Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

mp 3 (for download) : การภาวนาเจริญได้ก็เสื่อมได้ แต่ต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ได้ฝึกเอาดีหรอกนะ ฝึกให้เห็นเลยของมันเสื่อม ดีบ้างไม่ดีบ้าง มันไม่เที่ยง ฝึกให้เห็นอย่างนี้ นี้พวกเราอยากได้ดี ช่วงไหนภาวนาแล้วจิตใจดีเราพอใจ เราถือว่ากูเก่งๆ ช่วงนี้ดี ชมตัวเองด้วยนะ ไม่มีใครชมก็ชมเอง ช่วงไหนภาวนาไปแล้วจิตใจแย่ลง โอ้แย่แล้วหมู่นี้เราไม่ดีแล้ว

ที่จริงภาวนาเพื่อให้เห็นว่ามันไม่เที่ยง ไม่ใช่ภาวนาให้มันเที่ยง มันดีได้มันก็เสื่อมได้ มันเจริญได้ มันก็เสื่อมได้นะ ดีได้ก็เลวได้ สุขได้ก็ทุกข์ได้ แต่อย่าไปช่วยมันทุกข์นะ อย่าไปช่วยมันชั่วนะ ให้รู้มัน ให้มันเสื่อมไปเอง เสียหายไปเอง แล้วคอยรู้ ต้องขยันดูนะ ถ้าไม่ขยันดูแล้วมันเสื่อมนี่ ใช้ไม่ได้ input นี่ต้องคงที่ไว้ หมายถึงทุกวัน ภาวนาทุกวัน ไม่ละเลย แต่ผลที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกันสักวัน อันนี้ดี ไม่ต้องเหมือนกัน มันจะสะท้อนให้เราเห็นเลย เราทำอะไรไม่ได้จริง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๒
File:
491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๓๖ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติ ไม่มีสายกาย สายจิต

mp 3 (for download) : การปฏิบัติ ไม่มีสายกาย สายจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จริงๆแล้วธรรมะง่ายที่สุดเลย เราไปคิดมากเลยยากนาน เราคิดแต่ว่าจะต้องทำยังไง ต้องทำยังไง ทำยังไงแล้วจะดี เห็นมั้ย วัตถุประสงค์ที่ต้องการ คือ ต้องการดี สิ่งทีต้องการจะได้ ต้องการดี ทำยังไงมันจะดี ก็คิดแต่จะทำ เราลืมสภาวะของวิปัสสนาคือการรู้ไป

รู้เนี่ยไม่ใช่เอาดี รู้เอาความจริงนะ รู้เพื่อให้เห็นความจริง เพราะฉะนั้นอย่างสมถะทั้งหลายเนี่ย มุ่งเอาสุข เอาสงบ เอาดี ก็คิดแต่ว่าทำอย่างไรจะเอาสุข เอาสงบ เอาดี ส่วนวิปัสสนานะ รู้กาย รู้ใจ ตามที่เขาเป็น เพื่ออะไร เพื่อรู้ความจริง สิ่งที่ต้องการคือความจริงเท่านั้นเอง ธรรมะก็คือความจริงนั้นแหละ ตัวสัมมาทิฎฐินั้นแหละ

เนี่ยเราคอยรู้ลงไปนะ ไม่ใช่เรื่องยาก อย่าใจลอยก็แล้วกัน ถ้าใจลอยก็รู้กายรู้ใจไม่ได้ อย่าเอาแต่นั่งเพ่งไว้ กำหนดไว้ ประคองไว้ ถ้าเพ่งไว้ กำหนดไว้ ประคองไว้ ควบคุมไว้ กายกับใจก็จะนิ่งๆผิดความเป็นจริง เพราะฉะนั้นแค่รู้สึกตัว สติระลึกรู้กาย ก็รู้กาย สติระลึกรู้จิตก็รู้จิต มันไม่เลือกแล้วนะ ถ้าสติเกิดแล้วไม่มีสายไหนแล้ว มีแต่ว่าขณะนี้มีสติหรือว่าขณะนี้ขาดสติ ไม่มีสายกายสายจิตอะไรหรอก อันนั้นเป็นแค่จุดตั้งต้น เพื่อฝึกให้มีสติขึ้นมา

จุดตั้งต้นเพื่อฝึกให้มีสติขึ้นมาเป็นการตามรู้ทั้งหมดเลยนะ เพราะฉะนั้นในสติปัฏฐานท่านถึงใช้ว่า การตามเห็นกายเนืองๆ ตามเห็นนะ ไม่ใช่รู้ลงในปัจจุบันนะ การตามเห็นเวทนาเนืองๆ การตามเห็นจิตเนืองๆ ตามเห็นธรรมเนืองๆ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๑
File: 491123A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๙
File: 510628.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานที่เหมาะสมของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับจริตนิสัยและวาสนาบารมี

mp 3 (for download) : กรรมฐานที่เหมาะสมของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับจริตนิสัยและวาสนาบารมี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: กรรมฐานนี่ถ้าเราเรียนให้ดีนะเราจะใจกว้าง เราไม่ได้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิดนะ อย่างหลวงพ่อเรียนมาด้วยการดูจิตนะ ดูจิตมาเยอะ แต่หลวงพ่อก็ได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า ดูจิตไม่ใช่ solution ไม่มีกรรมฐานอะไรหรอกที่สำเร็จรูปสำหรับคนทุกคน จำไว้นะ แต่ละคนเหมาะกับกรรมฐานที่ไม่เหมือนกันเพราะจริตนิสัยวาสนาบารมีแตกต่างกัน ใช้คำสองคำนะ จริตนิสัย กับ วาสนาบารมี ไม่เหมือนกัน

‘จริตนิสัย’ มีสองกลุ่ม พวกตัณหาจริต กับ พวกทิฏฐิจริต พวกคิดมากกับพวกโลภมาก พวกคิดมากให้ดูจิตดูธรรม จิตตานุปัสสนา ธรรมานุปัสสนา พวกโลภมากนะ ดูกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา อันนี้เป็นเรื่องจริตนิสัย

เรื่อง ‘บารมี’ ก็แตกต่างกัน คนที่บารมีแก่กล้านะ โดยเฉพาะมีปัญญากล้า ถึงจะเป็นพวกตัณหาจริต ดูกายเวทนานี่ ท่านจะสอนให้ดูไปที่เวทนา เวทนานี่เหมาะกันคนที่บารมีกล้าแล้ว คนที่บารมียังอ่อน อินทรีย์ยังอ่อนนะ ก็ดูกาย จิตกับธรรมก็เหมือนกัน คนที่อินทรีย์ยังอ่อน บารมียังอ่อนนะ ดูจิต อินทรีย์แก่กล้า บารมีแก่กล้าดูธรรม

เพราะฉะนั้น กรรมฐานนี่มันแยกตามจริตนิสัยกับตามวาสนาบารมี แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก อย่างดูกายดูได้ตั้งหกแบบ บางแบบเป็นสมถะนะ ทำสมถะก่อนแล้วมาเจริญปัญญาทีหลัง อย่างดูปฏิกูล อาหารปฏิกูล พิจารณาอาหารเป็นปฏิกูลนี่สมถะ รู้ลมหายใจได้ทั้งสมถะทั้งวิปัสสนา ถ้ารู้อิริยาบถสี่ถูกต้องก็เป็นวิปัสสนา แต่ถ้าเพ่งกายก็เป็นสมถะ

เพราะฉะนั้น ไม่ว่ากรรมฐานอะไรนะ ดูกายหรือดูจิตมันอยู่ที่วิธีดูด้วย ดูผิดมันก็เป็นสมถะไปหมดแหละ แต่ถ้าเราจะทำสมถะเราก็ดูแบบสมถะก็เรียกว่าดูถูก แต่ถ้าเราจะทำวิปัสสนาแล้วไปดูด้วยวิธีแบบสมถะก็ผิด วิธีการไม่เหมือนกัน

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File:  530228B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวเราเหมือนหมูกระดาษ

mp 3 (for download) : ตัวเราเหมือนหมูกระดาษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อวานนะแน่นเลย ของวัดโสมวัดเดียวมาสิบองค์ แ่ต่ท่านก็อดทนนะ ฟังฟังจนกระทั่งตื่นขึ้นมาได้เจ็ดแปดองค์  และตั้้งอกตั้งใจภาวนา  บางองค์เป็นมหานะ ไม่ถือว่าความรู้เยอะ ได้ฟังธรรมะในภาคปฏิบัติดู ฟังพอจิตตื่นขึ้นมาแล้วบอกว่ามันง่ายนิดเดียว หลงไปทำซะยากเลย จริงๆง่าย เราไปทำให้มันยากเอง มันจะยากอะไร ถูกเขาด่าแล้วโกรธ รู้ว่าโกรธ  ถ้าจะให้ยากก็ต้องไม่โกรธ ทำอย่างไรจะไม่โกรธนี่ยากนะ หรือโกรธแล้วทำอย่างไรจะดับ นี่ยาก  ถูกเขาด่า โกรธ รู้ว่าโกรธ ไม่เห็นยากอะไรเลย ใครก็ทำได้ เพียงแต่เรานึกไม่ถึงว่าการปฏิบัติมันจะง่ายขนาดนั้น

ท่านมหาท่านพูดว่าเมื่อก่อนท่่านไปสร้างอะไรขึ้นมาซะแข็งไปหมดเลย นึกไม่ถึงว่ามันจะธรรมดา  อ้าวธรรมะก็ธรรมดาก็ันั่นแหล่ะ ธรรมะไม่ธรรมดาแล้วมันจะเป็นธรรมะได้อย่างไร ธรรมะกับธรรมดามันก็คำเดียวกันนั่นแหล่ะ  เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ จนเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่างร่างกายนี้ ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เรื่องธรรมดา  จิตใจเีดี๋ยวสุข เีดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เรื่องธรรมดา  เดี๋ยวสงบเดี๋ยวฟุ้งซ่าน ธรรมดา  พอยอมรับความเป็นธรรมดา ใจก็เข้าไปสู่ความเป็นกลาง ไม่ดิ้น

มีวิธีฝึกกรรมฐานง่ายๆอย่างนึง อันนี้อยากฝากญาติโยมลองไปดู กระทั่งพระก็ได้นะ แต่พระยังไม่มา คือเวลาแต่ละคนนี่จะแอบสร้างภพขึ้นมา  สร้าง “ภพ” คือสร้างสภาวะอะไรขึ้นมาบางอย่าง แต่ละคนจะสร้างทุกคนแหล่ะ  เวลาเราเจอคนนี้ เราก็ต้องวางมาด มันจะสร้างขึ้นมาตลอดเวลา  หรือเวลาบางคนจะคุยกับหลวงพ่อ ต้องทำเสียงหล่อๆหน่อย ต้องให้มันไม่ธรรมดา ต้องไม่ธรรมดา นี่เสแสร้งสร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา เพื่ออะไร? เพื่อให้ดูดี  ลองสังเกตตัวเองดู กะเทาะเปลือกตัวเองออก จนเห็นเลย ตัวจริงของเราอย่างไร

