Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

มีสติช่วยให้มีสมาธิได้อย่างไร ?

mp3 (for download) : มีสติช่วยให้มีสมาธิได้อย่างไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิเป็นเครื่องสู้กิเลสระดับกลางชื่อว่า “นิวรณ์” นิวรณ์มีห้าตัว แต่ทั้งห้าตัวมันเป็นความฟุ้งซ่านของจิตทั้งนั้น ถ้าฟุ้งไปชอบใจในอารมณ์ เรียกว่า “กามฉันทะนิวรณ์” ฟุ้งไปเกลียดอารมณ์ เรียก “พยาบาท” ฟุ้งจับจด ฟุ้งแล้วไม่รู้อะไรต่ออะไร สะเปะสะปะ เรียก “อุทธัจจะ” อุทธัจจะไม่อยู่ลำพังหรอก พอฟุ้งมากๆก็รำคาญใจ อุทธัจจะ เป็นโมหะ มันจะต่อด้วย “กุกกุจจะ” รำคาญใจ กุกกุจจะ เป็นโทสะนะ พอฟุ้งได้ที่ก็รำคาญ หงุดหงิด เนี่ย ถ้าจิตไม่ฟุ้ง ไม่รำคาญ ไม่หงุดหงิด ลังเลสงสัยก็เป็นความฟุ้งซ่าน คนถามกรรมฐานมากๆ ถามแล้วถามอีก คิดมาก ดูกายดูใจมันทำงานเข้าไป ไม่มีคำถาม มีน้อย คำถาม

หลวงพ่อเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์นะ เรียนจากครูบาอาจารย์ตั้งหลายสิบองค์ เข้าไปหาท่าน คำถามหลักๆเลยที่ถามนะคือที่ทำอยู่นี่ถูกมั้ย คราวก่อนท่านสอนมาอย่างนี้ ผมไปทำ อย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าผิดให้ท่านบอกด้วย ถ้าถูกแล้วทำยังไงจะพัฒนาไปมากกว่านี้ ถามเท่านี้เองนะ ครูบาอาจารย์ก็ตอบเหมือนกันทุกที ดีแล้ว ทำอีก จบแล้ว ไม่มีอะไรต้องมาพิรี้พิไร ขอแถมอีกหน่อยอะไรอย่างนี้ ขอนั่งอีกนิด ไม่มี เสียเวลา

“เวลา” หมดแล้วหมดเลยนะ ซื้อไม่ได้ ทิ้งเปล่าๆ ไม่นานก็ตาย ฉะนั้นเราเอาเวลามาภาวนา ภาวนาแล้วไม่ค่อยมีคำถามเท่าไหร่หรอก ถามอะไร มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง มีเท่านี้เอง ถามมากกว่านี้ก็คิดมาก คิดเยอะไป รู้ไว้เยอะๆ รู้ทัน ทุกคนรู้จิตรู้ใจตัวเองได้อยู่แล้ว กายของเรา เราก็รู้ได้อยู่แล้ว จิตของเรา เราก็รู้ได้อยู่แล้ว รู้เอาบ่อยๆ พอเรามีสติรู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นนะ นิวรณ์จะดับ อย่างจิตมีพยาบาทเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันนะ พยาบาทดับ จิตมีกามฉันทะเพลิดเพลินพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส เรามีสติรู้ทันนะ ความเพลิดเพลินพอใจคือกามฉันทะก็ดับ สงสัยขึ้นมา มีสติรู้ทัน สงสัยก็ดับ หดหู่ มีสติรู้ขึ้นมา หดหู่ก็ดับ

อาศัยสตินี่แหล่ะ มารู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นในใจบ่อยๆ แล้วสมาธิจะเกิดขึ้นเอง นี่เป็นวิธีทำสมาธิที่สุดจะง่ายเลยนะ ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองด้วย มีพระสูตรที่สอง ชื่อ สามัญญผลสูตร (สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก) พระพุทธเจ้าสอน อชาตศัตรู อชาตศัตรูเกิดมาไม่เป็นศัตรูกับใครนะ เป็นศัตรูกับพ่อเท่านั้นแหล่ะ ฆ่าพ่อตาย อชาตศัตรูไปเรียนธรรมะ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ทันนิวรณ์นะ รู้ทันนิวรณ์แล้วสมาธิเกิด นี่เป็นวิธีฝึกสมาธิของฆราวาส อาศัยสติรู้ทันศัตรูของสมาธิ พอจิตไม่มีศัตรูของสมาธิ จิตก็สงบเองแหล่ะ ไม่ต้องทำความสงบหรอก อย่าทำความฟุ้งซ่านก็พอแล้ว ความฟุ้งซ่านเราจะทำลายมันได้ไง ความฟุ้งซ่านเป็นกิเลส เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นไม่มีกิเลส นี่เป็นกฎของธรรมะเลย

ดังนั้นเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ชอบ ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ไม่ชอบ ฟุ้งสะเปะสะปะ จับอารมณ์ไม่ถูก ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ชอบเป็นกามฉันทะ ฟุ้งไปหาอารมณ์ไม่ชอบเป็นพยาบาท ฟุ้งสะเปะสะปะเป็นอุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งไปคิดมากก็ลังเลมากเป็น “วิจิกิจฉา” ฟุ้งมากหมดเรี่ยวหมดแรงลงไปแผ่หลาอยู่ หมดเรี่ยวหมดแรง ดูอะไรไม่รู้เรื่องแล้วเรียกว่า “ถีนมิทธะ” ทั้งจิตทั้งเจตสิกหมดแรง ล้วนแต่มาจากความฟุ้งทั้งนั้น

ถ้ามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งไปนะ สมาธิเกิดเอง โดยเฉพาะจิตนะชอบฟุ้งไปคิด ฟุ้งไปคิดเนี่ยบ่อยที่สุด ถ้าเรารู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไปคิด ความฟุ้งซ่านจะดับ จิตจะเกิดสมาธิ จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจต้องอยู่กับเนื้อกับตัวนะ ถึงจะเจริญปัญญาได้ ถึงจะทำวิปัสสนาได้ ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะวิปัสสนานี่คือการเรียนรู้ความจริงของรูปนาม สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา รูปธรรมนามธรรมนี้เอง เมื่อไหร่ขาดสติเมื่อนั้นไม่รู้รูปนาม ไม่รู้รูปธรรมนามธรรมของตัวเอง ใช้ไม่ได้เลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

