาพหน่อย หลวงพ่อบอกร้องเพลงเป็นมั้ย ร้องให้ฟังสักเพลงนึง ให้ร้องเพลง คนนี้ชอบร้องเพลง ร้องเพลงแล้วสบาย รู้สึกมั้ย เมื่อกี้เครียด ตอนนี้สบาย เห็นมั้ย ตอนให้กลับมาดูแล้ว 

            มันง่ายนะ จริงๆ ทางใครทางมัน ทางใครทางมันๆ ทางเฉพาะตัว ทางนี้ต้องเดินคนเดียว พระพุทธเจ้าสอนนะ เอกายนมรรค ทางสายเดียว ทางของท่านผู้เป็นเอก ไม่มีใครเหมือน ทางที่ต้องเดินคนเดียว ทางเฉพาะตัว แปลได้หลายนัยยะ เอกายนมรรค งั้นไม่ใช่ว่าต้องเลียนแบบกัน หลายคนมาถามหลวงพ่อ ทำไมไม่จัดคอร์ส พระพุทธเจ้าไม่จัดน่ะหลวงพ่อจะเก่งกว่าท่านได้ยังไง พระพุทธเจ้ามีแต่สอนๆ ๆ แล้วก็ไล่นะ โน่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นั่นภูเขา โน่นถ้ำ นั่นป่า ไปทำเอาเอง ทำไมไม่จัดพร้อมกัน เพราะว่าจริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน ทางใครทางมัน คนคนนี้เค้าควรจะภาวนากลางคืน เราก็บอกสามทุ่มต้องนอน หรือสี่ทุ่มต้องนอน อ้าวก็เค้าจะต้องภาวนากลางคืนเค้าถึงจะดี เราไปทำลายโอกาสของเค้าเข้าแล้วใช่มั้ย ต้องเหมือนกัน บางคนกินข้าวเย็นแล้วดี เอ้า บางคนไม่กินแล้วดี มันก็ต้องดูเป็นคนๆ นะ ตัวใครตัวมันแหละ ทางใครทางมัน บางคนนอนมากๆ ดีนะ บางคนนอนมากไม่ดี บางคนกินทุกมื้อดี บางคนอดๆ ซะบ้างดี ต้องดูตัวเอง ทางใครทางมัน ไม่ใช่ถึงเวลาเหมือนการเลี้ยงไก่ของพวกซีพีนะ ถึงเวลาต้องกินก็กิน เลี้ยงหมูเลี้ยงอะไรอย่างเนี้ย ถึงเวลากินต้องกิน มันไม่ได้เป็นอย่างงั้นนะ เคยเห็นเค้าเลี้ยงงูมั้ย เคยไปดูที่เสาวภามั้ย ถึงเวลาเลี้ยงงูนะ เอางู งูตัวนี้ตามดิว ดูตาราง อ้อตัวนี้ถึงเวลากินแล้ว ไปลากหัวมันมา มันก็มาพันๆ ๆ นะ จับบีบปากให้อ้าปาก เอาคีมคีบเนื้อนะ กระทุ้งใส่ หนึ่งก้อนสองก้อน เอ้าครบแล้ว แกะๆ เอาโยนไป ธรรมะไม่ได้เป็นอย่างนี้ ธรรมะเป็นเรื่องเฉพาะตัว ทางใครทางมัน ไม่ใช่ต้องทำเหมือนๆ กันตลอดเวลา หลวงพ่อชาเคยสอนนะ ให้ดูตัวเอง จะกินแค่ไหนพอเหมาะ จะนอนแค่ไหนพอเหมาะ คำว่าพอเหมาะก็คือเกิดสติ เกิดสติบ่อย บางคนอดนอนแล้วซึมเซื่อง คล้ายๆ ผีตองเหลือง ไม่รู้เรื่องนะ อย่างนี้ไม่ดี บางคนนอนมากไปก็ไม่ดี ต้องดูตัวเอง บางคนถนัดเดิน ก็เดินเอา บางคนถนัดยืนก็ยืนเอา บางคนถนัดนั่ง ก็นั่ง แต่ถ้าถนัดนอน ต้องนั่งนะ ถนัดนอนไม่เอานะ ยกเว้นไว้ข้อหนึ่ง เพราะว่าตามสถิติ นอนบรรลุมีน้อย ตามสถิติ ส่วนมากมีแต่นั่งกับเดิน มีเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มี

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

mp 3 (for download) : สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลักของการเจริญสติปัฏฐาน การทำวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ถ้าสรุปง่ายๆ ภาษาไทยนะ มีสติรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏในปัจจุบันด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ยาวไปไหม ถ้ายาวไปนะ ก็ไปหาหนังสือ วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๒ อ่านเอานะ เอาเวอร์ชั่น ๒ นะ เวอร์ชั่น ๑ ตอนเขียนความรู้ยังไม่แจ่มแจ้ง ไปอ่านตอนเวอร์ชั่น ๒ ให้มีสติรู้กายรู้ใจนะ รู้ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจที่กำลังมีอยู่จริงๆ แล้วรู้มันตามที่มันเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าฝึกอย่างนี้ได้แล้วก็ไม่นาน ไม่นานนะจะรู้แจ้งในความเป็นจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือมันเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันเป็นของเป็นทุกข์ คือมันถูกบีบคั้น ถูกเสียดแทงตลอดเวลา อย่างร่างกายนี่ถูกเวทนาบีบคั้นตลอดเวลา นั่งอยู่ก็เมื่อย เดินก็เมื่อย นอนก็เมื่อย ใช่ไหม ทำอะไรก็ถูกบีบคั้น หายใจออกก็ทุกข์ หายใจเข้าก็ทุกข์ กินเข้าไปก็ทุกข์ ไม่กินก็ทุกข์นะ ขับถ่ายมากไปก็ทุกข์ ไม่ขับถ่ายก็ทุกข์อีก นี่มันถูกบีบคั้น ร่างกาย จิตใจก็ถูกกิเลสตัณหาบีบคั้นตลอดเวลา มันมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นเลย ในกายในใจ นี่ความจริงของเขา

ความจริงของเขาอีกอย่างหนึ่งคือ เขาไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ตอนนี้คนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริงมีเยอะแยะเลย มีเยอะแยะนับไม่ถูกแล้วนะ ถ้าแจกปริญญาคงแจกไม่ทันแล้ว ที่นี้ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราอย่างแท้จริง จะเป็นพระโสดาบันวันนั้นล่ะ

ทีนี้ วิธีการนะ บอกแล้ว ให้มีสติรู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง มีสติรู้กาย รู้ใจ ไม่ใช่มีสติไปรู้อย่างอื่น สติ พูดมาทุกวันที่เจอหน้ากันว่า สติ คือความระลึกได้ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติเป็นความระลึกได้ หลวงพ่อจะไม่ลงรายละเอียดเรื่องสติมากนัก สติเป็นความระลึกได้ สติเกิดจากถิรสัญญา คือจิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นถ้าเราหัดดูบ่อยๆ หัดรู้สึกบ่อยๆ ใจโกรธไปก็คอยรู้สึก ใจโลภก็คอยรู้สึก ใจฟุ้งซ่าน ใจหดหู่ คอยรู้สึกไปเรื่อยนะ รู้สึกไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งสติจะเกิด ตรงที่สติเกิดนี่ เวลาใจลอยไปนะ สติก็ระลึกได้เองว่า ใจลอยไปแล้ว เวลาโกรธขึ้นมา สติก็ระลึกได้ว่า โกรธไปแล้ว มันเป็นเอง หรือสติมันระลึกรู้ กำลังอาบน้ำถูสบู่อยู่นะ ระลึกปั๊บลงไป ระลึกถึงตัวรูป แต่เห็นเป็นท่อนๆ นะ เห็นเป็นท่อนๆ เป็นแท่งๆ เป็นแข็งๆ อ่อนๆ เป็นเย็นเป็นร้อน ไม่มีตัวมีตนอะไร

สติต้องเกิดเองจากการที่จิตจำสภาวะได้แม่น สติที่เจริญวิปัสสนาต้องเป็นสติที่รู้กายรู้ใจตัวเอง ถ้าไปรู้ของอื่นทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะวิปัสสนาทำไปเพื่อถอดถอนความเห็นผิดว่า กายนี้ใจนี้คือตัวเรา วิปัสสนาทำไปเพื่อให้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรม มีแต่นามธรรม ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ถาวรนั้นไม่มี วิปัสสนามุ่งมาตรงนี้ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาต้องคอยรู้กายรู้ใจ อย่างบางคนไปเดินจงกรม เท้ากระทบพื้นนะ พื้นเย็นพื้นร้อน พื้นอ่อนพื้นแข็ง รู้หมดเลย รู้เรื่องพื้น ไม่มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเราอยู่แล้ว มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเรา ที่กำลังนั่งทับนี่ เรากำลังโดนนั่งทับ มีใครรู้สึกไหม มีแต่เราไปนั่งทับมันใช่ไหม

เรารู้สึกกายนี้ใจนี้คือตัวเรา เพราะฉะนั้นดูลงมาในกายในใจนี้ ตัวเราอยู่ที่ไหน ดูลงไปที่นั่น ความรู้สึกว่าตัวเราอยู่ที่ไหน รู้ลงไป ตัวเราอยู่ที่กาย รู้ลงที่กาย ตัวเราอยู่ในใจ นี่ รู้ลงไปที่ใจ ดูลงไปซิ จริงๆ มีตัวเราไหม กายกับใจที่เราจะใช้รู้ ก็ต้องกายกับใจในปัจจุบันด้วย ไม่ใช่กายกับใจในอดีต เพราะกายกับใจในอดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความจำ และก็ไม่ใช่กายกับใจในอนาคต กายในอนาคต ใจในอนาคตยังไม่มี เป็นแค่ความคิด ในอดีตก็เป็นแค่ความจำ อนาคตก็เป็นแค่ความคิด ไม่ใช่ความจริง ความจริงอยู่กับปัจจุบันต่อหน้าต่อตานี่

