Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

หลวงพ่อไม่เคยเถลไถลจนลืมการปฏิบัติ

mp3 (for download) : หลวงพ่อปฎิบัติอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราส่งการบ้านนะ ไปหาอย่างหลวงปู่เทสก์นี่ ส่งการบ้านท่าน ออกจากท่านมานะ บทสนทนาธรรมหมดแล้ว ออกมา มีพระตามออกมานะ พระเคยมาถามหลายองค์เลย หลายครั้งด้วย ”โยมทำได้ยังไง พระทำสิบปียี่สิบปีไม่ได้เท่าโยม” (หลวงพ่อปราโมทย์) บอก “ผมทำทั้งวันนะ” ทำตั้งแต่ตื่นจนหลับนะ มีบ้างน่ะ เถลไถล ไปเที่ยวไปเล่น มีบ้าง ไม่ไช่ว่าซีเรียส ปฏิบัติตลอดเวลา แต่ไม่เคยไปเถลไถลจนกระทั่งลืมการปฏิบัติเลย ตามรู้กายตามรู้ใจของเราไปเรื่อยๆนะ

CDสวนสันติธรรมแผ่นที่ ๓๑

ไฟล์ 520718

เวลา 11min35-12min16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ให้ฝึกจิตเดินปัญญาด้วยการแยกธาตุแยกขันธ์

mp3 (for download) : วิธีฝึกจิตให้เดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้บางคนนี่ที่อินทรีย์แก่กล้านะ พอทำความรู้ตัวขึ้นมาปุ๊บ จิตตั้งมั่นมันรู้ตัวปุ๊บ เริ่มเดินปัญญาได้เองนะ มันเห็นกายแยกออกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู เห็นเวทนาแยกเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู เห็นสังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุศลนะแยกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู แยกออกมาได้ แล้วเห็นจิตนั้นเกิดดับเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง นี่บางคนที่เค้าทำมาแล้วนะพอจิตตั้งมั่นปุ๊บมันเห็นเองเลย นี้บางคนไม่เป็น บางคนไม่เป็นก็ต้องฝึกเอา

วิธีฝึกก็คือช่วยมันหัดแยกธาตุแยกขันธ์ ช่วยมัน วิธีช่วยทำอย่างไรดี นั่งก็ได้นะ นั่งให้สบายนะ เอาให้สบายสุดๆเลยนั่ง แต่อย่างนั่งหลับก็แล้วกัน สมมติว่านั่งสมาธิแล้วสบายก็นั่งสมาธิไป นั่งเก้าอี้แล้วสบายก็นั่งเก้าอี้ไปนะ มีเก้าอี้ตัวละแสนนั่งแล้วแทบจะปลิวแทบจะลอยก็นั่งไป ไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้เกี่ยวกับท่านั่งหรอก หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะว่า ไม่เกี่ยวกับอิริยาบถเลย ท่านบอกเอาหัวทิ่มพื้นนะเท้าชี้ฟ้า ก็ภาวนาได้ นี่ไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนั่งให้สบายไปก่อน นั่งให้สบายนะแล้วค่อยๆสังเกตไป ร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆหัดดู บางคนมันรู้เอง ถ้าคนไหนมันไม่รู้เองนะก็ช่วยมันหน่อย บางทีครูบาอาจารย์ ให้พิจารณากาย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่ พิจารณา ๆ ไป ช่วยมัน ช่วยมันดูเพื่อให้เห็นว่าร่างกายเป็นส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง หรือถ้าเราไม่พิจารณาเรานั่งดูเอาเลยก็ได้ เห็นร่างกายที่หายใจออก เห็นร่างกายที่หายใจเข้า เห็นร่างกายที่นั่ง ดูไปอย่างนี้ หรือร่างกายจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จริงๆได้ทุกอิริยาบถนะ แต่เอานั่งไว้ก่อน หรือใครถนัดเดินก็เดินไว้ก่อน ยกเว้นนอนนะ นอนนี่เอาไว้ทีหลังอย่าเพิ่งเลย หัดง่ายเกินไป งั้นเอายืน เอาเดิน เอานั่งไว้ก่อน ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ

อย่างหลวงพ่อถนัดนั่ง หลวงพ่อก็นั่งดูเห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้ ดูไปๆ จะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ร่างกายกับใจนั้นเป็นคนละอันกัน นี่มันเริ่มแยกแล้ว เริ่มแยกขันธ์แล้ว รูปขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นามขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นั่งต่อไปเรื่อยๆ นั่งให้สบาย นั่งเก้าอี้ตัวละหมื่น ตัวละแสนอะไรก็นั่งไป นั่งไปๆ สักพักหนึ่งก็เมื่อย มีไหมนั่งเก้าอี้แพงๆแล้วไม่เมื่อย ที่หลวงพ่อสังเกตนะ เก้าอี้ยิ่งแพงยิ่งนั่งแล้วเมื่อย เราคงไม่มีบุญนะ เวลาไปเทศน์ที่ไหนนะเค้าจะจัดเก้าอี้ที่นั่งแล้วยุบไปครึ่งตัว โผล่หัวออกมาหน่อยนึง โอ๊ยเมื่อยจะตาย นั่งเกร็งไว้ตลอดเลย นั่งลงไปนะประเดี๋ยวนึงก็เมื่อยขึ้นมา พอเมื่อยเราค่อยๆสังเกตนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความเมื่อย ร่างกายยังไม่ได้ขยับเลย เมื่อกี้ไม่เมื่อย ตอนนี้ชักเมื่อยขึ้นมาแล้วนี่ ค่อยดูอย่างนี้ เราจะเห็นว่าความเมื่อยกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เห็นว่าเวทนากับกายนี้เป็นคนละส่วนกันจริงๆ จิตเป็นคนดู นี่เราแยกได้สามขันธ์แล้วนะ

ทีแรกนั่งไปหรือเดินไปแล้วเห็นว่าร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดูนี่แยกกายกับจิตออก ถัดจากนั้น แยกต่อไปอีก นั่งไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ มันเกิดปวดเกิดเมื่อยขึ้นมา เราเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามา เข้ามาทีหลังหรอก ทีแรกไม่ปวดไม่เมื่อยนะ ความปวดความเมื่อยแทรกเข้ามา เป็นอีกขันธ์หนึ่ง ร่างกายกับความปวดเมื่อยคนละอันกัน จิตเป็นคนดู นี่ได้สามขันธ์แล้วนะ

ต่อไปพอร่างกายมันปวดมันเมื่อยมากขึ้นๆ จิตชักจะกระสับกระส่ายแล้ว ถ้าเราดูเป็นเราจะเห็นว่าจิตไม่ได้เมื่อย กายก็ไม่ได้เมื่อย ความปวดความเมื่อยนั้นแทรกเข้ามาอยู่ในกาย จิตไม่ได้เมื่อยเลยนะ จิตไม่เกี่ยวเลยแต่จิตกระสับกระส่ายเพราะจิตมันรักกาย มันรักว่า นี่ร่างกายของเรา ว่านั่งอย่างนี้เดี๋ยวจะเป็นอัมพาตนะ ยังไม่เคยเห็นใครนั่งสมาธิเป็นอัมพาตสักคนเลยนะ มีแต่ไปทำอย่างอื่นเป็นอัมพาต นี่เราค่อยดูไป พอมันเจ็บมันปวดมากขึ้นๆนะ ใจมันกระสับกระส่าย เราจะเห็นเลยนะว่า เมื่อกี้ใจมันเฉยๆนะ ตอนนี้ใจมันกระสับกระส่าย ใจกับความกระสับกระส่ายมันคนละอันกันอีก นี่ค่อยดูอย่างนี้ ทีแรกก็ดูกายนะกับจิต มีจิตเป็นคนรู้คนดู ต่อมาความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามาในกายเราก็เห็นความปวดความเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่กาย พอมันปวดเมื่อยมากนะความกระสับกระส่ายแทรกเข้ามาในจิต พอมีสติรู้ทันอีกก็เห็นว่า ความกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่จิต ความกระสับกระส่ายกับความปวดเมื่อยก็คนละอันกัน ความปวดอยู่ที่กายนะแต่ว่าใจมันทุรนทุรายขึ้นมา กังวลขึ้นมา กลุ้มใจขึ้นมา หงุดหงิดขึ้นมา โมโหขึ้นมา นี่มันมาเกิดที่ใจ แล้วมันก็ไม่ใช่ใจด้วย ความโกรธก็ไม่ใช่ใจ ความหงุดหงิดก็ไม่ใช่ใจ ใจเป็นคนดู นี่หัดแยกมันอย่างนี้นะ นี่ได้สี่ขันธ์แล้ว ได้ร่างกายนะ ขันธ์หนึ่ง เวทนาความปวดความเมื่อยขันธ์หนึ่ง ความทุรนทุรายของจิตใจนี่เป็นสังขารขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง จิตเป็นคนดูอีกขันธ์หนึ่ง สัญญาขันธ์อย่างเพิ่งไปยุ่งกับมัน ยุ่งกับสัญญาเร็วเกินไปเดี๋ยวบ้า เรียกสัญญาวิปลาส เอาไว้ก่อน งั้นเวลาท่านสอนท่านจะสอน กาย เวทนา จิต เห็นไหมจะสอนตรงนี้ แต่สัญญาเว้นไว้ก่อนอย่าเพิ่งไปยุ่ง บางคนไปยุ่งกับสัญญานะ พยายามดัดแปลงสัญญาเช่น เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ อย่างนั้นอย่าไปยุ่งกับมัน ให้รู้ รู้ลูกเดียวนะ รู้ลงในกาย รู้เวทนา รู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลของจิต แล้วก็รู้จิตใจของเราแต่ละส่วนๆ นี่หัดแยกอย่างนี้นะ ถ้ามันไม่แยกเองก็ช่วยมันแยก ตามวิธีที่หลวงพ่อเล่านี่ นั่งดูมันไป ค่อยๆพิจารณาค่อยๆแยกนะ

ที่นี้พอมันแยกแล้วนะ ขันธ์แต่ละขันธ์จะไม่ใช่ตัวเราแล้วจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นเลย ร่างกายถ้ามันแยกออกมาจากจิตเมื่อไร ร่างกายจะไม่ใช่ตัวเรา จะรู้สึกนะเป็นความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด จะรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจที่เป็นสุข ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นกุศล-อกุศลนี่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวเรา ตัวจิตเองที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ไม่ใช่เรา เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา คำว่าเรา หมายถึง เราถาวร มีเราที่เป็นอมตะ นี่เรียก อัตตา อัตตาหมายถึงมีตัวตนเราถาวร ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา

ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย

ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน

CD สวนสันติธรรม 33

521226A

17.46 – 28.09

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติ จากไม่มีศีลก็มีศีล จากไม่มีสมาธิก็มีสมาธิ จากไม่มีปัญญาก็มีปัญญา

mp3 (for download) : มีสติก็มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าดูจิตเป็นนะ เคยไม่มีศีล ก็จะมีศีล ไม่มีสมาธิ ก็จะมีสมาธิขึ้นมา หัดดูจิตดูใจของเรา มีสติรักษาจิตไปเรื่อย รู้ทันจิตไป กิเลสเกิดขึ้นรู้ทัน กิเลสเกิดขึ้นรู้ทัน ถ้าฝึกอย่างนี้เรื่อยนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตไม่ผิดศีลหรอก จิตไม่ผิดศีล กาย วาจาก็ไม่ผิดศีล รักษาใจไว้ได้ตัวเดียว กายวาจา ก็เรียบร้อยไปด้วย คนเราทำผิดศีลทางกาย ทางวาจาได้นั้น ก็เพราะว่ากิเลสครอบงำจิต กิเลสครอบงำจิตเพราะว่าไม่มีสติรู้ทัน เราอยากรักษาศีลให้สบาย ไม่ลำบาก อย่างคนไม่มีสติรักษาศีลยากที่สุดเลย เดี๋ยวก็เผลอ เดี๋ยวก็เผลอ เผลอแล้วก็ทำผิดศีลอีก ศีลกระพร่องกระแพร่ง ศีลโกโรโกโสอย่างนั้นใช้ไม่ได้ มีสติรู้ทันจิตบ่อยๆไว้ กิเลสเกิดรู้ทัน กิเลสเกิดรู้ทัน อย่างราคะเกิดแล้วรู้ทัน ราคะครอบงำจิตไม่ได้ ก็ไม่เป็นชู้กับใคร ไม่มีกิ๊ก มีอะไรหรอก ไม่ขโมยใครหรอก มันอัตโนมัติขึ้นมาอย่างนี้ โทสะเกิดขึ้นมีสติรู้ทันนะ โทสะครอบงำจิตไม่ได้ มันก็ไม่ฆ่าไม่ตีใคร เห็นมั๊ยสำคัญนะ มีสติรักษาจิตเอาไว้ คอยรู้ทันจิตไปเรื่อย กิเลสครอบงำไม่ได้ก็มีศีลขึ้นมา จิตใจฟุ้งซ่านได้ก็เพราะกิเลสนั่นแหล่ะ จิตใจทำผิดศีลได้ก็เพราะกิเลส จิตใจฟุ้งซ่านได้ก็เพราะกิเลส มันมีสติอยู่นะ จิตใจมันฟุ้งขึ้นมารู้ทัน ความฟุ้งซ่านก็ดับไป จิตมันคิดไปในเรื่องกาม มีกามฉันทะนิวรณ์ จิตมันตรึกไป คิดไปในกาม มีสติรู้ทันนะ กามฉันทะก็ดับไป ใจมันตรึกไปในทางพยาบาท คิดไปในทางพยาบาท มีสติรู้ทันนะความพยาบาทก็ดับไป มีสติรู้ทันใจมันฟุ้งซ่านรู้ทัน ใจมันหดหู่รู้ทัน ใจมันลังเลสงสัยรู้ทันขึ้น กิเลสพวกนี้จะดับไป