เราชอบสร้างภาพหลอกๆขึ้นมา อย่างเราเจอคนเจออะไรแต่ละวันๆ เราจะสร้างมาดขึ้นมา เจอลูกค้าเราก็ต้องทำฟอร์มอย่างนี้ใช่ไหม เจอเจ้านายเราก็ต้องทำท่านี้ เจอสาวเราต้องทำอย่างนี้ ต้องวางฟอร์ม  ฟอร์มที่สร้างขึ้นจริงๆ คือสภาวะนั่นเอง คือภพอันหนึ่ง บางทีก็เป็นภพของพ่อ วางฟอร์มเป็นพ่อ บางทีก็วางฟอร์มเป็นแม่ วางฟอร์มเป็นนางเอก  มีนะ ผู้หญิงชอบวา่งฟอร์มเป็นนางเอก ทำเศร้าๆ มีหยาดน้ำตาและหยดเลือดเยิ้มๆในใจ ชอบนักเชียว หาเรื่องลงนรกแท้ๆเลยนะ สะใจ เจ็บๆ คันๆ แสบๆ อู้ยชอบ ชอบเข้าไปได้ไง ทำใ้ห้จิตคุ้นเคยกับอกุศล

แต่ละคนจะวางฟอร์ม ให้เรารู้ทัน  อย่างบางคนหลวงพ่อเคยชี้ ไม่รู้วันนี้มาไหม เขาภาวนาเก่งนะ แต่พอเริ่มพูดกับหลวงพ่อ เขาจะต้องทำเสียงหล่อ “(ทำเสียงหล่อ) ผมมีเรื่องกราบเรียนหลวงพ่อ” นี่  ทำเสียงหล่อนะ พอหลวงพ่อชี้ให้ดู นี่เสแสร้งนะ เห็น เห็นว่านี่ปรุง สร้างภพขึ้นมา สร้างภพของนักปฏิบัติที่ดี ทำดูเลื่อมใสศรัทธากับครูบาอาจารย์มาก พอเห็นตรงนี้ปั๊บ หลุดออกมาเลย   ฉะนั้น ภพทั้งหลายนี่ ถ้าเรารู้ทัน เราจะหลุดออกมา แล้วไม่มีอะไร ว่างๆ ไม่มีอะไร  แต่ถ้ารู้ไม่่ทัน มันก็สร้างภาพขึ้นมา เป็นรูปเป็นร่าง สวยงามอย่างโน้นอย่างนี้

สองวันนี้ หลวงพ่อคุยกับพวกที่มาอยู่วัด บอกเคยเห็น “หมูกระดาษ” ไหม? หมูกระดาษใครเคยเห็นไหม? หมูกระดาษตัวแดงๆ ต้องคนโบราณหน่อยนะถึงจะเคยเห็น  ถ้าเดี๋ยวนี้หมูพลาสติก แต่หมูพลาสติกเอามายกเคสนี้ไม่ได้   หมูํกระดาษนี้มันทำด้วยกระดาษ ค่อยๆปะนะทีละแผ่นๆ ค่อยๆปะขึ้นมา มีแม่พิมพ์สองด้าน ปะทีละด้าน เสร็จแล้วก็เอามาเย็บตรงกลาง ทากาว ทาสี สีที่โปรดคือสีแดง หมูพวกนี้ต้องสีแดง หางก็เอาอะไรทำเป็นพู่ๆหน่อย เขียนตา เขียนหู

แต่ละคนนี้เหมือนหมูกระดาษนะ พวกเราเป็นหมูกระดาษคนละตัว แต่บางตัวก็เป็นหมากระดาษ เราปั้นขึ้นมา ถ้าเรารู้ตัวจริง มันไม่ได้มีจริง เราค่อยๆลอกเปลือกมันออก ลอกสิ่งที่เราปรุงแต่งออกไป ลอกออกไปเป็นชั้นๆ ลอกออกไปเรื่อยๆ  ถึงจุดหนึ่งจะเข้าไปถึงตัวจริงของมัน ตัวจริงของมันไม่มีอะไรเลย มันมาจากความว่างเปล่า แล้วก็สร้างขึ้นมาจนเป็นตัวเป็นตน  แต่ถ้าเมื่อไหร่เราลอกเปลือกตัวเองไปเรื่อย ลอกความปรุงแต่งไปเรื่อย จนถึงสุดท้าย ลอกชั้นในสุดออกไป ภายในมันก็เป็นความว่างๆใช่ไหม อาจจะขังอากาศอยู่ พอเปลือกกระดาษหลุดออกไปแล้ว  อากาศนั้นกระจายรวมเข้ากับอากาศข้างนอกนั่นเอง

ฉะนั้นการภาวนานี้ก็เหมือนกันนะ ถ้าจิตพ้นจากความห่อหุ้มแล้ว จิตไม่มีเปลือกห่อหุ้ม ไม่ได้สร้างภพใดๆมาห่อหุ้มมันแล้ว มันจะกลืนเข้ากับอากาศข้างนอกนั่น จะกลืนเข้ากับโลก ฉะนั้นเราภาวนาจนถึงจุดสุดท้าย จิตกับธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ จะกลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน

หลวงปู่ดูลย์เคยสอนหลวงพ่อ บอกว่า ถ้าวันใดเธอเห็นจิตกับสิ่งที่แวดล้อมอยู่เป็นสิ่งเดียวกันนะ เธอจะแจ่มแจ้งฉับพลันนั้นเลย เราฟังเราก็นึกว่าเป็นวิธีปฏิบัตินะ แต่ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร ก็ดูจิตของเราไปเรื่อย ดูไป จนกระทั่งวันหนึ่ง พอเราไม่ยึดถือจิตซะอย่างเดียว เราสลัดคืนจิต จิตกับโลกนี้กลืนเข้าด้วยกัน เป็นอันเดียวกัน  คนไหนเป็นนักดูจิตคนอื่น ไม่ใช่นักดูจิตตัวเอง  นักดูจิตคนอื่นที่ชำนาญ พอไปเจอท่านที่ภาวนาที่ปล่อยวางจิตแล้ว จะพบว่าจิตของท่านเหล่านี้กลมกลืนเข้ากับโลก กลมกลืนเป็นอันเดียวกันกับโลก แต่อันนี้เขาไม่สามารถเห็นจิตที่พ้นโลกได้ เขาเห็นแต่จิตที่กลมกลืนเข้ากับโลก เหมือนอากาศในหมูกระดาษนี้ที่รวมเข้ากับอากาศ กับโลกข้างนอก เป็นอันเดียวกันนั่นเอง  อันนี้เล่าให้ฟังเล่นๆนะ เพื่อยั่วน้ำลาย

วันหนึ่งถ้าพากเพียรไป ดูกายดูใจของเราไป เราปอกเปลือกของตัวเองออกไปจนล้อนจ้อนไม่มีอะไรเหลือเลย เราจะพบตัวจริง ของเราซึ่งไม่มีอะไรเลย  เพราะฉะนั้น เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย

จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย  เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย  กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ  ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์”  จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ”  พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน เป็นเรื่องที่แปลกนะ เวลาเราภาวนาเืบื้องต้น เราก็รู้ึสึก พระพุทธก็อันนึง พระธรรมก็อันนึง พระสงฆ์ก็อันนึง  แต่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นอันเดียวกัน ในเนื้อแท้แล้วเป็นอันเดียวกัน เป็นความไม่มีอะไรนี่เอง เป็นธรรมะนั่นเอง  แต่ไม่ใช่แบบว่างเปล่าสาบสูญ  ถ้าสาบสูญเป็นมิจฉาทิฐิ  มีแต่ความสุขล้วนๆเลย เวลาที่เรากระทบ เราสัมผัส เราระลึกถึง เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกจนถึงจุดที่ว่าเราปล่อยวางจิตได้แล้ว เวลาที่เรามนสิการถึงนิพพาน นิพพานกับจิตก็สัมผัสกันอยู่ตรงนั้นเลย นิพพานไม่ใช่ต้องเข้าสมาธิก่อนแล้วส่งจิตไปดู ไม่ใช่

ค่อยฝึกนะ เราจะมีความสุขมหาศาลรออยู่ข้างหน้า หัดเบื้องต้นก็มีความสุขเล็กน้อยไปก่อน  คนไม่เคยมีสติ พอมีสติขึ้นมาก็มีความสุข  คนไม่มีศีล พอมีศีลขึ้นมาก็มีความสุข คนไม่เคยมีสัมมาสมาธิ พอจิตมีสัมมาสมาธิตั้งมั่น ไม่หลง ไ่ม่เผลอตามอารมณ์ สักว่ารู้ สักว่าเห็น มีความสุข  จิตที่มีวิมุติมีปัญญาขึ้นมาก็มีความสุข มีวิมุติขึ้นมาก็มีความสุข

เพราะฉะนั้นเราภาวนาไป จะมีความสุขเป็นลำดับๆไป  เบื้องต้นมีความสุขจากการรู้สึกตัวก่อน หัดตัวนี้ให้ได้ก่อน พอเรามีความสุขที่ได้รู้สึกตัว เราจะรู้สึกตัวบ่อย เพราะเราชอบแล้ว เราชอบรู้สึกตัว เราชักไม่ชอบเผลอแล้ว  แต่เดิมคิดว่าเผลอๆ เพลินๆ มีความสุข  รู้สึกตัวไม่มีความสุขเพราะรู้สึกตัวแล้วเห็นแต่ทุกข์ เห็นกายเป็นทุกข์ เห็นใจเป็นทุกข์  แต่พอเรารู้สึกตัวเป็น รู้สึกไปเรื่อย เราพบว่าทันทีที่รู้สึกตัว มีความสุขขึ้นมา มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา สุขอยู่ในตัวเอง แล้วก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป  เมื่อไหร่ใจหลงเข้าไปแทรกแซง เมื่อนั้นความทุกข์ก็เกิดขึ้น  เมื่อไหร่ใจไม่แทรกแซง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ก็มีความสุข  ตรงนี้เป็นความสุขของกายใจที่ตั้งมั่นและใจที่มีปัญญา แต่ยังไม่ใช่ความสุขถึงที่สุด  ความสุขของศาสนาพุทธมันลึกซึ้งเป็นชั้นๆ ไป

คนในโลกใจมันคลุกอยู่กับอารมณ์ อย่างมีความอยากขึ้นมาแล้วก็ได้รับการตอบสนอง สมอยากแล้วมีความสุข ไม่สมอยากถึงจะทุกข์ คนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นที่สุดเลย  หมาแมวเหมือนกันนะ แมวจะไปจับนกนะ จับได้แล้วมีความสุข จับไม่ได้แล้วทุกข์  ถ้าสมอยากแล้วมีความสุข ถ้าไม่สมอยากถึงจะทุกข์  พวกเราผู้ภาวนา เราจะเห็นเลย ถ้ามีความอยากก็จะมีความทุกข์ ถ้าไม่มีความอยากแล้วไม่ทุกข์ จะเห็นอย่างนี้ ถ้าถึงจุดสุดท้ายเราจะรู้เลย จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยาก ขันธ์ห้านี่แหล่ะเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง ถ้าเห็นอยู่อย่างนี้เรียกว่า รู้อริยสัจแจ่มแจ้งแล้ว รู้ว่าขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง  ความอยากที่จะให้ขันธ์ห้าเป็นสุขจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะรู้ว่ามันเป็นตัวทุกข์ ทำอย่างไรมันก็ทุกข์ อย่างเรารู้ว่าไฟนี้เป็นของร้อน เราก็ไม่ต้องไปอยากให้มันเย็น อย่างไรมันก็ร้อน เราไม่โง่พอที่จะไปอยากรู้่ว่าไฟวันนี้จะเย็นหรือยัง ลองจับ จะไม่โง่ขนาดนั้น  คือจิตที่มันรู้ว่าขันธ์เป็นของร้อนแล้ว มันจะไ่ม่ไปหยิบฉวยขันธ์ขึ้นมาอีกแล้ว ไม่ไปหยิบฉวยจิต ไม่ไปหยิบฉวยขันธ์

