Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ปฎิบัติหรือไม่ปฎิบัติ ดูว่ามีสติหรือขาดสติ

มีสติ หรือขาดสติ

มีสติ หรือขาดสติ

mp3 (for download): ปฎิบัติหรือไม่ปฎิบัติ ดูว่ามีสติหรือขาดสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

คือ “การปฏิบัติ” ไม่ใช่แปลว่า เราต้องไปนั่งลูกเดียว เดินลูกเดียว นะ  ทีนี้บางคนไม่ได้นั่งไม่ได้เดิน บอกว่าไม่ได้ปฏิบัติ  ตอบอย่างนั้นไม่ใช่  อยู่ที่ว่าสติของเราเกิดไหม

ถ้าเราไม่ได้นั่งสมาธิ ไม่ได้เดินจงกรม แ่ต่สติเกิดเร็ว  อย่างเช่น กิเลสไหลมาแว๊บ เรามองเห็นละ อย่างนี้ก็ถือว่าเราปฏิบัติอยู่

อย่างเรานั่งสมาธิแล้วเราก็เคลิ้มอยู่เรื่อยๆนะ  อย่างนั้นไม่เรียกว่าปฏิบัติอยู่ เรียกว่าหลงอยู่

หรือเดินจงกรมแล้วก็เคร่งเครียดอยู่ ก็ไม่เรียกว่าปฏิบัติอยู่ เรียกว่ากำลังทรมานอยู่

ฉะนั้นคำว่า “ปฏิบัติ” หรือ “ไม่ปฏิบัติ”  ไม่ได้อยู่ที่อาการหรอก มันอยู่ที่สภาวะของจิตใจเรา  “มีสติ” หรือ “ไม่มีสติ”

หลวงปู่มั่นถึงสอนบอก “มีสติคือมีความเพียร  ขาดสติคือขาดความเพียร” ฉะนั้นสติสำคัญมาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ ต.หนองตากยา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๑๐
ลำดับที่ ๘
File 481022B
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑๑ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๐๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

mp 3 (for download) : การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
Track: ๑๑
File: 510202.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๐ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูกาย

ดูกาย

ดูกาย

mp 3 (for download) : การดูกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ฝึกมาแบบไหน

โยม: ดูกายค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูกายต้องมีใจที่ตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าดูนะ ใจต้องอยู่ต่างหากเป็นแค่คนดู ที่ฝึกอยู่พอใช้ได้แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว ตะกี้ใช้ได้ นี่ตรงนี้ใช้ได้

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าไปเพ่งนะ อย่าไปเพ่งกายให้ทื่อๆ ขึ้นมา ให้เราแค่เห็นร่างกายมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนดูกาย นี่หลวงพ่อพูดเหมาๆ นะ วันนี้มีเวลาครึ่งชั่วโมงเอง คนไหนดูกายนี่ให้เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นแค่คนดูร่างกายทำงาน อย่าเหลือแต่กายอันเดียว หลายคนภาวนาผิดนะ ไปรู้ลมหายใจ เหลือแต่ลมหายใจไม่มีความรู้สึกตัว จิตจมลงไปในลม บางคนดูท้องพองยุบนะ เหลือแต่ท้อง จิตไปเพ่งอยู่ที่ท้อง มันต้องมีจิตอยู่ต่างหาก

การแยกกายแยกใจนี่เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ’ ก่อนที่จะขึ้นวิปัสสนานี่ ญาณที่หนึ่งต้องมีนามรูปปริเฉทญาณ แยกรูปกับนามออกจากกันให้ได้ก่อน รูปธรรมอยู่ส่วนหนึ่งนะ นามธรรมเป็นคนดู เพราะฉะนั้นเราเห็นร่างกายที่เดินที่ยืนที่นั่งที่นอนนี่ไม่ใช่ตัวเรา มันจะเห็นทันทีเลย เพราะใจจะเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

เพราะฉะนั้นต้องพยายามนะ คนไหนที่หัดรู้กาย เวลาที่รู้ลมหายใจอย่างนี้อย่าให้จิตไหลไปจมอยู่ที่ลมหายใจ ให้จิตอยู่ต่างหาก จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายนี้หายใจไป จิตเป็นแค่คนดู บางคนดูท้องพองยุบก็ให้ร่างกายมันพองยุบไป จิตเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนเดินจงกรมก็เห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นคนดูอยู่ อย่าไปเพ่งใส่เท้านะ ถ้าไปเพ่งเท้าจนไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิต จิตไปรวมอยู่ที่เท้าเป็นสมถะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ที่ทำนะได้แค่สมถะ จิตถลำลงไป จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธินี่แหละเป็นของสำคัญมาก ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่สักว่าเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นี่ จิตจะถลำลงไป ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ มันจะไม่สามารถเห็นอารมณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง จิตมันจะไปแช่นิ่งๆ ซื่อบื้ออยู่กับอารมณ์ อย่างนั้นไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ

เพราะฉะนั้น คนไหนดูกายนะ รู้ไป ร่างกายเคลื่อนไหว ใจเราเป็นคนดูอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็จะเห็นเลย ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวของมันไปเรื่อย จิตใจมันก็ทำงานของมันไปเรื่อย บังคับไม่ได้สักอันเดียวทั้งกายทั้งใจ

ทำวิปัสสนาไม่ใช่รู้กายอันเดียวหรือรู้จิตอันเดียว ทำวิปัสสนาจริงๆ ไม่เหมือนสมถะ สมถะรู้อันเดียว ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่วิปัสสนานี่บางครั้งสติรู้กาย บางครั้งสติรู้จิต เลือกไม่ได้ เพราะสติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต เมื่อรู้กายเราก็ให้เห็นความจริงของกายนะ จิตเป็นแค่คนดูอยู่ เห็นความจริงร่างกายเป็นแค่วัตถุธาตุเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเราหรอก จะเห็นทันทีว่าไม่ใช่เรา แต่ถ้าเราไปเพ่งท้องพองยุบไปเรื่อยๆ มันจะไม่เห็นว่าไม่เป็นเรา มันจะสงบไปเฉยๆ เพราะฉะนั้นใจจะต้องตั้งมั่นเป็นแค่คนดูอยู่

 

 

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
Track: ๖
File:
500509.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

mp 3 (for download) : ภาวนาใหเหมือนเป็นคนวงนอก

mp3 for download:

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: คือเมื่อสองสามวันก่อนมันฟุ้งซ่านมากเลยค่ะ หลวงพ่อ แล้วพอมันรู้สึกว่าแก้ปัญหาจบนี่ หมดหน้าที่นี่ มันกลับมาเบิกบานเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นน่ะค่ะ แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นการกดอยู่หรือเปล่าน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่ได้กดนะ ไม่ได้กด คือใจของเรานี่มันยังไม่ได้พ้นจากความยึดถือ เพราะฉะนั้นเวลาทำงานมันก็เข้าไปคลุกวงใน อดเข้าไปคลุกไม่ได้หรอก เวลาตะลุมบอนนี่ห้ามมันก็ไม่ได้ แต่พอหมดภาระแล้วใจที่เคยฝึกไว้ดีแล้วก็ถอยออกมา รู้สึกไหมถอยออกมาอยู่วงนอก ไม่เข้าไปคลุกวงใน

โยม: ค่ะ รู้สึกเหมือนมันเป็นเรื่องของคนอื่นแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์: มันเป็นเรื่องคนอื่น เวลาเราเข้าไปคลุกวงในก็ไปตะลุมบอน ทีนี้ทั้งหมัด ทั้งเท้า ทั้งศอก ทั้งเข่านะ ตะลุมบอนเข้าไป พอไปตีกับเขาเสร็จ ถอยออกมานะ ผ่านไป ไม่รู้ไปตีกับเขาทำไม มันเหมือนเรื่องของคนอื่นทั้งหมดเลย อันนี้กระทั่งความรู้สึกทั่วๆ ไปก็จะรู้สึกนะ เวลาพวกเด็กๆ น่ะ บางคนอกหัก บางคนมีปัญหาชีวิตอะไรอย่างนี้ บางคนกลุ้มใจแฟนเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันเหมือนเผชิญอยู่กับปัญหา เหมือนคลุกวงในอยู่ มองปัญหาไม่ออก หาทางออกไม่ได้ พวก advisor เขาเรียกว่าอะไร พวก consultant พวกนี้เลยหากินได้ พวกนี้ไม่ได้คลุกวงใน

แต่พอเราออกห่างจากปัญหามา ปัญหามันผ่านไปแล้วนะ เราจะดูๆ มันเหมือนเรื่องของคนอื่นทั้งหมดเลย พอผ่านไปแล้วก็เหมือนเรื่องของคนอื่น ปัญหาที่เคยยิ่งใหญ่ไม่ยิ่งใหญ่อีกต่อไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตผ่านไปหมด แต่ถ้าเราเคยฝึกภาวนา ทุกอย่างในชีวิตเราผ่านไปหมดแล้วนะ เราก็เหลือแต่ความสุขความสงบของเราอยู่ แต่คนที่ไม่มีการภาวนาพอหมดเรื่องนี้มันก็จะดิ้นหาเรื่องอื่นไปอีก เขาเรียกว่าแส่หาเรื่อง สังเกตไหม ใครยอมรับไหมว่ามีนิสัยแส่หาเรื่อง ใครไม่เป็นลองยกมือ มีไหมใครไม่เป็น ไม่มี

จิตใจของเรานี่แส่ทั้งวัน มันเลยมีศัพท์คำหนึ่ง คำว่า “ส่ายแส่” รู้สึกมั้ย ส่ายไปแล้วก็แส่หาเรื่อง ส่ายไปแล้วก็แส่หาเรื่อง จิตมีธรรมชาติส่ายแส่ ส่ายไปส่ายมา ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรผลักให้ส่าย ตัณหาผลักให้ส่าย ส่ายไปแล้วก็ไปแส่ หาเรื่องมาใส่ตัวเอง วิ่งไปทางตาก็วิ่งไปเอาความทุกข์มาใส่ตัวเอง วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งไปคิดไปนึกนะ ก็วิ่งไปเอาความทุกข์มาใส่ตัวเองล้วนๆเลย

