Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การปฎิบัติธรรมมี 2 ส่วน มีอะไรบ้าง?

MP3 (for download) : การปฎิบัติธรรมมี 2 ส่วน มีอะไรบ้าง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ในความเป็นจริงการปฏิบัติธรรมมี ๒ ส่วนนะ ส่วนของ สมถะกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน ส่วนของสมถะ ทำให้จิตใจสงบ ทำจิตให้ดี ทำจิตให้มีความสุขนะ ส่วนของวิปัสสนากรรมฐานนี้ ทำไปเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ  สมถะกรรมฐานมีมาก่อนพระพุทธเจ้า ทำอย่างไรก็ไม่หลุดพ้นหรอก เพราะไม่สามารถทำให้เห็นกายเห็นใจตามความเป็นจริงได้ แต่เราก็ทำสมถะกรรมฐานเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรง พอจิตใจได้สงบ ได้พักผ่อน มีเรี่ยงมีแรงแล้ว มันพร้อมที่จะเจริญวิปัสสนาได้ดีนะ บางคนไม่สามารถทำสมถะได้ก็เริ่มที่วิปัสสนาไปก่อน แล้วสมถะเกิดทีหลัง เป็นไปได้ ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้

ครั้งหนึ่งพระอานนท์ท่านเคยสอนนะ สอนคนใครก็ไม่รู้จำไม่ได้แล้ว ท่านบอก “การปฏิบัติมีหลายแบบ แบบหนึ่งใช้สมถะนำ วิปัสสนาตามหลัง คือ ใช้สมาธินำปัญญา อีกแบบหนึ่ง ใช้ปัญญานำสมาธิ ทำวิปัสสนาไปเลยเดี๋ยวสมถะเกิดเอง อีกอย่างหนึ่ง ใช้สมถะแล้วก็วิปัสสนาควบคู่กันนะ ใช้สมาธิกับปัญญาควบคู่กัน เดินได้หลายแบบ” ยังมีแบบที่ ๔ นะ ไม่มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา พวกอนาถาทั้งหลาย พวกที่ไม่ได้ภาวนา ส่วนแบบที่ไม่ได้เรื่องนี้นะ มีพวกที่ ๑ นี้ ไม่มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา พวกที่ ๒ ทำแต่สมถะไม่ยอมทำวิปัสสนา พวกที่น่าสังเวชใจอีกพวกหนึ่ง ก็คือ พวกจะเอาแต่วิปัสสนาไม่เอาสมถะ

พระพุทธเจ้าสอนทั้ง ๒ อย่างนะ แต่ว่าเรารู้ว่าอะไรเป็นงานหลัก อะไรเป็นงานรอง อะไรเป็นงานตัวจริง อะไรเป็นงานสนับสนุน งานจริงๆของเรา ก็คือ งานวิปัสสนา รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง สมถะเป็นงานสนับสนุน ทำให้จิตใจเราได้พักผ่อน มีเรี่ยวมีแรง เหมือนคนได้นอนพักมาเพียงพอ ไปทำมาหากิน สุขภาพแข็งแรง ทำมาหากินได้ดี สมถะก็ได้พักผ่อน พอพักผ่อนแล้วจิตใจมีเรี่ยวมีแรง แล้วก็มาเจริญปัญญา นี้บางคนทำสมถะไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวลนะ เจริญปัญญาไปก่อน เดี๋ยวสมถะเกิดทีหลัง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ

MP3 (for download):  ๖ ครูบาอาจารย์กับการแก้กรรมฐาน ๗ ครั้งของหลวงพ่อ (33.14 น.)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวพิเศษ จากการแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ 30 (21/06/52)

1) หลวงปู่ดูลย์: ให้ดูจิตตัวเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ เพ่ง -> แล้วไปหาทางทำลายมัน คอยระวังให้อกุศลไม่เกิด หวงแหนจิตมากเลย

[ผิด] เพราะไป*แทรกแซงจิต* เราไม่ได้ดูจิตหรอก แต่ไปวุ่นวายอยู่กับอาการของจิต

จงใจปฎิบัติก็ผิดนะ ไปแทรกแซงอาการของจิต ..ให้รู้ตามความเป็นจริงต่างหาก ถึงจะถูก

—–#

ค่อยๆสังเกตนะ กิเลสหยาบๆเกิดมาจากกิเลศละเอียด ก่อนที่กิเลสจะตัวใหญ่เนี่ย กิเสสตัวเล็กมาก่อน

ก่อนจะโมโหแรงๆ ต้องขัดใจเล็กๆก่อน ทีนี้เราคอยดูเลย กิเลสมันมาจากไหน มันผุดขึ้นจากกลางหน้าอก

2) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่

[ผิด] ตรงเรา*ส่งใจเข้าไปดู* แทนที่จะดูด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง เราถลำลงไปดู ถลำไปดูนี่จิตไม่ตั้งมั่นในการรู้ในการดู

สำนวนครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า “ไม่มีจิตผู้รู้” มีแต่จิตผู้หลง ผู้เพ่ง

—–#

ราวปี 2526 ภาวนาแล้วมีอาการแปลกๆ ภาวนาแล้วหลับตลอดเลย จากที่ภาวนามาตั้งแต่ 7 ขวบไม่มีนั่งหลับหรอก ตอนนั้นไม่รู้เป็นอะไรมันหลับเอาหลับเอา

นั่งสมาธิก็หลับ ขัดสมาสเพชรก็หลับ เดินจงกลมก็เดินหลับนะ ทำไงก็หลับ แล้วหลับแบบไม่มีศิลปะเลย ..โอ้ย ไม่มีสภาพของนักปฎิบัติเหลือเลย ขาดสติอย่างร้ายแรง เกิดจากอะไร?

3) หลวงปู่สิม: ผู้รู้ๆ อย่างสงสัยเลย

ที่จริงไม่มีอะไร พอเราเจริญสติเจริญปัญญาไปมากนะ จิตมันเบื่อหน่าย มันเบื่อโลก เบื่อขันธ์ เบื่อธาตุอย่างร้ายแรงเลย เบื่ออายตนะ

พอมันเบื่อมันตัดการรับรู้ภายนอกออกไป หมดความรู้สึกไปเลยตัดออกไป ตัดลงไปรวมลงไป มันไปพัก

.. เพราะว่าแต่เด็กมาหัดสมาธิ พอเจอหลวงปู่ดูลย์มาหัดวิปัสสนาแล้วเบื่อสมาธิ *ทิ้งสมาถะไป*

[ไม่ถูกนะ] การทิ้งสมาถะไปไม่ถูกต้องเลย พอจิตมันไม่ได้เข้าไปพักในสมาธิ จิตมันก็หลบไปเลยดับไปเฉยๆ เข้าไปพักผ่อน พอมันมีแรงมันก็ถอนออกมา

5 สิงหา 2526 ไปกราบหลวงปู่สิมนะ ท่านบอกจะได้ของดีพรรษานี้แหละ

พอวันที่ 7 มาถึงกรุงเทพ จิตมันก็ถอนออกมาหมดแล้ว จิตใจเราก็เปลี่ยนไปหมดเลย ภาวนาสบาย ต่อไปนี้สบายละ สติมันทันกิเลสไปเรื่อย การภาวนาง๊ายง่ายตอนนี้