สวนสันติธรรม
CD: 23
File: 501229B.mp3
Time: 0.10 – 12.11

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

งานหลักของเราคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏ

mp 3 (for download) : งานหลักของเราคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเมื่อไหร่เราปฏิบัติโดยการเข้าไปแทรกแซงเรื่อยๆนะ เช่น โกรธขึ้นมากำหนด โลภขึ้นมากำหนดนะ นานๆ เราจะรู้สึกว่าเราบังคับจิตได้ จะรู้สึกคึกคักห้าวหาญ ไม่กลัวกิเลสแล้ว กิเลสมาทีไรกำหนดแล้วจอดหมดทุกทีเลย จิตนี้เป็นอัตตาขึ้นมาแล้ว ได้พอกพูนความเห็นผิดว่าจิตเป็นตัวเป็นตน เป็นสิ่งบังคับได้ขึ้นมา จะไม่ใช่วิปัสสนานะ วิปัสสนาจะรู้กายอย่างที่เขาเป็นรู้ใจอย่างที่เขาเป็น เห็นจิตเห็นใจทำงานของเขาไปเรื่อย เราบังคับไม่ได้ เขาไม่เที่ยง เขาทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งนานๆ ไม่ได้ ดูไป ใจเห็นความจริงใจถึงยอมรับนะ ยอมรับแล้วมรรคผลมันจะเกิด

พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าเพราะรู้ตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงหมายถึงรู้รูปนามนะ รู้รูปนามตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงคือไตรลักษณ์นั่นเอง รู้ว่ารูปนามตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวเรา

เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย จอยรู้สึกไหม มันน่าเบื่อ สุขก็น่าเบื่อนะ ทุกข์ก็น่าเบื่อนะ ดีก็น่าเบื่อ ชั่วก็น่าเบื่อนะ อะไรๆ ก็น่าเบื่อ หยาบก็น่าเบื่อ ละเอียดก็น่าเบื่อ เพราะมันของไม่เที่ยงทั้งหมดเลยนะ เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด คลายกำหนัดนี่มาจาก ภาษาไทยฟังแล้วแปลยาก ภาษาบาลีเรียกว่า “วิราคะ” หมายถึงใจเราไม่เข้าไปผูกพันกับมัน ใจไม่เข้าไปผูกพันในความสุข เพราะรู้ว่าความสุขชั่วคราว ไม่ไปหลงยินดีว่ามันจะต้องถาวร อยากให้มันถาวร ไม่มีอย่างนี้ จะไม่ดิ้นรนเพื่อจะรักษาความสุขแล้ว ใจไปเห็นความทุกข์เข้า ก็ไม่ผูกพันกับความทุกข์ ไม่ใช่คิดว่าความทุกข์เป็นตัวเราของเรานะ งั้นต้องไปหาทางละ ใจจะไม่เข้าไปผูกพันกับสภาวะที่มันไปรู้เข้า ใจมันคลายออก

เพราะรู้ตามความเป็นจริงก็เลยเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายเลยคลายกำหนัดคือคลายความผูกพัน คลายความรักใคร่ในสภาวะอันหนึ่ง เกลียดสภาวะอันหนึ่ง เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น หลุดพ้นจากอะไร จากรูปจากนามนั่นเอง ที่ชมพูเห็น จิตมันไปคว้าจิตขึ้นมา มันไม่หลุดพ้นนะ มันปล่อยไม่ได้ ถ้ามันเห็นความจริง จิตนี่ทุกข์ล้วนๆ นะ มันจะทิ้ง เรียกเห็นไตรลักษณ์ จิตแจ่มแจ้งแล้วมันทิ้งเลย มันทิ้ง

เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น อะไรหลุดพ้นอะไร จิตหลุดพ้นจากความถือมั่นในขันธ์นั่นเองนะ จิตหลุดพ้นจากกิเลสที่ห่อหุ้มจิตที่เรียกว่า “อาสวะ” กิเลสที่ห้อหุ้มจิต จิตหลุดพ้นออกมา เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้เลยนะ รู้ด้วยตัวเองนะ ของมันเคยยึดเคยถือไว้หนักๆ นะ มันหลุดแล้วมันวาง เห็นต่อหน้าต่อตา มันวางจริงๆ เพราะมันไปเห็นธรรมที่พ้นจากความเกิดความตาย

เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ก็จะรู้ธรรมะที่พ้นออกไป เรียกว่า “วิมุตติญาณทัสสนะ” รู้ธรรมะแห่งความหลุดพ้น รู้นิพพานนั่นเอง

แล้วก็รู้อีกนะว่าชาติสิ้นแล้วคือความเกิดสิ้นแล้ว ความเกิดคืออะไร คือการที่ใจเราเข้าไปหยิบฉวยรูปนามนั่นเอง ใจที่เราเข้าไปหยิบฉวยจิตนี่ คว้าปั๊บเข้ามาหยิบฉวยเข้ามา นี่แหละคือความเกิดคือชาติ ใจเข้ามาหยิบฉวยกายก็เกิดชาติ ใจหยิบฉวยจิตก็เกิดชาติ พอเบื่อหน่ายคลายกำหนัดก็หลุดพ้น รู้ว่าหลุดพ้นแล้วนะ รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว ไม่หยิบฉวยอะไรขึ้นมาอีกแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือการประพฤติปฏิบัติธรรมเนี่ย

การศึกษาธรรมะเนี่ย ศึกษาจบแล้ว ศึกษาจบแล้ว จบในศีลในจิตในปัญญา ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ไม่ใช่ศีลสมาธิปัญญานะ เราพูดเล่นคล่องๆ ปากหรอกศีลสมาธิปัญญา

ไตรสิกขาคือศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา แจ่มแจ้งแล้วรู้หมดแล้ว

ศีลเนี่ยเป็นการศึกษาเพื่อสู้กิเลสหยาบๆ เพื่อให้จิตนี่มีความตั้งมั่นเพียงพอพร้อมที่จะมาเรียนรู้จิต คือทำจิตตสิกขา

จิตตสิกขาเนี่ย จิตจะสงบจากนิวรณ์จากกิเลสชั้นกลาง พร้อมที่จะไปเจริญปัญญา มันจะรู้ว่าจิตยังไงที่ข่มนิวรณ์ได้ จิตยังไงข่มนิวรณ์ได้แล้วพร้อมที่จะเจริญปัญญาด้วย จิตที่ข่มนิวรณ์ได้คือจิตที่ทำสมถะ จิตที่ข่มนิวรณ์แล้วพร้อมจะเจริญปัญญาคือจิตที่พร้อมต่อการทำวิปัสสนา ไม่เหมือนกัน

พอถึงปัญญาสิกขาก็คือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจจนละกิเลสขั้นละเอียดคือความหลงผิดได้ละอวิชชาได้

งั้นศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ชำแหละกิเลสเป็นชั้นๆ ๆ เข้ามานะ จนกระทั่งจิตใจเราบริสุทธิ์หมดจดแล้ว หมดงานต้องทำเรียกว่าเรียนจบ เรียกว่าจบหลักสูตร ที่ว่าพรหมจรรย์อยู่จบแล้วหมายถึงว่าเรียนจบหลักสูตรแล้ว คนที่เรียนจบหลักสูตรเรียกว่า “อเสขบุคคล” คือคนที่ไม่ต้องเรียนอีกแล้ว คือพระอรหันต์นั่นเอง

พวกเราเป็นนักเรียนนะ พวกเรายังเป็นนักเรียน พระโสดาบันน่ะเป็นนักเรียนจริงๆ พระโสดาบันน่ะเป็นนักเรียน พวกเรานั้นเป็นคล้ายๆ นักเรียนเตรียมอนุบาลนะ ยังไม่ถึงขั้นเป็นนักเรียน เพราะพระโสดาบันขึ้นไปนี่ถึงจะเรียกว่าเป็น “เสขบุคคล” เป็นนักเรียน พระอรหันต์เรียกอเสขบุคคล ไม่ต้องเรียน ส่วนเราเป็น “กัลยาณปุถุชน” เป็นปุถุชนที่ดี ปุถุชนแปลว่าหนา กิเลสหนานั่นแหละ ไม่ใช่อะไรหนานะ กิเลสหนา ไม่ใช่สมองหนา กะโหลกหนานะ กิเลสหนาหมายถึงว่ากิเลสนี่มีแรงมาก ลากจูงจิตใจเราไปลงนรก เราก็ยอมไปกับมันนะ เอาความหอมหวานมาหลอกมาล่อ

งั้นเราค่อยศึกษาไปนะ จนกระทั่งวันหนึ่งงานเสร็จแล้วนะ เสร็จแล้ว ใจไม่ไปหยิบฉวยอะไรอีกแล้ว มันพ้นทุกข์แล้ว มันเห็นนิพพานเต็มบริบูรณ์ต่อหน้าต่อตา นี่พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจที่ควรทำเนี่ยควรทำในอะไร ในสังสารวัฏนี่เอง

พวกเราที่เวียนว่ายในสังสารวัฏนะ เรามีงานหลักของเรานะคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏให้ได้นะ นี่คืองานหลักของเรานะ ไม่ใช่ร่อนเร่ไปในสังสารวัฏเวียนเกิดเวียนตายไปเรื่อยๆ งั้นงานไม่มีที่สิ้นสุดเลย

กิจที่ควรทำก็คือการข้ามภพข้ามชาตินั่นเอง ได้ทำเสร็จแล้วทำหมดแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก เพราะตรงนี้ไม่มีอะไรจะต้องทำแล้ว กายกับใจเราคืนให้ธรรมชาติคืนให้โลกเขาไปแล้ว จิตใจจะมีแต่ความสุขนะ มีความสุขมีความสงบมีความเบิกบานถาวรอยู่อย่างนั้น จะหลับตื่นยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆ นะ เพราะว่าจิตใจไม่ถูกขยำขยี้ จิตใจของเราถูกปู้ยี่ปู้ยำนะ ปู้ยี่ปู้ยำด้วยตัวเองนี่แหละ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116B.mp3
Time: 27.39 – 34.48

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พอมีสติแล้วกิเลสเท่านั้นที่ดับ ถ้าไม่ใช่กิเลสก็ไม่ดับ

mp 3 (for download) : พอมีสติแล้วกิเลสเท่านั้นที่ดับ ถ้าไม่ใช่กิเลสก็ไม่ดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สวนสันติธรรม
CD: 22
File: 500902.mp3
Time: 52.15 – 53.11

โยม: คือช่วงประมาณ 20 นาทีที่แล้ว รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน  ซึม ๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: อืม..อาหารมันย่อยแล้วล่ะ

โยม: แต่คือรู้นะคะ  แต่มันดับยากจัง  มันไม่มีกำลัง

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่ใช่ฝึกให้ดับนะ ฝึกให้รู้ตามที่มันเป็น อย่างร่างกายเรา  สมมุติว่าเรากินข้าวแล้วมันซึมไปนี่นะ  ให้รู้ว่าซึม  ไม่ใช่ให้อยากหายซึมนะ   ถ้าอยากหายซึมแล้วพยายามฝืน ๆ เดี๋ยวจะปวดหัว    มันซึมรู้ว่าซึมไป