mp3 (for download) : อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าไปกังวลเรื่องปฏิบัติถูก ปฏิบัติผิด พวกเราทุกคนปฏิบัติผิด เวลาถูกมันถูกแว่บเดียว นอกนั้นผิดทั้งนั้นแหละ แค่จงใจปฏิบัติก็ผิดแล้ว ทำไมปฏิบัติจะไม่ผิด ปฎิบัติเมื่อไรก็ผิดเมื่อนั้นแหละ เราต้องไม่ปฏิบัติ คำว่าไม่ปฏิบัติของหลวงพ่อคือเราไม่ทำอะไรนะ เราคอยดูร่างกายมันทำงาน คอยดูจิตใจมันทำงาน เราไม่ทำอะไร อย่างจิตใจของเราเนี่ย เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด รู้สึกไหม เนี่ยเราหน้าที่เราก็คอยรู้ไป มันไปฟังก็รู้ มันไปคิดก็รู้ เราไม่ได้ทำอะไร เราไม่ต้องปฏิบัติอะไรหรอก เราแค่รู้ทันมันเท่านั้นเอง ถ้าฝึกอย่างนี้แล้วจะง่าย ถ้าเราคิดว่าทำยังไงเราจะบรรลุมรรคผลนิพพานนะ เราพยายามจะปฏิบัติ พยายามจะทำยิ่งช้าใหญ่เลย เพราะความโลภมันเข้าไปแทรก สติมันไม่เกิด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หน้าที่ต่อทุกข์คือรู้ทุกข์ ไม่ใช่ละ

mp3 (for download) : 530726A_see suffering

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หน้าที่ต่อทุกข์คือรู้ทุกข์ ไม่ใช่ละ

หน้าที่ต่อทุกข์คือรู้ทุกข์ ไม่ใช่ละ

หลวงพ่อปราโมทย์: หน้าที่ต่อทุกข์คืออะไร หน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้ ตัวนี้ต้องเรียนให้ดีนะ ทุกข์ไม่ได้เอาไว้ละนะ ทุกข์เอาไว้รู้ ตัวนี้เป็นเรื่องที่แปลก เป็นเรื่่องที่อัศจรรย์ เรานึกไม่ถึงเลย ใครๆก็อยากจะละทุกข์ ใครๆก็อยากหนีทุกข์ พระพุทธเจ้ากลับสอนว่าทุกข์เอาไว้รู้ ทุกข์ไม่ได้เอาไว้ละ ทุกข์ไม่ได้เอาไว้หนี งั้นหน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้ ทุกข์คืออะไร ทุกข์คือรูปธรรม คือกายคือใจ เพราะฉะนั้นหน้าที่ต่อทุกข์ก็คือการรู้กายรู้ใจ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530726A
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๑๑ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความรู้สึกตัวที่สร้างขึ้นไม่ใช่ของจริง

mp3 for download: 460331A_made-up consciousness

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความรู้สึกตัวที่สร้างขึ้นไม่ใช่ของจริง

ความรู้สึกตัวที่สร้างขึ้นไม่ใช่ของจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความรู้สึกตัวที่สร้างขึ้นไม่ใช่ของจริง แต่อย่างเราเผลออยู่ แล้วเราเกิดสติระลึกขึ้นได้แว้บ โอ้ะเผลออยู่ ในขณะนั้นไม่เผลอแล้ว ในขณะนั้นความรู้สึกตัวตัวจริงก็ปรากฎขึ้นมา ไม่มีน้ำหนัก แต่ความรู้สึกตัวที่เราสร้างขึ้นมายังมีน้ำหนักอยู่ มีหนักๆหน่วงๆ ตื้อๆอยู่หน่อยนึง จะเป็นของปลอม

เพราะฉะนั้นหน้าที่ไม่ใช่ไปทำความรู้สึกตัวขึ้นมา หน้าที่รู้ทัน อะไรแปลกปลอมเข้ามานะ คอยรู้ทันไป รู้ทันอย่างแท้จริงแล้วเนี่ย จิตมันตั้งมั่นขึ้นมา เรารู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น รู้ทันจิตที่ไหลไปตามทวารทั้งหก พอเรารู้ทันว่ามันหลงไปแล้วปั๊บ มันตั้งขึ้นมาเลย อัตโนมัติ เพราะฉะนั้นสติทำขึ้นไม่ได้ แต่ปัญญาต้องอาศัยการอบรมอาศัยการเจริญ ปัญญาก็คืออาศัยการที่เรามีสติเนืองๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันจันทร์ ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒
File: 460331A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึกสังเกตใจ

mp3 (for download) : เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึกสังเกตใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึก

เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึก

โยม : คือ พึ่งเริ่มฝึก แล้วก็ไม่แน่ใจว่าที่ฝึกนี้ ถูกต้องไหม

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถูกแล้วนะที่ฝึก ต้องฝึกนะ เวลาที่เรา ฝึกมันก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่อย่างน้อยที่ฝึกเนี่ย ถูกแล้ว (โยม : ก็ฝึกไปเรื่อยๆ ขอบคุณค่ะ) ต้องฝึกไปเรื่อยๆ วิธีฝึกก็ไม่มีอะไรหรอก สังเกตใจเราไว้ ใจเราแต่ละวันไม่เคยเหมือนกัน บางวันก็สุข บางวันก็ทุกข์ บางวันก็ดี บางวันก็ร้ายใช่มั้ย ในวันเดียวกันก็ไม่เหมือนกัน ดูออกมั้ย เช้าสายบ่ายเย็นความรู้สึกไม่เหมือนกัน ให้เราคอยรู้ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ รู้เฉยๆนะ อย่าแทรกแทรง อย่าไปห้ามมันว่า ความรู้สึกต้องดีห้ามรู้สึกชั่วอะไรนี้  ไม่ห้ามเลย ให้รู้ไปลูกเดียว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓๑ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

mp3 (for download) : ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

โยม : เวลาที่เราไม่ทราบว่าจิตอยู่ที่ใหน กำลังหลงอารมณ์อะไรอยู่ เราควรทำอย่างไรดีคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็หัดรู้ทันนะ หัดรู้ทันความรู้สึกของตัวเองไป เราทุกคนสามารถรู้ความรู้สึกของตัวเองได้ ความรู้สึกทุกชนิดเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้

มีใครไม่รู้จักว่าโกรธเป็นไงบ้าง มีมั้ย ใครไม่รู้จัก ไม่เคยโกรธ ใครไม่เคยโลภ ใครไม่เคยหลง ใครเคยกลัวบ้าง มีมั้ย ใครเคยกลัว (โยมเริ่มยกมือ) มีคนเดียวเคยกลัว อ้อ มีสองคน สามคน มีใครเคยอิจฉาบ้างมีมั้ย เคยทุกคนแหล่ะ ความรู้สึกทุกชนิดนะเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้ว่าตอนนี้ใจของเรารู้สึกอะไร ใจไม่ได้หลงไปใหนนักหนาหรอก เรานั่นแหล่ะไม่ยอมดูเอง ถ้าขยันดู เราก็จะรู้เลยว่าตอนนี้ความรู้สึกของเราเป็นยังไง ความสุขรู้จักมั้ย ความทุกข์ก็รู้จักใช่มั้ย ดีใจ เสียใจ กลัว กังวล รู้จักทุกอย่าง เซ็งรู้จักมั้ย เซ็งกับโกรธเหมือนกันมั้ย ไม่เหมือน เห็นมั้ย แยกเป็น ตอนนี้ความรู้สึกเป็นยังไง

