Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ถิรสัญญาและการฝึกให้เกิดสติตัวจริง

MP3(for download): ถิรสัญญาและการฝึกให้เกิดสติตัวจริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องฝึกให้สติแท้ๆ เกิดขึ้นมา วิธีที่จะให้สติเกิดก็ไม่ใช่บังคับให้เกิด ไม่ใช่กำหนดให้เกิดนะ พระอภิธรรมสอนไว้ชัดเลย เหตุใกล้ของสติคือ ถิรสัญญา คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น

ที่มาเรียนที่หลวงพ่อ ทำไมพวกเราพัฒนารวดเร็ว หลวงพ่อพาดูสภาวะ สอนให้หัดรู้จักสภาวะ สอนเข้าประเด็นเลยนะ ตรงกับที่อภิธรรมเป๊ะเลย

หัดดูสภาวะไป ความโลภเกิดขึ้นก็รู้สึก ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้นรู้สึกนะ ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นรู้สึก อะไรๆ เกิดขึ้นรู้สึก ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก ร่างกายหยุดนิ่งรู้สึก

คอยรู้สึกไป ไม่ได้เพ่งไม่ได้กำหนดนะ คอยรู้สึก พอจิตจำสภาวะได้แม่นต่อไปสติจะเกิดเอง

เช่น เราคอยดูใจของเราเรื่อยๆ ใจเราแอบไปคิดแล้วรู้ ใจเราแอบไปคิดแล้วรู้ เราซ้อมทุกวันนะ

วิธีซ้อมก็เช่น ไหว้พระไป สวดมนต์ไป อรหังสัมมา สัมพุทโธ ภควา ใจแอบไปคิดแล้วรู้ทันว่าใจหนีไปคิด แล้วก็ พุทธัง ภควันตัง ยังไม่ทัน อภิวา เลย หนีไปคิดอีกแล้ว รู้อีกว่าหนีไปคิด ฝึกอย่างนี้ จิตมันจำได้ว่าหลงไปคิดเป็นยังไง

หรือคนไหนดูท้องพองยุบนะ ดูเล่นๆ อย่าให้ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูเล่นๆ ไป เห็นใจไหลไปที่ท้องก็รู้ทัน ใจแอบไปคิดก็รู้ทัน นี่คือการซ้อมรู้สภาวะ

คนไหนเคยฝึกลมหายใจก็รู้ลมหายใจไป เห็นร่างกายมันหายใจไป นี่ก็รู้สภาวะนะ เห็นร่างกายหายใจ ไม่ใช่เราหายใจแล้ว

หายใจไปๆ จิตไปเพ่งอยู่ที่ลม ก็รู้ว่าจิตไปเพ่งลมหายใจ นี่ก็เป็นการรู้สภาวะของจิต หายใจแล้วจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตไปคิด นี่ก็เป็นการรู้สภาวะของจิต 

หัดรู้สภาวะของกายของใจเรื่อยๆ ไปแล้วสติจะเกิดนะ

.

หลวงพ่อมีวันหนึ่งนะ หาหลวงพ่อเทียนเห็นท่านนั่งขยับมือก็ลองมาทำเล่นบ้าง วันหนึ่งเดินอยู่ริมถนนเห็นเพื่อนมันเดินอยู่อีกฝั่งถนนนะ ดีใจไม่เจอนานแล้ว

ก้าวขาจะไปคุยกับมัน ดีใจแล้วไม่เห็นว่าดีใจ พอเท้าเคลื่อนไหวนี่นะ เราเคยขยับมือแล้วรู้สึก คราวนี้มือยังไม่ทันขยับเลย ขาขยับนี่นะ รู้สึกตัวขึ้นมาเลย

หลุดออกจากโลกของความหลงรู้สึกตัวขึ้นมาได้ ดูกายก็รู้สึกตัวเป็นนะ ดูจิตใจไปก็รู้สึกตัวได้

เพราะฉะนั้น รู้ว่าใจเผลอไป รู้บ่อยๆ นะ พอใจเผลอไปเมื่อไหร่ สติเกิดเอง หัดดูสภาวะกายก็ได้ สภาวะของจิตก็ได้ สติที่เกิดขึ้นจะเหมือนกันเปี๊ยบเลย เป็นอันเดียวกัน

พอสติเกิดแล้ว มันจะรู้กายบ้าง รู้เวทนาบ้าง รู้จิตบ้าง เลือกไม่ได้หรอกว่ามันจะรู้อะไร มันรู้ของมันเอง ไม่มีแล้วนะสายกายสายจิต สายโน้นสายนี้ไม่มีอีกต่อไปแล้ว

มีแต่ว่าขณะนี้มีสติหรือขณะนี้ขาดสติเท่านั้นเอง ที่ว่าเริ่มต้นด้วยกาย เริ่มต้นด้วยเวทนา เริ่มต้นด้วยจิต อันนั้นแค่จุดเริ่มต้นเพื่อฝึกให้มีสติเท่านั้น

ทำไมต้องเริ่มต้นด้วยอันไหนอันหนึ่ง เพื่อจะได้เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก จะได้จำสภาวะได้แม่น

ถ้าเริ่มต้นอย่างจับจด เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวรู้ลม เดี๋ยวรู้ท้อง เดี๋ยวรู้เท้า เดี๋ยวไปรู้ใจที่มีสุข ใจมีทุกข์ ใจหนัก ใจเบา เดี๋ยวรู้โลภโกรธหลง รู้ฟุ้งซ่าน เดี๋ยวรู้โน่นรู้นี่มั่วซั่วไป สติเกิดยากเพราะจิตจำสภาวะไม่แม่น

.

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอะไรมาทำซักอันหนึ่ง ทำเล่นๆ นะ อย่าทำด้วยความคาดหวังว่าจิตจะสงบ

รู้ลมหายใจก็รู้เล่นๆ ดูท้องพองยุบก็ดูเล่นๆ จะเดินจงกรมก็เดินเล่นๆ ทำอะไรทำเล่นๆ ไว้ ทำเล่นๆ ไปแล้วค่อยๆ ดูไป

ร่างกายมันเคลื่อนไหวก็รู้สึก ร่างกายมันหยุดนิ่งก็รู้สึกนะ แต่ไม่เพ่งนะ ต้องระวังอย่าไปเพ่งกายอย่าไปเพ่งจิต

หรือสวดมนต์ก็ได้อย่างที่ว่านะ อรหังสัมมา ใจลอยแว๊บ รู้สึก สัมพุทโธ ภควา ลอยอีกแว๊บ รู้สึก หัดไป เบื้องต้นเอาอันใดอันหนึ่งก่อน

หรือเดินจงกรมนะ เดินจงกรม เห็นร่างกายมันเดินไปเรื่อยๆ ใจเราเป็นคนดูสบายๆ เดินไปอย่างนี้ ดูไปสบายๆ เห็นรูปมันเคลื่อนไหวไป ใจเราอยู่ต่างหาก ต่อไปมันก็จะรู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต

เบื้องต้นนะ รู้อันใดอันหนึ่ง เช่น เห็นร่างกายมันเดินไป ถ้าดูได้ถูกต้องไม่ไปเพ่งกายนะ ต่อไปก็รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต

เห็นท้องมันพองท้องมันยุบ ถ้าไม่ไปเพ่งท้องนะ ต่อไปก็จะรู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต

หัดดูจิตที่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไปเรื่อย ต่อไปก็รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิต มันรู้ทั้งหมดไม่ได้รู้อันเดียวหรอก

.