เพราะฉะนั้น พยายามอยู่กับปัจจุบันนะ รู้สึกกาย รู้สึกใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน รู้ต้องรู้ตามความเป็นจริงของเขา ไม่ใช่รู้แล้วเข้าไปแทรกแซง พวกเราเวลารู้กายก็แทรกแซง รู้ใจก็แทรกแซง เช่น เวลาจะเดินตงกรม เราเคยเดินสบายๆ เดินทั้งวัน เดินทุกวันอยู่แล้ว เดินมาตั้งแต่เดินได้ จะว่าเดินแต่เกิดไม่ได้ใช่ไหม เพราะคนเกิดมามันยังไม่เดิน ไม่ใช่ลูกวัวลูกควาย ลูกวัวควายนะ ชั่วโมงสองชั่วโมงมันเดินได้แล้ว ลูกคนนี่นอน เอาตั้งแต่เดินได้นี่ เราก็เดินอยู่ทุกวันๆ แต่เราเดินไม่เป็น เดินแล้วไม่มีสติ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติ รู้ลงปัจจุบันไป ยืน เดิน นั่ง นอน รู้ลงปัจจุบัน เห็นกายเห็นใจที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน รู้ไปเรื่อยๆ ของจริงมันอยู่ตรงนี้ก็ดูจากของจริง ไม่ได้ดูจากความคิดความฝันในอนาคต หรือความจำในอดีต เอาของจริงมาดู ดูซิ เป็นตัวเราจริงไหมนี่ ถ้าไปคิดถึงตัวตนในอดีต นั่งนึกถึงหน้าตาของเราตอน ๓ ขวบ เห็นไหมคนนั้นไม่มีแล้ว นี่ ไม่เที่ยง อย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนาต้องเห็นตัวนี้อยู่ทนโท่ อยู่นี่เลยนี่ เห็นตัวนี้ล่ะ มันไม่ใช่ตัวเรา ถึงจะเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นต้องดูลงปัจจุบัน

ดูตามความเป็นจริงด้วย มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันถูกบีบคั้นตลอดเวลา มันบังคับไม่ได้ หรือมันเป็นวัตถุ มันเป็นก้อนธาตุ ดูลงเป็นไตรลักษณ์ เรื่องนี้ก็พูดทุกครั้งที่เจอกัน ไปดูเอาเอง ไปฟังเอาเอง ถ้าเรารู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบันนี่ ตามความเป็นจริงคือเป็นไตรลักษณ์ ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่ใช่จะเดินจงกรมก็บังคับจิตให้นิ่ง จะนั่งสมาธิก็บังคับจิตให้นิ่ง หรือเดินจงกรมก็ต้องวางมาดใช่ไหม ต้องเดินท่านี้ จะนั่งก็ต้องวางมาด ต้องนั่งในสง่างาม ถึงจะเป็นนักปฏิบัติ นั่งท่านี้ปฏิบัติไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ อย่าเข้าใจผิด มันไม่ได้สำคัญอยู่ที่อิริยาบถอะไร กิริยาท่าทางอะไร มันสำคัญอยู่ที่คุณภาพของจิต ในการที่ไปรู้กายรู้ใจต่างหาก ถ้าเรารู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงนะ ตีลังกาอยู่ก็ได้

ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งคือ หลวงพ่อพุธ เมื่อก่อนท่านเคยมาสอนที่นี่ หลวงพ่อพุธนี่แหละท่านสั่งไว้นะ ว่าอย่าทิ้งศาลาลุงชินนะ เราเลยต้องอดทนมาที่นี่นะ เพราะครูบาอาจารย์ท่านสั่งไว้ แต่ท่านไม่ได้บอกนะว่า ให้ไม่ทิ้งนานแค่ไหน (โยมหัวเราะ) นี่ดูไปนะ ดูลงความจริง ความจริงคือไตรลักษณ์ ดูกายดูใจ ดูเป็นไตรลักษณ์ ไม่ไปแทรกแซง ไม่ใช่เวลาจะเดินจงกรมก็ต้องวางมาด ค่อยๆ เดิน อะไรอย่างนี้ หรือจะนั่งสมาธิต้องวางฟอร์ม วางฟอร์มทางกายไม่พอ ต้องวางฟอร์มทางใจด้วย รู้สึกไหม ต้องทำใจให้ซึมก่อนถึงจะดี นึกออกไหม มันแกล้งทำทั้งหมดเลยนะ มันไม่ใช่การรู้ตามความเป็นจริง แต่มันเป็นการแกล้งทำ เพราะฉะนั้น อย่าไปดัดแปลงกาย อย่าไปดัดแปลงใจ เราต้องการรู้กายที่เป็นจริง รู้จิตใจที่เป็นจริง เราอย่าไปดัดแปลงเขา อย่าไปบังคับเขา อย่าไปแทรกแซง รู้กายรู้ใจอย่างที่มันกำลังเป็นอยู่จริงๆ นะ รู้ไป

ที่นี้การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ลงปัจจุบันนี่ แค่นี้ยังไม่พอ จิตที่เป็นคนไปรู้ ต้องมีความตั่งมั่น และต้องมีความเป็นกลาง มี ๒ เงื่อนไข ต้องมีความตั้งมั่น ตั้งมันคือมีสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นไม่ใช่จิตที่ไหลไปหาอารมณ์ พวกเราที่ภาวนาล้มลุกคลุกคลานไม่เกิดมรรคผลนิพพานสักที เพราะอะไร เพราะว่าจิตไม่ตั้งมั่น ถึงมารู้กาย มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น มันจะเป็นการเพ่งกายเพ่งใจ จิตมันจะไหลไปเพ่งนิ่งๆ อยู่ที่กาย ไหลไปเพ่งอยู่ที่ใจ อย่างคนที่หัดอานาปานสติรู้ลมหายใจ สังเกตให้ดีเถอะ  เกือบร้อยละร้อยนะ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมที่แท้จริง เกือบร้อยละร้อยเลย จะไปเพ่งลมหายใจ จิตจะไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ คนที่ดูท้องพองยุบนะ เกือบร้อยละร้อย นี่พูดแบบเกรงใจที่สุดแล้วนะ เกือบร้อยละร้อย จิตจะไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาไปเดินจงกรมยกเท้า ย่างเท้า จิตก็ไหลไปอยู่ที่เท้า ไปรู้อิริยาบถ ๔ นะ ไปเพ่งมันทั้งตัวเลย ขยับมือ จิตก็ไปเพ่งอยู่ในมือ มันมีแต่เข้าไปเพ่ง จิตที่ไหลเข้าไปเพ่งตัวอารมณ์นี่ เป็นจิตที่ใช้ทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน จิตที่เพ่งอารมณ์นี่ มีภาษาแขก ชื่อว่า อารัมณูปนิชฌาน การเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐาน เพราะฉะนั้นที่พวกเราส่วนใหญ่ทำอยู่เป็นแค่สมถกรรมฐาน ใจไม่ตื่นจริงๆ หรอก

มีแม่ชีคนหนึ่ง โทรศัพท์มาหากรรมการวัดคนหนึ่ง คือ ชมพู เขามีเบอร์ของชมพูอยู่ เบอร์วัด เขามาเล่าให้ฟังบอกว่า แกเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานอยู่ที่สำนักแห่งหนึ่ง แต่สำนักนี้ไม่ยอมให้ไปไหนมาไหนง่ายๆ ก็เลยต้องใช้วิธีแอบโทรมา แกเล่าว่า แต่เดิมแกก็สอนกรรมฐาน แกก็ภาวนาของแกไปด้วย แกเครียดมากเลย หลังแกแข็งเป็นก้อนหินอย่างนั้นเลย ทรมานมาก ต่อมาคนซึ่งไปเข้าคอร์สกับแกเอาหนังสือหลวงพ่อไป แกก็ไปขอดูนะ แล้วก็สนใจเขียนจดหมายมาขอหนังสือไป เอาไปอ่าน คงต้องแอบอ่าน ซีดีฟังไม่ได้ เดี๋ยวคนอื่นได้ยิน เป็นอาจารย์นะ อ่านๆ ไป รู้สึก โอ้ เราทำผิด เราไปเพ่งอารมณ์ เราไม่ได้รู้ลักษณะความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ แกบอกพอแกรู้ตรงนี้ แกเห็นว่าจิตไปเพ่ง จิตก็คลายออก แกบอกว่าตอนนี้นะ แกมีความสุขขึ้นเยอะเลย การภาวนาของแกง่าย หลังแกก็ไม่แข็งเป็นก้อนแล้วนะ หน้าตาแกนี่คนมาบอกเลย แกหน้าใส หน้าตาแกผ่องใสผิดจากเดิม แต่เดิมเครียด ที่สำคัญนะ นี่เขียนเล่ามาอย่างละเอียดอีก แต่เดิมนะ ปีหนึ่ง ประจำเดือนมา ๒ ครั้งเอง เพราะเครียด ตั้งแต่มาภาวนาแนวหลวงพ่อปราโมทย์นะ ประจำเดือนมาตามกำหนด (โยมหัวเราะ) เออแน่ะ เราก็เพิ่งรู้นะ ว่าภาวนาแล้วประจำเดือนมาตามกำหนด เพราะอะไร เพราะไม่เครียด