โยม: คือ  ถ้าเรารู้ทันก็ไม่ใช่ว่ามันจะดับทันทีใช่ไหมคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเป็นเรื่องทางกายไม่ดับ

โยม: ถึงว่าสิคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเป็นเรื่องทางใจ  ทีี่เป็นกิเลสถึงจะดับ   ถ้าไม่ใช่กิเลสก็ไม่ดับ   อย่างจิตใจเรามีความสุขนี่  ฟังธรรมะแล้วมีความสุขเราก็รู้อยู่อย่างนี้   ความสุขไม่จำเป็นต้องหายเพราะความสุขเป็นเวทนา  อยู่ในเวทนาขันธ์  ไม่ใช่กิเลส    เฉพาะกิเลสเท่านั้นล่ะที่พอมีสติแล้วมันดับ


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

mp 3 (for download) : ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

พักนี้นะก็คือ ขี้เกียจขี้คร้าน ปล่อยตัวปล่อยใจตามโลกไป ความเพียรนี้มันเกิดจากความโลภก่อน อยากได้ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ อยากได้มรรคผลนิพพาน เสร็จแล้วก็เกิดความดิ้นรนในใจเรา พยายามที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดานะ ดิ้นรน ส่วนมากก็จะดิ้นรนบังคับตัวเองเท่านั้นแหล่ะ ดิ้นรนบังคับกาย บังคับใจ จะให้มันเรียบร้อย เพราะฉะนั้นตรงที่พักอยู่กับเพียรอยู่นี้ เป็นความสุดโต่ง ๒ ด้านนะ อันนี้มันมาจากพระสูตรอันหนึ่ง มีเทวดาองค์หนึ่ง รู้สึกจะพระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ มั้ง ไม่รู้นะ จำไม่ได้ถนัดแล้ว นานแล้วนะ มีเทวดาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปถามพระพุทธเจ้า บอกข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร ข้ามห้วงกิเลสได้อย่างไร พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ อันนี้แกล้งชมนะ ให้กำลังใจ ความจริงเทวดามันก็ทุกข์นั่นแหล่ะนะ แต่ว่าเทวดาองค์นี้ท่านสำคัญตนว่าเป็นพระอริยะ ก็เลยมาถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ข้ามได้อย่างไร ในใจก็ว่า ฉันข้ามมาแบบนี้ พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้โดยไม่พักอยู่ และไม่เพียรอยู่ เทวดาฟังแล้วงงเลย ไม่พักอยู่เทวดาเข้าใจ พัก หมายถึง ขี้เกียจขี้คร้านไม่ภาวนา แต่พระพุทธเจ้าบอก ท่านข้ามโอฆะได้โดยไม่เพียรด้วย เทวดางงนะ ก็เลยถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ให้พระองค์ช่วยขยายความ พระพุทธเจ้าก็ขยายความบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราข้ามโอฆะได้ โดยไม่พัก และไม่เพียร นี้เทวดาฟังเท่านี้ได้พระโสดาบัน มีใครได้หรือยัง ฟังเหมือนเทวดาแล้วนะ ได้มั้งไหม ยังไม่ได้ ไม่ได้ต้องขยายอีกนะ เผื่อจะได้

คำว่า พักอยู่ นี้หมายถึง การที่ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส หมายถึงอะไร หมายถึง กามสุขัลลิกานุโยค เพลิดเพลินไปในอารมณ์ทางโลกๆ เพลินไปในการดู ในการฟัง ในการดมกลิ่นลิ้มรส ในการสัมผัสต่างๆนะ เพลินอยู่กับโลก นี่เรียกว่า พักอยู่ แล้วจมลงใช่ไหม ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่แล้วจะจมลง ก็คือ ถ้าเราหลงตามโลก ตามกิเลสไป จิตใจเราจะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ลงถึงอบายจนได้ แล้วก็เพียร แปลว่าอะไร เพียร หมายถึง การบังคับตัวเองนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ นี่พูดแบบสุภาพนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย ทันทีที่คิดถึงการปฏิบัตินี้ ถ้าไม่บังคับกาย ก็บังคับใจ ยกตัวอย่าง สมมุติเราจะนั่งสมาธิ เราจะต้องเริ่มด้วยการบังคับกายก่อน ต้องนั่งให้มันเท่ๆ เสร็จถัดจากนั้นบังคับใจ เนี้ยนั่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆนะ ท่านบอกทำแล้วจะลอยขึ้น ลอยไปไหน ลอยไปพรหมโลก เพราะฉะนั้นทำไปๆ ก็ไปสร้างภพสร้างชาติขึ้นอีก

ทางสายกลางนั้น ไม่พักอยู่ คือ ไม่หลงตามกิเลสไป ไม่เพียร คือ ไม่เอาแต่นั่งเพ่งตัวเอง อย่างบางคนดูท้อง พอง ยุบ ก็ไปเพ่งท้อง เดินจงกรมก็ไปเพ่งเท้า ไปรู้ลมหายใจก็ไปเพ่งลมหายใจ นั่นเรียกว่า เพียรอยู่ เพียรอยู่แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไร ได้ความดี ถ้าพักอยู่ได้ความชั่ว ทั้งดีและชั่วก็นำไปสู่ภพภูมิใหม่ ภพความชั่วก็นำไปสู่อบายภูมิ ภูมิที่ตกต่ำ ความดีก็นำไปสู่ สุขคติภูมิ ไม่ได้นำไปสู่นิพพาน แต่เราทำชั่วไม่ได้นะ ถ้าทำชั่วเราจะไปอบายภูมิ หน้าที่ของเราเดินในทางสายกลาง ทางสายกลาง ก็คือ การมีสติรู้กายตามที่มันเป็น มีสติรู้จิตใจ ตามที่จิตใจเขาเป็น ดูเข้าไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: 27
File: 511018B.mp3
Time: 29.57 – 34.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

mp 3 (for download) : ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง

จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง

ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501020A.mp3
Time: 25.10 – 32.06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ให้ฝึกจิตเดินปัญญาด้วยการแยกธาตุแยกขันธ์

mp3 (for download) : วิธีฝึกจิตให้เดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้บางคนนี่ที่อินทรีย์แก่กล้านะ พอทำความรู้ตัวขึ้นมาปุ๊บ จิตตั้งมั่นมันรู้ตัวปุ๊บ เริ่มเดินปัญญาได้เองนะ มันเห็นกายแยกออกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู เห็นเวทนาแยกเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู เห็นสังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุศลนะแยกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู แยกออกมาได้ แล้วเห็นจิตนั้นเกิดดับเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง นี่บางคนที่เค้าทำมาแล้วนะพอจิตตั้งมั่นปุ๊บมันเห็นเองเลย นี้บางคนไม่เป็น บางคนไม่เป็นก็ต้องฝึกเอา

วิธีฝึกก็คือช่วยมันหัดแยกธาตุแยกขันธ์ ช่วยมัน วิธีช่วยทำอย่างไรดี นั่งก็ได้นะ นั่งให้สบายนะ เอาให้สบายสุดๆเลยนั่ง แต่อย่างนั่งหลับก็แล้วกัน สมมติว่านั่งสมาธิแล้วสบายก็นั่งสมาธิไป นั่งเก้าอี้แล้วสบายก็นั่งเก้าอี้ไปนะ มีเก้าอี้ตัวละแสนนั่งแล้วแทบจะปลิวแทบจะลอยก็นั่งไป ไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้เกี่ยวกับท่านั่งหรอก หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะว่า ไม่เกี่ยวกับอิริยาบถเลย ท่านบอกเอาหัวทิ่มพื้นนะเท้าชี้ฟ้า ก็ภาวนาได้ นี่ไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนั่งให้สบายไปก่อน นั่งให้สบายนะแล้วค่อยๆสังเกตไป ร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆหัดดู บางคนมันรู้เอง ถ้าคนไหนมันไม่รู้เองนะก็ช่วยมันหน่อย บางทีครูบาอาจารย์ ให้พิจารณากาย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่ พิจารณา ๆ ไป ช่วยมัน ช่วยมันดูเพื่อให้เห็นว่าร่างกายเป็นส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง หรือถ้าเราไม่พิจารณาเรานั่งดูเอาเลยก็ได้ เห็นร่างกายที่หายใจออก เห็นร่างกายที่หายใจเข้า เห็นร่างกายที่นั่ง ดูไปอย่างนี้ หรือร่างกายจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จริงๆได้ทุกอิริยาบถนะ แต่เอานั่งไว้ก่อน หรือใครถนัดเดินก็เดินไว้ก่อน ยกเว้นนอนนะ นอนนี่เอาไว้ทีหลังอย่าเพิ่งเลย หัดง่ายเกินไป งั้นเอายืน เอาเดิน เอานั่งไว้ก่อน ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ

อย่างหลวงพ่อถนัดนั่ง หลวงพ่อก็นั่งดูเห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้ ดูไปๆ จะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ร่างกายกับใจนั้นเป็นคนละอันกัน นี่มันเริ่มแยกแล้ว เริ่มแยกขันธ์แล้ว รูปขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นามขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นั่งต่อไปเรื่อยๆ นั่งให้สบาย นั่งเก้าอี้ตัวละหมื่น ตัวละแสนอะไรก็นั่งไป นั่งไปๆ สักพักหนึ่งก็เมื่อย มีไหมนั่งเก้าอี้แพงๆแล้วไม่เมื่อย ที่หลวงพ่อสังเกตนะ เก้าอี้ยิ่งแพงยิ่งนั่งแล้วเมื่อย เราคงไม่มีบุญนะ เวลาไปเทศน์ที่ไหนนะเค้าจะจัดเก้าอี้ที่นั่งแล้วยุบไปครึ่งตัว โผล่หัวออกมาหน่อยนึง โอ๊ยเมื่อยจะตาย นั่งเกร็งไว้ตลอดเลย นั่งลงไปนะประเดี๋ยวนึงก็เมื่อยขึ้นมา พอเมื่อยเราค่อยๆสังเกตนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความเมื่อย ร่างกายยังไม่ได้ขยับเลย เมื่อกี้ไม่เมื่อย ตอนนี้ชักเมื่อยขึ้นมาแล้วนี่ ค่อยดูอย่างนี้ เราจะเห็นว่าความเมื่อยกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เห็นว่าเวทนากับกายนี้เป็นคนละส่วนกันจริงๆ จิตเป็นคนดู นี่เราแยกได้สามขันธ์แล้วนะ

ทีแรกนั่งไปหรือเดินไปแล้วเห็นว่าร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดูนี่แยกกายกับจิตออก ถัดจากนั้น แยกต่อไปอีก นั่งไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ มันเกิดปวดเกิดเมื่อยขึ้นมา เราเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามา เข้ามาทีหลังหรอก ทีแรกไม่ปวดไม่เมื่อยนะ ความปวดความเมื่อยแทรกเข้ามา เป็นอีกขันธ์หนึ่ง ร่างกายกับความปวดเมื่อยคนละอันกัน จิตเป็นคนดู นี่ได้สามขันธ์แล้วนะ