เวลาที่สติที่แท้จริงเกิดนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต แต่ทุกสิ่งแสดงธรรมะเรื่องเดียวกัน คล้ายๆ มีครูหลายคนนะ ครูเวียนกันเข้ามาสอนเราตลอดเวลาเลย

เดี๋ยวครูยิ้มหวานมา เดี๋ยวครูหน้ายักษ์มา เดี๋ยวครูใจดี เดี๋ยวครูใจร้าย หมุนเวียนเข้ามาสอนเราทั้งวันเลย

สอนเรื่องเดียวกันคือสอนไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย สอนถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

โลภ โกรธ หลง ก็สอนไตรลักษณ์ มีโลภแล้วมันก็ไม่มี มีโกรธแล้วก็ไม่มี มีหลงแล้วก็มันไม่มี กุศลทั้งหลายก็สอนไตรลักษณ์ใช่ไหม

จิตมีสติขึ้นมาแล้วก็ขาดสติ มีปัญญาขึ้นมาบางทีก็ไม่มีปัญญา เอาแน่เอานอนไม่ได้

บางทีก็มีฉันทะ บางทีก็ขี้เกียจ บางทีก็มีศรัทธา บางทีก็เสื่อมศรัทธา มันหมุนเวียนอยู่ คอยรู้มันไปเรื่อย รู้มันไป

ทุกสิ่งทุกอย่างสอนไตรลักษณ์ทั้งสิ้นเลย สอนให้เห็นเลยว่า มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี

การที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนะ สอนไตรลักษณ์ไปเรื่อย มีแล้วก็ไม่มี มีแล้วก็ไม่มี ถึงจุดหนึ่งจะได้พระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันคือท่านผู้เห็นความจริง ผู้ยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาดับทั้งสิ้นเลย สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา

เราฝึกให้มีสตินะ แล้วทุกอย่างมันจะไหลเข้ามา เราก็รู้ไปเรื่อยๆ อย่าไปเพ่งมัน มันจะแสดงไตรลักษณ์

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าไปแทรกแซงสภาวะ

mp3 (for download): อย่าไปแทรกแซงสภาวะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางทีไปภาวนาแล้วก็ไปแทรกแซง เห็นสภาวะใด ๆ เกิดขึ้นแล้วก็อยากแก้ไขตลอด เพราะจิตมันเจือด้วยโทสะ

งั้นเราภาวนาแทบเป็นแทบตายนะทำไปเพื่อสนองกิเลสทั้งสิ้นเลย ที่อาจารย์มหาบัวท่านใช้คำว่าภาวนาแล้วกิเลสหนังไม่ถลอกเลย เพราะว่าภาวนาสนองกิเลสอยู่

อยากดี รักดี เกลียดชั่ว รักสุข เกลียดทุกข์ รักความสงบ เกลียดความฟุ้งซ่าน

ตราบใดที่ยังรักอันนึงเกลียดอันนึงอยู่นี่ จิตไม่เลิกปรุงแต่ง ให้เรารู้สภาวะทั้งหลายตามที่เค้าเป็นจริง ๆ

งั้นอย่าไปแทรกแซงสภาวะ พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ตามความเป็นจริง เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

ให้รู้ตามความเป็นจริงไม่ใช่ให้แทรกแซง

สวนสันติธรรม 27
511101

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จำธรรมะไว้มากสู้กิเลสได้ไหม

mp3: (for download) : question1

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ:นความเป็นจริงแล้วคำถามทั้งหลายนะ ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่หรอก

ถ้าเกิดสงสัยให้รู้ว่าสงสัยไปเลยแล้วก็จะเห็นความสงสัยเกิดแล้วก็ดับ สิ่งใดเกิดแล้วสิ่งนั้นก็ดับ เห็นเท่านี้แหละจะไปให้เกิดมรรคผลนิพพานได้

ลำพังนั่งถามหลวงพ่อไปเรื่อย ๆ ไม่ได้กินหรอก ถามไปแล้วก็นึกว่าเข้าใจ ก็จำไว้เท่านั้นแหละ ธรรมะจำไว้ไม่ได้กินนะ

ธรรมะที่อาศัยความจำไว้ สู้กิเลสไม่ได้ เพราะกิเลสซ่อนอยู่ในใจเรา มันต้องเป็นธรรมะที่ชำแรกเข้าไปถึงจิตถึงใจจริง ๆ นะถึงจะสู้กิเลสได้

ต้องรู้ลงไปทันเลย กิเลสแทรกเข้ามาในใจ ต้องรู้ทันเลย เราจะรู้ทันได้เราต้องไม่หลงนะ ต้องรู้สึกตัวอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

CD: ศาลาลุงชิน ๑๙
File: ๕๑๐๓๑๖
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

แสวงหาภพชาติก็เพราะรักขันธ์

mp3 (for download): แสวงหาภพหาชาติก็เพราะรักขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: วันนี้ค่อยน้อยหน่อย วันนี้ดูน้อยกว่าเมื่อวานค่อยยังชั่ว เรียนทุกวันจะเรียนอะไร เรียนของเราเองนะ ได้หลักแล้วก็ต้องไปดูเอาเอง จริงๆแล้วการปฎิบัติก็มีแค่สติปัฏฐาน ฝึกอยู่แค่นั้นแหละ นะ สติปัฏฐานคือมีสติ รู้รูปนาม รู้กาย รู้ใจ ด้วยจิตใจที่มีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่น เป็นกลาง เบื้องต้นรู้เพื่อให้เกิดสติ เบื้องปลายรู้ให้เกิดปัญญา อันนี้พูดให้ฟังทุกวัน ความจริงสติปัฏฐานยังมีนัยยะอื่นๆอีก

อย่างในพระสุตันตปฎิก เล่มสิบเอ็ด พระไตรปิฎกเล่มสิบเก้า มีพระสูตรอยู่อันหนึ่ง ชื่อโกสลสูตร โกสลสูตร พระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐานอย่างย่อๆ แต่สำนวนที่สอนนี้แปลกไป

ท่านบอกว่ามีกายในกายเป็นวิหารธรรม มีความเพียรแผดเผากิเลส มีความรู้สึกตัว มีธรรมเอก มีธรรมเอกคือสัมมาสมาธินั่นเอง ใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา มีสติอยู่ แล้วมีธรรมเอก การเจริญสติปัฏฐานเนี่ย มีการเจริญสติปัฏฐานของคนสามกลุ่ม ทำไม่เหมือนกัน ปุถุชนเนี่ย ทำสติปัฏฐานอย่างหนึ่ง พระเสขบุคคลทำอย่างหนึ่ง พระเสขะหมายถึงพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา ทำสติปัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ก็ทำสติปัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน

ปุถุชนเนี่ย ทำสติปัฏฐาน เพื่อให้รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงของมันคือไม่มีตัวเรา พอเห็นแล้วว่าทั้งกายทั้งใจไม่ใช่ตัวเรา ก็เป็นพระโสดาบัน