ตอนตะลุมบอนมองไม่ออกนะ คนวงนอกมองออก ทีนี้ทำอย่างไรเราจะสามารถฝึกจนเกิดคนวงนอกอยู่ในนี้ การเจริญสติปัฏฐานจะทำให้เรากลายเป็นคนวงนอกสำหรับกายนี้และใจนี้ เราจะมาอยู่วงนอกนะ เราจะเห็นกายเห็นใจมันทำงานไป เราไม่เกี่ยวหรอก เราเห็นมันทำงานไปเรื่อยๆเลย เพราะฉะนั้นมันจะทำผิด ทำถูก ทำดี ทำไม่ดี มันเห็นได้ชัดเพราะเราไม่ได้คลุกวงใน ถ้าคลุกวงในแล้วมันเกิดอคติขึ้นมา

โยม: หลวงพ่อคะ แล้วในกรณีที่เรารู้สึกว่า ถ้าเราไม่ไปคลุก มันเหมือนกับเราละเลยหน้าที่อะไรบางอย่าง

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ กิเลสมันหลอก เราสามารถทำหน้าที่โดยไม่คลุกวงในได้ เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหา เราต้องแก้ปัญหาด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เราจะมองปัญหาได้ชัด ที่นี้กิเลสมันจะหลอกให้ต้องทุ่มให้สุดเนื้อสุดตัว กระโดดเข้าไปคลุกวงใน แก้ปัญหาได้ไม่ดี เพราะมองอะไรก็ไม่ชัด มองอย่างคนนอก จะมองง่าย แก้ปัญหาง่าย เพราะฉะนั้นพวกที่ปรึกษาเลยหากินง่ายนะ ไม่ได้ฉลาดกว่าเรานะ ที่พวกเราต้องจ้างบริษัทฯที่ปรึกษามาทำโน่นทำนี่ พวกนี้ไม่ได้รู้งานของเรามากกว่าเรา พวกนี้ไม่ได้มีไอเดียหรือฉลาดอะไรมากกว่าเรา แต่พวกนี้ไม่มีผลประโยชน์กับเรา เราจะเจ๊งก็ไม่ว่าอะไร ขอให้จ่ายเงินก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นเขามองอะไรได้ง่ายกว่าเรา

ทำอย่างไรเราจะเป็นคนวงนอกสำหรับตัวเองโดยไม่ต้องจ้างใครมาช่วยมอง เป็นคนวงนอกก็ได้เห็นเลย กายไม่ใช่เรา รู้สึกมั้ย กายอยู่ห่างๆ จะรู้สึกทันทีเลย กายอยู่ห่างๆ เวทนา ความสุข ความทุกข์ อยู่ห่างๆ กุศล อกุศล อยู่ห่างๆ เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน เราไม่เข้าไปคลุกกับเขา ดูอย่างนี้นะ แล้วทุกอย่างจะผ่านมาแล้วก็ผ่านไปให้ดู โอ้..ภาวนาแล้วจะมีแต่ความสุข

โยม: ตอนนี้มันเป็นลักษณะที่ รู้ทฤษฎี แต่พอเวลาถึงจังหวะจริงๆ..

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ นั่นแหละ มันยังเมาหมัดอยู่ เพราะว่ามันชกมานาน มันชกมานับภพนับชาติไม่ถ้วน มันไม่เคยทำตัวเป็นแค่ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ เพราะเราเข้าวงในตลอด

พระพุทธเจ้าสอนเรา ให้ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ จนจิตใจของเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่คลุกวงใน พอพระพุทธเจ้าสอนเรา จนใจของเราตั้งมั่นขึ้นมา บทเรียนที่ทำให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาอย่างนี้เรียกว่า “จิตตสิกขา” จิตตสิกขา เราจะศึกษาไปจนจิตของเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นแค่คนดู เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่ใช่นักประพันธ์ ไม่ใช่นักวิจารณ์ ไม่ใช่นักแสดง เป็นแ่ค่คนดู พอดูแล้วคราวนี้ล่ะเห็นชัดเลย ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำงานนี้ไม่ใช่เราสักอันหนึ่ง ร่างกายที่ทำงานอยู่ไม่ใช่เรา เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ ไม่ใช่เรา สังขารที่เป็นกุศล อกุศล ไม่ใช่เรา จิตที่เกิดดับทางทวารทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่เรา ดูอย่างนี้นะ มันถอนเอาความเป็นเราออกมาแล้วมาคอยรู้คอยดูไปเรื่อยๆ ทำตัวเป็นแค่คนดู ถ้าคลุกวงในจะไม่เห็น

เหมือนเขาเตะฟุตบอลกันนะ เราอยากดูให้ชัดนะ กระโดดลงไปยืนกลางสนามนะ เราจะเจอเท้า ๔๔ ข้าง นะ ใช่มั้ย ๔๖ มีกรรมการอีกคน ดีไม่ดีโดนเหยียบ หลบคนนี้ เจออีกคนนี้ อะไรอย่างนี้ ถ้าเรานั่งบนอัฒจรรย์ดู เราเห็นหมดเลย เห็นภาพชัด

หรือเหมือนกับคนชกมวยกับคนดูมวยนะ คนชกมวยนะ มันเก่งแสนเก่ง เวลาชกนะ สังเกตมั้ย พวกที่ยืนข้างเวทีเป็นคนสอน ชกตรงนั้นสิ ชกตรงนี้สิ เพราะมันไม่มีส่วนได้เสีย มันดูง่าย เนี่ย บอก “เอ็งเซ่อ เอาหน้าไปให้เขาชกอยู่เรื่อย หลบสักนิดหนึ่งก็พ้นแล้ว” แต่ตอนเมาหมัดน่ะมันไม่รู้ เพราะฉะนั้นอย่าเมาหมัดนะ เวลาภาวนาห้ามเมาหมัด จำไว้นะ อย่าคลุกวงใน อย่าตะลุมบอนกับกิเลส ดูอยู่ห่างๆ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ดูห่างๆไว้นะ

คำว่าดูห่างๆนี้เป็นสภาวะนะ ถ้าภาวนาเป็นถึงจะรู้ัจัก ถ้าภาวนาไม่เป็น ดูห่างๆไม่เป็น ไม่เข้าใจหรอกว่าห่างอย่างไร ได้ยินหลวงพ่อพูดแล้วก็งงๆ แต่ถ้าภาวนาเป็นจะรู้เลย กายกับจิตนี้มีระยะทางนะ มีช่องว่าง มีระยะห่าง จิตกับเวทนาก็มีระยะห่าง จิตกับสังขารก็มีระยะห่าง แถมจิตที่ว่ามีระยะห่างนั้นยังเกิดดับเสียอีก ไปๆมาๆหาตัวเราไม่ได้สักตัวเดียว


แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
ลำดับที่: ๑๑
File: 510323.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

สมถะตามรูปแบบ

สมถะตามรูปแบบ

mp 3 (for download) : เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: งานเยอะ แล้วก็มันวุ่นๆ ยุ่งๆ แล้วรู้สึกว่าเหมือนมันไม่ได้ทำอะไรไปเลยน่ะค่ะ หลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องทำนะ อย่าทิ้งการทำในรูปแบบ เป็นเครื่องช่วย ถ้าเราจะเจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เจริญไปเรื่อยๆ นะ ถึงวันหนึ่งกำลังก็ไม่พอ ครูบาอาจารย์วัดป่าจะสอน อย่างสายวัดป่านี่ การปฏิบัติมี ๓ สเต็ป ต้องทำทั้งสามอัน

อันแรกเลยทำความสงบให้จิตตั้งมั่น จิตสงบ มีกำลังขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ที่นี้คนส่วนมากพอจิตสงบตั้งมั่นแล้วขี้เกียจ ขี้เกียจนี่ครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณากาย อันนี้ก็เป็นสมถะอีกแบบหนึ่ง ให้คิดพิจารณากาย พอหมดเวลาปฏิบัติในรูปแบบแล้ว คราวนี้ต้องมีสติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นสติในชีวิตประจำวันนี่ตัวสำคัญที่สุด แต่การที่ทำใจสงบตั้งมั่น ทำใจให้ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน อันนั้นก็เป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญมาก

ที่นี้ถ้าพวกเราทำฌานไม่ได้ แต่ละวันนะ แบ่งเวลาไว้หน่อย ไหว้พระไว้ สวดมนต์ไว้นะ ได้สมถะ สวดมนต์แล้วจิตใจสงบได้สมถะ ถ้าสวดมนต์แล้วขี้เกียจให้รู้ว่าขี้เกียจ เราไหว้พระสวดมนต์แล้วเราก็แบ่งเวลาปฏิบัติในรูปแบบ ห้านาที สิบนาที สิบห้านาทีอะไรอย่างนี้ ต้องทำ อย่างที่หลวงพ่อพูดตั้งแต่ต้นแล้วนะ แบ่งเวลาไว้แล้วก็ทำในรูปแบบไว้หน่อย แล้วหัดรู้สภาวะไป การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง สติมันจะมีกำลังที่จะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราทิ้งการทำในรูปแบบไปเลยนะ มันจะไม่มีกำลังจริง มันเหมือนรู้นะ แต่ใจจะกระจายๆ รู้อย่างนี้ ผึ้งรู้สึกไหม รู้แบบไม่มีแรง รู้แบบป้อแป้ๆ ไม่มีแรง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑
File: 491022A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าปล่อยให้ความท้อแท้ครอบงำจิต

อย่าปล่อยให้ความท้อแท้ครอบงำจิต

อย่าปล่อยให้ความท้อแท้ครอบงำจิต

mp3 (for download) : อย่าปล่อยให้ความท้อแท้ครอบงำจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การภาวนานี่นะ เรากำลังหาทางพ้นจากทุกข์ มันเหมือนไฟไหม้บ้าน ไหม้ประตู ไหม้หน้าต่าง ไหม้ไปหมดแล้ว หลังคานะ ต้องดิ้นรนนะ จะหาทางออกจากกองไฟนี้ให้ได้ อย่ามัวท้อแท้นะ ทางนี้ก็ไปไม่ได้ ทางนี้ก็ไม่ไป นอนให้ไฟไหม้ไม่ได้นะ อย่างไรมันต้องสู้

เพราะฉะนั้น อย่าปล่อยให้ความท้อแท้ครอบงำจิต นักปฏิบัตินี่ถ้าท้อแท้ก็แย่แล้ว มันไม่สู้แล้วนะ ไม่ได้ ให้รู้ทัน ความท้อแท้เกิดขึ้นในจิตให้รู้ทันนะ มันจะกระเด็นออกไปอยู่ต่างหากนะ ใจเราเข้มแข็งขึ้นมา การภาวนาต้องใช้ความเข้มแข็งความอดทนให้มากๆ ไม่ใช่เราทำนิดหน่อยๆ หวังว่าจะพ้น ไม่พ้นหรอกนะ เพราะเวลาเราสะสมกิเลสเราสะสมมาตั้งนานใช่ไหม จะพ้นจากกิเลสพ้นจากโลกก็ไม่ใช่ง่าย ต้องอดทน ทำแล้วทำอีก อย่าท้อใจ