—–#

พอภาวนามาถึงจุดนี้จะดูตรงไหนมันชำนาญไปหมด ตัวจิตผู้รู้-สภาวะที่เกิดดับอยู่ในหน้าอกก็ได้ ..เอ๊ จะดูตัวไหนดี ชักสงสัยแล้วจะดูตัวไหนดี

เลยดูทั้งสองตัวกลับไปกลับมา ตัวไหนแน่ แล้วเอาใหม่ ไม่เอาทั้งสองตัว ดูซิจะเกิดอะไรขึ้น

พอเคลื่อนจะแตะ เราไม่เอา ไล่เข้าไล่ออกแล้วมันรวมลงตรงกลาง

หลวงปู่เทสก์: มันเป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ไม่เพ่งรูป ไม่เพ่งอรูป

หลวงปู่ให้ไปซ้อมให้ชำนาญ หลวงพ่อบอกถ้าท่านติดเราจะแก้ให้

มีวันนึงไปเชียงใหม่จะไปเยี่ยมอาจารย์ทองอิ่ม แล้วมีพระท่านมาดักอยู่หน้าวัด แล้วบอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร ถ้ำผาผึ้งมาพักอยู่ที่วัดสันติธรรมนี้ ให้ไปหาท่านหน่อยสิ

4) ท่านอาจารย์บุญจันทร์: เฮ้ย ภาวนายังไง! เฮ่ย นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

เราเล่าให้ท่านฟังซ้ำ ท่านก็ตวาดซ้ำ นิพพานอะไรมีเข้ามีออก

ทีนี้ ใจเราโล่งเลย .. ตรงนี้ไม่ใช่ทาง

เห็นไหมเราไปทำอะไรที่ [ผิด]? เราไป*ปรุงแต่งการปฎิบัติขึ้น* เราคิดว่าทำยังไงแล้วจะดี

เราไม่ได้รู้กายรู้ใจซื่อๆไง เราคิดว่าทำยังไงจะดี เอาตรงนี้ล่ะวะ อยู่ตรงโน้นดี ตรงนี้ดี หรืออยู่กลางๆดี หาไอ้ตรงที่ดี

ไม่ต้องหานะว่าตรงไหนถูก ไม่ต้องหาว่าตรงไหนดี สภาวะใดเกิดขึ้นตรงปัจจุบัน รู้อันนั้นแหละ แล้วไม่ผิด

เรามาอัศจรรย์ใจกับท่านอีกที ปี 46 ตอนนั้นบวชละ ลูกศิษย์ท่านมาหาเยอะเลยตอนนั้น บอกว่าท่านอาจารย์บุญจันทร์สั่งให้มาหา

ให้วันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ให้มาหาพระชื่อนี้ๆ อยู่ตรงนี้ๆ ท่านสั่งละเอียดเลยนะ เราไม่เคยบอกท่านเลยนะ ตอนนั้นที่ท่านมรณะภาพเรายังไม่ได้บวชเลย

ดูท่านอุตส่าห์แก้ให้เรา ท่านกลัวเราจะไปติด สร้างสภาวะโล่งๆ ว่างๆ..แล้วเราก็จับเอาไว้

แต่นี่โล่งว่างคนละอย่างกับพวกเราที่หลังๆมาติดนะ อันนั้นไหนออกไปข้างนอก อันนี้ไม่มีข้างนอกข้างใน หูววดูปราณีต ดูลึกซึ้งกว่ากันเยอะเลย

—–#

ทีนี้ก็ภาวนาต่อไปนะ เห็นสภาวะทั้งหลายมัน ละเอียดเข้าๆ สบาย ใจมันโล่งมันว่าง เราก็ดูจิตอยู่ทุกวี่ทุกวันนะ แต่ดูมาตั้งหลายปีไม่ผ่านสักที

26533_397695631336_717481336_4768908_1463878_n.jpg

5) หลวงตามหาบัว: ที่ว่าดูจิตนั่นดูไม่ถึงจิตแล้ว

ต้องเชื่อเรานะตรงนี้สำคัญ เราผ่านมาด้วยตัวเราเอง อะไรๆก็สู้บริกรรมไม่ได้

[ผิด] มีกิเลสกุกกุจจะเกิดขึ้น ร้อนใจเมื่อไหร่จะได้สักทีวะ กิเลสเกิดแล้วเราไม่เห็น

..พอเราได้ไอเดีย เรามาพิจารณาดูว่าทำไมท่านให้บริกรรม ทำไมท่านว่าเราดูจิตแล้วไม่ถึงจิต

มาดูไปดูมา อ๋อ.. ใจเราไม่ตั้งมั่น ใจมันเคลื่อนออกไปข้างนอกนะ มันไปอยู่ในความโล่งความว่าง

พวกเรารุ่นหลังๆที่ไปดูจิต ไปติดอยู่ที่ตัวนี้เยอะแยะเลย เพราะว่าเวลาดูไปๆ แล้วไปเห็นสภาวะเกิดดับๆนะ

เช่น เห็นกิเลส เกิด-ดับ ๆ กิเลสมันหนีออกไปๆ ไม่เหมือนกับตอนที่ไปถามหลวงปู่สิม อันนั้นกิเลสหนีเข้าข้างใน อันนี้กิเลสหนีออกข้างนอก

เราฟุ้งก็คือ.. จิตไม่ตั้งมั่นเหมือนกัน จิตฟุ้งเข้าไปข้างใน จิตฟุ้งออกไปข้างนอก จิตไม่ตั้งมั่น

จิตไม่ตั้งมั่นแล้วจิตไปหลงในความโล่ง ความว่าง ความสุขความสบาย ..ตรงนี้แหละคือ วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โอภาส

” วิปัสสนู ” นี่เกิดในทุกขั้นตอนของการปฎิบัติ ขั้นพระโสดา สกทาคา อนาคา พระอรหันต์ เพียงแต่ขั้นที่เลยพระโสดา ไม่เรียกวิปัสสนู เค้าเรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

ขั้นต้น ปุถุชน จะมีวิปัสสนู

(http://th.wikipedia.org/wiki/วิปัสสนูปกิเลส)

—–

- วิปัสสนูปกิเลส -

โอภาส หมายถึง แสงสว่าง(ที่ปรากฏเป็นธรรมารมณ์ในใจ)

ญาณ หมายถึง ความหยั่งรู้

ปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ

ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบเย็น

สุข หมายถึง ความสุขสบายใจ

อธิโมกข์ หมายถึง ความน้อมใจเชื่อ ศรัทธาแก่กล้า ความปลงใจ

ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่พอดี

อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า สติชัด

อุเบกขา หมายถึง ความมีจิตเป็นกลาง

นิกันติ หมายถึง ความพอใจ ติดใจ

—–

ที่หลวงพ่อบอกพวกเรา จิตไม่ถึงฐาน พระอานนท์ สอนตรงนี้ไว้ว่า

สานุศิษย์ท่านที่พยากรณ์มรรคผลมี 4 จำพวก

พวกที่ 1 ใช้ สมาธินำปัญญา : คือทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน

พวกที่ 2 ใช้ ปัญญานำสมาธิ : คือเจริญสติในชีวิตประจำวันนี่แหละ แล้วจิตรวมเข้าสมาธิ