การทำสติปัฏฐานถัดจากนั้นเนี่ย ไม่ใช่เพื่อให้เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่เรา แต่เพื่อให้รู้ รู้กายรู้ใจลงไปเพื่อให้เห็นอะไร ให้เห็นทุกข์นั่นเอง เพราะฉะนั้นพระเสขบุคคลเนี่ย ยังมารู้กายรู้ใจซึ่งเห็นอยู่แล้วว่าไม่ใช่ตัวเรา แต่เห็นลงไปเพื่อให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ มันทุกข์เพราะไม่เที่ยง มันทุกข์เพราะว่าถูกบีบคั้น เป็นทุกขัง ทุกข์เพราะว่าเป็นอนัตตา

ส่วนพระอรหันต์นะ ทำสติปัฏฐานเหมือนกัน ท่านก็รู้กายรู้ใจ แต่ไม่ได้ทำเพื่ออะไร ท่านบอกว่ามีกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม นะ เป็นวิหารธรรม มีความเพียรอยู่ นะ ตามรู้ตามดูกายอยู่ มีธรรมเอก มีธรรมเอกเหมือนกันนะ แต่ไม่ได้ทำเพื่ออะไร วรรคสุดท้ายไม่ใช่เพื่อให้เกิดญาณทัสนะ เพื่อให้เห็นแจ้งอะไร แต่ว่าทำไปอย่างนั้นแหละ จิตมันพรากออกจากขันธ์ มันพรากออกจากขันธ์ รู้กายในกาย จิตก็พรากออกจากกาย รู้เวทนาในเวทนา จิตก็พรากจากเวทนา รู้จิตในจิต จิตก็พรากจากจิต รู้ธรรมในธรรมนะ จิตก็พรากออกจากธรรม เพราะฉะนั้นเมื่อเราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายเนี่ย จิตเราจะพรากออกจากขันธ์ มันแยกออกจากขันธ์ ขันธ์ก็ทำหน้าที่ของขันธ์ ไม่ใช่ไม่มีขันธ์ ขันธ์ก็มีอยู่ ขันธ์เป็นวิบากไม่มีใครทำลายได้ เพราะฉะนั้นขันธ์ยังมีอยู่นะแต่ว่าจิตพรากจากขันธ์

พวกเราตอนนี้จิตไม่พรากจากขันธ์ แต่จิตคลุกอยู่กับขันธ์ ตะลุมบอนอยู่กับขันธ์อยู่ตลอดเวลา พอมาหัดรู้สึกตัว ก็ รู้สึกมันแยกๆออกมา แยกออกจากขันธ์ได้นิดๆหน่อยๆ นะ เดี๋ยวก็เข้าไปรวมอีกละ

ทำไมหวงแหนขันธ์มาก เพราะว่าเห็นว่าขันธ์เป็นตัวเรา ทีนี้ภาวนามากเข้า มากเข้า เห็นว่าขันธ์ไม่ใช่เรา นะ แต่ขันธ์นี้ยังนำความสุขมาให้ได้ ขันธ์ไม่ใช่ตัวเราแต่ยังนำความสุขมาให้ได้ เพราะฉะนั้นทำสติปัฏฐานต่อไปอีกเห็นว่าขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นำความสุขมาให้ ถ้าเห็นขันธ์ยังนำความสุขมาให้ได้ ก็ยังไม่วางขันธ์ ไม่พรากออกจากขันธ์ ยังชื่นชมในขันธ์ เกาะเกี่ยวอยู่ในขันธ์ ตราบใดจิตยังเกาะเกี่ยวอยู่ในขันธ์ ภพชาติจะไม่สิ้นสุดลง เพราะแสวงหาภพชาติก็เพราะว่ารักขันธ์นั่นแหละ มีภพมีชาติขึ้นมาก็เพราะมีขันธ์ขึ้นมา ปัญญาแจ่มแจ้ง ขันธ์นี้เป็นทุกข์ ก็จะวางขันธ์

หลังจากนั้นทำสติปัฏฐานมั้ย ก็ทำ ทำไมต้องทำ ทำเล่นๆไปอย่างนั้นแหละ เพราะว่าสติมันอัตโนม้ติ มันก็รู้กายรู้ใจของมันเองทั้งวัน แต่รู้ไปอย่างนั้นเอง จิตกับขันธ์มันพรากออกจากกันแล้ว เพราะฉะนั้นขันธ์ซึ่งเป็นตัวทุกข์ ขันธ์ซึ่งเป็นตัวแปรปรวนนะ ก็ทำหน้าที่ของขันธ์ไป เป็นทุกข์ไป แปรปรวนไป แต่จิตที่ฝึกดีแล้ว ไม่ทุกข์ไปกับขันธ์ ก็ดำรงชีวิตไปจนกระทั่งวิบากหมด วิบากหมดก็คือขันธ์มันแตก ขันธ์นั้นเป็นส่วนของวิบากนะ เกิดมาด้วยวิบาก ขันธ์มันแตกสลายไป จิตไม่ไปสร้างภพใหม่ขึ้นมา

เพราะฉะนั้นเราค่อยฝึกนะ ฝึกไปเรื่อยๆ สังเกตกายสังเกตใจ รู้กายรู้ใจไป…

CD ศาลาลุงชิน ๒๕
File ๕๑๐๔๑๕a
Time: นาทีที่๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๘

อ้างอิง โกสลสูตร (จาก larndham.net)
อ้างอิง โกสลสูตร (จาก 8400.org)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สติปัฏฐานสังยุตต์ อัมพปาลีวรรค

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัวใจการปฎิบัติและกุญแจสู่ความรู้แจ้ง

MP3 (for download): หัวใจการปฎิบัติและกุญแจสู่ความรู้แจ้ง (21.28น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 18 (16/03/51)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยากรู้จักธรรมให้รู้ตัวเอง

mp3: (for download): อยากรู้ธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: อยากรู้ธรรมไม่ยากอะไร สิ่งที่เรียกว่าธรรมะคือกายกับใจนี่นะ

ให้โยมคอยรู้กาย กายนี้เรียกว่ารูปธรรม ให้คอยรู้จิตใจ เรียกว่านามธรรม

รู้ลงไปเรื่อย ๆ จนเห็นเลยทั้งกายทั้งใจนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก

เราก็จะไปเห็นธรรมะอีกชนิดนึงที่พ้นจากรูปธรรมและนามธรรม จะได้เห็นธรรมแท้ก็ตัวนั้นแหละ

CD ศาลาลุงชิน ๑๙
File ๕๑๐๓๑๖
๓๒.๐๕ – ๓๒.๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กุญแจสู่ความเข้าใจธรรมะ

mp3: (for download) กุญแจสู่การปฎิบัติธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อ: จริง ๆ แล้วหัวใจ สิ่งที่เป็นกุญแจของการปฎิบัติที่จะไขเราไปสู่ความเข้าใจ เปิดประตูของความเข้าใจในธรรมะ คือความรู้สึกตัว

ไม่ว่าเราจะปฎิบัติด้วยกรรมฐานชนิดใดก็ต้องทำด้วยความรู้สึกตัว

ถ้าขาดความรู้สึกตัวเสียแล้วอย่างเดียวเนี่ย ไม่มีวันบรรลุมรรคผลนิพพานได้

เพราะฉะนั้นจุดสำคัญนะคือต้องรู้สึกตัวให้เป็นเสียก่อน

CD ศาลาลุงชิน ๑๙
File ๕๑๐๓๑๖
๒.๕๗ – ๓.๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีสำรวจตัวเองว่าภาวนาดีหรือยัง

mp3 (สำหรับ download) สำรวจตัวเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ

โยม: ตอนนี้หนูปฎิบัติต้องปรับปรุงอะไรหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อ: ก็ต้องพัฒนาไปเรื่อยนะ วิธีปฎิบัติที่ดีที่สุดเนี่ย แล้วโอกาสที่จะถามหลวงพ่อมีไม่มาก เพราะฉะนั้นเราต้องรู้หลักที่จะช่วยตัวเองให้ได้ เราคอยสังเกตจิตใจของเราไปนะ กุศลอะไรเรายังไม่ได้ทำ อกุศลอะไรเรายังไม่ได้ละ เราคอยรู้ทันไปเรื่อย อย่างใจมันขี้โมโหก็รู้ทันตัวเองไปว่ามันขี้โมโห รู้ทันบ่อย ๆ ใจมันขี้โลภก็รู้ทันว่ามันโลภนะ ใจมันไปชอบเพลินในความสุข เราก็รู้ทันว่ามันชอบเพลินในความสุข คอยรู้ทันความไม่ดีของเราเองไว้บ่อย ๆ แล้วก็..เราคอยสังเกตไป กุศลอะไรเรายังไม่ค่อยได้ทำ เช่น เราขี้เกียจภาวนา เราก็พัฒนาขยันภาวนาขึ้นมา สำรวจตัวเองนี่แหละดีที่สุดเลย อกุศลใดยังไม่ได้ละ กุศลใดยังไม่ได้เจริญ สังเกตไปแล้วค่อย ๆ พัฒนานะ ถ้าเดินอย่างนี้เราจะเดินด้วยตัวของเราเองได้

CD: ศาลาลุงชิน ๓๔
๕๒๑๑๑๕
๓๘.๑๐ – ๓๙.๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ

MP3 (for download):  ๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ (33.14 น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวพิเศษ จากการแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 30 (21/06/52)

1) หลวงปู่ดูลย์: ให้ดูจิตตัวเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ เพ่ง -> แล้วไปหาทางทำลายมัน คอยระวังให้อกุศลไม่เกิด หวงแหนจิตมากเลย

[ผิด] เพราะไป*แทรกแซงจิต* เราไม่ได้ดูจิตหรอก แต่ไปวุ่นวายอยู่กับอาการของจิต

จงใจปฎิบัติก็ผิดนะ ไปแทรกแซงอาการของจิต ..ให้รู้ตามความเป็นจริงต่างหาก ถึงจะถูก

—–#

ค่อยๆสังเกตนะ กิเลสหยาบๆเกิดมาจากกิเลศละเอียด ก่อนที่กิเลสจะตัวใหญ่เนี่ย กิเสสตัวเล็กมาก่อน

ก่อนจะโมโหแรงๆ ต้องขัดใจเล็กๆก่อน ทีนี้เราคอยดูเลย กิเลสมันมาจากไหน มันผุดขึ้นจากกลางหน้าอก

2) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่

[ผิด] ตรงเรา*ส่งใจเข้าไปดู* แทนที่จะดูด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง เราถลำลงไปดู ถลำไปดูนี่จิตไม่ตั้งมั่นในการรู้ในการดู

สำนวนครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า “ไม่มีจิตผู้รู้” มีแต่จิตผู้หลง ผู้เพ่ง

—–#

ราวปี 2526 ภาวนาแล้วมีอาการแปลกๆ ภาวนาแล้วหลับตลอดเลย จากที่ภาวนามาตั้งแต่ 7 ขวบไม่มีนั่งหลับหรอก ตอนนั้นไม่รู้เป็นอะไรมันหลับเอาหลับเอา

นั่งสมาธิก็หลับ ขัดสมาสเพชรก็หลับ เดินจงกลมก็เดินหลับนะ ทำไงก็หลับ แล้วหลับแบบไม่มีศิลปะเลย ..โอ้ย ไม่มีสภาพของนักปฎิบัติเหลือเลย ขาดสติอย่างร้ายแรง เกิดจากอะไร?

3) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ อย่างสงสัยเลย

ที่จริงไม่มีอะไร พอเราเจริญสติเจริญปัญญาไปมากนะ จิตมันเบื่อหน่าย มันเบื่อโลก เบื่อขันธ์ เบื่อธาตุอย่างร้ายแรงเลย เบื่ออายตนะ

พอมันเบื่อมันตัดการรับรู้ภายนอกออกไป หมดความรู้สึกไปเลยตัดออกไป ตัดลงไปรวมลงไป มันไปพัก

.. เพราะว่าแต่เด็กมาหัดสมาธิ พอเจอหลวงปู่ดูลย์มาหัดวิปัสสนาแล้วเบื่อสมาธิ *ทิ้งสมาถะไป*

[ไม่ถูกนะ] การทิ้งสมาถะไปไม่ถูกต้องเลย พอจิตมันไม่ได้เข้าไปพักในสมาธิ จิตมันก็หลบไปเลยดับไปเฉยๆ เข้าไปพักผ่อน พอมันมีแรงมันก็ถอนออกมา

5 สิงหา 2526 ไปกราบหลวงปู่สิมนะ ท่านบอกจะได้ของดีพรรษานี้แหละ

พอวันที่ 7 มาถึงกรุงเทพ จิตมันก็ถอนออกมาหมดแล้ว จิตใจเราก็เปลี่ยนไปหมดเลย ภาวนาสบาย ต่อไปนี้สบายละ สติมันทันกิเลสไปเรื่อย การภาวนาง๊ายง่ายตอนนี้

—–#

พอภาวนามาถึงจุดนี้จะดูตรงไหนมันชำนาญไปหมด ตัวจิตผู้รู้-สภาวะที่เกิดดับอยู่ในหน้าอกก็ได้ ..เอ๊ จะดูตัวไหนดี ชักสงสัยแล้วจะดูตัวไหนดี

เลยดูทั้งสองตัวกลับไปกลับมา ตัวไหนแน่ แล้วเอาใหม่ ไม่เอาทั้งสองตัว ดูซิจะเกิดอะไรขึ้น

พอเคลื่อนจะแตะ เราไม่เอา ไล่เข้าไล่ออกแล้วมันรวมลงตรงกลาง

หลวงปู่เทสก์: มันเป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่เพ่งรูป ไม่เพ่งอรูป

หลวงปู่ให้ไปซ้อมให้ชำนาญ หลวงพ่อบอกถ้าท่านติดเราจะแก้ให้

มีวันนึงไปเชียงใหม่จะไปเยี่ยมอาจารย์ทองอิ่ม แล้วมีพระท่านมาดักอยู่หน้าวัด แล้วบอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร ถ้ำผาผึ้งมาพักอยู่ที่วัดสันติธรรมนี้ ให้ไปหาท่านหน่อยสิ

4) ท่านอาจารย์บุญจันทร์: เฮ้ย ภาวนายังไง! เฮ่ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

เราเล่าให้ท่านฟังซ้ำ ท่านก็ตวาดซ้ำ นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

ทีนี้ ใจเราโล่งเลย .. ตรงนี้ไม่ใช่ทาง

เห็นไหมเราไปทำอะไรที่ [ผิด]? เราไป*ปรุงแต่งการปฎิบัติขึ้น* เราคิดว่าทำยังไงแล้วจะดี

เราไม่ได้รู้กายรู้ใจซื่อๆไง เราคิดว่าทำยังไงจะดี เอาตรงนี้ล่ะวะ อยู่ตรงโน้นดี ตรงนี้ดี หรืออยู่กลางๆดี หาไอ้ตรงที่ดี