รู้ลงไป รู้ทันความรู้สึกที่กำลังเกิดอยู่ สดๆร้อนๆในใจ ตัวเองนะ ฝึกอย่างนี้แหล่ะ แล้วถึงจะเข้าใจว่าจิตมันเป็นยังไง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลตำรวจ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ โรงพยาบาลตำรวจ
File: 540330
ระหว่างนาทีที่  ๓๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติทางโลก สติทางธรรม

mp3 (for download) : สติทางโลก สติทางธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติทางโลก สติทางธรรม

สติทางโลก สติทางธรรม

โยม : ผมได้มีโอกาสได้สอนแฟนครับ เรื่องมีสติครับ แต่ว่าผมยังสอนเค้าไม่เข้าใจครับ ว่าสติแบบทางธรรม กับสติแบบทางโลกว่าเป็นยังไง ขอโอกาสหลวงพ่อครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือสตินะ สติแปลว่าความระลึก ความระลึกได้ เป็นตัวที่คอยรู้ทันว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกายในใจของเรา อันนี้เป็นสติในการปฏิบัติธรรม สติอย่างโลกๆนะ คือเมื่อไรที่จิตเป็นกุศลนะ เมื่อนั้นมีสติอยู่แล้ว แต่เป็นสติโลกๆ แต่ถ้าเมื่อไรจิตเป็นอกุศล เมื่อนั้นไม่มีสติ เราสนใจ ถ้าสอนเพื่อนนะ สอนให้มาทำสติปัฏฐานไว้ สติรู้กาย สติรู้ใจสอนตัวนี้บ่อยๆ แล้วสติโลกๆ ก็จะดีขึ้นเองแหละ เราเอาสติชั้นยอดก่อน เดี๋ยวสติชั้นรองมันก็ได้เองแหละ ส่วนที่คนในโลกพูดเรื่องคำว่าสติ มันยืมคำว่าสติของพระพุทธเจ้าไปใช้ คนในโลกไม่มีสติ ขาดสติเป็นส่วนใหญ่ อย่างเมาเหล้า เมาเหล้าขับรถให้มีสติอะไรแบบนี้ ไม่มีหรอก เค้าแค่บอกว่า อะไรนะ อย่าใจลอย อย่าลืมตัว จริงๆ คนเราใจลอยตลอดเวลาไม่เห็นหรอก ในโลกนะหาคนมีสตินะหายากจริงๆ จิตหนีไปคิดหรือยัง

โยม : หนีไปคิดแล้วครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอ่อขาดสติแหละ ให้รู้แบบนี้บ่อยๆ นะ ถ้าไปสอนเพื่อนนะ เวลาเพื่อนหนีไปคิดนะ ถ้าเค้ารู้ตรงนี้ได้ เค้าก็จะมีสติขึ้นมา จิตหนีไปคิดแล้วรู้บ่อยๆ จะมีทั้งสติ มีทั้งสมาธิเลย ไปสอนกรรมฐานนะ สอนเบื้องต้นเลยนะ ง่ายที่สุดเลย บอกให้รักษาศีล 5 ไว้ก่อน ถัดจากนั้นนะถ้าจิตหนีไปคิดแล้วคอยรู้ไว้ ตัวนี้จะได้ทั้งสติ จะได้ทั้งสมาธิเลย ถ้าเมื่อไรเค้ารู้ทัน ว่าจิตหนีไปคิดนะ ตรงที่รู้ทันนั้นมีสติ ทันทีที่รู้ทันนะ จิตก็จะตั้งมั่น มีสมาธิขึ้นมา พอจิตเค้าตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้แล้ว ถ้ดจากนั้นก็สอนให้เค้าเดินวิปัสสนาต่อ ให้เค้ารู้กายรู้ใจไป ดูกายดูใจมันทำงาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า
CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๑๓ ถึงนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

mp3 for download : ไมได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

โยม : แต่พอ หลังจาก 2 – 3 วัน ก็ปรากฎว่า มันค่อยๆหายไปแล้ว จนถึงตอนนี้ก็คือ เหมือนทำอะไรไม่เป็นแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็ดีแล้วนี่ ก็ไม่ต้องทำอะไร นะ ก็รู้ตัวไปอย่างนี้แหละ รู้ว่าไม่ได้ทำอะไร รู้ว่าทำอะไร รู้ว่าทำอะไรไม่ได้

แต่สังเกตมั้ย ใจมันโปร่งๆ โล่งๆ ก็รู้ว่ามันโปร่งๆโล่งๆ เพราะมันไม่ได้ทำอะไร เราไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำนะ เราฝึกเพื่อรู้ทันว่าจิตแอบไปทำอะไร ฝึกตรงนี้ต่างหาก ไม่ได้ฝึกทำอะไร แต่ฝึกเพื่อรู้ทันว่าจิตแอบไปทำอะไรอยู่ เช่นจิตแอบไปเพ่ง เรารู้ทัน มันก็เลิกเพ่ง จิตแอบไปคิด เรารู้ทัน มันก็เลิกคิดไป จิตปรุงแต่งขึ้นมา เรารู้ทัน มันก็หมดความปรุงแต่งไป

*หมายเหตุ เมื่อรู้ทัน กระบวนการปรุงแต่งต่างๆก่อนหน้านั้นจะดับไป แต่เมื่อดับไปแล้วก็อาจไปปรุงแต่งอย่างเก่ากลับมาได้ใหม่ ให้ตามรู้ตามดูต่อไปเป็นระยะๆ อย่าไปพยายามทำให้ไม่ปรุงแต่ง อย่าไปพยายามทำให้จิตปรุงแต่งแต่กุศล อย่าไปพยายามห้ามจิตไม่ให้มีกิเลส – ผู้ถอด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

mp3 for download : Mp3 for download 530522_3 times of suffering

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : สังเกตดูเถอะ ตัวที่ทำให้เราทุกข์มากนะ คือความคิดของเราเองนี่เอง คิดไปก่อนแล้วก็กังวลนะ ระหว่างเจอปัญหาก็มัวแต่คิดวุ่นวายว่าทำยังไงจะไม่มีปัญหา ทั้งๆที่ปัญหามีแล้ว แทนที่จะคิดแก้ปัญหา คิดลดความรุนแรงของปัญหา ก็กลายเป็นคิดว่าทำยังไงปัญหาจะไม่มี อยากให้มันไม่มี พอปัญหามันต้องมี ก็ทุกข์สิ พอความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็อาลัยอาวรณ์ คร่ำครวญถึงอดีตที่เสียไปแล้วก็ทุกข์อีก เพราะงั้นความทุกข์เกิดได้สามเวลาเลย สามกาล สามกาละ แต่ทั้งหมดเลยมาจากคิดเอานะ