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๓๔

File 521115

นาทีที่ ๔๙ วินาทีที่ ๒๙ ถึงนาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

mp 3 (for download) : จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ

คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ

ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ

พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ

ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย…

อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊

เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง

จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัดเดินปัญญาด้วยการแยกกายใจ

หัดเดินปัญญาด้วยการแยกกายใจ

หัดเดินปัญญาด้วยการแยกกายใจ

mp3 (for download) : หัดเดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถัดจากนั้นถ้าอยากเดินปัญญานะ อย่ารู้ตัวอยู่เฉยๆ บางคนรู้ตัวอยู่เฉยๆ นะ รู้สึกไปๆ ถ้ามีของเก่ามีบารมีมานี่ พอรู้ตัวอยู่เฉยๆ บางทีมันเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา รูปนี้ไม่ใช่เรา เป็นก้อนอะไรก้อนหนึ่ง ถ้าเรียกโดยภาษาปรมัตถ์ภาษาปริยัติเรียก ‘รูป’ เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ที่เราไปเห็นเข้า ไม่ใช่เรา หรือบางทีก็ไปเห็นนามธรรมต่างๆ เห็นเวทนาผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นสังขารที่เป็นกุศลอกุศลผ่านมาแล้วผ่านไป เห็นจิตวิ่งไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่บางคนพอหัดรู้สึกตัวขึ้นมาเฉยๆ นะ เขาเห็นอย่างนี้ได้แล้ว พวกนี้เคยมีของเก่าของเขา เขาทำมาแล้ว มันง่ายที่เขาจะกลับมาเห็นสภาวธรรมแยกกันเป็นส่วนๆ แล้วก็เห็นแต่ละส่วนนั้นไม่มีตัวเรา

อย่างพวกเราหลายคนที่ภาวนาๆ บางทีแปรงฟันอยู่ หรืออาบน้ำอยู่ ถูสบู่อยู่ รู้สึกตัวปั๊บขึ้นมา ไอ้นี่ไม่ใช่เราแล้ว เป็นท่อนๆ อะไร นี่ พวกนี้พวกมีของเก่าทำมาดี แต่ถ้ามีแต่ของเก่าแล้วไม่ทำต่อก็ไปไม่รอดนะ ถ้าของเก่าดีจริงแล้วก็บรรลุมรรคผลไปแล้ว ที่ยังไม่บรรลุเพราะว่าของเก่ายังไม่พอ ต้องทำอีก

ที่นี้บางคนมันรู้ตัวขึ้นมาเฉยๆ แล้วมันไม่ยอมเดินปัญญาต่อ มันไม่ยอมแยกรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายต่อไป มันรู้ตัวสว่าง โล่ง ว่างอยู่เฉยๆ พวกนี้ต้องช่วยมันหน่อย ช่วยมันหน่อยนะ พยายามหัดแยกกายแยกใจไปเรื่อย เช่น เบื้องต้นนะ นั่งไป นั่งสมาธิเข้า นั่งหายใจไปเรื่อยๆ แล้วค่อยๆ ดูไปที่ร่างกายนะ ร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่หายใจเข้า ใครเป็นคนดู จิตเป็นคนดู ค่อยๆ ฝึกอย่างนี้นะ ร่างกายนี้หายใจอยู่นะ จิตเป็นคนดู ร่างกายนี้พอง ร่างกายนี้ยุบ จิตเป็นคนดู หรือไปเดินจงกรม บางคนชอบเดินจงกรมก็เดินไป แล้วก็เห็นร่างกายมันเดินนะ จิตเป็นคนดู ค่อยๆ หัดแยกมัน

เบื้องต้นก็ช่วยมันคิดนิดหน่อยก่อนได้นะ อย่าคิดเยอะ คิดมากฟุ้งซ่าน ทีนี้พอมันแยกแล้วมันจะเห็นกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจอยู่ส่วนหนึ่ง ตอนนี้คนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วแยกตัวนี้นับจำนวนไม่ถ้วนแล้วนะ ที่กายกับใจมันแยกออกจากกัน มันจะเห็นเลย ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราแล้ว ปัญญามันจะเกิดแล้ว พอกายกับจิตแยกจากกันปุ๊บ มันจะเห็นว่าร่างกายนี้เป็นแค่สิ่งที่จิตไปรู้เข้า เหมือนพัดอันนี้เป็นแค่สิ่งที่จิตไปรู้เข้า มันไม่ใช่ตัวเราแล้ว อะไรที่มันถูกรู้ถูกดูไม่ใช่เราแล้ว อย่างเราไปมองพระจันทร์ พระจันทร์ถูกรู้ถูกดูไม่ใช่เรา มันเห็นร่างกายนี้เหมือนเราเห็นพระจันทร์นี่เอง เหมือนเห็นก้อนหินก้อนหนึ่ง มันไม่ใช่เราแล้ว นี่มันจะเดินปัญญาได้

หรือเรานั่งไปเรื่อยนะ นั่งไปเรื่อย ที่แรกก็นั่งสบาย ต่อมาความปวดเมื่อยแทรกเข้ามา เรามีสติรู้ทันนะ โอ้ มันปวดมันเมื่อยขึ้นมาแล้ว เห็นเลยความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามาในร่างกาย แต่เดิมมันไม่ปวดไม่เมื่อยนะ นั่งไปๆ ความปวดความเมื่อยแทรกเข้ามา เพราะฉะนั้นร่างกายกับความปวดเมื่อยนี่คนละอันกัน นี่ช่วยมันดูอย่างนี้นะ

สำหรับคนที่จิตมันไม่ดูเองนะ ถ้าคนที่จิตมันดูเองก็ดูไปได้เลย แค่รู้ตัวขึ้นมาก็เห็นขันธ์มันกระจายตัวออกไปแล้ว พวกนี้บารมีเขามี ถ้าของคนไหนไม่มีก็ช่วยมัน นั่งไป นั่งดูไป หรือเดินไป ดูกายอยู่ส่วนหนึ่งจิตอยู่ส่วนหนึ่ง เดินไปเรื่อยๆ นั่งไปเรื่อยๆ มันปวดมันเมื่อยก็เห็นความปวดเมื่อยอยู่อันหนึ่งนะ กายก็อีกอันหนึ่ง จิตก็อีกอันหนึ่ง นี่แยกได้สามขันธ์แล้วนะ

ดูต่อไปอีก พอมันปวดมากๆ เข้า ใจชักทุรนทุรายแล้ว ชักเป็นห่วง โอ นั่งนานแล้ว ปวดมากแล้ว เดี๋ยวจะเป็นอัมพาตไหม ยังไม่เคยมีใครนั่งสมาธิแล้วเป็นอัมพาตนะ ตามสถิติ ไม่มีหรอก มีแต่นั่งแล้วลุกไม่ขึ้น ขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บางคนนั่งมากๆ นะ แล้วกระดิกไม่ได้ ตัวแข็ง แล้วบอกนั่งแล้วเกิดศีล หลวงพ่อเคยเจอนะคนหนึ่งบอกนั่งสมาธิแล้วมีศีล บอกนั่งสมาธิยังไงแล้วมีศีล มันกลายเป็นก้อนหิน ศีล คือ ศิลา

นี่ดูไปนะ พอมันปวดมากๆ นะ ใจมันทุรนทุราย โทสะเกิดแล้ว กังวลใจเกิดขึ้นมาแล้วนี่ รู้ทันลงไปนะ ความกังวลใจหรือความหงุดหงิดใจที่ร่างกายมันปวดมากๆ นี่ เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่ความปวดนะ แทรกเข้ามาทีหลัง ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความรู้สึกปวดอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความทุรนทุรายของจิตใจอยู่อีกส่วนหนึ่ง เป็นคนละอันกัน ค่อยดูไป ความทุรนทุรายก็ไม่ใช่จิตนะ จิตเป็นคนไปรู้ความทุรนทุราย เห็นไหม แยกอย่างนี้นะ แยกขันธ์ออกไปได้เยอะแยะแล้ว

ถัดจากนั้นต่อไปพอแยกชำนาญนะ ต่อไปไม่ได้จงใจแยกเลยมันจะเห็นเลย เวลาเดินจงกรมหรือเวลาเดินไปธุระ เดินไปขึ้นรถเมล์ ทุกก้าวที่เดินมันจะเห็นรูปที่เคลื่อนไหว ไม่มีคำว่าร่างกายอีกต่อไปแล้ว มันจะเห็นก้อนอะไรก้อนหนึ่งที่เคลื่อนไหว ที่ไม่ใช่เราแล้ว ความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็เห็นชัดเลย ไม่ว่าความสุขความทุกข์จะเกิดที่กายหรือเกิดที่จิตนะ ก็ไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา กุศลอกุศลที่เกิดที่จิต ก็เป็นของแปลกปลอมขึ้นมา ไม่ใช่เราอีก ตัวจิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไป เดี๋ยวเป็นผู้รู้เดี๋ยวเป็นผู้ไปเพ่ง หมุนเวียนไป เดี๋ยววิ่งไปที่ตา เดี๋ยววิ่งไปที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเลย ไม่มีอะไรที่คงที่เลย

นี่เราดูไปเรื่อยนะ เราจะเกิดปัญญาเห็นความจริงเลย ทุกอย่างมันไม่เที่ยงนะ ทุกอย่างมันทนอยู่ในภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ ทุกอย่างมันไม่ใช่ตัวตนถาวร เป็นสิ่งที่มีชั่วคราวแล้วก็หายไปหมด นี่เรียกว่าตัวปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นเราหัดภาวนานะ รักษาศีลไว้ ฝึกใจให้ตั้งมั่นมีสติ ดูจิตไป เกิดศีล เกิดใจที่ตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว บางคนก็แยกขันธ์ได้อัตโนมัติ บางคนแยกไม่ได้ก็ช่วยมันแยกอย่างที่บอกนี่แหละ ต่อไปก็จะแยกทั้งวันเลย

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๘ ถึงนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัตินี่ถ้าเราแยกส่วนการปฏิบัติออกจากการดำเนินชีวิตปกติของเรา อย่ามาพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานเลย ชาตินี้ไม่ได้ ถ้ายังรู้สึกนะ เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ใช่เวลาปฏิบัติ ถ้ารู้สึกอย่างนี้อย่าพูดเรื่องมรรค ผล นิพพาน เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราได้ ก็ไม่ต้องพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานนะ อย่างไรก็ต้องได้ เพราะฉะนั้นต้องหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราให้ได้

