Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึกสังเกตใจ

mp3 (for download) : เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึกสังเกตใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึก

เวลาฝึกก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ถูกแล้วที่ฝึก

โยม : คือ พึ่งเริ่มฝึก แล้วก็ไม่แน่ใจว่าที่ฝึกนี้ ถูกต้องไหม

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถูกแล้วนะที่ฝึก ต้องฝึกนะ เวลาที่เรา ฝึกมันก็ถูกบ้างผิดบ้าง แต่อย่างน้อยที่ฝึกเนี่ย ถูกแล้ว (โยม : ก็ฝึกไปเรื่อยๆ ขอบคุณค่ะ) ต้องฝึกไปเรื่อยๆ วิธีฝึกก็ไม่มีอะไรหรอก สังเกตใจเราไว้ ใจเราแต่ละวันไม่เคยเหมือนกัน บางวันก็สุข บางวันก็ทุกข์ บางวันก็ดี บางวันก็ร้ายใช่มั้ย ในวันเดียวกันก็ไม่เหมือนกัน ดูออกมั้ย เช้าสายบ่ายเย็นความรู้สึกไม่เหมือนกัน ให้เราคอยรู้ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ รู้เฉยๆนะ อย่าแทรกแทรง อย่าไปห้ามมันว่า ความรู้สึกต้องดีห้ามรู้สึกชั่วอะไรนี้  ไม่ห้ามเลย ให้รู้ไปลูกเดียว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓๑ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

mp3 (for download) : ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

โยม : เวลาที่เราไม่ทราบว่าจิตอยู่ที่ใหน กำลังหลงอารมณ์อะไรอยู่ เราควรทำอย่างไรดีคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็หัดรู้ทันนะ หัดรู้ทันความรู้สึกของตัวเองไป เราทุกคนสามารถรู้ความรู้สึกของตัวเองได้ ความรู้สึกทุกชนิดเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้

มีใครไม่รู้จักว่าโกรธเป็นไงบ้าง มีมั้ย ใครไม่รู้จัก ไม่เคยโกรธ ใครไม่เคยโลภ ใครไม่เคยหลง ใครเคยกลัวบ้าง มีมั้ย ใครเคยกลัว (โยมเริ่มยกมือ) มีคนเดียวเคยกลัว อ้อ มีสองคน สามคน มีใครเคยอิจฉาบ้างมีมั้ย เคยทุกคนแหล่ะ ความรู้สึกทุกชนิดนะเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้ว่าตอนนี้ใจของเรารู้สึกอะไร ใจไม่ได้หลงไปใหนนักหนาหรอก เรานั่นแหล่ะไม่ยอมดูเอง ถ้าขยันดู เราก็จะรู้เลยว่าตอนนี้ความรู้สึกของเราเป็นยังไง ความสุขรู้จักมั้ย ความทุกข์ก็รู้จักใช่มั้ย ดีใจ เสียใจ กลัว กังวล รู้จักทุกอย่าง เซ็งรู้จักมั้ย เซ็งกับโกรธเหมือนกันมั้ย ไม่เหมือน เห็นมั้ย แยกเป็น ตอนนี้ความรู้สึกเป็นยังไง

รู้ลงไป รู้ทันความรู้สึกที่กำลังเกิดอยู่ สดๆร้อนๆในใจ ตัวเองนะ ฝึกอย่างนี้แหล่ะ แล้วถึงจะเข้าใจว่าจิตมันเป็นยังไง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลตำรวจ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ โรงพยาบาลตำรวจ
File: 540330
ระหว่างนาทีที่  ๓๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

mp3 for download : ไมได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

โยม : แต่พอ หลังจาก 2 – 3 วัน ก็ปรากฎว่า มันค่อยๆหายไปแล้ว จนถึงตอนนี้ก็คือ เหมือนทำอะไรไม่เป็นแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็ดีแล้วนี่ ก็ไม่ต้องทำอะไร นะ ก็รู้ตัวไปอย่างนี้แหละ รู้ว่าไม่ได้ทำอะไร รู้ว่าทำอะไร รู้ว่าทำอะไรไม่ได้

แต่สังเกตมั้ย ใจมันโปร่งๆ โล่งๆ ก็รู้ว่ามันโปร่งๆโล่งๆ เพราะมันไม่ได้ทำอะไร เราไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำนะ เราฝึกเพื่อรู้ทันว่าจิตแอบไปทำอะไร ฝึกตรงนี้ต่างหาก ไม่ได้ฝึกทำอะไร แต่ฝึกเพื่อรู้ทันว่าจิตแอบไปทำอะไรอยู่ เช่นจิตแอบไปเพ่ง เรารู้ทัน มันก็เลิกเพ่ง จิตแอบไปคิด เรารู้ทัน มันก็เลิกคิดไป จิตปรุงแต่งขึ้นมา เรารู้ทัน มันก็หมดความปรุงแต่งไป

*หมายเหตุ เมื่อรู้ทัน กระบวนการปรุงแต่งต่างๆก่อนหน้านั้นจะดับไป แต่เมื่อดับไปแล้วก็อาจไปปรุงแต่งอย่างเก่ากลับมาได้ใหม่ ให้ตามรู้ตามดูต่อไปเป็นระยะๆ อย่าไปพยายามทำให้ไม่ปรุงแต่ง อย่าไปพยายามทำให้จิตปรุงแต่งแต่กุศล อย่าไปพยายามห้ามจิตไม่ให้มีกิเลส – ผู้ถอด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราต้องอยู่ให้ได้ในทุกสถานการณ์

mp3 (for download): เราต้องอยู่ได้ในทุกสถานการณ์

เราต้องอยู่ให้ได้ในทุกสถานการณ์

เราต้องอยู่ให้ได้ในทุกสถานการณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มืดมาเหรอ มืดก็รู้ เวลาเราป่วยไข้ สมมุติว่าเราป่วยหนัก โคม่าแล้วนะ แหมจะให้จิตประภัสสรเหรอ บางทีมันไม่เป็นน่ะ เจ็บมากเลย ทุรนทุรายเลย รู้มันด้วยความเป็นกลางเลย เห็นร่างกายทุรนทุราย จิตรู้ด้วยความเป็นกลาง ตายอย่างนี้ไม่เสียประโยชน์เลย

เพราะฉะนั้นเราต้องอยู่ให้ได้ในทุกๆสถานการณ์ ทุกปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์ทางบวกเราก็เป็นกลาง ปรากฏการณ์ทางลบเราก็เป็นกลาง ถ้ามันไม่เป็นกลางขึ้นมาให้รู้ทัน รู้ทันนะมันจะเป็นกลางของมันเอง ตัวนี้สำคัญนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี เพราะดีไม่เที่ยง ไม่ใช่ฝึกเอาสุขนะ เพราะสุขมันไม่เที่ยง

แต่ถ้าฝึกแล้วนะ สุดขีดแล้วนะ มันดีนะ มันสุขนะ มันสงบนะ สงบนะโลกจะแตกมันก็ยังสงบอยู่อย่างนั้นนะ เพราะโลกมันกระเทือนเข้ามาไม่ถึงจิต ใครจะทุกข์อย่างไรนะ ธาตุขันธ์จะแตกจะดับ จะทุกข์ขนาดไหน จิตก็มีความสุขอยู่อย่างนั้นน่ะ เพราะว่าสิ่งต่างๆกระทบเข้ามาไม่ถึงจิต จิตที่ฝึกดีแล้วจึงนำความสุขมาให้ แต่ไม่ใช่สุขอย่างที่พวกเราสัมผัส เป็นความสุขที่พ้นจากความปรุงแต่ง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๐๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ส่งการบ้านครั้งแรก อยากเริ่มต้นปฎิบัติธรรมทำอย่างไร

mp3 (for download): ส่งการบ้านครั้งแรก อยากเริ่มต้นปฎิบัติธรรมทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ส่งการบ้านครั้งแรก อยากเริ่มต้นปฎิบัติธรรมทำอย่างไร

ส่งการบ้านครั้งแรก อยากเริ่มต้นปฎิบัติธรรมทำอย่างไร

โยม : นมัสการหลวงพ่อครับ ผมเพิ่งกลับจากต่างประเทศแล้วก็ไม่เคยปฏิบัติธรรมมาก่อน อยากจะให้หลวงพ่อช่วยแนะนำหน่อยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ปฏิบัติธรรมอย่าไปนึกเรื่องคำว่าปฏิบัติธรรมมากไปนะ วุ่นวายเปล่าๆ เรามาเรียนรู้ตัวเองดีกว่านะ สิ่งที่เรียกว่าตัวเราก็คือกายกับใจนะ คอยเรียนรู้ เอา..ลองเริ่มจากเรียนรู้จิตใจของเราก็ได้

สังเกตมั้ยจิตใจของเราแต่ละวันไม่เคยเหมือนกัน บางวันก็ตื่นขึ้นมาก็สดชื่น บางวันตื่นมาก็แห้งแล้งแล้ว มาเรียนรู้ใจของตัวเองไปเรื่อยๆนะ ลืมคำว่าปฏิบัติไป มันจะไปหลอกให้เราทำโน้นทำนี่มากมายขึ้นมา มันคือการเรียนรู้ตัวเองนะ

พอเราดูได้ว่าแต่ละวันใจของเราไม่เคยเหมือนกัน ต่อไปก็ดูละเอียดขึ้น ในวันเดียวกันนะ เช้า สาย บ่าย เย็น ก็ไม่เหมือนกัน ต่อไปก็ดูได้ละเอียดขึ้นอีก เป็นขณะเลย ขณะที่มองเห็นความรู้สึกก็เปลี่ยนไป ขณะที่ได้ยินความรู้สึกก็เปลี่ยนไป ขณะที่คิดความรู้สึกก็เปลี่ยนไป คอยรู้ทันความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆภายหลังการกระทบอารมณ์นะ นี่มันจะละเอียดขึ้นๆ