กิเลสระดับนี้ เรียกว่า นิวรณ์ เป็นกิเลสชั้นกลาง ถ้านิวรณ์มันทำงานขึ้นมาได้ มันจะกลายเป็นกิเลสอย่างหยาบ เป็น ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นมา ถ้า ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแล้วมันครอบงำจิต จะผิดศีล แต่ถ้านิวรณ์เกิดนะ ยังไม่แรงถึงขั้น ราคะ โทสะ โมหะ จะเสียสมาธิไป จิตจะฟุ้ง จิตจะเคลื่อนไป ลืมกายลืมใจแล้ว ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว งั้นเรามีสติรู้ทันจิต จิตมีนิวรณ์เกิดขึ้น กามฉันทะ ความพอใจในกามเกิดขึ้น พยาบาทเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความลังเลสงสัย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นคอยรู้ทันลงไป  กิเลสนิวรณ์มันก็ดับ อยู่ไม่ได้หรอก มันสู้สติไม่ได้ มีสติเมื่อไหร่มันไม่มีกิเลสหรอก

นี่เราก็ล้างความฟุ้งซ่านของจิตไป จิตไม่หลงปรุง หลงคิด หลงนึกไป จิตอยู่กับเนื้อกับตัว ตั้งมั่น หลุดออกจากโลกของความคิดได้  แม้สมาธิทำไปนะ เราจะหลุดออกจากโลกของความคิด และนิวรณ์นั้นมันลากให้เราปรุงไป ลากให้เราคิดไป คิดไปในกาม คิดไปในพยาบาท คิดฟุ้งซ่าน คิดหดหู่ คิดสงสัย นิวรณ์มันลากให้เราหลงไปคิดให้จิตฟุ้งซ่าน มีสติรู้ทันจิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วตอนนี้ พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว คราวนี้เดินปัญญาได้ เห็นมั๊ยสำคัญนะ มีสติรู้จิตไป กิเลสหยาบครอบงำไม่ได้ กายวาจาเรียบร้อย มีสติรู้ทันกิเลสอย่างกลางๆ เรียกว่า นิวรณ์  นิวรณ์นี่เป็นตัวกระตุ้น ถ้าปล่อยมันรู้ไม่ทันมัน จะกลายเป็นกิเลสหยาบ ถ้ารู้ทันมันใจก็สงบ ใจไม่ฟุ้งซ่านไปหลงไปอยู่ในโลกของความคิด เรียบร้อยใจสบายอยู่กับเนื้อกับตัว คราวนี้ก็เดินปัญญา

หลักของการเดินปัญญาเนี้ย ต้องแยกรูป แยกนาม แยกกาย แยกใจให้ได้นะ หลายคนที่พอมีสติขึ้นมาปุ๊บ รูปนามกายใจมันแยกเอง พวกที่มีบารมีนี่ มีสะสมมาแล้วเคยภาวนามาแล้ว พอใจรู้สึกตัวปุ๊บนี่ มันจะเห็นเลยร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเองเลย เห็นความรู้สึกสุขทุกข์อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเองนะ เห็นกุศล เห็นอกุศลอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง นี่มันเห็นได้เองนะ คนซึ่งมีบารมี อบรมมา อินทรีย์แก่กล้ามา บางคนไม่แก่กล้า พอรู้ตัวแล้วรู้อยู่เฉยๆ รู้ว่างๆอยู่นะ ไปเอาความว่าง น่าสงสาร ภาวนากับความว่าง เรียกว่า มักน้อยในเรื่องไม่ควรมักน้อย ต้องรู้กายต้องรู้ใจนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างอื่นเลย งั้นบางทีทำสมาธินะรู้ตัว ใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว รู้ตัว สว่าง ว่าง สบาย จิตไปค้างอยู่ตรงนี้ขี้เกียจขี้คร้านไม่เดินปัญญาต่อ อย่ามาคุยเรื่องมรรคผลนิพพาน บางคนเข้าใจผิดนะ บอกให้ประคองจิตให้ว่าง ไปงั้นนะ ว่างไปถึงที่หนึ่งแล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานไปได้ด้วยปัญญา

หลวงพ่อปราโมย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒
ก่อนฉันเช้า

CD สวนสันติธรรม 33
file: 521226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

mp 3 (for download) : สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สติปัฏฐานมีสองส่วน ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ และทำให้เกิดปัญญา

ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ ให้ตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิตไป

ส่วนที่ทำให้เกิดปัญญานี้นะ รู้กายลงไปเป็นปัจจุบัน แล้วก็ตามรู้จิต จะต่างกันนะ

ฉนั้นในขั้นที่เราจะกระตุ้นให้สติเกิด ก็ตามรู้ทั้งกายทั้งจิตนั่นแหล่ะ อย่าไปดูลงปัจจุบันที่กาย เพราะถ้าดูลงปัจจุับันที่กาย จะไปเพ่งกายอัตโนมัติเลย

ในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา“  “ปัสนา” คือการเห็น ตามเห็นเนืองๆ ซึ่งกาย   ตามเห็นน่ะ เป็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ทีนี้ตามเห็นไปเรื่อยๆ แล้วมันเกิดสติ แล้วจิตมันจำสภาวะได้ กำลังเผลอๆ อยู่นี่ เกิดขยับตัววับนะ สติก็เกิดแล้ว หรือกำลังเผลอๆ อยู่ เกิดความรู้สึกทุกข์อะไรแว๊บขึ้นมานะ สติก็เกิด  หรือกำลังเผลออยู่ จิตเป็นกุศลอกุศลขึ้นมา สติก็เกิด  คนไหนเคยตามรู้กายเนืองๆ พอร่างกายเคลื่อนไหวปุ๊บ สติเกิด  คนไหนตามรู้จิตเนืองๆ พอจิตเคลื่อนไหว สติก็เกิด

พอสติเกิดแล้ว คราวนี้มารู้กายลงเป็นปัจจุบัน รู้สึกเลย ตัวที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นรูปธรรมอันนึงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีธาตุไหลเข้า ธาตุไหลออกตลอด แล้วธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นกายนี้ ก็เปลี่ยนแปลงตลอด

รู้ลงปัจจุับันนะ ถ้าดูจิตก็ตามดูัมันไปเรื่อยๆ  ดูกายมีสอง step  ถ้าดูจิตนะ ดูตั้งแต่ต้นจนจบ ดูอย่างเดียว ดูอย่างเดียวกัน แต่ตอนดูก็ให้สติเกิดเอง ก่อนดูให้สติเกิดเอง อย่าจงใจให้เกิด  จงใจให้เกิดแล้วกลายเป็นเพ่งจ้อง  ระหว่างรู้ก็อย่าถลำลงไปรู้ ให้สักว่ารู้ ให้สักว่าเห็น ดูแบบคนวงนอก ไม่มีส่วนได้เสีย ดูกายเหมือนเราดูกายคนอื่น  ดูจิตใจเหมือนเราดูจิตใจคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย

จิตมันโกรธขึ้นมานะ ก็ดูเหมือนเห็นคนอื่นโกรธ เห็นความโกรธไหลมาไหลไป ดูอย่างไม่มีส่วนได้เสีย ดูอยู่ห่างๆ มันจะเหมือนเราอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปคลุกกับมัน เหมือนเราอยู่บนยอดตึำกนะ มองลงมา เห็นรถวิ่งเต็มถนนนะ  รถจะชนกันข้างล่างนะ ก็ไม่ได้มากระเทือนถึงเราที่เป็นแค่คนดู   จิตใจเป็นกุศลอกุศล จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรเนี่ย ก็ไม่กระเทือนเข้ามาถึงคนดู

พอรู้แล้วก็อย่าไปแทรกแซงมัน ก่อนจะรู้อย่าจงใจรู้  ระหว่างรู้นะให้สักว่ารู้ อย่าถลำลงไปรู้  รู้แล้วอย่าแทรกแซง  เกือบทั้งหมดก็แทรกแซง เจอกุศลก็อยากให้เกิดบ่อยๆ เกิดแล้วก็อยากให้อยู่นานๆ  เจอสุขก็อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้อยู่นานๆ  เจออกุศล เจอทุกข์ก็อยากให้หายไปเร็วๆ หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น  ตรงที่เข้าไปแทรกแซงมีปัญหามาก ลำพังกายนี้ใจนี้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง  มันเรื่องของกายเรื่องของใจ เรื่องของธาตุเรื่องของขันธ์ ไม่เกี่ยวกับเรา  ถ้าเมื่อไรเราหลงยินดียินร้าย  อย่างความโกรธเกิด อยากให้หาย  พออยากให้หายนะ ใจมันจะดิ้น  ใจจะดิ้นรนขึ้นมาทำงาน   พอใจดิ้นรนทำงาน ความทุกข์เกิดซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก อันนี้เป็นความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109A.mp3
Time: 3.25 – 7.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จุลโสดาบัน ปิดอบายภูมิได้หนึ่งชาติ

mp 3 (for download) : จุลโสดาบัน ปิดอบายภูมิได้หนึ่งชาติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะฉะนั้น มีสติบ่อยๆ มีสติบ่อยๆนะ มันจะไม่ไปทุคติหรอก ถ้าสติอัตโนมัติเลย เหมือนโอ่งอย่างนี้ ถ้าไม่เสื่อมไปจากตรงนี้นะ ชาติต่อไปนี่ไม่ไปทุกขคติหรอก มันปิดอบายภูมิไปได้ หนึ่งชาติ ชาติเดียวนะ ปิดได้หนึ่งชาติ เพราะจิตที่เดินมาถึงอย่างนี้นะ เรียกว่าจิตมันได้ จุลโสดาบัน จุลโสดาบันไม่ใช่พระโสดาบัน จุลโสดาบัน คือคนที่ภาวนาจนได้ ถึงสัมมสนญาณ สัมมสนญาณ นี่คือการที่เห็นไตรลักษณ์นั่นเอง เห็นแต่ว่าไม่ได้เห็นด้วยการเข้าไปประจักษ์ความเกิดดับต่อหน้าต่อตา อย่างโอ่งภาวนา โอ่งเห็นสภาวะที่เกิดดับต่อหน้าต่อตานี่เลยสัมมสนญาณไปอีก เรียกว่าอุทยัพพยญาณ เพราะฉะนั้นถ้าเราภาวนานะเราเห็นไตรลักษณ์ที่ยังเจือด้วยการคิดอยู่ เจือด้วยการคิดอยู่ นี่เรียกว่าได้ สัมมสนญาณ ในตำรานะ บอกว่าปิดอบายได้ชาติหนึ่ง มาดูดูก็เป็นไปได้เหมือนกัน เพราะว่าสติมันเริ่มเกิดขึ้นอัตโนมัติแล้ว เกิดเร็วขึ้นๆนะ เพียงแต่ว่ามันยังไม่หยั่งลงไปเห็นสภาวะเกิดดับ พอสติเกิดเร็วๆนี่เวลาเราฝันร้าย รู้สึกมั้ย สติเกิดอัตโนมัติเลย เพราะฉะนั้นเวลาจะตาย พอนิมิตไม่ดีเกิดนะสติเกิดอัตโนมัติเลย เห็นนิมิตที่ไม่ดีดับไปเกิดนิมิตที่ดีแทน เพราะฉะนั้นหัดดูจิตดูใจไว้นะหัดดูไป ใช้ประโยชน์ได้เยอะเลย ใช้ในชีวิตประจำวันนี้ก็ได้นะ ใช้ไปมรรคผลนิพพานก็ได้ ถ้ายังไม่มรรคผลนิพพาน ไม่ถึงนิพพานในชีวิตนี้ เอาไปใช้ประโยชน์ตอนจะตาย ไปช่วยตัวเองตอนจะตายได้