พวกที่ 3 ใช้ สมาธิและปัญญาควบกัน : พวกนี้ทำสมาธิอยู่ในชาญ (ไม่ใช่อย่างที่ครูบาอาจจารย์วัดป่าทำนะ ส่วนมากท่านทำความสงบก่อนแล้วถอนออกมาเจริญสติในชีวิตประจำวัน อันนี้คือแบบที่ 1)

แบบที่ 3 มีเหมือนกันแต่มีน้อย ต้องชำนาญในชาญจริงๆ จะเห็นองค์ชาญเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ แต่ดูยาก ต้องชำนาญทั้งชาญ ต้องชำนาญทั้งการดูจิต จึงจะดูได้

พวกที่ 4 พระอานนท์บอกว่า : จิตมีความฟุ้งซ่านในธรรมะ ไปอยู่ในธรรมะ 10 ประการ (หลวงพ่อกล่าวถึงวิปัสสนูปกิเลส) มีโอภาสเป็นหมายเลข 1 ถ้าเมื่อไหร่รู้ทัน อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่านของจิตที่ไหลออกไป อุทธัจจะดับนะ ก็จะหลุดจากโอภาส

หลวงปูเทสก์เคยบอกว่า เวลาเกิดวิปัสสนูเกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้ยังไม่เก็ตนะ เวลามันเกิดจริงๆ ค่อยมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ความสบาย ความเย็น ..หลงไปสารพัดรูปแบบเลย

จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไหร่จิตมัน มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห้นมาด้วยการปฎิบัติอย่างนี้ เสร็จแล้วเพิ่งมาเจอพระสูตร เนี่ยที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย

วิปัสสนูมันเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไม่ถึงฐานนั่นแหละ หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน

เพราะงั้นพวกเราเวลาภาวนา ค่อยๆ สังเกต เวลาดูจิตดูใจ รึว่าดูกายก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไร เกิดวิปัสสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสสนู-ดูกายไม่มีวิปัสสนู เข้าใจผิด

หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ หรือเพิ่งเริ่มวิปัสสนา ยังไม่ชำนิชำนาญพอ สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับ แล้วก้ถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไปว๊าบ มันโล่งมันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็ไปค้างอยู่ตรงนี้ แล้วคิดว่านิพพาน คราวนี้คิดว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้วตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนาตรงนี้คิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์มีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้วบางคนก็แก้ไม่ได้ บางคนไม่ยอมมาเจอเราเลย

..

ทีนี้ มันเดินปัญญาต่อไปไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้น

แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานจะหลุดออกมาเลย

พวกนี้จะน่าสงสารแล้วน่ากลัว น่ากลัวตรงที่จะเที่ยวเผยแพร่คำสอนออกไปอีก ..จะไปบอกว่าไม่ต้องดูกายไม่ต้องดูใจ ไปดูความว่าง พวกนี้ผิดนะ! ต้องดูกายต้องดูใจ

—–#

เสร็จแล้วภาวนามาอีกหลายปีเลย ตอนนั้นใกล้จะบวชแล้ว ไปเจอหลวงพ่อพุธเข้า หลวงพ่อพุธกับหลวงพ่อนี่นะเคยมีข้อตกลงกันเมื่อปี 2526

หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์แล้วกลับมากราบหลวงพ่อพุธที่โคราช ท่านถามว่าหลวงปู่สอนอะไร กราบเรียนท่านว่าหลวงปู่สอนว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธ์อย่างแท้จริง

..บางคนภาวนาไม่มีผู้รู้นะ ถ้าคนไหนเดินมาทางสมถมันจะมีผู้รู้ ถ้าเดินมาทางวิปัสสนามันจะไม่ตั้งตัวผู้รู้..แค่รู้สึกแล้วก็ดับ รู้สึกแล้วก็ดับ เป็นขณะๆ คนละแบบกัน

คนไหนที่มีผู้รู้อยู่แล้วไปประคองรักษาตัวผู้รู้ตรงนี้ใช้ไม่ได้แล้ว พ้นทุกข์ไม่ได้จริงหรอก ไปเห็นว่าตัวผู้รู้เที่ยงผู้รู้เป็นสุข ตัวผู้รู้บังคับได้

หลวงพ่อพุธท่านก็บอกว่า ท่านไปหาหลวงปู่ดูลย์มาเหมือนกันก่อนหน้าหลวงพ่อ 7 วัน หลวงปู่สอนอย่างเดียวกัน

..บอกเจ้าคุณ การปฎิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จจริง เนี่ย เราจะต้องทำลายผู้รู้ ท่านบอกอย่างนี้นะ

ทำลายผู้รู้คือไม่ยึดผู้รู้นั่นแหละ ท่านเฉลยมานิดนึง ..คุณกับอาตนามาตกลงกัน ใครทำลายได้ก่อนให้มาบอกกัน ท่านสั่งอย่างนี้ แล้วเราก็ไม่เจอท่านอีกเลยตั้งแต่นั้น

จนกระทั่งก่อนท่านมรณภาพไม่นานได้กราบท่าน บอกหลวงพ่อ เรายังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย

6) หลวงพ่อพุธ: จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่มันจะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง

[บทเรียน] ภาวนาอย่าใจร้อนนะ มีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าไม่คลาดเคลื่อนด้วยการมีสติรู้กายมีสติรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ล่ะก็อย่าใจร้อน เดินไปเรื่อยๆ วันนึงจิตใจมันเติบโตเต็มที่มันทำลายเปลือกออกมาเอง

นี่ 5 องค์แล้วนะครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อ แต่ 6 คำถาม

—–#

ก่อนไปกราบหลวงปู่สุวัฒน์ เราภาวนา เรายังไม่ได้บวชนะ จิตเราหลุดออกมา เรารู้สึกสบายเลยเราคิดว่าพระอรหันต์ต้องเป็นอย่างนี้ จิตไม่เกาะอะไรจิตไม่เกาะขันธ์

เราไปหาท่าน ปรากฎว่าพอใกล้ถึงจิตดันเข้าไปเกาะกัน ดันเข้าไปยึด(ขันธ์)อีก เราก็เลยคิดนี่ล่ะน้าาา มันเป็นอนัตตา .. มันเป็นไตรลักษณ์

พอคิดว่าเป็นไตรลักษณ์นะ ใจเราไม่ดิ้น ก็หลุดออกมา

7) หลวงปู่สุวัฒน์: นี่แหละ บางทีจิตมันก็หลุดออกมา บางทีจิตมันก็เข้าไปจับอารมณ์ พอมันจับอารมณ์แล้วเราเห็นว่ามันเป็นไตรลักษณ์ มันก็หลุดออกมา

เราก็ อ๋อ..จิตนี่ก็เป็นไตรลักษณ์นะ เราจะไปบังคับให้จิตหลุดพ้นไม่ได้หรอก ถึงเวลาถ้าเค้าพอ เค้าหลุดเอง แต่เราไม่รู้ว่าเค้าขาดอะไรที่ยังไม่พอ