ไม่ต้องหานะว่าตรงไหนถูก ไม่ต้องหาว่าตรงไหนดี สภาวะใดเกิดขึ้นตรงปัจจุบัน รู้อันนั้นแหละ แล้วไม่ผิด

เรามาอัศจรรย์ใจกับท่านอีกที ปี 46 ตอนนั้นบวชละ ลูกศิษย์ท่านมาหาเยอะเลยตอนนั้น บอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์สั่งให้มาหา

ให้วันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ให้มาหาพระชื่อนี้ๆ อยู่ตรงนี้ๆ ท่านสั่งละเอียดเลยนะ เราไม่เคยบอกท่านเลยนะ ตอนนั้นที่ท่านมรณะภาพเรายังไม่ได้บวชเลย

ดูท่านอุตส่าห์แก้ให้เรา ท่านกลัวเราจะไปติด สร้างสภาวะโล่งๆ ว่างๆ..แล้วเราก็จับเอาไว้

แต่นี่โล่งว่างคนละอย่างกับพวกเราที่หลังๆมาติดนะ อันนั้นไหนออกไปข้างนอก อันนี้ไม่มีข้างนอกข้างใน หูววดูปราณีต ดูลึกซึ้งกว่ากันเยอะเลย

—–#

ทีนี้ก็ภาวนาต่อไปนะ เห็นสภาวะทั้งหลายมัน ละเอียดเข้าๆ สบาย ใจมันโล่งมันว่าง เราก็ดูจิตอยู่ทุกวี่ทุกวันนะ แต่ดูมาตั้งหลายปีไม่ผ่านสักที

26533_397695631336_717481336_4768908_1463878_n.jpg

5) หลวงตามหาบัว: ที่ว่าดูจิตนั่นดูไม่ถึงจิตแล้ว

ต้องเชื่อเรานะตรงนี้สำคัญ เราผ่านมาด้วยตัวเราเอง อะไรๆก็สู้บริกรรมไม่ได้

[ผิด] มีกิเลสกุกกุจจะเกิดขึ้น ร้อนใจเมื่อไหร่จะได้สักทีวะ กิเลสเกิดแล้วเราไม่เห็น

..พอเราได้ไอเดีย เรามาพิจารณาดูว่าทำไมท่านให้บริกรรม ทำไมท่านว่าเราดูจิตแล้วไม่ถึงจิต

มาดูไปดูมา อ๋อ.. ใจเราไม่ตั้งมั่น ใจมันเคลื่อนออกไปข้างนอกนะ มันไปอยู่ในความโล่งความว่าง

พวกเรารุ่นหลังๆที่ไปดูจิต ไปติดอยู่ที่ตัวนี้เยอะแยะเลย เพราะว่าเวลาดูไปๆ แล้วไปเห็นสภาวะเกิดดับๆนะ

เช่น เห็นกิเลส เกิด-ดับ ๆ กิเลสมันหนีออกไปๆ ไม่เหมือนกับตอนที่ไปถามหลวงปู่สิม อันนั้นกิเลสหนีเข้าข้างใน อันนี้กิเลสหนีออกข้างนอก

เราฟุ้งก็คือ.. จิตไม่ตั้งมั่นเหมือนกัน จิตฟุ้งเข้าไปข้างใน จิตฟุ้งออกไปข้างนอก จิตไม่ตั้งมั่น

จิตไม่ตั้งมั่นแล้วจิตไปหลงในความโล่ง ความว่าง ความสุขความสบาย ..ตรงนี้แหละคือ วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โอภาส

” วิปัสสนู ” นี่เกิดในทุกขั้นตอนของการปฎิบัติ ขั้นพระโสดา สกทาคา อนาคา พระอรหันต์ เพียงแต่ขั้นที่เลยพระโสดา ไม่เรียกวิปัสสนู เค้าเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

ขั้นต้น ปุถุชน จะมีวิปัสสนู

(http://th.wikipedia.org/wiki/วิปัสสนูปกิเลส)

—–

- วิปัสสนูปกิเลส -

โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)

ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้

ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ

ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น

สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ

อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ

ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี

อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด

อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง

นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ

—–

ที่หลวงพ่อบอกพวกเรา จิตไม่ถึงฐาน พระอานนท์ สอนตรงนี้ไว้ว่า

สานุศิษย์ท่านที่พยากรณ์มรรคผลมี 4 จำพวก

พวกที่ 1 ใช้ สมาธินำปัญญา : คือทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน

พวกที่ 2 ใช้ ปัญญานำสมาธิ : คือเจริญสติในชีวิตประจำวันนี่แหละ แล้วจิตรวมเข้าสมาธิ

พวกที่ 3 ใช้ สมาธิและปัญญาควบกัน : พวกนี้ทำสมาธิอยู่ในชาญ (ไม่ใช่อย่างที่ครูบาอาจจารย์วัดป่าทำนะ ส่วนมากท่านทำความสงบก่อนแล้วถอนออกมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน อันนี้คือแบบที่ 1)

แบบที่ 3 มีเหมือนกันแต่มีน้อย ต้องชำนาญในชาญจริงๆ จะเห็นองค์ชาญเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ แต่ดูยาก ต้องชำนาญทั้งชาญ ต้องชำนาญทั้งการดูจิต จึงจะดูได้

พวกที่ 4 พระอานนท์บอกว่า : จิตมีความฟุ้งซ่านในธรรมะ ไปอยู่ในธรรมะ 10 ประการ (หลวงพ่อกล่าวถึงวิปัสสนูปกิเลส) มีโอภาสเป็นหมายเลข 1 ถ้าเมื่อไหร่รู้ทัน อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่านของจิตที่ไหลออกไป อุทธัจจะดับนะ ก็จะหลุดจากโอภาส

หลวงปูเทสก์เคยบอกว่า เวลาเกิดวิปัสสนูเกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้ยังไม่เก็ตนะ เวลามันเกิดจริงๆ ค่อยมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ความสบาย ความเย็น ..หลงไปสารพัดรูปแบบเลย

จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไหร่จิตมัน มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห้นมาด้วยการปฎิบัติอย่างนี้ เสร็จแล้วเพิ่งมาเจอพระสูตร เนี่ยที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย

วิปัสสนูมันเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไม่ถึงฐานนั่นแหละ หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน

เพราะงั้นพวกเราเวลาภาวนา ค่อยๆ สังเกต เวลาดูจิตดูใจ รึว่าดูกายก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไร เกิดวิปัสสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสสนู-ดูกายไม่มีวิปัสสนู เข้าใจผิด

หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ หรือเพิ่งเริ่มวิปัสสนา ยังไม่ชำนิชำนาญพอ สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับ แล้วก้ถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไปว๊าบ มันโล่งมันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็ไปค้างอยู่ตรงนี้ แล้วคิดว่านิพพาน คราวนี้คิดว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้วตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนาตรงนี้คิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์มีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้วบางคนก็แก้ไม่ได้ บางคนไม่ยอมมาเจอเราเลย

..