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109B.mp3
Time: 26.17 – 28.07

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

mp 3 (for download) : การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาดูจิตดูใจ ถ้าขึ้นวิปัสสนาแล้วก็จะเห็นความเกิดดับ เห็นจิตดวงนึงเกิดขึ้นดับไป มีช่องว่างมาคั่น ดวงนึงเกิดขึ้นดับไปมีช่องว่างมาคั่น หรือบางทีก็เห็นนามธรรมกระจายตัวออกไป เห็นจิตอยู่ต่างหากนะ เห็นความรู้สึกสุขรู้สึกรู้สึกทุกข์แยกออกไป เห็นความจำได้หมายรู้แยกออกไป เห็นกุศลและอกุศลทั้งหลายนี้แยกออกไป ไม่ใช่จิต แยกออกไปอีกนะ กระจายออกไป กระจายออกไป งั้นวิปัสสนานี่มันจะเห็น

วิปัสสนาแท้ๆมันจะเห็นสองอัน อันนึงเห็นสันตติ คือความสืบเนื่องมันขาด เห็นรูปอันนี้กับรูปอันนี้คนละรูปกัน เห็นคนละรูป เห็นนามอันนี้กับนามอันนี้คนละนาม สันตติมันขาด มันขาดอย่างไร เห็นนามอันนึงกับนามอันนึงขาดออกจากกันมีช่องว่างมาคั่น มีช่องว่างมาคั่น นี่สันตติขาด ไม่ใช่ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกันเหมือนสายน้ำ แต่เดิมเรานั่งดูจิตดูใจไปเราเหมือนเราดูน้ำไหลผ่านหน้าไป ไหลไปเรื่อยไม่มีช่องว่าง นี่ พอสติ สมาธิแก่กล้าขึ้นมามันเห็นนะ รูปนามมันเกิดดับได้ เกิดแล้วดับ อันใหม่กับอันเก่านี่คนละอันกัน เห็นต่อหน้าต่อตา ไม่ใช่คิดเอา ถ้ายังคิดเอาเรียกว่า สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณนี่ต้องอุทยัพพยญาณ ชื่อมันไม่ต้องจำก็ได้นะไม่สำคัญหรอก ชื่อมันยาว รวมชื่อสิบหกชื่อนะยาววากว่าๆ ไม่ต้องจำ

หรือเห็นฆนะ อันนึงเห็นสันตติขาด อันนึงเห็นฆนะ ฆนะแปลว่ากลุ่มก้อน เขียนด้วย ฆ ระฆัง น หนู ฆนะ มันแตก สิ่งที่เป็นกลุ่มเป็นก้อนนะมันแตกออกไป อย่างแต่เดิมเรารูปกับนามมันแยกออกจากกัน รูปก็แตกออกไปอีก สิ่งที่เป็นรูปแตกออกไปสี่อย่างเป็นธาตุสี่ นามก็แตกออกไปเป็นสี่อย่าง เป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกออกไปนะ นี่ ฆนะ มันแตก แล้วก็เห็นแต่ละอัน ๆ แต่ละสภาวะๆ มันแยกย้ายกันทำงาน แต่ละคนทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง เห็นมั๊ย กว่าจะขึ้นวิปัสสนาจริงๆไม่ใช่ง่ายนะ

สวนสันติธรรม
CD: 25
File: 510510.mp3
Time: 9.37 – 11.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

mp 3 (for download) : ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจมันจะปรุงแต่งเนี่ย ถ้าเมื่อไรเรารู้ทันการปรุงแต่งของเขาแล้ว มันจะหยุดไปเลย ขาดไป  งั้นอย่างหลวงพ่อจะบอกเรื่อยๆเลยว่า ตอนที่เราตื่นนอนใหม่ๆเนี่ย ตอนนี้เป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ ตื่นนอนแล้ว ตื่นปุ๊บเนี่ย คนทั่วไปชอบซึมๆ ต่อไปอีกช่วงนึง แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติจริงๆ ตอนตื่นนอนแล้วให้ีรีบรู้ทันเลย ให้รีบสังเกต จิตมันจะทำงาน

เวลาที่เราเข้าไปติดในสภาวะอะไรที่เราดูไม่ออก อย่างเราติดทั้งวันเลยนะ ติดอยู่อย่างนั้นน่ะ ตอนตื่นนอนให้รีบรู้เลย มันจะเห็นเลย มันไหลกระดึ๊บๆ เข้าไปช่องเดิมนั่นแหล่ะ พอเรารู้ทันว่ามันจะเข้าทางนี้นะ ต่อไปมันจะไม่เข้า ไม่เข้าเองละ อย่างใจเรา มันจะไหลเข้าไปถูกโมหะครอบ มันจะไหลเข้าไป  ถ้ารู้ทัน มันก็จะไม่เข้า  งั้นตรงตื่นนอนปุ๊บเีนี่ยนะ เป็นนาทีทองเลย คอยรู้สึกเอา

หลวงพ่อก็ใช้วิธีนี้สังเกตนะ เราไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้ๆ  หลวงพ่อปฏิบัติเนี่ย ไปเรียนกับครูบาอาจารย์ไม่มากหรอก แต่ใช้การสังเกตเอา  เราไม่มีโอกาสใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากนัก สามเดือนสี่เดือนไปหนนึง  อย่างตอนหลังๆเนี่ย ตอนมาภาวนาที่สวนบัวนะ ครูบาอาจารย์ตายไปหมดแล้ว ไม่เหลือละ องค์สุดท้ายที่เรียนกับท่าน คือหลวงปู่สุวัฒน์ ก็ไม่อยู่แล้ว  สิ่งที่ช่วยเราได้ คือ การสังเกตเอา  ฉนั้นถ้าขาดกัลยาณมิตรคือครูบาอาจารย์  โยนิโสมนสิการสำคัญที่สุดเลย  แล้วจุดที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดนะ คือตอนตื่นนอน  ตอนที่จิตมันเพิ่งเริ่มทำงานน่ะ  พอมันขึ้นจากภวังค์นะ เราคิดถึงการปฏิบัติปั๊บ มันจะเข้าช่องเดิมเลย

อย่างบวชปีแรก ปีแรกๆเนี่ย เช้าขึ้นมาจิตมันสว่างจ้าเลย แล้วสบายอยู่อย่างนั้นน่ะนะ  อยู่ไปหลายวันแล้ว อืม ไม่ใช่น่ะ นิพพานอะไรหมองๆได้  นิพพานจอมปลอม มีเข้าๆออกๆ ได้นะ   ครูบาอาจารย์เคยสอนว่า นิพพานไม่ใช่เข้าๆ ออกๆ นะ  เราสังเกต เอ มันไปหลงตรงไหนเนี่ย ไปเดินผิดตรงจุดไหนเนี่ย มองไม่ออก  งั้นค่อยๆสังเกตตั้งแต่ตื่นเลย อ๋อ มันผิดตั้งแต่ตื่น พอตื่นนอน ทันที่ที่คิดเรื่องปฏิบัติปุ๊บนะ มันจะไปหยิบฉวยจิตขึ้นมาดู กุ๊กกิ๊กๆ สองสามทีนะ แล้วก็ทำเป็นวางไป นี่ แกล้งวางได้ด้วยนะ โอ๊ย เจ้าเล่ห์แสนกลนะกิเลสน่ะ   มีการไปหยิบมาพลิกซ้ายพลิกขวาสองทีนะแล้ววาง  เราไม่เห็นตรงที่ไปหยิบฉวยขึ้นมาแล้วก็จงใจวางลงไป เราก็ โอ ว่างตลอด ๆ ของเก๊แท้ๆเลย  สภาวะอะไรที่รู้ทัน แล้วถึงจะผ่านได้  ถ้ารู้ไม่ทันก็ไปติดกับมันอยู่

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 491229A.mp3
Time: 1.00 – 4.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ายังเจือด้วยความคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง

mp3 (for download) : ถ้ายังเจือด้วยความคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่พยายามจะรู้นะ จงใจรู้ก่อน เบื้องต้นจงใจรู้ จงใจรู้สติยังไม่เกิด แต่ว่าพอหัดตามรู้สภาวะมากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งสติมันเกิดนะ แล้วมันมีปัญญาขึ้นมาด้วย อย่างหลายคนหัดรู้สึกๆ ไปเรื่ือยนะ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ หรือโลภขึ้นมาก็รู้ โกรธขึ้นมาก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ หายใจออกหายใจเข้าก็รู้ หัดรู้ไปเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่ง อยู่ๆ ขึ้นมานี่ กำลังอาบน้ำอยู่ ส่วนใหญ่จะตอนอาบน้ำ พวกเราสังเกตไหม อาบน้ำ ถูสบู่ ถูขี้ไคล ถูตัว ถูๆ ไป สติปัญญามันเกิดขึ้นมา มันเห็นเลย ตัวที่กำลังลูบอยู่นี่เป็นวัตถุเท่านั้นเอง เป็นก้อนธาตุเท่านั้นเอง เนี่ีย มันเกิดปัญญาแล้วนะ มันมีสติที่ีแท้จริงนะ มันระลึกลงไป โดยที่ใจไม่เข้าไปแทรกแซง สักว่ารู้สักว่าเห็นจริงๆ ไม่ใช่พอระลึกรู้อันนี้ใจก็พากย์ต่อเลยว่า อันนี้คืออันนี้ อันนี้คืออันนี้

เพราะฉะนั้น พอสติมันระลึกนะ อย่างอาบน้ำอยู่ ถูสบู่อยู่ ปั๊บ มันระลึกขึ้นได้  นี่เป็นแค่รูปเท่านั้นเอง ไม่ใช่เรา บางคนพอเห็นว่าไม่ใช่เรานะ ใจสะเทือนขึ้นมาเลย ตกอกตกใจขึ้นมาเลยว่าตัวเราหายไป บางคนก็เบื่ือขึ้นมาเลย บางคนก็รู้แจ้งขึ้นมาว่าตัวเราไม่มี แล้วแต่ว่าจิตใจนั้นมีคุณภาพระดับไหน แต่ตอนนี้คนที่สามารถเห็นได้ว่า ร่างกายไม่ใช่ตัวเรามีไม่รู้จำนวนเท่าไหร่แล้วนะ มีเป็นพันๆ คนที่เรียน การที่เราเรียนจนสามารถเห็นโดยไม่เจตนาจะเห็น คือการรู้จริงๆ ถ้ายังเจือด้วยการคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง อย่างสมมติเรานั่งถูไปแล้วเราก็นั่งคิด นี่ไม่ใช่ตัวเรานะ นี่ไม่ใช่ตัวเรา นั่งคิดอย่างนี้ยังไม่รู้จริง

แต่ถ้าเราฝึกสติไปเรื่อย แล้วใจมันตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกให้ใจตั้งมั่นก็มีเหมือนกัน เราคอยสังเกตใจของเรา ใจของเราชอบไหลไปไหลมา เดี๋ยวไหลไปดู เดี๋ยวไหลไปฟัง เดี๋ยวไหลไปคิด ใจที่ไหลไปไหลมาเรียกว่า “ใจไม่ตั้งมั่น” แต่ใจที่ไม่ไหล แต่เข้าไปจ่อนิ่งๆอ ยู่กับอารมณ์อันเดียวก็ไม่เรียกว่าใจตั่งมั่น เรียกว่าเพ่งเอาไว้ ใจที่ตั้งมั่นนี่มันรู้เนื้อรู้ตัว ใจมันเบิกบาน ใจมันเบา ใจมันสบาย ใจมันทำตัวเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูเท่านั้นเอง

ใจมันจะเกิดสภาวะอย่างนี้ได้ เราหัดรู้ไป เวลาใจเราหลงไปคิด หลงไปดู หลงไปฟัง โดยเฉพาะหลงไปคิด ใจชอบหลงคิดทั้งวัน ใจหลงไปคิดเรารู้ ใจหลงไปคิดเรารู้ อันนี้จะฝึกได้ทั้งสติ ฝึกได้ทั้งสมาธิคือ ความตั้งมั่น ใจหลงไปคิดเราก็รู้สึกนะ เราก็เห็นเลย เมื่อกี้หลงไปคิดตอนนี้รู้ขึ้นมา คนละอันกัน รู้กับคิดนี่คนละอันกันนะ และตรงที่รู้ว่าหลงไปคิด ความหลงไปคิดดับไป ความหลงความไหลออกไปดับ ใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นชั่วขณะ เราค่อยๆ ฝึกไป การที่รู้ว่าใจหลงไปคิดๆ ฝึกบ่อยๆ สติและสมาธิจะมีขึ้นมาเป็นวิธีเรียนแบบรวบยอดเลย เรียนง่ายที่สุดเลยมีทั้งสติทั้งสมาธิรวบขึ้นมาในที่เดียวกันเลย