ต่อไปพอร่างกายมันปวดมันเมื่อยมากขึ้นๆ จิตชักจะกระสับกระส่ายแล้ว ถ้าเราดูเป็นเราจะเห็นว่าจิตไม่ได้เมื่อย กายก็ไม่ได้เมื่อย ความปวดความเมื่อยนั้นแทรกเข้ามาอยู่ในกาย จิตไม่ได้เมื่อยเลยนะ จิตไม่เกี่ยวเลยแต่จิตกระสับกระส่ายเพราะจิตมันรักกาย มันรักว่า นี่ร่างกายของเรา ว่านั่งอย่างนี้เดี๋ยวจะเป็นอัมพาตนะ ยังไม่เคยเห็นใครนั่งสมาธิเป็นอัมพาตสักคนเลยนะ มีแต่ไปทำอย่างอื่นเป็นอัมพาต นี่เราค่อยดูไป พอมันเจ็บมันปวดมากขึ้นๆนะ ใจมันกระสับกระส่าย เราจะเห็นเลยนะว่า เมื่อกี้ใจมันเฉยๆนะ ตอนนี้ใจมันกระสับกระส่าย ใจกับความกระสับกระส่ายมันคนละอันกันอีก นี่ค่อยดูอย่างนี้ ทีแรกก็ดูกายนะกับจิต มีจิตเป็นคนรู้คนดู ต่อมาความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามาในกายเราก็เห็นความปวดความเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่กาย พอมันปวดเมื่อยมากนะความกระสับกระส่ายแทรกเข้ามาในจิต พอมีสติรู้ทันอีกก็เห็นว่า ความกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่จิต ความกระสับกระส่ายกับความปวดเมื่อยก็คนละอันกัน ความปวดอยู่ที่กายนะแต่ว่าใจมันทุรนทุรายขึ้นมา กังวลขึ้นมา กลุ้มใจขึ้นมา หงุดหงิดขึ้นมา โมโหขึ้นมา นี่มันมาเกิดที่ใจ แล้วมันก็ไม่ใช่ใจด้วย ความโกรธก็ไม่ใช่ใจ ความหงุดหงิดก็ไม่ใช่ใจ ใจเป็นคนดู นี่หัดแยกมันอย่างนี้นะ นี่ได้สี่ขันธ์แล้ว ได้ร่างกายนะ ขันธ์หนึ่ง เวทนาความปวดความเมื่อยขันธ์หนึ่ง ความทุรนทุรายของจิตใจนี่เป็นสังขารขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง จิตเป็นคนดูอีกขันธ์หนึ่ง สัญญาขันธ์อย่างเพิ่งไปยุ่งกับมัน ยุ่งกับสัญญาเร็วเกินไปเดี๋ยวบ้า เรียกสัญญาวิปลาส เอาไว้ก่อน งั้นเวลาท่านสอนท่านจะสอน กาย เวทนา จิต เห็นไหมจะสอนตรงนี้ แต่สัญญาเว้นไว้ก่อนอย่าเพิ่งไปยุ่ง บางคนไปยุ่งกับสัญญานะ พยายามดัดแปลงสัญญาเช่น เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ อย่างนั้นอย่าไปยุ่งกับมัน ให้รู้ รู้ลูกเดียวนะ รู้ลงในกาย รู้เวทนา รู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลของจิต แล้วก็รู้จิตใจของเราแต่ละส่วนๆ นี่หัดแยกอย่างนี้นะ ถ้ามันไม่แยกเองก็ช่วยมันแยก ตามวิธีที่หลวงพ่อเล่านี่ นั่งดูมันไป ค่อยๆพิจารณาค่อยๆแยกนะ

ที่นี้พอมันแยกแล้วนะ ขันธ์แต่ละขันธ์จะไม่ใช่ตัวเราแล้วจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นเลย ร่างกายถ้ามันแยกออกมาจากจิตเมื่อไร ร่างกายจะไม่ใช่ตัวเรา จะรู้สึกนะเป็นความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด จะรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจที่เป็นสุข ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นกุศล-อกุศลนี่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวเรา ตัวจิตเองที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ไม่ใช่เรา เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา คำว่าเรา หมายถึง เราถาวร มีเราที่เป็นอมตะ นี่เรียก อัตตา อัตตาหมายถึงมีตัวตนเราถาวร ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา

ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย

ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน

CD สวนสันติธรรม 33

521226A

17.46 – 28.09

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

mp 3 (for download) : สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สติปัฏฐานมีสองส่วน ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ และทำให้เกิดปัญญา

ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ ให้ตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิตไป

ส่วนที่ทำให้เกิดปัญญานี้นะ รู้กายลงไปเป็นปัจจุบัน แล้วก็ตามรู้จิต จะต่างกันนะ

ฉนั้นในขั้นที่เราจะกระตุ้นให้สติเกิด ก็ตามรู้ทั้งกายทั้งจิตนั่นแหล่ะ อย่าไปดูลงปัจจุบันที่กาย เพราะถ้าดูลงปัจจุับันที่กาย จะไปเพ่งกายอัตโนมัติเลย

ในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา“  “ปัสนา” คือการเห็น ตามเห็นเนืองๆ ซึ่งกาย   ตามเห็นน่ะ เป็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ทีนี้ตามเห็นไปเรื่อยๆ แล้วมันเกิดสติ แล้วจิตมันจำสภาวะได้ กำลังเผลอๆ อยู่นี่ เกิดขยับตัววับนะ สติก็เกิดแล้ว หรือกำลังเผลอๆ อยู่ เกิดความรู้สึกทุกข์อะไรแว๊บขึ้นมานะ สติก็เกิด  หรือกำลังเผลออยู่ จิตเป็นกุศลอกุศลขึ้นมา สติก็เกิด  คนไหนเคยตามรู้กายเนืองๆ พอร่างกายเคลื่อนไหวปุ๊บ สติเกิด  คนไหนตามรู้จิตเนืองๆ พอจิตเคลื่อนไหว สติก็เกิด

พอสติเกิดแล้ว คราวนี้มารู้กายลงเป็นปัจจุบัน รู้สึกเลย ตัวที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นรูปธรรมอันนึงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีธาตุไหลเข้า ธาตุไหลออกตลอด แล้วธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นกายนี้ ก็เปลี่ยนแปลงตลอด

รู้ลงปัจจุับันนะ ถ้าดูจิตก็ตามดูัมันไปเรื่อยๆ  ดูกายมีสอง step  ถ้าดูจิตนะ ดูตั้งแต่ต้นจนจบ ดูอย่างเดียว ดูอย่างเดียวกัน แต่ตอนดูก็ให้สติเกิดเอง ก่อนดูให้สติเกิดเอง อย่าจงใจให้เกิด  จงใจให้เกิดแล้วกลายเป็นเพ่งจ้อง  ระหว่างรู้ก็อย่าถลำลงไปรู้ ให้สักว่ารู้ ให้สักว่าเห็น ดูแบบคนวงนอก ไม่มีส่วนได้เสีย ดูกายเหมือนเราดูกายคนอื่น  ดูจิตใจเหมือนเราดูจิตใจคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย

จิตมันโกรธขึ้นมานะ ก็ดูเหมือนเห็นคนอื่นโกรธ เห็นความโกรธไหลมาไหลไป ดูอย่างไม่มีส่วนได้เสีย ดูอยู่ห่างๆ มันจะเหมือนเราอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปคลุกกับมัน เหมือนเราอยู่บนยอดตึำกนะ มองลงมา เห็นรถวิ่งเต็มถนนนะ  รถจะชนกันข้างล่างนะ ก็ไม่ได้มากระเทือนถึงเราที่เป็นแค่คนดู   จิตใจเป็นกุศลอกุศล จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรเนี่ย ก็ไม่กระเทือนเข้ามาถึงคนดู

พอรู้แล้วก็อย่าไปแทรกแซงมัน ก่อนจะรู้อย่าจงใจรู้  ระหว่างรู้นะให้สักว่ารู้ อย่าถลำลงไปรู้  รู้แล้วอย่าแทรกแซง  เกือบทั้งหมดก็แทรกแซง เจอกุศลก็อยากให้เกิดบ่อยๆ เกิดแล้วก็อยากให้อยู่นานๆ  เจอสุขก็อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้อยู่นานๆ  เจออกุศล เจอทุกข์ก็อยากให้หายไปเร็วๆ หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น  ตรงที่เข้าไปแทรกแซงมีปัญหามาก ลำพังกายนี้ใจนี้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง  มันเรื่องของกายเรื่องของใจ เรื่องของธาตุเรื่องของขันธ์ ไม่เกี่ยวกับเรา  ถ้าเมื่อไรเราหลงยินดียินร้าย  อย่างความโกรธเกิด อยากให้หาย  พออยากให้หายนะ ใจมันจะดิ้น  ใจจะดิ้นรนขึ้นมาทำงาน   พอใจดิ้นรนทำงาน ความทุกข์เกิดซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก อันนี้เป็นความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109A.mp3
Time: 3.25 – 7.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จุลโสดาบัน ปิดอบายภูมิได้หนึ่งชาติ

mp 3 (for download) : จุลโสดาบัน ปิดอบายภูมิได้หนึ่งชาติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะฉะนั้น มีสติบ่อยๆ มีสติบ่อยๆนะ มันจะไม่ไปทุคติหรอก ถ้าสติอัตโนมัติเลย เหมือนโอ่งอย่างนี้ ถ้าไม่เสื่อมไปจากตรงนี้นะ ชาติต่อไปนี่ไม่ไปทุกขคติหรอก มันปิดอบายภูมิไปได้ หนึ่งชาติ ชาติเดียวนะ ปิดได้หนึ่งชาติ เพราะจิตที่เดินมาถึงอย่างนี้นะ เรียกว่าจิตมันได้ จุลโสดาบัน จุลโสดาบันไม่ใช่พระโสดาบัน จุลโสดาบัน คือคนที่ภาวนาจนได้ ถึงสัมมสนญาณ สัมมสนญาณ นี่คือการที่เห็นไตรลักษณ์นั่นเอง เห็นแต่ว่าไม่ได้เห็นด้วยการเข้าไปประจักษ์ความเกิดดับต่อหน้าต่อตา อย่างโอ่งภาวนา โอ่งเห็นสภาวะที่เกิดดับต่อหน้าต่อตานี่เลยสัมมสนญาณไปอีก เรียกว่าอุทยัพพยญาณ เพราะฉะนั้นถ้าเราภาวนานะเราเห็นไตรลักษณ์ที่ยังเจือด้วยการคิดอยู่ เจือด้วยการคิดอยู่ นี่เรียกว่าได้ สัมมสนญาณ ในตำรานะ บอกว่าปิดอบายได้ชาติหนึ่ง มาดูดูก็เป็นไปได้เหมือนกัน เพราะว่าสติมันเริ่มเกิดขึ้นอัตโนมัติแล้ว เกิดเร็วขึ้นๆนะ เพียงแต่ว่ามันยังไม่หยั่งลงไปเห็นสภาวะเกิดดับ พอสติเกิดเร็วๆนี่เวลาเราฝันร้าย รู้สึกมั้ย สติเกิดอัตโนมัติเลย เพราะฉะนั้นเวลาจะตาย พอนิมิตไม่ดีเกิดนะสติเกิดอัตโนมัติเลย เห็นนิมิตที่ไม่ดีดับไปเกิดนิมิตที่ดีแทน เพราะฉะนั้นหัดดูจิตดูใจไว้นะหัดดูไป ใช้ประโยชน์ได้เยอะเลย ใช้ในชีวิตประจำวันนี้ก็ได้นะ ใช้ไปมรรคผลนิพพานก็ได้ ถ้ายังไม่มรรคผลนิพพาน ไม่ถึงนิพพานในชีวิตนี้ เอาไปใช้ประโยชน์ตอนจะตาย ไปช่วยตัวเองตอนจะตายได้