แล้วอย่างอื่นๆมันรู้เองแหละ พอไหวมั้ยอย่างนี้ ไปดูนะ พอนึกออกมั้ย แต่ละเวลาแต่ละวันนี่ ใจเราไม่เหมือนเดิม ไม่ได้ไปฝึกให้มันดีนะ ไม่ได้ไปบังคับให้มันนิ่ง เราต้องการเรียนให้เห็นเลยว่าจิตใจของเรานี้ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอด จิตใจนี้ถูกความอยากบีบคั้น มีแต่ความทุกข์เพราะความอยากเกิดขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวอยากโน้นอยากนี้ทั้งวัน เรียนให้เห็นความจริงว่าจิตใจเป็นของบังคับไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ เนี่ยเรียกว่าเราเรียนรู้ความจริงของตัวเราเองนะ เรียนอย่างนี้แหละ แล้วก็จะเข้าใจธรรมะในเวลาสั้นๆ

ถ้าเราไปคิดว่าจะต้องปฏิบัติธรรมเราก็จะไปคิดถึงรูปแบบของการปฏิบัติเสียมากกว่า จริงๆการปฏิบัติธรรมคือการเรียนรู้ตัวเอง คนเขาก็ไม่เข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมคือการเรียนรู้ตัวเองนะ ก็คิดว่าการปฏิบัติธรรมก็คือการฝึกบังคับจิตของตัวเองให้มันดี ให้มันสุข ให้มันสงบ มันผิดเป้า(หมาย)ไป จริงๆแล้วทำยาก เพราะอะไร จะเอาดีเป็นเป้าหมาย ดีไม่เที่ยง เอาความสุขเป็นเป้าหมาย ความสุขไม่เที่ยง เอาความสงบเป็นเป้าหมาย ความสงบก็ไม่เที่ยง

แต่ถ้าเรามาเรียนรู้ความจริงนะ จะเห็นเลย จิตนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานะ มันจะคลายความยึดถือออกไป มันจะมีความสุขขึ้นมาแทน มีความสงบอีกอย่างหนึ่งขึ้นมา นิพพานก็คือความสงบอย่างหนึ่งนะ นิพพานโดยสภาวะของนิพพานคือสันติ ยกตัวอย่างที่นี่คือสวนสันติธรรม สันติธรรมคืออะไร คือนิพพานนั่นแหละ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๑ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

mp3 for download : คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ๆ กว่าจะดีได้ไม่มีฟลุ๊คหรอก แลกมาสาหัสสากรรจ์ แต่ละองค์ๆไม่มีลูกฟลุ๊คนะ ภาวนามาอย่างล้มลุกคลุกคลาน ทุกคนๆแหละ

เนี่ยพวกเราภาวนา เราอย่านึกว่า เหยาๆแหยะๆแล้วจะได้ ฆราวาสนี้มีจุดอ่อนคือ ไม่ต่อเนื่อง จุดอ่อนอยู่ที่ความต่อเนื่อง เอาไม่จริงน่ะ ถ้าเอาจริงก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ใจไม่ถึงหรอก เหยาะๆแหยะๆ ทำบ้างหยุดบ้าง

คนไม่จริงก็ได้ของไม่จริง คนจริงนะต้องใจถึงจริงๆ ใจถึงจริงต้องเข้มแข็ง มีความอดทนอดกลั้น ขันตินั้นสำคัญมากนะ จะเก่งแสนเก่งนะ แต่ว่าทำเหยาะๆแหยะๆ ไม่ได้กินหรอก ต้องพากเพียรจริงๆเลย

แล้วคำสอนทั้งหลายนะ สับสนอลม่านมากนะ ยุคนี้ ต้องศึกษาด้วย เป็นคนจริงอย่างเดียว เป็นคนจริงแบบวัวแบบควายใช้ไม่ได้ ต้องศึกษาว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าสอนอะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510308
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๒๘ ถึงนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

mp3 for download : อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาที่เราจะดูจิตดูใจ เราอย่าไปดักจ้องไว้ก่อน บางคนไปจ้องรอดูว่าเมื่อไหร่จิตจะมีปฎิกริยาอะไรขึ้นมา ถ้าเราไปจ้องไว้ จิตจะนิ่งๆ ทื่อๆ ไม่มีอะไรให้ดูเลย

เพราะฉะนั้นการดูจิตที่ดี ปล่อยให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้เอา มันโกรธขึ้นมา อ้อ มันโกรธขึ้นมาแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย มันโกรธขึ้นมาแล้วเรารู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมา มันอยากแล้ว มันเห็นสาวมันอยากจีบเค้าเนี่ย รู้ว่ามันอยากแล้ว นี่ความอยากเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าอยาก ความโกรธเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ใจลอยไปก่อนแล้วรู้ว่าใจลอย ฟุ้งซ่านไปก่อนแล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน หดหู่ไปก่อนแล้วรู้ว่าหดหู่ ให้ความรู้สึกมันเกิดขึ้นก่อน อย่าไปดักดู ถ้าเราดักดูละก็จะไม่มีอะไรให้ดู ทุกอย่างมันจะนิ่งไปหมด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: แสดงธรรมนอกสถานที่สนามบินสุวรรณภูมิ
File: 530111
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

mp3 for download : เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีอยู่คราวหนึ่ง ภาวนา มันเห็นสภาวะอยู่กลางหน้าอกนี่ มันไหวยิบยับๆ ใครเคยเห็น ไหวยิบยับในหน้าอก ยกมือสิๆ มีเยอะเหมือนกัน มันไหวยิบยับๆนี่น่ะ ดูแล้วไม่หาย อย่างถ้าความโลภความโกรธความหลงเกิดขึ้นมา ดูป๊บหายปั๊บ รู้สึกมั้ย โกรธขึ้นมาพอรู้ทันนั้นก็หาย โลภมารู้ทันมันหาย ไอ้ไหวยิบยับไม่ยอมหาย ไม่หาย ดูอยู่อย่างนั้นนะดู เสร็จแล้วสติมันไปจ่อมันไปดูอยู่ ดูอยู่เป็นเดือนเลย กลางวันก็ดู กลางคืนก็ดู ไม่ยอม(หยุด)เลย มันจะดูของมันตลอดเวลา เพราะมันสงสัยว่าตัวนี้มันคืออะไร

มันไหวยิบยับๆยิบยับๆขึ้นมาอยู่เดือนหนึ่งได้ โอ๊ยทุกข์มากเลย มันเหนื่อยแสนสาหัส เหนื่อยหนักเลย เอ๊… เราจะทำอย่างไรดี เราไม่ผ่านตัวนี้น้อ.. ไปถามครูบาอาจารย์ดีกว่า ไปหาหลวงพ่อพุธ ตอนนั้นท่านกำลังมีงาน เรียกว่างานบูรพาจารย์ ๑ – ๓ ธันวาคม ใช่มั้ย ชักจะจำไม่ได้แล้ว ไม่ได้ไปหลายปี ก็มีโยมมีพระมาเต็มวัดเลย ทีนี้หลวงพ่อไปแต่เช้าเลย หลวงพ่อพุธท่านยังไม่ได้ออกไปเทศน์ ก็ไปเล่าให้ท่านฟัง ว่ามันไหวอย่างนี้ จะทำอย่างไรครับ ทรมานมากเลย เห็นอยู่เดือนหนึ่งแล้ว

พวกเรา สมมุติ พวกเราดูหนังเรื่องเดิม ๑ เดือน ทุกข์หรือไม่ทุกข์ล่ะ ฟังเพลงประโยคเดียว ๑ เดือน ทุกข์มั้ยล่ะ ประโยคเดียว เนี่ยมันเห็นไหวยิบยับๆ ทู้ก..ทุกข์ บอกหลวงพ่อพุธว่าเนี่ยผมจะทำยังไงดี แต่เดิมสภาวะอะไรเกิดขึ้น ผมดูปุ๊บขาดหมดเลย นี้ไม่ขาด หลวงพ่อพุธบอกว่าการภาวนานี้ เมื่อถึงขั้นละเอียดนะ มันเหลือแต่ยิบยับๆ ยิบยับๆ ท่านว่าอย่างนี้ มันเหลือแต่ยิบยับๆให้ดูไปนะ ดูไป เนี่ยไม่มีทางปฏิบัติอื่นหรอก มันเป็นความปรุงละเอียด จิตมันปรุงละเอียด

ท่านพยายามสอนนะ ใจเราไม่ลง เฮ่อ.. ก็ปรุงละเอียดน่ะครับ แล้วทำอย่างไรจะผ่าน ใจมันไม่ลงแต่ไม่พูดนะ แต่ท่านรู้ว่าใจเรายังติดอยู่ นี่น่ะครูบาอาจารย์ท่านรู้หรอก ใจเรายังข้องนะ ใจเรายังติดอยู่ ท่านก็พยายามอธิบายใหญ่นะ วนไปวนมา ซ้ำไปซ้ำมา จะให้จิตเราคลายออก มันไม่คลาย สักครึ่งชั่วโมงแล้วพระมาตาม บอกว่าได้เวลาแล้ว คนเขารออยู่เต็มศาลาเลย ท่านบอกว่า เอาไว้ก่อนๆ อันนั้นไปเทศน์ตามธรรมเนียม ไม่สำคัญเท่าไหร่หรอก ตรงนี้สำคัญ ต้องแก้กรรมฐานก่อน นี่นะท่านพยายามแก้ให้หลวงพ่อนะ เกือบชั่วโมง ไม่ตกนะ แก้ไม่ตกนะ ในที่สุดเราก็ต้องบอกท่านว่า หลวงพ่อเหนื่อยเต็มทีแล้วครับ นิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์เถอะ เดี๋ยวผมค่อยไปหาทางจัดการเอาเอง สงสารท่านนะ แล้วเราก็ชักกลัวด้วย เขามาตามหลายรอบแล้ว เขาก็ชักตาขวางๆแล้ว