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

12.49 – 16.09

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเราจงใจให้สติเกิด เรียกว่ามีโลภเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

mp3 (for download) : ถ้าเราจงใจให้สติเกิด มีโลภะเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราหัดรู้สภาวะไปเรื่อย ๆ ถึงจุดหนี่งสติจะเกิดเอง ถ้าเราจงใจให้ เกิด เช่น เราตั้งใจ ต่อไปนี้เราจะไม่เผลอเลย เราก็มารู้ลมหายใจหายใจออก คอยรู้หายใจเข้าคอยรู้ เราจ้องไม่ให้เผลอไปที่อื่นเลย อันนี้มี โลภเจตนา ซ่อนอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติ มีความโลภนะ โลภอะไร โลภอยากจะดี อยากจะรู้สึกตัว อยากจะให้เกิดสติ อยากจะให้เกิดปัญญา มีความโลภอยู่

ตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่สติแท้ ๆ ไม่มีหรอก สติแท้ๆ ไม่เกิดร่วมกับโลภะหรอก ที่นี้เราต้องหัดจนกระทั้งจิตมันเคยชินที่จะเกิดสติ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ แล้ววันหนี่งสติเกิดเอง ตรงที่สติเกิดได้เองนี่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนท่านชอบใช้คำว่า มหาสติ พวกเราเคยได้ยินไหม มหาสติ มหาปัญญา บางทีครูบาอาจารย์ใช้ มหาสติ คือสติอัตโนมัติ มหาปัญญา ปัญญารู้แจ้งความจริงของกายของใจโดยอัตโนมัติ ก่อนจะมีปัญญาอัตโนมัติ ต้องฝึกให้มีสติอัตโนมัติก่อน ถ้าขาดสติไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น เราค่อยๆฝึกหัดดูสภาวะไปเรื่อย แล้ววันหนี่งจิตมันจะเห็นสภาวะได้เอง พอจิตมันเห็นสภาวะปุ๊บ โดยที่ไม่เจตนานะ จิตมันจ ะรู้เนื้อรู้ตัว มันจะตื่นขึ้นมาเต็มที่เลย มันจะเห็นความจริงเลยว่า สภาวะทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

11.07 – 12.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อิทธิบาทสี่ กับการดูจิต

mp 3 (for download) : อิทธิบาทสี่ กับการดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พอหลวงพ่อได้ยินคำว่าดูจิตนะ หลวงพ่อมาคอยหัดดูจิต สนุกน่าดูเลย ทำไมจิตเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน สนุกที่ได้เรียนรู้ธรรมะนะ สนุกที่ได้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้รู้สึกลำบากที่ได้เรียนรู้กายรู้ใจนะ การที่เรามีความสุข มีความสนุกในการรู้กายรู้ใจก็คือมีฉันทะที่จะรู้ มันมีความสุขมีความพอใจที่ได้รู้ วิริยะเกิดเอง ขยันดู เพราะว่าอยากดู ชอบดู ดูแล้วมีความสุข ชอบดู ดูทุกวัน ไม่มีใครสั่ง ดูไม่เลิกเลย จิตใจก็คอยจดจ่อกับการรู้การดูนี่เรียกว่าจิตตะ วันๆ นะไม่คิดเรื่องอื่นแล้ว ใครจะยังไง ไม่สนใจ ถ้าพูดหยาบๆ ก็ช่างแม่มันนะ ใครจะทำอะไร สนใจอย่างเดียว เรียนรู้ตัวเอง จิตใจนี่ อ่านหนังสือนะ ก็ไม่ได้อ่านเรื่องอื่น ไปอ่านพระไตรปิฎก นั่งอ่านอยู่ในทำเนียบ มีห้องสมุด ของสำนักเลขานายกนะ เอาพระไตรปิฎกมาครั้งละสองเล่ม บาลีเล่มนึง ไทยเล่มนึง มานั่งดูไป บางทีก็เห็น อ้อมันแปลไม่ตรงกัน ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี บางทีมีคำเกินๆ มา ภาษาไทย อย่างทุกข์ให้กำหนดรู้นี่ บาลีไม่มี นี่เวลาอ่านหนังสือก็อ่านหนังสือธรรมะ อ้าวถึงเวลาวันหยุดแล้ว ต้องไปเที่ยวสักหน่อย ไปเที่ยววัดไหนดี ๆ ไปหาอาจารย์องค์ไหนดี คราวนี้ เห็นมั้ย ใจมันเคล้าเคลียอยู่กับธรรมะ นี่เรียกว่าวิมังสานะ เคล้าเคลียอยู่ ไม่ไปไหนหรอก ถ้าใครนะ มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เค้าเรียกว่าอิทธิบาทสี่ ธรรมนี้แหละทำให้ประสบความสำเร็จเร็ว เร็วมาก ไม่มีฉันทะ ต้องเคี่ยวเข็ญ ต้องอ้อนวอนให้ภาวนานะ ไม่ไหวนะ สู้ไม่ไหว อินทรีย์อ่อนไป ต้องขยันดูของเราเอง

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 29.16 – 31.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินตามรอยเท้าพระพุทธเจ้า ตามทางที่พระพุทธองค์ทรงบอกทาง

mp 3 (for download) : เดินตามรอยเท้าพระพุทธเจ้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราต้องอดทนนะอดทน พากเพียรเข้า อดทน เริ่มตั้งแต่อดทนฟัง พอฟังรู้เรื่อง รู้วิธีแล้วว่าเราจะต้องเจริญสติ รู้กายรู้ใจ ไม่เผลอลืมกายลืมใจ ไม่เพ่งกายเพ่งใจให้หยุดนิ่ง ปล่อยให้กายให้ใจมันทำงานไปแล้วเรามีสติตามดูมันไปเรื่อย ๆ นี่วิธีปฎิบัติ พอรู้แล้วเราก็ตามดูไปเรื่อย ตอนไหนจิตฟุ้งซ่านมากไป ตามดูกายดูใจไม่ออกก็ทำความสงบเข้ามา กรรมฐานที่ทำให้จิตสงบมีเยอะแยะ อะไรก็ได้ คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรมนะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงทาน คิดถึงศีล คิดถึงอะไรดี ๆ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงร่างกายของเราเอง คิดถึงความตาย สิ่งเหล่านี้ทำให้จิตใจสงบทั้งนั้น พอจิตใจเรามีกำลัง มีความสงบ มีความสบายแล้วนะ ก็มารู้สึกกาย มารู้สึกใจต่อ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก รู้สึกไปเรื่อย ๆ พอเรารู้สึกซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อไปเราจะเห็นความจริง ทีแรกต้องรู้กายรู้ใจก่อน พอรู้กายรู้ใจไปนาน ๆ ก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ตรงที่มีสติรู้กายรู้ใจนี่ถือว่าดีนะ มีสติแล้ว รู้กายรู้ใจ แต่ยังไม่มีปัญญา ตรงที่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาถึงจะเรียกว่ามีปัญญา พอมีปัญญาเห็นความจริง จิตจะค่อย ๆ ลดกิเลส ๆ เป็นลำดับไป พากเพียรเอานะ ที่เหลือคือพวกเราต้องช่วยตัวเองแล้ว หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้วนะ ขนาดพระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่า “ท่านเป็นแค่ผู้บอกทาง” แล้วหลวงพ่อจะเป็นแค่อะไรละ หลวงพ่อก็เป็นแค่ผู้จำทางมาบอก

“พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้บอกทาง หลวงพ่อเป็นเพียงผู้จำทางมาบอก พวกเรามีหน้าที่เดินทาง เส้นทางสายนี้ยังมีคนเดินอยู่ ยังไม่ขาดสาย ยังไม่ขาดระยะ ต้องรีบเดิน ถ้าขาดช่วงเมื่อไหร่จะหาเส้นทางนี้ได้อีกยากแสนยาก นานหนักหนากว่าจะมีผู้รู้เส้นทางนี้ขึ้นมา กว่าพระพุทธเจ้าจะค้นพบเส้นทางเส้นนี้ มีโอกาสแล้ว รู้ทางแล้ว ต้องรีบเดิน พระพุทธเจ้าเดินนำหายไปก่อนแล้ว ครูบาอาจารย์เดินตามหลังมา ยังเห็นรอยเท้าอยู่ นานไปรอยเท้านี้หายไป เพราะฉะนั้น เราต้องรีบเดินตาม  ก่อนที่รอยเท้าของท่านจะหายไปหมด”

ไม่มีอะไรมากหรอกนะ รู้สึกตัว รู้สึกตัวแล้วค่อย ๆ รู้สึกกายอย่างที่เขาเป็น รู้ใจอย่างที่เขาเป็น อย่าเเพ่งกาย อย่าเพ่งใจ อย่าไปกำหนดจดจ้อง ที่กำหนด ๆ นั้นนะ มันไม่ใช่นะ มันเป็นสมถะ  กำหนด แปลว่า กด กำหนดเป็นภาษาเขมรนะ มาจากคำว่ากดนั่นเอง กด กดไว้ ข่มไว้ ให้เรารู้ ไม่ใช่ให้เราบังคับ รู้ไปเรื่อยจนเห็นความจริง เห็นความจริงแล้วก็หลุดพ้นไป

พระพุทธเจ้าบอกว่า “เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก” งานนี้เสร็จ จบแล้วนิ เสร็จกิจแล้วนี่ ก็หมดแค่นี้แหละ ที่เหลือไปทำเอาเอง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๒๑

510615

2045 – 2401

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขันธ์เหมือนภาพลวงตา เหมือนภาพในจอหนัง

mp 3 (for download) : ขันธ์เหมือนภาพลวงตา เหมือนภาพในจอหนัง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

การปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เราชอบไปวาดภาพให้มันเกินจริง แค่เรามีสติ เรารู้ทันการทำงานของกายของใจ โดยเฉพาะของใจ กายมันเคลื่อนไปได้เพราะว่าใจมันสั่งนั่นแหละ พอรู้ทันเข้ามาถึงจิตถึงใจนะ ถึงต้นตอของมัน แล้ววางตัวต้นตอไปได้ก็สบาย ส่วนมากเราชอบไปแก้อาการ แก้ปรากฏการณ์ซึ่งบังคับไม่ได้