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109B.mp3
Time: 26.17 – 28.07

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

mp 3 (for download) : การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาดูจิตดูใจ ถ้าขึ้นวิปัสสนาแล้วก็จะเห็นความเกิดดับ เห็นจิตดวงนึงเกิดขึ้นดับไป มีช่องว่างมาคั่น ดวงนึงเกิดขึ้นดับไปมีช่องว่างมาคั่น หรือบางทีก็เห็นนามธรรมกระจายตัวออกไป เห็นจิตอยู่ต่างหากนะ เห็นความรู้สึกสุขรู้สึกรู้สึกทุกข์แยกออกไป เห็นความจำได้หมายรู้แยกออกไป เห็นกุศลและอกุศลทั้งหลายนี้แยกออกไป ไม่ใช่จิต แยกออกไปอีกนะ กระจายออกไป กระจายออกไป งั้นวิปัสสนานี่มันจะเห็น

วิปัสสนาแท้ๆมันจะเห็นสองอัน อันนึงเห็นสันตติ คือความสืบเนื่องมันขาด เห็นรูปอันนี้กับรูปอันนี้คนละรูปกัน เห็นคนละรูป เห็นนามอันนี้กับนามอันนี้คนละนาม สันตติมันขาด มันขาดอย่างไร เห็นนามอันนึงกับนามอันนึงขาดออกจากกันมีช่องว่างมาคั่น มีช่องว่างมาคั่น นี่สันตติขาด ไม่ใช่ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกันเหมือนสายน้ำ แต่เดิมเรานั่งดูจิตดูใจไปเราเหมือนเราดูน้ำไหลผ่านหน้าไป ไหลไปเรื่อยไม่มีช่องว่าง นี่ พอสติ สมาธิแก่กล้าขึ้นมามันเห็นนะ รูปนามมันเกิดดับได้ เกิดแล้วดับ อันใหม่กับอันเก่านี่คนละอันกัน เห็นต่อหน้าต่อตา ไม่ใช่คิดเอา ถ้ายังคิดเอาเรียกว่า สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณนี่ต้องอุทยัพพยญาณ ชื่อมันไม่ต้องจำก็ได้นะไม่สำคัญหรอก ชื่อมันยาว รวมชื่อสิบหกชื่อนะยาววากว่าๆ ไม่ต้องจำ

หรือเห็นฆนะ อันนึงเห็นสันตติขาด อันนึงเห็นฆนะ ฆนะแปลว่ากลุ่มก้อน เขียนด้วย ฆ ระฆัง น หนู ฆนะ มันแตก สิ่งที่เป็นกลุ่มเป็นก้อนนะมันแตกออกไป อย่างแต่เดิมเรารูปกับนามมันแยกออกจากกัน รูปก็แตกออกไปอีก สิ่งที่เป็นรูปแตกออกไปสี่อย่างเป็นธาตุสี่ นามก็แตกออกไปเป็นสี่อย่าง เป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกออกไปนะ นี่ ฆนะ มันแตก แล้วก็เห็นแต่ละอัน ๆ แต่ละสภาวะๆ มันแยกย้ายกันทำงาน แต่ละคนทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง เห็นมั๊ย กว่าจะขึ้นวิปัสสนาจริงๆไม่ใช่ง่ายนะ

สวนสันติธรรม
CD: 25
File: 510510.mp3
Time: 9.37 – 11.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขันธ์เหมือนภาพลวงตา เหมือนภาพในจอหนัง

mp 3 (for download) : ขันธ์เหมือนภาพลวงตา เหมือนภาพในจอหนัง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

การปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เราชอบไปวาดภาพให้มันเกินจริง แค่เรามีสติ เรารู้ทันการทำงานของกายของใจ โดยเฉพาะของใจ กายมันเคลื่อนไปได้เพราะว่าใจมันสั่งนั่นแหละ พอรู้ทันเข้ามาถึงจิตถึงใจนะ ถึงต้นตอของมัน แล้ววางตัวต้นตอไปได้ก็สบาย ส่วนมากเราชอบไปแก้อาการ แก้ปรากฏการณ์ซึ่งบังคับไม่ได้

คล้ายๆ เคยเห็นเขาฉายหนังกลางแปลงไหม เดี๋ยวนี้ยังมีบ้างไหม หนังตามงานวัดใครเคยเห็นไหม ทำไมต้องหนังงานวัด มันเห็นเครื่องฉาย มันมีเครื่องฉายตั้งอยู่ จออยู่โน่น คนทั้งหลายนะไปหลงภาพในจอ ทวนเข้ามาไม่ถึงต้นตอของมัน ไปเห็นตัวนางเอกในหนัง ไปไล่คว้า คว้าเงานั่นแหละ ขันธ์มันก็เหมือนภาพลวงตา ขันธ์นะเหมือนภาพลวงตา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราพบเราเห็นนั้นก็แค่ภาพลวงตาเหมือนภาพในจอหนังนั่นเอง จริงๆ เราบังคับมันไม่ได้ งั้นเราจะไปไล่ตะครุบไล่จับไล่ควบคุมขันธ์น่ะทำไม่ได้ เหมือนไล่ตะครุบภาพในจอหนัง ทำไม่ได้ ถ้าทวนกระแสเข้ามาถึงตัวต้นตอของมันคือจิตนั่นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นปรุงออกไปจากจิตนั่นเอง ถ้าเราแค่เอามือปิดเครื่องฉายหนังซะ ไม่ให้ทำงานต่อ ภาพในจอทั้งหมดก็ว่างเปล่า ตามสภาพเดิมของมัน งั้นการปฏิบัติไม่ใช่นั่งแก้อาการทีละอาการ การปฏิบัติถ้าจะให้ได้ผลรวบรัดนะ เรียนรู้เข้ามาให้ถึงต้นตอของความปรุงแต่ง ถ้ารู้เข้ามาถึงต้นตอของความปรุงแต่ง มันอยู่ที่จิตนั่นเอง จิตมันปรุงแต่ง ถ้ารู้ถึงความปรุงแต่งจนความปรุงแต่งขาดไปนะ ไม่ต้องไปตามแก้อาการอีกแล้ว คนทั้งหลายได้แต่แค่พยายามแก้อาการ พยายามทำได้แค่นั้นเองเพราะสติปัญญาไม่แก่รอบ ไม่รู้ว่าวิธีจัดการกับความทุกข์ที่จะพ้นทุกข์อย่างแท้จริงนั้นคือทวนกระแสเข้ามา มาเรียนรู้ที่ต้นตอของมัน จนเราเห็นเลย กระทั่งจิตนี้ก็ไม่ใช่เรานะ คืนให้ธรรมชาติไป งั้นโยนเครื่องฉายหนังทิ้งไปด้วย ใครก็เอามาฉายอีกไม่ได้แล้ว แต่สติปัญญาของคนในโลกมันทำได้แค่ตะครุบภาพในจอหนัง เผอิญรูปภาพในจอมันยืนอยู่นิ่งๆ บางทีมันยืนคุยกันนิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว ไปจับไว้ นึกว่าจับได้แล้ว หยุดได้ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หนีไปอีก หนีอีกก็วิ่งไล่จับอีก โง่นะ ศาสนาพุทธเราเรียนย้อนเข้ามาหาต้นตอของมัน ต้นตอของความปรุงแต่งอยู่ที่จิตนี่เอง วันหนึ่งรู้ทันต้นตอของมันนะ คล้ายๆ เอามือไปปิดไอ้ตรงที่มันฉายไฟออกมา ภาพในจอหนังก็หายไป ไม่หลงออกไปข้างนอกแล้ว สุดท้ายนะโยนเครื่องฉายหนังลงน้ำไป สุดท้ายคือเราโยนจิตทิ้งไปนั่นเอง สลัดทิ้ง มันก็จะฉายอีกไม่ได้ ทีนี้เราเอามือปิดไว้นะ พอหมดแรงปิดมันก็ฉายอีก พวกที่เดินฌาน ไม่หลงไปกับความปรุงแต่งทางตา หู จมูก ลิ้น กายแล้ว แต่เครื่องฉายหนังยังเดินอยู่ เพียงแต่ไม่ทำงานออกไปสู่กามภพ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดอยู่ หมดแรงปิดเมื่อไหร่นะ เผลอหลุดมือเมื่อไหร่นะ มันฉายออกไปอีกแล้ว พวกพรหมสำรวมจิตเข้ามานะ สำรวมจิตเข้ามา แต่ว่าจิตก็ยังปรุงแต่งอยู่ คือหนังยังฉายอยู่แต่ว่ามันไปที่จอไม่ได้เท่านั้นเอง รูปมันไปไม่ถึงจอ งั้นภาวนานะเป็นขั้นเป็นตอน คนทั้งหลายมันไล่จับเงา ไล่ในกามนั่นเอง รู้สึกสนุกสนานเอร็ดอร่อยสวยงาม รูปในจอหนังสวยกว่าตัวเครื่องฉายหนังใช่มั้ย แต่ไม่ใช่ของจริง กามก็เป็นอย่างนั้นแหละ สวยงามล่อลวงให้วิ่งไล่จับ เหมือนๆ จะได้แต่ไม่เคยได้ ไม่เคยอิ่มไม่เคยเต็มหรอก สำรวมจิตสำรวมใจเข้ามานะ ไม่ออกไปภายนอก สงบอยู่ภายใน อันนี้ก็ได้ความสงบ ได้ความสุข แก้ปัญหาได้ชั่วครั้งชั่วคราว เหมือนการทำสมถะ ถ้ามาเรียนรู้จนเราทำลายเครื่องฉายไปนะ คือเราสามารถปล่อยวางขันธ์ห้าได้ ขันธ์ห้าตัวสุดท้ายที่จะวางคือจิตนั่นเอง ตราบใดที่ยังปล่อยวางจิตไม่ได้นะ ก็จะเกิดขันธ์ห้าใหม่ๆ ขึ้นมาอีก เพราะจิตดวงเดียวนี่แหละสร้างขันธ์ห้าขึ้นมาใหม่ได้ทั้งขันธ์ห้าแน่ะ จิตดวงเดียวนี่แหละเหมือนเมล็ดพันธุ์ เดี๋ยวไปงอกเป็นต้นไม้ใหญ่ๆ ออกลูกออกหลานได้อีกเยอะแยะ งั้นเรียนเข้ามาถึงจิตถึงใจ วันหนึ่งทำลายเมล็ดพันธุ์คืออวิชชาลงไป ทำลายเชื้อพันธุ์ของมัน เป็นเมล็ดที่ไม่งอกอีกแล้ว มันก็ยังทรงรูปของเมล็ดที่ไม่งอกไปอีกช่วงหนึ่ง ต่อไปก็แตกสลายหายไป

