Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จิตจะเสื่อมหรือเจริญก็ต้องภาวนาไปเรื่อย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: 451117B_decay2

หลวงพ่อปราโมทย์: พยายามจะให้มันดีทุกวัน กะว่าถ้ามันดีตลอดยาวๆ วันนึงเราจะรู้ธรรม ไม่รู้หรอก คนละเรื่องเลย ถ้าขืนมันดีตลอดนี่ซวยตายเลย ต้องใช้คำนี้ เพราะเราจะเกิดความหลงผิดว่าจิตนี้เป็นตัวตนของเรา บังคับได้ แต่งเอาได้ตามใจชอบ

แต่จิตมันไม่ยอมแมว (โยมผู้ส่งการบ้านหลวงพ่อ – ผู้เรียบเรียง) หรอก มันก็จะเป็นไปตามที่มันเป็นน่ะ คือเจริญแล้วเสื่อมๆ ผู้ปฏิบัติก็ตกใจ พอเสื่อมแล้วตกใจ ดิ้นใหญ่ ดิ้นพราดๆๆๆ หาทางแก้ใหญ่ แก้ไปแก้มามันดีขึ้นมาอีก โอ๊ย ฉันแก้เก่ง ความจริงไม่ต้องแก้มันก็ดีเองแหละ เพราะว่าไอ้เสื่อมมันก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน พอมันดี โอ๊ยรักษาๆ รักษายังไงก็เสื่อมอีก เพราะมันของเสื่อม

เพราะฉะนั้นจับหลักให้ดี ทำความเข้าใจให้ดี เราจะเฝ้ารู้มันแต่ละวัน วันนี้จิตเจริญรู้ว่าเจริญ เจริญแล้วเกิดภูมิใจรู้ว่าภูมิใจนะ กิเลสหลอกต่อละ วันนี้จิตเสื่อม รู้ว่าจิตเสื่อม เสื่อมแล้วเศร้าหมองก็ถูกหลอกอีกละ

ทำไปเรื่อยเลย จะเห็นแต่เจริญแล้วเสื่อมๆ ถึงจุดนึงเนี่ย ใจเรายอมรับความจริงว่าขันธ์ห้าโดยเฉพาะตัวจิตเนี่ย เป็นของที่บังคับไม่ได้หรอก นั้นน่ะคือการเข้าใจธรรมะจะเกิดขึ้นมา ต้องทำความเข้าใจตัวนี้นะ ตัวนี้ตัวสัมมาทิฐิ ให้เห็นสภาพธรรมทั้งหลายเนี่ยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รวมทั้งจิตของเราด้วย

เพราะฉะนั้นแมวเดินจงกรมไป ทำแล้วเดินไป จิตเจริญก็เดิน เสื่อมก็เดิน เหมือนหลวงพ่อชาสอนน่ะขยันก็ปฏิบัติ ขี้เกียจก็ปฏิบัติ แต่บางคนเจ้าเล่ห์พอได้ยินหลวงพ่อสอนบอกว่าจิตเจริญแล้วเสื่อมๆนะ เขาก็เดินจงกรม 3 วัน เจริญละ ตอนนี้ไม่เดินขอไปเที่ยวก่อน เดี๋ยวมันต้องเสื่อมอีก ฉันจะดูว่ามันจะเสื่อมยังไง อย่างนี้ไม่ได้กินหรอก เพราะว่าจิตมันจะเกิดความสำคัญผิดเข้าไปอีกว่าถ้าเราทำมันก็เจริญ มันเสื่อมเพราะเราไม่ทำต่างหากล่ะ เพราะฉะนั้นมีหน้าที่ทำให้สม่ำเสมอนะ เดินไปเรื่อยๆ เดินไป จะเดินจะยืนจะนั่งอะไรก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันมันไปเรื่อย มันมีความสุข มันมีความทุกข์ มันเจริญมันเสื่อมรู้มันไปเรื่อยๆ เจริญกะเสื่อมมันเป็นธรรมะที่เท่าเทียมกันนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑
File: 451117B
ระหว่างนาทีที่ ๘วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อยากรู้ไวๆ ทำอย่างไร?

mp3 (for download) : อยากรู้ไวๆ ทำอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


โยม : เอ่อ คำว่า รู้ไวๆ เนี่ย หมายถึงว่า เรารู้เองหรือมันกลับมาเองครับ (ผู้เรียบเรียง  : รู้ไวๆ หมายถึง มีสติเกิดขึ้นจากการรู้สภาวะธรรมต่างๆได้ไวรวดเร็ว ไม่เผลอลืมกายลืมใจนาน)

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรารู้เอง 

โยม : เรากำหนดได้หรือครับว่า ไวหรือช้า ผมมีความรู้สึกเหมือนกับเรากำหนดไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : อยู่ที่ซ้อม อยู่ที่การทำเหตุนะ เราต้องหัดรู้ มันถึงจะรู้ไว ดังนั้นแต่ละวันเราก็ทำในรูปแบบ พุทโธไป หายใจไป อะไรงี้ แล้วจิตไหลไปแล้วคอยรู้ไวๆ ต่อไป มันไหล กริ๊กเดียว ก็รู้แล้ว อยู่ๆจะไปสั่งให้รู้เร็ว ไม่รู้หรอก ต้องทำเหตุ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๐๕ ถึงนาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าหลอกตัวเองว่าเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวพอแล้ว

mp3 (for download) : อย่าหลอกตัวเองว่าเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวพอแล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าหลอกตัวเอง

อย่าหลอกตัวเอง

โยม : หลังๆ ขยันทำในรูปแบบมากขึ้น รู้สึกว่าการภาวนามันเริ่มก้าวหน้าครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อืม ต้องทำ ถ้าเราไม่ทำในรูปแบบนะ หลอกตัวเองว่าเราเจริญสติในชีวิตประจำพอแล้ว ไม่พอหรอก เจริญไปพักดียวจิตไม่มีแรง เหมือนๆเจริญแต่ไม่เจริญ

โยม : มีอะไรแนะนำเพิ่มไหมครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไปทำในรูปแบบทุกวันนะ แล้วพอจิตมีกำลังนะ ดูกายทำงานดูใจทำงานไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๐๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

mp3 for download : คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

คนจริงถึงจะได้ของจริง เก่งแสนเก่งแต่เหยาะแหยะไม่ได้หรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ๆ กว่าจะดีได้ไม่มีฟลุ๊คหรอก แลกมาสาหัสสากรรจ์ แต่ละองค์ๆไม่มีลูกฟลุ๊คนะ ภาวนามาอย่างล้มลุกคลุกคลาน ทุกคนๆแหละ

เนี่ยพวกเราภาวนา เราอย่านึกว่า เหยาๆแหยะๆแล้วจะได้ ฆราวาสนี้มีจุดอ่อนคือ ไม่ต่อเนื่อง จุดอ่อนอยู่ที่ความต่อเนื่อง เอาไม่จริงน่ะ ถ้าเอาจริงก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ใจไม่ถึงหรอก เหยาะๆแหยะๆ ทำบ้างหยุดบ้าง

คนไม่จริงก็ได้ของไม่จริง คนจริงนะต้องใจถึงจริงๆ ใจถึงจริงต้องเข้มแข็ง มีความอดทนอดกลั้น ขันตินั้นสำคัญมากนะ จะเก่งแสนเก่งนะ แต่ว่าทำเหยาะๆแหยะๆ ไม่ได้กินหรอก ต้องพากเพียรจริงๆเลย

แล้วคำสอนทั้งหลายนะ สับสนอลม่านมากนะ ยุคนี้ ต้องศึกษาด้วย เป็นคนจริงอย่างเดียว เป็นคนจริงแบบวัวแบบควายใช้ไม่ได้ ต้องศึกษาว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าสอนอะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510308
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๒๘ ถึงนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

mp3 for download : เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

เดินปัญญาได้แล้วอย่าทิ้งสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีอยู่คราวหนึ่ง ภาวนา มันเห็นสภาวะอยู่กลางหน้าอกนี่ มันไหวยิบยับๆ ใครเคยเห็น ไหวยิบยับในหน้าอก ยกมือสิๆ มีเยอะเหมือนกัน มันไหวยิบยับๆนี่น่ะ ดูแล้วไม่หาย อย่างถ้าความโลภความโกรธความหลงเกิดขึ้นมา ดูป๊บหายปั๊บ รู้สึกมั้ย โกรธขึ้นมาพอรู้ทันนั้นก็หาย โลภมารู้ทันมันหาย ไอ้ไหวยิบยับไม่ยอมหาย ไม่หาย ดูอยู่อย่างนั้นนะดู เสร็จแล้วสติมันไปจ่อมันไปดูอยู่ ดูอยู่เป็นเดือนเลย กลางวันก็ดู กลางคืนก็ดู ไม่ยอม(หยุด)เลย มันจะดูของมันตลอดเวลา เพราะมันสงสัยว่าตัวนี้มันคืออะไร

มันไหวยิบยับๆยิบยับๆขึ้นมาอยู่เดือนหนึ่งได้ โอ๊ยทุกข์มากเลย มันเหนื่อยแสนสาหัส เหนื่อยหนักเลย เอ๊… เราจะทำอย่างไรดี เราไม่ผ่านตัวนี้น้อ.. ไปถามครูบาอาจารย์ดีกว่า ไปหาหลวงพ่อพุธ ตอนนั้นท่านกำลังมีงาน เรียกว่างานบูรพาจารย์ ๑ – ๓ ธันวาคม ใช่มั้ย ชักจะจำไม่ได้แล้ว ไม่ได้ไปหลายปี ก็มีโยมมีพระมาเต็มวัดเลย ทีนี้หลวงพ่อไปแต่เช้าเลย หลวงพ่อพุธท่านยังไม่ได้ออกไปเทศน์ ก็ไปเล่าให้ท่านฟัง ว่ามันไหวอย่างนี้ จะทำอย่างไรครับ ทรมานมากเลย เห็นอยู่เดือนหนึ่งแล้ว