[เฉลย] คือ ขาดอริยสัจ ขาดความรู้แจ้งอริยสัจนะ ถ้าแจ้งอริยสัจก็คือพอ

ถ้าไม่แจ้งอริยสัจ ยังเห็นว่ากายนี้ ใจนี้เป็นตัว สุขบ้าง ทุกข์บ้างอยู่ ไม่มีทางเลย ยังไม่พอที่จะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

หลวงพ่อนี่นะเคยกราบครูบาอาจารย์มานับไม่ถ้วน หลายสิบองค์ แต่ครูบาอาจารย์ที่เคยแก้กรรมฐานให้หลวงพ่อรวมทั้งหมด 7 ครั้งเท่านั้น

ถ้าคนไหนถามหลวงพ่อเกิน 7 ครั้งถือว่าเป็น อวชาตศิษย์ ..มากไป

ถ้าถาม 7 ครั้งเค้าเรียก อนุชาตศิษย์ ..พอๆกัน

ถ้าไม่ต้องถามเลยนะ แล้วก็ผ่านไปเลย เป็น อภิชาตศิษย์

..งั้นพวกไหนถามมากนะ พวกโหลยโท่ยนะ :D

อย่าถามเยอะเลย หัดรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง หลักมีเท่านี้เอง ที่ผิดน่ะผิดจากหลักนี้ทั้งสิ้นเลย

พวกที่ติดว่าง นี่ใช้ไม่ได้นะ มันติดหมด

บางคนก็ฟุ้งในธรรมะ อยากพูดธรรมะ ใครเป็นบ้าง? รู้ตัวไว้นะเป็น วิปัสสนู ชนิดหนึ่ง ..เจอใครอยากจะสะกิดมาฟังธรรมะก่อนนะ (55)

เคยมีพระองค์หนึ่งนะ ท่านติดฟุ้งในธรรมะนี่แหละ ท่านเกิดวิปัสสนูชนิดหนึ่งนะ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์นะ เคารพหลวงปู่ดูลย์มากเลย

ท่านเดินลุยป่ามากจากบุรีรัมย์(พนมรุ้ง) เดินมาสุรินทร์นะคิดดู (55) มาถึงวัดตอนดึก มาเรียกหลวงตาดูลย์มาฟังเทศน์ พระอรหันต์มาโปรดแล้ว ไปเคาะประตูเรียกพระทั้งวัดเลยนะ

ตอนเช้าขึ้นมา หลวงปู่ แก้ แก้ไม่ตกนะ สุดท้ายหลวงปู่ดูลย์ใช้ไม้ตายเลย ด่า สัตว์นรก ไอ้บ้า ไอ้สัตว์นรก ..โอ้โห พระอรหันต์นะโกรธ เลือดขึ้นหน้า.. ตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู กูไปแล้ว คว้าไม้กวาดได้นะเอาพาดบ่า นึกว่าเป็นกลดนะ เดินออกไป 3 ก.ม. แล้วเพิ่งนึกได้ เอ๊ะ เราขาดสติอย่างร้ายแรกเลย ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก

มันเกิดขึ้นได้เสมอนะ หากเราไม่ปราณีตพอ จิตมันฟุ้งซ่านไป ไปอยู่ในความว่าง ฟุ้งซ่านไปอยู่ในธรรมะ ฟุ้งซ่านไปอยู่ในปิติ ..ฟุ้งซ้านไปอยู่ในการขยันภาวนา ภาวนาได้ทั้งวันไม่เคยพักเลย เจริญสติอย่างเดียวไม่มีเบรคเลย เนี่ย เป็นอาการที่เพี้ยนๆ ทั้งสิ้นเลย

ถ้าภาวนาถูกต้องแล้วจะเจอนะ ถ้าภาวนาผิดแล้วจะไม่เจอ จะเจอนิมิตแทนนะ

งั้นวันนี้หลวงพ่อก็เทศน์เรื่องวิปัสสนูให้ฟังด้วย แล้วเทศน์ให้ฟัง สิ่งที่ทำผิดมาเนี่ยมีตั้งหลายแบบ

โดยสรุปเลยก็คือ เราไม่ได้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงนะ ไม่รู้ลงปัจจุบันตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าเราสามารถรู้กายรู้ใจที่ปรากฎในปัจจุบันเนี่ย..ต้องเป็นปัจจุบันนะมันถึงจะเป็นของจริง อดีตไม่ใช่ของจริง อนาคตไม่ใช่ของจริง

ต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ต้องเห็นไตรลักษณ์ของมัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเดี๋ยวจิตไหลออกไป จิตฟุ้งไปแช่กับอารมณ์ใช้ไม่ได้นะ จะเป็นวิปัสสนู และที่ผ่านมามันจะผิดอยู่ในหลักนี้ทั้งหมดเลย

เริ่มตั้งแต่ ไปหัดดูจิต แล้วก็ไปแก้อาการของจิต ใช่ไหม? นี่ไม่ใช่รู้ นี่เป็นการเข้าไปแก้ไข

หรือ ถลำลงไปดู นี่จิตไม่ตั้งมั่น หลวงปู่สิมท่านแก้ให้ จิตถลำลงไปดู

หรือ จิตเจริญสติไปรวดเลย ไม่ยอมทำความสงบ ไม่พักผ่อนเลยนะ จิตหมดเรี่ยวหมดแรงไป เห็นไหมจิตไม่มีแรง จิตไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลาง จิตหมดแรง

หรือ จิตไหลออกไปข้างนอก สว่างว่างออกไป แล้วไปอยู่ในความว่าง ความสว่าง ..อย่างตอนนี้มีคนวิจารณ์บอกหลวงพ่อสอนผิด เพราะมีคนไปส่งการบ้านที่วัดอื่นนะ บอกว่า ไปเรียนดูจิตมา ..ท่านอาจารย์ท่านก็สอนถูกนะ ท่านบอกมันผิดนี่หว่า มันไปดูในความว่าง ..แต่ท่านเข้าใจผิด คิดว่าดูจิตแล้วจะเป็นอย่างนี้ทุกคน ไอ้นี่มันเป็นวิปัสสนูนะ งั้นไม่ใช่บางคน สงสัยทำไมหลวงพ่อไม่ไปทะเลาะกับองค์อื่น ไม่ทะเลาะหรอก นะ ท่านก็พูดของท่านก็ถูกของท่านแหละ พวกเราภาวนาโหลยโท่ยเองอ่ะ (ฮึฮึ) จิตไปติดในความว่าง ภาวนาผิดอ่ะ นะ งั้นถ้าจิตไม่ไปติดในความว่าง เรารู้ทันก็หลุดออกมา นะ งั้นการภาวนานะ ถ้าเข้าใจหลักปฎิบัติที่แท้จริงแล้วไม่มีปัญหาอะไรเลย ภาวนาของเราเองก็สะดวกสบาย เข้าไปหาครูบาอาจารย์ก็ไม่เคยมีปัญหาเลย