ทีนี้ มันเดินปัญญาต่อไปไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้น

แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานจะหลุดออกมาเลย

พวกนี้จะน่าสงสารแล้วน่ากลัว น่ากลัวตรงที่จะเที่ยวเผยแพร่คำสอนออกไปอีก ..จะไปบอกว่าไม่ต้องดูกายไม่ต้องดูใจ ไปดูความว่าง พวกนี้ผิดนะ! ต้องดูกายต้องดูใจ

—–#

เสร็จแล้วภาวนามาอีกหลายปีเลย ตอนนั้นใกล้จะบวชแล้ว ไปเจอหลวงพ่อพุธเข้า หลวงพ่อพุธกับหลวงพ่อนี่นะเคยมีข้อตกลงกันเมื่อปี 2526

หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์แล้วกลับมากราบหลวงพ่อพุธที่โคราช ท่านถามว่าหลวงปู่สอนอะไร กราบเรียนท่านว่าหลวงปู่สอนว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธ์อย่างแท้จริง

..บางคนภาวนาไม่มีผู้รู้นะ ถ้าคนไหนเดินมาทางสมถมันจะมีผู้รู้ ถ้าเดินมาทางวิปัสสนามันจะไม่ตั้งตัวผู้รู้..แค่รู้สึกแล้วก็ดับ รู้สึกแล้วก็ดับ เป็นขณะๆ คนละแบบกัน

คนไหนที่มีผู้รู้อยู่แล้วไปประคองรักษาตัวผู้รู้ตรงนี้ใช้ไม่ได้แล้ว พ้นทุกข์ไม่ได้จริงหรอก ไปเห็นว่าตัวผู้รู้เที่ยงผู้รู้เป็นสุข ตัวผู้รู้บังคับได้

หลวงพ่อพุธท่านก็บอกว่า ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มาเหมือนกันก่อนหน้าหลวงพ่อ 7 วัน หลวงปู่สอนอย่างเดียวกัน

..บอกเจ้าคุณ การปฎิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จจริง เนี่ย เราจะต้องทำลายผู้รู้ ท่านบอกอย่างนี้นะ

ทำลายผู้รู้คือไม่ยึดผู้รู้นั่นแหละ ท่านเฉลยมานิดนึง ..คุณกับอาตนามาตกลงกัน ใครทำลายได้ก่อนให้มาบอกกัน ท่านสั่งอย่างนี้ แล้วเราก็ไม่เจอท่านอีกเลยตั้งแต่นั้น

จนกระทั่งก่อนท่านมรณภาพไม่นานได้กราบท่าน บอกหลวงพ่อ เรายังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย

6) หลวงพ่อพุธ: จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง

[บทเรียน] ภาวนาอย่าใจร้อนนะ มีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าไม่คลาดเคลื่อนด้วยการมีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ล่ะก็อย่าใจร้อน เดินไปเรื่อยๆ วันนึงจิตใจมันเติบโตเต็มที่มันทำลายเปลือกออกมาเอง

นี่ 5 องค์แล้วนะครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อ แต่ 6 คำถาม

—–#

ก่อนไปกราบหลวงปู่สุวัฒน์ เราภาวนา เรายังไม่ได้บวชนะ จิตเราหลุดออกมา เรารู้สึกสบายเลยเราคิดว่าพระอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ จิตไม่เกาะอะไรจิตไม่เกาะขันธ์

เราไปหาท่าน ปรากฎว่าพอใกล้ถึงจิตดันเข้าไปเกาะกัน ดันเข้าไปยึด(ขันธ์)อีก เราก็เลยคิดนี่ล่ะน้าาา มันเป็นอนัตตา .. มันเป็นไตรลักษณ์

พอคิดว่าเป็นไตรลักษณ์นะ ใจเราไม่ดิ้น ก็หลุดออกมา

7) หลวงปู่สุวัฒน์: นี่แหละ บางทีจิตมันก็หลุดออกมา บางทีจิตมันก็เข้าไปจับอารมณ์ พอมันจับอารมณ์แล้วเราเห็นว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันก็หลุดออกมา

เราก็ อ๋อ..จิตนี่ก็เป็นไตรลักษณ์นะ เราจะไปบังคับให้จิตหลุดพ้นไม่ได้หรอก ถึงเวลาถ้าเค้าพอ เค้าหลุดเอง แต่เราไม่รู้ว่าเค้าขาดอะไรที่ยังไม่พอ

[เฉลย] คือ ขาดอริยสัจ ขาดความรู้แจ้งอริยสัจนะ ถ้าแจ้งอริยสัจก็คือพอ

ถ้าไม่แจ้งอริยสัจ ยังเห็นว่ากายนี้ ใจนี้เป็นตัว สุขบ้าง ทุกข์บ้างอยู่ ไม่มีทางเลย ยังไม่พอที่จะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

หลวงพ่อนี่นะเคยกราบครูบาอาจารย์มานับไม่ถ้วน หลายสิบองค์ แต่ครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อรวมทั้งหมด 7 ครั้งเท่านั้น

ถ้าคนไหนถามหลวงพ่อเกิน 7 ครั้งถือว่าเป็น อวชาตศิษย์ ..มากไป

ถ้าถาม 7 ครั้งเค้าเรียก อนุชาตศิษย์ ..พอๆกัน

ถ้าไม่ต้องถามเลยนะ แล้วก็ผ่านไปเลย เป็น อภิชาตศิษย์

..งั้นพวกไหนถามมากนะ พวกโหลยโท่ยนะ :D

อย่าถามเยอะเลย หัดรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง หลักมีเท่านี้เอง ที่ผิดน่ะผิดจากหลักนี้ทั้งสิ้นเลย

พวกที่ติดว่าง นี่ใช้ไม่ได้นะ มันติดหมด

บางคนก็ฟุ้งในธรรมะ อยากพูดธรรมะ ใครเป็นบ้าง? รู้ตัวไว้นะเป็น วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ..เจอใครอยากจะสะกิดมาฟังธรรมะก่อนนะ (55)

เคยมีพระองค์หนึ่งนะ ท่านติดฟุ้งในธรรมะนี่แหละ ท่านเกิดวิปัสสนูชนิดหนึ่งนะ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์นะ เคารพหลวงปู่ดูลย์มากเลย

ท่านเดินลุยป่ามากจากบุรีรัมย์(พนมรุ้ง) เดินมาสุรินทร์นะคิดดู (55) มาถึงวัดตอนดึก มาเรียกหลวงตาดูลย์มาฟังเทศน์ พระอรหันต์มาโปรดแล้ว ไปเคาะประตูเรียกพระทั้งวัดเลยนะ

ตอนเช้าขึ้นมา หลวงปู่ แก้ แก้ไม่ตกนะ สุดท้ายหลวงปู่ดูลย์ใช้ไม้ตายเลย ด่า สัตว์นรก ไอ้บ้า ไอ้สัตว์นรก ..โอ้โห พระอรหันต์นะโกรธ เลือดขึ้นหน้า.. ตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู กูไปแล้ว คว้าไม้กวาดได้นะเอาพาดบ่า นึกว่าเป็นกลดนะ เดินออกไป 3 ก.ม. แล้วเพิ่งนึกได้ เอ๊ะ เราขาดสติอย่างร้ายแรกเลย ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก

มันเกิดขึ้นได้เสมอนะ หากเราไม่ปราณีตพอ จิตมันฟุ้งซ่านไป ไปอยู่ในความว่าง ฟุ้งซ่านไปอยู่ในธรรมะ ฟุ้งซ่านไปอยู่ในปิติ ..ฟุ้งซ้านไปอยู่ในการขยันภาวนา ภาวนาได้ทั้งวันไม่เคยพักเลย เจริญสติอย่างเดียวไม่มีเบรคเลย เนี่ย เป็นอาการที่เพี้ยนๆ ทั้งสิ้นเลย