เสร็จแล้วกลับมาบ้าน แก้ไม่ตก เขียนจดหมายไปถามอาจารย์มหาบัว สมัยโน้นท่านยังตอบจดหมายอยู่ คนยังไม่ยุ่งกับท่านมาก ตอนนั้น เขียนไปถามท่านว่า มันยิบยับอย่างนี้ทำยังไง แล้วท่านก็ตอบมานะ ให้หนังสือธรรมเตรียมพร้อมมา บอกว่าเราเพิ่งไปทำตาใหม่ เราเขียนจดหมายยาวไม่ได้ ให้ไปอ่านเอาเอง โอ้โห..เล่มเบ้อเริ่มเลย ไม่รู้จะทำอย่างไร ท่านให้มานะ เอาหนังสือลงวางนะ บนโต๊ะกราบเลย กราบท่านเลย ไหนๆท่านก็ให้มาแล้ว ลองดูสักหน้าสองหน้าก็แล้วกัน พลิกออกมานะ กลางๆเล่มนะ ตอบเเรื่องนี้เป๊ะเลย ไม่ใช่ปาฏิหาริย์หรอก พอดีมือมันไปเปิดหน้านี้เข้า

ท่านก็บอกเหมือนที่หลวงพ่อพุธบอกเปิ๊ยบเลย การภาวนาพอถึงขั้นละเอียดจะเหลือแต่ยิบยับๆ แก้ไม่ตกน่ะ แก้ไม่ตก ตายแล้ว อาจารย์มหาบัวบอกมา ก็เหมือนที่หลวงพ่อพุธบอกนะ นี่ คิดอย่างนี้ ทำอย่างไรดี มันมีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย บอกจิต บอกกับจิตนะ หยุดซะ วันนี้อย่าดูมัน วันนี้อย่าดูมันเลยนะ ไปดูของอื่นนะ ไปดูหนังฟังเพลงก็ได้นะ ทำอะไรก็ได้ ให้มันไปที่อื่น อย่ามาดูอยู่ตรงนี้ กลางหน้าอกนี่ สั่งมันอย่างนี้ มันไม่ยอมนะ เปิดทีวีดูนะ มันก็เห็นไอ้นี่ยิบยับๆอยู่อย่างนั้นนะ แก้อย่างไรก็ไม่ตกน่ะ

ไปยืนรอรถเมล์อยู่ จะไปทำงาน ผู้คนก็เยอะแยะเลย ที่ป้ายรถเมล์ เพื่อนร่วมทางเยอะนะ เรียกว่าเพื่อนร่วมทุกข์ ไปรอรถเมล์อยู่ บอกมัน เลิกดูเหอะๆ มันไม่เลิก นึกขึ้นได้เอ๊ะเราไม่ได้ทำสมถะมานานแล้ว ทำเสียหน่อย พอเดินปัญญานี่นะ เป็นจุดอ่อนนะ พวกเราเป็นกันทุกคนน่ะ พอเดินปัญญาได้แล้วชอบทิ้งสมถะไปเลยนะ ไม่ทิ้ง ต้องไม่ทิ้ง เอาละวันนี้ทำสมถะเสียที หายใจเข้าพุทหายใจออกโธนับหนึ่งเข้าพุทออกโธนับสองอย่างนี้ นับไปๆได้ ๒๘ ครั้งนะ หายใจเข้าออกได้ ๒๘ ที จิตมันรวมลงมาปุ๊บ รวมลงไปนะ มันได้พักนิดนึงนะ พอมันถอนขึ้นมานะ ไอ้ยิบยับนะขาดไปนะ หายไป จิตหลุดออกไปจากไอ้ยิบยับ แต่ยิบยับมีอยู่นะ จะปรุงไปเรื่อยแหละนะ ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์มันปรุงอีก แต่จิตมันถอนออก มันไม่เข้าไปเพ่งไปเกาะมันนิ่งๆอยู่ตรงนั้น

เนี่ยดูจิตนะ สั่งมันไม่ได้หรอก สั่งมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ จับหลัก ทำความสงบเป็นช่วงๆไป แล้วก็ดูมันทำงานไป เป็นระยะๆ ระยะไป สลับไปสลับมา แล้วจิตจะได้มีเรี่ยวมีแรง เป็นของสั่งไม่ได้ห้ามไม่ได้บังคับไม่ได้ มันทำงานของมันได้เอง มันจะไปยิบยับ มันก็ยิบยับเอง มันจะไปดูยิบยับมันก็ไปดูของมันเอง ทำไม่ได้สักอย่าง เนี่ยเราค่อยฝึกๆนะ ค่อยหัดไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๑ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เริ่มปฎิบัติธรรมต้องทำอย่างไร ?

mp3 (for download): ปฎิบัติธรรม หมายความว่าอย่างไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เริ่มปฎิบัติธรรมต้องทำอย่างไร ?

เริ่มปฎิบัติธรรมต้องทำอย่างไร ?

โยม : ข้อแรกสำหร้บคนที่เริ่มปฏิบัติน่ะค่ะ ที่ไม่ทราบว่าจะทำยังไง คำว่าปฏิบัติธรรมเนี่ยหมายความว่ายังไง หมายถึงว่าจะต้องนั่งสมาธิ เดินจงกรม แล้วก็สวดมนต์อย่างนี้ แล้วจะต้องไปเข้าคอร์สมั้ยคะ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : การปฏิบัติธรรมนะ อันแรกก็มีเรื่องรักษาศีลนะ รักษาศีลไว้ก่อน ต่อไปก็มาฝึกจิต ฝึกสมาธิ ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จะฝึกที่บ้านก็ได้นะ ฝึกที่ไหนก็ได้ จะไปฝึกที่วัดก็ได้ ฝึกที่บ้านก็ได้ จุดสำคัญก็คือ เรามีกายมีใจอยู่ที่ไหน เราก็ภาวนาอยู่ที่นั้นแหละนะ

ตอนหลวงพ่อหัดภาวนาก็หัดภาวนาตอนเป็นโยมนะ ภาวนามาตั้งแต่ตอนเป็นโยม ไม่ใช่ว่าไปภาวนาในวัดหรอกนะ เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะปฏิบัติธรรมเนี่ย อยู่ตรงไหนก็ทำได้ คอยรู้สึกตัวนะ คอยรู้สึกตัวแล้วค่อยๆเรียนพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา

วิธีจะทำให้เกิดศีลง่ายๆ ไม่ยากอะไร คอยรู้ทันจิตตัวเองไว้ กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่จิตรู้ทันไป ทันทีที่รู้ทันน่ะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ศีลมันเกิดแล้ว ศีลอัตโนมัติจะเกิดแล้ว คนทำผิดศีลได้เพราะว่ากิเลสครอบงำจิตหรอกนะ เพราะฉะนั้นถ้ากิเลสเกิดแว้บ..ขึ้นมาเรารู้ทัน มีศีล เราจิตหนีไปคิดเรารู้ทัน เราได้สมาธิ พอจิตได้สมาธิแล้วก็มาแยกธาตุแยกขันธ์นะ ดูกายดูใจเขาทำงาน ใจเราเป็นคนดู เห็นกายส่วนกาย ความสุขความทุกข์ส่วนของความสุขความทุกข์ อย่างนี้ก็ฝึกได้

การปฏิบัติไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการนั่งหลับตา ไม่เกี่ยวกับท่าทางอะไร ไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอก อันนั้นเป็นการทำในรูปแบบ อันนั้นหลวงพ่อก็ให้ทำนะ หลวงพ่อก็สอนให้ทำ แต่ที่ให้ทำนั้นไม่ใช่เพื่อให้เอาดีเอาอะไรหรอก เป็นการซ้อม ซ้อมที่จะรู้ทันจิตของตนเองนั่นเอง

ยกตัวอย่างบางวันเราฟุ้งซ่านมากนะ เราก็ไปนั่งคอยรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป แป๊บเดียวจิตก็สงบแล้ว พอจิตสงบแล้วก็ค่อยมาสังเกตนะ ร่างกายถูกรู้ถูกดู ความสุขความทุกข์ทั้งหลายหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงขึ้นในกายในใจนี้ ้เจริญปัญญาต่อไปได้แล้ว

ออกจากการปฏิบัติในรูปแบบก็มาเจริญสติในชีวิตประจำวันนะ การปฏิบัติในรูปแบบนั้น เหมือนเป็นการซ้อม นักมวยเข้าค่ายซ้อม ถึงเวลาก็ต้องชกจริง ชกจริงก็คือชกในชีวิตประจำวันนี้แหละ ตามองเห็น (แล้ว-ผู้ถอด)ความสุขความทุกข์ อกุศล-อกุศลเกิดขึ้นที่จิต คอยรู้ทัน หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจคิดนึกปรุงแต่ง(แล้ว-ผู้ถอด)นะ ความสุขความทุกข์ กุศล-อกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิต ให้รู้ทัน เนี่ยฝึกแค่นี้เองนะ ถึงเวลาก็ไปทำในรูปแบบ จะนั่งสมาธิ จะเดินจงกรม อะไรก็ได้ ไม่เกี่ยวกับท่านั่งหรอก จริงๆแล้วนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๐๒ ถึง นาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

mp3 (for download): ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อค่ะ ก็มีตามรู้ว่า จิตคิดอย่างไร ทีนี้ถ้าหากว่าเราก็รู้แล้ว ก็รู้ว่าอะไรเป็นปฏิฆะให้เราเกิดเช่นโทสะ เราก็รู้ว่าโทสะ เราควรหลีกเลี่ยงปฏิฆะนั้นมั้ย เพื่อไม่ให้จิตต้องเกิดโทสะอยู่เนืองๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คืออยู่ที่ว่าเราจะฝึกอะไร ถ้าเราฝึกสมถะนะ เลี่ยงได้ก็เลี่ยง จิตจะได้มีความสุข เพราะสิ่งที่เราต้องการคือความสุขความสงบ แต่ถ้าเราจะเจริญปัญญานะไม่จำเป็นต้องเลี่ยง ตากระทบรูปแล้วปฏิฆะเกิด มีสติรู้ทัน ก็จะเห็นเลย แต่เดิมปฏิฆะไม่มี ตอนนี้ปฏิฆะมีขึ้นมา นี่นะมันไม่เที่ยงแล้ว ปฏิฆะมีขึ้นมาแล้ว แล้วมีสติรู้ทัน ปฏิฆะหายไป นี่ก็ไม่เที่ยงละ ดูอย่างนี้ก็ใช้ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการอะไร

แต่ถ้าดู จะเจริญวิปัสสนารวดไปเลยนะ หมดแรงแล้ว ไม่ไหวแล้ว เดี๋ยวจะระเบิดอยู่แล้ว เดินหนีเลย ยังได้เลย หลบเลี่ยงเสียก่อน

โยม : ก็เป็นวิธีหนึ่งได้ ถ้ารู้ว่าอ่อนล้า

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ ถ้าสู้ไม่ได้ก็ถอยสิ ใช่มั้ย เราต้องฉลาดนะ ปฏิบัติธรรม สู้ไม่ไหวก็หนี ครูบาอาจารย์ท่านก็ถอยนะ ยกตัวอย่างบางทีสมัยหนุ่มๆท่านไปธุดงค์ ไปเจอสาวเข้านะ ใจมันชอบนะ ทำไงได้ใจมันชอบน่ะ ห้ามไม่ได้ ท่านดูอย่างไรก็ไม่หายนะ ท่านหนีเลย คว้ากลดคว้าบาตรหนีไปเลย มีอยู่องค์นะ หนีไปแล้วไปเจอสาวที่หมู่บ้านที่หนีไปอีก ไอ้คนเดิมแหละ เวรกรรมอะไรไม่รู้ เลยหนีไปรอดน่ะองค์นั้น

เพราะฉะนั้นอย่างบางคนนะเราเข้าใกล้แล้วเราหงุดหงิดมากเลย เจริญสติไม่ได้ สติจะแตกอย่างเดียวนะ เลี่ยงได้ก็เลี่ยงไปก่อน ไม่ใช่วิปัสสนาแต่ว่าเอาตัวรอดไว้ก่อน ถ้าเป็นวิปัสสนาแท้นะ รู้อย่างที่เขาเป็นไปเรื่อย เพื่อให้เห็นเลย ปฏิฆะก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา จิตจะมีปฏิฆะก็ห้ามไม่ได้ ดูอย่างนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๕๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๕๗ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

mp3 (for download): อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

อย่าทำคนใกล้ตัวที่เรารักให้เดือดร้อน

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราหัดสังเกตใจตัวเองเนี่ย เราจะได้ตั้งแต่การดำรงชีวิตอยู่ในโลก หรือการอยู่กับเพื่อนร่วมงาน อยู่กับคนในครอบครัว ถ้าเราไม่สังเกตใจตนเองนะ ก็จะมีปัญหากระทบกระทั่งกันอยู่ตลอดเวลา

หลายคนเลยที่.. ยกตัวอย่างเราอยู่กับลูกค้าใช่มั้ย เราถูกฝึก เราถูกสอน ว่าต้องยิ้มไว้ก่อน ลูกค้าร้ายแค่ไหนก็ต้องยิ้มไว้ก่อน มันเครียดนะ บางคนเราเห็นหน้ามันขับรถเข้ามาจอดใกล้ๆ เราก็เกลียดหน้ามันแล้ว มีมั้ย บางคนหน้ามันมีพรสวรรค์นะ เห็นแล้วอยากเอาอะไรยันมันออกไป

เราต้องเครียดน่ะ เราต้องเจอสิ่งที่ชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ทั้งวัน ใจมันเครียด พอเครียดแล้วเราไม่มีทางระบายใช่มั้ย อยู่ในตู้.. ไปว่าเขา แป๊บเดียวก็ไปแล้ว ไม่ทันจะว่า กลับบ้านแล้ว เราก็มาระบายใส่คนที่บ้าน พ่อบ้านผู้น่าสงสารก็ต้องรับฟัง เราจะระบายอารมณ์ใส่ ระบายของสกปรกที่เราเก็บมาในแต่ละวัน หรือคุณพ่อบ้านก็ระบายของโสโครกใส่คุณแม่บ้าน

เนี่ย.. เราทำความเดือดร้อนให้กับคนใกล้ตัวของเรา แทนที่เราต้องทำอย่างนั้นนะ เรามามีสติไว้ สติสำคัญมากนะ มีสติ คอยรู้ทันจิตใจตนเอง ใจมันเครียดขึ้นมาคอยรู้ทัน ความเครียดมันจะหายไปเอง เป็นเรื่องแปลกนะ ความเครียดความทุกข์ทั้งหลายนี้ ไม่ต้องไปไล่มันหรอก แค่เรามีสติรู้ทันมันก็หายไปเองละ

ค่อยๆลองฝึกดู คอยมีสติรู้ทัน กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่ใจคอยรู้ทัน ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆนะ เราก็จะบริโภคน้อยลง เราจะไประบายอารมณ์ใส่คนใกล้ตัวน้อยลง คนใกล้ตัวเราเป็นคนที่น่าสงสารที่สุดเลย เพราะว่าเราระบายอารมณ์ได้อย่างปลอดภัย หลายคน กับคนอื่น คนนอกบ้าน คนไกลตัวนะ เราพูดกับเขาดีๆ คนในบ้านเรา เราพูดร้ายๆได้ เรารู้สึกปลอดภัย

เราก็มาแก้ตรงนี้เสีย เราอย่าไปทำบ้านให้ร้อน อย่าไปทำคนที่เรารักให้เดือดร้อนนะ ด้วยการมาฝึกจิตฝึกใจของเรา มีสติ รู้ทันจิตของตัวเองไว้ เราก็จะไม่เก็บขยะเข้าบ้าน ชีวิตจะดีขึ้น ในทุกๆด้านเลย ลูกหลานเกเรอะไรอย่างนี้

หลวงพ่อเคยเจอนะ ผู้หญิงคนหนึ่ง ไปจับลูกมา พาลูกมาหา บอกให้หลวงพ่อช่วยอบรมลูกหน่อย เด็กคนนี้เลวที่สุดเลย เนี่ย ไม่เคยเจอเรามาก่อนเลยนะ มาถึงก็ด่าลูกต่อหน้าเราเลย เลวอย่างโน้น ฉอดๆ ฉอดๆ ฉอดๆ เราดูแล้วๆ จะแก้ปัญหาที่ลูกต้องแก้ปัญหาที่แม่ก่อนแล้วล่ะ เรามานึกดูนะ แม่อย่างนี้เราก็ไม่อยากอยู่ด้วย เลยบอกให้แม่ลองดูใจของตัวเองสิ ใจมันเครียดนะ ใจของแกวันๆหนึ่งเป็นที่ปรึกษาวัยรุ่น คอยแก้ปัญหาให้พวกวัยรุ่น แล้วเครียดน่ะ ในที่สุดเอาความเครียดมาระบายทีบ้าน ลูกเลยมีปัญหาวัยรุ่นเสียเองเลย

นี่นะ ถ้าเราไม่อยากให้ชีวิตของเราย่ำแย่ ย่ำแย่แบบนี้ เราลองมาฝึกมีสติรู้ทันจิตใจตัวเอง เห็นมั้ยหลวงพ่อวนเวียนอยู่แต่ในเรื่องให้มีสติรู้ทันใจของตัวเองนี่แหละ มีสติรู้ทันใจตัวเองนะ แล้วหนี้สินก็จะลดลง เพราะเราจะไม่บริโภคฟุ่มเฟือยไร้สาระ การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว คนในที่ทำงาน หรือคนที่บ้าน ก็จะดีขึ้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๗ วินาทีที่ ๐๔ ถึง นาทีที่ ๑๐วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

แก้ความอยาก แก้ที่ต้นทาง

mp3 (for download): แก้ความอยากที่ต้นทาง ด้วยการรู้ทันใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

แก้ความอยาก แก้ที่ต้นทาง

แก้ความอยาก แก้ที่ต้นทาง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไมเราเป็นหนี้เยอะ รายได้เราก็ไม่ใช่น้อยหรอกนะ อยู่การทางฯ (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย : ผู้ถอด) เพราะใจเรามันมีความอยากเยอะ ดีมานด์ (demand : ความต้องการ) มันเยอะ พระพุทธเจ้าท่านเคยสอนนะว่า ตัณหายิ่งกว่ามหาสมุทรอีก “นัตถิ ตัณหา สมา นที” ห้วงน้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี เท่าไหร่ก็ไม่เต็ม นี่ถ้าเราไม่มีธรรมะคุ้มครองรักษาจิตเรานะ เราก็จะมีชีวิตที่ไม่อิสระเท่าไหร่ เป็นหนี้เป็นสิน ลำบาก

เราจะไปแก้ที่ปลายทางนะ ลดละความอยาก ละไม่ได้ ลดไม่ได้ งั้นถ้าเราจะมาฝึกจิตฝีกใจให้แก้ปัญหาชีวิตเราให้ดีขึ้นจริงๆ มันแก้ที่ต้นทาง เรามารู้ทันจิตใจของเราเอง ความอยากอะไรเกิดขึ้นในใจ เราคอยรู้ทัน ความอยากอะไรเกิดขึ้นในใจ เราคอยรู้ทัน ถ้าเราคอยรู้ทันใจตัวเองได้ ความอยากมันจะดับโดยอัตโนมัติ เช่น เรามีมือถืออยู่แล้วนะ เราเห็นเค้ามีบีบี มี ไอโฟนสี่ มีอะไรขึ้นมา อยากได้ อยากได้มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอซื้อ มันเปลี่ยนเร็ว ถ้าเรารู้ทันใจที่อยาก ความอยากมันจะหายไปโดยอัตโนมัติ พอความอยากดับไปแล้ว ที่นี่เราจะเหลือความมีเหตุผล ถ้าสมควรจะซื้อเราก็ซื้อ ไม่สมควรเราก็ไม่ซื้อ

นี่ธรรมะนะ ธรรมะจะช่วยเราตั้งแต่เรื่องพื้นๆ การดำรงชีวิตอย่างโลกๆ ธรรมะนะมีหลายระดับ ถ้าหากชีวิตทางโลกเรายังกระพร่องกระแพร่ง เต็มไปด้วยความเครียดนะ เราจะหวังพัฒนาจิตใจเราไปสู่ธรรมะขั้นสูงนะไปยาก พื้นฐานเราไม่ดีพอ งั้นเรามาฝึกจิตฝึกใจเราตั้งแต่ขั้นต้นๆ นี้ไป เราคอยมามีสตินะ รู้ทันใจที่มีความอยาก ความอยากอะไรเกิดขึ้นคอยรู้เรื่อยๆ ไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๑ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๓วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

งานทางโลกและงานทางธรรม คือ งานเดียวกัน

mp3 (for download): งานทางโลกและงานทางธรรม คืองานเดียวกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

งานทางโลกและงานทางธรรม คืองานเดียวกัน

งานทางโลกและงานทางธรรม คืองานเดียวกัน

โยม : กราบเรียนถามหลวงพ่อนะครับ คือ สมมุติว่ามี ๒ เส้นทางนะครับ สำหรับการดำเนินชีวิตของเรา เส้นทางแรกคือเส้นทางทางโลกน่ะครับ เป้าหมายก็คือ การงานอาชีพ กับอีกเส้นทางหนึ่งก็คือ เส้นทางทางธรรมนะครับ ซึ่งเป้าหมายก็คือนิพพาน คือทั้งสองเส้นนี้จะมีทางมาบรรจบกันหรือมีทางขนาน..