.. อย่างหลวงพ่อนะ มีพระทางอีสานลูกศิษย์หลวงพ่อทุย (วัดป่าด่านวิเวก) หลวงพ่อทุยที่ครูบาอาจารย์รับรองท่านนะ คุณธรรมท่านสูงมากเลย ลูกศิษย์ท่านมาเรียนที่หลวงพ่อ แล้วก็เอาหนังสือหลวงพ่อ เอาซีดีหลวงพ่อเนี่ยไปถวายท่านอาจารย์ทุย ท่านฟังจริงๆนะ ท่านฟังจนหมดเลย ท่านอ่านทั้งเล่มเลย อ่านทางเอกทั้งเล่มอ่ะ หน่ะ เสร็จแล้วท่านก็บอกกับลูกศิษย์ท่าน ที่อาจารย์ปราโมทย์สอนมาเนี่ยนะ เราเห็นด้วยทุกอย่างเลย เราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียวเอง ..เห็นมะ ความเห็นต่างได้ ..ท่านบอกเราไม่เห็นด้วยอยู่ข้อเดียว ข้ออื่นเห็นด้วยหมดอ่ะ อาจารย์ปราโมทย์บอกการภาวนาง่าย เราว่ามันยากนะ .. :D มันยาก ถูกของท่านนะ

มันยากที่คนทั่วๆไปเนี่ย จะตื่นขึ้นมา จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แต่ถ้าจิตของเราเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ไม่ยากหรอกที่จะบรรลุมรรผล นิพพานในชีวิตนี้ นะ ..งั้นพวกเราภาวนาไปนะ หัดดูกาย หัดดูใจ มีสติรู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบันเรื่อยไป นะ รู้ไปถึงจุดนึง นะ ต้องระวัง “วิปัสสนู” นะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่เป็นกลาง จิตไม่ถึงฐาน อย่างที่อาจารย์มหาบัวเคยบอกหลวงพ่อ ..ภาวะที่ว่าดูจิตดูไม่ถึงจิตแล้วลงอยู่ในว่างๆ ถ้าเรารู้ทันตรงนี้ก็ผ่านไปได้

ไม่ว่าจะทำวิปัสสนาด้วยวิธีใดนะ หนีวิปัสสนูไม่พ้นหรอก เจอทุกราย จะมากจะน้อยเท่านั้นเอง ..งั้นเราไม่ต้องกลัวนะ วิปัสสนูไม่ได้แปลว่าบ้า วิปัสสนูเป็นความที่ใจมันลำพองไป ทะยานไป หลงไปในธรรมะ ไม่ใช่หลงในอธรรมนะ หลงไปในธรรมะ เผลอเพลินไปในธรรมะ

ถ้ารู้ทัน จิตตั้งมั่นขึ้นมาก็หลุดเลย ไม่ยากเท่าไหร่หรอก อ่ะวันนี้เทศน์เท่านี้พอ

ขอบคุณ คุณ Supakorn Gift ผู้ถอดคลิปรับเชิญ

พระสูตรจากคลิป: ยุคนัทธสูตร

ส่วนที่อธิบายไว้ในอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม 35  หน้าที่ 402

๑๐. ยุคนัทธสูตร

:- [๑๗๐]    สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ  โฆสิตารามกรุงโกสัมพี

ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมาฯลฯ  แสดงธรรมว่าอาวุโสทั้งหลาย

สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตามพยากรณ์การบรรลุ

พระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค  ๔  โดยประการทั้งปวงหรือว่าด้วย

มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔  นั้น  มรรค ๘ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็น

เบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น   เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ

ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป

เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่     มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก

ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้  อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

:- อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้วสมัยนั้น

จิตนั้นย่อมตั้งมั่นหยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่

ภิกษุนั้น  เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ

กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น  ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อาวุโสทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตามภิกษุณีก็ตาม   มาพยากรณ์การ

บรรลุพระอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ นี้    โดยประการทั้งปวง  หรือ

ด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน  ๔  มรรคนั้น.

จบยุคนันธสูตรที่  ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต

MP3 (for download): ภาวนาคือสาระของชีวิต:-จากสมถะสู่วิปัสสนาและดูจิต (๓๓ นาที ๕๖ วินาที)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คลิปยาวจาก การแสดงธรรม ณ ศาลาลุงชินครั้งที่ ๒๒
File: 510615
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปแนวทางการภาวนาทั้ง3แบบ

MP3: สรุปแนวทางการภาวนาทั้ง3แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

การฝึกปฏิบัติมีหลายแบบ โดยสรุป

(๑) ใช้สมาธินำปัญญา   สมาธินั้นต้องเป็นสัมมาสมาธิไม่ขาดสติ พอจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว ตามรู้ตามดู ตามดูกายตามดูใจไปเลย ด้วยจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดู ห้ามรักษาผู้รู้ผู้ดูไว้ ปล่อยให้ผู้รู้ผู้ดูทำงานอย่างอิสระมีก็มี หายไปก็หายไปไม่เป็นไร

(๒) ทำสมาธิอยู่แล้วจิตเคลื่อนขึ้นนิดนึงก็ดูความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตภายในสมาธิ ดูไปได้เลย   เห็นองค์ของสมาธิ องค์ธรรมของสมาธิก็เกิดดับเช่นกัน เช่น อยู่ในฌานที่ลึกนะ พอถอนออกมาเห็นเลยความสงบหายไปแล้ว อุเบกขาหายไปกลายเป็นความสุขขึ้นมาแทน เดินปัญญาอยู่ในฌาน

(๓) ถอยออกมาอยู่โลกข้างนอกเลย ใช้ปัญญานำสมาธิ   ไม่ต้องเข้าฌาน หัดรู้กายหัดรู้ใจ ดูไปเรื่อยๆ โดนเฉพาะดูใจ ดูง่าย ใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมีสติตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆ จิตจะรวมเข้าเป็นสมาธิชั่วขณะเรียกขณิกะสมาธิ รวมแว้บๆรวมเป็นครั้งเป็นคราวไปเรื่อยๆ คล้ายๆเป็นจุดหยุดพัก เป็นช่วงๆๆของจิตไป ตรงนี้ฝึกแค่นี้ก็พอสำหรับคนที่ทำสมาธิไม่ได้   การที่หัดดูจิตหัดดูใจแล้วจิตรวมเป็นช่วงๆๆ ถึงเวลาที่จะเกิดอริยะมรรค อริยะผล จิตจะเข้าอัปปนาสมาธิเองไม่ต้องกลัวว่าเข้าไม่ได้ เข้าได้แน่นอน

พอได้เป็นพระโสดาบันนะ อย่างน้อยปฐมฌานเป็นของเล่นของแถมติดเนื้อติดตัวไว้ มีขึ้นมาเองแหละ เวลาต้องการพักผ่อนก็อยู่กับสมาธิไป ถ้าชำนิชำนาญในพระนิพพานก็อยู่กับพระนิพพานไป แล้วแต่ว่าจะอยู่กับอะไร แต่ถ้าไม่ชำนาญพระนิพพานก็มาอยู่กับลมหายใจก็ได้ อยู่กับความว่างก็ได้ เรียกว่าอยู่กับนาม ก็แล้วแต่ความชำนิชำนาญของแต่ละคนไม่เหมือนกัน   เพราะฉะนั้นทางปฏิบัติมีหลายทางนะ อย่าหัวดื้อนัก พวกที่ทำสมาธิส่วนใหญ่เป็นมิจฉาสมาธิ ฟังไว้นะ พวกที่ติดสมาธิงอมแงมหัวดื้อหัวรั้นสุดๆ แก้ยากที่สุด มาถึงวันนี้คนไหนแก้ยาก หลวงพ่อก็ปล่อยทิ้งไว้แล้วนะไม่แก้ให้แล้ว เพราะฉะนั้นอย่าดื้อมาก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีภาวนาแบบสมาธินำปัญญาและสมาธิควบปัญญา