คล้ายๆ เคยเห็นเขาฉายหนังกลางแปลงไหม เดี๋ยวนี้ยังมีบ้างไหม หนังตามงานวัดใครเคยเห็นไหม ทำไมต้องหนังงานวัด มันเห็นเครื่องฉาย มันมีเครื่องฉายตั้งอยู่ จออยู่โน่น คนทั้งหลายนะไปหลงภาพในจอ ทวนเข้ามาไม่ถึงต้นตอของมัน ไปเห็นตัวนางเอกในหนัง ไปไล่คว้า คว้าเงานั่นแหละ ขันธ์มันก็เหมือนภาพลวงตา ขันธ์นะเหมือนภาพลวงตา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราพบเราเห็นนั้นก็แค่ภาพลวงตาเหมือนภาพในจอหนังนั่นเอง จริงๆ เราบังคับมันไม่ได้ งั้นเราจะไปไล่ตะครุบไล่จับไล่ควบคุมขันธ์น่ะทำไม่ได้ เหมือนไล่ตะครุบภาพในจอหนัง ทำไม่ได้ ถ้าทวนกระแสเข้ามาถึงตัวต้นตอของมันคือจิตนั่นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นปรุงออกไปจากจิตนั่นเอง ถ้าเราแค่เอามือปิดเครื่องฉายหนังซะ ไม่ให้ทำงานต่อ ภาพในจอทั้งหมดก็ว่างเปล่า ตามสภาพเดิมของมัน งั้นการปฏิบัติไม่ใช่นั่งแก้อาการทีละอาการ การปฏิบัติถ้าจะให้ได้ผลรวบรัดนะ เรียนรู้เข้ามาให้ถึงต้นตอของความปรุงแต่ง ถ้ารู้เข้ามาถึงต้นตอของความปรุงแต่ง มันอยู่ที่จิตนั่นเอง จิตมันปรุงแต่ง ถ้ารู้ถึงความปรุงแต่งจนความปรุงแต่งขาดไปนะ ไม่ต้องไปตามแก้อาการอีกแล้ว คนทั้งหลายได้แต่แค่พยายามแก้อาการ พยายามทำได้แค่นั้นเองเพราะสติปัญญาไม่แก่รอบ ไม่รู้ว่าวิธีจัดการกับความทุกข์ที่จะพ้นทุกข์อย่างแท้จริงนั้นคือทวนกระแสเข้ามา มาเรียนรู้ที่ต้นตอของมัน จนเราเห็นเลย กระทั่งจิตนี้ก็ไม่ใช่เรานะ คืนให้ธรรมชาติไป งั้นโยนเครื่องฉายหนังทิ้งไปด้วย ใครก็เอามาฉายอีกไม่ได้แล้ว แต่สติปัญญาของคนในโลกมันทำได้แค่ตะครุบภาพในจอหนัง เผอิญรูปภาพในจอมันยืนอยู่นิ่งๆ บางทีมันยืนคุยกันนิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว ไปจับไว้ นึกว่าจับได้แล้ว หยุดได้ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หนีไปอีก หนีอีกก็วิ่งไล่จับอีก โง่นะ ศาสนาพุทธเราเรียนย้อนเข้ามาหาต้นตอของมัน ต้นตอของความปรุงแต่งอยู่ที่จิตนี่เอง วันหนึ่งรู้ทันต้นตอของมันนะ คล้ายๆ เอามือไปปิดไอ้ตรงที่มันฉายไฟออกมา ภาพในจอหนังก็หายไป ไม่หลงออกไปข้างนอกแล้ว สุดท้ายนะโยนเครื่องฉายหนังลงน้ำไป สุดท้ายคือเราโยนจิตทิ้งไปนั่นเอง สลัดทิ้ง มันก็จะฉายอีกไม่ได้ ทีนี้เราเอามือปิดไว้นะ พอหมดแรงปิดมันก็ฉายอีก พวกที่เดินฌาน ไม่หลงไปกับความปรุงแต่งทางตา หู จมูก ลิ้น กายแล้ว แต่เครื่องฉายหนังยังเดินอยู่ เพียงแต่ไม่ทำงานออกไปสู่กามภพ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดอยู่ หมดแรงปิดเมื่อไหร่นะ เผลอหลุดมือเมื่อไหร่นะ มันฉายออกไปอีกแล้ว พวกพรหมสำรวมจิตเข้ามานะ สำรวมจิตเข้ามา แต่ว่าจิตก็ยังปรุงแต่งอยู่ คือหนังยังฉายอยู่แต่ว่ามันไปที่จอไม่ได้เท่านั้นเอง รูปมันไปไม่ถึงจอ งั้นภาวนานะเป็นขั้นเป็นตอน คนทั้งหลายมันไล่จับเงา ไล่ในกามนั่นเอง รู้สึกสนุกสนานเอร็ดอร่อยสวยงาม รูปในจอหนังสวยกว่าตัวเครื่องฉายหนังใช่มั้ย แต่ไม่ใช่ของจริง กามก็เป็นอย่างนั้นแหละ สวยงามล่อลวงให้วิ่งไล่จับ เหมือนๆ จะได้แต่ไม่เคยได้ ไม่เคยอิ่มไม่เคยเต็มหรอก สำรวมจิตสำรวมใจเข้ามานะ ไม่ออกไปภายนอก สงบอยู่ภายใน อันนี้ก็ได้ความสงบ ได้ความสุข แก้ปัญหาได้ชั่วครั้งชั่วคราว เหมือนการทำสมถะ ถ้ามาเรียนรู้จนเราทำลายเครื่องฉายไปนะ คือเราสามารถปล่อยวางขันธ์ห้าได้ ขันธ์ห้าตัวสุดท้ายที่จะวางคือจิตนั่นเอง ตราบใดที่ยังปล่อยวางจิตไม่ได้นะ ก็จะเกิดขันธ์ห้าใหม่ๆ ขึ้นมาอีก เพราะจิตดวงเดียวนี่แหละสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาใหม่ได้ทั้งขันธ์ห้าแน่ะ จิตดวงเดียวนี่แหละเหมือนเมล็ดพันธุ์ เดี๋ยวไปงอกเป็นต้นไม้ใหญ่ๆ ออกลูกออกหลานได้อีกเยอะแยะ งั้นเรียนเข้ามาถึงจิตถึงใจ วันหนึ่งทำลายเมล็ดพันธุ์คืออวิชชาลงไป ทำลายเชื้อพันธุ์ของมัน เป็นเมล็ดที่ไม่งอกอีกแล้ว มันก็ยังทรงรูปของเมล็ดที่ไม่งอกไปอีกช่วงหนึ่ง ต่อไปก็แตกสลายหายไป

งั้นการปฏิบัติมีความสุขอยู่ข้างหน้ามากมาย เรามัวแต่ตะครุบเงานะ อย่าหลงนะเสียเวลา ไม่ฉลาดเลย ความสุขที่เป็นภาพลวงตา พระพุทธเจ้าบอกขันธ์มันเป็นภาพลวงตา เหมือนพยับแดดนะ พยับแดด อย่างเราขับรถไปมองเห็นไกลๆ เห็นเหมือนเป็นน้ำบ้าง เห็นเหมือนไอน้ำเต้นยิบยับๆ เข้าใกล้ๆ แล้วหายไปหมดเลย ความสุขก็ล่อเราอย่างนี้แหละ ให้วิ่งไป พอเข้าไปใกล้ๆ นะก็หายไปละ ไปอยู่ข้างหน้าอีกแล้ว เราก็วนเวียนนะ น่าสงสารมาก ถ้ายังวนเวียนอยู่ก็ยังไม่รู้สึกน่าสงสารหรอก ยังรู้สึกว่าบางครั้งก็เอร็ดอร่อย สนุก บางครั้งก็เศร้าโศก บางครั้งก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เวียนอยู่อย่างนั้น ก็ยังพอทน รู้สึกทุกข์บ้างสุขบ้าง รู้สึกไม่ใช่เราทุกข์คนเดียว ใครๆ เขาก็เป็นอย่างนี้เหมือนๆ กันหมดทั้งโลก นี่เพราะว่าไม่มีสติปัญญาที่จะพ้นไปจากวังวนของความปรุงแต่งอันนี้ ค่อยๆ เรียนเข้ามานะ เข้ามาหาจิตหาใจตัวเอง ไม่หลงปรุงแต่งออกไปภายนอก แล้ววันหนึ่งหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิง มันจะหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิงเมื่อมันปล่อยวางความยึดถือจิตได้

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116A.mp3
Time: 4.39 – 11.35

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน อย่าให้เกินนี้ออกไป

mp3 (for download) : มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน อย่าให้เกินนี้ออกไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อเคยศึกษากับท่านอาจารย์มหาบัว ท่านเคยสอนหลวงพ่อ การปฏิบัติมีนิดเดียว “มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน” ประโยคสั้นนิดเดียวนะ บางองค์สั้นกว่านี้อีกนะ มีหลวงปู่ทา ตอนนี้ยังอยู่ อยู่ถ้ำซับมืด “มีสติรักษาจิต” สั้นนิดเดียว หลวงปู่ดุลย์ก็สั้นนะ “ดูจิต” สั้นนิดเดียว

จริงๆ ธรรมะไม่ได้มีอะไรมากมาย แต่ว่าหลักของการปฏิบัตินี่สั้นนิดเดียว ถ้ายังดูจิตไม่ได้ก็ดูกาย อย่าให้เกินกายออกไป เพราะฉะนั้น อย่างอาจารย์มหาบัวท่านสอนนะ ท่านตีกรอบเลย อย่าให้เกินกายออกไป รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ลงเป็นปัจจุบันด้วยนะ ไม่ใช่กายกับใจเมื่ออดีตเมื่ออนาคตนะ รู้ลงปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเป็นของจริง อดีตอนาคตมันไม่ใช่ของจริงแล้ว ให้รู้ลงกายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน อย่าให้เกินนี้ออกไป ถ้าเกินนี้ออกไปก็ไม่ใช่วิปัสสนา อย่างจะไปรู้ความว่าง ไปรู้สุญญตา รู้อะไรอย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไว้ ท่านสอนให้รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม ก็คือเรื่องของกายกับใจล้วนๆ นั่นเอง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๗

491217

1.35 – 2.52

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทุกข์ทางกายนั้นห้ามไม่ได้ แต่ความทุกข์ทางจิตใจเป็นสิ่งที่เราหามาเอง

mp3 (for download) : ความทุกข์ทางกายนั้นห้ามไม่ได้ แต่ความทุกข์ทางใจนั้นเป็นสิ่งที่เราหามาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การศึกษาธรรมะนี่คือการเรียนรู้ตัวเองจนเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ความทุกข์มันอยู่ที่ตัวเราเองนี่เอง ความทุกข์อยู่ที่กาย ความทุกข์อยู่ที่ใจ ถ้าเราเรียนรู้ลงมาอย่างถ่องแท้นี่นะ เราจะรู้เลย ความทุกข์ทางกายนี่ห้ามไม่ได้ เป็นผลพลอยได้จากการมีร่างกาย แต่ความทุกข์ทางจิตใจนี่เป็นเรื่องที่หามาเอง หาเอาใหม่ในปัจจุบันนี่เอง เพราะฉะนั้น ความทุกข์ทางกายเป็นผลของกรรมเก่านะ ผลของกรรมเก่า ได้ร่างกายมาแล้ว แข็งแรงบ้าง ไม่แข็งแรงบ้าง แล้วแต่กรรมหล่อเลี้ยงไว้

ความทุกข์ทางจิตใจในปัจจุบันนี่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ ถ้าหากเราภาวนาเป็นนี่ เราจะขจัดต้นเหตุของความทุกข์ทางใจออกไปได้ ให้เราคอยสังเกตลงที่จิตที่ใจ การปฏิบัติ ถ้าหากเอาสั้นๆ แบบโตแล้วเรียนลัดนะ เอาแบบสั้นๆ ให้คอยสังเกตที่ใจของเราไว้ ดูซิ ความทุกข์มันมาได้อย่างไร สังเกตเข้าไปในความทุกข์มันมาได้อย่างไร เราจะเห็นเลยว่า บางทีเรานั่งอยู่เฉยๆ นะ ใจเราก็คิดถึงคนๆ หนึ่งขึ้นมา ไม่ได้เจตนาจะคิดนะ อยู่ๆ หน้าคนๆ นี้ก็โผล่ขึ้นมา พอโผล่ขึ้นมาปุ๊บ นึกได้ นังคนนี้โกงแชร์เราเมื่อสิบปีก่อนนะ สมมติ พอนึกได้ เห็นไหม ไม่ได้เจตนาจะนึกนะ มันนึกขึ้นได้เอง ทีแรก หน้ายายคนนี้โผล่ขึ้นมา ไม่ได้เจตนาที่จะนึกถึง อยู่ๆ ก็โผล่แล้วก็จำเรื่องราวขึ้นมาได้ ไม่ได้เจตนาจะจำ มันจำได้ขึ้นมา พอจำได้ปั๊บ มันโมโหขึ้นมาอีกแล้ว ความโกรธเกิดขึ้น มันก็โกรธของมันเองนะ จิตมันโกรธของมันเอง ตรงนี้ไม่เป็นไรนะ ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตั้งแต่ใจมันนึกขึ้นมา ใจมันคิดขึ้นมานะ จนกระทั่งกิเลสเกิดขึ้นมาก็ยังไม่มีปัญหาอะไร ตรงนี้เป็นเรื่องกระบวนการทำงานปกติของจิตใจนั่นเอง จิตใจมันคุ้นเคยที่จะปรุงกิเลส มันก็ปรุงกิเลส มันคุ้นเคยจะปรุงกุศลมันก็ปรุงกุศล มันปรุงของมันเอง ตรงนี้ยังไม่ใช่ปัญหาของนักปฏิบัติ เพราะฉะนั้นให้คอยดูต่อไป พอจิตใจมีความโกรธเกิดขึ้น ตรงนี้แหละที่เริ่มเป็นปัญหา คือเราจะเริ่มเกิดความยินดียินร้ายนะ เกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา เช่น รู้สึกเกลียดนังคนนี้มากเลย เกลียดมากกว่าเก่าอีก ยิ่งคิดยิ่งแค้น แล้วก็ปรุงแต่งต่อไปว่าทำอย่างไรจะไปแก้แค้นมันได้ นี่ตัวนี้ตัวเริ่มปัญหาแล้ว จิตใจจะเริ่มมีความทุกข์ขึ้นมา

เพราะฉะนั้น ในขณะที่สภาวธรรมใดๆ เกิดขึ้น จะเป็นความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล สภาวธรรมที่เกิดขึ้นนี่ยังไม่ใช่ปัญหา อย่างเช่นเราเดินช้อปปิ้งไป ไปเห็นของสวยๆ อยากได้ขึ้นมา ใจมันมีโลภะขึ้นมา ตัวนี้ยังไม่ใช่ปัญหา แต่พอเกิดโลภะขึ้นมาใจมันจะดิ้น ตรงที่ใจมันเริ่มดิ้นนี่แหละเกิดปัญหา มีกิเลสขึ้นมาแล้วเกิดการกระทำกรรม เกิดการกระทำกรรม คือเกิดการดิ้นรนทางใจ ใจมันจะดิ้นๆๆ ตรงที่ใจมันดิ้นรนนี่แหละเป็นตัวปัญหาในปัจจุบันล่ะ