เรามาฝึกใจง่ายๆเลย ทำยังไงเราจะหลุดออกจากโลกของความคิด เรามาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว ถ้าเราอยู่ในโลกของความรู้สึกตัวได้ เราจะไม่กังวลถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เราจะไม่คร่ำครวญถึงอดีต เราจะมีสติอยู่ในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าท่านยกย่องมากนะ บอกว่าอดีตก็ผ่านไปแล้วนะไม่คร่ำครวญถึง อนาคตยังมาไม่ถึง ให้มีสติ มีสติมีปัญญาอยู่กับปัจจุบัน นี่ท่านยกย่องมากเลย

คนที่มีชีวิตอย่างนี้ คนที่ชีวิตแบบนี้จะไม่ทุกข์หรอก งั้นเราพยายามฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน จิตจะไหลไปคิดเรื่องอดีต รู้ทัน จิตจะกังวลไปถึงอนาคต รู้ทัน รู้ทันจิตอยู่ในปัจจุบันนี้ เรียกว่ามีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องไปรู้ทันอะไรหรอก รู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบันนี่แหละ ถ้าเราไม่รู้ทันจิตในปัจจุบันนะ จิตก็จะหลงไปอดีตมั่ง ไปคร่ำครวญถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว หลงไปอนาคต ไปกังวลถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบัน ความทุกข์จะเข้ามาไม่ได้ อดีตมันก็ไม่มีนี่ เพราะใจไม่หลงไปคิด อดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความคิดล้วนๆเลย อดีตจบไปหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว เหลือแต่ความจำ นึกออกมั้ย อดีตเหลือแต่ความจำไม่ได้มีจริงละ เราไปจำแล้วเราก็เจ็บอกเจ็บใจเสียอกเสียใจ เพราะฉะนั้นใจเราหลงไป คิดถึงอดีต จำได้ แล้วคิดถึง ก็ทุกข์ ใจเรากังวล ปรุงแต่งไปถึงอนาคตก็ทุกข์อีก

พยายามมีสติอยู่กับปัจจุบัน รู้ทันใจของเรา ใจไหลไปอดีตก็รู้ ใจไหลไปอนาคตก็รู้ ใจกำลังคิดวุ่นวายอะไร ลืมกายลืมใจอยู่ในปัจจุบัน เราก็คอยรู้สึก เนี่ยรู้อยู่ในปัจจุบันนะ ความทุกข์จะเข้ามาไม่ได้ ถ้าไม่รู้อยู่ในปัจจุบันมันก็จะหลงไปอดีต ไปอนาคต

ความทุกข์สามกาลนะเราแก้ไปได้สองละ ถ้าเรามีสติอยู่กับปัจจุบันนะ ความทุกข์ในอดีตไม่มีละ ความทุกข์ในอนาคตไม่มีละ เหลืออันเดียว อยู่กับปัจจุบันนะ อยู่กับปัจจุบันมันมีจริง ปัจจุบันมีจริง อดีตอนาคตไม่มี อดีตจบไปแล้วไม่มีแล้ว อนาคตยังไม่เกิด แต่ปัจจุบันมีจริง เพราะงั้นความทุกข์ในปัจจุบันมีจริงๆ ไม่ใช่ความทุกข์ที่คิดเลื่อนๆลอยๆ

อะไรที่เป็นความทุกข์ของปัจจุบัน รูปธรรม นามธรรม กายกับใจเราเนี่ย เป็นตัวทุกข์ในปัจจุบันนี่เอง อย่างคนทุกข์ถึงอดีตใช่มั้ย จริงๆ คือทุกข์ในปัจจุบัน ใช่มั้ย คนกังวลถึงอนาคตก็คือกังวลอยู่ในปัจจุบัน งั้นถ้าเราอยู่กับปัจจุบันนะ เรามีสติ รู้จิตรู้ใจตัวเอง มันจะปรุงความทุกข์ขึ้นมารู้ทันมัน ความทุกข์ทางใจจะหายไป เหลือแต่ความทุกข์ทางร่างกาย เพราะงั้นความทุกข์ในปัจจุบันมีจริงๆ คือรูปธรรมนามธรรมมีจริงๆ ไม่ใช่ฝันๆเอา ไม่ใช่คิดๆเอา ไม่ใช่จำๆเอาแต่มันมีอยู่จริง

เวลามีความทุกข์นะ ไม่ได้ให้หนีทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ทุกข์ อะไรเป็นทุกข์ กายนี้เป็นทุกข์ ใจนี้เป็นทุกข์ งั้นเราคอยรู้ลงในกายรู้ลงในใจบ่อยๆนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕

File: 530522
Track:3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๐๕


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนธรรมะที่เป็นคู่ จึงจะเห็นไตรลักษณ์

mp3 (for download): เรียนธรรมที่เป็นคู่จึงจะเห็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เรียนธรรมะที่เป็นคู่ จึงจะเห็นไตรลักษณ์

เรียนธรรมะที่เป็นคู่ จึงจะเห็นไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้เรามีสติรู้กายรู้ใจไว้นะ รู้สิ่งซึ่งเป็นคู่ๆนี้แหละ สุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง ให้เรียนรู้สิ่งที่เป็นคู่แล้ววันหนึ่งจะเจอสิ่งที่เป็นหนึ่ง

ให้ดูให้ดี อารมณ์ทั้งหลายในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้ายกขึ้นมาให้เราเรียนรู้นั้น เป็นอารมณ์ที่เป็นคู่ทั้งสิ้น เช่น หายใจออกกับหายใจเข้า ใช่มั้ยเป็นคู่ๆเรียนรู้เป็นคู่ๆ ยืนเดินนั่งนอนใช่มั้ย นี่ก็เป็นคู่ หมายถึงว่ามีตัวเทียบเคียง

คำว่าคู่ไม่ใช่แปลว่าสองนะ หมายถึงมีสิ่งที่เทียบเคียงได้ ไม่ใช่มีอันเดียว ยืนเดินนั่งนอนนี่มี ๔ อัน หรือเวทนา มีสุขมีทุกข์มีเฉยๆ มี ๓ อัน หรือจิตมีราคะไม่มีราคะนี้ ๑ คู่ จิตมีโทสะไม่มีโทสะนี้ ๑ คู่ จิตมีโมหะไม่มีโมหะนี่อีกคู่หนึ่ง จิตฟุ้งซ่านกับจิตหดหู่นี้อีกคู่หนึ่ง