งั้นการปฏิบัติมีความสุขอยู่ข้างหน้ามากมาย เรามัวแต่ตะครุบเงานะ อย่าหลงนะเสียเวลา ไม่ฉลาดเลย ความสุขที่เป็นภาพลวงตา พระพุทธเจ้าบอกขันธ์มันเป็นภาพลวงตา เหมือนพยับแดดนะ พยับแดด อย่างเราขับรถไปมองเห็นไกลๆ เห็นเหมือนเป็นน้ำบ้าง เห็นเหมือนไอน้ำเต้นยิบยับๆ เข้าใกล้ๆ แล้วหายไปหมดเลย ความสุขก็ล่อเราอย่างนี้แหละ ให้วิ่งไป พอเข้าไปใกล้ๆ นะก็หายไปละ ไปอยู่ข้างหน้าอีกแล้ว เราก็วนเวียนนะ น่าสงสารมาก ถ้ายังวนเวียนอยู่ก็ยังไม่รู้สึกน่าสงสารหรอก ยังรู้สึกว่าบางครั้งก็เอร็ดอร่อย สนุก บางครั้งก็เศร้าโศก บางครั้งก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เวียนอยู่อย่างนั้น ก็ยังพอทน รู้สึกทุกข์บ้างสุขบ้าง รู้สึกไม่ใช่เราทุกข์คนเดียว ใครๆ เขาก็เป็นอย่างนี้เหมือนๆ กันหมดทั้งโลก นี่เพราะว่าไม่มีสติปัญญาที่จะพ้นไปจากวังวนของความปรุงแต่งอันนี้ ค่อยๆ เรียนเข้ามานะ เข้ามาหาจิตหาใจตัวเอง ไม่หลงปรุงแต่งออกไปภายนอก แล้ววันหนึ่งหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิง มันจะหมดความปรุงแต่งสิ้นเชิงเมื่อมันปล่อยวางความยึดถือจิตได้

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116A.mp3
Time: 4.39 – 11.35

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สภาวะธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์

mp 3 (for download) : สภาวะธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์: ใจเราแต่ละคนมันไม่ยอมรับธรรมะ คือมันไม่ยอมรับความจริง อย่างร่างกายต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นความจริงนะ เราไม่ยอมรับนะ เราไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย จิตใจของเราต้องสุขบ้างทุกข์บ้าง เราก็ไม่ยอมรับเราอยากสุขอย่างเดียว จิตใจของเราเป็นของบังคับไม่ได้ เดี๋ยวก็เป็นกุศล เดี๋ยวก็เป็นอกุศล เราบังคับไม่ได้ เราก็ไม่ยอมรับ เราอยากบังคับให้ได้ อยากให้มันดีถาวร

การที่เรามาหัดเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ เพื่อวันหนึ่งจิตใจมันจะได้ยอมรับความจริง มันยอมรับความจริงมันจะเห็นเลยสภาวธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความสุขและความทุกข์ก็เสมอภาคกันนะ นี่เป็นเรื่องอัศจรรย์เลย ของเรารู้สึกเลย ความสุขความทุกข์ไม่เสมอกัน กุศลและอกุศลก็เสมอภาคกัน เราก็รู้สึกว่าไม่เสมอ แท้จริงแล้วสภาวธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ ล้วนแต่ไม่เที่ยงเหมือนกันหมดเลย ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว ล้วนแต่เป็นทุกข์ ทั้งกายทั้งใจนี่เป็นทุกข์นะ แล้วก็บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีอะไรบังคับได้สักอันเดียว ใจเราไม่ยอมรับตรงนี้

แท้จริงแล้วสภาวธรรมทั้งหลายนั้นเสมอกันหมด ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว ธรรมะที่เป็นคู่ๆ ทั้งหลายนั้นเสมอกัน ใจเราต่างหากที่ไม่เสมอกัน ใจเราจะรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง รักสุขเกลียดทุกข์ รักดีเกลียดชั่ว พอใจเราไม่เสมอภาคใจเราจะดิ้นรน ใจเราดิ้นรนปรุงแต่ง ใจเราทำงานขึ้นมา ใจเราก็มีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าวันหนึ่งใจเรารู้แจ้งแทงตลอดลงไปนะ ธรรมะที่เป็นคู่ๆ ทั้งหลาย สุขทุกข์ดีชั่วอะไรนี้ เสมอภาคกันหมด คือเกิดแล้วดับทั้งหมดเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราว

พอใจมันมีปัญหาเห็นอย่างนี้นะ ใจมันจะเข้าสู่ความเป็นกลาง พอใจเป็นกลาง ใจก็จะไม่ดิ้นรน ใจไม่ดิ้นรน ใจก็ไม่ทุกข์นะ เมื่อไรปัญญาเกิด เห็นสภาวธรรมทั้งหลายเสมอกันหมด ใจก็จะไม่ดิ้น ใจไม่ดิ้น ใจไม่ทุกข์ ของเราไม่เห็น เรารู้สึกไม่เสมอกันรู้สึกไหม สุขดีกว่าทุกข์ กุศลดีกว่าอกุศล เรายังมีสิ่งที่เป็นคู่ๆ เยอะเลย ละเอียดดีกว่าหยาบ ที่ใกล้ดีกว่าที่ไกล ภายในดีกว่าภายนอก

ธรรมะเราไปหลงธรรมะที่เป็นคู่ๆ ธรรมะภายใน เช่น สงบอยู่ข้างในดี ฟุ้งซ่านออกข้างนอกไม่ดี ธรรมะอยู่ใกล้ๆ อยู่กับกายกับใจแล้วดี ออกไปข้างนอกไม่ดี ยุ่งกับตัวเองดี ยุ่งกับคนอื่นไม่ดี จริงๆ เสมอกันแหละ ยุ่งเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้นแหละ

เพราะฉะนั้นเรียนนะ เรียนเพื่อให้เห็นความจริง สภาวะทั้งหลายเสมอภาคกัน ใจของเราต่างหากไม่เสมอ ไม่เสมอภาค รักอันหนึ่งเกลียดอันหนึ่ง แล้วก็ดิ้นรน ดิ้นรนแล้วก็ทุกข์ ถ้าเมื่อไรปัญญาแจ่มแจ้ง ธรรมที่เป็นคู่เสมอภาคกันหมด ใจก็ไม่ดิ้นรน ใจไม่ดิ้นรน ใจก็พ้นทุกข์ นิพพานเป็นความสิ้นราคะ สิ้นตัณหา สิ้นความอยาก นิพพานเป็นวิสังขาร สิ้นความปรุงแต่งดิ้นรน เมื่อไรใจเราหมดความหิวโหยในอารมณ์อันโน้น เกลียดอารมณ์อันนี้ หมดความปรุงแต่งอย่างโน้นอย่างนี้ จิตใจก็จะเข้าสู่สันติสุขเข้าสู่นิพพาน

สังเกตให้ดีใจของเราทำงานทั้งวันทั้งคืน ดูออกไหม จิตใจเราทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดเลยนะ เดี๋ยวคิดโน้น เดี๋ยวคิดนี่ไปเรื่อยๆ เลย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวชั่ว ทั้งวันทั้งคืน เพราะฉะนั้นใจมันหาความสุขไม่ได้ หาความสงบไม่ได้ ฟุ้งไปเรื่อยๆ ค่อยๆ รู้สึกเอา แล้วเฝ้ารู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ จะเห็นเลยสุขทุกข์ดีชั่วอะไรนี่เสมอกันหมดเลย

ใจที่เข้าถึงธรรมนี่จะเห็นสิ่งทั้งหลายเสมอภาคกันนะ กระทั่งกับความตายและการมีชีวิตอยู่ นี่มันก็ของคู่อันหนึ่งเหมือนกัน ความตายและการมีชีวิตอยู่ มีพระสูตรอันหนึ่งหลวงพ่อจำชื่อไม่ได้นะ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ตัวท่านน่ะเป็นพระอรหันต์อยู่แล้วล่ะ แต่ท่านไม่ได้อยากตาย ท่านไม่ได้อยากมีชีวิตอยู่นะ แต่ท่านไม่ได้ร่ำร้องหาความตาย ใจท่านเป็นกลางจริงๆ กับธรรมที่เป็นคู่ ใจท่านไม่ดิ้นเลย ท่านก็สามารถมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันอย่างมีความสุข แต่ว่าไม่ได้ติดว่าจะต้องอยู่อย่างนี้ตลอดไป ท่านก็ไม่ได้รีบร้อนว่าจะต้องตายๆ ไปซะ เพราะชีวิตนี้เป็นทุกข์ ใจของพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า การมีชีวิตอยู่หรือว่าตายไปนั้น ใจท่านเสมอกันด้วย ใจของพระอรหันต์ก็เป็นแบบนั้น ไม่ได้คิดว่า ตายๆ แล้วจะมีความสุขนะ

ของเราเวลาความทุกข์บีบคั้นมากๆ จะรู้สึกว่าตายซะได้จะมีความสุข หรือบางคนก็ตายแล้วคงลำบากนะ มีชีวิตอยู่นี่ล่ะดีกว่า นี่มันไม่เสมอภาคกัน ไม่เสมอภาคทุกเรื่องเลยนะในธรรมะที่เป็นคู่ๆ ไม่มีเสมอภาคหรอก เพราะฉะนั้นใจเรานี่เองที่ดิ้นรนไปเรื่อยๆ

เคยอ่านเว่ยหล่างไหม สูตรของเว่ยหล่าง ที่พระสององค์นั่งเถียงกันนะว่า ลมที่พัดธงแล้วธงสะบัด พระเถียงกันว่า ลมไหวหรือธงไหว ท่านเว่ยหล่างชี้ขาดว่า จิตไหวต่างหาก นั่งเถียงสิ่งที่เป็นคู่มันอะไรแน่ อะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรชั่ว หลงอยู่ในสิ่งที่เป็นคู่ๆๆ ตลอดเวลาเลย พอเราหลงในสิ่งที่เป็นคู่ใจก็ดิ้นรนทำงานไปเรื่อยๆ ในขณะที่ธรรมแท้เป็นหนึ่งนะ จิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ไม่มีธรรมคู่นะ จิตก็เป็นหนึ่ง มีสันติสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน ไม่กวัดแกว่ง แกว่งขึ้นแกว่งลง ฟูขึ้นแฟบลงไม่มี ไม่มีวิ่งไปวิ่งมาอะไรเลย เป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้นแหละ มีแต่ความสุข มีสันติสุขอยู่ในตัวเอง เรียกว่า จิตหนึ่ง ธรรมที่ไปเห็นนะ ก็ไปเห็นธรรมหนึ่ง

ในขณะที่พวกเราไม่เคยเห็นธรรมหนึ่ง เราเห็นแต่ธรรมคู่ ธรรมที่เป็นคู่ๆ สุขทุกข์ ดีชั่ว กายกับใจ นี่ก็คู่หนึ่ง สุขทุกข์ ดีชั่ว กุศลอกุศล กลางวันกลางคืน หลับตื่น มีชีวิตหรือว่าตาย เป็นคู่ๆๆ ตลอด แล้วก็หลงกับมัน หลงจริงจังกับมัน ถ้าเรียนรู้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่งใจจะเป็นกลางนะ เป็นกลางมีแต่ความสุขล้วนๆ เลย หลวงปู่มั่นท่านเรียกว่า ‘ฐีติจิต’ จิตที่เป็นหนึ่งนี่ ธรรมที่เป็นหนึ่งท่านเรียก ‘ฐีติธรรม’ ฐีติจิต-ฐีติธรรม ไม่ใช่ฐิตินาถนะ  ฐีติจิต-ฐีติธรรม ฐีตินาถจริงๆ ก็ต้องเป็นชื่อของนิพพานเหมือนกัน บางองค์ท่านเรียกว่า ‘จิตเดิมแท้’ บางองค์เรียก ‘จิตหนึ่ง’ บางองค์เรียกว่า ‘ใจ’ บางองค์เรียก ‘จิตเดียว’ แล้วแต่สำนวนนะ ถ้าสำนวนอภิธรรมเรียก ‘มหากิริยาจิต’ เป็นอันเดียวกัน มีหลายชื่อแล้วแต่จะเรียก