พวกเราล่ะ ภาวนาจนกระทั่งเครียดนะ พิกลพิการไปเยอะแยะเลยนะ เพราะทำผิด ถ้าเข้าใจที่พระพุทธเจ้าสอนแล้วจะไม่เครียดหรอก เราจะรู้กาย เห็นกายมันเป็นทุกข์ แต่ร่าเริงนะ เห็นจิตดีบ้าง ร้ายบ้าง เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวสงสัย เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ แต่เราร่าเริงที่ได้เห็นความแปรปรวนของมัน นี่ความประหลาดอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นเราจะมีความสุขนะ มีความสงบแต่ร่าเริง ไม่ใช่สงบแบบเซื่องๆ ซึมๆ ซังกะตาย หรือเครียดๆ แข็งๆ อันนั้นเป็นเพราะการเพ่งตัวอารมณ์ทั้งสิ้น ไม่ใช่การรู้ลักษณะของอารมณ์

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้นะ เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นมันเป็นแค่คนดู เราจะเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นกุศล อกุศล โลภ โกรธ หลง ทั้งหลาย อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นจิตเกิดดับไปทางตา เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจ ดับที่ใจ นี่เห็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ อย่างนี้เรียกว่าเราเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่นนะ มันจะเห็นความจริงอย่างนี้

การที่มันเห็นว่ากายก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง มันได้แสดงปัญญาให้เราเห็นแล้วว่า มันไม่ใช่ตัวเรา กายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา สังขารทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศลทั้งหลายไม่ใช่เรา จิตก็เกิดดับไปทางทวารต่างๆ จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา เห็นไหม มันจะมีปัญญาขึ้นมา ถ้าใจเราตั้งมั่นได้ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขสำคัญว่าจะเกิดปัญญาหรือไม่นี่ อยู่ที่ว่าจิตตั้งมั่นหรือจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ถ้าจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์จะเป็นสมถะ อย่างบางคนเดินจงกรมแล้วเพ่งอยู่ที่เท้า ยกเท้า ย่างเท้า รู้หมดเลย แล้วก็ตัวลอย ตัวเบา ตัวโคลง ตัวเล็ก ตัวใหญ่ บางคนตัวลอย บางคนรู้สึกวูบวาบเหมือนฟ้าแลบ บางคนรู้สึกขนลุกขนพอง บางคนรู้สึกเหมือนแมลงมาไต่ร่างกาย นี่เป็นอาการของปิติทั้งสิ้นเลย เป็นเรื่องของสมถะ

ทำไมคิดว่าทำวิปัสสนาแล้วกลายเป็นสมถะ ก็เพราะจิตไม่ตั้งมั่น ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะเจริญปัญญาไม่ได้ เพราะว่าสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะไหลไปอยู่ในอารมณ์แล้วไปแช่ ไปเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะเพ่งอะไรก็เป็นสมถะทั้งหมด ถ้าจิตตั้งมั่นก็จะเดินวิปัสสนาได้ เห็นความเป็นจริง ทีนี้พอเห็นความจริงแล้วมาถึงตัวสุดท้ายใช่ไหม ทีแรกหลวงพ่อบอก “ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น” ประโยคสุดท้าย “และเป็นกลาง”

เวลาที่เราไปเห็นสภาวะแล้วบางทีจิตก็ยินดีขึ้นมา บางทีจิตก็ยินร้ายขึ้นมา เช่น เราเห็นจิตใจของเรามีความสุข เราก็พอใจ หลายคนภาวนานะ ดูจิตดูใจ ดูไปเรื่อยๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ ดับไป เกิดความปรุงแต่งละเอียด ที่เรียกว่า ความว่าง ขึ้นมา ความว่างๆ ที่เราภาวนาแล้วไปเห็นเข้านี่ เป็นแค่ความปรุงแต่งละเอียด ไม่ใช่นิพพานนะ นิพพานไม่ได้ว่างอนาถาแบบนั้น นิพพานไม่ได้ว่างแบบมีขอบ มีเขต มีจุด มีดวง มีวงแคบๆ อยู่ และว่างอยู่นิดๆ หน่อยๆ อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าช่องว่าง

เพราะฉะนั้นบางคนภาวนาจนใจว่างขึ้นมา พอใจว่างแล้ว ราคะเกิด พอใจในความว่าง พอใจในความนิ่ง ไม่ยอมเจริญปัญญาต่อ มีเยอะนะ ตอนนี้เริ่มมีเยอะขึ้น ภาวนาแล้วก็ใจสบาย มีความสุข พอมีความสุขแล้วพอใจแค่นี้แล้ว ไม่มารู้กาย ไม่มารู้ใจ จิตไม่สามารถทวนกระแสเข้ามารู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ที่หลวงพ่อพูดบ่อยๆ ว่า จิตไม่ถึงฐาน น่ะ จิตมันไหลตามอารมณ์ไปเพลินๆ ว่างๆ อยู่ข้างนอก นี่ รู้อย่างไม่เป็นกลาง รู้แล้วหลงยินดี บางทีเห็นกิเลสเกิดขึ้นก็เกลียดมันนะ หาทางต่อสู้ใหญ่เลย ทำอย่างไรจะเอาชนะกิเลส หรือเรานั่งสมาธิอยู่มันปวดมันเมื่อย ทำอย่างไรจะชนะความปวดความเมื่อย นี่คิดภาวนาเอาชนะนะ คิดภาวนาเอาชนะหรือคิดภาวนาแล้วท้อแท้ตามกิเลสไป นี่ก็คือความไม่เป็นกลางทั้งสิ้น ถ้าหากเรารู้ทันความไม่เป็นกลาง ให้รู้ทันนะ เช่น เราไปเห็นคนนี้ ใจเราชอบขึ้นมา เรารู้ทันว่าใจชอบ นี่ใจไม่เป็นกลางแล้ว ชอบขึ้นมา ต่อมาเรามีสติ รู้ทันว่าใจไปชอบเขา เราเกิดความไม่ชอบความชอบนี่ขึ้นมาอีกแล้ว นี่ไม่เป็นกลางอีกแล้ว เรารู้ทันว่าใจไม่ชอบ นี่รู้ความไม่เป็นกลาง แล้วมันจะเป็นกลางของมันเอง

ความเป็นกลางมีหลายระดับ อันนี้ก็เทศน์เรื่อยๆ นะ ความเป็นกลางด้วยสมถะก็มี ไปเพ่งเอาไว้แล้วมันก็เป็นกลาง เป็นกลางด้วยสติก็มี เป็นกลางด้วยปัญญาก็มี เป็นกลางด้วยสติคือพอไปรู้ทันความไม่เป็นกลาง ความไม่เป็นกลางดับไป อันนี้ก็ยังใช้ได้นะ แต่ว่าเป็นกลางที่แท้จริงจะเป็นกลางด้วยปัญญา คือเห็นความจริงซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา เห็นซ้ำไปซ้ำมานะ สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว กุศลทั้งหลายก็ชั่วคราว พอเห็นอย่างนี้ใจจะเป็นกลางเอง อันนี้เป็นกลางด้วยปัญญา ความเป็นกลางด้วยปัญญานี่แหละ คือประตูของการบรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อจิตเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว จิตจะหมดความดิ้นรน ถ้าจิตเป็นกลางด้วยวิธีอื่น จิตยังดิ้นรนเพื่อเข้าไปสู่วิธีนี้ จิตยังต้องดิ้นรนอีก เช่น เป็นกลางเพราะสมถะ วันไหนไม่เป็นกลาง ก็ต้องกลับไปทำสมถะเพื่อให้มันมาเป็นกลางอีก ถ้าเป็นกลางเพราะปัญญามันจะเลิกดิ้น มันจะรู้เลยว่าทุกอย่างในโลกนี้ของชั่วคราว ทุกอย่างเป็นภาพลวงตา ใจมันเห็นอย่างนี้นะ ใจมันไม่ดิ้นแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในกายในใจ ร่างกายจะแก่ จะเจ็บ จะตาย ใจก็ไม่ดิ้นรน จิตจะสุขหรือจิตจะทุกข์ จิตใจก็ไม่ดิ้นรน กระทั่งอกุศลเกิดขึ้น เช่น บางทีภาวนาแล้วมันมืดๆ มัวๆ ภาวนาแล้วมัว ดูไม่รู้เรื่องแล้ว นี่ ส่วนมากจะมาตายตอนนี้ก็มี พอดูไม่รู้เรื่องแล้วทุรนทุรายแล้วเห็นไหม อยากดูให้ชัด อยากรู้ให้ชัด นี่ใจไม่เป็นกลาง ถ้าดูไปแล้ววันนี้มันมัวๆ จิตมีแต่โมหะ มัวๆ รู้ว่ามีโมหะนะ อย่าไปเกลียดมัน รู้ด้วยความเป็นกลางซิ มันจะขาดสะบั้นต่อหน้าต่อตาเลย

เพราะฉะนั้นจำไว้นะ คีย์เวิร์ด (keyword) ทั้งหลาย ให้รู้กายรู้ใจ มีสติ สติที่แท้จริง รู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันด้วย ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต รู้ตามความเป็นจริง คืออย่าไปแทรกแซง อย่าไปบังคับเขา รู้ตามความเป็นจริง คือเป็นไตรลักษณ์ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ตั้งมั่นและก็เป็นกลาง ถ้าจิตไม่เป็นกลางให้รู้ทันว่าไม่เป็นกลาง นี่เป็นทางเดินที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกันมา เป็นหลักในสติปัฏฐาน ในวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง หลวงพ่อเอามาพูดใหม่ ด้วยภาษาใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่ๆ ฟัง