MP3: วิธีภาวนาแบบสมาธินำปัญญาและสมาธิควบปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จากสมถะสู่วิปัสสนา

mp3: จากสมถะสู่วิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอย่างไรจะพลิกจากสมถะขึ้นสู่วิปัสสนาได้ วิปัสสนาคือการมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเมื่อใจเราสงบแล้วเนี่ย อย่าสงบอยู่เฉยๆ เพลินๆ มีแต่ความสุขอยู่เฉยๆ ระลึกรู้กายระลึกรู้ใจไว้ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ เวลาที่จิตถอยออกจากสมาธินะ จิตที่เคยสงบเนี่ยจะเริ่มฟุ้งซ่าน ให้เรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป ตรงนี้เป็นนาทีทองของการปฏิบัติเลย การที่จะพลิกจากสมถะขึ้นวิปัสสนา

ทำความสงบมาแล้ว ตอนที่จิตถอยออกจากความสงบ อย่าเจตนาถอย ถ้าเจตนาถอยจะปวดหัว ใจมันยังคล้ายๆมันยังนอนไม่พอ มันยังพักไม่พอ แล้วไปดึงมันขึ้นมา เหมือนคนกำลังหลับลึกนะ ถูกปลุกขึ้นมา ปวดหัว ถ้าจิตมันถอนขึ้นมาเองนะ ค่อยๆรู้สึก มันรู้สึกขึ้นมาเนี่ย พอรู้สึกขึ้นมาแล้วอย่าไปบอกว่า อ้าว..สบายแล้วหมดเวลาปฏิบัติแล้ว อันนี้ฉลาดน้อยมาก พอจิตถอนขึ้นมานะ ให้คอยรู้สึกกายรู้สึกใจ ร่างกายอยู่ท่าไหนก็รู้สึกไป จะเห็นเลยร่างกายที่อยู่ท่านี้อาจจะนั่งคอเอียงก็ได้ นั่งแล้วแข้งขาเหยียดก็ได้ ไม่สำคัญหรอก ไม่สำคัญว่านั่งท่าไหนนะ สำคัญที่คุณภาพข้างใน จิตใจเป็นอย่างไร

มีน้องร่วมสาบานของหลวงพ่อ เขาเรียก ซือตี๋ เวลาภาวนา ภาวนาเก่งนะ คนนี้ ภาวนาดี ภาวนาเข้าใจธรรมะ แต่เวลานั่งสมาธินะ ไม่น่านับถือ นั่งขัดสมาธิ์ดีๆนี่นะ พอจิตรวมลงไปนะ แข้งขามันจะเหยียดออกไป กางแข้งกางขานะ คนก็แอบมาหัวเราะ ครูบาอาจารย์ก็เตือน อย่าไปหัวเราะเขานะ ตัวเขาไม่ตรงแต่จิตเขาตรง ไปหัวเราะเขาบาป เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ ร่างกายอยู่ในท่าไหนเราก็รู้สึกไป พอรู้สึกตัวขึ้นมาใจจะเริ่มคิด เราก็รู้ทันว่าใจมันคิด ใจมันเป็นอย่างไรก็ตามรู้มันไปเลย นี่เป็นวิธีการนะ

แต่บางคนพอจิตถอยออกจากสมาธิแล้วถอยไม่หมด ติดความสงบออกมาด้วย ตัวนี้มีปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าทำสมาธิแล้วพอออกจากสมาธินะ ใจตื่นขึ้นมาเต็มที่ อยู่ในโลกของมนุษย์ธรรมดาเลย เรียกว่าจิตมาอยู่ในกามาวจรภูมิเลยเนี่ย ดีที่สุดเลย แต่ถ้าจิตมันติดค้างอารมณ์ในรูปาวจร อรูปาวจร อารมณ์ในฌานออกมา มันจะซึมๆไปนิดนึง มันจะคล้ายๆ.. หลวงพ่อทำให้ดู ทำเก่ง.. เนี่ยโลกว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตน ไม่มีอะไร ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา จะไปเห็นอะไร โง่.. ฉลาดน้อยๆ

ทีนี้ถ้าจิตมันค้างอารมณ์ออกมานะ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ให้กระตุ้นให้จิตทำงาน เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์วัดป่าจะบอกว่า พอทำความสงบแล้วให้พิจารณากาย ให้มาพิจารณากาย พุทโธแล้วมาพิจารณากาย รู้ลมหายใจแล้วพอถอยออกมาแล้วมาพิจารณากาย พิจารณาเพื่ออะไร เพื่อกระตุ้นไม่ให้จิตติดความสงบเฉยๆของสมาธิออกมา ให้มันหลุดออกมาสู่โลกภายนอกนี้ให้ได้ พอพิจารณาแล้วจิตมันกระฉับกระเฉงแล้ว จิตยอมทำงาน จิตยอมรู้กาย จิตยอมรู้ใจ หน้าที่ของเราก็คือ เจริญสติในชีวิตประจำวันต่อไป

เพราะฉะนั้นกรรมฐานที่ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านสอน มันจะมี ๓ สเต็ป อันหนึ่งทำความสงบเข้ามา ทำความสงบอย่างเดียวนะ ไม่ดี หลวงปู่มั่นบอกทำความสงบมาก เนิ่นช้า ทีนี้พอสงบแล้วนะ ใจยังค้างคาอยู่ในความสงบนะ ท่านให้พิจารณากาย ทำไมต้องพิจารณากายตัวเอง เพราะว่าพิจารณาแล้วกิเลสมันไม่เกิด ถ้าให้ไปพิจารณากายสาวนะ เดี๋ยวมันจะสวยขึ้นมา ยิ่งพวกที่ติดสมาธินะ พอออกมาเจอหมาๆจะสวยด้วยซ้ำไป เพราะกิเลสจะดีดตัวอย่างรุนแรงเลย หรือเป็นคนขี้โมโห ไปทำสมาธินะ สงบไป พอออกจากสมาธินะ ขี้โมโหมากกว่าเก่า มันคิดดอกเบี้ยนะ

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณาร่างกายตัวเอง พิจารณาแล้วมันไม่เกิดกิเลสขึ้นมา แต่เป็นการกระตุ้นให้จิตมันทำงาน เป็นการกระตุ้นเพราะหลวงปู่มั่นสอนว่าระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย เพราะฉะนั้นท่านจึงมาพิจารณากายกัน ปลอดภัย พิจารณากายตนเองนี่ปลอดภัย พิจารณาอย่างอื่นไม่ค่อยปลอดภัย

ทีนี้พิจารณาไม่ใช่พิจารณามันทั้งวันทั้งคืน หลวงปู่มั่นบอกอีก พิจารณามากฟุ้งซ่าน เห็นมั้ย พิจารณาพอดีๆ พอให้จิตมันตื่นตัวขึ้นมา คล่องแคล่ว ปราดเปรียว กระฉับกระเฉง ถัดจากนั้นท่านถึงสอน บอกว่า การเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ คือหัวใจของการปฎิบัติ เห็นมั้ย หลวงปู่มั่นสอนนะ เป๊ะเลย