ทันทีที่จิตใจมันเริ่มดิ้นนะ จิตใจมันจะมีความทุกข์ จิตใจที่ดิ้นนี่เรียกว่า “ภพ” นะ ภาษาบาลีเรียกว่า ภพ (ภ-พ) ชื่อเต็มๆ ว่า กรรมภพ คือการทำงานของจิต เมื่อไรที่จิตทำงานนี่ จิตจะเกิดความทุกข์ขึ้นโดยอัตโนมัติ นักปฏิบัตินี่มีหน้าที่คอยมีสติไว้ พอตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์นะ กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พอกระทบปั๊บ มันจะเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา พอมีความยินดีมีความยินร้ายขึ้นมาแล้ว จิตจะเกิดการทำงาน ตอนนี้ทำงานในปัจจุบันหรือสร้างภพในปัจจุบัน การที่รูป เสียง กลิ่น รส อะไรพวกนี้มากระทบ โผฏฐัพพะมากระทบนะ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เป็นผลของกรรมเก่า กรรมเก่าไม่ดี สิ่งที่มากระทบไม่ดี กรรมเก่าดีสิ่งที่มากระทบก็ดี แต่พอกระทบแล้วจิตเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา พอจิตเกิดความยินดียินร้ายนี่จิตจะทำกรรมใหม่ ตัวนี้ ตัวนี้ตัวสำคัญนะ ต้องคอยรู้ทัน

อย่างพอมันนึกถึงคนนี้ มันเกลียด อยากฆ่าเขา วางแผนฆ่าเขา นี่ใจปรุงแต่งแล้ว ใจปรุงแต่งหรือว่าโทสะเกิดขึ้นมา พอจิตไปเห็นโทสะ เสร็จแล้วไม่ชอบโทสะ อยากให้โทสะหาย รีบพิจารณาอะไรต่ออะไรใหญ่เลยนะ รีบเจริญเมตตาอะไร นี่คือการปรุงแต่งใหม่ คือกรรมใหม่ หรือว่าราคะเกิด จิตใจก็ทำงานปรุงแต่ง อะไรๆ เกิดขึ้นในใจมันจะคอยปรุงแต่งต่อ เพราะฉะนั้น ถ้าตัวสภาวธรรมเกิดขึ้นแล้ว นี่ยังไม่ใช่ตัวปัญหา ห้ามมันไม่ได้ สภาวธรรมจะเกิดนี่ ห้ามมันไม่ได้ แต่ถ้าสภาวธรรมเกิด พอจิตไปรู้เข้าแล้วนะ ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พอจิตไปรู้เข้าแล้ว จิตจะเกิดความยินดียินร้ายแล้วจิตทำงาน ทันทีที่จิตทำงาน จิตจะมีความทุกข์ ให้เรามีสติรู้ทันความยินดียินร้าย พอตามองเห็นเกิดความยินดียินร้ายมีสติรู้ทัน หูได้ยินเสียงนะ เช่น เค้าชมเรานี่ เรายินดี ให้รู้ท้นนะ ถ้ารู้ไม่ทัน เราจะปรุงแต่งทางใจของเราเอง ปรุงใหม่ ถ้าได้ยินคำด่า เราก็เกิดโมโหขึ้นมา มันก็ปรุงแต่งอีก ให้รู้ทันที่ความปรุงแต่งอันใหม่ ความยินดียินร้ายแล้วก็เกิดความปรุงแต่ง นี่คอยรู้ไปอย่างนี้เรื่อย มีสติรู้ไปเรื่อย จิตใจมันจะไม่ดิ้นรน จิตใจมันจะไม่ทำงาน จิตใจมันจะมีความสงบสุขในปัจจุบัน อันนี้เราสงบสุขด้วยการมีสตินะ นี่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

ทีนี้พอสภาวธรรมเกิดแล้วจิตยินดียินร้ายเรารู้ทัน จิตมันจะเป็นกลาง พอจิตมันเป็นกลางมันจะสามารถรู้สภาวธรรม ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดี ทั้งชั่ว มันจะรู้ได้อย่างเป็นกลางจริงๆ มันจะเห็นความจริงของสภาวธรรมเลย สุขก็เกิดชั่วคราว แล้วก็หายไป ความทุกข์เกิดชั่วคราวแล้วก็หายไป แต่เดิมความสุขเกิดขึ้นมาก็หลงยินดี เกิดการทำงานอยากรักษาเอาไว้ หรือดิ้นรนค้นคว้าอยากให้ได้ความสุขมาอีก แต่เดิมความทุกข์เกิดขึ้นก็ยินร้าย หาทางขจัดหาทางทำลายมัน หรือหาทางป้องกันไม่ให้มันเกิดอีก มันจะเกิดการทำงานอย่างนี้ เพราะว่ายินดียินร้าย แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันนะ จิตกระทบไปรู้ว่าความสุขเกิดขึ้น ความยินดีเกิดขึ้นรู้ทันมัน ความยินดีจะดับไป จิตจะเป็นกลางต่อความสุข มีปัญญาเห็นว่าความสุขก็เป็นของชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมา จิตยินร้าย ไม่ชอบมัน มีสติรู้ทัน จิตใจที่ไม่ชอบความทุกข์ ปฏิเสธความทุกข์นี่ ความไม่ชอบนี่มันจะดับไป เราก็รู้ความทุกข์ตามที่มันเป็น สักพักหนึ่งก็จะเห็นเลย ความทุกข์เกิดขึ้นได้ก็ดับได้

กุศล อกุศลทั้งหลายก็เหมือนกันนะ เกิดขึ้นมาได้ ก็ดับได้ นักปฏิบัตินี่ รักกุศล พอสติระลึกได้ว่ากุศลเกิดขึ้นมาก็ยินดี อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้เกิดนานๆ หาทางรักษาเอาไว้ เกิดการทำงานทางใจ จะรักษาความดีก็ทุกข์นะ ทุกข์แบบคนดี หรืออกุศลเกิดขึ้นมานี่ใจไม่ชอบนี่ นักปฏิบัติไม่ชอบก็หาทางขจัดมัน จิตใจเราก็ต้องทำงานมากขึ้นกว่าเก่าอีก แทนที่เราจะรู้ตามความเป็นจริงแล้วไม่ปรุงแต่งไม่ทำงานนะ กลายเป็นว่าเราทำงานมากกว่าเก่า ความทุกข์ก็มากกว่าเก่า คนชั่วก็ทุกข์อย่างคนชั่ว คนดีก็ทุกข์อย่างคนดี เพราะว่ายึดถือในสภาวธรรมทั้งหลายนั้น แต่ถ้าเรามีสตินะ ความเป็นกลางเกิดขึ้นกับใจเรา จิตใจเป็นกลาง เห็นความสุขก็เป็นกลาง ความทุกข์ก็เป็นกลาง กุศล อกุศลก็เป็นกลาง ในที่สุดมันจะมีปัญญาขึ้นมา เห็นว่าความสุขก็ของชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศล อกุศลก็ชั่วคราว คือพอมีปัญญาเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาในชีวิตของเราล้วนแต่ของชั่วคราวทั้งหมดเลย ต่อไปจิตมันจะไม่มีความยินดียินร้าย พอสภาวธรรมอันนั้นเกิดขึ้นมา จิตจะเป็นกลาง จิตไม่ยินดียินร้ายแล้ว แต่เดิมนี่จิตไม่มีปัญญา พอเห็นสภาวธรรมแล้วจิตจะเกิดความยินดียินร้าย เราต้องมีสติไว้สู้ มีสติไว้รู้ทัน จิตจะเป็นกลาง พอจิตเป็นกลางเราก็รู้สภาวธรรมต่อไปจนเกิดปัญญา เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลายเป็นของชั่วคราว ต่อไปพอสภาวธรรมเกิดขึ้นมานะ จิตเป็นกลางเองเลย ไม่มีความยินดียินร้ายเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเราเข้าใจสภาวธรรมแจ่มแจ้งนะ จิตจะเป็นกลางมากขึ้นๆ นะ จนกระทั่งหมดความปรุงแต่งอย่างแท้จริง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๗

491217

3.20 – 12.19

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติอัตโนมัติจะช่วยเราตอนที่จะตาย

mp 3 (for download) : สติอัตโนมัติจะช่วยเราตอนที่จะตาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าคนไหนไม่สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ยังไกลต่อมรรคผลนิพพาน เพราะว่าเวลาเราทำกรรมฐาน วันหนึ่งๆ มีไม่มากเท่าไหร่หรอกที่ทำในรูปแบบ เวลาส่วนใหญ่อยู่ข้างนอกนี่แหละ ถ้าเราสามารถยืนเดินนั่งนอนอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วก็มีสติตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเองได้เป็นระยะๆ นะ สติเกิดได้ทั้งวันเลย คือปฏิบัติทั้งวัน หลวงพ่อเป็นฆราวาสหลวงพ่อก็ปฏิบัติด้วยวิธีนี้เอง คือดูจิตใจตัวเอง จะมานั่งสมาธิทั้งวันอย่างตอนอยู่ไปบวชแล้วมานั่งอยู่ในวัดนะ นั่งสมาธิได้นานๆ เดินจงกรมนานๆ อยู่แต่ในรูปแบบ เป็นฆราวาสมันทำไม่ได้ ทำไม่ได้ งั้นต้องฝึกให้สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้เฉพาะตอนทำสมาธิ ทำในรูปแบบอะไรอย่างนี้ ชีวิตเราจะแยกเป็นสองส่วน ชีวิตส่วนหนึ่งเป็นเวลาปฏิบัติ ชีวิตส่วนใหญ่เป็นเวลาไม่ได้ปฏิบัติ งั้นเหมือนเราพายเรือนะทวนน้ำไป เราพายไปห้านาทีแล้วก็นอนด้วย ชั่วโมงหนึ่งนะ มันจะไม่อยู่ที่เก่าเอา มันจะไหลลงไปต่ำกว่าเดิม

               พระพุทธเจ้าถึงบอกธรรมชาติของจิตไหลลงต่ำ อย่าประมาทเชียวนะ ไหลลงต่ำเร็วมากเลย เรานึกว่าเราแน่ๆ เราแน่ เผลอแวบเดียวลงต่ำ ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้ มีสติในชีวิตประจำวัน ตามดูกายตามดูใจ ตื่นนอนตอนเช้าหรือว่าก่อนนอนตอนค่ำ มีเวลาเนี่ยต้องทำในรูปแบบอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ต้องทำให้ได้ ชาวพุทธนะไหว้พระสวดมนต์ทำสมาธิเดินจงกรมวันละครั้งนะ ทำไมทำไม่ได้ มุสลิมละหมาดวันละห้าครั้งเขายังทำได้เลย วันละห้าครั้งนะ ของเราหนึ่งครั้ง ไม่ได้ ต้องสู้นะ กิเลสมันจะพาขี้เกียจ ถ้าเราทำในรูปแบบทำความสงบมาดูกายดูใจนะ หัดดูสภาวะไป จิตใจหนีไปก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตสงบจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นสุขเป็นทุกข์ จิตโลภโกรธหลง คอยตามรู้เรื่อยๆ การทำในรูปแบบนี่เราตัดการกระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายไปก่อน มาเหลือแต่การทำงานทางใจอันเดียวนะ เช่นเรามาหายใจเข้าหายใจออกเนี่ย ใจเราหนีไปเรารู้ทัน ใจไปเพ่งรู้ทัน เรารู้ทันการทำงานทางใจอยู่ที่เดียวเลย แต่อย่าไปเพ่งใส่จิตนะ อย่าไปเพ่งใส่จิตใส่ใจ ให้เขาทำงานไป เรามีหน้าที่แค่ตามดูไปเรื่อยๆ ดูท้องพองยุบไปก็ดูจิตใจเขาทำงานไป เดี๋ยวเขาก็ไปคิดนะ คิดกระทั่งคำบริกรรมนะ บริกรรมว่าพองหนอยุบหนอ นี่ก็คือการคิดนั่นเอง ก็ให้รู้ทันว่าจิตหนีไปคิด หนีไปคิดเรื่องอื่นเราก็รู้ทัน แล้วก็ไปเพ่งใส่ท้องเราก็รู้ทัน หัดรู้สภาวะนะ ต่อไปเวลาเราอยู่ในชีวิตธรรมดา จิตจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอะไรเนี่ย เห็นหมดเลย เห็นอัตโนมัตินะ