พวกเรา สมมุติ พวกเราดูหนังเรื่องเดิม ๑ เดือน ทุกข์หรือไม่ทุกข์ล่ะ ฟังเพลงประโยคเดียว ๑ เดือน ทุกข์มั้ยล่ะ ประโยคเดียว เนี่ยมันเห็นไหวยิบยับๆ ทู้ก..ทุกข์ บอกหลวงพ่อพุธว่าเนี่ยผมจะทำยังไงดี แต่เดิมสภาวะอะไรเกิดขึ้น ผมดูปุ๊บขาดหมดเลย นี้ไม่ขาด หลวงพ่อพุธบอกว่าการภาวนานี้ เมื่อถึงขั้นละเอียดนะ มันเหลือแต่ยิบยับๆ ยิบยับๆ ท่านว่าอย่างนี้ มันเหลือแต่ยิบยับๆให้ดูไปนะ ดูไป เนี่ยไม่มีทางปฏิบัติอื่นหรอก มันเป็นความปรุงละเอียด จิตมันปรุงละเอียด

ท่านพยายามสอนนะ ใจเราไม่ลง เฮ่อ.. ก็ปรุงละเอียดน่ะครับ แล้วทำอย่างไรจะผ่าน ใจมันไม่ลงแต่ไม่พูดนะ แต่ท่านรู้ว่าใจเรายังติดอยู่ นี่น่ะครูบาอาจารย์ท่านรู้หรอก ใจเรายังข้องนะ ใจเรายังติดอยู่ ท่านก็พยายามอธิบายใหญ่นะ วนไปวนมา ซ้ำไปซ้ำมา จะให้จิตเราคลายออก มันไม่คลาย สักครึ่งชั่วโมงแล้วพระมาตาม บอกว่าได้เวลาแล้ว คนเขารออยู่เต็มศาลาเลย ท่านบอกว่า เอาไว้ก่อนๆ อันนั้นไปเทศน์ตามธรรมเนียม ไม่สำคัญเท่าไหร่หรอก ตรงนี้สำคัญ ต้องแก้กรรมฐานก่อน นี่นะท่านพยายามแก้ให้หลวงพ่อนะ เกือบชั่วโมง ไม่ตกนะ แก้ไม่ตกนะ ในที่สุดเราก็ต้องบอกท่านว่า หลวงพ่อเหนื่อยเต็มทีแล้วครับ นิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์เถอะ เดี๋ยวผมค่อยไปหาทางจัดการเอาเอง สงสารท่านนะ แล้วเราก็ชักกลัวด้วย เขามาตามหลายรอบแล้ว เขาก็ชักตาขวางๆแล้ว

เสร็จแล้วกลับมาบ้าน แก้ไม่ตก เขียนจดหมายไปถามอาจารย์มหาบัว สมัยโน้นท่านยังตอบจดหมายอยู่ คนยังไม่ยุ่งกับท่านมาก ตอนนั้น เขียนไปถามท่านว่า มันยิบยับอย่างนี้ทำยังไง แล้วท่านก็ตอบมานะ ให้หนังสือธรรมเตรียมพร้อมมา บอกว่าเราเพิ่งไปทำตาใหม่ เราเขียนจดหมายยาวไม่ได้ ให้ไปอ่านเอาเอง โอ้โห..เล่มเบ้อเริ่มเลย ไม่รู้จะทำอย่างไร ท่านให้มานะ เอาหนังสือลงวางนะ บนโต๊ะกราบเลย กราบท่านเลย ไหนๆท่านก็ให้มาแล้ว ลองดูสักหน้าสองหน้าก็แล้วกัน พลิกออกมานะ กลางๆเล่มนะ ตอบเเรื่องนี้เป๊ะเลย ไม่ใช่ปาฏิหาริย์หรอก พอดีมือมันไปเปิดหน้านี้เข้า

ท่านก็บอกเหมือนที่หลวงพ่อพุธบอกเปิ๊ยบเลย การภาวนาพอถึงขั้นละเอียดจะเหลือแต่ยิบยับๆ แก้ไม่ตกน่ะ แก้ไม่ตก ตายแล้ว อาจารย์มหาบัวบอกมา ก็เหมือนที่หลวงพ่อพุธบอกนะ นี่ คิดอย่างนี้ ทำอย่างไรดี มันมีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย บอกจิต บอกกับจิตนะ หยุดซะ วันนี้อย่าดูมัน วันนี้อย่าดูมันเลยนะ ไปดูของอื่นนะ ไปดูหนังฟังเพลงก็ได้นะ ทำอะไรก็ได้ ให้มันไปที่อื่น อย่ามาดูอยู่ตรงนี้ กลางหน้าอกนี่ สั่งมันอย่างนี้ มันไม่ยอมนะ เปิดทีวีดูนะ มันก็เห็นไอ้นี่ยิบยับๆอยู่อย่างนั้นนะ แก้อย่างไรก็ไม่ตกน่ะ

ไปยืนรอรถเมล์อยู่ จะไปทำงาน ผู้คนก็เยอะแยะเลย ที่ป้ายรถเมล์ เพื่อนร่วมทางเยอะนะ เรียกว่าเพื่อนร่วมทุกข์ ไปรอรถเมล์อยู่ บอกมัน เลิกดูเหอะๆ มันไม่เลิก นึกขึ้นได้เอ๊ะเราไม่ได้ทำสมถะมานานแล้ว ทำเสียหน่อย พอเดินปัญญานี่นะ เป็นจุดอ่อนนะ พวกเราเป็นกันทุกคนน่ะ พอเดินปัญญาได้แล้วชอบทิ้งสมถะไปเลยนะ ไม่ทิ้ง ต้องไม่ทิ้ง เอาละวันนี้ทำสมถะเสียที หายใจเข้าพุทหายใจออกโธนับหนึ่งเข้าพุทออกโธนับสองอย่างนี้ นับไปๆได้ ๒๘ ครั้งนะ หายใจเข้าออกได้ ๒๘ ที จิตมันรวมลงมาปุ๊บ รวมลงไปนะ มันได้พักนิดนึงนะ พอมันถอนขึ้นมานะ ไอ้ยิบยับนะขาดไปนะ หายไป จิตหลุดออกไปจากไอ้ยิบยับ แต่ยิบยับมีอยู่นะ จะปรุงไปเรื่อยแหละนะ ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์มันปรุงอีก แต่จิตมันถอนออก มันไม่เข้าไปเพ่งไปเกาะมันนิ่งๆอยู่ตรงนั้น

เนี่ยดูจิตนะ สั่งมันไม่ได้หรอก สั่งมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ จับหลัก ทำความสงบเป็นช่วงๆไป แล้วก็ดูมันทำงานไป เป็นระยะๆ ระยะไป สลับไปสลับมา แล้วจิตจะได้มีเรี่ยวมีแรง เป็นของสั่งไม่ได้ห้ามไม่ได้บังคับไม่ได้ มันทำงานของมันได้เอง มันจะไปยิบยับ มันก็ยิบยับเอง มันจะไปดูยิบยับมันก็ไปดูของมันเอง ทำไม่ได้สักอย่าง เนี่ยเราค่อยฝึกๆนะ ค่อยหัดไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๑ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

mp3 (for download): เลือกอารมณ์การปฎิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

โยม : มีคนถามอยู่บ่อยๆว่า ในการปฏิบัติธรรม เวลาทำในรูปแบบนี่น่ะครับ รูปแบบมันมีเยอะแยะไปหมดเลย นั่งสมาธิ บางคนก็พุทโธ บางคนก็ดูลมหายใจ ดูท้องพองยุบ อะไรกันอย่างนี้ครับ หรือกระทั่งบทสวดมนต์ก็มีเยอะแยะ เราจะเลือกอย่างไรครับ อันไหนเหมาะกับตัวเราหรือไม่เหมาะอย่างไรครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : รูปแบบของการปฏิบัตินั้นต้องดูก่อน ปฏิบัติมี ๒ ส่วนนะ ส่วนของสมถกรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้จิตสงบ แต่ส่วนของวิปัสสนากรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้เกิดปัญญา เราก็ดูเลือกอารมณ์เอา ถ้ายกตัวอย่างบางคนขี้โมโหนะ กรรมฐานที่เหมาะกับเราก็คือ จะให้จิตสงบก็เจริญเมตตานะ บางคนขี้โลภ โลภมาก ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะเจริญมรณสติก็ได้ ก็ใช้ได้ บางคนก็งก อยากตลอดเวลานะ หรือรักสวยรักงามมากนะ วันๆหนึ่งเสริมสวยลูกเดียวเลย เคยเห็นนกหงษ์หยกมั้ย สมัยก่อนเขาเลี้ยงกันเยอะนะ ต้องมีกระจกให้มันด้วยนะ มันจะเสริมสวย อย่างนี้อาจจะพิจารณาอสุภะนะ อย่างนี้ค่อยดูเอา คนไหนฟุ้งซ่านมากอาจทำอานาปานสติ อันนี้เป็นการเลือกสมถะนะ จิตสงบ

อีกอย่างหนึ่งก็ดู นิสัยของเราเป็นแบบไหน เป็นพวกรักสุขรักสบายรักสวยรักงามนะ หรือเป็นพวกคิดมาก ถ้าเรารักสุขรักสบายรักสวยรักงามนี่นะ ถ้าเราจะเจริญปัญญานะ เรามาดูกาย ร่างกายนี้ไม่สุขไม่สบายไม่สวยไม่งาม ถ้าเราเป็นพวกคิดมาก จิตใจว่อกแว่กๆตลอดเวลา คอยรู้ทันจิตไป

เพราะฉะนั้นเราก็เลือกเอานะ ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ ไม่มีดีไม่มีเลวแตกต่างกันหรอกนะ ใครถนัดพุทโธก็พุทโธไป พุทโธแล้วได้อะไร ถ้าพุทโธแล้วจิตสงบอยู่กับพุทโธก็ได้สมถะ ถ้าพุทโธแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทันก็จะได้จิตที่ตั้งมั่น

ก็จะดูลมหายใจก็ได้ ดูลมหายใจไป ถ้าจิตไปรวมเข้ากับลมหายใจนิ่งก็ได้ความสงบได้สมถะ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจรู้ทัน จะได้จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ขึ้นมา แล้วดูร่างกายหายใจต่อไปอีกก็ได้ เจริญปัญญาไปเลย เห็นเลยร่างกายที่หายใจอยู่นี้เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา นี่เดินวิปัสสนาเลยนะ อย่างนี้ก็ได้ อย่างอานาปานสตินี่น่ะทำได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาเลยนะ

ก็ดูเอาแต่ละคนไม่ดีไม่เลวแตกต่างกัน ชอบทะเลาะกันนะ แต่ละสำนักๆนะ แล้วก็ชอบเถียงกันว่าแบบไหนดีกว่าแบบไหน ไม่มีแบบอมตะถาวรสำหรับทุกๆคน ไม่มีหรอก ทางใครทางมัน ใครถนัดอะไรเอาอันนั้นแหละ แต่ถนัดนอนไม่เอานะ ยกเว้นสักอย่างเถอะ คนนอนบรรลุมรรคผลนิพพานมีมั้ย มี แต่ตามสถิติมีน้อยนะ เว้นไว้สักอิริยาบถหนึ่งก็แล้วกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๕๓ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เริ่มปฎิบัติธรรมต้องทำอย่างไร ?

mp3 (for download): ปฎิบัติธรรม หมายความว่าอย่างไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เริ่มปฎิบัติธรรมต้องทำอย่างไร ?