ให้เราเรียนธรรมคู่ เรียนเป็นคู่ๆ ทำไมต้องเรียนเป็นคู่ๆ เรียนสิ่งซึ่งเป็นคู่เพื่อจะได้เห็นว่า แต่ละอันๆนั้นไม่เที่ยง แต่ละอันๆทนอยู่ไม่ได้นาน แต่ละอันๆบังคับไม่ได้ เรียนเพื่อให้เห็นตรงนี้นะ เช่นเราเห็นว่าความสุขก็ไม่เที่ยงความทุกข์ก็ไม่เที่ยงเฉยๆก็ไม่เที่ยง อะไรก็ไม่เที่ยง เลือกก็ไม่ได้ด้วยว่าจะสุขหรือจะทุกข์หรือจะเฉยๆ

หรือยืนเดินนั่งนอนเห็นมั้ยมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆบังคับมันไม่ได้หรอก ขืนอยู่นั่งอยู่อิริยาบถเดียวนานๆนะ ความทุกข์บีบคั้น ร่างกายจะถูกความทุกข์บีบคั้นมาก ทนไม่ไหว ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ

หายใจออกแล้วก็อยู่นิ่งไม่ได้ใช่มั้ย หายใจออกตลอดเวลาไม่ได้ ต้องสลับด้วยหายใจเข้า เพราะอะไร เพราะความทุกข์มันบีบคั้น เนี่ยให้รู้อย่างนี้นะ

เห็นมั้ยความโกรธเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง เกิดแล้วก็หายโกรธ ไม่มีใครโกรธได้เป็นชั่วโมงนะ ไม่มี ไม่มีใครโกรธได้(นาน-ผู้ถอด)แม้แต่นาทีเดียว ความจริงความโกรธเกิดแล้วก็ดับๆ แต่มันต่อเนื่องซ้ำๆซ้ำๆ เราเลยรู้สึกว่าเราโกรธได้เป็นวันๆ แต่ถ้าเราสติดีเราจะเห็นมันเกิดดับๆอยู่ตลอดเวลา เนี่ยเรียน ๑ คู่ เพื่อจะได้เห็นความเกิดดับนั่นเอง

แต่ถ้าเรียนธรรมเดี่ยวก็จะไม่มีการเกิดดับ เพราะนิพพานไม่มีเกิดดับ นิพพานเที่ยง นิพพานไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีอะไรเสียดแทง ไม่มีอะไรบีบคั้น เพราะฉะนั้นให้เราเรียนสิ่งซึ่งเป็นคู่ๆนี้เอง ก็คืออารมณ์ทั้งหลายในสติปัฏฐาน รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย คอยรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดจะเห็นว่าสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ถ้าเห็นอย่างนี้ได้ก็ได้เป็นพระโสดาบัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510308
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราต้องอยู่ให้ได้ในทุกสถานการณ์

mp3 (for download): เราต้องอยู่ได้ในทุกสถานการณ์

เราต้องอยู่ให้ได้ในทุกสถานการณ์

เราต้องอยู่ให้ได้ในทุกสถานการณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มืดมาเหรอ มืดก็รู้ เวลาเราป่วยไข้ สมมุติว่าเราป่วยหนัก โคม่าแล้วนะ แหมจะให้จิตประภัสสรเหรอ บางทีมันไม่เป็นน่ะ เจ็บมากเลย ทุรนทุรายเลย รู้มันด้วยความเป็นกลางเลย เห็นร่างกายทุรนทุราย จิตรู้ด้วยความเป็นกลาง ตายอย่างนี้ไม่เสียประโยชน์เลย

เพราะฉะนั้นเราต้องอยู่ให้ได้ในทุกๆสถานการณ์ ทุกปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์ทางบวกเราก็เป็นกลาง ปรากฏการณ์ทางลบเราก็เป็นกลาง ถ้ามันไม่เป็นกลางขึ้นมาให้รู้ทัน รู้ทันนะมันจะเป็นกลางของมันเอง ตัวนี้สำคัญนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี เพราะดีไม่เที่ยง ไม่ใช่ฝึกเอาสุขนะ เพราะสุขมันไม่เที่ยง

แต่ถ้าฝึกแล้วนะ สุดขีดแล้วนะ มันดีนะ มันสุขนะ มันสงบนะ สงบนะโลกจะแตกมันก็ยังสงบอยู่อย่างนั้นนะ เพราะโลกมันกระเทือนเข้ามาไม่ถึงจิต ใครจะทุกข์อย่างไรนะ ธาตุขันธ์จะแตกจะดับ จะทุกข์ขนาดไหน จิตก็มีความสุขอยู่อย่างนั้นน่ะ เพราะว่าสิ่งต่างๆกระทบเข้ามาไม่ถึงจิต จิตที่ฝึกดีแล้วจึงนำความสุขมาให้ แต่ไม่ใช่สุขอย่างที่พวกเราสัมผัส เป็นความสุขที่พ้นจากความปรุงแต่ง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๐๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิต คือ รู้ทันปฏิกริยาของจิตต่อทุกๆสถานการณ์ โดยเห็นความเปลี่ยนแปลง

mp3 (for download): ดูจิต คือ รู้ทันปฏิกริยาของจิตต่อทุกๆสถานการณ์ โดยเห็นความเปลี่ยนแปลง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูจิต คือ รู้ทันปฏิกริยาของจิตต่อทุกๆสถานการณ์ โดยเห็นความเปลี่ยนแปลง

ดูจิต คือ รู้ทันปฏิกริยาของจิตต่อทุกๆสถานการณ์ โดยเห็นความเปลี่ยนแปลง

โยม : ภาวนาแล้วรู้สึกว่าใจมันไม่แช่มชื่นน่ะเจ้าค่ะ ใจแห้งๆ แล้วเหมือนจงใจภาวนาเจ้าค่ะ ทีนี้พอจะไม่ภาวนามันก็หลงไป..