เมื่อสักเดือนสองเดือนนะ มีคนไปเรียนกับหลวงพ่อที่ศรีราชา ศาลาหลวงพ่อใหญ่กว่านี้ตั้งเกือบเท่า วันนั้นคนเต็ม ยาว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า ผมอยากเดินจงกรม จะเดินอย่างไร อยากเดินจงกรม หลวงพ่อบอกว่า กล้าออกมาเดินโชว์ไหม เดินตรงนี้ กล้าไหม เด็กคนนี้กล้า ค่อยๆ แหวกคนออกมานะ แหวกเดินออกมา หลวงพ่อบอกว่าหยุดก่อน ใช้ไม่ได้แล้ว ทำไม ขาดสติ ที่ขาดสติก็ตอนที่แหวกคนออกมา จะมาเข้าทางจงกรม คิดว่าเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ คิดว่าตอนนี้ไม่ต้องปฏิบัติ เดี๋ยวเอาไว้เข้าทางจงกรมก่อนค่อยปฏิบัติ นี่เข้าใจผิดแล้ว แท้จริงแล้วทุกก้าวที่เดินถ้ามีความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย เดินอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมานะ ก็เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมด ถ้าเดินกลับไปกลับมาแล้วขาดสติ ก็เรียกเดินเรื่อยเปื่อย ถ้าเดินแล้วก็เพ่งเอาเพ่งเอา บังคับกาย บังคับใจ ก็เรียกเดินทรมาน ทรมานกายทรมานใจ ถ้าเดินแบบมีสติก็เรียกว่าเดินจงกรม

หลวงพ่อก็ให้เดินต่อ คราวนี้เขาก็ไม่เดินใจลอยแล้ว เขาเดินค่อยๆ รู้สึกตัวมานะ กำลังพอดีเลย พอเริ่มเข้าทางจงกรมปุ๊บ เริ่มวางฟอร์มแบบนักปฏิบัติ วางฟอร์ม ทำขรึม บอกนี่ผิดไปอีกข้างหนึ่งแล้ว สิ่งที่ผิดหลวงพ่อพูดบ่อยๆ สุดโต่งมีสองอัน อันหนึ่งเผลอไป ตอนเดินออกมาทีแรก เผลอไป เรื่อยเปื่อย พอเริ่มลงมือปฏิบัติ บังคับกาย บังคับใจ สุดโต่ง

พอเราบังคับกายบังคับใจนะ กายก็นิ่งผิดความเป็นจริง จิตก็นิ่งผิดความเป็นจริง เราต้องการดูให้เห็นความจริงต่างหาก ไปทำจนมันผิดความจริง แล้วจะเอาความจริงที่ไหนไปดู เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ตามที่เขาเป็นจริงๆ นะ อย่าไปดัดแปลอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานไม่ได้เอาไว้ฝึกดัดแปลง แต่เอาไว้ดูเพื่อให้เห็นความจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา พอรู้ความจริงแล้วมันจะปล่อยวาง แต่ถ้าไปบังคับไปทำขรึม ทื่อๆ ไว้นะ ยิ่งแก่ยิ่งเก่งนะ ยิ่งแก่ยิ่งเพ่งเก่ง ใครด่าก็เฉย ใครชมก็เฉยนะ ฝึกจนกระทั่งมีรู้สึกเหมือนตนเองเป็นต้นไม้และก้อนหิน ไร้ความรู้สึก ฝึกอย่างนั้นน่าสงสาร เหนื่อย บางคนเพ่งมากๆๆ เพ่งไปกันจนพิกลพิการนะ ต้องหอบหิ้วกันมาให้เราแก้ให้ มันก็แก้ยากนะ

เพราะฉะนั้นอย่ารีบร้อน อย่าใจร้อนรีบปฏิบัติมากนัก ฟังให้รู้เรื่องหน่อย แล้วค่อยลงมือทำ เรียนก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓
File:
490716.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

mp 3 (for download) : การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เคยมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านหลงป่าเข้าพม่าไป แล้วก็เปียกฝนสามวันสามคืน เดินหลงทาง ข้าวก็ไม่มีจะฉัน ปอดบวม เข้าไปหลบฝนอยู่ในถ้ำ ก็ยังภาวนา แล้วรู้สึกว่าคราวนี้ต้องตายแน่ๆเลย ถึงแข็งแรงนะ จะรอดออกจากป่าหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะหลงทาง

ท่านก็ภาวนาของท่านไปเรื่อย กะว่าถ้าตายแล้วจิตใจจะห่วงอะไรมั้ย ร่างกายนี้ไม่ห่วงแล้ว ดูจิตดูใจก็ไม่ห่วงแล้ว ใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง พร้อมจะตายแล้ว จิตใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง ท่านก็ดูไปเรื่อยๆ เอ๊ะ! ไม่ยึดอะไรเลย ทำไมมันมีอะไรก็ไม่รู้ แปลกๆ สังเกตไปเรื่อยๆ ยึดความไม่ยึดอะไร ท่านเห็นว่าท่านยึดความไม่ยึดอะไร ยึดความว่างไว้ ตรงนี้ขาดปั๊บลงไป จิตท่านสว่างจ้าขึ้นมา

ท่านก็นึกว่า ในถ้ำ อยู่ในถ้ำมืดๆนะ กลางคืนนะ นึกว่าสว่างแล้ว ดูนาฬิกา ก็ยังไม่สว่างนะ ยังกลางคืนอยู่ มองข้างนอกก็มืดตึ๊ดตื๋อเลย ในถ้ำทั้งถ้ำนี่สว่าง แล้วท่านก็หายป่วย เสร็จแล้วตอนเช้า ฝนหยุดแล้ว ออกไปจากถ้ำ หิวนะ หิว ไม่มีอะไรฉันหลายวัน เจอลิงมันถือมะละกอ แล้วมันทำมะละกอตกลงมาที่พื้น แล้วมันก็มองหน้าท่านนะ มองมะละกอ มองหน้า

ท่านก็นึกว่า เอ๊… มันไม่กล้าหยิบกระมัง คงกลัวท่านว่า พอก้มลงหยิบเดี๋ยวท่านเล่นงาน ท่านเลยกลับเข้าถ้ำ เป็นเรา เราจะแย่งลิงกินใช่มั้ย เราก็จะมีเหตุผลเราต้องเอาตัวรอดไว้ก่อน จะได้มีแรงภาวนาต่อไปอีก ใช่มั้ย ท่านไม่เอา ท่านกลับเข้าถ้ำไป ลิงถึงได้มาเก็บมะละกอคืนไป

เข้าไปพักหนึ่งถึงได้ออกมา ปรากฎว่าลิงมาอยู่ที่พื้นดินละ ถือมะละกอ คราวนี้มันกลิ้งมาให้ท่านแล้วก็หนีขึ้นต้นไม้ไปเลย ลองดูมะละกอลูกนี้นะ มีรอยนกเจาะๆไว้ด้วย อุตส่าห์ไปเก็บมาให้นะ ท่านบอกว่าตั้งแต่เกิดมาไม่เคยฉันอะไรอร่อยเท่านั้นเลย ฉันเสร็จแล้วเลยเดินกลับมาเมืองไทยได้ หลงเข้าป่าพม่าไป

ที่หลงเพราะท่านไปเดินตามลำห้วยไป นึกว่าลำห้วยนี้จะไหลเข้าฝั่งไทย กลายเป็นลำห้วยนี้ไหลไปพม่า ตามไป ตามไป ต้นไม้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เลยรู้ว่าไม่ใช่เมืองไทยแน่ เมืองไทยเข้ามาต้องเหลือแต่ต้นมันสำปะหลัง

ภาวนานะ ภาวนา ต้องทำ ฝึกไปเรื่อยๆ มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ไม่ใช่ภาวนาแล้วเคร่งเครียดนะ ถ้าภาวนาแล้วเคร่งเครียดแสดงว่าทำิผิด ถ้าภาวนาถูกจะมีแต่ความสุข มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน นั่งอยู่เฉยๆก็มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา คุณมนเคยเป็นใช่มั้ย มันมีความสุข

ความสุขมันเกิดจากการมีสติ รู้ลงในกาย รู้ลงในใจ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆนะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้น มากขึ้น เป็นเรื่องประหลาดนะ รู้ทุกข์แล้วมีความสุข รู้ทุกข์แล้วพ้นทุกข์ มีแต่ความสุขล้วนๆ

ใครๆก็อยากละทุกข์ทั้งนั้นเลย พระพุทธเจ้ากลับสอนให้รู้ทุกข์ ทุกข์อยู่ที่กายรู้ลงในกาย ทุกข์อยู่้ที่จิตใจรู้ลงในใจ รู้ไปเรื่อย จนวันหนึ่งไม่ยึดถือในกายในใจ ไม่ยึดถืออะไรเลย รวมทั้งไม่ยึดถือความไม่ยึดถือด้วยนะ เหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อเล่า เสร็จแล้วท่านไปยึดความไม่มีอะไร พอท่านผ่านตรงนี้นะ จิตใจของท่านก็เปลี่ยนไปเยอะแยะ

ท่านกลับเข้ามาในเมืองนะ พอดีมีโยมคนหนึ่งรู้จักท่าน นิมนต์ท่านไปฉัน ก็มีคนรู้จักกับหลวงพ่อบอกว่าเนี่ย ท่านมาจากป่าละ เลยไปหาท่าน ไปที่บ้านเขานั่นแหละ เป็นตึกแถวนะ ไม่เจอหลายปี นานๆเจอทีหนึ่ง

ท่านก็เล่า การภาวนานะ เวลานักปฏิบัติเจอกัน สนทนาธรรมด้วยเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ น่าฟังมากเลย น่าฟัง มันเป็นเรื่องของการต่อสู้กับกิเลสของตัวเองนั้นแหละ ไม่ใช่สู้คนอื่นนะ สู้กิเลสของเราเอง ล้มลุกคลุกคลาน ตอนสู้นะ ปางตาย

แต่ตอนสู้ขาดมาแล้ว มันขำนะ มันขำว่า แต่ก่อนทำไมมันโง่นะ ของง่ายๆเท่านี้เอง ไม่เข้าใจ สอบผ่านได้แล้วมันจะขำตัวเอง บางทีรู้สึกสมเพชตัวเองนะ ทำไมมันโง่หลายนะ โง่หลาย ของง่ายเท่านี้ไม่เห็น เห็นแล้วรู้ เห็นแล้วนะ ยังไม่เข้าใจ ง่ายกว่าที่นึกนะ