เริ่มปฎิบัติธรรมต้องทำอย่างไร ?

โยม : ข้อแรกสำหร้บคนที่เริ่มปฏิบัติน่ะค่ะ ที่ไม่ทราบว่าจะทำยังไง คำว่าปฏิบัติธรรมเนี่ยหมายความว่ายังไง หมายถึงว่าจะต้องนั่งสมาธิ เดินจงกรม แล้วก็สวดมนต์อย่างนี้ แล้วจะต้องไปเข้าคอร์สมั้ยคะ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : การปฏิบัติธรรมนะ อันแรกก็มีเรื่องรักษาศีลนะ รักษาศีลไว้ก่อน ต่อไปก็มาฝึกจิต ฝึกสมาธิ ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จะฝึกที่บ้านก็ได้นะ ฝึกที่ไหนก็ได้ จะไปฝึกที่วัดก็ได้ ฝึกที่บ้านก็ได้ จุดสำคัญก็คือ เรามีกายมีใจอยู่ที่ไหน เราก็ภาวนาอยู่ที่นั้นแหละนะ

ตอนหลวงพ่อหัดภาวนาก็หัดภาวนาตอนเป็นโยมนะ ภาวนามาตั้งแต่ตอนเป็นโยม ไม่ใช่ว่าไปภาวนาในวัดหรอกนะ เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะปฏิบัติธรรมเนี่ย อยู่ตรงไหนก็ทำได้ คอยรู้สึกตัวนะ คอยรู้สึกตัวแล้วค่อยๆเรียนพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา

วิธีจะทำให้เกิดศีลง่ายๆ ไม่ยากอะไร คอยรู้ทันจิตตัวเองไว้ กิเลสอะไรเกิดขึ้นที่จิตรู้ทันไป ทันทีที่รู้ทันน่ะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ศีลมันเกิดแล้ว ศีลอัตโนมัติจะเกิดแล้ว คนทำผิดศีลได้เพราะว่ากิเลสครอบงำจิตหรอกนะ เพราะฉะนั้นถ้ากิเลสเกิดแว้บ..ขึ้นมาเรารู้ทัน มีศีล เราจิตหนีไปคิดเรารู้ทัน เราได้สมาธิ พอจิตได้สมาธิแล้วก็มาแยกธาตุแยกขันธ์นะ ดูกายดูใจเขาทำงาน ใจเราเป็นคนดู เห็นกายส่วนกาย ความสุขความทุกข์ส่วนของความสุขความทุกข์ อย่างนี้ก็ฝึกได้

การปฏิบัติไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการนั่งหลับตา ไม่เกี่ยวกับท่าทางอะไร ไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอก อันนั้นเป็นการทำในรูปแบบ อันนั้นหลวงพ่อก็ให้ทำนะ หลวงพ่อก็สอนให้ทำ แต่ที่ให้ทำนั้นไม่ใช่เพื่อให้เอาดีเอาอะไรหรอก เป็นการซ้อม ซ้อมที่จะรู้ทันจิตของตนเองนั่นเอง

ยกตัวอย่างบางวันเราฟุ้งซ่านมากนะ เราก็ไปนั่งคอยรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป แป๊บเดียวจิตก็สงบแล้ว พอจิตสงบแล้วก็ค่อยมาสังเกตนะ ร่างกายถูกรู้ถูกดู ความสุขความทุกข์ทั้งหลายหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงขึ้นในกายในใจนี้ ้เจริญปัญญาต่อไปได้แล้ว

ออกจากการปฏิบัติในรูปแบบก็มาเจริญสติในชีวิตประจำวันนะ การปฏิบัติในรูปแบบนั้น เหมือนเป็นการซ้อม นักมวยเข้าค่ายซ้อม ถึงเวลาก็ต้องชกจริง ชกจริงก็คือชกในชีวิตประจำวันนี้แหละ ตามองเห็น (แล้ว-ผู้ถอด)ความสุขความทุกข์ อกุศล-อกุศลเกิดขึ้นที่จิต คอยรู้ทัน หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจคิดนึกปรุงแต่ง(แล้ว-ผู้ถอด)นะ ความสุขความทุกข์ กุศล-อกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิต ให้รู้ทัน เนี่ยฝึกแค่นี้เองนะ ถึงเวลาก็ไปทำในรูปแบบ จะนั่งสมาธิ จะเดินจงกรม อะไรก็ได้ ไม่เกี่ยวกับท่านั่งหรอก จริงๆแล้วนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๐๒ ถึง นาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

mp3 (for download): ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

โยม : ขออนุญาตกราบเรียนหลวงพ่อนะคะ คือว่า แบบตัวเองไปศึกษามาหลายตำราค่ะ แล้วก็ บางทีก็รู้สึกว่า เอ๊…อันนี้ไม่เข้ากับเรา ก็เปลี่ยนไปเรื่อยนะคะ ตอนหลังก็มานั่ง นั่งพุทโธ ก็มีความรู้สึก ทำไมเรา เราไม่ได้สมาธิเสียที แล้วก็ มันก็จะฟุ้งไปเรื่อยน่ะคะ หรือบางทีก็เผลอหลับไปน่ะค่ะ อยากจะขอคำแนะนำ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเราจะทำอะไร เราต้องรู้ว่าเราจะทำเพื่ออะไร เราต้องรู้วัตถุประสงค์เสียก่อนนะ อย่างของคุณต้องการจะทำสมาธิเพื่ออะไร เพื่อให้สงบหรือเพื่อให้มีปัญญา จะเอาอะไร อันนี้

โยม : คือ จะให้มีเพื่อปัญญาค่ะ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะให้มีเพื่อปัญญานะ แต่ก่อนจะมีปัญญาก็ต้องสงบก่อนเหมือนกัน ถ้าใจฟุ้งมากๆมันก็ไม่มีปัญญา การปฏิบัติธรรมเนี่ยต้องเข้าใจก่อน อย่างที่หลวงพ่อบอกเมื่อสักครู่นี้นะ สมาธินี้นะเกิดจากความสุข ของคุณใจมันเที่ยวแสวงหาไปเรื่อย มันอยากลอง อยากลอง ลองไปหน่อยหนึ่ง ลองแล้วเมื่อไหร่จะสงบ ก็ดิ้นต่อไปอีก เปลี่ยนวิธี เอ๊ะ ทำอย่างนี้เมื่อไหร่จะสงบ ก็เลยไม่สงบเสียที

ลองเปลี่ยนใหม่นะ ลองทำเล่นๆ แต่ทำสม่ำเสมอ จะทำอะไรก็เอาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็พุทโธไป จะหายใจก็หายใจ จะดูท้องพองยุบก็ดูไป เอาอะไรก็เอาสักอันหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทำแล้วบังคับใจ ทำเล่นๆ ทำไปอย่างมีความสุขนะ มันจะสงบเข้ามา พอมันสงบแล้วมาฝึกสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ สงบ สมาธิชนิดที่ ๒ ตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน

สงบนี่นะ จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง อยู่ด้วยกัน นิ่งอยู่ บางทีก็ไหลเข้าไปรวมเป็นอันเดียวกัน บางทีก็แยกออกมา อย่างนี้เป็นสมถะ

สมาธิชนิดที่สอง จิตตั้งมั่นเป็นคนดู อารมณ์ไม่ได้เป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งเป็นคนดูอยู่อย่างนี้ แต่อารมณ์นี่นะ ร้อยอารมณ์ พันอารมณ์ หมื่นอารมณ์ แสนอารมณ์ก็ได้ เห็นอารมณ์เคลื่อนไหวเกิดดับตลอด ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม จิตเป็นแค่คนดูอยู่เฉยๆ เหมือนเรานั่งดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์ เห็นนักฟุตบอลวิ่งไปวิ่งมา นี่น่ะจิตถอนตัวมาเป็นคนดู นี่เป็นสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดนี้แหละที่จะใช้ให้เกิดปัญญา สมาธิสงบเอาไว้พักผ่อน สมาธิที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้รู้ผู้ดู อันนี้แหละถึงจะทำให้เกิดปัญญา

สมาธิมี ๒ ชนิดนะ ต้องเรียนให้ได้ทั้ง ๒ ชนิด เวลามีจำกัดนะ ไปฟังซีดีหลวงพ่อให้เยอะๆ แล้วจับสมาธิ ๒ ชนิดนี้ให้ออก แล้วแต่ละชนิดนะหลวงพ่อบอกไว้หมดเลย ฝึกอย่างไร อยากจะฝึกให้สงบนี่นะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อยู่อย่างต่อเนื่องเลย เพราะฉะนั้นย้ายสำนักไปเรื่อยๆนี่นะ ทิ้งคำว่าต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ว่าจะจับอารมณ์อะไรขึ้นมานี่ อยากให้มันสงบ จิตไม่สงบหรอก (เพราะ)จิตไม่มีความสุข ไปเค้นมัน เห็นมั้ย

ดังนั้น ถ้าจับหลักที่หลวงพ่อสอนนะ อะไรก็สงบไปหมดล่ะ ง่ายไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๔๓ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไร ?

mp3 (for download): เดินจงกรมอย่างไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เดินจงกรมอย่างไร ?