มันจะเป็นหนึ่ง ไม่ใช่จิตทีหลงยินดียินร้ายกับอะไร มีแต่ความสุขนะ ประหลาดมากเลย เป็นความสุขที่แปลกประหลาด เวลาเราเห็นโลกนี่จะเห็นโลกนี้ราบ เสมอกันหมดเลย ผู้หญิงผู้ชาย เด็กผู้ใหญ่ คนหรือหมาหรือแมว สิ่งมีชีวิตสิ่งไม่มีชีวิต จะเห็นว่าจริงๆ แล้วมันเป็นอันเดียวกันหมดเลย ราบเป็นอันเดียวกันหมดเลย

คนถ้าหลงในสมมุติบัญญัติก็จะไม่เป็นอันเดียวแล้ว เป็นคู่ๆ มีผู้หญิงมีผู้ชาย มีเด็กมีผู้ใหญ่ มีคนมีสัตว์อะไรขึ้นมา เสร็จแล้วมันก็จะอยากอันหนึ่งเกลียดอันหนึ่งขึ้น มันก็ดิ้น ดิ้นแล้วก็ทุกข์ แค่นี้แหละ ง่ายนะ ง่ายสุดขีดเลย

สวนสันติธรรม

CD: 17
File: 500105.mp3
Time: 4.25-12.57

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อินทรีย์ ๕ กำลังในการปฏิบัติ

mp 3 (for download) : อินทรีย์๕ กำลังในการปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จริงๆ กำลังในการปฏิบัติมี ๕ อัน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องคอยเช็คตัวเองว่า อันใดมากอันใดน้อยไป เช็คตัวเองแล้วก็ปรับสมดุลมันไป ถ้าเราดูของเราออก เราก็แก้ไปเองได้ เอาตัวรอดไปได้ ดูไม่ออกก็อาศัยเพื่อนสหธรรมิก อาศัยครูบาอาจารย์ กัลยาณมิตร อะไรอย่างนี้ บอกให้ แต่ที่ดีที่สุดนะ อาศัยการสังเกต หลวงพ่ออาศัยการสังเกตมากเลยเพราะไม่ได้อยู่กับครูบาอาจารย์ หลวงพ่อสามเดือนสี่เดือนไปทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น เวลาที่เหลือนี่ใช้การสังเกตเอา

บางช่วงศรัทธามากไป ชักจะโง่แล้ว งมงาย คิดว่าทำๆ ไปเดี๋ยวมันก็พ้นเอง นี่ค่อนข้างโง่นะ ทำๆ ไป มันต้องมีเหตุมีผลนะ ไม่ใช่ดุ่ยๆ ไปเรื่อย ทำผิดทำถูกหรือเปล่าไม่รู้นี่ ไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆ แล้วก็บรรลุได้นะ ถ้าทำผิดมันไม่บรรลุหรอก มันต้องมีสติปัญญารู้เลย ไม่ใช่เชื่องมงายนะว่าทำๆ ทนๆ ไปแล้ววันหนึ่งรู้ ไม่ใช่

มีความเพียร ความเพียรมากไป หรือความเพียรน้อยไป วัดตัวเองดู บางช่วงขี้เกียจขี้คร้าน ก็เอาข้ออ้างนะ มีข้ออ้างนะ เวลาขี้เกียจขึ้นมาก็บอกว่า โอ จิตมันไม่ใช่เรา ไม่รู้จะขยันไปทำไม ไม่ใช่เรา ถ้าขยันเดี๋ยวจิตเป็นเราขึ้นมาอีก นี่ หาข้ออ้าง บางช่วงขยันเกินไป ภาวนาหามรุ่งหามค่ำจิตใจไม่ได้พักผ่อนเลย ไม่มีความสุข แห้งแล้ง เหน็ดเหนื่อยเกินไป ใช้ไม่ได้เหมือนกัน

สติ สติของเราเกิดเอง หรือว่าสติบังคับให้เกิด สติเกิดเองใจก็โปร่งโล่งเบา สติบังคับให้เกิดนี่ใช้ไม่ได้ หรือสติคมกล้าเกินไป แข็งไป แข็งปึกเลย อะไรไหวแว๊บนี่รู้หมดเลยนะ รู้แบบคมกริบเลย คมเกินไปก็ใช้ไม่ได้อีก ต้องค่อยๆ สังเกตตัวเอง

สมาธิ ใจเราตั้งมั่นจริงไหม หรือใจเราไปซึมเซาอยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง หรือว่าใจเราตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็นอารมณ์ ต้องคอยสังเกตเอา บางช่วงภาวนาไปแล้วเห็นสภาวะนะไม่ขาดสักทีหนึ่ง ดูใหญ่ๆ อยากให้มันขาดนะ เห็นแต่มันเกิดดับๆ ไปเรื่อยนะ ไม่ขาดไป สังเกตให้ดี ขาดสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ขึ้นมา หรือทำสมาธิพักผ่อนนิดเดียวนะ พอถอยออกมาเห็นสภาวะนะขาดสะบั้นเลย นี่สมาธิไม่พอ ต้องสังเกตเอา

ปัญญาก็ต้องสังเกตนะ ปัญญาฟุ้งซ่าน หรือว่าปัญญารู้จริงๆ ปัญญาคิด ปัญญานึก ปัญญาน้อม ปัญญาฟุ้งซ่าน ปัญญารู้ก็ปัญญาตัวจริง แต่บางครั้งก็ต้องอาศัยการคิดการน้อมเหมือนกัน มีศิลปะนะ มันไม่ใช่เป็นศาสตร์อย่างเดียวนะ การปฏิบัติเป็นศิลปะด้วย อีกหน่อยใครมีศิลปะเก่งๆ หลวงพ่อจะออกใบรับรองประกอบโรคศิลป์ มีศิลปะนะ มีศิลปะในการปฏิบัติ มันเป็นชั้นเชิงนะ เราไม่ได้วัวได้ควายมีแต่เรี่ยวแรงแล้วทุ่มเอาๆ หรือว่าชั้นเชิงมากจนไม่ต่อยสักทีนะ ฟุตเวิร์คสวยอยู่อย่างนั้น ก็ไม่ได้กินอีกนะ

นี่มันต้องสังเกตตัวเองเลย ทั้งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี่มันพอเหมาะพอควรไหม อันใดมากอันใดน้อยใช้ไม่ได้ นี่สติ ยกเว้นสตินะ สติยิ่งบ่อยยิ่งดี แต่สติกล้าแข็งไม่ดี ศรัทธามากก็โง่ วิริยะมากก็ฟุ้งซ่าน เหน็ดเหนื่อย สมาธิมากก็ซึมเซา ปัญญามากก็ฟุ้งซ่านอีก หรือไม่เชื่ออะไรเลย เชื่อตัวเอง กูเก่งๆ พวกปัญญากล้า ปัญญาอย่างนี้ไม่ใช่ปัญญาทางศาสนาพุทธหรอก ปัญญาคิดมาก

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500106.mp3
Time: 12.17 – 17.25

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติธรรมคล้ายขับรถ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก

mp 3 (for download) : การปฏิบัติธรรมคล้ายขับรถ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านสอนสมาธินะ พอจิตใจเราสงบ เช่น เราพุทธโธ หรือ หายใจ จิตใจสงบแล้วมักจะขี้เกียจขี้คร้าน เพราะมีความสุข ท่านจะไล่ให้ออกมาพิจารณากาย หรือ ออกมาเจริญสติข้างนอกนี้ คนที่ติดในความสุข ความสงบ พอตัวเองออกมาทำงาน ไม่ชอบนะ มันเหนื่อย เหนื่อย มันคล้ายๆเรานอนมานานแล้วเลยขี้เกียจออกจากบ้าน พอออกมาแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก รู้สึกร้อนมาก แต่พอเราออกมาทำงานไปเรื่อยๆ บางทีทำงานไปช่วงหนึ่ง เพลินกับงาน ไม่ยอมพักแล้ว คราวนี้เพลินกับงาน ครูบาอาจารย์ก็จะบอกว่า “ไปเพิ่มสมถะหน่อยช่วงนี้ ทำความสงบบ้าง พักบ้าง ให้จิตทำงานทั้งวันทั้งคืนไม่ดี ไม่มีแรง”

การปฏิบัติธรรมคล้ายๆขับรถนะ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก ขาที่เหยียบคันเร่งกับขาที่เหยียบเบรกขาเดียวกัน ใช่ไหม ไม่ใช่เหยียบคันเร่งพร้อมกับเหยียบเบรก บางเวลาเราก็ต้องทำความสงบเข้ามา บางวันสงบมากแล้วนะ ก็ต้องออกมารู้กายรู้ใจ ฝืนๆมัน มันไม่อยากดู ไม่อยากรู้ เพราะว่ามันไม่สบาย

เคยอ่านประวัติท่านอาจารย์มหาบัว ท่านเล่า เคยอ่านไหม ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น บอกว่า ช่วงแรกๆไปอยู่กับหลวงปู่มั่นนะ เช้าๆหลวงปู่มั่นจะถามว่า “ท่านมหาท่านภาวนาเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า มีความสุข ความสงบ” ทุกวันรายงานอย่างนี้ นานๆไป หลวงปู่มั่นท่านก็ดุเอานะว่า เอาแต่ความสุข ความสงบไม่ได้ ให้ออกมาพิจารณา ออกมารู้กายรู้ใจ ก็รู้ไปเถอะ พอท่านออกมาพิจารณา ท่านเริ่มต้นด้วยพิจารณากาย พิจารณาไปเรื่อย แล้วก็เพลิดเพลิน เช้าๆหลวงปู่มั่นมาถามอีก ท่านก็บอก หมู่นี้มีปัญญาดี เจริญปัญญา ทุกวันพูดแต่เจริญปัญญานะ ลืมสมถะอีก ท่านบอกจิตของท่านมันโลดโผน

เพราะฉะนั้น เราต้องดูตัวเองนะ ช่วงไหนควรเจริญปัญญา ช่วงไหนควรทำสมถะ สมถะเป็นที่พักผ่อนนะ ที่ดีไม่ใช่ไม่ดีนะ บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด เจริญสติในชีวิตประจำวัน นึกว่าหลวงพ่อบอกไม่ต้องทำสมถะ เราทำเท่าที่เราทำได้ บางคนทำอย่างไรมันก็ทำไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้เลย ก็ไหว้พระสวดมนต์ไว้ก็ยังดีนะ ได้สมถะนิดๆหน่อยๆ

สวนสันติธรรม CD: 16
File: 25491104.mp3
Time: 25.55-28.33

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 2 of 3123