การภาวนา ถ้าเมื่อไรภาวนาแล้วรู้สึกยาก สังวรไว้เลยว่าผิดแน่นอน การภาวนาถ้าถูกต้อง จะต้องง่าย จิตใจมีสติ จิตใจมีสัมมาสมาธิ รู้ตื่น เบิกบาน เห็นกายตามความเป็นจริง เห็นใจตามความเป็นจริง มีแต่ความสุขล้วนๆเลย ค่อยๆภาวนา มันไม่ได้ยากเย็นเหมือนที่เราวาดภาพไว้ เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้ผิดธรรมดา ธรรมะคือธรรมดานั่นเอง

เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ ธรรมดาของกาย ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมดาของใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน เรียนจนเห็นธรรมดา เรียนไปเรื่อย เห็นไปเรื่อย จนใจยอมรับความเป็นธรรมดาของกายของใจ ยอมรับแล้วมันไม่เที่ยงนี่ จะไปยินดียินร้ายอะไรกับมัน มันเป็นทุกข์นะ มันไม่ใช่เป็นสุข มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่บังคับได้

หลายคนภาวนาแทนที่จะมุ่งมาให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกือบทั้งหมดที่ภาวนาแล้วล้มลุกคลุกคลานนะ ภาวนาเื่พื่อจะให้มันเที่ยง เพื่อจะให้มันสุข เพื่อจะบังคับมันให้ได้

ยกตัวอย่างภาวนาแล้วอยากให้จิตใจสงบถาวร ให้สุขถาวร ให้ดีถาวร อะไรอย่างนี้ ภาวนาแล้วจะเอา อยากได้ อยากได้ความสุข อยากได้ความสงบ อยากได้ความดี สุข สงบ ดี ธรรมดาก็ไม่ได้นะ อยากถาวรด้วย ลืมไปว่าถาวรไม่มี มีแต่อนิจจัง ไม่ถาวร มีแต่ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีความสุขที่แท้จริงในกายในใจนี้

ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ภาวนาไปแล้ว ร่างกายมีความสุขนะ ไม่ใช่นะ จิตใจก็ยังทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด ธรรมดานั่นเอง ความสุขมันอยู่ตรงที่ ไม่ได้ยึดถือขันธ์ต่างหาก ไม่ยึดถือในกาย ไม่ยึดถือในใจ เป็นอิสระ อิสระจากกายจากใจ ความสุขมันอยู่ที่พ้นขันธ์ ไม่ใช่ความสุขอยู่ที่ดัดแปลงขันธ์สำเร็จแล้ว

พวกเราภาวนา รู้สึกมั้ย อยากดี อยากสุข อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่าอยากนะ มีแต่คำว่าอยาก ลืมไปว่าความอยากเกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดทีนั้น พอความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้น จิตก็ดิ้น จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีความอยากจิตก็ไม่ดิ้น จิตไม่ดิ้นจิตก็ไม่ทุกข์

แต่ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้แจ้งในกายในใจนี้ว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ มันยังรักกายรักใจ มันคิดว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา คิดอย่างนี้ มันอยากให้เรามีความสุข อยากให้เรามีความสงบ อยากให้เราดี อยากให้เราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมีความอยากแล้วใจก็ดิ้น ใจก็ดิ้นแล้วใจก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังละอวิชาไม่ได้นะ ตัณหาคือความอยากก็จะไม่หมดไป

จะหมดเป็นคราวๆพอมีสติรู้ทันนะ ก็ดับไป พอขาดสตินะ ก็กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเลยต้องมีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา แต่พอภาวนาจนถึงที่สุดแ้ล้วนี่ มีปัญญา มีวิชาเกิดแล้ว มันไม่ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมา ไม่ต้องรักษาจิตน่ะ แล้วถามว่ามีสติมั้ย มีก็มีไปอย่างนั้นล่ะ ไม่ได้มีเพื่อรักษาจิต เพราะจิตนั้นไม่ต้องรักษา เพราะคืนโลกคืนธรรมชาติเขาไปแล้ว

เนี่ยธรรมะนะ เป็นสิ่งที่เราึนึกไม่ถึง นึกไม่ถึง เราภาวนา เราก็หวังว่าวันหนึ่งจิตของเราจะดี จะสุข จะสงบ ถาวร วาดภาพพระอรหันต์ไว้อย่างนั้น จริงๆไม่ได้เป็นอย่างที่นึกหรอก คนที่วางขันธ์ไปแล้ว กับคนที่มีขันธ์อยู่ ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน ของเราคิดแต่ว่าทำอย่างไรจะดี ของท่านรู้ว่าวางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว วางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาอะไรต่อไป

ถามว่ากิเลสเกิดขึ้นมาครอบงำจิตใจได้มั้ย ไม่ได้นะ จิตใจเข้าถึงภาวะที่อะไรก็ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะว่ามีปัญญารู้ทุกข์นี่แหละ สำคัญ ใช่รู้อย่างอื่นนะ ในขณะที่เราต่อสู้ ตะลุมบอนไป จิตใจเกิดปัญญา เกิดสติ เกิดสมาธินะ เกิดคุณงามความดีแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง มันอิ่มอกอิ่มใจ แต่สักพักหนึ่งมันก็พบว่าไม่ใช่นะ มันเสื่อมไปอีก

มีสติก็ขาดสติได้นะ มีสมาธิก็ขาดสมาธิได้ มีปัญญาก็โง่ได้อีก เนี่ยยังของกลับกลอก ยังของแปรปรวนอยู่ จิตใจก็ถูกกิเลสย้อมได้อีก แ้ล้วมันยังรู้สึกลึกๆว่ายังขาดอะไรอย่างหนึ่งที่ยังไม่ีรู้แจ้ง ตราบใดที่ยังขาดอันนี้อยู่เนี่ย จิตยังไม่เลิกดิ้นรนค้นคว้า จนวันหนึ่งจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์ พอจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตคืนกายคืนจิตให้โลก มันคืนกายไปก่อนนะ สุดท้ายมันหวงอยู่ที่จิตอันเดียวนี่แหละ พอคืนจิตให้โลกไปแล้ว ไม่ียึดถืออะไรในโลกอีก งานตรงนั้นก็หมดลงตรงนั้นเอง เข้าถึงความสุขที่นึกไม่ถึง

สวนสันติธรรม
CD: 19
File: 500310A.mp3
Time: 4.02 – 14.47

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกจิตให้ตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

ฝึกจิตให้ตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

ฝึกจิตให้ตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

mp3 (for download) : ฝึกให้จิตตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตมีนิวรณ์ จิตที่ฟุ้งไปในกาม เรียกว่ามีกามฉันทะ ฟุ้งไปในกาม จิตฟุ้งไปในความพยาบาทขัดเคือง เวลาเกลียดใครก็คิดถึงคนนั้นบ่อยๆ จิตมีพยาบาท จนฟุ้งไปในพยาบาท บางทีฟุ้งสะเปะสะปะ เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ฟุ้งไป ฟุ้งไป แล้วก็หงุดหงิด รำคาญใจ

บางทีฟุ้งไป แล้วก็คิดไป แล้วเกิดลังเลสงสัย ฟุ้งไป ฟุ้งไป แล้วก็หดหู่ มีมั้ยไปฟุ้งซ่านแล้วไปหดหู่ เนี่ยใจมันฟุ้งไปนะ ถ้าเรามีสติรู้ทันใจที่ไหลไป ใจที่ฟุ้งไป หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก ใจฟุ้งไปนะ กระทั่งฟุ้งในธรรมะก็ฟุ้งซ่านนะ ยกตัวอย่าง มีสังโยชน์ตัวหนึ่งเรียกว่าอุทธัจจะสังโยชน์ พระอรหันต์ถึงจะละได้ ตรงนี้ใจฟุ้งในธรรมะ ไม่ใช่ฟุ้งในอธรรมนะ ฟุ้งในธรรมะก็ฟุ้งนั่นแหละ ใจมันไหลไป ใจมันส่งออก

ถ้าเรามีสติรู้ทันใจที่ไหลไป ไหลไปในกาม ไหลไปในพยาบาท ไหลไปในเรื่องราวที่คิด ไหลสะเปะสะปะ ไหลไปจมแช่อยู่ในความซึมเซาหดหู่ อะไรอย่างนี้ รู้ทันลงไปนะ ใจตั้งมั่นขึ้นมา ใจตั้งมั่นขึ้นมานะนิวรณ์เหล่านี้ดับหมดเลย เกิดสมาธิ ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ใจตั้งมั่นอยู่ทั้งวันทั้งคืน

เพราะฉะนั้นเราดูจิตดูใจไปนะ ดูจิตไปเรื่อย กิเลสหยาบมาเรารู้ทันปุ๊บ กิเลสหยาบดับ เราไม่ผิดศีลละ กิเลสอย่างกลางๆคือนิวรณ์เกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันปั๊บ นิวรณ์ก็ดับไปเลย ใจก็ตั้งมั่น ใจไม่ฟุ้งนะ ไม่ฟุ้งไปในกาม ไม่ฟุ้งไปในพยาบาท ไม่ฟุ้งซ่านสะเปะสะปะ ไม่หดหู่ ไม่สงสัย ใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว รู้เนื้อรู้ตัวอยู่

นี่อาศัยมีสติรู้ทันจิตไปนะ ได้ทั้งศีล ได้ทั้งสมาธิ


แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
ลำดับที่ ๑๒
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๒ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิโรธมีห้าระดับ

นิโรธมีห้าระดับ

นิโรธมีห้าระดับ

mp 3 (for download) : นิโรธมีห้าระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ใจของเราบางครั้ง ก็เข้าถึงนิโรธเหมือนกัน เช่น เรารู้สึกตัวขึ้นมา กิเลสดับวับลงไป ใจโล่ง ว่าง สว่าง ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีอะไร ชั่วแว่บหนึ่งนั้น มันก็เป็นนิโรธเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ถึงขนาดนิพพาน นิโรธมี ๕ ระดับ