เดินจงกรมอย่างไร ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : เดินจงกรมหมายถึงอะไร คำว่าจงกรมจริงๆแปลว่า “ก้าวไป” เพราะฉะนั้นทุกก้าวที่เดินนั้นแหละ “จงกรม” เพียงแต่ว่าคนทั่วๆไปเขาเดินสะเปะสะปะ เดินไปแล้วจิตใจมันหนีไป เราเดินด้วยความรู้สึกตัว ทุกก้าวที่เดินด้วยความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรม เพราะฉะนั้นจุดสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ท่าเดินนะ จุดสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นเรามาดูนะ ว่ารู้สึกตัวจริงมั้ย เอาล่ะสิ

โยม : เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เดินไปด้วยความรู้สึกตัวนะ เคล็ดลับของการเดินจงกรมเนี่ยมันอยู่ตรงที่สุดทาง ตอนสุดทาง จะหลงไม่หลงก็ตอนที่สุดทางนั้นแหละ แต่ทางจงกรมไม่ควรยาวเกินไป ไม่ควรสั้นเกินไปนะ ถ้าสั้นไปเวียนหัว ถ้ายาวไปก็จะหลงอยู่กลางทาง อ่ะหยุดก่อน

สมมุติว่าเราจะเริ่มเดินจงกรม ทันทีที่เข้าสู่เส้นทางจงกรมนะ อย่าบังคับกาย อย่าบังคับใจ ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติพอคิดถึงการเดินจงกรมปุ๊บ บังคับจิตให้แข็งๆขึ้นมา จะเครียดขึ้นมา อันนี้ผิดธรรมชาติแล้ว เราต้องการดูกายทำงานดูใจทำงานอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่ไปเดินบังคับตัวเองจนเครียด

เพราะฉะนั้นมาถึงต้นทางเดินจงกรมนะ ทำความรู้สึกตัวให้สบาย แล้วก็เห็นร่างกายมันเดิน ไม่ใช่เดินจงกรมจะหมายถึง “เราเดิน” นะ เดินจงกรมเนี่ย เดินแล้วเห็น “ร่างกายมันเดิน” ใจเราเป็นคนดู ฝึกให้ได้อย่างนี้ ถึงจะดีที่สุด เอ้า…ลองเดินดูสิ แล้วใจเป็นคนดู ใจเป็นธรรมชาติมั้ย

โยม : เป็นธรรมชาติเจ้าค่ะ นิ่งๆนิดนึงเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ นะ มันเกินธรรมชาติไป มันก็เป็นธรรมชาติเหมือนกัน เป็นธรรมชาติของคนที่ตื่นเต้น ถ้าตอนที่เราไปเดินสุดทางจงกรมนะ เราอย่าเพิ่งหมุนตัว เดินไปสุดทางแล้วเราก็หยุดก่อน แล้วก็หมุนตัว แล้วก็หยุดก่อน ถ้าเดินไปสุดทางแล้วหมุนตัวปั๊บนะ จิตกระเด็นหนีไปเลย เราคอยดูนะ คอยดูนะ

เนี่ยทำความรู้สึกตัวให้สบายขึ้นมาก่อน แล้วหมุนตัว ไม่เร็วไม่ช้าไป นี่แน่ใจนะว่าไม่ช้าไป พอหมุนเสร็จแล้วก็รู้สึกตัวอีก แล้วค่อยเดิน ไม่งั้นจิตมันจะเดินก่อนขา ใครเคยเห็นจิตเดินก่อนขาบ้าง

โยม : หลวงพ่อคะ นี่ถือว่าเห็นกายมันเดินหรือเป็นสมถะคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เป็นสมถะ เอ้า… ไป เดินกลับที่ไป.. เพ่งมั้ย ตอนนี้เพ่งมั้ย

โยม : เพ่งเจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. ก็เป็นสมถะสิ คือตราบใดที่ยังเพ่งอยู่นะ เป็นสมถะ ถ้าเห็นกายมันเดินใจเป็นคนดูนะ กายไม่ใช่เราหรอก เป็นวัตถุธาตุที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ เนี่ยเจริญปัญญา ทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำเพื่อถอนความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน มีเรา มีเขา เพราะฉะนั้นถ้าเมื่อไรเห็นว่าไม่มีเรานะ กายมันเดิน ไม่ใช่ “เราเดิน” กายมันนั่ง ไม่ใช่ “เรานั่ง” รู้สึกอย่างนี้จริงๆ จิตมันเดินวิปัสสนาอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๖๐ วินาทีที่ ๐๕ ถึง นาทีที่ ๖๓วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขาดสติคือขาดความเพียร

Mp3 for download: 451117A_no sati no pawana

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขาดสติ คือขาดความเพียร

ขาดสติ คือขาดความเพียร

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงปู่มั่นท่านบอกว่ามีสติคือมีความเพียร ขาดสติคือขาดความเพียร เพราะฉะนั้นอย่างเราไปเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน ถ้าเราเดินแบบไม่มีสติก็คือไม่ได้ทำความเพียรอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อ วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑

File: 451117A
Track: ๑๑
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู

mp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีที่จะฝึกให้จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู ให้คอยรู้ทันนะ ใช้สตินี้แหละ คอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิดน่ะ จิตเราหนีไปคิดทั้งวัน พอจิตเราไหลไปคิดปุ๊บ คอยรู้ทันไว้นะ เราอาจจะพุทโธไว้ก็ได้ หายใจไว้ก็ได้ พุทโธไป หายใจไป พอจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ทันทีที่เรารู้ว่าจิตหนีไปคิด จิตจะหยุดคิดทันทีเลย เกิดจิตที่รู้ขึ้นมาแทนนะ เนี่ยเรามาฝึกอย่างนี้นะ ให้มีจิตผู้รู้ขึ้นมา

ถ้าคนไหนทำสมาธิเก่งๆ มีวิธีฝึกให้มีจิตผู้รู้อีกแบบหนึ่งนะ ทำสมาธิไป จิตสงบไป ทีแรกพุทโธไป หายใจไป พอจิตสงบไป ลมหายใจก็หายไป พุทโธก็หายไปนะ จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู ถ้าฝึกมาด้วยการทำสมาธิจนได้ผู้รู้เนี่ย พอออกจากสมาธิแล้วผู้รู้ทรงอยู่ได้นานเลย ทรงอยู่ได้ทีหนึ่งหลายๆวันเลย ทรงอยู่ได้นาน

แต่ถ้าเราเข้าสมาธิลึกๆไม่เป็นนะ เราก็มาฝึกเอาแบบคนยากคนจนนะ คอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิด ตรงนี้หลวงพ่อฝากไว้ให้ช่วยจำนิดนึงนะ คอยรู้ทันจิตที่หนีไปคิดบ่อยๆน่ะ จิตไหลไปคิดแว้บ..รู้สึก แว้บ..รู้สึก แว้บ..รู้สึก ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ แต่มันจะเป็นผู้รู้อยู่ชั่วคราว ไม่นานหรอก รู้ได้ทีละขณะ รู้ได้ทีละขณะ หลงไปคิดแล้วก็รู้ ตรงที่รู้เนี่ย จิตตั้งมั่น เดี๋ยวก็คิดใหม่อีก คิดใหม่อีก(ก็)รู้ใหม่ คิดไปรู้ไป คิดไปรู้ไป พอจิตไปคิด(แล้ว)เรารู้ บ่อยๆนะ ต่อไปมันจะรู้สึกเหมือนกับความรู้สึกตัว มันต่อเนื่อง จะรู้สึกเหมือนต่อเนื่อง เหมือนแสงไฟฟ้านี่นะ แสงไฟฟ้าเนี่ย ไฟฟ้ามันเกิดดับอยู่ตลอดเวลาเลย วินาทีหนึ่งมันดับหลายสิบครั้ง แต่มันดับเร็ว ดับแล้วก็สว่าง ดับแล้วก็สว่าง ไฟก็ขาดเป็นช่วงๆๆๆ มันจะรู้สึกว่าแสงสว่างนี้ต่อเนื่อง

จิตนี้เหมือนกันนะ เราฝึกไปเป็นขณะๆๆๆ ไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้นะ ในที่สุดจะมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องขึ้นมา มันจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูได้เหมือนกัน อันนี้ฝึกแบบคนเข้าฌานไม่เป็น เป็นทางเลือกนะ ถ้าเป็นพระสงฆ์องค์เจ้านะ หลวงพ่อก็จะแนะนำว่า หัดเข้าสมาธิให้ได้ ให้จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ถ้าอย่างนั้นดีที่สุด ถ้าทำไม่ได้เพราะเราเป็นฆราวาส เราไม่มีเวลานั่งสมาธิมากๆ ก็นั่งวันหนึ่งสิบนาที สิบห้านาที อะไรอย่างนี้ เริ่มต้น แล้วค่อยๆฝึก

แต่ว่าตัวสำคัญนะ คอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิด ฝากตรงนี้ไว้นะ ตรงนี้สำคัญมากนะ จิตหลงไปคิดแล้วรู้ จิตหลงไปคิดแล้วรู้ ในที่สุดเราจะเกิดตัวผู้รู้ขึ้นมา จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู ตอนนี้แหละเราจะเดินปัญญาได้แล้ว พอจิตมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว มันรู้สึกขึ้นมานะ งานถัดจากนี้มาหัดแยกธาตุแยกขันธ์นะ แยกกายแยกใจ จะมาตั้งมั่น รู้ตัวอยู่เฉยๆ โง่ๆอยู่อย่างนั้นก็ใช้ไม่ได้อีก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดประชาสันติ จ.พังงา
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: วัดประชาสันติ จ.พังงา วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
File: 540123.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คุณภาพของจิตที่ไปรู้กายรู้ใจสำคัญมากกว่ารูปแบบกริยาท่าทาง

mp 3 (for download) : คุณภาพของจิตที่ไปรู้กายรู้ใจสำคัญมากกว่ารูปแบบกริยาท่าทาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คุณภาพของจิตที่ไปรู้กายรู้ใจสำคัญมากกว่ารูปแบบกริยาท่าทาง