      พวกเราเมื่อวานไม่ได้มา เมื่อวานหรือ อ้อ… ไม่ใช่ ก่อนที่จะปิด ก่อนวานซืนอีกวันหนึ่ง วันสุดท้ายที่หลวงพ่อเปิดแล้วหยุดมาสองวัน มีผู้หญิงคนหนึ่งมา ชื่อโอ่งนะ ชื่อโอ่ง หุ่นก็เหมือนโอ่งจริงๆ ภาวนาเก่งมากเลย บอกเขาไม่ได้ทำอะไร แต่กระทั่งเขานอนหลับนะ จิตมันฝันเขายังรู้เลย แล้วเขาพบว่าความฝันก็คือความคิดนั่นเอง พอไม่ดีปุ๊บ ขาดสะบั้นเลยนะ เขาจะนอนพลิกซ้ายพลิกขวาเขารู้ทั้งคืนเลย ใจเขาไหลไปคิดในความฝันนะ ไหลแวบรู้สึกเลย มีแต่ขาดปั๊บๆ ปั๊บๆ นี่แค่กลางคืนนะ ไม่ต้องพูดถึงกลางวันเลย ทำได้ทั้งวันทั้งคืนเลย ฝึกหัดมีสติอย่างที่หลวงพ่อบอกนี่แหละ ถึงจุดหนึ่งนะจะมีสติได้ทั้งวันทั้งคืน ตรงที่นอนไปแล้วยังช่วยตัวเองได้ มีสติขึ้นมาช่วยตัวเองได้นี่สำคัญนะ มันเป็นเหตุมันเป็นผลจากการที่เราฝึกเจริญสติตอนกลางวัน เราจะเอาไว้ใช้ตอนจะตายเนี่ย ความรู้อันนี้จะใช้ตอนจะตาย เวลาที่เราจะตาย จิตมันจะตัดความรับรู้กายออกไปก่อนนะ แล้วมันจะไปรู้ที่ใจอันเดียว จะมาทำกรรมฐานที่กายอันเดียว ระวังก็แล้วกันนะ กายหายไปแล้ว นาทีสุดท้ายไม่มีกายนะ จะทำยังไงทำกรรมฐานอะไร ต้องฝึกจนชำนิชำนาญ เข้ามาที่จิตอัตโนมัติให้ได้ เวลาคนเราจะตายมันจะเกิดนิมิต อันหนึ่งเรียกว่ากรรมนิมิต นิมิตถึงสิ่งที่เคยทำนะ อีกอันหนึ่งเรียกว่ากรรมอารมณ์ กรรมนิมิตเนี่ยมันจะไปนิมิตถึงเรื่องราวที่เคยทำ อีกอันหนึ่งเรียกคตินิมิตจะเห็นที่ไปข้างหน้า มีสามอัน มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ มีสามอัน รวมความแล้วก็คือมันฝันนั่นเอง ฝันไปถึงเรื่องราวที่เคยทำมาในอดีต เช่น คนหนึ่งนะหลวงพ่อเคยรู้จัก เป็นพ่อของเพื่อน ใจดีนะ ตอนหนุ่มๆ เพื่อนมาบ้านทุกวันเลยมาสีซอกัน เล่นปี่พาทย์ เล่นสีซอ ทุกวันจะสั่งลูกน้องเชือดไก่วันละตัวเลี้ยงเพื่อน เวลาจะตายเนี่ยเกิดนิมิตเห็นไก่นะ เห็นไก่มารออยู่ข้างหน้าแล้ว บางทีก็เห็นที่ไปข้างหน้าที่จะไปเกิด เกิดเห็นไฟท่วมขึ้นมาเลย จะไปเกิดแล้วในที่ไม่ดี แต่ถ้าหากฝึกสติไว้จนชำนาญนะ พอเห็นไก่ปุ๊บใจมันย้อนดูจิตเลย มันเคยชินที่จะฆ่าไก่ พอเห็นไก่ปุ๊บ แหมมันอยากเชือดคอขึ้นมา สติเกิดวับเลย มันอยากฆ่าไก่แล้ว เห็นปั๊บนิมิตนั้นดับ ไม่ไปเกิดเป็นตรงนั้นแล้ว หรือฝันไปเห็นนรก นิมิตไปเห็นนรกปุ๊บกลัว สติระลึกถึงความกลัวปุ๊บขาดเลย นรกดับไปเลยนะ ทุกคนสร้างนรกของตัวเองนะ ทางใครทางมัน เพราะฉะนั้นนรกไม่เคยเต็ม อย่าเล่นๆ นะไม่ใช่ของหลอกเด็กนะ อย่าเล่นๆ นะ ตอนยังไม่รู้ไม่เห็น ผยอง พอรู้เห็นก็คร่ำครวญ ช่วยอะไรก็ไม่ได้ เป็นภูมิที่ช่วยไม่ได้แล้วนะ เป็นภูมิที่ช่วยไม่ได้ ไม่มีใครเข้าไปช่วยได้เลย ถ้าเป็นเปรตยังช่วยได้ ถ้าเราฝึกสติไว้ดีนะ พอนิมิตไม่ดีเกิดปุ๊บ ขาด เราจะตื่นขึ้นมาจะไปสู่สุคติ งั้นสำคัญนะ ฝึกสติในชีวิตประจำวันนี่จนมันอัตโนมัตินะ กระทั่งหลับมันก็ทำงานได้ สติปัญญาต้องฝึกเอา ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยนะ 

 

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116B.mp3
Time: 8.14 – 15.21

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าประมาทในธรรม

mp 3 (for download) : อย่าประมาทในธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สวนสันติธรรม
CD: 18
File: 500210.mp3
Time: 16.08 – 22.47

เราต้องกล้าหาญนะ ต้องเสียสละ อย่ามัวแต่เพลินๆ เพลินแป๊บเดียวแก่ละ แก่แล้วไม่มีเรี่ยวมีแรงจะปฏิบัติ  มันต้องพากเพียรเอาตั้งแต่ยังมีแรงอยู่ มีหลายคนเลย ตอนแข็งแรงอยู่นะ ชวนให้ปฏิบัติไม่เอา  พอเจ็บหนักมากๆ ร่อแร่ๆมาถามว่าจะภาวนายังไง  โอ จะภาวนายังไง เตรียมตายได้แล้ว  จิตใจมีแต่ทุรนทุราย ทำอะไรไม่ไหวแล้ว เหมือนไม่หัดว่ายน้ำไปก่อน ตกน้ำไปแล้วมาถามหาวิธีว่ายน้ำ ก็ตายเท่านั้นเอง

การภาวนานี้ อย่าประมาทนะ เราไม่รู้เลยว่าชีวิตเรายาวแค่ไหน ตายเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ใช่ว่าต้องแก่แล้วถึงจะตาย ถ้าเผลอๆแว๊บเดียว แก่ไปละ หรือตายไปละ เสียโอกาส  ชาติไหนจะได้เกิดเป็นมนุษย์อีกยังไม่แน่เลย เกิดเป็นคนยากนะ สัตว์เต็มโลกเต็มจักรวาล มีคนอยู่ไม่กี่พันล้านคน มีอนิดเดียวเอง  สัตว์เยอะแยะไปหมดเลย ในวัดหลวงพ่อนี้ สัตว์คงเยอะกว่ามนุษย์ทั้งโลกรวมกัน เยอะแยะเลย ตัวเล็กตัวน้อย

โอกาสที่จะได้เป็นคน ยากที่สุดเลย  เป็นคนแล้วสติปัญญาสมประกอบอย่างพวกเรา ยิ่งยากหนักเข้าไปอีก  จะมีสติปัญญาสมประกอบ มีกายมีใจสมประกอบแล้ว สนใจศึกษาปฏิับัติธรรม หายากนะ  ศึกษาแล้วไม่หลงไปทำอะไรผิดๆ ถูกๆ ศึกษาแล้วมาได้ศึกษาเรื่องการเจริญสติ รู้กายรู้ใจ ก็ยาก   ลงมือทำก็ยากอีก  มีคนน้อยคนที่จะทำจริงๆ  ฉนั้นจากคนหลายพันล้าน จากสัตว์จำนวนนับไ่ม่ถ้วน บีบมาเป็นคนหลายพันล้าน จนมาถึงคนที่ปฏิบัติเข้าถึงธรรม มีในหลักสิบหลักร้อยเท่านั้นเองนะ มีไม่มากหรอก น้อยเต็มที

พวกเราเป็นกลุ่มที่มีโอกาสแล้ว ให้มันบีบเข้ามาจนเป็นครีม เป็นจุดที่มีคนไม่มากแล้วที่เข้ามาได้อย่างพวกเรา  หลวงพ่อไม่แน่ใจว่าคนทั้งประเทศไทย ที่ตื่นแล้ว ถึงหมื่นคนหรือเปล่า ไม่แน่ใจตรงนี้ด้วยซ้ำไป เดินไปสำนักต่างๆ เที่ยวไปดูเรื่อยๆ นะ ไม่ค่อยมีคนที่ตื่นขึ้นมา  ที่จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน สามารถรู้กายรู้ใจตรงความเป็นจริงได้ แทบไม่มี  พวกเราจำนวนมากตื่นขึ้นมา คือคนกลุ่มน้อยเต็มทีนะ

พวกเราพอมีสติขึ้นมา สิ่งสำคัญคือความต่อเนื่องต่อไปนี้ ทำเนืองๆ ทำบ่อยๆ รู้บ่อยๆ อย่าเลิก รู้เข้าไป ในกลุ่มเล็กนิดเดียวซึ่งมีจำนวนหลักพัน พวกเรามาเรียนที่หลวงพ่อที่ตื่นขึ้นมา ถ้าทำไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้งนะ โอกาสที่จะเข้าถึงธรรมะในชีวิตนี้ก็มี แต่ถ้าจิตไม่ตื่น ไม่มีโอกาสหรอก

เมื่ออาทิตย์ก่อนไปสอน มีเด็กมาเรียนเจ็ดสิบกว่าคน เมื่อวานเขาบอกยอด ลืมไปละ  มีเยอะเหมือนกัน มีคนที่ยังไม่ตื่นห้าหกคนเอง  นอกนั้นตื่นโพลงไปหมดเลยนะ สว่างโพลงไปทั้งห้องเลย  คือสติมันเกิดอัตโนมัติแล้ว  อะไรเกิดขึ้นในกายรู้ อะไรเกิดขึ้นในจิตรู้  ถ้ามีกายเคลื่อนไหวระลึกรู้ มีจิตเคลื่อนไหว สติระลึกรู้เองอัตโนมัติ  ระลึกรู้โดยไม่ได้จงใจจะรู้เนี่ยจิตมันจะตื่น เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นขึ้นมา

พอจิตใจตั้งมั่น อยู่กับเนื้อกับตัว  จิตอ่อน จิตเบา จิตคล่องแคล่วว่องไว จิตควรแก่การงาน จิตไม่ถูกกิเลสครอบงำ จิตซื่อๆ จิตตรงๆ จิตใจเป็นอย่างนี้แล้วเนีี่ย มีสติรู้กาย ก็เห็นกายตรงตามความเป็นจริง มีสติรู้จิต ก็เห็นจิตตรงตามความเป็นจริง พอเห็นตรงตามความจริง มันค่อยๆ ถอดถอนความเห็นผิดไป  เบื้องต้นเห็นเลยว่าไม่ใช่เรา กายกับจิตไ่ม่ใช่เรา ได้โสดาบัน  มีสติรู้เข้าไปอีก รู้เข้าไปอีกนะ สติมันไวอัตโนมัติเลย กิเลสไหวตัววั๊บ สติเห็นทันที ขาดสะบั้นตรงนั้นเลยนะ   ฝึกไปเรื่อยๆ  ต่อไปเห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย จิตวางกายลงไป  เห็นจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตวางจิตลงไป

งานนี้ฟังแล้วยากนะ ไม่ยากหรอก อดทนตั้งใจทำ สามปีเจ็ดปี ทำไป ไม่ได้นานอะไร ไม่ได้นาน  เราเรียนหนังสือตั้งสิบปียี่ิสิบปี เราก็เรียนได้ใช่ไหม  ทำไมเราจะเรียนรู้ตัวเอง ขนานไปกับการดำรงชีวิตปกติ ไม่ได้กินเวลาเรา ทำไมเราทำไม่ได้ เพราะเราไม่อยากทำเองน่ะ  เราหาข้ออ้างไม่ปฏิบัติเท่านั้นเอง   ถ้าไม่หาข้ออ้างนะ รู้ลงไป รู้กายรู้ใจ ถึงเวลาทำงานก็ทำไป ถึงเวลาต้องติดต่อกับคนอื่น ก็ติดต่อไป หมดเวลาไม่ต้องติดต่อกับใครก็มาเรียนรู้ตัวเอง ไม่เอาเวลาไปเสียเปล่าๆ