ยกตัวอย่าง ถ้าเรามีสติ ระลึกรู้สภาวะปั๊บ ใจเข้าถึงนิโรธ กิเลสดับลงไปตรงนั้น ความทุกข์ดับลงไปนะ มันเป็นนิโรธชนิดที่สอง มีห้าอัน นิพพานเป็นนิโรธอันที่ห้า ชนิดที่สามก็คือ นิพพานในขณะที่เกิดมรรค คือนิโรธในขณะที่เกิดอริยมรรค หรือบางทีก็วิมุติ ใช้คำเดียวกัน วิมุติมีห้าอัน นิโรธมีห้าอัน

อีกอัน อันที่สี่ก็คือ การเห็นนิโรธหรือนิพพานในขณะที่เกิดอริยผล อันที่ห้าก็คือนิพพาน อันที่หนึ่งก็คือ การสงบจากกิเลสเพราะการทำสมถะ ก็ถือว่าเป็นนิโรธเหมือนกัน เป็นวิมุติเหมือนกัน เป็นวิมุติขั้นต้นที่สุดเลย ข่มลงไปด้วยสมถะ

อันที่สอง รู้ด้วยสติ แล้วมันไม่ปรุงแต่งชั่วแว้บหนึ่ง แว้บเดียว ทีนี้เราไม่สามารถทรงอยู่กับแว้บเดียวนี้ได้ เพราะความปรุงแต่งอันใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเลย เพราะฉะนั้นก็สู้กันได้ทีละขณะ ทีละขณะ เป็นคราวๆไป

ตอนเกิดอริยมรรค อริยผล เวลาเกิด เกิดคู่กัน ต่อเนื่องกันเลย เกิดอริยมรรค อริยผล จิตไปเห็นนิพพาน คราวนี้เห็นนานหน่อย เห็นสองสามแว้บ นี่ขนาดนานนะ สองสามแว้บ เห็นแค่นั้น ไม่เห็นเยอะหรอก แล้วความปรุงแต่งก็กลับเข้ามาห่อหุ้มจิตใหม่ ได้สกิทาคาฯก็หลุดออกมาอีก เห็นนิพพานอีกสองสามแว้บนะ

ครูบาอาจารย์ท่านถึงบอกว่า เอ๊ะ เคยเห็นนะ แต่ไม่เข้าใจน่ะ บางครั้ง พอได้โสดาฯ สกิทาคาฯ ได้อนาคาฯแล้วเนี่ย บางครั้งใจก็เข้าไปรู้นิพพานได้ แต่ปุถุชนเข้าไปรู้นิพพานไม่ได้นะ เข้าไปรู้ได้แค่ช่องว่าง ที่พวกเราชอบบอกว่าไปอยู่กับสุญญตา สุญญตา น่ะ นั่นสุญญาตาตัวปลอม มันแค่ช่องว่าง ที่จริงไม่ใช่สุญญตา มันคืออากาสาฯ อากาสานัญจายตนะ

แต่ว่าพระอริยะบุคคลเนี่ย ถ้ามนสิการถึงนิพพานแล้วเห็นได้ เห็นได้เป็นคราวๆ บางครั้งก็ภาวนา รู้กายรู้ใจ แล้วก็เพิกถอน วางกายวางใจลงไป ใจก็ไปเห็นนิพพาน พอเห็นนิพานแล้วก็ถอยออกมานะ ไม่รู้ว่าจะเอาไว้ใช้ประโยชน์อะไร ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร ท่านถึงบอกว่าท่านด่าตัวเองว่า “โง่แท้น้อ” เห็นอยู่นะแต่ไม่รู้ ไม่เข้าใจมัน ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นภาวนามากๆเข้า ในที่สุด เกิดความเข้าใจ เข้าใจในนิพพาน เรียกว่ามีวิมุติญาณทัสนะแจ่มแจ้ง ก็พบว่า อ้อ ไม่เคยหายไปไหนเลย เราต่างหากละเลยไม่สนใจ ไม่เห็นประโยชน์

หลวงปู่ดูลย์เคยบอก เรื่องประหลาดนะ หลวงปู่ดูลย์เนี่ย อยู่บ้านนอก อยู่ป่า อยู่เขามาตลอดชีวิตนะ ไม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อะไร ท่านวิจารณ์ไอน์สไตน์ได้นะ ท่านคงพิจารณาของท่านเอง บอกว่า ไอน์สไตน์นั้นเก่งนะ เก่ง สามารถพิจารณาพิจารณาไปถึงนิพพานได้ แต่เขาไม่เห็นประโยชน์ เขาไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร เขาเลยไม่เอา ท่านวิจารณ์อย่างนี้

สิ่งที่ปิดบังนิพพานไว้นะ ก็มี รูปนาม ขันธ์ ๕ กับสมมุติบัญญัติ ไอน์สไตน์เก่งนะ ถึงขนาดมองว่า ตัวเราที่แท้จริงเป็นแค่เศษธุลีในจักรวาล เล็กนิดเดียวไม่มีนัยะอะไร เป็นแค่เศษธุลีในจักรวาล แต่ความสำคัญตัว สำคัญมั่นหมายขึ้นมา ว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ มนุษย์ก็เลยแยกตัวเองออกจากสิ่งที่แวดล้อม เกิดเรา เกิดเขา เกิดสิ่งแวดล้อมขึ้นมา

ไอน์สไตน์มองไปเห็นว่าตัวตนที่แท้จริงไม่มีหรอก เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลชั่วขณะ สัมพัทธ์ชั่วขณะแล้วก็ดับสลาย นี่หลวงปู่ดูลย์ท่านวิจารณ์นะ ประหลาด เรายังไม่เคยอ่านเลย

อีกองค์นะ วิจารณ์เรื่องเบอร์มิวด้า ประหลาดนะ พระอยู่ในป่า ไม่เคยรู้หนังสือไม่เคยอะไร ทีนี้หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ไอน์สไตน์ ไม่รู้มรรค แล้วก็ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไร เขารู้จักแต่ประโยชน์ที่จะเอาออกมาทำงานทางโลกนี่


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๘
Track: ๑
File: 500114A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

mp 3 (for download) : เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การภาวนาไม่ใช่เรื่องยากเรื่องเย็นนะ แต่ต้องใจถึงๆ จริงจัง ซื่อสัตย์กับตัวเอง ซึ่อสัตย์กับตัวเองที่จะเรียนรู้ตัวเอง ความไม่ดีของเรา ซ่อนเร้นอยู่เยอะ แต่ละคน เก็บขยะไว้เต็มไปหมดเลย เก็บขยะ เปิดคลังมหาสมบัติออกมา เจอขยะ เพชรๆ พลอยๆ ไม่ค่อยมีหรอก ส่วนมาก อาศัยความตั้งใจจริง กล้าสละประโยชน์ส่วนน้อย ประโยชน์ส่วนน้อยก็คือความสุขอย่างโลกๆเลย ความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เห็นจะมีอะไรนักหนาเลย ความสุขของโลกมีนิดเดียว คับแคบ

ลองมาศึกษาปฏิบัติธรรม จะพบกับความสุขที่ยิ่งใหญ่ ความสุขในโลกมันเหมือนเราเป็นแค่ปลาเงินปลาทองอะไรอย่างนี้ อยู่ในตู้แคบๆ ถูกเขาเลี้ยงไว้ อยู่ไปวันๆ ถึงเวลาก็มีกินมีอยู่ไปวันๆนะ เดี๋ยวก็ตาย แล้วเขาก็เอาตัวอื่นมาเลี้ยงแทน บ้านเรานะอยู่ๆไป ตายไป คนอื่นก็มาอยู่แทน เมื่อก่อนมีเพลงด้วยซ้ำไปนะ พอเราตาย อะไร ทรามวัยพ้นมือ เมียเราก็ไม่รู้ว่าเป็นเมียใคร อะไรน่ะ จำไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องกล้า อย่าไปหลงกับความสุข ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มากนัก ศึกษา ปฏิบัติธรรม เรียนรู้ลงมาในกายเรียนรู้ลงมาในใจของเราบ่อยๆ สิ่งที่มันเป็นภาระที่สุด สำหรับพวกเราก็คือ กายกับใจของเรานี่แหละ เป็นภาระมาก กายกับใจ

อย่างร่างกาย ดูสิ เราต้องดูแลมันเยอะนะ ตั้งแต่หัวถึงเท้า ดูสิ เยอะแยะเลย รักหวงแหนที่สุด ทั้งที่เป็น “ขี้” ทั้งนั้นเลยนะ ลองไล่ลงมาตั้งแต่ขี้หัวถึงขี้ตีน เห็นมั้ย สูงสุดจนถึงต่ำสุด มันวิเศษวิโสอะไรนักหนา ไปหลงกับมันทำไม ดูลงมานะ ดูลงมาในกาย ดูลงมาในใจ เมื่อไรหมดความรักในกาย หมดความรักในใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกแล้ว เพราะสิ่งที่เรายึดถือมากที่สุดคือกายกับใจของเรานี่เอง พอเราไม่ยึดถือในกายในใจ มันไม่มีอะไรให้ยึดถืออีกแล้ว จิตใจมันจะมีอิสรภาพ เพราะว่าไม่ว่าเราไปยึดอะไรเอาไว้นะ เราจะไม่เป็นอิสระเพราะสิ่งนั้นแหละ

ยกตัวอย่าง เรายึดในทรัพย์สมบัติ เราจะไปไหนไม่รอดเลย ไปไหนเราก็ห่วงสมบัตินะ ไปไหนไม่ได้ เนี่ยเราไปยึดอะไรเราก็ไปติดอันนั้น ไปไม่รอด ยึดลูกยึดเมียไว้ก็ไปไหนไม่ได้ ใจเป็นห่วง

คนโบราณท่านเปรียบดีนะ บอก เวลาคนตาย เขาจะผูกมัดตราสังข์ไว้ เขาจะมัด ๓ ข้อ มัดคอนะ มัดคอไว้อันหนึ่ง มัดมือ แล้วก็มัดเท้า มัดคอ มีลูก มีลูกนะ เหมือนเอาเชือกผูกคอไว้ ทำไมผูกคอ รัดแน่นๆ กินไม่ลงนะ อย่างพ่อแม่คนไหนจนหน่อยๆ ไม่มีเงินมาก เจอของอร่อยๆกินไม่ลงนะ คิดถึงลูก กินไม่ลง มันถูกผูกคอไว้