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ได้ ต้องภาวนาไว้ก่อนนะ ไม่แช่มชื่นก็รู้ทันเอา ทำไมภาวนาแล้วไม่แช่มชื่น อันหนึ่งเราอยากนะ บางทีเราอยาก เราอยากให้มันดี อยากรู้ตลอดเวลา อะไรอย่างนี้ ไม่แช่มชื่น มีบางทีเกิดปัญญาก็ไม่แช่มชื่นนะ จะมีอยู่ช่วงหนึ่งของการภาวนา เห็นแต่ทุกข์ ไม่แช่มชื่น มีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ก็อดทนเอา อย่าให้ความทุกข์นั้นครอบงำจิต

จุดสำคัญไม่ใช่ภาวนาแล้วมีความรู้สึกอย่างไร จุดสำคัญมันอยู่ที่ว่าภาวนาแล้วนะ จิตมีปฏิกริยาอย่างไรต่อความรู้สึก เพราะฉะนั้นเมื่อภาวนาแล้วจิตไม่แช่มชื่น รู้ว่าจิตไม่แช่มชื่น อยากแช่มชื่นรู้ว่าอยาก รู้ทันปฏิกริยาของจิตต่อทุกๆสถานการณ์ เนี่ยถึงจะเรียกว่าดูจิตเป็นนะ

ถ้าจิตไม่แช่มชื่น หาทางทำให้แช่มชื่น ไม่ใช่วิปัสสนาแล้ว ต้องไปทำสมถะ สมถะเนี่ยจิตไม่ดีทำให้ดี จิตไม่สุขทำให้สุข จิตไม่สงบทำให้สงบ วิปัสสนานะก็รู้ทันจิตใจของตนเองไว้ในทุกๆสถานการณ์ โดยเห็นความเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นบางครั้งภาวนามืดเลย มืดไปหมดเลย เราไม่ต้องตกใจว่าวันนี้ภาวนาแล้วไม่สว่าง มืดกับสว่างนั้นเท่าเทียมกัน พอสว่างขึ้นมาจิตก็หลงยินดี พอมืดจิตก็หลงยินร้าย ก็หลงเท่าๆกัน เพราะฉะนั้นเราอย่าให้มันครอบงำจิตได้ จิตไม่แช่มชื่น รู้ทัน ไม่งั้นความรู้สึก(ไม่แช่มชื่น-ผู้ถอด)มันครอบงำ

ต่อไปเราจะเป็นอิสระ จากทุกสิ่งทุกอย่าง มันมืดเราก็มีความสุขอยู่ท่ามกลางความมืด มันสว่างเราก็มีความสุขอยู่ท่ามกลางความสว่าง เวลาได้โลกธรรมมา ได้ลาภได้ยศได้สรรเสริญได้ความสุขมา เราก็มีความสุขมีความสงบอยู่ท่ามกลางลาภยศสรรเสริญสุข มีความเสื่อมลาภเสื่อมยศนินทาทุกข์เกิดขึ้น เราก็เป็นกลางมีความสุขท่ามกลางความเสื่อมลาภเสื่อมยศ ท่ามกลางการนินทา ท่ามกลางทุกข์นั้นเอง

อยู่กับโลก ด้วยความเป็นกลาง เราฝึกจนกระทั่งจิตเราเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าโลกนี้ต้องดี ไม่ใช่ว่าเราต้องสัมผัสแต่อารมณ์ที่ดี อารมณ์เลวๆก็สอนธรรมะเราเท่าๆกันแหละ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๐๙ ถึงนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อสงสัยว่ารู้จริงๆหรือคิดไปเอง

mp3 (for download): เมื่อสงสัยว่ารู้จริงๆหรือคิดไปเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เมื่อสงสัยว่ารู้จริงๆหรือคิดไปเอง

เมื่อสงสัยว่ารู้จริงๆหรือคิดไปเอง

โยม : แล้วอย่างเวลาที่เราปฏิบัติไปเนี่ยค่ะ เวลาที่เกิดสภาวธรรมเกิดขึ้นเนี่ย เราจะทราบได้อย่างไรว่าสภาวธรรมอันนั้นเกิดเพราะเรารู้ หรือว่าเพราะเราคิดไปเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : โอ้.. ถ้าอย่างนั้นให้รู้ทันว่ากำลังสงสัยนะ ลงปัจจุบันเลย ไม่ต้องสนใจหรอก มันง่ายกว่าที่นึก มันง่ายนะ

อย่างใจมันโกรธขึ้นมาเนี่ย โกรธก็โกรธ เราก็เห็น ความโกรธมันผุดขึ้นมา เราจะต้องมานั่งนึกว่านี่คิดเอาเองว่าโกรธหรือว่าโกรธจริงๆเนี่ย ไม่ต้อง ไม่ต้องคิดเยอะ มันรู้เอง ภาวนาแบบเด็กๆน่ะ นะ เด็กมันซื่อๆนะ ไม่คิดมาก ไม่ซับซ้อน การภาวนาต้องแบบนั้นนะ เรียนไปซื่อๆ ไม่ซับซ้อนหรอก ของง่ายๆทั้งนั้นเลยนะ ง่าย ไม่ยากหรอก

โยม : อย่างบางคนน่ะค่ะ แบบภาวนาไปแล้วอาจจะเห็น ตัวเป็นท่อน อะไรอย่างนี้ค่ะ แล้วก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่าเรารู้จริงๆ เหมือนกับแยกธาตุแยกขันธ์ได้จริงๆ หรือว่ามันเป็นเราที่คิดเองว่า ตัวไม่ใช่เราๆ อะไรอย่างนี้เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนที่เห็นเป็นท่อนๆได้นี่นะ ตอนนั้นไม่ได้คิดหรอก อาจจะคิดไว้ก่อน แต่ตอนที่มันรู้สึกขึ้นมาเนี่ย รู้สึกขึ้นมาเนี่ย ตอนนั้นไม่ได้คิด มันจะรู้สึกเอา ว่าเป็นท่อนๆ แต่ถ้าเกิดเห็นเป็นท่อนๆแล้วมันสงสัยว่า เอ๊..คิดไปหรือเปล่า หรือว่าเห็นจริงๆ เราก็รู้ลงปัจจุบัน ท่อนๆเป็นอดีตไปแล้วโยนมันทิ้งไปเลย ดูลงปัจจุบัน ปัจจุบันก็คือ กำลังสงสัยอยู่ นะ เราเอาปัจจุบันนะ การไปใคร่ครวญอันนั้นจะเป็นอดีตไป ปล่อยมันไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๗ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

mp3 for download : อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาที่เราจะดูจิตดูใจ เราอย่าไปดักจ้องไว้ก่อน บางคนไปจ้องรอดูว่าเมื่อไหร่จิตจะมีปฎิกริยาอะไรขึ้นมา ถ้าเราไปจ้องไว้ จิตจะนิ่งๆ ทื่อๆ ไม่มีอะไรให้ดูเลย

เพราะฉะนั้นการดูจิตที่ดี ปล่อยให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้เอา มันโกรธขึ้นมา อ้อ มันโกรธขึ้นมาแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย มันโกรธขึ้นมาแล้วเรารู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมา มันอยากแล้ว มันเห็นสาวมันอยากจีบเค้าเนี่ย รู้ว่ามันอยากแล้ว นี่ความอยากเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าอยาก ความโกรธเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ใจลอยไปก่อนแล้วรู้ว่าใจลอย ฟุ้งซ่านไปก่อนแล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน หดหู่ไปก่อนแล้วรู้ว่าหดหู่ ให้ความรู้สึกมันเกิดขึ้นก่อน อย่าไปดักดู ถ้าเราดักดูละก็จะไม่มีอะไรให้ดู ทุกอย่างมันจะนิ่งไปหมด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: แสดงธรรมนอกสถานที่สนามบินสุวรรณภูมิ
File: 530111
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องเห็นไตรลักษณ์ครบทุกมุมหรือไม่ ?

mp3 (for download): ต้องเห็นไตรลักษณ์ครบทุกมุมหรือไม่ ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องเห็นไตรลักษณ์ครบทุกมุมหรือไม่ ?