หลวงพ่อเป็นคนที่หวงเวลาที่สุดเลย ภาวนาจะใช้เวลาส่วนใหญ่เรียนรู้ตัวเอง ไม่ยุ่ง กระทั่งไปหาครูบาอาจารย์ ไปประเดี๋ยวประด๋าวหรอก ไปแป๊บๆ พอรู้หลักแล้วก็กลับมาดูของเราเอง ไม่เสียเวลา

วลาของแต่ละคน เป็นทรัพยากรที่หายากนะ  หายาก  แต่ถ้าพูดอย่างหลวงปู่เทกส์นะ ท่านบอกว่าหาง่าย ตราบใดที่มีกิเลส มันก็มีอีก  อันนั้นหมายถึงหาแบบไร้ทิศทางนะ แต่จะมีเวลาที่ได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เนี่ย อยู่ในวัยที่เหมาะสม มีสติ มีปัญญา มีศรัทธา มีความเพียร มีโอกาสได้ฟังธรรม ตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติ  องค์ประกอบเหล่านี้หายากมาก  หลวงพ่อคิดว่าคนที่ตื่นขึ้นมาเนี่ยนะ มีไม่ถึงหมื่นคนหรอก จริงๆมีน้อยเต็มที ฉนั้นเราฟังธรรมจนกระทั่งจิตเราตื่นขึ้นมาได้นี่ ยากมาก นี่เป็นจุดแรกเลยที่ยากมาก  เราต้องเห็นสภาวะตรงตามความเป็นจริงได้โดยไม่เจตนา  จิตจึงจะตื่น  ถัดจากนั้นก็ต้องตามรู้ตามดู จนเ้ข้าไปแจ่มแจ้ง  ปล่อยวางได้นี่ยากขึ้นไปอีกนะ เหลือน้อยลงน้อยลง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีทำให้ใจของเราตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ

mp3 (for download) : วิธีทำอย่างไรใจของเราจะตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีวิธีทำอย่างไรใจเราจะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ทำได้หลายอย่าง

อันแรกเลย ทำสมถะ เราจะหัดพุทโธก็ได้ หัดหายใจก็ได้ หัดไป หัดอะไรก็ได้ซักอย่างนึง แต่ว่าไม่ใช่ไปหายใจเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ เคลิ้มๆ อย่างที่เคยทำกัน เราหัดหายใจไป แล้วเราก็ค่อยๆ ทำความรู้สึกขึ้นมา ให้เห็นเลย ร่างกายนี้กำลังหายใจอยู่ ใจเป็นคนดู ต้องอย่างนี้นะ  หรือเห็นท้องพองยุบไป ค่อยๆ รู้สึกขึ้นมา ท้องมันพอง ท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดู ค่อยๆ รู้สึกอย่างนี้ ค่อยๆ แยกออกมา แยกตัวผู้รู้ออกมา แต่ถ้าใครทำแบบนี้เป็นวิธีขี้โกงนะ  ถ้าใครเก่งๆ ก็ทำตามสูตรเลย หายใจเข้า หายใจออก ไม่ต้องสนใจตัวผู้รู้ก่อนนะ แต่อย่าให้ขาดสติ  มีสติรู้ลมหายใจไป มีใจเป็นคนดูไปอย่างสบายๆ ดูอย่างสบาย อย่าไปเพ่งใส่มัน ฉนั้นต้องเรียนก่อนว่าเพ่งเป็นอย่างไร  ถ้าใจเราถลำลงไปเพ่งอย่างนี้ ตัวผู้รู้ไม่มีหรอก มีแต่ผู้เพ่ง ไม่ใช่ผู้รู้

ผู้รู้มันเหมือนเรายืนอยู่บนตึกสูงๆ เรามองลงมา ที่ถนนเห็นรถยนต์วิ่งเยอะแยะเลย เราไม่ได้ไปยืนกลางถนน  หรือ เหมือนอย่างเราดูฟุตบอล เราดูอยู่ข้างสนาม ดูอยู่บนอัฒจันทร์ ไม่ได้โดดลงไปอยู่ในกลางสนาม เนี่ยส่วนใหญ่จะโดดลงไปอยู่กลางสนาม เวลาไปรู้อะไร  ฉนั้นเราจะมาพุทโธ เราก็พุทโธไปสบายๆ พุทโธไป  หรือหายใจไปก็ได้นะ  ถ้าหายใจก็จะเข้าถึงสมาิธิที่ปราณีต  พุทโธก็ได้แต่สมถะ แค่อุปจาระ(สมาธิ) ได้แค่สงบนิดหน่อย

ถ้าเราหายใจเข้าหายใจออก หายใจสบายๆ หายใจออกก่อน อย่าหายใจเข้าก่อนนะ  ฝึกอานาปาณสติ ให้หายใจออกก่อน ในพระสูตรก็สอนไว้อย่างนั้น บอกภิกษุทั้งหลาย ให้คู้บัลลังก์ คู้บัลลังก์คือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกยาว รู้ว่าหายใจออกยาว  หายใจเข้ายาว รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกก่อนเนี่ย ใจมันจะเบา ใจมันจะอ่อนโยน ใจมันจะุนุ่มนวล  ถ้าหายใจเข้าก่อนเี่นี่ย ใจมันจะแข็งๆ แข็งกระด้าง แข็งแล้วภาวนาต่อยากละ  ฉนั้นหายใจออกให้สบายนะ ให้ผ่อนคลาย พอใจผ่อนคลาย  ใจมันจะสงบ ใจมันสบาย  พอจิตใจสบาย เรารู้ลมหายใจ ตัวลมหายใจเรียกว่า ‘บริกรรมนิมิต’

รู้ลมหายใจไปนานไปนะ ใจจ่ออยู่ที่ลมอย่างสบายๆ เคล็ดลับอยู่ที่สบายนะ  พอรู้อย่างสบายๆ บริกรรมนิมิตคือลมหายใจ มันจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นแสงสว่าง จะรู้สึกเหมือนเป็นแสงสว่างเป็นเส้นเป็นเกลียว  แสงสว่างของลมเรียกว่า ‘อุคคหนิมิต’

เรารู้อุคคหนิมิต รู้แสงสว่างนี้ไป รู้ไปเรื่อยๆ มันจะรวมขึ้นมาเป็นดวง เป็นดวงแก้ว ดวงกลมๆ ดวงสว่าง แบบนี้่เรียกว่า ‘ปฏิภาคนิมิต’ ถึงจุดนี้ เราก็ทิ้งลมหายใจนะ มาูรู้ปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ หายใจไปน่ะ ไม่ได้หยุดหายใจหรอก แต่ว่ามารู้ปฏิภาคนิมิต รู้ดวงนี้ ดวงนี้ย่อได้ ขยายได้ เล่นไปเล่นมา จิตใจมันสนุก มันมีปิติขึ้นมา มีปิติมีความสุขขึ้นมา จิตจะเข้าฌาณ อันนี้สำหรับคนที่ทำได้เต็มภูมิ

พอเข้าณาณที่หนึ่งก็มีปิติ มีความสุข ใจเป็นหนึ่ง ต่อมาสติปัญญามันแก่กล้าขึ้นไปอีก มันเห็นว่า ปิติก็ของหวือหวานะ มันดับปิติลงไป

จิตที่จะเกิดตัวผู้รู้เนี่ย เป็นจิตในฌาณที่สอง จิตในฌานที่สองนี่ดับวิตกวิจารณ์ ดับการตรึกถึงตัวนิมิตนั่นแล้ว จิตมันทรงตัวอยู่โดยที่ไม่ได้จงใจไปรู้นิมิตอีกต่อไปแล้ว ไม่ไปต้องรู้ดวงสว่างหรือลมหายใจอีกแล้ว แต่มันสงบอยู่ในตัวของมันเองนะ  เนี่ย จิตตรงนี้มันจะเกิดสภาวะธรรมอันนึง เรียกว่า ‘เอโกธิภาวะ’ ภาวะแห่งความเป็นหนึ่งขึ้นมา จะเกิดตัวผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา

ถ้าได้ตรงนี้แล้ว ก็ดูปิติไป ก็เห็นปิติเกิดแล้วก็ดับไปนะ เห็นความสุขขึ้นมาของจิต อยู่ในฌานที่สาม

ดูในความสุขเ้ข้าไปอีก ก็เห็นความสุขเกิดแล้วก็ดับไป จิตเข้าอุเบกขา ได้ฌานที่สี่ ถึงตรงนี้มันจะเหมือนไม่หายใจ เหมือนเราหายใจด้วยผิวหนังแล้ว

ทีนี้พอจิตถอยออกจากตรงนี้นะ กลับมาสู่โลกภายนอก อำนาจของสมาธิมันยังจะหล่อเลี้ยงตัวผู้รู้ไว้อีกพักนึง ใจมันจะเด่นดวงขึ้นมาเป็นตัวผู้รู้ผู้ดู ให้เอาใจที่เด่นดวงเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้มารู้กาย เห็นร่างกายยืนเดินนั่งนอนไป ใจจะเป็นคนดูอยู่ ดูอยู่ได้เป็นวันๆ เลยเพราะกำลังของสมาธิเยอะ

ถ้าคนไหนทำตามรูปแบบเต็มขั้นเต็มภูมิของสมาธิอย่างนี้ไม่ไหว ก็ใช้วิธีขี้โกงเอาอย่างที่หลวงพ่อว่า หัดดูเอา หายใจเข้า หายใจออกเนี่ย ยังไม่ต้องมีนิมิตอะไรหรอก หายใจไปเรื่อยๆ แล้วคอยสังเกตใจของเรา สังเกตดูร่างกายมันหายใจ ใจของเราอยู่ต่างหากนะ ใจของเราเป็นแค่คนดู หรือใจมันคิด เราก็เห็นอีก ความคิดอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นคนดู เห็นความคิดเกิดขึ้นดับไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์เกิดขึ้น หรือความปวดความเื่มื่อยเกิดขึ้น ดูลงไป ความปวดความเมื่อยก็เป็นของถูกรู้ถูกดู  ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้มันก็ได้ตัวผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาเหมือนกัน แต่กำลังมันจะไม่ต่อเนื่องยาวนานเหมือนคนที่เขาเล่นฌาน  แต่พวกเราส่วนมากทำไม่ได้นะ ทำได้แค่นี้ก็บุญถมไปแล้ว

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ 9

500218

8.40 – 14.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เข้าถึงธรรมเพราะใจเลิกดิ้นรน

mp3 (for download) : รู้จนหมดแรงดิ้นรนก็จะเข้าถึงธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้น รู้ไปนะ รู้ไป รู้จนกระทั่งหมดแรงดิ้น คนไหนจิตมีกำลังมาก ดิ้นมาก ก็ทุกข์มากหน่อย ต้องทรมาน ทุกข์จนกระทั่งจิตมันเข็ดขยาด มันก็จะหาทางหนีตลอดเวลานะ หนีอย่างไรก็หนีไม่รอดนะ ถึงวันหนึ่งมันจะยอม เออ ช่างมันเถอะ เป็นอะไรก็เป็นไป ตรงที่มันยอมนะมันจะเข้าถึงธรรมเพราะใจมันเลิกดิ้น เพราะฉะนั้น ตอนนี้ทุกข์ต่อไป ดิ้นไปเถอะ อย่างไรก็ช่วยไม่ได้ บางคนโดนอะไรนิดหน่อย ทุกข์นิดหน่อยก็เข็ดขยาดแล้วยอม บางคนมันดื้อต้องทรมาน

พระพุทธเจ้าเคยสอน การฝึกคนท่านบอกเหมือนกับฝึกม้า ม้าบางตัวเชื่อง คือจิตบางคนนี่อ่อนโยน เชื่อง ม้าอย่างนี้ท่านก็ให้กินหญ้า ให้น้ำ ให้อะไรนะ ให้พักผ่อน ถึงเวลาพาไปวิ่งก็ฝึกได้ดี ม้าบางตัวพยศมากให้อดน้ำอดหญ้าพาไปตรากตรำจนมันเข็ดขยาด เราเลือกไม่ได้นะ จิตของเราน่ะ มันจะเป็นม้าดื้อหรือมันจะเป็นม้าเชื่องเลือกไม่ได้หรอก ไม่ยอม มันไม่ยอม เพราะฉะนั้นมันต้องสู้กันเลยจนสุดฤทธิ์สุดเดช ถ้าใจถึงก็สู้ไปวันหนึ่งก็พ้น

CD สวนสันติธรรม 10

481002A

15.25 – 16.55



เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 9 of 12« First...7891011...Last »