มีสามีภริยาก็บอกว่า เหมือนถูกเอาปอผูกศอก นี่ภาษาอีสานนะ คุณแม่น้อยเคยท่องให้หลวงพ่อฟัง มีลูกเหมือนเอาเชือกผูกคอ มีเมียเหมือนเอาปอผูกศอก มีสมบัติเหมือนเอาปลอกติดขา เวลาเรามีแฟนมีคู่รู้สึกมั้ย เราไม่อิสระ เหมือนเราถูกมัดมือละ บางทีถูกมัดมือชกนะ มันไม่อิสระ นี่ความสุขของโลก เห็นมั้ย มีลูกเราทุกข์เพราะลูกใช่มั้ย มีสามีมีภรรยา เราก็ไม่อิสระ ไม่อิสระ จะทำอะไรเคยอิสระก็ไม่อิสระ มันไม่คล่องตัว

มีสมบัติ เหมือนเอาปลอกติดขา ปลอกติดขาไว้คือไปไหนไม่ได้ มีสมบัติแล้วต้องนั่งเฝ้าสมบัติ ไปไหนเดี๋ยวกลัวหาย เราก็เป็นทุกข์นะ มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นในโลกเรามีอะไร เราก็ทุกข์เพราะอันนั้น พระพุทธเจ้าจึงบอก มีวัวทุกข์เพราะวัว มีนาก็ทุกข์เพราะนา มีทรัพย์สมบัติทุกข์เพราะทรัพย์สมบัติ คนในโลกไม่เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์นะ ก็อยู่ตามๆกันมาก็เที่ยวแสวงหาหวังว่ามันจะดี ได้มายิ่งเยอะยิ่งดี ไม่รู้ว่ายิ่งภาระเยอะนะ คนเราไม่ได้ต้องการอะไรมากในชีวิตของเราจริงๆ มีแต่ความต้องการเทียมเยอะ ความต้องการเพื่อเอาหน้าเอาตาหลอกๆ

เนี่ยถ้าเรามาดูนะ ดูลงในกายในใจ เรายึดอะไรไว้ เราก็ทุกข์เพราะอันนั้น สิ่งที่เรารักที่สุดนะ คือกายกับใจ ไม่ใช่ลูกนะ บางคนบอกรักลูกที่สุด ไม่ใช่ ไม่ใช่รักสามีภรรยามากที่สุด ไม่มีหรอก โกหก ใครมาบอกเรา ผมรักคุณมากกว่าชีวิตของผม โกหก ชี้หน้าไปเลยนะ โกหก บอก คนที่เขาจิตปราดเปรียว เขารู้นะ อย่ามาโกหกนะ ไม่มีอะไรรักมากเท่าตัวเอง หรือเรารักจิตใจของเรา เราอยากให้จิตใจมีแต่ความสุข สนุกสนาน ใช่มั้ย เรารัก ทีนี้จิตใจมันก็สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง บ้าๆบอๆไปตามเรื่องของมัน แกว่งขึ้นแกว่งลงไปตามเรื่องของมัน มันไม่มีความสุขที่แท้จริง

ถ้าเรารู้ลงในกาย รู้ลงในใจ พอไม่ยึดกาย เราไม่ทุกข์เพราะกาย ไม่ยึดใจ ก็ไม่ทุกข์เพราะจิตใจ จะมีความสุขที่นึกไม่ถึง น้ำตาร่วงเลยนะ ว่าโอ้อย่างนี้ก็มีด้วยเหรอ ความสุขชนิดนี้ก็มีด้วยเหรอ อัศจรรย์ คำสอนของพระพุทธเจ้าอัศจรรย์จริงๆ สอนให้เรารู้กาย สอนให้เรารู้ใจ จนปล่อยวางกายปล่อยวางใจ เข้าถึงธรรมะที่มีแต่ความสุขล้วนๆเลย อัศจรรย์ที่สุด ความสุขอย่างโลกๆนะ ความสุขคับแคบ สุขที่เจือด้วยความทุกข์เต็มไปหมดเลย รักอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้นแหละ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
Track: ๑๓
File: 500331B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกซ้อมก่อนเจ็บป่วย ก่อนตาย

วิธีฝึกซ้อมก่อนเจ็บป่วย ก่อนตาย

วิธีฝึกซ้อมก่อนเจ็บป่วย ก่อนตาย

mp3 for download : วิธีฝึกซ้อมก่อนเจ็บป่วย ก่อนตาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาที่เราเจ็บป่วยมากๆนะ บางทีเจ็บป่วยมากๆนะ ร่างกายมันซึมเซาไป หรือเราถูกหมอโด๊ปยามากนะ มันซึมๆไปอะไรอย่างนี้ เราจะภาวนาอย่างไร มันไม่รู้ มันไม่ตื่น มันไม่เบิกบานเต็มที่ เราไม่ได้ไปภาวนาให้มันสว่างขึ้นมา มันซึมรู้ว่าซึมนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางน่ะไม่ซึมหรอก จิตที่เป็นกลางไม่มืดไม่มัวนะ

ถ้าเวลาเราจะตายแล้ว ร่างกายมันซึมเซาไปนะ เราก็ดูมันตายไป ใจเราไม่ได้เดือดร้อนกับมัน ค่อยๆฝึก วิธีฝึกซ้อมตอนตายก็คือซ้อมหลังกินข้าวนี่แหละนะ เวลากินข้าวแล้วมันซึม ใช่มั้ย ในความซึมเนี่ยเราจะภาวนายังไง ไม่ใช่เราจะภาวนาได้เฉพาะตอนที่ดีนะ ตอนที่ร่างกายเราแย่ลงเราก็ต้องซ้อมนะ ลองซ้อมดู

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๒
Track ๑๗
File: 521127B.mp3

ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๐ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๐๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

mp3 for download : สติคือความระลึกได้ ไม่ใช่เจตนาระลึก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติเป็นความระลึกได้ ไม่ได้เจตนาระลึก นะ ถ้าเจตนาระลึกอยู่ล่ะก็ ไม่เจอของจริงหรอก ไปเพ่งเอา ปัญญาจะไม่เกิด เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่าง เจตนาระลึกรู้กาย เจตนาระลึกรู้ใจ อะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่เจตนาธรรมดา มันเป็นโลภเจตนา มันเจือด้วยความอยากด้วย เช่นอยากปฏิบัติแล้วมาคอยรู้กาย อยากปฎิบัติแล้วมาคอยรู้ใจ เนี่ยความอยากมันนำหน้า ถ้ามีความอยากนำหน้าอยู่ เจตนาตัวนั้นไม่บริสุทธิ์แล้ว เรียกโลภเจตนา นะ

โลภเจตนาเป็นความจงใจทางใจที่จะทำสิ่งบางสิ่ง ภาษาปริยัติมีทรัพย์อีกคำหนึ่งชื่อ มโนสัญญเจตนา เป็นมโนสัญญา มโนสัญญเจตนา หมายรู้ทางใจ มันจะจงใจไปหมายรู้ทางใจ เบื้องหลังมันจริงๆส่วนใหญ่ก็โลภะนั้นแหละ มันก็เลยจงใจไปหมายรู้ พอจงใจไปหมายรู้นะ โลภะแทรก สติแท้ๆมันไม่เกิดหรอก เนี่ยเราต้องค่อยๆพัฒนาจนสติอัตโนมัติเกิดขึ้นมา นะ ถ้าสติอัตโนมัติเกิดขึ้นมาเนี่ย ไม่ได้จงใจจะรู้ แต่มันรู้ของมันเอง แต่อยู่ดีๆจะให้มันรู้ของมันเองน่ะรู้ไม่ได้ ต้องฝึก ต้องทำเหตุ เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิด คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น เพราะฉะนั้นให้หัดรู้สภาวะบ่อยๆ

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
CD แผ่นที่  ๓๓
ลำดับที่ ๑๒
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๑๒ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พอดีตรงที่รู้

พอดีตรงที่รู้

mp3 (for download) : พอดีตรงที่รู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราลืมกายลืมใจ เรียกว่าเผลอ ถ้าเราไปจ้องไว้นะ ไปเพ่งกาย เพ่งใจ เรียกว่าเพ่ง สองอันนี้ไม่เอา เอาแค่รู้กายรู้ใจ นะ เนี่ยตอนแรกๆเราเคยชินที่จะเพ่ง เราก็มาคอยรู้คอยดู ยิ่งเพ่งยิ่งทุกข์ ยิ่งเพ่งยิ่งทุกข์นะ พอฝึกไป ฝึกไป ใจมันค่อยๆปรับตัวของมัน มันลดการเพ่งลง ใจก็โปร่งขึ้น โปร่งขึ้น ต่อไปมันรู้ว่าที่พอดีก็คือตรงที่รู้นั่นแหละ ทีนี้ภาวนาง่ายล่ะ นะ

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๒
ลำดับที่ ๑๗
File: 521127B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๔ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะเห็นโลกก็อยู่ส่วนโลก ใจก็อยู่ส่วนใจ

จะเห็นโลกก็อยู่ส่วนโลก ใจก็อยู่ส่วนใจ

จะเห็นโลกก็อยู่ส่วนโลก ใจก็อยู่ส่วนใจ

mp3 for download: จะเห็นโลกก็อยู่ส่วนโลก ใจก็อยู่ส่วนใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จะเห็นโลกก็อยู่ส่วนโลกนะ  ใจก็อยู่ส่วนใจ  โลกกับธรรมไม่เกี่ยวกัน   ถ้าแยกออกไป  ขันธ์ก็แยกออกไป  ขันธ์นั้นเป็นตัวโลก   ใจที่มันพ้นออกมาก็จะมาหาธรรมะ  ค่อยฝึก  ค่อยฝึกไปนะ  สุดท้ายจะมีความสุขที่สุดเลย   

หลวงปู่เทสก์สอนว่า  สิ้นโลก  เหลือธรรม   โอ..สอนดีจริง ๆ สิ้นโลก  เหลือธรรม  ท่านเขียนสิ้นโลก  เหลือธรรมเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายของท่าน   เขียนไปเขียนมา  ท่านอยากปรับอีกหน่อย  มาปรับใหม่ เป็นสิ้นโลกเหลือธรรม  ฉบับที่ ๒ เวอร์ชั่น ๒    ของท่านมี ๒ ฉบับนะ   สิ้นโลกเหลือธรรม  ดูแล้วคนละสำนวนกันนะ  ไม่เหมือนกันหรอก  

เราภาวนาเอานะ  จนวันหนึ่งมันสิ้นโลก  เหลือธรรมจริง ๆ   มีความสุขล้วน  ๆ  ธรรมะให้ความสุขนะ  โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์  ต้อง ฝึกเอา  