คุณภาพของจิตที่ไปรู้กายรู้ใจสำคัญมากกว่ารูปแบบกริยาท่าทาง

หลวงพ่อปราโมทย์ : การปฏิบัติไม่ได้อยู่ที่ท่าทางนะ ไม่ใช่ว่าต้องยกแข้งยกขาท่าไหน ต้องเดินนั่งท่าไหน หายใจท่าไหน ไม่ใช่หรอก การปฏิบัติจริงๆ อยู่ที่คุณภาพของจิตใจ จิตใจมีสติเกิดขึ้นเองมั้ย หรือว่าบังคับให้เกิด หรือว่ากำหนดอยู่เพ่งอยู่ จิตใจมีความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์หรือถลำลงไปรู้อารมณ์ จิตใจแทรกแซงอารมณ์ หรือว่าสักว่ารู้ว่าเห็นอารมณ์ นี่สิ่งเหล่านี้สำคัญ สำคัญมากกว่ากิริยาท่าทาง บางคนเดินสวยนะ ถูกต้องตามตำรับตำราที่อาจารย์รุ่นหลังท่านสร้างขึ้นมา ถูกตำราเป๊ะเลย แต่ข้างในไม่ถูก เช่น เดินจงกรมไปแล้วก็เครียดไปเรื่อยๆ เครียดไปเรื่อยๆ มันจิตเป็นอกุศล อย่างนี้ไม่ถูก

รูปแบบ เปลือกของมันเนี่ย มีความสำคัญน้อยกว่าคุณภาพของจิตที่ไปรู้กายรู้ใจ ตัวคุณภาพของจิตใจนี่สำคัญ จิตใจที่รู้ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด สว่าง เนี่ย จิตใจชนิดนี้ เอาไปรู้กาย เอาไปรู้ใจ มันจะเห็นเลย กายก็ไม่ใช่เรา ใจก็ไม่ใช่เรา มันทำงานของมันเองทั้งวันทั้งคืน มันเห็นเองนะ ไม่ต้องไปนึกเลยว่ามันเป็นเราหรือไม่เป็นเรา ไม่ต้องใช้ความคิดเลย แต่จะเห็นซึ่งๆ หน้าเลย เพราะฉะนั้นหลวงพ่อไม่ได้เน้นที่รูปแบบนะ ใครเคยเดินยังไงก็เดินไป ไม่เป็นปัญหา เคยนั่งเคยกำหนดอะไรนะ ยังไงก็ได้ แต่ขอว่าให้สติเกิดก็แล้วกัน

ส่วนใหญ่ที่ทำมาในอดีตมันมักจะเป็นการเพ่งเฉยๆ เพ่งให้นิ่ง มีแต่ข่มไว้ บังคับไว้ ควบคุมไว้ กำหนดไว้ เพื่อเอาความนิ่ง อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ได้แต่สมถะ กำหนดไปๆ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวโคลง ตัวเบา ตัวเล็ก ตัวใหญ่ ตัวหนักนี่ ขนลุก รู้สึกวูบๆวาบๆ นี่อาการของสมถะทั้งนั้นเลย ทำแล้วมีแต่สมถะ

ค่อยๆ หัดรู้หัดดูนะ คอยรู้คอยดูไป ใจจะค่อยๆ ตื่นขึ้นมา ค่อยรู้ทันจิตใจของตนเองไปเรื่อยๆ ตามรู้ไปเรื่อยๆ ถึงจุดนึงมันจะตื่นเต็มที่ขึ้นมานะ ผ่องใส เบิกบาน มีความสุข มีความสงบ จิตใจมีลหุตา เบา มีมุทิตา มุทุตา อ่อนโยน มีกัมมัญญตา ไม่ถูกนิวรณ์ครอบงำ มีปาคุญญตา คล่องแคล่วว่องไว ไม่ซึม ไม่ทื่อ มีอุชุกตา รู้อารมณ์ทั้งหลายอย่างซื่อๆ ตรงๆ ไม่หลงเข้าไปแทรกแซง เนี่ยจิตมีคุณภาพละ

ใช้จิตที่มีคุณภาพนี้ รู้กายรู้ใจไป ก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง ว่ามันไม่เที่ยงนะ มันเป็นทุกข์นะ มันไม่ใช่ตัวเรา พอเห็นกายเห็นใจถูกต้องตามความเป็นจริง ถึงจุดสุดท้ายมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ พอปล่อยวางกายวางใจออกไปได้ก็คือปล่อยวางตัวทุกข์ทิ้งไป กายกับใจนี้แหละตัวทุกข์ ทุกข์ก็อยู่ที่กาย ทุกข์อยู่ที่ใจ ตัวกายตัวใจนะเป็นที่ตั้งของความทุกข์ ไม่ใช่เพียงเป็นที่ตั้งของความทุกข์เท่านั้น ตัวกายตัวใจนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ เลย

แต่ตอนนี้สติปัญญาของเรายังเห็นไม่ได้ เราเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง จิตเป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง แต่ยังไม่สามารถเห็นว่ากายนี้ใจนี้ เป็นทุกข์ล้วนๆ แต่ถ้าเราเจริญสติมากเข้าๆ ถึงจุดนึงเห็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะแล้ววาง ถ้ายังเห็นทุกข์บ้างสุขบ้าง ไม่ปล่อยวาง แต่จะดิ้นรนหาความสุขไปเรื่อยๆ ถ้าสติปัญญาแก่รอบเราจะเห็นเลย ขันธ์ห้านี่เป็นทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป มีแต่ทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นทุกข์ล้วนๆ เมื่อไหร่ใจจะวาง ความยึดถือขันธ์ วางลงไป พอวางขันธ์ลงไปนะ มันก็หมดตัณหา หมดความดิ้น ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนที่จะแสวงหาความสุขมาให้ขันธ์ หรือหาความสุขมาให้จิตใจอีกแล้ว เพราะจิตใจนั้นคืนให้โลกคืนให้ธรรมชาติไปแล้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๕
File: 491105B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๕๓ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

mp 3 (for download) : วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเรารู้สึกมั้ย จิตของพวกเราส่ายตลอดเวลา ดูออกมั้ย ยกตัวอย่างมานั่งฟังหลวงพ่อเนี่ย บางทีจิตก็วิ่งมาที่หลวงพ่อ บางทีจิตก็วิ่งมาตั้งใจฟ้ง ไม่ได้ดูหน้าหลวงพ่อแล้ว แต่มาตั้งใจฟัง ฟังอยู่ ๒ – ๓ คำ นะ จิตก็จะสวิตช์ตัวเองไป ไปคิด ฟังไปคิดไป เห็นมั้ยว่าจิตมันส่ายตลอดเวลา จิตมันเปลี่ยนตลอดเวลา ถ้าเรารู้ทันนะ เราจะเห็นเลยจิตเกิดดับ เดี๋ยวจิตเกิดที่ตา เดี๋ยวจิตเกิดที่หู เดี๋ยวจิตเกิดที่ใจ จิตไปคิด เปลี่ยนๆ ปั๊บๆ ปั๊บๆ ไป คอยรู้สึกนะ คอยรู้สึกอยู่ที่กาย คอยรู้สึกอยู่ที่ใจนะ ค่อยๆฝึก ไม่ยากๆ มันง่าย ง่ายกว่าที่คิดไว้เยอะเลย

ขั้นแรกนะ อยากจะให้เกิดสติที่แท้จริงเนี่ย ทำกรรมฐานอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่งก่อน เราจะมาฝึกรู้สึกตัวก่อน ก่อนที่เราจะเห็นความเป็นจริงของกายของใจได้ อันแรกเลย เราต้องเห็นกายเห็นใจเสียก่อน ถ้าเราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเห็นความเป็นจริงของกายของใจได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้สึกกายรู้สึกใจให้ได้เสียก่อน การรู้สึกตัว คือการรู้สึกกายรู้ใจนี้ จึงเป็นจุดตั้งต้นของการปฏิบัติ การเจริญวิปัสสนา เป็นจุดตั้งต้นเลย

จิตของเราจะหลงตลอดเวลา เดี๋ยวหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกาย เช่นนั่งๆอยู่แล้วคัน เราก็เกาใช่มั้ย ขณะที่เราเกานะ เราสบายใจละ เราไม่รู้เลยว่าร่างกายกำลังเกาอยู่ ใจกำลังสบาย เราเกาอัตโนมัติ ในขณะนั้นลืมกายลืมใจ ทำอะไรเราก็ลืมกายลืมใจตลอดเวลา เรียกว่าขาดสติ สติที่หลวงพ่อพูด หมายถึง สติปัฏฐาน เป็นสติที่รู้กายรู้ใจ ถ้าเมื่อไหร่ลืมกายลืมใจ เมื่อนั้นเรียกว่าขาดสติ เราลองมาวัดใจของตัวเองดู ว่าเราลืมกายลืมใจบ่อยแค่ไหน สังเกตมั้ย เวลาที่เราไปคิด รู้สึกมั้ย ใจจะเหมือนไหลไปนะ ความรู้สึกอยู่ที่กายที่ใจนี้จะหายไป มีร่างกาย ร่างกายก็หายไป มีจิตใจ จิตใจก็หายไป ไม่รู้ รู้แต่เรื่องที่คิด

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ วิธีง่ายๆ พวกเราหาอารมณ์กรรมฐานมาสักอย่างหนึ่ง มาเป็นเครื่องสังเกตจิตใจ เช่น คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ ก็ไปนั่งรู้ลมหายใจ รู้เล่นๆ ไม่ใช่รู้เพื่อให้สงบ คนไหนชอบไหว้พระสวดมนต์ ก็ไปไหว้พระสวดมนต์ สวดเล่นๆนะ ไม่ใช่สวดให้สงบ คนไหนชอบดูท้องพองยุบก็ดูไป คนไหนชอบเดินจงกรมก็เดินไป คนไหนชอบอิริยาบถ ๔ ก็ดูยืนเดินนั่งนอน คนไหนชอบขยับมือทำจังหวะ ก็ทำไป แต่ทำไปเพื่อจะรู้ทันใจตนเอง