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันต้องไปด้วยกันนะ ต้องไปด้วยกันนั้นแหละ ไม่ใช่ต้องเลือกหรอก ตอนนี้เรามีฐานะเป็นฆราวาส เราก็ทำงานทำหน้าที่ไป เพื่อเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว ทำตามหน้าที่ของเรา ไม่ทิ้งหน้าที่นะนักปฏิบัติ อย่างเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ เลี้ยงครอบครัว อะไรอย่างนี้ ต้องทำตามหน้าที่

ในขณะเดียวกันก็ไม่มีใครห้ามเราถือศีล ไม่มีใครเขาห้ามเราเจริญสมาธิ ไม่มีใครเขาห้ามเรามีสติรู้กายรู้ใจ เจริญปัญญา เราก็ทำควบไปได้ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง.. ตอนนี้เราก็ทำมาหากินไป มีเวลาเราก็ภาวนาไป ทำไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่งซึ่งภาระทางโลกเราหมดแล้ว เราอยากจะไปให้เร็วกว่านั้นเราก็ไปภาวนาเอา ไปมุ่งภาระทางธรรมเป็นหลัก แต่ไม่ใช่อยู่ๆก็ทิ้งภาระทางโลกนะ ทิ้งพ่อทิ้งแม่ ไปบวช ไม่ใช่หรอก

โยม : ตัวเวลานี่น่ะครับ ตัวสำคัญ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : หือ.. ถ้าเข้าใจการปฏิบัตินี่นะ จะพบว่าการปฏิบัติธรรมไม่เบียดบังเวลาทำมาหากินนะ คือเราอย่าไปวาดภาพการปฏิบัตินะ เป็นแบบฤๅษีชีไพรอย่างเดียว ต้องนั่งสมาธิเป็นวันๆนะ นั่งไปจนกระทั่งหนวดยาวนะ นกกระจอกมาทำรังได้ อย่างนั้นถึงจะเก่ง ไม่ใช่

เมื่อใดมีสติ เมื่อนั้นมีการปฏิบัติ เมื่อไรขาดสติเมื่อนั้นขาดการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ในทาง โลกนี่นะ สมมุติว่าเรารับเงินอยู่นะ แค่มองเห็นหน้าลูกค้า เราก็เกิดความชอบบ้าง ความไม่ชอบบ้าง ใจเราไม่เท่ากันแล้ว นี่นะให้เรารู้ทัน บางคนจะจ่ายค่าผ่านทางนิดเดียว เอาแบงก์พันมาให้อะไรอย่างนี้นะ เราหงุดหงิดมั้ย หรือปลื้มวันนี้ได้จับแบงก์พัน มันไม่ใช่แบงก์ของเรามันไม่ปลื้มหรอก เนี่ย ให้ดูใจของเรา มันไม่ได้เบียดบังเวลาทำมาหากินของเรานะ

การปฏิบัติธรรมเนี่ย ไม่ได้เบียดบังเวลาทำมาหากิน ยกเว้นการทำมาหากิน การทำงาน ที่ใช้ความคิดเท่านั้น ถ้าไม่ต้องใช้ความคิดมากๆเนี่ย เราเจริญสติรู้กายรู้ใจได้ตลอดเลย ยกตัวอย่างงานแม่บ้านนะ กวาดบ้านไป กวาดบ้านไปด้วยความรู้สึกตัว เนี่ยไม่ได้เบียดบังเวลาปฏิบัติเลยนะ ไม่ได้เบียดบังเวลาทำงานด้วย ทำไปด้วยกันได้

หัดมีสติให้มากไว้ แล้วจะเข้าใจแก่นของการปฏิบัติ ไม่ยากเท่าที่คิดหรอก ไม่ใช่ว่าเราต้องแบ่งเวลานี้เป็นเวลาทำงาน หมดเวลาทำงานแล้วถึงจะเป็นเวลาภาวนา ถ้าเรายังแบ่งชีวิตเราเป็นสองส่วน มรรคผลยังอยู่ห่าง แต่ถ้าเมื่อไรเรารู้เลยว่าชีวิตนี้เรามีแต่งานหลักกับงานรอง ไม่ใช่งานสองอย่างนะ มีงานหลักกับงานรอง

งานหลักของเราแต่ละคนก็คือ เราจะต้องยกระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้นไป ให้พ้นความทุกข์ออกไปเรื่อยๆ นี่งานหลักของชีวิต งานรองคือการทำมาหากินตามหน้าที่ เพื่อจะเลี้ยงชีวิตอยู่กับโลกเท่านั้นเอง อยู่ไปได้ไม่นานใช่มั้ย เดี๋ยว ๖๐ เขาก็ไม่ให้ทำแล้วอะไรอย่างนี้ แต่งานหลักของเรายังมีอยู่

ที่นี้เราไม่ให้งานรองเบียดบังงานหลักของเรานะ เพราะฉะนั้นเวลาที่เราทำงานทางโลกนี่นะ เราคอยมีสติเอาไว้ กิเลสเกิดเราคอยรู้ไว้ เราได้ปฏิบัติธรรมทั้งวัน หลวงพ่อปฏิบัติตอนทำงานนะ ตอนแรกอยู่สภาความมั่นคง งานหนักนะ คิดหนักทั้งวันเลย วิเคราะห์วิจัยอะไรอย่างนี้นะ หนัก ก็คอยดูเอา นั่งทำงานนะหัวหมุนเลย คิดมาก ไม่สามารถดูจิตได้หรอก เวลาเดินไปห้องน้ำนี่นะ เห็นร่างกายเดินไปห้องน้ำ ดูกายเลย ไปห้องน้ำเสร็จนะ ก็เดินกลับมานะ ใจสบายขึ้นละ ดูจิตที่สบายออกมา ไม่ได้ทิ้งการปฏิบัติเลย จะกินข้าวก็ปฏิบัติ จะอาบน้ำก็ปฏิบัติ จะขึ้นรถก็ปฏิบัติ ทำอะไรๆก็ปฏิบัติ ไม่ได้แยกชีวิตออกเป็นสองส่วนหรอก

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ต้องปฏิบัติ เวลาของชีวิตนี้ทั้งหมดนั้นแหละคือเวลาของการปฏิบัติ งานหลักของเราคือการปฏิบัติธรรม ยกระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้นไป จนพ้นจากความทุกข์ การทำมาหากินนั้นเป็นงานสนับสนุน ทำให้เราพออยู่กับโลกได้ ไม่ใช่สองงานที่เท่าๆกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๓๕ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๔๐ วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกความรู้สึกตัว

mp3 (for download)วิธีฝึกความรู้สึกตัว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีฝึกความรู้สึกตัว

วิธีฝึกความรู้สึกตัว

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีรู้สึกตัว ถามว่าความรู้สึกตัวเป็นอย่างไร ความรู้สึกตัวก็คือความไม่หลงไป ไม่เผลอไป ไม่ลืมกายไม่ลืมใจ

พวกเราสังเกตมั้ย พวกเราจะลืมกายลืมใจแทบทั้งวันนะ โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้เรียนธรรมะไม่ได้ฟังธรรมะจนกระทั่งสติเกิด คนทั้งโลกลืมกายลืมใจทั้งวัน ตื่นขึ้นมาก็ดูคนอื่น จะคิดก็คิดเรื่องคนอื่น หรือคิดไปในอดีต คิดเรื่องของตัวเองนะ แต่คิดไปในอดีตบ้างในอนาคตบ้าง ไม่ใช่ตัวจริงของเราในปัจจุบัน แต่อยู่ในโลกของความคิดความฝันตลอด ถึงจะคิดเรื่องของตัวเองก็คิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคตอย่างนั้น ไปเรื่อยๆ เราไม่สามารถจะอยู่กับโลกปัจจุบันได้

เพราะฉะนั้นให้คอยรู้สึก รู้สึกไว้ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหว คอยรู้สึก รู้สึกไปเรื่อยๆ ต่อไปจิตจะจำสภาวะ ร่างกายเคลื่อนไหวนี่มีอาการอย่างนี้ จิตเคลื่อนไหวมีอาการอย่างนี้ ความรู้สึกทั้งหลาย แต่ละอย่างๆ มีอาการอย่างนี้ มีสภาวะอย่างนี้ พอจิตจำได้แม่นแล้ว ต่อไปสติจะเกิดเอง (หมายถึง สติเกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจให้เกิด – ผู้ถอด)

เช่นจิตจำได้ว่า ความใจลอย แอบไปคิด เป็นอย่างไร ใจจะค่อยๆไหลไปนะ ไหลๆ ไหลๆ ไปคิด ไปรู้เรื่องที่คิด ขณะที่รู้เรื่องที่คิด ลืมกายลืมใจ อย่างนี้เรียกว่า ขาดสติแล้ว เมื่อใดลืมกายลืมใจเมื่อนั้นเรียกว่าขาดสติ