บางคนไปเข้าใจคลาดเคลื่อน ไปได้ยินหลวงปู่มั่นสอนว่า พุทโธๆ โอ๊ย.. สมถะ แล้วจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ยังไง โกหก ไม่จริงหรอก ปรามาสล่วงเกินครูบาอาจารย์ ไม่รู้หรอกว่า ตรงนั้นท่านก็ทำสมถะ ท่านก็รู้ว่าทำสมถะ ทำสมถะแล้วท่านก็มาพิจารณากาย ท่านก็รู้ว่าไม่ใช่วิปัสสนา หลวงปู่เทสก์เคยสอนชัดเลยว่า คิดพิจารณากายไม่ใช่วิปัสสนา หลวงพ่อพุธก็บอกนะว่า วิปัสสนานะเริ่มเมื่อหมดความคิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่คิดเอา

ทีนี้บางคนฟังธรรมะของครูบาอาจารย์ไม่ตลอดสาย ฟังได้นิดๆก็ปรามาสไว้ก่อน เฮ้ยพุทโธเป็นแต่สมถะ เพราะไม่ได้ใช้อารมณ์รูปนาม ใช้ไม่ได้หรอก คิดพิจารณากายก็ใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้เห็นสภาวธรรมเกิดดับ แต่เป็นการคิดเอา ไม่ใช่วิปัสสนา ก็ไม่ใช่วิปัสสนาสิ ใครว่าวิปัสสนาล่ะ หัวใจอยู่ตรงที่มีสติในชีวิตประจำวันนี้ต่างหาก ท่านสอนว่า ยืน เดิน นั่ง นอน นะ จะครองผ้าจีวร สังฆาติ จะฉันอาหาร จะขับถ่าย ให้มีสติ มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ตรงนี้แหละคือตัววิปัสสนาแท้ๆ ท่านถึงบอกหัวใจของการปฏิบัติอยู่ตรงนี้

ทีนี้บางคนเรียนไม่ดี หลังๆเริ่มหย่อนไป เอะอะทำความสงบอย่างเดียว แล้วก็ไม่ยอมพิจารณากาย หรือว่าสงบแล้วพิจารณากาย แต่พอหมดเวลาปฏิบัตินะ ไม่เจริญสติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ได้เจริญสติในชีวิตประจำวันนะ อย่ามาพูดถึงมรรค ผล นิพพาน เลย ห่างไกล ก็ตอนทำสมาธิอยู่ วันหนึ่งๆจะทำสักกี่ชั่วโมง ใช่มั้ย เวลาที่เหลืออยู่ข้างนอกนี้ เราปล่อยทิ้งไปเฉยๆ กิเลสก็เอาไปกินหมด ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา

เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำความสงบแล้ว อย่าสงบเฉยอยู่ ให้ต่อขึ้นวิปัสสนา พอจิตถอนออกมาจากสมาธิมานะ รู้กายรู้ใจตามที่เขาเป็น ตามรู้ไปเลย แต่ถ้าถอนออกมาแล้วมันไม่ยอมรู้กายรู้ใจ มันเซื่องๆซึมๆอยู่อย่างนั้นนะ หาอะไรมายั่วมัน ให้จิตมันทำงาน คิดพิจารณากายก็ได้ หรือพิจารณาธรรมะอะไรก็ได้ ให้จิตมันทำงาน อย่าให้มันเฉย พอจิตมันทำงานแล้วคอยรู้สึก แต่อย่าให้มันฟุ้งออกไปข้างนอกนะ คอยรู้วนเวียนอยู่ในกายในใจตัวเอง

พอจิตมันเคลื่อนไหวคล่องแคล่วปราดเปรียวแล้วเนี่ย จิตจะนุ่มนวล จิตจะอ่อนโยน จิตจะคล่องแคล่วปราดเปรียว มีคุณสมบัติอย่างนี้แหละ ในพระไตรปิฎกก็พูดถึงคุณสมบัติเหล่านี้ว่า ทำสมาธิแล้วนะ จิตเบา จิตอ่อน จิตคล่องแคล่วว่องไว จิตควรแก่การงาน คือไม่ถูกกิเลสไม่ถูกนิวรณ์ครอบงำ จิตซื่อตรงในการรู้อารมณ์ โน้มน้อมจิตนี้ให้เกิดญาณทัศนะ ก็คือมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ ด้วยจิตที่เบาๆ จิตที่สบาย จิตที่รู้เนื้อรู้ตัว จิตที่คล่องแคล่วว่องไว นี่ รู้อย่างนี้เรื่อย.. อย่าให้มันเฉย..ซึมกระทืออยู่ อย่าน้อมจิตไปอยู่ในความว่าง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาแบบสมถยานิกหรือสมาธินำปัญญา

Mp3: ภาวนาแบบสมถยานิกหรือสมาธินำปัญญา (พระป่า) เป็นเช่นไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันหนึ่งทำฌานไป ยกตัวอย่าง เรารู้ลมหายใจ ทีแรกลมหายใจนี้ เขาเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” รู้ตัวลมหายใจ เห็นลมนะ ลมกระทบ ดูเล่นๆ ดูแบบใจเป็นคนดู อย่าให้จิตไหลเข้าไปอยู่ที่ลมนะ จิตไหลไปอยู่ที่ลมจะเป็นการเพ่งลม ฌานไม่เกิดหรอก ให้รู้มัน ให้รู้ลม เห็นร่างกายมันหายใจ เห็นหายใจอย่างนี้ หายใจ ดูอย่างสบายๆ ดูอย่างผ่อนคลาย ถ้าไปเพ่งแล้วจะไม่ผ่อนคลาย ถ้าจิตไม่ผ่อนคลายจิตจะไม่มีความสุข จิตไม่มีความสุขสมาธิจะไม่เกิด จำไว้นะ มันมีกระบวนการของมันนะ มีเหตุ มีผล มีต้น มีปลาย ทั้งสิ้นเลย

เรารู้ เราเห็นร่างกายของเราไป รู้เล่นๆไปนะ ดูไปเรื่อยๆจิตใจมีความสุข มีความสบาย ลมหายใจค่อยๆแปรสภาพไปเป็นแสงสว่าง เราจะเห็นลมเป็นแสงเลย เป็นเส้น..เลยนะ การที่เรารู้แสงสว่างอันนี้ ตัวนี้ไม่ใช่บริกรรมนิมิต ไม่ใช่ลมตัวเดิมแล้ว ตัวนี้เขาเรียกว่า “อุคหนิมิต” เป็นอุคหนิมิตขึ้นมา เราดูเห็นแสงสว่าง ใจเราสบาย ดูเล่นๆไป ทีแรกมันจะยืดยาว เห็นเป็นแสงเป็นเกลียววิ่ง มันจะรวมขึ้นมาเป็นดวง พอเราเห็นดวงนี้ เรารู้อยู่ที่ดวงนี้นะ มีสติรู้อย่างสบายๆ ดวงนี้สวยงามนะ ผ่องใส เหมือนแก้วสวยงาม เห็นแล้วมีความสุข ตัวดวงสว่างนี้เรียกว่า “ปฎิภาคนิมิต” เห็นมั้ย ไม่ใช่ตัวลมแท้ๆแล้ว กลายเป็นรู้นิมิตแล้ว ทำฌานไม่ใช่รู้ตัวลมนะ ทำฌานสุดท้ายไปรู้ตัวนิมิต มีนิมิตขึ้นมาแล้วก็รู้นิมิตไป นิมิตนี้สวยงาม นิมิตนี้ย่อได้ขยายได้นะ เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ มีความสุข เห็นแล้วมีความสุข