CD ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 25

File: 511116.mp3

Time: 13m38 – 32m06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เบื้องต้นก็ต้องอาศัยจงใจรู้ไปก่อน แต่มรรคผลเกิดเมื่อไม่จงใจ

mp3 (for download) :ไม่จงใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สังเกตจิตใจของเราไปเรื่อยๆ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวรู้ เดี๋ยวหลงนี่นะ สังเกตไป นี่เรียกว่า จิตสิกขา เรียนเรื่องจิต จนกระทั่งจิตจำสภาวะได้แม่น สติเกิดเอง จิตตั้งมั่นขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนา ตรงที่ไม่เจตนาเป็นธรรมะที่สำคัญมาก ถ้ายังเจตนาอยู่เป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน ถ้าไม่ได้เจตนา มันรู้ตื่นขึ้นมาเองนี่เป็นกุศลที่มีกำลังกล้า ตรงที่จงใจที่จะมีสติ จงใจรู้สึกตัว จงใจที่จะปฏิบัติเป็นมหากุศลจิตเหมือนกัน แต่เขาเรียกว่ามหากุศลจิตชนิด สสังขาริกัง สสังขาริกังคือมันเจือด้วยการจงใจ น้อมไปทำ พวกนี้เป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน แต่ถ้าเราฝึกไปตามเหตุตามผลที่หลวงพ่อบอกนะ หัดรู้สภาวะไปจนจิตมันเกิดสติขึ้นมาเอง มันตั้งมั่นขึ้นมา เรารู้สภาวะที่จิตตั้งมั่นกับจิตตั้งแช่ จิตไม่ไหลไปแช่ จิตตั้งมั่นตื่นขึ้นมา สภาวะอย่างนี้ไม่ได้เจตนาให้เกิด เรียกว่า อสังขาริกัง จิตที่เป็นมหากุศลชนิดอสังขาริกังนี่มีกำลังกล้า

ทำนองเดียวกันนะ ถ้าอกุศลที่ต้องชักชวนให้เกิดนี่มีกำลังอ่อน อกุศลที่เกิดเองอัตโนมัตินี่มีกำลังกล้า เช่น บางคนนะถูกเขาด่ามาสามวันสามคืนก็ชกเขาไปทีหนึ่ง เห็นไหมอกุศลมันเกิด โทสะเกิดเพราะถูกยั่วยุ อันนี้อกุศลอย่างนี้ยังอ่อน อีกอันหนึ่ง เห็นหน้าใครก็อยากฆ่ามันหมดเลยนะ จับเชือดไปหมดเลย โดยสันดานเจอใครก็ฆ่าทิ้ง นี่อกุศลมีกำลังกล้า เพราะฉะนั้น ทั้งกุศลและอกุศลนะ ถ้ามันเกิดเองมันมีกำลังกล้า

จิตที่เป็นกุศลที่จะใช้ในวิปัสสนาต้องมีกำลังกล้า ต้องเกิดเอง ตรงนี้ดูๆ เบื้องต้นนะ เบื้องต้นมันก็ต้องอาศัยจงใจไปก่อน แต่จงใจแล้วก็คอยสังเกต คอยรู้กายรู้ใจจนวันหนึ่งไม่จงใจ รู้โดยไม่จงใจ ตรงที่รู้โดยไม่จงใจนี่สำคัญที่สุดเลย ถ้ายังจงใจรู้นี่มรรคผลจะไม่เกิดในขณะนั้นหรอก คนทั่วๆ ไปถ้าไม่จงใจจะรู้จิตจะหนีไปเลย รู้สึกไหม ถ้าไม่จงใจปฏิบัติจิตจะหนีหายไปไหนต่อไหน หนีไปเที่ยวเลย ถ้าจงใจก็กลายเป็นการเพ่งจ้อง สุดโต่งอยู่สองอย่างนี้ หนีไม่รอดเลย แต่พอหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ มันก็จงใจบ้างไม่จงใจบ้าง ต่อไปจิตมันคุ้นเคยที่จะรู้สึกตัวโดยที่ไม่ได้จงใจ มันคุ้นเคยที่จะรู้สึกโดยไม่จงใจ มันจะเกิดรู้สึกขึ้นมาเอง ไม่หลงไปและก็ไม่ได้จงใจรู้สึก รู้ แต่ไม่จงใจรู้สึก ตรงนี้เกิดขึ้นมา บางคนแว๊บแรกเท่านั้นก็ขาดสะบั้นเลย

ทำไมไม่จงใจแล้วขาดสะบั้นตรงนั้น ความจงใจที่จะปฏิบัตินี่นะ ความจงใจเป็นเจตนาทางใจ เจตนาทางใจนี่นะ มีชื่ออันหนึ่งเรียกว่า มโนสัญญเจตนา เจตนาความจงใจ มโนสัญญะ มีความจงใจที่จงใจจริงๆ รู้เนื้อรู้ตัวไม่ได้ทำด้วยไขสันหลังนะ มี สัญญะ มีสัญญาอยู่ จงใจจริงๆ ตั้งใจจริงๆ แล้วเป็นการทำกิจกรรมทางใจ ทางมโน เมื่อมีมโนสัญญเจตนาเกิดขึ้น จิตจะเกิดการกระทำกรรม เพราะฉะนั้นในอภิธรรมจะสอนบอก มโนสัญญเจตนา นี่เป็นอาหาร เป็นปัจจัยที่เรียกว่า อาหารปัจจัย ทำให้เกิดการกระทำกรรม เมื่อไรจิตเราเกิดเจตนา เมื่อนั้นจิตจะเกิดการทำงาน การกระทำของจิตนี่มีชื่อๆ หนึ่งนะ ชื่อว่า กรรมภพ ทันทีที่จิตมีเจตนาที่จะปฏิบัติ จิตก็สร้างภพเรียบร้อยแล้ว แต่เบื้องต้นก็ต้องสร้างภพก่อน เพราะศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นในภพ ไม่เกิดขึ้นนอกภพ

เพราะฉะนั้น เบื้องต้นก็เจตนา แต่ต้องรู้ทันนะรู้ทัน ไม่ใช่เจตนาแล้วยิ่งหมกมุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ เจตนาแล้วรู้ทันไปเรื่อยๆ นะ ใจจะค่อยคลายเจตนาออก ต่อๆ มาใจคุ้นเคยที่จะรู้โดยไม่เจตนา คราวนี้รู้โดยไม่เจตนาจะไม่เกิดการกระทำกรรม เมื่อจิตไม่ได้ทำกรรม จิตไม่ได้สร้างภพนะ จิตจะได้เห็นสิ่งที่อยู่เหนือภพคือ นิพพาน เพราะฉะนั้น จำเป็นมากนะตรงที่ว่าต้องภาวนาจนหมดความจงใจถึงจะเห็นนิพพานได้ ถ้ายังจงใจอยู่แม้แต่เล็กแต่น้อยนะ จิตจะทำกรรม จิตจะสร้างภพ เมื่อสร้างภพอยู่ไม่เห็นนิพพาน แต่อาศัยการปฏิบัตินี่ สร้างภพก็จริงนะ แต่ว่าเจริญไปเรื่อย ศีล สมาธิ ปัญญา มันแก่รอบขึ้นมา ต่อไปมันเกิดรู้สึกตัวอัตโนมัติ ไปรู้สภาวะเข้าแล้ว รู้โดยจิตที่ตั้งมั่นอัตโนมัติอีก เห็นไหม สติก็อัตโนมัติ สมาธิก็อัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติมันเกิด จะเห็นสภาวะทั้งหลายเกิดแล้วดับไป จิตก็วางสภาวะเพราะจิตไม่ได้สร้างภพนี่ จิตไม่ได้ปรุงแต่งต่อ มันขาดวั๊บลงไป พ้นจากความปรุงแต่งตรงนั้นเลยนะ ค่อยฝึกเอานะ ไม่ได้ยากอย่างที่คิดหรอก ง่าย ง่ายจริงๆ นะ ไม่หลอกหรอก

CD: สวนสันติธรรม 26

510807

9.18 – 14.36

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปัญญาที่สำคัญก่อนเกิดอริยมรรค และความเป็นกลางแบบต่างๆ

mp3 (for download) : ปัญญาที่สำคัญก่อนเกิดอริยมรรค และความเป็นกลางแบบต่างๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญาน

สังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราว

มีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา

เป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบ

เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้

เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติ

เป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญา

เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย

เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ

แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย

ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา

ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย ….

ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก

พวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น

อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะ

ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้

อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ

วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

เสถียรธรรมสถาน วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๒

File: 520906

นาทีที่ ๒๒ – ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตใจของเรา ถ้าไม่ไปแทรกแซงและตามรู้ไปเรื่อยๆ มีแนวโน้มที่จะไปสู่มรรคผลนิพพานโดยตัวของมันเอง

mp3 (for download): จิตใจของเรา ถ้าไม่ไปแทรกแซง และตามรู้ไปเรื่อยๆ มีแนวโน้มที่จะไปสู่มรรคผลนิพพานโดยตัวของมันเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ :

ธรรมะอยู่ที่กายที่ใจของเรานี้เอง
เราอยู่กับธรรมะมาตั้งแต่เกิด แต่ใจเราไม่ยอมรับธรรมะ
ใจเราไม่ยอมรับความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวเรา
เราอยากได้สิ่งซึ่งไม่ใช่ความจริง อยากให้เที่ยง อยากให้สุข อยากบังคับให้ได้
เพราะฉะนั้นภาวนาแทบเป็นแทบตาย ธรรมะก็ไม่เข้ามาสู่ใจของเรา
เพราะใจของเราปฏิเสธธรรมะ
ไม่มีใครปฏิเสธธรรมะ เราปฏิเสธเองนะ

จิตใจของเรานี่ ถ้าไม่ไปยุ่งกับมันนะ
มันมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงธรรมโดยตัวของมันได้นะ
ถ้าเราไม่ไปแทรกแซงมัน มีแนวโน้มที่จะดี