ยกตัวอย่างเช่น เราหายใจ หายใจไป หายใจเล่นๆ จิตเราวิ่งไปอยู่ที่ลมหายใจนะ เราก็รู้ทัน จิตเราวิ่งไปคิด เราก็รู้ทัน จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตดีจิตร้ายอะไรขึ้นมา คอยรู้ไปเรื่อยๆ หายใจไปแล้วคอยรู้ทันจิตใจไป

หรือสวดมนต์ก็ได้นะ อรหังสัมมา.. อะไรอย่างนี้ พอสวดมนต์ไป พอใจไหลไปคิดแว้บ หนีไปคิดเรื่องอื่นแล้ว รู้ทันว่าจิตไหลไปแล้ว สวดมนต์ไปแล้วจิตสงบ รู้ว่าสงบ สวดไปแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน สวดมนต์ไปแล้วก็คอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ นี่เป็นการฝึกให้มีสติ

ดูท้องพองยุบก็ได้นะ ดูท้องพองยุบไปแล้วจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ก็รู้ทัน จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไปทำอะไรก็รู้ทัน

นี่เราเข้ามาถึงการฝึกหัดแล้วนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้น ทุกคนหาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งก่อน อารมณ์อะไรก็ได้ที่เราถนัด ที่ทำแล้วสบายใจ รู้อารมณ์อันนั้นไป เช่นรู้พุทโธก็ได้นะ สัมมาอรหังก็ได้ หายใจก็ได้ รู้ท้องพองยุบก็ได้ เดินจงกรมก็ได้ ขยับมือทำจังหวะก็ได้ อะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตนิ่ง เราทำกรรมฐานไปแล้วเราคอยเห็นความเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวของจิตไปเรื่อยๆ เช่น เรา พุทโธๆ แล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าจิตนี้ไปคิดแล้ว พุทโธๆแล้วจิตสงบ รู้ว่าสงบ พุทโธๆแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจไป หายใจเข้าหายใจออกไป จิตวิ่งไปอยู่ที่ลมหายใจ เรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเรื่องอื่นเรารู้ทัน จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตมีปีติจิตมีความสุขอะไรขึ้นมา เราคอยรู้ทัน

ทำอะไรก็ได้นะ เบื้องต้น ทำกรรมฐานมาสักอันหนึ่งก่อน เป็นเครื่องสังเกต ปกติจิตเราจะร่อนเร่ตลอดเวลา วิ่งตลอด ดูยาก เราก็ทำกรรมฐานขึ้นมาเป็นตัวสังเกต สมมุติว่านี่เป็นพุทโธ นี่เป็นลมหายใจ เราพุทโธหรือหายใจอยู่ แล้วจิตเราวิ่งมาที่นี่ วิ่งมาที่พุทโธ วิ่งมาที่ลมหายใจ วิ่งมาที่ท้อง รู้ทันว่าจิตวิ่งมา จิตวิ่งไปที่อื่น รู้ทัน เนี่ยเราจะเห็นได้ชัด ถ้าเราไม่มีเครื่องสังเกตเลย จิตมันส่ายไปตลอด ดูยาก เพราะฉะนั้น เบื้องต้น หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งนะ อะไรก็ได้ ทำอะไรไม่เป็นเลย สวดมนต์ไปเรื่อยๆก็ได้ หรือฟังซีดีหลวงพ่อก็ได้ ฟังไปแล้วใจลอยไป รู้ ฟังไปแล้วขำขึ้นมา รู้ ฟังแล้วงงขึ้นมา รู้ หัดรู้ทันใจตัวเองบ่อยๆ

การที่เราหัดรู้สภาวะบ่อยๆนี้แหละจะทำให้เกิดสติ เพราะสติไม่ได้เกิดจากการบังคับ สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด เหตุของสติคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นเพราะจิตเห็นสภาวะบ่อยๆ เราหัดดูสภาวะไปนะ ทำกรรมฐานมาอันหนึ่ง แล้วคอยสังเกตความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตใจเราไปเรื่อย..

เช่นพุทโธๆ จิตไหลไปคิดก็รู้ หรือสวดมนต์ อรหังสัมมา.. จิตไหลไปคิดแล้ว ก็รู้ สัมพุทโธ ภควา.. อ้าวหนีไปอีกแล้ว เราก็คอยรู้ ฝึกแบบนี้บ่อยๆ ต่อไปพอจิตเคลื่อนตัวไปนะ จิตหลงไปคิดแว้บ..เดียว สติจะเกิดเองเลย สติไม่ได้เกิดจากการสั่งให้เกิด สติเกิดขึ้นเพราะว่าจิตจำสภาวะได้แม่น ในพระอภิธรรมถึงบอกว่า ถิรสัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ เพราะฉะนั้นเราหัดดูสภาวะไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งสติเกิด

พอสติที่แท้จริงเกิดนะ คอยสังเกตไป พอมันจะรู้สึกตัวขึ้นมา พอรู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว คราวนี้ไม่มีแล้วว่ากรรมฐานของเราจะทำสายไหน สายกายสายจิตอะไรอย่างนี้ไม่มีอีกต่อไปแล้ว เบื้องต้นอาจจะดูมาจากกาย บางคนดูจากเวทนา บางคนดูจากจิต อันนั้นแค่จุดตั้งต้นเท่านั้นเอง คือทำกรรมฐานมาอันหนึ่งเป็นเครื่องสังเกต พอรู้ทันจิตมามากๆเข้า สติเกิดเองแล้วเนี่ย ถัดจากนั้นไม่มีสายไหนๆแล้ว มีแต่ว่าขณะนี้มีสติ หรือว่าขณะนี้ขาดสติ ขณะนี้มีสติ บางทีสติระลึกรู้กาย บางทีสติระลึกรู้เวทนา บางทีสติระลึกรู้จิต เลือกไม่ได้หรอกว่าจะรู้กายหรือรู้จิต ถ้าใครยังเลือกว่าจะรู้กายอันเดียว หรือจะรู้จิตอันเดียว จะตกไปสู่สมถกรรมฐาน เพราะฉะนั้นสติที่แท้จริงเกิดเมื่อไหร่นะ เลือกไม่ได้หรอก บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้เวทนา บางทีก็รู้จิต

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญสติในชีวิตประจำวัน เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม

mp 3 (for download) : การเจริญสติในชีวิตประจำวัน เป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เรื่องการเจริญสติในชีวิตประจำวัน เรื่องนี้เป็นเรื่องหัวใจของการปฏิบัติธรรมทีเดียว พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติธรรมนะ เราจะวาดภาพว่า ต้องไปนั่งสมาธิ ต้องไปเดินจงกรม จะทำอะไรก็ต้องไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดา ต้องช้าๆ ต้องนุ่มนวล ต้องช้าๆ ค่อยๆขยับ ยกตัวอย่างจะเดินก็ต้องช้าๆนะ จะทำอะไรทุกอย่างต้องช้าๆ แล้วจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม นั่งก็ต้องหลับตา ถึงจะเรียกว่าปฏิบัติธรรม นั่งลืมตาก็ไม่ได้ ต้องนั่งในท่านี้ด้วย ต้องเดินในท่านี้ด้วย ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติ

ในความเป็นจริงการปฏิบัติธรรมไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก การปฏิบัติธรรมจริงๆคือการมีสติ เมื่อไรมีสติเมื่อนั้นมีการปฏิบัตินะ มีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดการปฏิบัติ ขาดความเพียร เพราะฉะนั้นหลวงปู่มั่นท่านสอนไว้ดีมากเลย ท่านบอกว่า ถ้าเราทำสมาธิมาก จะเนิ่นช้า ถ้าเราค้นคว้าพิจารณาธรรมะมาก พิจารณากาย พิจารณาอะไรมากเนี่ย จิตจะฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติเนี่ย คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน

การเจริญสติในชีวิตประจำวันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไม่นั่งสมาธิ ไม่เดินจงกรม ไม่ทำในรูปแบบ ไม่ใช่ อาศัยการทำในรูปแบบในเบื้องต้นนี้เอง เป็นการฝึกให้เกิดสติ เมื่อมีสติแล้ว เราเอาสติมาใช้ในชีวิตประจำวัน จะแตกหักกันก็ตรงที่ว่า ใครจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ คนไหนเจริญสติในชีวิตประจำวันไม่ได้เนี่ย โอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้นะ ยังห่างไกลเหลือเกิน

มันยากมากเลยที่คนๆหนึ่งจะมีสติขึ้นมา สติที่แท้จริง แต่ไม่ยากเลยที่คนที่มีสติที่แท้จริงแล้ว จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ มรรค ผล นิพพาน มีจริงๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อ วันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บริกรรมพุทโธ โดยใช้จิตเป็นวิหารธรรม

mp 3 (for download) : การพุทโธ โดยใช้จิตเป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

บริกรรมพุทโธ โดยใช้จิตเป็นวิหารธรรม

บริกรรมพุทโธ โดยใช้จิตเป็นวิหารธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์: พอได้มั้ย พุทโธ ไม่มีสภาวะรองรับ พุทโธเป็นบัญญัติ แต่ว่าถ้ามาใช้พุทโธเนี่ย ต้องมาดูที่จิต พุทโธแล้วมาดูอยู่ที่จิต เวลาเราพุทโธๆไป บางทีจิตหนีไปคิด บางทีจิตก็มาอยู่กับพุทโธ เดี๋ยวจิตก็หนีไปคิด เดี๋ยวจิตก็มาอยู่กับพุทโธ นี่แสดงความไม่เที่ยงให้ดูได้ ถามว่าเวลาเราพุทโธนั้นเราใช้อะไรเป็นวิหารธรรม เราไม่ได้ใช้พุทโธเป็นวิหารธรรม แต่เราใช้จิตเป็นวิหารธรรมนะ

เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่าง ครูบาอาจารย์สายวัดป่าท่านพุทโธ ท่านบอกว่า ถ้าพุทโธเป็นนะ ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้เลย คนที่เรียนอภิธรรมจะบอก เป็นไปไม่ได้ เพราะพุทโธเป็นบัญญัติ เป็นเรื่องที่คิดขึ้นมา ไม่มีสภาวะของรูปนามรองรับ อันนี้ไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านสอนหรอก