เห็นแล้วมีความสุขจิตก็มีปีติขึ้นมา จิตนี้มีความสุขที่ได้รู้นิมิตนี้ เพราะฉะนั้นจิตนี้จะเกาะอยู่กับนิมิตนี้โดยที่ไม่ได้เจตนา เรียกว่ามันมี “วิตก” คือมันตรึกถึงตัวนิมิตนี้ จิตนี้จะเคล้าเคลียอยู่กับตัวนิมิตนี้ เรียกว่า “วิจาร” จิตจะมีปีติ มีความสุขขึ้นมา มีเอกัคตาขึ้นมา

ภาวนาต่อไปอีกนะ จิตจะเห็นเลยว่า จิตยังถลำไปเกาะอยู่กับนิมิตนี้ ไม่ค่อยได้อะไรขึ้นมา ก็สังเกตเห็นอีก นิมิตนี้เป็นของถูกรู้ถูกดูนะ จิตมันถอนออกจากนิมิต มันละวิตกละวิจารเสีย ม้นเข้ามารู้อยู่ที่ตัวรู้ ตัวรู้คือ “เอโกทิภาวะ” ถึงผุดขึ้นในฌานที่สอง เอโกทิภาวะ คือตัวสัมมาสมาธิแท้ๆนี่เอง เกิดในฌานที่สอง ตัวนี้ยังเป็นแค่ตัวรู้ เป็นธรรมชาติรู้

จะทำฌานสูงขึ้นไปก็ได้หรือจะทำอยู่แค่นี้ก็ได้ พอออกจากตรงนี้แล้วเนี่ย อำนาจของสมาธิที่เราทำนี้ยังทรงอยู่อีกช่วงหนึ่ง จิตของคนซึ่งเดินมาถึงตรงนี้ ถอยออกมาแล้วนะ มันจะมีตัวรู้อยู่ อยู่ได้เป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าคนไหนเกิน ๗ วัน ต้องรู้เลยว่า ไปประคองตัวรู้ไว้แล้ว ผิดอีกแล้ว มันอยู่ไม่นานหรอก อยู่วันสองวัน อะไรอย่างนี้ วันสองวันแล้วเสื่อมไป เราก็ทำเอาใหม่ อย่าอยากทำ ถ้าอยากให้ได้ดีอย่างเดิม มันจะไม่ได้ ทีนี้ฝึกไปเรื่อย จนจิตมันชำนาญนะ มันรู้จักตัวรู้ชำนาญ ต่อไปถึงไม่ทรงฌานอยู่นะ นึกถึงมันก็มีอยู่แล้ว นี่เป็นเพราะมันชำนาญแล้ว มันคือสภาวะที่ “รู้” นั่นเอง

ทีนี้พอมีสภาวะที่ “รู้” แล้วมาเดินปัญญาต่อ เห็นกายมันทำงาน ทำไมต้องดูกาย เพราะว่าถ้าดูจิตนะ มันจะนิ่งไปเลย เพราะว่าจิตนั้นมันทรงตัวอยู่ เป็นตัวรู้ไปแล้ว มันไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งอะไรแล้ว ถ้าอยู่ๆไปดูใส่ตัวจิต มันก็จะไม่มีอะไรให้ดู มีแต่ว่างๆ นิ่งๆ ไป เพราะฉะนั้นพอจิตทรงฌานะ แล้วถอยออกมาเนี่ย ควรจะมารู้กาย หรือรู้เวทนา อย่าไปดูจิต เพราะฉะนั้นรู้กายและเวทนาเนี่ย เหมาะกับสมถยานิก

พวกที่ไม่มีสมาธินะ ไปดูกายก็ไปเพ่งกาย ไม่มีจิตที่ทรงตัวเป็นคนดูอยู่ จิตกับกายจะไม่แยกออกจากกัน ถ้าจิตกับกายไม่แยกออกจากกัน เรียกว่าแยกรูปแยกนามไม่ได้ ถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ อย่ามาพูดเรื่องวิปัสสนา เพราะการเจริญปัญญานะ ญาณตัวแรกเลยชื่อ “นามรูปปริเฉทญาณ” แยกรูปแยกนามออกมา กายอยู่ส่วนกายนะ จิตอยู่ส่วนจิต จิตมันตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นกายมันทำงาน แต่ถ้าจิตเผลอไผลไปที่อื่นนะ สติก็ระลึกได้อีก รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิตนะ ไม่ใช่เพ่งอยู่แต่กายอย่างเดียว นี่สำหรับคนซึ่งทำสมาธิเต็มรูปแบบ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรื่องของจริต: ดูกายหรือจิต?

mp3: จริต: ดูกายหรือจิต?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนเริ่มต้นปฏิบัติไม่ใช่ต้องดูกายก่อนนะ รู้อะไรแล้วสติเกิดก็เอาอันนั้นแหละ   รู้กายก็ได้ รู้เวทนาก็ได้ รู้จิตก็ได้

ไม่ใช่รู้อันใดอันหนึ่ง ไม่ใช่มีขั้นมีตอนว่าทุกคนต้องเริ่มเหมือนกันหมด จริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเริ่มดูกายเหมือนกันหมด หรือมาเรียนกับหลวงพ่อก็ไม่ใช่ว่าหลวงพ่อสอนให้ทุกคนต้องดูจิตเหมือนกันหมด กรรมฐานต้องเลือกให้ถูกกับจริตถูกกับนิสัยของเรา

ถ้าเรามีจริตนิสัยรักสุขรักสบายรักสวยรักงามรักความสงบอะไรพวกนี้   ทำความสงบขึ้นมาก่อน ทำสมาธิมา ทำความสงบ พอใจตั้งมั่นแล้วก็ดูกายไป   เห็นกายที่ยืนเดินนั่งนอนไม่ใช่เรา   เห็นกายที่หายออกเข้าหายใจเข้าไม่ใช่เรา   ดูไปกายไม่มีตัวเรา  จะเห็นว่าจิตเป็นแค่คนดูจิตจะแยกออกมา  จิตจะแยกออกมาเป็นคนดู   นี่ก็ได้

หรือคนไหนเป็นพวกคิดมากเป็นพวกทิฐิจริต   คิดมากให้ดูจิตไปเลย   ทำสมาธิไม่ลงหรอก    เพราะว่าคิดมากฟุ้งซ่าน   ให้ดูจิตไป   จิตเป็นสุขก็รู้   จิตเป็นทุกข์ก็รู้ จิตเฉยๆก็รู้ จิตดีก็รู้ จิตร้ายก็รู้ จิตโกรธ จิตโลภ จิตหลงก็รู้ รู้ไปเรื่อย ดูไป

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 3123