ถ้าภาวนาถูกต้องแล้วจะเจอนะ ถ้าภาวนาผิดแล้วจะไม่เจอ จะเจอนิมิตแทนนะ

งั้นวันนี้หลวงพ่อก็เทศน์เรื่องวิปัสสนูให้ฟังด้วย แล้วเทศน์ให้ฟัง สิ่งที่ทำผิดมาเนี่ยมีตั้งหลายแบบ

โดยสรุปเลยก็คือ เราไม่ได้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงนะ ไม่รู้ลงปัจจุบันตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าเราสามารถรู้กายรู้ใจที่ปรากฎในปัจจุบันเนี่ย..ต้องเป็นปัจจุบันนะมันถึงจะเป็นของจริง อดีตไม่ใช่ของจริง อนาคตไม่ใช่ของจริง

ต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ต้องเห็นไตรลักษณ์ของมัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเดี๋ยวจิตไหลออกไป จิตฟุ้งไปแช่กับอารมณ์ใช้ไม่ได้นะ จะเป็นวิปัสสนู และที่ผ่านมามันจะผิดอยู่ในหลักนี้ทั้งหมดเลย

เริ่มตั้งแต่ ไปหัดดูจิต แล้วก็ไปแก้อาการของจิต ใช่ไหม? นี่ไม่ใช่รู้ นี่เป็นการเข้าไปแก้ไข

หรือ ถลำลงไปดู นี่จิตไม่ตั้งมั่น หลวงปู่สิมท่านแก้ให้ จิตถลำลงไปดู

หรือ จิตเจริญสติไปรวดเลย ไม่ยอมทำความสงบ ไม่พักผ่อนเลยนะ จิตหมดเรี่ยวหมดแรงไป เห็นไหมจิตไม่มีแรง จิตไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลาง จิตหมดแรง

หรือ จิตไหลออกไปข้างนอก สว่างว่างออกไป แล้วไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง ..อย่างตอนนี้มีคนวิจารณ์บอกหลวงพ่อสอนผิด เพราะมีคนไปส่งการบ้านที่วัดอื่นนะ บอกว่า ไปเรียนดูจิตมา ..ท่านอาจารย์ท่านก็สอนถูกนะ ท่านบอกมันผิดนี่หว่า มันไปดูในความว่าง ..แต่ท่านเข้าใจผิด คิดว่าดูจิตแล้วจะเป็นอย่างนี้ทุกคน ไอ้นี่มันเป็นวิปัสสนูนะ งั้นไม่ใช่บางคน สงสัยทำไมหลวงพ่อไม่ไปทะเลาะกับองค์อื่น ไม่ทะเลาะหรอก นะ ท่านก็พูดของท่านก็ถูกของท่านแหละ พวกเราภาวนาโหลยโท่ยเองอ่ะ (ฮึฮึ) จิตไปติดในความว่าง ภาวนาผิดอ่ะ นะ งั้นถ้าจิตไม่ไปติดในความว่าง เรารู้ทันก็หลุดออกมา นะ งั้นการภาวนานะ ถ้าเข้าใจหลักปฎิบัติที่แท้จริงแล้วไม่มีปัญหาอะไรเลย ภาวนาของเราเองก็สะดวกสบาย เข้าไปหาครูบาอาจารย์ก็ไม่เคยมีปัญหาเลย

.. อย่างหลวงพ่อนะ มีพระทางอีสานลูกศิษย์หลวงพ่อทุย (วัดป่าด่านวิเวก) หลวงพ่อทุยที่ครูบาอาจารย์รับรองท่านนะ คุณธรรมท่านสูงมากเลย ลูกศิษย์ท่านมาเรียนที่หลวงพ่อ แล้วก็เอาหนังสือหลวงพ่อ เอาซีดีหลวงพ่อเนี่ยไปถวายท่านอาจารย์ทุย ท่านฟังจริงๆนะ ท่านฟังจนหมดเลย ท่านอ่านทั้งเล่มเลย อ่านทางเอกทั้งเล่มอ่ะ หน่ะ เสร็จแล้วท่านก็บอกกับลูกศิษย์ท่าน ที่อาจารย์ปราโมทย์สอนมาเนี่ยนะ เราเห็นด้วยทุกอย่างเลย เราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียวเอง ..เห็นมะ ความเห็นต่างได้ ..ท่านบอกเราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียว ข้ออื่นเห็นด้วยหมดอ่ะ อาจารย์ปราโมทย์บอกการภาวนาง่าย เราว่ามันยากนะ .. :D มันยาก ถูกของท่านนะ

มันยากที่คนทั่วๆไปเนี่ย จะตื่นขึ้นมา จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่ถ้าจิตของเราเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ไม่ยากหรอกที่จะบรรลุมรรผล นิพพานในชีวิตนี้ นะ ..งั้นพวกเราภาวนาไปนะ หัดดูกาย หัดดูใจ มีสติรู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบันเรื่อยไป นะ รู้ไปถึงจุดนึง นะ ต้องระวัง “วิปัสสนู” นะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่เป็นกลาง จิตไม่ถึงฐาน อย่างที่อาจารย์มหาบัวเคยบอกหลวงพ่อ ..ภาวะที่ว่าดูจิตดูไม่ถึงจิตแล้วลงอยู่ในว่างๆ ถ้าเรารู้ทันตรงนี้ก็ผ่านไปได้

ไม่ว่าจะทำวิปัสสนาด้วยวิธีใดนะ หนีวิปัสสนูไม่พ้นหรอก เจอทุกราย จะมากจะน้อยเท่านั้นเอง ..งั้นเราไม่ต้องกลัวนะ วิปัสสนูไม่ได้แปลว่าบ้า วิปัสสนูเป็นความที่ใจมันลำพองไป ทะยานไป หลงไปในธรรมะ ไม่ใช่หลงในอธรรมนะ หลงไปในธรรมะ เผลอเพลินไปในธรรมะ

ถ้ารู้ทัน จิตตั้งมั่นขึ้นมาก็หลุดเลย ไม่ยากเท่าไหร่หรอก อ่ะวันนี้เทศน์เท่านี้พอ

ขอบคุณ คุณ Supakorn Gift ผู้ถอดคลิปรับเชิญ

พระสูตรจากคลิป: ยุคนัทธสูตร

ส่วนที่อธิบายไว้ในอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 35  หน้าที่ 402

๑๐. ยุคนัทธสูตร

:- [๑๗๐]    สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ  โฆสิตารามกรุงโกสัมพี

ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมาฯลฯ  แสดงธรรมว่าอาวุโสทั้งหลาย

สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตามพยากรณ์การบรรลุ

พระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค  ๔  โดยประการทั้งปวงหรือว่าด้วย

มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔  นั้น  มรรค ๘ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็น

เบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น   เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ

ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่     มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก

ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้  อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้วสมัยนั้น

จิตนั้นย่อมตั้งมั่นหยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่

ภิกษุนั้น  เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ

กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น  ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อาวุโสทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตาม   มาพยากรณ์การ

บรรลุพระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ นี้    โดยประการทั้งปวง  หรือ

ด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน  ๔  มรรคนั้น.