พุทโธ คือ อะไร พุทโธ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อะไรคือผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ก็จิตนั่นแหละ คือผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เพราะฉะนั้นถ้าเราพุทโธเป็นนกแก้วนกขุนทองนะ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตสงบ ได้สมถะ ไม่ขึ้นวิปัสสนานะ

ถ้าพุทโธเป็นเครื่องสังเกตจิต เอาจิตเป็นวิหารธรรม จิตลืมพุทโธไปเนี่ย จิตฟุ้งซ่าน รู้ทันจิตฟุ้งซ่านนะ จิตหนีไป จิตไปอยู่กับพุทโธ จิตสงบ เห็นมั้ย เดี๋ยวก็จิตสงบ เดี๋ยวก็จิตฟุ้งซ่าน เดี๋ยวจิตสงบ เดี๋ยวจิตฟุ้งซ่าน เห็นมั้ย ก็ดูได้นะ เป็น ๑ คู่ จิตสงบกับจิตฟุ้งซ่าน เป็น ๑ คู่ แสดงไตรลักษณ์ได้แล้ว เป็นธรรมคู่แล้ว

เพราะฉะนั้นถ้าทำเป็นนะ กรรมฐานอะไรก็ง่ายไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๕
File: 530828A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

mp3 (for download): หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

หลวงพ่อปราโมทย์: คำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ามีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ต้องทำให้ได้นะ

ขั้นตอนแรกเลย ให้พุทโธ ให้กำหนดลมหายใจ แล้วแต่ความสะดวก ความถนัด พุทโธไป ทำลมหายใจไปจนใจเราสงบ

ใจเราสงบแล้วอย่าขี้เกียจขี้คร้านนะ ให้ใจออกมาทำงาน เอาใจออกมาทำงานคือมาพิจารณาร่างกายนี้ ไม่อย่างนั้นใจจะติดแต่ความสุข ความสงบ เฉยๆ อยู่ เฉยโง่ๆ นะอย่างนั้น เป็นสมาธิโง่ งั้นสงบแล้วต้องออกมาพิจารณาร่างกาย ให้ใจทำงาน หมดเวลาพุทโธพิจารณากายแล้วเนี่ย

ต้องทำขั้นตอนที่สาม คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ขั้นตอนนี้ละเลยไม่ได้เด็ดขาดนะ ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด หัวใจกรรมฐานอยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

หลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่มั่นสอน หลวงพ่อไม่ทันท่านนะ ครูบาอาจารย์บอกต่อมา หลวงปู่มั่นสอนไว้บอกว่าทำความสงบมากเนิ่นช้า นี่ทำความสงบมากจะเนิ่นช้านะ เอาแต่ความสงบลูกเดียวไปไหนไม่รอดหรอก กี่ภพกี่ชาติก็ช้าอยู่น่านนะ

คิดพิจารณามากฟุุ้งซ่าน ดูกายพิจารณากายอย่างเดียวนะฟุ้งซ่าน งั้นพิจารณาไปพอสมควรแล้วก็ทำความสงบเข้ามาสลับไปสลับมา บอกว่าทำความสงบมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน

หัวใจอยู่ที่นี่นะ หัวใจอยู่ที่มีสติในชีวิตประจำวัน ต้องมีสติ มีสติร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก ให้ดูกายให้ดูใจไป อาจารย์มหาบัวเคยสอนหลวงพ่อ การปฏิบัติไม่มีอะไรมากหรอกบอกอย่างนี้ มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ไม่ใช่นั่งเคลิ้มลูกเดียวนะ เคลิ้มลูกเดียวก็ ชาติหน้าก็ไปเคลิ้มอีกนะ มันไม่มีปัญญานะ สมถะไม่ทำให้เกิดปัญญานะ ต้องมามีสติรู้กายรู้ใจลงไป ซักฟอกลงมาในกายในใจนี้ จนมันคลายความยึดถึอกายยึดถือใจได้ มันหมดความยึดถือกายยืดถึอใจได้เมื่อไหร่ก็เป็นพระอรหันต์เมื่อนั้นนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๑
File: 491129
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิ มี ๒ แบบ

mp 3 (for download) : สมาธิ มี ๒ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมาธิ มี ๒ แบบ

สมาธิ มี ๒ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิมี ๒ อัน อันหนึ่งให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อีกอันหนึ่งให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู อารัมมณูปนิชฌานทำให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว ลักขณูปนิชฌานทำให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเห็นลักษณะคือความเป็นไตรลักษณ์ได้

ถ้ามีลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดที่เห็นลักษณะได้นี้แหละ เอาไปเป็นเครื่องมือในการเจริญปัญญา ส่วนสมาธิที่ไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นเครื่องมือในการพักผ่อน มีประโยชน์มั้ยพักผ่อน มี ทำงานหามรุ่งหามค่ำไม่มีความสุข แห้งแล้ง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ปฏิเสธสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง สมาธิที่ปฏิเสธก็คือสมาธิที่ลืมเนื้อลืมตัว เคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว ง็อกแง็กๆ อย่างนั้นไม่ได้เรื่อง ต้องเป็นสมาธิที่ไม่ขาดสติ ถ้าขาดสติเมื่อไหร่นะ ถึงจะมีสมาธิอยู่จิตก็เป็นอกุศล

เราอย่านึกนะว่าสมาธิเกิดจากจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น แม้จิตอกุศลก็มีสมาธิ ยกตัวอย่างคนจะไปยิงหัวคนอื่นนะ มีสมาธินะ มี ไม่งั้นยิงไม่ถูกน่ะ คนเล่นไพ่มีสมาธิมั้ย มี เห็นมั้ย คนเชียร์มวยเคยเห็นมั้ย เชียร์มวย เคยเห็นในโทรทัศน์มั้ย มันเต้นเหย็งๆเลย มันมีสมาธิในการดูมวยใช่มั้ย รู้หมดเลยนักมวยควรจะชกอย่างนี้ ควรจะเตะอย่างนี้ รู้หมดเลย เพราะชอบสอนให้นักมวยทำอย่างนั้นอย่างนี้ ตัวเองมีสมาธิจดจ่อดู ดูออก

สมาธิมันเกิดกับจิตทุกชนิดแหละ จิตที่เป็นกุศลมันก็มีสมาธิ จิตอกุศลมันก็มีสมาธิ เพราะฉะนั้นนะเราเลือกสมาธิจากจิตที่เป็นกุศลน่ะ มี ๒ จำพวก พวกหนึ่งสงบ อีกพวกหนึ่งตั้งมั่น สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว วิธีฝึกทำอย่างไร เรารู้เราจะทำอะไร

ยกตัวอย่างเราจะทำสมถะ ทำเพื่ออะไร เพื่อสงบหรือเพื่อตั้งมั่น ทำอย่างไร อันนี้ก็ต้องรู้นะ ถ้าจะทำให้สงบ เราก็เลือกดู อารมณ์อะไรที่เราอยู่แล้วมีความสุข เราไปรู้อารมณ์อันนั้น ใครอยู่กับพุทโธมีความสุขก็อยู่กับพุทโธ ใครอยู่กับลมหายใจ อยู่กับท้องพองยุบ อยู่กับการเดินจงกรม อยู่กับการขยับมือทำจังหวะ แล้วมีความสุข เราก็ใช้อารมณ์อันนั้น เลือกเอาอารมณ์ที่มีความสุข หรือหัดดูจิตดูใจไป แล้วมีความสุข

เมื่อเช้าอาจารย์ Sup ครู Sup’K เขาไปบอก ว่าครู Sup’K เนี่ย ภาวนาหายใจเข้าก็บริกรรมนะ หายใจเข้าก็รู้ ตอนหายใจออกบริกรรมว่าหายใจออกก็รู้ ถามว่าใช้ได้มั้ย ใช้ได้ เพราะครู Sup’K แกบอกว่า แกบริกรรมแบบนี้แล้วมีความสุข จิตใจมีความสุขจิตจะสงบ จิตจะไม่หนีไปที่อื่นนะ สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว สบาย เพราะฉะนั้นเราเลือกอารมณ์ที่เราอยู่แล้วมีความสุข แต่ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศล ใช้ได้ทั้งสิ้นเลย จะได้จิตที่มีความสงบขึ้นมา

แล้วจิตที่ตั้งมั่นล่ะฝึกอย่างไร เราก็ฝึกไปอย่างเดิมนั้นแหละ แต่ปรับมุมมองนิดหน่อยนะ แทนที่จะน้อมจิตให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วมีความสุขนะ เปลี่ยนมาเป็นคนคอยรู้ทันจิตนะ มาเป็นคนคอยรู้ทันจิต เช่นหายใจไปบริกรรมไป หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ รู้ไปบริกรรมไป จิตไหลแว้บ..ไปที่อื่นน่ะ จิตไหลแแว้บไป รู้ทัน รู้ทัน จิตมันไหลแว้บไป เรารู้ทัน อย่างนี้ เราเห็นจิ๊บเดินไปใช่มั้ย จิตเราไหลไปอยู่ที่เขา เราคอยรู้ทัน จิตมันจะหนีไปเรื่อย จิตที่หนีไปนั้นแหละเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น มันหนีไป มันจะลืมเนื้อลืมตัว ลืมกายลืมใจ

เพราะฉะนั้นเรามาฝึกนะ ฝึกพุทโธไป หายใจไป หายใจอย่างเดียวหรือว่าจะหายใจไปพุทโธไปก็ได้ หายใจไปแล้วบริกรรมอย่างอื่นก็ได้ เช่น หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ แล้วแต่ถนัดนะ ไม่มีดีมีเลวกว่ากันหรอก แล้วก็คอยรู้ทันนะ หายใจไปๆ จิตหนีไปคิดน่ะ จิตไหลไปแล้ว รู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน รู้ทันกริยาอาการของจิตไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หายใจแล้วไปรู้ตัวลมหายใจนะ จะคนละแบบกัน ไม่ได้หายใจเอาความสงบ แต่หายใจแล้วคอยรู้ทันจิตที่ไม่สงบ จิตที่ฟุ้ง จิตที่ไหลไปไหลมา