หรือบางทีความโกรธผุดขึ้นมา คนทั้งหลายพอโกรธขึ้นมาเนี่ย จะไปดูคนที่ทำให้เราโกรธ ส่วนผู้ปฏิบัติผู้มีสติ จะเห็นความโกรธเนี่ยผุดขึ้นมา มันจะผุดขึ้นมากลางอกนะ ถ้าผุดขึ้นมาเล็กๆแค่ขัดใจนิดๆ ก็แค่ขุ่นๆอยู่กลางอกนี่ ถ้ามันรุนแรงมันก็พุ่งขึ้นหน้า เรียกว่า เลือดขึ้นหน้านะ เห็นช้างเท่าหมู นี่ เพราะฉะนั้นเวลาเห็น ไม่ตรงตามความเป็นจริง

ให้เรารู้ท้นนะ รู้ทัน กิเลสก่อนที่จะเป็นกิเลสตัวใหญ่เนี่ย เป็นกิเลสตัวเล็กมาก่อน ถ้ากิเลสตัวใหญ่แล้วสู้ยาก เหมือนคู่ชกเราตัวโตแล้ว เราต้องชกตั้งแต่มันยังไม่โต ชกเด็กได้เปรียบนะ ชกเด็กๆได้เปรียบ เพราะกิเลสตอนมันเป็นเด็กๆนะ มันค่อยๆไหว ยิบยับๆ ขึ้นมาเนี่ย ให้เรารู้ทันมัน

ทีนี้ แต่ก่อนที่เราจะเห็นกิเลสตัวเล็กได้ เราก็ต้องหัดเห็นกิเลสตัวใหญ่ก่อน เพราะกิเลสที่ละเอียดมันดูยาก หัดทีแรกก็จะเห็นของหยาบ เช่น โทสะเกิดเราถึงจะเห็น ต้องโมโหแรงๆก่อนถึงจะรู้ว่าโมโห ขัดใจเล็กๆยังไม่รู้ว่าขัดใจ ต่อไปฝึกมากเข้าๆ หัดสังเกตใจของเราไปเรื่อยๆ ต่อไปความขัดใจเล็กนิดเดียวเกิดขึ้น ก็เห็นแล้วนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

CD: แสดงธรรมที่ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
File:
500916
ระหว่างนาทีที่  ๐๕ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๐๘ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราอยู่กับโลกแล้วก็อยู่กับธรรมไปด้วย

mp 3 (for download) : เราอยู่กับโลกแล้วก็อยู่กับธรรมไปด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมจักร

ธรรมจักร

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่ฟังครูบาอาจารย์พูด เป็นสัมมาทิฎฐิ ภาคปริยัติ อาศ้ยสัมมาทิฎฐิ เรารู้ว่าเราจะปฎิบัติธรรมอย่างไร เราจะปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร อย่างไร พอเรารู้วิธีแล้ว เราจะต้องเอาไปปฏิบัติต่อ ต้องทำให้ได้ในชีวิตจริงๆของเรา ตั้งแต่ตื่น ตั้งแต่ตื่นจนหลับ งานข้ามภพข้ามชาติไม่ใช่งานเล่นๆ แต่ถ้าเราจะภาวนา แบบว่าจะอยู่ในโลกอย่างมีความสุขนะ เราก็ภาวนา ก็ต้องทำให้เต็มที่นะ หยุดเมื่อไหร่ความทุกข์ก็ตามมาเมื่อนั้นแหละ ต้องทำให้เต็มที่

เต็มที่ของหลวงพ่อก็หมายถึงว่า ตื่นขึ้นมาแล้วก็คอยรู้สึกตัว รู้สึกไป จนหลับ ยกเว้นเวลาที่เราต้องทำงานที่ต้องใช้ความคิด ในขณะนั้นไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ เพราะต้องไปรู้เรื่องราวที่เราคิด เพราะฉะนั้นเวลาที่เราทำงานที่ต้องคิดเนี่ย ไม่ใช่เวลาทำวิปัสสนา จะเป็นเวลาทำมาหากิน จดจ่ออยู่กับงาน หมดเวลานั้นแล้ว ให้พยายามรู้สึกไว้นะ ในชีวิตธรรมดานี้เอง ที่หลวงพ่อพูดให้ฟังทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอน จะกินอาหาร จะขับถ่าย จะอาบน้ำ จะขึ้นรถ จะทำอะไร จะคุยกับคน กระทั่งจะดูทีวี เราก็ดู ดูใจของเราไป สังเกต เป็นระยะๆไป

เพราะฉะนั้นการภาวนาเนี่ย ถ้าเรามีหลักแล้ว การภาวนาก็จะอยู่ในชีวิตเราเนี่ย ทำได้ทั้งวัน ถ้าเราคิดแต่ว่าภาวนาต้องทำตอนเข้าวัดเข้าคอร์สนะ ปีหนึ่งจะเข้ากี่คอร์ส ใช่มั้ย เข้าวัดไปกี่ชั่วโมง เวลาส่วนใหญ่เราอยู่กับโลกข้างนอก เพราะฉะนั้นเท่ากับเราภาวนานิดเดียว แล้วเราหลงโลกตั้งนาน มันไม่พอสู้กันได้

แต่ถ้าเราอยู่กับโลก แล้วก็อยู่กับธรรมไปด้วย อยู่กับโลกแล้วอยู่กับธรรมอยู่อย่างไร ก็อยู่เห็นโลกธรรม เห็นโลกธรรมนะ ในชีวิตเราเดี๋ยวก็สุขเดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็มีคนชม เดี๋ยวก็มีคนด่า เดี๋ยวก็ได้โบนัสเยอะโบนัสน้อย นี่โลกธรรมทั้งหมดเลย จิตมันแกว่งขึ้นแกว่งลง เรามีสติคอยรู้ลงไปเรื่อยๆ โลกกับธรรมมันก็อยู่ด้วยกันตรงนี้ ตรงที่เรามีสติ รู้ทันจิตใจของตัวเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างวินาทีที่ ๕๕ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย

mp 3 (for download) : ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ

ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา

เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ

ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้

เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย

นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐

อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

mp 3 (for download) : ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

ไม่มีเวลาภาวนา จะทำอย่างไร?

โยม : ก็เพิ่งเริ่มปฎิบัตินะครับ ก็รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง แต่ก็รู้ตัวว่าเหม่อ เหม่อคิดบ่อย

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละเก่ง

โยม : ด้วยภาระหน้าที่ที่มี

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเราไม่ต้องไปให้เหตุผลอธิบายอะไรหรอก เราแค่รู้ว่ามันเผลอไปแล้ว เราคอยรู้ไปเรื่อย รู้ลงปัจจุบันไปเรื่อยๆนะ ใช้ได้ ของคุณน่ะดีแล้ว แต่หลวงพ่อบอกอะไรอย่างหนึ่งนะ ถ้าเราบอกว่า เรามีงานเยอะ ไม่มีเวลาภาวนาเนี่ย พูดไม่ได้นะ หลวงพ่อเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตพิมพ์ คือประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก

มีหลวงพ่อเกษมคุยกับพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวท่านเล่า ท่านเวลาน้อย งานท่านเยอะ ใช่มั้ย ท่านซอยชีวิตของท่านเป็นช่วงเล็กๆ ท่านมีเวลานาที สองนาที ท่านก็ดูแล้ว งานท่านเยอะกว่าเราแน่ๆเลย เพราะฉะนั้นเราอย่าอ้างว่างานเยอะ ไม่มีเวลาดูนะ ตอนไหนที่ไม่ต้องคิดเรื่องงาน เราก็รู้เอา

หลายคน พอไม่คิดเรื่องงานแล้ว พอหมดเวลางาน โอ๊ยเหนื่อย ขอพักผ่อนก่อน เดี๋ยวมีแรงแล้วจะดู นี่ช้าไป ถ้าปฏิบัติเก่งๆนะ ทำงานเสร็จแล้วเหนื่อย หัวหมุนติ้วๆเลย รู้ว่าหัวหมุนติ้วๆเลย เหนื่อยรู้ว่าเหนื่อยอยู่ รู้สึกว่ารู้อะไรก็ไม่ชัดเจน-รู้ว่ารู้ไม่ชัดเจน นี้เรียกว่าปฏิบัติทั้งหมดเลย ไม่ต้องรอให้ใสปิ๊งๆแล้วค่อดูหรอกนะ อะไรๆมีอยู่ต่อหน้าต่อตา รู้ลงต่อหน้าต่อตาเลย จะได้ไม่เสียเวลา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๖
ระหว่างนาทีที่ ๕๒ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้สิ่งที่ผิด แล้ววันหนึ่งจะพบสิ่งที่ถูกอยู่ต่อหน้าต่อตา

mp 3 (for download) : พวกเราต้องเรียนรู้สิ่งที่ผิดไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งจะพบสิ่งที่ถูกอยู่ต่อหน้าต่อตา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เรียนรู้สิ่งที่ผิด แล้ววันหนึ่งจะพบสิ่งที่ถูกอยู่ต่อหน้าต่อตา

เรียนรู้สิ่งที่ผิด แล้ววันหนึ่งจะพบสิ่งที่ถูกอยู่ต่อหน้าต่อตา

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลายคนสงสัยทำไมหลวงพ่อไมสอนให้เดินท่าไหน ให้นั่งท่าไหน ให้หายใจท่าไหน หลวงพ่อทำไมพูดแต่เรื่องธรรมะ พูดแต่เรื่องสภาวะ เรื่องอริยสัจจ์ เรื่องสติปัฏฐาน ที่ไม่ได้สอนให้เดินท่าไหน นั่งท่าไหน หายใจท่าไหน ขยับมือท่าไหน เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไว้ พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์ สอนสติปัฏฐาน สอนอะไรอย่างที่หลวงพ่อไปจำท่านมาเล่าให้ฟังนี่แหละ แต่ทำไมคนฟังธรรมเหล่านี้แล้วบรรลุธรรม พวกเราทำไมเราไม่สนใจธรรมะพวกนี้ เราไปสนใจแต่นั่งอย่างไรถึงจะถูก หายใจแล้วลมจะกระทบตรงไหนถึงจะถูก เราสนใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน ท่านไม่รู้หรือ ท่านไม่สอน ท่านรู้แต่มันไม่จำเป็น ทางใครทางมัน วิธีการเนี่ยเรื่องทางใครทางมันนะ ไปดูเอาว่าเราทำอย่างไรแล้วสติมันเกิดบ่อย เราเอาอย่างนั้นต่างหากล่ะ ที่นี้พวกที่เป็นครูบาอาจารย์ทั้งหลายเนี่ยท่านไปลองวิธีของท่านเอง เออทางนี้ดีแฮะ ทำแล้วสติเกิด ท่านเอามาสอน  พวกเราก็คิดว่าต้องทำอย่างท่านสติถึงจะเกิด ไม่เกิดหรอกทางใครทางมัน