จบยุคนันธสูตรที่  ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวอย่างนักภาวนาที่ดี

Mp3 (for download): ตัวอย่างนักภาวนาที่ดี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : เมื่อครู่เห็นแมลงวันเกาะอาหารก็เลยโกรธ สติเกิดเหมือน SPOTLIGHT ส่อง มันดับลงไปเลยครับ พอไปนั่งทานข้าวนึกถึงบุญคุณของหลวงพ่อก็ปิติ น้ำตาไหลก็ไม่ไปแทรกแทรง ก็ปล่อยให้มันไหล สักพักมันก็ดับไปเองครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ภาวนาอยู่ดีเลยนะ รู้ลูกเดียวเลย เห็นไหมทุกอย่างมันทำงานได้เอง ปิติมันเกิดขึ้นมาเอง ปิติมันก็ดับได้เอง

โยม : ผมต้องขออนุญาตแจ้งหลวงพ่อ ผมขอไรท์ซีดีแจกลูกศิษย์ลูกหาครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เป็นไรหรอกนะ เอาไปแจก เดี๋ยวนี้บางวัดเอาไปขายด้วย เดี๋ยวนี้งานหนังสือ มีหนังสือเรียนธรรมคู่เพื่อรู้ธรรมหนึ่ง เอาไปขายเล่มละ 30 บาท แต่ไม่เป็นไรขายถูกไม่ว่า

โยม : ขอแนวทางปฏิบัติต่อไปครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ทำอยู่ดีแล้วนะ

โยม : ไม่ต้องไปแทรกแทรง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่แทรกแทรง ถึงเวลามีข้อวัตรเป็นของตัวเอง ตอนนี้ต้องการความมีวินัยละ ทุกวันมีเวลาแบ่งไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาภาวนา

โยม : ผมขออนุญาตนิดนึงครับ เมื่อสองเดือนที่แล้วไปกดมันไว้ หลวงพ่อบอกว่าเพ่ง สงบมากกลางวัน พอกลางคืนฝันอุตลุดเลยครับ เสร็จแล้วพอหลวงพ่อบอกว่าอย่าไปเพ่ง เดี๋ยวนี้พอฝันจิตมันห่างๆ สติมันเกิดใขณะฝัน มันเห็น มันจ้อง แต่ไม่เข้าไปแทรงแทรง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าคุณตายตอนนี้ก็ไม่กลัวแล้ว เวลานิมิตไม่ดีเกิดสติจะทำงานเอง

โยม : เมื่อวันที่ 5 มกราคม ขออนุญาตนิดนึงครับ นั่งอยู่แล้วหายใจไม่ออก รู้สึกว่ากำลังจะตาย จิตมันหลุดออกไปแล้วดูมาที่กาย เห็นว่าไม่เอาแล้ว สักพักนึงมันหลบเข้ามา เกิดลมหายใจ ผมบอกว่าให้กดจุด ก็เลยอยู่ครึ่งขั่วโมง หลักจานั้นก็หน้าซีดเกือบจะตาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าตายก็ไม่เสียทีแล้ว เวลาหลวงพ่อไปเยี่ยมคนไข้นะ บางทีหลวงพ่อให้กำลังใจนะ ไปเยี่ยมท่านวันชัย “อาจารย์ตายแน่รอบนี้ ยังไงก็ไม่รอดหรอก ดูมันตายไปเลย” นั่นแหละของคุณภาวนาได้ดีมากเลยนะ ภาวนาถูกเป๊ะเลย จิตของคุณมันรู้มันตื่นแล้วมันเป็นกลาง เราภาวนาแทบเป็นแทบตายเพื่อให้มันรู้มันตื่น แล้วรู้ทุกอย่างอย่างเป็นกลาง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต

MP3 (for download): ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต (๓๓ นาที ๕๖ วินาที)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ ๒๒
File: 510615
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาด้วยการขยับทำอย่างไร?

MP3: ภาวนาด้วยการขยับทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ผมจะสังเกตยังไงว่า เวลาผมขยับแล้วมันจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

หลวงพ่อ : แรกๆไม่ถูกหรอก มันก็จงใจหน่อยๆ แต่ฝึกไปแล้วขยับเราก็รู้สึกนะ จิตไหลไปอยู่ในมือเราก็รู้สึก ขยับแล้วจิตหนีไปคิดเราก็รู้สึก ขยับแล้วคอยรู้จิตไปเรื่อยๆ ต่อไปเวลาเราเผลอ เราเกิดขยับตัว เราไม่ได้ขยับมือด้วยซ้ำไป เคยฝึกมือนี้  เกิดขยับคอขึ้นมาอย่างนี้ สติเกิดเองเลย มันจะรู้สึกขึ้นมาโดยที่ไม่ได้จงใจ

โยม: แต่ที่ผมขยับเล่นๆ ทุกครั้งที่ผมมาผมก็ขยับ อย่างนั้นถูกแล้วใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ: ไหนลองขยับโชว์ซิ

โยม: ถ้าขยับต่อหน้าหลวงพ่อมันจะทำไม่ได้สักที เพราะมันจะไปอัดไว้ แล้วให้สังเกตจิตตั้งมั่น จะสังเกตยังไงครับ?

หลวงพ่อ : เวลาขยับนะ รู้สึกไหมใจเรากระจายออกไปไหม ถ้าใจกระจายออกไปรู้ว่ากระจายไป-จิตไม่ตั้งมั่น

โยม: แล้วถ้าจิตตั้งมั่นจะต้องสังเกตยังไงครับ

หลวงพ่อ : จิตตั้งมั่นมันจะเห็นร่างกายเคลื่อนไหว จิตเป็นแค่คนดูอยู่ต่างหากเอง

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลงนานไม่ค่อยรู้ตัวทำอย่างไร?

MP3: หลงนานไม่ค่อยรู้ตัวทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: คือว่ารู้สึกว่าปฏิบัติแล้วมันพัฒนาลงค่ะหลวงพ่อ

หลวงพ่อ : มันพัฒนาลงยังไง

โยม : มันรู้ตัวได้น้อยลงค่ะ

หลวงพ่อ : แล้วมันไปไหน

โยม : มันเผลอไปไหนก็ไม่รู้ค่ะ

หลวงพ่อ : หลงนาน?

โยม : นานค่ะ รู้สึกอย่างนั้น

หลวงพ่อ : หลงนานไปเดินจงกรมไว้ เดินไปเดินมาแล้วก็คอยรู้สึก เห็นร่างกายมันเดินเรื่อยๆ แต่อย่าไปเพ่งนะ อย่างตอนนี้จิตจะน้อมไปเพ่งเอา

โยม : อย่างนี้เรียกเพ่งใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ใช่ ไม่เพ่งนะ ให้คอยรู้สึก สงสัยรู้สึกไหม สงสัยผุดขึ้นมาเราก็รู้ว่าสงสัย ให้รู้ความรู้สึกลงปัจจุบัน หัดดูสภาวะบ่อยๆนะ แล้วสติจะเกิดบ่อย อย่างตอนนี้ใจหนีไปคิดทราบไหม

โยม : นิดหนึ่งค่ะ

หลวงพ่อ : ให้หัดดูอย่างนี้ หัดดูสภาวะบ่อยๆนะ แล้วสติจะเกิดเร็วขึ้น เนี่ย ใจไปคิดอีกแล้ว แล้วใจอยากพูด รู้สึกไหม นั่นแหละหัดดูอย่างนั้น หัดดูความรู้สึกของเรานะ มันจะทำงานตลอดเวลา ต่อไปสติก็จะเร็วขึ้น

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 12 of 12« First...89101112