ในแง่ของสมถะ ตัวจิตเป็นประภัสสรอยู่แล้ว ผ่องใส
แต่มันถูกกิเลสมอมเมาเอา จิตใจก็เลยไม่สงบ ไม่สบาย นี่ในแง่สมถะนะ
ในแง่วิปัสสนานี่ ถ้าเราตามรู้กายตามรู้ใจไปเรื่อยๆ นะ
จะเห็นความจริงของเขา เราก็เข้าถึงธรรมะ ไม่ได้มีอะไรยากเลย เราชอบทำเกิน

มีครั้งนึงพระพุทธเจ้าอยู่ริมแม่น้ำคงคา กับพระกลุ่มใหญ่
แล้วท่านก็ชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำมา
ชี้บอก ภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้นี้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา
ถ้าท่อนไม้นี้ไม่ติดฝั่งซ้ายไม่ติดฝั่งขวา
ไม่ไปเกยตื้น เกยตื้นอยู่ตามเกาะตามแก่งอะไรอย่างนี้
ไม่ติดฝั่งซ้าย ไม่ติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น
ไม่ถูกคนหรืออมนุษย์จับเอาไว้
ไม่ถูกน้ำวนดูดจมลงไปหรือวนอยู่ที่เดิมไปไหนไม่ได้
ไม่ผุพังเน่าเสียก่อน
ท่อนไม้นี้ก็จะลอยไปสู่มหาสมุทร

จิตของเรานี้เหมือนกัน มีแนวโน้มที่จะไปสู่มหาสมุทรคือมรรคผลนิพพาน
ถ้าไม่ติดฝั่งซ้ายไม่ติดฝั่งขวา
ไม่ไปเกยตื้น
ไม่ถูกมนุษย์และอมนุษย์จับไว้
ไม่ถูกน้ำวนดูดไว้
ไม่เน่าในเสียก่อน
ถ้าจิตของเรามีคุณสมบัติอย่างนี้นะ
การจะบรรลุมรรคผลนิพพานมันจะเป็นไปเอง
มันจะเป็นไปเอง มันมีแนวโน้ม โน้มน้อมไปสู่มรรคผลนิพพานโดยตัวของมันเอง
เพราะฉะนั้นคนที่สกัดกั้นมันไว้ส่วนมากก็คือตัวเรานี่เอง

คำว่า ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ก็คือการที่จิตของเราไปหลงติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคู่ๆ
บางคนยึดในความดี เกลียดความชั่วรุนแรงนี่ติดนะ
บางคนยึดชั่วเกลียดดี ก็ติดอีกนะ
บางคนยึดสุขเกลียดทุกข์ ก็ติดอีก
ติดคู่ที่สำคัญมากเลย ก็คือติดในการเผลอไปกับติดในการเพ่งไว้
ติดในกามสุขัลลิกานุโยค คือจิตใจหลงตามกิเลสไป
เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
แล้วก็เพ่งเอาไว้ นั่งปฏิบัติเกือบทั้งหมดคือเพ่งอยู่นะ
เพราะฉะนั้นติดฝั่งอยู่นะ ไปไหนไม่ได้หรอก
นักเพ่งทั้งหลายก็ติดอยู่บนฝั่งข้างหนึ่งนั่นเอง
ท่านไม่ได้บอกนะ ว่าข้างซ้ายหรือข้างขวา
ท่านแค่ว่ามันมีสองฝั่งแล้วติดฝั่ง คือติดในธรรมที่มันเป็นคู่ๆ

เกยตื้น คือไปติดอยู่ในภพอะไรอย่างหนึ่งที่เราสร้างขึ้นมา
หลายคนภาวนาจนจิตว่าง โล่ง สว่างไสวนะ แล้วก็เพลิดเพลินพอใจอยู่ในภพอันนั้น
นี่เกยตื้นแล้ว ชาตินี้ไม่ไปไหนแล้ว
บางคนดูจิตดูใจนะ จิตใจว่างสว่างอยู่ข้างหน้าอย่างนี้
ที่หลวงพ่อพูดว่าจิตไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน คือจิตไปสร้างภพอันนึงอยู่ข้างนอก
แล้วจิตก็ไปเกาะนิ่งๆ อยู่ในภพอันนั้น นี่เกยตื้นแล้ว เดินปัญญาต่อไปไม่ได้

ถูกมนุษย์จับไว้ ก็คือติดหมู่คณะ ติดพรรคติดพวก
ไปไหนก็กะเตงกันไปเป็นกลุ่มเบ้อเร่อเลย
เมื่อก่อนอยู่วัดป่านะ มีรถทัวร์เข้าไปกันเยอะ
พอรถทัวร์เข้ามา คนในวัดจะคุยกันแล้ว โอ้ พวกอรหันต์ทัวร์มาอีกแล้ว
นี่พวกอรหันต์ทัวร์ เพราะชอบไปหาข่าวลือว่าวัดไหนมีพระอรหันต์นะ จัดทัวร์ไป
อรหันต์หนึ่งวัด สองวัด สามวัด นี่วันนี้ไหว้อรหันต์เจ็ดวัดแล้ว ชาตินี้ไม่ตกนรกแล้ว
นี่ติดหมู่ติดคณะนะ
บางคนก็ห่วงคนอื่น ห่วงคนอื่นไม่ห่วงตนเอง
ห่วงหมู่คณะ ห่วงพรรคพวก
เห็นพรรคพวกติดกรรมฐานพยายามไปแก้ ตัวเองเลยติดด้วย อย่างนี้ก็มีนะ

ถูกอมนุษย์จับไว้ อะไรคืออมนุษย์ ชื่อเสียง เกียรติยศทั้งหลาย
ภาวนาไปแล้วดัง เป็นอาจารย์ใหญ่ดัง ขี่หลังเสือลงไม่ได้แล้ว
ชาตินี้ก็เลยอยู่บนหลังเสือตลอดไป มีนะ ไม่ใช่ไม่มี

ถูกน้ำวนคืออะไร น้ำวนคือกามนะ
น้ำวนคือกาม
ถ้าภาวนาดูจิตดูใจเป็นจะเห็นเลย จิตของเราจะหมุนอยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดเวลา
หมุนติ้วๆ เลยนะ
คือเดี๋ยวก็วิ่งหาอารมณ์ทางตา เดี๋ยวก็วิ่งหาอารมณ์ทางหู
เดี๋ยววิ่งหาอารมณ์ทางจมูก ไปดมกลิ่น
เดี๋ยวก็วิ่งหารสที่เพลิดเพลิน หาสัมผัสที่ถูกอกถูกใจ
นี่จิตจะหมุนติ้วๆ หาอารมณ์อยู่อย่างนี้ ไปไหนไม่รอดหรอก
ยังติดอยู่ในกาม คือถูกน้ำวนไว้

จิตเน่าใน คือพวกไม่มีศีลธรรม ก่อกรรมทำชั่ว
บางคนดูถูกศีลนะ เจริญปัญญาได้แล้ว ไม่ต้องถือศีล เข้าใจผิด
ไม่ถือศีลไม่ได้ ถ้าเราไม่ถือศีลนะ ปัญญาของเราจะเป็นปัญญาของมหาโจร
เพราะฉะนั้นเราต้องมีศีล ถ้าเราทุศีลเมื่อไหร่นะ ก็เน่าอยู่ข้างใน
เปลือกนอกดูสวยงาม แต่เน่าอยู่ข้างใน นี่บรรลุมรรคผลไม่ได้

เพราะฉะนั้นพวกเรานะ สำรวจตัวเอง
เราติดฝั่งซ้ายฝั่งขวาไหม
เราไปเกยตื้น คือเราไปติดอยู่ในภพใดภพหนึ่งที่เราสร้างขึ้นเองหรือเปล่า
เราพัวพันในหมู่คณะ ปล่อยวางไม่ได้ จะหอบกระเตงกระเตงกันไป
หรือเราติดในชื่อเสียง
บางคนไปพูดธรรมะแล้วสนุกนะ
นี่ ได้แสดงธรรมะแล้วสนุก เพลิดเพลิน มีความสุข ติดอยู่ในความสุข
นี่ถูกอมนุษย์จับไว้
หรือใจของเราวันๆ หมกมุ่นในกามไหม
หมกมุ่นอยู่ในกามไปไม่รอดหรอก
ใจของเรามีศีลมีธรรมไหม
สำรวจนะ ลองไปสำรวจตัวเองเป็นการบ้าน
ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วนี่ ให้รู้กายแบบสบายๆ รู้จิตใจไปอย่างสบายๆ
ถึงวันนึงท่อนไม้นี้จะลอยไปถึงแม่น้ำ ถึงมหาสมุทรนะ
ออกจากแม่น้ำคงคา ถึงมหาสมุทร
ใจเราก็จะออกจากที่คับแคบไปสู่ที่กว้างไร้ขอบไร้เขต
จิตใจของเราแต่ละคนอยู่ในที่ขังนะ มีกรอบมีขัง มีจุดมีดวง มีกรอบขังอยู่แคบๆ
ถ้าภาวนาไปถึงช่วงนึงจะเห็นใจเราอยู่ในแคปซูล ใจเหมือนมีเปลือกหุ้มอยู่ ใจไม่มีอิสระ
วันใดที่เราออกสู่ทะเลได้ คือเข้าถึงธรรมแท้ๆ นะ ใจจะโล่งว่างเลยนะ
กว้างขวางไร้ขอบไร้เขต ไม่มีจุดไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง
เพราะฉะนั้นใจไม่ต้องวิ่งไปวิ่งมาเหมือนที่เคยเป็น
ใจอยู่ในที่ทุกสถานเลย เต็มไปหมดเลย
เพราะฉะนั้นอย่างเวลาพวกเราภาวนา
เรามีปัญหาติดขัดหรือเกิดอะไรขึ้นนะ
เราระลึกถึงพระพุทธเจ้านะ เราจะสัมผัสท่านได้ทันทีเลย
พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่อินเดีย คุณธรรมของท่านยังครอบโลกเต็มโลกอยู่อย่างนี้
ใจเรานึกถึงขึ้นมาจิตใจเราก็สงบ ตั้งมั่น มีความสุขขึ้นมาฉับพลันเลยนะ
หรือบางครั้งภาวนาติดขัด ไม่รู้จะทำยังไงดี
ครูบาอาจารย์ก็อยู่ไกล เราไหว้พระสวดมนต์ เราตามรู้ตามดูของเราไป
บางทีธรรมะจะถ่ายทอดออกจากใจของเราเอง
หรือบางคนมีภาพประกอบ บางคนมีเสียง
เห็นพระพุทธเจ้าไปบอกบ้าง
เลยคิดว่าพระพุทธเจ้ามาจริงๆ นะ
จริงๆ จิตนั่นเองมันถ่ายทอดธรรมะออกมา
จิตใจโน้มเอียงที่จะอยู่กับธรรมะ
เวลาติดขัดขึ้นมาจิตจะสอนธรรมะได้ เป็นเรื่องแปลกนะ
ค่อยๆ ดู ท้าให้พิสูจน์นะ ไม่ได้ชวนให้เชื่อ
ลองภาวนาดู เอาซีดี เอาหนังสือหลวงพ่อไป ไปฟังไปอ่าน
แจกให้ฟรีนะ ไปฟังไปอ่านแล้วค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราไป

สวนสันติธรรม แผ่นที่ 19

File: 500310B

Time: 30m44 – 39m45

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าท้อถอย วันหนึ่งมันต้องได้

mp3 (for download) : อย่าท้อถอย วันหนึ่งมันต้องได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

“พวกเราหัดเจริญสตินะ อย่าฟังอย่างเดียว ฟังเนี่ย ถ้าขืนแค่รับฟังธรรมะไปเนี่ย แค่แก่ ๆ ก็ลืมหมดละ แต่ต้องลงมือปฏิบัตินะ ให้ใจคุ้นเคยกับการเจริญสติไว้ คอยรู้สึกกายคอยรู้สึกใจไว้ ต่อไปไปฟังธรรมะนะ สมมติว่าชาตินี้ไม่บรรลุ ชาติต่อไปได้ยินธรรมะ ประโยคสองประโยคอาจจะบรรลุเลยก็ได้ เพราะงั้นคนที่เขาบรรลุเร็วเพราะเขาลำบากมาก่อนแล้วทั้งนั้นเลย ไปดูในประวัติพระสาวกทั้งหลาย พวกเราได้ฟังธรรมะนะมีบุญแล้วล่ะ หัดเจริญสติ หัดรู้กาย หัดรู้ใจไป

อย่าท้อถอย บางคนจะได้ในชีวิตนี้ หลายคนจะได้ในชีวิตนี้ แต่อีกหลายคนจะยังไม่ได้ในชีวิตนี้ ต้องสั่งสมไปอีก อย่าท้อถอย ถ้าท้อถอยก็คือไม่ได้ตลอดไป เดินไปเรื่อยนะ วันละก้าวสองก้าว มีสติรู้กายรู้ใจเรื่อยๆไป วันหนึ่งมันต้องได้ เส้นทางนี้นะ มันเป็นเส้นทางที่ไม่ได้ยาวไกลเท่าที่คิดหรอก เส้นทางนี้ไม่ไกลเท่าไหร่ คล้ายๆจากนี่ไปศรีราชาเอง เพราะจริงๆนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตานี้ต่างหากล่ะ”

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 30

File : 520612

15min31-16 min42

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตที่ถูกต้องได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

mp3 (for download): การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อขอยกตัวอย่างกรรมฐานอันหนึ่งก็คือการดูจิต ถ้าเราดูจิตเป็นนะเราจะมีทั้งศีลทั้งสมาธิทั้งปัญญา นะ ทำอันเดียวนี้แหละ ได้หมดเลย นะ แต่ต้องทำให้เป็นนะ ทำยากเหมือนกันแหละ

ขั้นแรกเลยเราหัดรู้จักจิตใจของตนเองก่อน นะ ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เกิดลอยๆอยู่ในอากาศหรอกนะ มันอยู่ที่จิตที่ใจเราเนี่ยเราต้องให้พัฒนาขึ้นมาที่จิตที่ใจของเรา คุณงามความดี กุศลทั้งหลาย เกิดที่จิตเรานี่แหละ ไม่ได้ไปเกิดที่ร่างกายหรือเกิดที่อื่น นะ เพราะฉะนั้นเราเรียน ถ้าเรียนเอาให้เร็วๆนะ เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตนเอง ขั้นแรกเลยหัดสังเกตสภาวะไปเรื่อยๆ จิตมันโลภขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันหลงไปละ คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ไป ก็รู้ว่ามันหลงไปคิด จิตฟุ้งซ่านรู้ว่ามันกำลังฟุ้งซ่านอยู่ จิตหดหู่รู้ว่ามันหดหู่อยู่ จิตเป็นสุขรู้ว่ามันเป็นสุขอยู่นะ จิตเป็นทุกข์รู้ว่ามันเป็นทุกข์อยู่ จิตเฉยๆรู้ว่าจิตเฉยๆ นะ หัดรู้ทันสภาวะของจิตใจไปเรื่อยๆ อย่าไปคาดหวังว่าจะรู้ไปถึงเมื่อไร รู้แล้วจะได้อะไร หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆนะ

ตอนนี้มีคนที่ฟังหลวงพ่อ ฟังด้วยต่อหน้าต่อตาแบบนี้บ้าง ฟังจากซีดีบ้าง คนฟังจากซีดีก็เยอะ นะ เมื่อวันจันทร์หลวงพ่อไปเทศน์ที่สระบุรี มีคนที่อยู่ทางโน้นนะ บางคนไม่เคยมาฟังที่นี่ นะ ไม่เคยเจอหลวงพ่อด้วย ฟังแต่ซีดีนะ เขาฟังแล้ว ได้ยินว่าให้หัดรู้สภาวะ รู้สภาวะ เขาก็หัดดูสภาวะไป นะ อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้เรื่อยๆนะ คอยรู้ไป โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่านหดหู่ สุขทุกข์ อะไรอย่างนี้ ดีใจ เสียใจ ยินดียินร้าย อะไรๆเกิดขึ้นในจิตในใจเขาคอยดูเรื่อยๆ ปรากฎว่าจิตของเขาตื่นขึ้นมา นะ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขึ้นมา นะ อันนี้เขาได้สมาธิแล้วนะ ได้สมาธิแล้ว

ถัดจากนั้นคือขั้นเจริญปัญญา นะ ทีนี้เราหัดดูสภาวะบ่อยๆ ต่อไปเนี่ยไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในจิตของเรา แม้แต่นิดเดียว สติจะระลึกได้เอง เราต้องฝึกจนสติเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติถึงจะเรียกว่าใช้ได้ ถ้าสติยังไม่อัตโนมัตินะ หัดดูสภาวะไปเรื่อย มันโลภแล้วก็รู้ รู้บ้างหลงบ้างนะ มันไม่ได้รู้ตลอดเวลาหรอก นะ เราเคยชินที่จะหลง มันหลงตลอดวันน่ะ ส่วนใหญ่นานๆรู้ทีหนึ่ง นะ

วิธีที่จะช่วยให้เรารู้ได้บ่อยๆนะ คือ หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง เรียกว่า วิหารธรรม นะ หาวิหารธรรมมาสักอันหนึ่ง อาจจะอยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ อยู่กับท้องพองยุบก็ได้ ขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ เดินจงกรมแล้วเห็นร่างกายเดินก็ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ไปเรื่อยๆก็ได้ หัดรู้สภาวะอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไว้ นะ คอยรู้ทันจิตเป็นตัวหลัก นะ เอาวิหารธรรม เอาเครื่องอยู่นี้เป็น Background เป็นพื้นหลังเท่านั้นเอง เป็นฉากหลัง นะ

เช่น เราคอย พุทโธ พุทโธ ไปนะ แล้วจิตมันหนีไปคิด เราก็รู้ทันว่าจิตหลงไปคิดแล้ว นี่คือการหัดรู้สภาวะ นะ อ้อ..จิตหลงไปคิดหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง มาพุทโธ พุทโธ อีก หลงไปคิด คราวนี้ไม่ทันรู้ทัน หลงไปคิดเรื่องนี้แล้วเกิดความโลภ มีสติแล้วไปรู้ทันอีก โอ้..นี่โลภเกิดขึ้นแล้ว เนี่ยจิตจำสภาวะของความโลภได้ ต่อไปความโลภเกิดนะ สติก็เกิดเอง

บางทีหลงไปคิด แล้วก็รู้ไม่ทันความโกรธเกิดขึ้น เกิดรู้ทันว่าจิตกำลังโกรธอยู่ อ๋อ..ความโกรธหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง นะ จิตจำสภาวะของความโกรธได้แม่น ต่อไปพอจิตมันโกรธขึ้นมานะ สติระลึกได้เองว่า อ้อ..โกรธไปแล้ว ไม่ได้เจตนารู้เลยนะ มันรู้เอง อ้าวโกรธไปแล้วนี่ โลภไปแล้วนี่ หลงไปแล้วนี่ ฟุ้งซ่านไปแล้ว หดหู่ไปแล้ว ดีใจเสียใจ สุขทุกข์ เฉยๆ ไปแล้ว นะ เฝ้ารู้อย่างนี้เรื่อยๆ

หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งเป็นเครื่องอยู่ของจิต แล้วคอยรู้ทันจิต เหมือนเป็นบ้าน เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับบ้านมากกว่าเจ้าของบ้าน จิตคือเจ้าของบ้าน นะ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจอะไรก็ได้ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วจิตมีปีติ รู้ทัน หายใจแล้วจิตเป็นสุข รู้ทัน หายใจแล้วจิตสงบ มีอุเบกขา รู้ทัน หายใจแล้วไม่ยอมสงบเลย ฟุ้งลูกเดียวเลย ก็รู้ทัน หัดรู้อย่างนี้เรียกว่าหัดรู้สภาวะนะ ต่อไปสติเกิดขึ้นมา

ทีนี้พอสติเกิดเอง แล้วต่อไป กิเลสมันเกิดอีก สติเห็นได้เอง ทันทีที่สติมันไปเห็นเองนะ กิเลสมันจะหายไปละ มันจะครอบงำจิตไม่ได้ นะ ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านเลยสอน สอนดีมาก หลวงปู่ทา อยู่วัดถ้ำซับมืด นี่ ท่านสิ้นไปแล้ว หลวงปู่ทานะ เจอท่านทีไรท่านพูดนิดเดียว บอก “มีสติรักษาจิต” มีสติรักษาจิตนะ ท่านไม่ได้บอกให้เรารักษาจิตนะ ท่านให้มีสติ แล้วสตินั่นแหละรักษาจิต หมายถึงว่า พอกิเลสใดๆเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทันนะ กิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ เมื่อกิเลสครอบงำจิตไม่ได้ เราจะผิดศีลได้มั้ย เราจะผิดศีลไม่ได้ จำไว้นะ

คนทั่วๆไปถือศีลอย่างยากลำบาก รู้สึกศีลเป็นของถือยาก เพราะอะไร เพราะไม่มีสติ แต่ถ้าเราฝึกนะ ตามรู้จิตรู้ใจตัวเองไป รู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นจนมันรู้อัตโนมัติขึ้นมาเนี่ย การรักษาศีลไม่ใช่ของยากอีกต่อไปแล้ว นะ เช่น ใจอยากคุยฟุ้งซ่าน สังเกตมั้ยพูดมากเนี่ย เป็นศีลที่ด่างพร้อยง่ายที่สุด รู้สึกมั้ย พูดเพ้อเจ้อ ศีลด่างพร้อยง่ายที่สุดเลย เพราะเรารู้สึกไม่มีโทษเท่าไหร่ พูดได้ สนุกดี นะ แต่พอต่อไปเรา สติเราเร็วนะ เราเห็นจิตอยากพูดเพ้อเจ้อ เราเห็นละ ความอยากนั้นดับไปนะ เราก็ไม่พูดเพ้อเจ้อแล้ว นี่เป็นตัวอย่างนะ ความโกรธเกิดขึ้นมา เรามีสติรู้ทัน ความโกรธครอบงำจิตไม่ได้เราก็ไม่ด่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ ไม่ไปส่อเสียดใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่ฆ่าใคร เห็นมั้ย เราคอยรู้ทันนะ มีสตินี้แหละ สติรักษาจิตให้มีศีลขึ้นมา นะ

ทีนี้พอเราคอยรู้ทันบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ยจิตจะค่อยๆตั้งมั่น กิเลสนั้นล่ะเป็นตัวลากให้จิตมันไหลไป นะ กิเลสหยาบๆนะมันจะขึ้นมาครอบงำจิตแล้วจะทำให้ผิดศีล ถ้ากิเลสยังไม่หยาบ กิเลสมันละเอียดขึ้นมาเรียกว่านิวรณ์ เช่น กามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น จิตมันอาลัยอาวรณ์ในความสุขทางโลกๆขึ้นมา หรือพยาบาทเกิดขึ้น จิตมันคอยคิดคอยปรุงแต่เรื่องไม่ดี เขาว่าเราเมื่อ ๒๐ ปีก่อน เรายังเจ็บไม่หายเนี่ย เพราะใจมีพยาบาท ถ้าเรามีสติรู้ทันนิวรณ์ที่กำลังปรากฎอยู่ นิวรณ์จะดับไปนะ เมื่อไรนิวรณ์ดับไป เมื่อนั้นจิตตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ สมาธิเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติรู้ทันจิตเรื่อยๆนะ จะเกิดศีลอัตโนมัติ แล้วก็รู้ทันลงไปอีกนะ ถ้านิวรณ์กิเลสละเอียดๆผุดขึ้นมาเรารู้ทัน รู้ทัน รู้ทัน ไปเรื่อยนะ กิเลสพวกนี้ลากจิตให้วิ่งไปไม่ได้ กิเลสนิวรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยมายั่ว ยั่วยวน นะ จนกระทั่งกลายเป็นกิเลสหยาบๆ ลากเอาจิตกระเจิดกระเจิงลงไป แต่ถ้าเรารู้ตั้งแต่มันยังตัวเล็กๆนี่มันลากเอาไปไม่ได้ จิตใจก็สงบสิ ใช่มั้ย จิตไม่ถูกมันลากให้ไปคิดในเรื่องกาม ไม่ถูกให้มันลากไปคิดในเรื่องที่พยาบาท ไม่ลากไปคิดฟุ้งซ่าน ไม่ลากไปคิดหดหู่ ไม่ลากไปคิดเรื่องธรรมะแล้วก็สงสัยอยู่นั้นแหละ ไม่ยอมดู นะ เมื่อจิตไม่ถูกกิเลสลากเอาไป ไม่ถูกนิวรณ์ลากเอาไป จิตก็สงบสิ จิตก็ตั้งมั่นเห็นมั้ย ดูจิตแล้วมีสมาธิขึ้นมา

เมื่อปี ๒๕ นะ ปลายๆปี หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์เป็นครั้งที่ ๓ นะ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๑ เนี่ย ไปช่วงเดือนมาฆะ ช่วงมาฆบูชา ใกล้ๆมาฆบูชา ครั้งที่ ๒ ไปช่วงใกล้ๆวิสาขะ นะ แล้วครั้งที่ ๓ เนี่ย หลังจากออกพรรษาแล้วไป ไปส่งการบ้านท่าน ไปส่งรายงานท่านว่าดูจิตแล้วอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ ท่านก็บอกว่า อ้อ..จิตตรงนี้เข้าสมาธิ นะ จิตเป็นสมาธิ ตอนนั้นหลวงพ่อก็ไปบอกท่านนะ เอ๊..หลวงปู่ผมไม่ได้นั่งสมาธินะ ผมดูจิตอยู่เฉยๆน่ะ ทำไมหลวงปู่ว่าเข้าสมาธิ เราลูกศิษย์ชั้นดีนะ ครูบาอาจารย์บอกอะไร เรายังสงสัยเรายังไม่เชื่อทีเดียว เราฟังแต่ไม่เชื่อ ชาวพุทธต้องหัดนิสัยใหม่นะ ทุกวันนี้เราเน้นเรื่องเชื่อฟัง อย่าเชื่อง่าย เชื่อง่ายไม่ใช่ชาวพุทธแต่ต้องฟังนะ ฟังแล้วพิจารณา ฟังแล้วใคร่ครวญ ฟังแล้วตรวจสอบ นะ เห็นจริงแล้วถึงจะเชื่อ

เพราะฉะนั้นหลวงปู่สอนหลวงพ่อนะ บอกว่าจิตมันทำสมาธิ หลวงพ่อก็ยังสงสัยอยู่ กราบเรียนถามท่าน หลวงปู่ ผมไม่ได้นั่งสมาธินะผมดูจิตอยู่ หลวงปู่บอกว่าการดูจิตนั้นจะได้สมาธิอัตโนมัติ นะ โอ้.. ท่านว่าอย่างนี้นะ น้อมรับมา เดี๋ยวมาดูว่าจริงหรือไม่จริง นะ เนี่ยท่านว่าอย่างนี้เราก็ฟัง นะ ไม่เถียงนะ ไม่ใช่เถียงไม่จริงหรอกครับ ยังไม่ได้พิสูจน์เลยดันไปบอกว่าไม่จริง โง่ อย่างนั้นโง่ นะ ก่อนจะบอกว่าจริงหรือไม่จริงนะต้องพิสูจน์ก่อน

อย่างทุกวันนี้ข่าวลือเยอะนะ ชอบลือว่าคนนั้นเป็นพระอรหันต์ นี่ คนนี้อรหันต์ หลวงพ่อปราโมทย์ก็อรหันต์ หันไปหันมา เชื่อก็โง่แล้ว นะ ถ้าเชื่อก็โง่แล้ว ถ้าไม่เชื่อแล้วก็ไม่จริงหรอก ไม่จริงหรอก อันนี้ก็โง่อีกแบบหนึ่ง ใช่มั้ย ต้อง ต้องดู ใช่มั้ย ต้องตรวจสอบ ต้องพิสูจน์ เนี่ย เราแต่ละคนอย่าเชื่อง่าย

นี่หลวงพ่อก็มาดูๆ ผ่านมา ฝึกมาเรื่อยๆ อ๋อ เราดูจิตดูใจเนี่ย มันพลิกไปพลิกมานะ ระหว่างการเดินปัญญากับการทำสมาธิ ถ้าเมื่อไรจิตไปจับอารมณ์อันเดียวไว้ล่ะก็นิ่ง..หยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้น ในความสงบ ในความว่าง ในความไม่มีอะไร อันนั้นคือการทำสมาธิด้วยการดูจิต นะ หรืออย่างเรารู้ทันกิเลส รู้ทันนิวรณ์ที่จะมาย้อมจิต พอรู้ทันนะ กิเลสนิวรณ์ดับไปเนี่ย จิตสงบ จิตตั้งมั่น มีสมาธิขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นี่ดูจิตก็ได้สมาธิจริงๆอย่างที่ครูบาอาจารย์บอก เห็นมั้ยท่านบอกไม่ผิด ท่านบอกถูก แต่ตอนที่ท่านบอกเรายังรู้ไม่ถึง นะ เราก็มาฝึกเอา ไม่ใช่รู้ไม่ถึงแล้วเถียงไว้ก่อน แล้วก็ไม่ลองทำ อันนั้นใช้ไม่ได้ นะ