ต้องเห็นไตรลักษณ์ครบทุกมุมหรือไม่ ?

โยม : เวลาเราฟุ้งซ่านนะคะ พอเรารู้ขึ้นมา จิตที่ฟุ้งซ่านดับไป จิตที่รู้เกิดขึ้นมา แสดงว่าเราเห็นไตรลักษณ์แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ๆ

โยม : การเห็นไตรลักษณ์นี้จะต้องเห็นพร้อมกันทั้ง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มั้ยเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ต้องนะ เห็นอันเดียวก็พอแล้ว ยกตัวอย่างเวลาจะบรรลุพระอรหันต์นะ เห็นอันเดียว เห็นอันเดียว บางท่านก็เห็นในมุมของอนิจจังจิตก็ปล่อยวาง บางท่านเห็นมุมของทุกขังจิตก็ปล่อยวาง บางท่านเห็นมุมของอนัตตาจิตก็ปล่อยวาง ไม่เหมือนกันหรอก

แต่เวลาที่เราปฏิบัติเราจะไม่เลือกมุม อันนี้สำคัญนะ เราดูของจริงลงไปเลย มันจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นมุมไหนก็ช่างมันเถอะ เราอย่าไปเลือก ไม่ใช่ฉันจะดูแต่อนิจจัง หรือฉันจะดูแต่อนัตตา อันนั้นไม่ได้ ของปลอม แต่เวลาที่จิตจะแจ้ง จิตจะแจ้งมุมเดียว จิตจะแจ้งของเขาเอง เราไม่ได้เลือก เราก็มีหน้าที่แค่ดู เห็นทุกอย่างมาแล้วก็ไป ทุกอย่างมาแล้วไป เราดูแค่นี้เอง ส่วนความเข้าใจว่าเขาจะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเขาเข้าใจของเขาเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๖๐ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๖๑ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

mp3 for download : จิตมีหน้าที่ปรุงแต่ง เราไม่ห้าม เพียงแค่ดูเขาปรุง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อครับ มาครั้งแรกครับผม

หลวงพ่อปราโมทย์ : กล้าหาญนะ กล้าหาญมากเลย มาครั้งแรกมานั่งหน้า

โยม : ก็รู้สึกว่ายังมี รู้สึกเพ่งๆอยู่น่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถูกต้อง

โยม : ทีนี้..ก็ไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้รู้ไปนะ เพ่งอยู่รู้ว่าเพ่ง จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกุศล-อกุศลคอยรู้ จิตใจทำงานอะไรคอยรู้ไปเรื่อยๆ การทำงานของจิตก็คือการสร้างภพ หรือความปรุงแต่ง หรือที่เรียกว่าสังขารนั่นเอง เขาปรุงไปเรื่อยๆเขาก็ทุกข์ขึ้นมาแหละ ให้เราเรียนรู้ไป อย่าไปเกลียดเขา เขาต้องปรุงนะ หน้าที่ของเขา เขาต้องปรุง ให้เราคอยรู้คอยเห็นไปอย่างที่เขาเป็นเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่งใจมันปิ๊งขึ้นมาว่าทั้งหมดนี้ไม่มีเราเลย มีกระบวนการปรุงแต่ง มีกระบวนการทำงานของจิต แต่ไม่มีเรา ขันธุ์ ๕ ก็ทำงานของมันไป มีปรากฏการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ทั้งหมดไม่มีตัวเรา ดูอย่างนี้เรื่อยๆ เดี๋ยวมันเห็นเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510414A
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๒ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สภาวะหยาบหรือละเอียด ก็แสดงไตรลักษณ์

mp3 for download : ไม่ต้องเห็นสภาวะละเอียด สภาวะหยาบก็แสดงไตรลักษณ์เหมือนกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สภาวะหยาบหรือละเอียด ก็แสดงไตรลักษณ์

สภาวะหยาบหรือละเอียด ก็แสดงไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : อยู่ที่สติปัญญานะ ค่อยฝึกค่อยรู้ค่อยดูของเราไป ในที่สุดใจก็สักว่ารู้สักว่าเห็นแท้ๆเลย จิตจะขยับไปก็เห็น จิตจะทรงอยู่ก็เห็น เห็นแต่เรื่องบังคับไม่ได้ อันนี้สำหรับพวกปฏิบัติละเอียดนะ

บางคนไม่ต้องละเอียด บางคนแค่เห็นว่าเดี๋ยวจิตก็สุขเดี๋ยวจิตก็ทุกข์เดี๋ยวจิตก็เฉยๆเห็นแค่นี้ก็ได้ บางคนเห็นว่าเดี๋ยวจิตก็โกรธเดี๋ยวจิตก็ไม่โกรธ บางคนเห็นว่าเดี๋ยวจิตก็เผลอเดี๋ยวจิตก็ไม่เผลอ เห็นแค่นี้ก็ได้ ไม่ต้องละเอียดก็ได้

การเห็นละเอียดเนี่ยเหมาะสำหรับคนบางคน เนื่องจากมีจริตนิสัยละเอียด จะเห็นแต่สภาวธรรมล้วนๆเลย จะว่าดูจิตมันก็ไม่เชิงนะ มันเหมือนๆเห็นสภาวธรรมล้วนๆเลย ไม่รู้ว่าคืออะไรหรอก เห็นแต่สภาวธรรมบางอย่างไหววับ ดับวับ ดับไป ไม่รู้ว่าคืออะไร

แต่ไม่จำเป็นต้องละเอียด เพราะฉะนั้นไม่ต้องพยายามทำให้ละเอียด รู้ได้หยาบๆก็รู้หยาบๆไป หลวงพ่อตอนหัดแรกๆก็ไม่ได้ดูละเอียด แค่เห็นว่าจิตนั้นมันไหลเข้าไปแช่ไปรวมกับอารมณ์บ้าง จิตมันแยกออกจากอารมณ์บ้าง เห็นขันธ์กระจายตัวออกไปบ้าง ขันธ์รวมกันมาเป็นตัวเราบ้าง เห็นกิเลสหยาบๆ โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ สงสัย เห็นแต่ของหยาบๆก็ดูของหยาบๆไป ไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้ละเอียด ของหยาบหรือของละเอียดแสดงไตรลักษณ์เท่าๆกัน แล้วแต่จริตนิสัย