เพราะฉะนั้นต้องฟังหลักให้รู้เรื่องนะ สิ่งที่หลวงพ่อพูดให้ฟังนี่เป็นหลักทั้งหมดเลย หลวงพ่อไม่ค่อยพูดเรื่องอุบาย ยกเว้นอาการสาหัสจริงๆ ถึงจะสอนอุบายให้แก้ ส่วนใหญ่จะสอนแต่หลักการ เราก็ไปเจริญสติเอา  เราควรจะรู้กายหรือเราควรจะรู้ใจ ไปดูตัวเองว่าเรารู้อะไรแล้วสติเกิดบ่อย ไปรู้อันนั้น แล้วเราก็เรียนรู้ลองผิดลองถูกของเราไปแต่อย่าลืมหลักที่พระพุทธเจ้าสอน ลองผิดลองถูกเช่นลองภาวนาไป เราก็คิดเราไปเจอตัวผู้รู้ขึ้นมา บางคนภาวนาแล้วเกิดตัวผู้รู้ เราไปจ้องใส่ตัวผู้รู้ จ้องไปหลายๆวันนะ ถ้ามีโยนิโสมนสิการรู้ว่ามันไม่ถูกแล้ว ผิดอีกแล้วเอาใหม่ ภาวนาใหม่ตามหลักที่หลวงพ่อสอน ให้รู้กายให้รู้ใจตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจไปซื่อๆ ตามความเป็นจริงได้สักพักเดียวนะ เริ่มกระบิดกระบวนแล้ว เริ่มมีกระบวนท่าปรุงแต่งแล้ว ทำอย่างนี้น่าจะดีกว่าเก่า น่าจะดีกว่ารู้เฉยๆ ลองทำอย่างนี้ดูเอาจิตไปไว้ที่เหนือสะดือ หนึ่งนิ้วครึ่ง สามกระเบียดอะไรอย่างนี้ท่าจะดี หรือเอียงข้างซ้ายอีกสององศา ลองดูเอ๊ะเข้าทีแฮะ ทำไปหลายๆวัน เอ๊ะใจชักโง่ๆ ยังไงชอบกล มันต้องสังเกตุนะ

เราลองผิดลองถูกไปเรื่อย แล้วหลวงพ่อจะเฉลยให้เลย พวกเราไม่ได้ลองถูกหรอก พวกเราจะลองผิดตลอด เพราะว่าไม่ว่าจะลองอย่างไรนะ ตัณหามันพาให้ลอง ลองอย่างนี้สิน่านะดี รับรองไอ้ที่ลองผิดลองถูกนะลองผิดแน่นอน เราเรียนรู้สิ่งที่ผิดไปเรื่อยๆนะ  อย่าตกใจ เรียนรู้สิ่งที่ผิดมากเข้าๆ เราจะรู้เลย ไอ้นี่ผิด ไอ้นี่ผิด ไอ้นี่ผิด ที่ถูกอยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง ที่ถูกไม่ได้อยู่ไกลๆ ต้องเที่ยวแสวงหาอย่างที่นึกไว้ ทุกวันนี้เที่ยวแสวงหาที่ถูกนะอยากได้ธรรมะ เที่ยวแสวงหาใหญ่ ทำยังไงจะถูก ทำยังไงจะถูก หยุดทำต่างหากละถูก หยุดทำต่างหาก ทำไมหยุดได้เพราะมันฉลาด มันโง่มานานรู้ว่าทำอย่างนี้ก็ผิด ทำอย่างนี้ก็ผิด มาหาหลวงพ่อนะถูกตีทุกวันนะรู้สึกไหม เดี๋ยวถูกตบซ้ายที ตบขวาที นี่เฉื่อยไป นี่เร่งไป นี่หนักไป นี่เบาไป นี่ติดสุขมากไป นี่เคร่งเครียดมากไป เห็นไหมมีแต่เรื่องทุบซ้าย ทุบขวา ตบซ้าย ตบขวา อันนี้มันเป็นหน้าที่ของครูต่างหาก พระพุทธเจ้าก็บอก เราจะขนาบพวกเธอนะ เหมือนช่างปั้นหม้อนวดดิน ทุบแล้วทุบอีกนะ ทุบซ้ายทุบขวา ใครทนได้ก็ได้แก่น ใครทนไม่ได้เชิญกลับไปเพราะหลวงพ่อไม่ได้เชิญให้มา  แต่ถ้าทนได้นะ ทนฟังหลวงพ่อจนเข้าใจจนจิตตื่นขึ้นมาจะรู้เลย แล้วมันไม่เหมือนที่ไหนนะ มันง่ายสุดๆ เลย ง่ายมาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File: 491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

โยนิโสมนสิการ

mp 3 (for download) : โยนิโสมนสิการ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ

หลวงพ่อปราโมทย์: อยู่นอกวัดหลวงพ่อก็ไม่ได้ไปตามดูนะขี้เกียจดูนะ ลูกศิษย์รุ่นโบราณรุ่นแรกๆเลย ไล่จี้ไล่จิก อยู่บ้านยังไล่จิก เคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งภาวนาทำอย่างอื่นไม่ได้นะต้องเดิน หลวงพ่อไล่จิกให้เดินทั้งวันนะ พอไม่เดินก็บอกให้ไปเดิน แกบอกแกเดินจนแกจะเดินขึ้นบันไดบ้านไม่ได้แล้วนะ เดินจนน่วมไปหมดแล้ว บอกไม่ได้ต้องเดิน พอไม่เดินต้องไล่เอา

แต่เดี๋ยวนี้ไม่ไหวแล้วคนมันเยอะ ขืนดูอย่างนั้นหลวงพ่อต้องตายก่อน ช่วยตัวเองให้เยอะๆ ช่วยตัวเองให้มาก สังเกต สู้ด้วยสติด้วยปัญญา มีสติก็คืออย่าลืมตัวเอง คอยรู้กาย คอยรู้ใจไว้เรื่อยๆ มีปัญญาก็คอยตรวจสอบตัวเองไปเรื่อยเลย ที่ทำอยู่นี้มันถูกหรือมันผิด

ยกตัวอย่างเราภาวนาไปแล้วใจของเราหนักๆ แน่นๆ แข็งๆ อะไรอย่างนี้ ผิดแน่นอน เวลาภาวนาไปแล้วเครียดๆขึ้นมานี่ ผิดแน่นอน ภาวนาแล้วต้องสบาย ต้องโปร่ง ต้องโล่ง ต้องสบาย

หรือภาวนาไปแล้วแหมมันสบายมาเจ็ดวันเจ็ดคืนแล้ว ต้องผิดแน่นอน  อะไรมันจะเที่ยงขนาดนั้น อย่างนี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ก็ต้องมีพวกนี้ มีสติมีปัญญา ปัญญาเบื้องต้นของเรานี่แหละเรียกว่า โยนิโสมนสิการ แยบคายในการสังเกตตัวเอง ว่าสิ่งที่เดินนี่มันถูกหรือผิด

หรือแยบคายเช่น เรารู้สึกว่าเราภาวนาแล้วช่วงนี้มันเนือยๆ ไป สังเกตตัวเองนะว่ามันเนือยๆ ไป ก็ต้องแยบคายนะให้มัน Active ขึ้นมาหน่อย

หรือช่วงนี้ขยันดูทั้งวันทั้งคืนเลยนะ จนเพื่อนถามว่าไปกัดกับใครมาดูโทรมนะ ภาวนาจนโทรมอะไรอย่างนี้ ก็ต้องรู้นะว่าเร่งมากไป จิตใจไม่มีความสุข แห้งแล้ง

ต้องวัดตัวเองเรื่อยๆ ต้องช่วยตัวเองให้มาก มีสติรู้กายรู้ใจเรื่อยๆ อย่าลืมกายอย่าลืมใจ ลืมได้แต่อย่าลืมนาน มีปัญญา คือโยนิโสมนสิการ คอยตรวจสอบตัวเองเรื่อยๆ ว่าที่ทำอยู่นี่มันอยู่ในร่องในรอยไหม

โยนิโสมนสิการจะเกิดได้ต้องฟังธรรมนะ ต้องฟังธรรม ฟังที่หลวงพ่อพูดหรือหนังสือที่หลวงพ่อเขียนไว้ โยนิโสมนสิการไม่ใช่การคิดพิจารณาตามใจชอบ แต่การคิดการพิจารณานั้นจะต้องสอดคล้องถูกในหลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าสอนไว้

ยกตัวอย่างถ้าเราภาวนาไปแล้วเราพยายามจะดูจิตให้ทัน โมโหตัวเองดูยังไงก็ไม่ทันซะที ถ้ามีโยนิโสมนสิการแยบคายเคยได้ยินได้ฟังมาว่า การดูจิตนี่ต้องตามดู เราก็จะระลึกขึ้นได้ว่าพลาดแล้ว ไปพยายามทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คือพยายามดูจิตให้เป็นปัจจุบัน เนี่ย โยนิโสมนสิการไม่ใช่คิดเรื่อยเปื่อยตามใจชอบนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File: 491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

mp 3 (for download) : การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

หลวงพ่อปราโมทย์: พอได้ยินหลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิตตัวเองนะ ก็มาหัดดู ตอนนั้นรับราชการอยู่สำนักนายกฯ อยู่สำนักนายกฯใกล้ๆกับอาจารย์มานิตย์นี้แหละ ตึกใกล้ๆกัน ทุกวันนะ ตั้งแต่ตื่นนอน หัดภาวนา ตื่นนอนมา แค่ตื่นนอนนะ แล้วนึกว่าวันนี้วันอะไรนะ ใจเรายังเปลี่ยนเลย เนี่ยการภาวนาไม่มีอะไรหรอก ฝึกอยู่ในชีวิตจริงๆของเรานี้ ไม่ใช่ต้องนั่งหลับหูหลับตาไปฝึกในป่าในเขาอะไร ไม่ต้องหรอก

การภาวนาคือการเรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ อยู่ที่ไหนมันก็มีกายมีใจ ใช่มั้ย ไม่ใช่ว่ามาอยู่ที่นี่ ไม่มีกายไม่มีใจ ต้องไปอยู่ที่วัดถึงจะมีกายมีใจ ไม่ใช่ อยู่ตรงไหนก็มีกายมีใจ เพราะฉะนั้นอยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติได้ เพราะการปฏิบัติคือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจ

ทีนี้ตื่นนอนมา หลวงพ่อรับราชการนะ ตื่นมา นึกได้ วันนี้วันจันทร์ ใจแห้งแล้ง นึกได้ว่าวันนี้วันศุกร์ ใจสดชื่น เรารู้ทัน ใจแห้งแล้งเราก็รู้ ใจสดชื่นเราก็รู้ นึกได้ว่าวันศุกร์นะ โอ๊.. ปรีด์เปรมมากเลย นึกได้ไปอีกนะ Long Weekend ด้วย สดชื่นมากกว่าปกติอีก ใครเป็นบ้าง มีมั้ย เป็นทั้งนั้นแหละ เพียงแต่ไม่ยอมยกมือ ทำให้ดูว่าขยันทำงาน พอนึกได้ว่าวันศุกร์นะ จิตใจสดชื่น ดูไปดูมา เฮ้ย..จำวันผิด วันนี้วันพุธ ความสุขพลิกเลย ใจก็ทุกข์ขึ้นมา เห็นเลย ใจเป็นทุกข์ขึ้นมา เนี่ยคอยดูอย่างนี้

เวลากินข้าวเราก็ภาวนาได้นะ เรากินข้าว สมมุติว่าเราเดินไปโรงอาหาร โอ้..วันนี้มีแต่ของโปรด จิตใจมีความสุข รู้สึกมั้ย วันนี้เจอแต่ของที่เราไม่ชอบ แม่ค้าพวกนี้ขาด Innovation ไม่ได้เรื่องเลยนะ ทำอาหารเหมือนกันทุกวันเลย ล้วนแต่ของที่เราไม่ชอบ พอเห็นแล้ว ใจเราก็ไม่ชอบ เนี่ยรู้ทันที่ใจเรานะ ไม่ใช่รู้ว่าวันนี้มีอาหารอะไรนะ ไม่ใช่รู้ว่าวันนี้มี แกงเป็ด แกงไก่ แกงปลาไหล ฉู่ฉี่ อะไรอย่างนี้

ให้รู้ความรู้สึกของเรา เช่น เห็นอย่างนี้ เห็นอาหารอย่างนี้ ใจเรารู้สึกอย่างนี้ ได้กลิ่นอาหารอย่างนี้ ใจเรารู้สึกอย่างนี้ รู้ที่ใจ รู้ความรู้สึกที่ใจ เนี่ย คือการเจริญสติในชีวิตจริงๆ ไม่ใช่นั่งหลับหูหลับตาอยู่ที่ไหนเลยนะ ใช้ชีวิตอยู่ตรงไหนก็ภาวนามันที่นั้นแหละ

เพราะฉะนั้นเราเดินไป เราเห็นอาหารอย่างนี้ ใจเรารู้สึกอย่างไร เรารู้ทันนะ กินเข้าไป โอ๊ย.. นี่ของโปรดทั้งนั้นเลย ตักใส่ปาก ไม่อร่อยเลย นึกว่าจะอร่อย ใครเคยเป็นมั้ย เห็นของโปรด ตักใส่ปากเข้าไปแล้ว มันไม่อร่อย รู้สึกอย่างไร ปลื้มใจ ได้กินของไม่อร่อย ไม่เป็นใช่มั้ย รู้สึกอ๊า..แย่จังเลย แม่ครัวคนนี้ ไม่ได้เรื่อง อะไรอย่างนี้ ใจไม่ชอบ รู้ทันว่าใจไม่ชอบ เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันใจของเรา

ออกจากที่ทำงานของเราไป หรือจะมาที่ทำงาน ตอนเช้าๆ รถติดเยอะ รถติดเยอะแยะ วันนี้ออกจากบ้าน ขับรถออกมา เจอแต่ไฟแดง รู้สึกอย่างไร เจอไฟแดงรู้สึกอย่างไร เซ็งใช่มั้ย เดี๋ยวก็แดงๆ มีแต่ไฟแดงตลอดวันอะไรอย่างนี้ เบื่อมากเลย ถ้าวันไหนเจอแต่ไฟเขียว สดชื่น เห็นไฟเขียวดีใจๆ วิ่งๆวิ่งๆ แหมไฟยังเขียวอยู่ แดงปุ๊บขึ้นมา ไฟเหลืองก็ต้องรีบเร่งต่อไป ใช่มั้ย เกิดแดงขึ้นมาแล้วตำรวจมันยืนอยู่ เราก็ต้องเบรค หันไปดูอีกที อุ๊ยตำรวจตัวปลอม เดี๋ยวนี้คนกรุงเทพฯมันหลอกลวงนะ มันมีตำรวจตัวปลอมเยอะเลยนะ ตำรวจตัวปลอมกับตำรวจตัวจริงต่างกันตรงไหน ดูออกมั้ย ดูที่พุงสิ นะ ตำรวจตัวจริงนะจะอ้วนกว่าตำรวจตัวปลอม ถ้าติดไฟแดงเป็นคันแรกรู้สึกอย่างไร โห..โมโหเลย บางที ใช่มั้ย ถ้าติดเป็นคันที่ ๒๐ รู้สึกอย่างไร สบายกว่า รู้สึกมั้ย ถ้าติดเป็นคันที่ ๘๐ คันที่ ๑๒๐ เฉยๆ ไฟเขียวก็ยังเฉยอยู่ รู้ว่าไม่รอดหรอก เนี่ยเราคอยรู้ความรู้สึกของเรา เนี่ยแหละคือการปฏิบัติธรรมในชีวิตจริงๆ

อย่าไปคิดนะว่าการปฎิบัติธรรมในชีวิตธรรมดาเนี่ย ไม่มีผลอะไร จะแตกหักกันนะ จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้หรือเปล่า อยู่ที่ว่าเราปฎิบัติธรรมในชีวิตจริงๆของเราได้หรือเปล่า คนๆหนึ่งจะไปนั่งสมาธิ จะไปเดินจงกรมได้วันละกี่ชั่วโมง ชีวิตส่วนใหญ่ของเรา ก็คือชีวิตที่อยู่กับโลกธรรมดานี้ต่างหากล่ะ

เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกปฏิบัติได้เฉพาะตอนเข้าวัด เข้าคอร์ส ตอนนั่งสมาธิ ตอนเดินจงกรม โอกาสที่จะปฏิบัติมันมีนิดเดียว ปีหนึ่งจะมีสักกี่ครั้ง วันหนึ่งจะมีสักกี่ชั่วโมง กี่นาที แต่เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน เราโยนทิ้งเสียเปล่าๆ หลวงพ่อไม่โยนทิ้งเลยนะ ยกตัวอย่างแต่ก่อนนี้ ตอนที่รับราชการใหม่ๆ ยังไม่มีรถขับหรอก ขึ้นรถเมล์ พอตอนเช้าออกมาที่ป้ายรถเมล์ปุ๊บ เห็นผู้ร่วมชะตากรรมพอๆกับคนในห้องนี้ สดชื่นมั้ย เพื่อนเยอะ ไม่สดชื่นเลยใช่มั้ย เซ็ง เฮ่อ อย่างนี้จะไปได้ไง เซ็งรู้ว่าเซ็ง เห็นรถเมล์วิ่งมาแล้ว ปุเลงๆ อุ๊ย..คันนี้ว่าง ดีใจ มันไม่จอด เปลี่ยนจากดีใจเป็นโกรธ ความจริงที่มันว่างเพราะมันไม่ชอบจอด ถ้ามันชอบจอดมันคงไม่ว่างหรอก มันก็เรื่องง่ายๆแค่นั้นเอง เนี่ยพอรถเมล์ว่างๆมาดีใจ พอไม่ยอมจอดเปลี่ยนเป็นโมโห โมโหรู้ว่าโมโห เนี่ยคอยรู้ความรู้สึกของตัวเองไป

การหัดเจริญสติในชีวิตประจำวัน ที่ง่ายๆ เหมาะสำหรับคนเมือง คนอย่างพวกเรานี้แหละ คนอยู่ในเมือง ไม่มีเวลานั่งสมาธิ ไม่มีเวลาเดินจงกรมอะไรมากมาย ก็ให้พวกเราคอยรู้ความรู้สึกของตัวเอง ความรู้สึกของเราจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ความรู้สึกจะเปลี่ยนตลอด คอยมีสติรู้มันไปเรื่อยๆ อย่าไปบังคับให้มันสุข ให้มันสงบ ให้มันดีนะ เราดูความเปลี่ยนแปลง ท่องไว้นะ ว่าต่อไปนี้ เราจะคอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก คอยรู้ความรู้สึกที่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ดูเล่นๆไปเรื่อย เราก็จะเห็นเลย จิตใจนี้ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้ายนะ หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความสุขก็อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หายไป ทุกอย่างอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ฝึกมาอย่างนี้เรื่อยๆนะ ต่อไปปัญญามันแจ้งเลย สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ถ้าพูดภาษาบาลีก็ได้นะ บอกว่า ยํ กิญฺจิ สมุทย ธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธ ธมฺมนฺติ สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ผู้ใดเห็นว่าสิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา ก็เป็นภูมิธรรมของพระโสดาบันนั่นเอง ทุกอย่างมีแต่เกิดแล้วดับ ไม่มีตัวตนถาวร ไม่มีอัตตาตัวตนที่ถาวร

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๗ ถึง นาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 41234