ทีนี้ ดูจิตนะ กิเลสหยาบครอบงำจิตไม่ได้ ต่อไปก็มีศีล ดูจิตนะ นิวรณ์เกิดขึ้น รู้ทันนิวรณ์ นิวรณ์สลายไป จิตก็ตั้งมั่น มีสมาธิ เรามาดูจิตต่อไปให้เกิดปัญญาทำได้มั้ย ทำได้ เราจะเห็นว่าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น จิตดวงหนึ่งดับไป อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน นะ จิตนี้ไม่คงที่เลย จิตนี้แต่ละดวง แต่ละดวงเนี่ย เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ จิตไม่ได้มีดวงเดียว มิจฉาทิฎฐิจะเห็นว่าจิตมีดวงเดียวแล้วก็เที่ยง คงที่ถาวร จิตนี้คือตัวเรา เป็นอัตตาตัวตนถาวร

แต่ถ้าเราหัด มีสติ รู้ทันจิตเรื่อยๆ เราจะเห็นว่าจิตไม่เที่ยงหรอก จิตบางดวงมีความสุข จิตบางดวงมีความทุกข์ จิตบางดวงเฉยๆ จิตบางดวงเป็นกุศล จิตบางดวงมีกิเลส นะ คนละดวงกัน จิตที่เป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีกิเลสก็อย่างหนึ่ง จิตที่เป็นกุศลก็ยังมีหลายแบบ เป็นกุศลเฉยๆ เป็นกุศลธรรมดา หรือเป็นกุศลที่ประกอบด้วยสติปัญญา นะ มีสติอย่างเดียว หรือมีสติและปัญญา เนี่ย จิตที่เป็นกุศลก็จะมีสองแบบ นะ

จิตที่เป็นอกุศลก็มีหลายแบบ จิตที่โลภก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่โกรธก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่หลงก็เป็นแบบหนึ่ง นะ แล้วจิตที่หลงมีความพิเศษ จิตอกุศลทั้งหมดจะเป็นจิตที่หลง จิตจะโกรธได้ก็ต้องหลงด้วย จิตจะโลภได้ก็ต้องหลงด้วย เพราะฉะนั้นความโกรธและความโลภไม่เกิดเดี่ยวๆ จะต้องเกิดร่วมกับความหลง เกิดร่วมกับโมหะเสมอ ทีนี้บางทีจิตมีโมหะเฉยๆ ฟุ้งซ่านเฉยๆ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีลังเลสงสัยอยู่ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีมีโมหะขึ้นมา นะ แล้วก็โลภ แล้วก็โกรธ นะ ไม่แน่ แต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยเราค่อยเฝ้ารู้ลงไปนะ จิตที่มีความสุขมันก็แบบหนึ่ง จิตที่มีความทุกข์มันก็แบบหนึ่ง จิตที่เฉยๆก็แบบหนึ่ง จิตที่มีปัญญาก็แบบหนึ่ง จิตที่ไม่มีปัญญานะ มีแต่ความรู้สึกตัวอยู่เฉยๆก็แบบหนึ่ง นะ จิตที่โลภ จิตที่โกรธ จิตที่หลง จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่หดหู่ จิตที่ลังเลสงสัย แต่ละอัน แต่ละอัน คนละแบบกันทั้งนั้นเลย จิตที่กลัวกับจิตที่อิจฉาเหมือนกันมั้ย เอ้อ.. กลัวก็เป็นโทสะเหมือนกันนะ อิจฉาก็เป็นโทสะ แต่เห็นมั้ย ไม่เหมือนกัน ยังมีสไตล์ที่แยกออกไป มีรูปแบบย่อยๆออกไปอีก เพราะฉะนั้นกิเลสนานาชนิด ก็อยู่กับจิตนานาชนิด

เราเห็นลงไป ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ จิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล แต่ละดวงไม่เหมือนกัน ดูจากอายตนะก็ได้ จิตที่ไปดูกับจิตที่ไปฟังก็ไม่เหมือนกัน จิตที่ไปดู จิตที่ไปฟัง กับจิตที่ไปคิด ก็ไม่เหมือนกัน เนี่ยดูอย่างนี้นะ เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยวิธีดูจิตที่จะทำให้เกิดปัญญา คือ ดูให้เห็นเลยว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกันหรอก พอเราเห็นว่าจิตแต่ละดวงไม่เหมือนกันแล้วเนี่ย ต่อไปปัญญามันจะเกิดละ มันจะเห็นว่า อ้อ..จิตที่โลภอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปนะ กลายเป็นจิตเฉยๆ จิตเฉยๆอยู่ชั่วคราวแล้วก็กลายเป็นจิตที่โกรธนะ จิตที่โกรธอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป เกิดเฉยๆอีกละ อะไรอย่างนี้ เนี่ยมันจะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย แล้วจะเห็นเลยจิตนี้เกิดดับอยู่เรื่อยๆ

หรือบางทีจิตก็เกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่ใจ เกิดแล้วก็ดับทั้งสิ้น นะ เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อย เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ จิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ดวงเดียวกัน นะ เห็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เราจะรู้เลยว่า จิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล เกิดแล้วดับทั้งสิ้น การที่เห็นจิตที่เป็นกุศลอกุศลเกิดแล้วดับทั้งสิ้น มันจะไม่ได้รู้แค่จิต เราจะรู้สิ่งที่ประกอบจิตด้วย นะ คือ เจตสิก นะ ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล เราก็จะเห็นด้วยว่ามันเกิดดับไปพร้อมๆกับจิตนั่นแหละ นะ นี่เราจะเห็นทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ นะ ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว นะ ทั้งรู้ ทั้งไม่รู้ นี่ เกิดแล้วดับหมดเลย

การที่เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก วันหนึ่งจิตเกิดปัญญาขึ้นมา มันรู้เลยว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา โดยการที่เราเรียนรู้จิตนี่แหละเป็นตัวหลัก นะ ความจริงเรียนอย่างอื่นก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา อะไรอย่างนี้ก็ใช้ได้นะ แต่วันนี้พูดเรื่องการดูจิตมาตั้งแต่เรื่อง ดูจิตให้เกิดศีล ดูจิตจนเกิดสมาธิ นี่ดูจิตจนเกิดปัญญา เราเห็นจิตเขาเกิดดับ เกิดดับ ไปเรื่อย ในที่สุดปัญญามันเกิด สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร ละสักกายทิฎฐิ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ พอละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ มันจะละมิจฉาทิฎฐิอื่นๆขาดไปด้วย

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๕ (วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒)

File: 521220

ระหว่างนาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คิดว่าจิตไม่ใช่เราอย่างนี้ถูกไหม?

mp3 (for download): คิดว่าจิตไม่ใช่เราถูกไหม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์ฯ

เจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์ฯ

โยม: ตอนเจริญสมถะนะครับ ก่อนหน้านี้ผมจะเจริญด้วยลักษณะที่ว่า..พากษ์ตัวเองว่าลมหายใจเข้านี่ไม่ใช่ของเรา พอเห็นจิตมันฟุ้งรู้สึกว่า อ้อ จิตมันคุมไม่ได้นะไม่ใช่ของเรา อย่างนี้ถูกไหมครับ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันนั้นก็ถูกนะ แต่ถูกแบบสมถะ เราสอนมันไปเรื่อย ๆ แล้วจิตก็สงบลงมา

แต่ถ้าวิปัสสนาเนี่ย จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าฟุ้งซ่าน เรารู้ไปเรื่อย ๆ จนวันนึงเรารู้เองแหละว่ามันบังคับไม่ได้ เราไม่ได้พูดนะ เราไม่ได้สอน

ถ้ายังพูดอยู่ ยังสอนอยู่ ยังเป็นสมถะอยู่ ถ้าวิปัสสนาแท้ ๆ ไม่มีคำพูด ไม่มีการคิด

เจ้าคุณนรฯ เคยได้ยินชื่อท่านไหม เจ้าคุณนรฯ เด็กรุ่นนี้ไม่รู้จักแล้ว เจ้าคุณนรฯ เป็นพระดีนะ อยู่วัดเทพศิรินทร์ ท่านสอนบอกว่าของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้ไม่ใช่ของจริง

ใจเรายังพูดอยู่ เห็นไหม ส่วนของจริงเป็นอย่างไร ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นเรารู้เรื่อย ๆ ไป รู้ความรู้สึกนะ ไม่มีคำพูดอะไรหรอก

เราจะเห็นว่าความรู้สึกทุกชนิดเกิดขึ้นล้วนแต่ดับทั้งสิ้น ไม่ต้องพูดนะแต่เราเห็นจริง ๆ อย่างความโกรธเกิดขึ้น เราก็ไปรู้มัน มันก็หายไป หายไปเอง เราไม่ต้องทำอะไร ความโลภความอะไรต่ออะไรเกิดขึ้น เราคอยดูไปเรื่อย มันก็หายไปให้ดู ถึงจุดหนึ่งก็หายหมด เราดูไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จนใจมันเห็นจริงว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับไป ไม่ได้คิดเอา ไม่ได้พูดเอา แต่ใจมันเห็นความจริงนะ

*หมายเหตุ* เจ้าคุณนรฯ คือท่านธมมฺวิตกโกภิกขุ หรือพระยานรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอังคาร ที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม 23
๕๑๐๑๐๑
นาทีที่ ๓๒.๔๑ ถึง ๓๔.๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 11 of 12« First...89101112