แต่บางคนดูของหยาบแล้วไม่สะใจ สติปัญญามันมากไป ดูของหยาบแล้วมันไม่พอ ก็ดูของที่ละเอียดขึ้น แต่ว่าไม่ว่าสภาวะที่หยาบหรือละเอียด สภาวะภายในหรือภายนอกนะ สภาวะที่ใกล้ที่ไกล สภาวะทั้งหลายทั้งปวง เกิดแล้วดับ เห็นแค่ว่าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ นี่ภาวนาเอาตรงนี้เอง เอาแค่นี้ล่ะ เห็นว่าสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับไป สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับไป ซ้ำแล้วซ้ำอีก ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี บางคน ๓ เดือนก็มีนะ แต่ ๓ เดือนหมายถึงดูเป็นแล้ว ดูเป็นแล้วดูลูกเดียวเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510414A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๕ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพราะมีตัวกู จึงมีกิเลสอีกนานาชนิด

mp3 for download : เพราะมีตัวกู จึงมีกิเลสอีกนานาชนิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพราะมีตัวกู จึงมีกิเลสอีกนานาชนิด

เพราะมีตัวกู จึงมีกิเลสอีกนานาชนิด

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงปู่เทสก์บางทีท่านก็เล่านิทานก็มีเหมือนกันนะ เคยฟังท่านเล่าเรื่องลิงติดตัง บอกว่าคนโบราณเวลาจะจับลิง เขาจะเอามะพร้าวมาลูกหนึ่งแล้วเฉาะให้มันมีรู เฉาะแล้วก็ตั้งไว้โคนต้นไม้ เจาะรู แล้วลิงนี่นะ พอมาเจอมะพร้าวมันจะเอามือแหย่เข้าไปในลูกมะพร้าว แล้วก็ไปควักเนื้อมะพร้าว จะเอามากิน มันควักเนื้อมะพร้าวปุ๊บ มือมันก็จะกำใช่มั้ย มือมันโต ตอนมันเอามือใส่เข้าไปในรู มือมันอย่างนี้ไง เสร็จแล้วมือมันโตอย่างนี้ ท่านบอกว่ามันจะสะบัด มันไปไหนไม่ได้แล้ว มันจะต้องถูกเขาจับไปฆ่ากิน ท่านบอกว่าเนี่ยเรียกว่าลิงติดตัง ที่จริงง่ายนิดเดียวนะ แค่ปล่อยมือซะ ก็หลุดแล้ว

การภาวนาก็เหมือนกันนะ ที่เราดิ้นขล่อกแขล่กๆ ดิ้นไม่หลุดเนี่ยเพราะเราไม่ปล่อยต่างหาก รู้สึกมั้ยว่ารากเหง้าของมันจริงๆคือตัวกู ตัวกู ตัวกูนี่แหละ มีตัวกูอันเดียวนี่นะ จิตจะพลิกแพลงออกไปสารพัดเลย เป็นกิเลสนานาชนิดเลย ยกตัวอย่างบางคนมีตัวกูแล้วก็มีมานะอัตตา กูเก่งๆ มีตัวกูแล้วก็กูเก่ง บางคนมีตัวกูแล้วก็มีตัวมึงด้วย กูดีมึงมันเลว กูถูกมึงมันผิด อีกพวกหนึ่งดูเหมือนดีนะ มีตัวกูเหมือนกันนะแต่ทำยังไงกูจะดี ไม่ชอบเลยนะถ้าตัวเองคิดไม่ดีซักนิดเดียวก็ไม่ได้นะ รู้สึกทนไม่ได้เลยที่ตัวเองชั่ว นี่ก็ตัวกูอีกนั่นแหละ รักดีเพราะว่ากูจะได้ดี เพราะฉะนั้นรากเหง้าของกิเลสนานาชนิดนะ เจาะลึกลงไปถึงที่สุดก็คือ มันรู้สึกว่ามีตัวกูอยู่ มีตัวเราอยู่ อาจารย์พุทธทาสเก่งนะ เจาะลงมาตรงนี้เลย

อยู่ที่เราต้องรู้สึกขึ้นมา รู้ลงมาๆ รู้ลงมาในกายในใจ วันหนึ่งเห็นเลยกายใจไม่ใช่ตัวเราหรอก กายนี้เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ เป็นเครื่องอาศัยอยู่ในโลกเท่านั้นเอง เป็นการยืมของโลกมาใช้ จิตใจก็เป็นธาตุอย่างหนึ่งนะ เรียกว่าธาตุรู้ เกิดดับเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ของยืมเขามาใช้ทั้งหมดเลย ตัวเราไม่มีหรอกในกายในใจนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๐๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐

CD: ๑๗
File: 500115
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๖ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

mp3 (for download): จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

โยม : แล้วอย่างเราภาวนาไปนะคะ แล้วจิตมันนิ่งๆอย่างนี้ค่ะ ถือว่าเป็นจิตตั้งมั่นใช่มั้ยเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตนิ่งๆไม่ใช่จิตตั้งมั่นนะ ต้องไม่นิ่งที่อๆนะ ถ้ามันตั้งมั่นเนี่ย จิตจะไม่ว่อกแว่กหลงไปอยู่ในโลกของความคิดเท่านั้นแหละ เราไม่ได้ไปบังคับให้มันนิ่งนะ แต่ว่ามันก็นิ่งเหมือนกัน แต่มันนิ่งแบบรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ สบาย ไม่นิ่งทือๆแข็งๆนะ ไม่นิ่งแบบว่างๆไม่รู้เนื้อรู้ตัว ไม่นิ่งแบบจิตเข้าไปรวมกับความว่างข้างนอก มันนิ่งอยู่ด้วยความรู้สึกตัวอยู่

จิตที่ตั้งมั่นรู้เนื้อรู้ตัวเนี่ย ต้องสังเกตเอาตอนที่จิตหนีไปคิด ถ้าเรารู้ทันจิตที่หนีไปคิด จิตรู้จะเกิดขึ้น จิตรู้นั้นแหละเป็นจิตที่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิดนะ ตัวรู้(จิตผู้รู้ – ผู้ถอด)จะเกิดมันจะตั้ง จะตั้งได้พอดีไม่แข็งเกินไปไม่อ่อนเกินไป อ่อนเกินไปก็ขาดสติไหลหลงๆไป แข็งเกินไปก็ทื่อๆอยู่ ไม่เดินปัญญา ก็ตั้งพอดีๆ แค่ไหนพอดี ถ้าหนีไปคิดแล้วรู้ว่าหนีไปคิดนั้นพอดีเลย ถ้าจงใจจะให้ตั้งอยู่ อันนี้จะตึงเกินไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๕๕ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 4 of 12« First...23456...10...Last »