เวลาฝึกธรรมะ   ตั้งอกตั้งใจดูของเราไป  อย่าไปยุ่งกับคนอื่นเขา    บางคนยุ่ง ๆ นะ  สร้างปัญหาให้หลวงพ่อ  สร้างศัตรูให้หลวงพ่อมาก ๆ  ลูกศิษย์เรานี่แหละ    ทุกวันนี้นะ  หลวงพ่อเวียนหัวมากเลย  ใครๆ ก็อ้างลูกศิษย์หลวงพ่อ    อ้างทั้งนั้นเลย      ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย  ความรู้ความเข้าใจก็ยังไม่ค่อยจะมี  เที่ยวร่อน ๆ ไปที่โน่นที่นี่นะ    ทำไมไปยุ่งกับคนอื่่น  มาดูตัวเอง  มาดูกายดูใจนี่    ลูกศิษย์หลวงพ่ออย่าไปยุ่งที่อื่นนะ  ดูกายดูใจของตัวเอง  เรียนอยู่ตรงนี้  ไม่ต้องไปยุ่งที่อื่น   

บางทีไปถามครูบาอาจารย์  แต่ละองค์ ไม่เหมือนกันหรอก   ท่านดีของท่านนะ   ท่านก็ดีแบบของท่าน  ไม่มีใครหรอกปฏิบัติเหมือนใคร    พวกเราที่มาเรียนกับหลวงพ่อ  รู้สึกไหม  แต่ละคน  ปฏิบัติไม่เหมือนก้น   รู้สึกไหมว่าเวลาคนอื่นส่งการบ้าน  น่าอิจฉา   ว่าเราไม่เห็นเป็นอย่างเขาเลย  พอเราส่งบ้าง  เขาก็อิจฉาเพราะเขาไม่เหมือนเรา   จริง ๆ ไม่มีใครเหมือนใครหรอกนะ 

อย่างครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ๆ  ท่านก็ดีของท่านนะ   เราอย่าไปดูว่าไม่เหมือนหลวงพ่อแล้วก็ใช้ไม่ได้   นี่โง่ที่สุดเลยนะ   โง่มาก ๆ เลย  ใครมาบอกว่าหลวงพ่อดีล่ะ   คิดเอาเอง  

ครูบาอาจารย์แต่ก่อนนะ  บางองค์ คนไปบอกว่าท่านเป็นพระอรหันต์เหรอ  ท่านบอกเป็นเหมือนกันแต่เป็นพระอรหันต์ที่หนังสือพิมพ์โลกทิพย์ ตั้งให้

แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ หลังฉันเช้า
CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
ลำดับที่ ๔
File: 521204B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยสัจจ์

อริยสัจจ์

อริยสัจจ์

mp3 for download: อริยสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เรียนธรรมะเรียนง่ายๆนะ เรียนแบบเป็นกันเอง สมัยพุทธกาลนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ก็สอนธรรมะได้ อยู่ที่ไหนก็พูดกันได้ธรรมะ ธรระมจริงๆเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนอะไร ฆราวาสก็ทำได้นะ ฆราวาสทำให้ถึงมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เรื่องที่ว่าเหลือวิสัยทำไม่ได้ แต่ว่าต้องจริงจังหน่อย แต่จริงจังก็ไม่ได้จริงจังแบบวัวแบบควายนะ เอาแรงเข้าทุ่ม ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าสอนหลักไว้แล้ว เราจะมาทำนอกหลักพระพุทธเจ้าแล้วก็จะบรรลุอะไรอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนเสียก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์ นี่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของท่าน อริยสัจจ์มีเรื่องทุกข์ คำว่าทุกข์ก็ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ ต้องเรียนนะ ทุกข์ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์คือกายกับใจ ท่านบอกว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ว่าโดยสรุปขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ทุกข์ให้รู้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราเนี่ย รู้กายรู้ใจลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอย่างอื่นกับกายกับใจนะ หน้าที่คือรู้กายรู้ใจ ถ้าเรารู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งเนี่ยถึงจะละอวิชาได้ อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์นั่นเอง คือไม่รู้ว่ากายกับใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราไปคิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษ แต่ถ้าเรามาเจริญสติรู้กาย เจริญสติรู้ใจ รู้มากเข้าๆเราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ตัวทุกข์ล้วนๆ พอมันเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์แจ่มแจ้งปุ๊บ สมุทัยจะเป็นอันถูกละอัตโนมัติเลย ฉะนั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ สมุทัยถูกละเมื่อนั้น จำไว้นะ ไม่ใช่ว่าละสมุทัยเมื่อไหร่ พ้นทุกข์เมื่อนั้นนะ ธรรมะมันคนละระดับกัน

พวกเราเรียนธรรมะมันมีหลายขั้นตอน อย่างคนทั่วๆไปเนี่ย สมุทัย คนทั่วๆไปเห็นว่า ถ้ามีความอยากแล้วไม่สมอยากแล้วจะทุกข์ ถ้าสมอยากแล้วไม่ทุกข์ เนี่ยคนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นมากเลย ถ้ามีความอยากแล้วก็ไม่สมอยากแล้วทุกข์ นักปฏิบัติจะละเอียดขึ้นมาหน่อย เห็นว่าถ้ามีความอยากเมื่อไรก็มีความทุกข์เมื่อนั้น จะสมอยากหรือจะไม่สมอยาก แค่มีความอยากขึ้นมาจิตก็เริ่มดิ้นรน มันจะดิ้นนะ หมุนติ้วๆ ทำงานขึ้นมา เพราะฉะนั้นทันทีที่เกิดความอยากความทุกข์ก็เกิด แล้วก็เลยคิดว่า ถ้าไม่อยากเนี่ยความทุกข์ก็ไม่มี กายกับใจนี้ก็ไม่ทุกข์ ถ้าอยากแล้วจิตใจจะมีความทุกข์ขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์จริง ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์จะรู้เลยว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ อย่างจิตใจของเราเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยากมันก็ทุกข์โดยตัวของมันเอง

ธรรมะลึกมากนะ แต่เดิมเราไม่เข้าใจธรรมะอย่างนี้ เราก็ดิ้นรนแสวงหาไปเรื่อยๆ ทำอย่างไรจิตใจของเราจะมีความสุขถาวร ทำอย่างไรเราจะดีถาวร ทำอย่างไรจิตจะสงบถาวร เนี่ยเราเที่ยวค้นหา จิตที่ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ซึ่งมันไม่มีในโลกนี้ มันมีแต่ของไม่เที่ยง มันมีแต่ของเป็นทุกข์ มันมีแต่ของบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เราจะไปหาอะไรที่บังคับให้ได้ ควบคุมให้ได้ แล้วมีความสุขด้วย เป็นตัวเราด้วย เราไปหาสิ่งซึ่งไม่มี เพราะฉะนั้นการดิ้นรนค้นคว้า ที่ภาวนา ที่ปฎิบัติกันนั้นน่ะ ที่มุ่งเอาความสุข ความสงบ ของจิตของใจนี่นะ ไม่มีทางละอวิชาได้เลย

ท่านอาจารย์มหาบัวท่านวิจารณ์บอกว่า ภาวนาแบบนี้นะ กิเลสหนังไม่ถลอกเลย ไม่ถลอกจริงๆนะ ไม่ใช่แกล้งว่า เพราะอะไร เพราะมันภาวนาตอบสนองกิเลส ภาวนาเพื่อว่าวันหนึ่ง “กู”จะได้มีความสุขถาวร “กู”จะดีถาวร “กู”จะสงบถาวร ไปภาวนาเอาของซึ่งไม่มี เพราะว่าปัญญาเรายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์

ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์นี้นะจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นอย่างนี้ มันจะหมดสมุทัย หมดความอยากโดยอัตโนมัติ ตัณหามันจะเป็นอะไร้ ตัณหามันก็แค่ว่า อยากให้กายให้ใจมีสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ตัณหามันก็มีอยู่เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นเมื่อใดเราเห็นกายเห็นใจนี้ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง ถ้าเห็นอย่างนี้นะ ตัณหาจะถูกละอัตโนมัติ ไม่เกิดขึ้นมา ทันทีที่ตัณหาไม่เกิด จิตใจก็เข้าถึงสันติสุขในฉับพลันนั้นเลย สันติสุขก็คือนิพพาน หรือก็คือนิโรธนั่นเอง ตัวสันตินั้นแหละ ตัวนิโรธ ตัวนิพพาน เมื่อไรจิตหมดตัณหาจิตก็หมดความดิ้น จิตที่หมดความดิ้นรนก็มองเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรนคือนิพพานปรากฎอยู่ต่อหน้าต่อตา

ในขณะที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนกระทั่งละสมุทัยแจ้งนิโรธ ในขณะนั้นแหละเรียกอริยมรรค เพราะฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน ไม่ใช่ว่ารู้ทุกข์วันหนึ่ง ละสมุทัยวันหนึ่ง แจ้งนิโรธวันหนึ่ง ไม่ใช่ เกิดในขณะจิตเดียว


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๒
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

mp 3 (for download) : การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ได้ฝึกเอาดีหรอกนะ ฝึกให้เห็นเลยของมันเสื่อม ดีบ้างไม่ดีบ้าง มันไม่เที่ยง ฝึกให้เห็นอย่างนี้ นี้พวกเราอยากได้ดี ช่วงไหนภาวนาแล้วจิตใจดีเราพอใจ เราถือว่ากูเก่งๆ ช่วงนี้ดี ชมตัวเองด้วยนะ ไม่มีใครชมก็ชมเอง ช่วงไหนภาวนาไปแล้วจิตใจแย่ลง โอ้แย่แล้วหมู่นี้เราไม่ดีแล้ว

ที่จริงภาวนาเพื่อให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง ไม่ใช่ภาวนาให้มันเที่ยง มันดีได้มันก็เสื่อมได้ มันเจริญได้ มันก็เสื่อมได้นะ ดีได้ก็เลวได้ สุขได้ก็ทุกข์ได้ แต่อย่าไปช่วยมันทุกข์นะ อย่าไปช่วยมันชั่วนะ ให้รู้มัน ให้มันเสื่อมไปเอง เสียหายไปเอง แล้วคอยรู้ ต้องขยันดูนะ ถ้าไม่ขยันดูแล้วมันเสื่อมนี่ ใช้ไม่ได้ input นี่ต้องคงที่ไว้ หมายถึงทุกวัน ภาวนาทุกวัน ไม่ละเลย แต่ผลที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกันสักวัน อันนี้ดี ไม่ต้องเหมือนกัน มันจะสะท้อนให้เราเห็นเลย เราทำอะไรไม่ได้จริง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๒
File:
491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๓๖ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 7 of 12« First...56789...Last »