วิธีนี้ก็ใช้กับกรรมฐานอย่างอื่นก็ได้นะ ยกตัวอย่างบางคนก็พุทโธๆ ไม่ได้พูดถึงลมหายใจ ไม่ได้สนใจลมหายใจเลย พุทโธลูกเดียวเลย พุทโธๆไปแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งอารมณ์ เพ่งจิตนิ่งๆอยู่ ก็รู้ทัน จิตไปทำอะไรก็รู้ทัน คอยรู้ทันอย่างนี้นะ ต่อไปจิตจะกลายเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ตรงที่รู้ทันนั้นแหละ จิตไม่ไหลไป ตรงที่จิตไม่ไหลไปนั้นแหละ จิตตั้งมั่นขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นตั้งมั่นโดยที่ไม่ได้เจตนาให้ตั้งมั่น ตั้งมั่นโดยที่ไม่ได้บังคับให้ตั้งมั่น ถ้าเจตนาให้ตั้งมั่นเนี่ยเจือด้วยโลภะ ไม่ตั้งมั่นจริง ไปบังคับมันยิ่งเครียดใหญ่ แน่นๆ ใช้ไม่ได้

เพราะฉะนั้นสมาธิ ๒ อย่างนะ ฝึกไม่เหมือนกัน อย่างแรกรู้อารมณ์ที่สบาย มีความสุข แล้วจิตสงบอยู่ในอารมณ์อันนั้น อันนี้เอาไว้พักผ่อน อย่างที่ ๒ ก็รู้อารมณ์อย่างที่เคยรู้นั่นแหละ แล้วคอยรู้ทันที่จิต จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้รู้ผู้ดู ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ได้นะ ให้ได้ทั้งสองอย่างล่ะ ดีที่สุด อันหนึ่งเอาไว้พักผ่อน อันหนึ่งเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๑๖
File: 530917B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานไม่สำคัญที่รูปแบบ แต่สำคัญที่เนื้อหา คือการเห็นไตรลักษณ์ของกายใจ

mp3 (for download): กรรมฐานไม่สำคัญที่รูปแบบ แต่สำคัญที่เนื้อหา คือการเห็นไตรลักษณ์ของกายใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

กรรมฐานไม่สำคัญที่รูปแบบ แต่สำคัญที่เนื้อหา คือการเห็นไตรลักษณ์ของกายใจ

กรรมฐานไม่สำคัญที่รูปแบบ แต่สำคัญที่เนื้อหา คือการเห็นไตรลักษณ์ของกายใจ

หลวงพ่อปราโมทย์ :

กรรมฐานนะเบื้องต้นจะใช้กรรมฐานอะไรก็ได้ มันไม่สำคัญที่รูปแบบหรอก มันสำคัญที่เนื้อหา รูปแบบจะสวยหรือรูปแบบไม่สวยนะมันแค่บรรจุภัณฑ์ ถ้าเราไม่ได้ทำสินค้าไว้ขายโฆษณาเนี่ย รูปแบบเป็นเรื่องรอง เนื้อหาสาระที่แท้จริงของการปฎิบัติสำคัญที่สุด การปฎิบัติธรรมเราต้องรู้ว่าเราปฎิบัติเพื่ออะไร อันแรกเลยเราต้องปฎิบัติเพื่อให้เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี ถ้าเมื่อไรเห็นว่าตัวเราไม่มีนะ วันนั้นจะได้พระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันคือผู้ที่รู้ความจริงว่าตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา

เพราะฉะนั้นการปฎิบัติไม่ว่าจะปฎิบัติกรรมฐานแบบใด ถ้าถูกต้อง จะเป็นการเรียนรู้กายเรียนรู้ใจของตัวเองเท่านั้น มีคำว่าเท่านั้นด้วย แล้วก็เรียนรู้ความจริงด้วย ไม่ใช่เรียนรู้สิ่งที่เหนือความจริง ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นกรรมฐานจริงๆ ที่เราฝึกกันแทบเป็นแทบตายเนี่ย เพื่อให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ถ้าไปเห็นกายเห็นใจแล้วไม่เป็นไตรลักษณ์ก็ใช้ไม่ได้ ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจ ใช้ไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้นต้องรู้กายรู้ใจ แล้วก็เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ การรู้กายรู้ใจรู้ด้วยสติ การเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์รู้ด้วยปัญญา เครื่องมือก็คือสติและปัญญา เรียนกรรมฐานจะใช้รูปแบบอะไรไม่สำคัญหรอก ต้องฝึกให้มันมีสติมีปัญญาขึ้นมาให้ได้ ถ้าขาดสติขาดปัญญาก็ไร้สาระแล้ว ใช้ไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
File: 510216A
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาคือการเรียนรู้ตัวเอง ไม่ใช่การดัดแปลงตัวเอง

mp3 for download : การภาวนาคือการเรียนรู้ตัวเอง ไม่ใช่การดัดแปลงตัวเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มนุษย์ดัดแปลง

มนุษย์ดัดแปลง

หลวงพ่อปราโมทย์ : โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่แปลว่า คิดส่งเดช คิดตามใจชอบ นึกจะคิดก็คิดเอาเอง ไม่ใช่ แต่ต้องคิดให้อยู่ในหลัก อยู่ในแนวทางที่พระพุทธเจ้าสอน เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรก่อน

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์นะ ง่ายๆเลย ทุกข์ให้รู้ ทุกข์คืออะไร ทุกข์คือกายกับใจ หน้าที่ของเราก็คือ รู้กายรู้ใจ เห็นมั้ยง่ายๆ รู้ไปเรื่อยแล้ววันหนึ่งละสมุทัยเอง ละความอยาก พอหมดความยึดในกายในใจก็หมดความอยากที่จะให้กายให้ใจเป็นสุข หมดความอยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์

เมื่อไรจิตหมดความอยาก จิตก็จะเห็นนิพพาน นิพพานคือสภาวะที่พ้นจากความอยาก ยังอยากอยู่นะไม่เห็นนิพพาน ยังอยากปฏิบัติยังไม่มีวันเห็นนิพพานหรอก อยากได้ผลนะยิ่งไม่มีทางเห็นใหญ่ ตราบใดที่ความอยากยังครองหัวใจอยู่ ตราบนั้นยังไม่เกิดมรรคผลหรอก

เนี่ยเราสังเกตของเราไปเรื่อยๆ อยู่ในหลักนี้แหละ รู้ทุกข์ไป รู้กายรู้ใจอย่างที่เขาเป็น รู้ไปเรื่อย ท่านให้รู้นี่ ท่านไม่ได้ให้บังคับ ไปเพ่งกายเพ่งใจเรียกว่ารู้กายรู้ใจหรือเปล่า? เพ่งกายเพ่งใจก็ไม่ใช่รู้กายรู้ใจ

ยกตัวอย่างบางคนไปดูท้องพองยุบนะ เพ่งอยู่ที่ท้อง ทำไมต้องเพ่ง เบื้องหลังการเพ่งคือโลภะ อยากปฏิบัติ เบื้องหลังโลภะก็คือความเห็นผิดว่ามันเป็นตัวเรา เราอยากให้เราพ้นทุกข์นะ อวิชามีอยู่ เห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นเรา ยึดถือว่าเป็นตัวดีตัววิเศษ เพราะมีอวิชาก็เลยมีตัณหา-อยาก พออยากแล้วก็ทำตามอยาก สนอง

คนทั่วๆไป สัตว์ทั่วๆไป พอเกิดความอยากก็ตามใจมัน สนองกิเลสไปเรื่อย ความอยากก็หมดไป เช่น อยากไปดูหนังแล้วไปดูหนังก็หายอยาก

ทีนี้นักปฏิบัตินะ ชอบบังคับตัวเอง จิตมีความอยากปฏิบัติอยากอะไรนะ ลงมือปฏิบัติ ลงมือบังคับตัวเอง คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ลงมือบังคับตัวเองเมื่อนั้น บังคับกายบังคับใจ กายก็ต้องเรียบร้อย นิ่งๆ ทำอะไรต้องช้าๆ ไปสังเกตดู ครูบาอาจารย์ที่ท่านภาวนาดี ไม่เห็นมีองค์ไหนท่านช้า ยกเว้นแต่ท่านช้าของท่านเอง ช้ามาแต่ไหนแต่ไร ยกตัวอย่างหลวงปู่เทสก์ท่านนุ่มนวล ท่านทำอะไรก็ช้าๆหน่อย ท่านนุ่มนวล อาจารย์มหาบัว ชึบชับๆ ว่องไว แก่ป่านนี้ท่านยังว่องไวอยู่เลย เห็นมั้ย ท่านไม่ได้ดัดจริตทำเป็นช้าๆให้ดูน่านับถือ ไม่มีหรอกไม่มีเสแสร้งเลย

เพราะฉะนั้นการภาวนาไม่ใช่ไปดัดแปลง คิดถึงการปฏิบัติก็ดัดแปลง เคยเดินท่านี้ก็เปลี่ยนท่าเดิน เคยนั่งอย่างนี้ก็เปลี่ยนท่านั่ง เคยกินอย่างนี้ก็ต้องเปลี่ยนวิธีกิน บางคนกินข้าวนะ กินข้าวเช้ากว่าจะเสร็จข้าวบูดไปแล้ว กินนาน…มากเลยนะ แปรงฟันมื้อเช้านะจนเพื่อนเขากินมื้อกลางวันเสร็จแล้วยังแปรงไม่เสร็จเลยก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี อะไรจะดัดแปลงตัวเองมากขนาดนั้น

การภาวนาคือการเรียนรู้ตัวเอง ไม่ใช่คือการดัดแปลงตัวเอง รู้กายลงไป รู้ใจลงไป ดูของจริงในกายในใจ กายนี้ไม่เที่ยงหรอก เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด กายนี้ทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ กายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก ดูลงไป

จิตก็เหมือนกันนะ มันไม่เที่ยง เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทนอยู่ในภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ ถูกตัณหาบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เพราะเราบังคับมันไม่ได้ สั่งมันไม่ได้จริงหรอก

เรียนจนเห็นของจริงนะ พอเห็นความเป็นจริงแล้วจะเบื่อ เพราะเห็นตามความเป็นจริงก็เบื่อหน่าย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520426B.mp3
ลำดับที่ ๕
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 3 of 512345