Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ฝึกดูจิต ฝึกด้วยจิตของคนธรรมดาๆนี่ล่ะ

mp3 for download : ฝึกดูจิต ฝึกด้วยจิตของคนธรรมดาๆนี่ล่ะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราดูจิตดูใจ แต่เราไม่ชำนาญถึงฌานในอรูปนะ เราจะดูจิตในชีวิตประจำวัน ดูอยู่ข้างนอกอยู่ที่เรามีนี่แหละ

ดูจิตจะยากอะไร ใครรู้จักความสุขมั้ย รู้จักมั้ยความสุข ความสุขเกิดขึ้น ความสุขกำลังมีอยู้ รู้ว่ามีความสุขอยู่ ก็แค่นี้เอง จะยากอะไร ความสุขหายไปก็รู้ว่าความสุขหายไป ความทุกข์มีขึ้นมา รู้ว่ามีขึ้นมา ความทุกข์หายไปรู้ว่าความทุกข์หายไป ก็แค่นั้นเอง ความโลภความโกรธความหลงผุดขึ้นมา รู้ทัน ความโลภความโกรธความหลงหายไป รู้ทัน ก็แค่นั้นเอง

การดูจิตดูใจไม่ใช่เรื่องลึกลับเลย แต่ว่ามันจะตรงกันกับที่พระพุทธเจ้าสอนในสติปัฏฐาน ในจิตตานุปัสสนา “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ” เห็นมั้ยง่ายๆ ท่านไม่เห็นต้องอธิบายมากเลย ก็แค่นั้นเอง จิตมีราคะรู้ว่ามีราคะ จิตไม่มีราคะรู้ว่าไม่มีราคะ จิตมีโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีโทสะให้รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีโทสะให้รู้ว่าไม่มีโทสะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีโมหะ คือมีความหลง ก็รู้ว่ามีโมหะ จิตไม่มีโมหะก็รู้ว่าไม่มีโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน เมื่อจิตหดหู่ให้รู้ว่าหดหู่ ง่ายๆทั้งนั้นเลย

เราดูไป ดูใจของเราไปเรื่อย อย่าไปจ้อง อย่าไปจ้องอยู่ที่จิต เคล็ดลับของการดูจิตก็คือ ห้ามไปจ้อง ห้ามไปรอดู ว่าจะมีอะไรให้ดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้ว่ามีความรู้สึกนั้นเกิดขึ้น อย่าไปเฝ้าดูนะ ถ้าเฝ้าดูจะเป็นการเพ่งจิต แล้วจะว่างๆ จะไม่มีอะไรให้ดูเลย มีแต่ว่างๆ ว่างๆเนี่ยเป็นการเพ่งอรูป ทำได้แล้วจะไปอรูปฌานนะ ไปเป็นอรูปพรหม เป็นพรหมไม่มีรูป ไม่มีตา ไม่มีหู พวกเราตาบอดเอามั้ยล่ะ แต่อยากไปเป็นพรหมชั้นสูง พรหมชั้นสูงไม่มีตา ไม่มีหูด้วย ตาบอดด้วย หูหนวกด้วย เอามั้ยล่ะ ไม่เอาใช่มั้ยล่ะ สัมผัสโลกไม่ได้ เรียนรู้อะไรไม่ได้นะ ยกเว้นที่ชำนาญดูจิตแล้วไปเข้าไปตรงนั้น ทำต่อได้ ไม่มีกาย ไม่มีกาย

เนี่ยเราเฝ้าดูของเราง่ายๆนะ ใจเราของคนธรรมดานี่แหละ เราจะเห็นเลยว่าใจของเราเปลี่ยนแปลงทั้งวัน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ใจของเราเปลี่ยนเพราะอะไร เพราะมีผัสสะ คือมีการกระทบอารมณ์ ตาเรามองเห็นรูป เรียกว่า เรากระทบอารมณ์ทางตา ตาไปมองเห็นรูปที่พอใจ จิตก็มีความสุขขึ้นมา จิตมีความสุขขึ้นมา ก็เกิดความพอใจ คือราคะแทรกขึ้น ตาไปเห็นรูปที่ไม่ชอบใจ ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา โทสะก็แทรกนะ โทสะก็จะแทรกเข้ามา

หูได้ยินเสียงที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจอาจจะไม่ไพเราะก็ได้ ยกตัวอย่างเสียงบางคนนะ เสียงฟังไม่ได้เลย แต่เรากำลังคิดถึงคนๆนั้น เป็นเพื่อนเรา แต่เสียงไม่ไพเราะเลย ได้ยินเสียงแหบๆของคนๆนี้แล้วดีใจ เพราะเป็นเสียงที่ชอบใจ อาจจะไพเราะหรือไม่ไพเราะ จะอ่อนหวานหรือไม่อ่อนหวาน ไม่สำคัญหรอก แต่เป็นเสียงที่ชอบใจ พอการกระทบกับเสียงที่ชอบใจเกิดขึ้นนะ ก็จะเกิดความสุขขึ้นมาในใจ เรารู้ว่ามีความสุข พอมีความสุขแล้วเกิดความพอใจในเสียงอันนี้ขึ้นมาเรียกว่ามีราคะ รู้ว่ามีราคะเกิดขึ้น

นี่แหละการปฏิบัติง่ายๆอย่างนี้เอง ให้ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส ให้ใจมันคิดนึกปรุงแต่งไปตามธรรมชาติธรรมดา ไม่ห้ามเลยสักอย่างเดียว ตามองเห็นรูปเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายกระทบสัมผัส เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน ใจคิดนึกปรุงแต่งไป เกิดสุขเกิดทุกข์ที่ใจ มีสติรู้ทัน รู้ทันแล้วก็เห็น เกิดสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ เกิดทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ นี่แหละเรียกว่าการเจริญปัญญา จะเห็นว่าความสุขมีแล้วก็หายไป ความทุกข์มีแล้วก็หายไป ดูอยู่อย่างนี้เรื่อยๆไป

แต่ถ้าดูสุขทุกข์ไม่ทันนะ ต่อไปก็จะเป็นกุศล-อกุศล มีความสุขขึ้นมา บางทีจิตก็มีราคะ มีความทุกข์ขึ้นมา บางทีจิตก็มีโทสะขึ้นมา ดูเวทนาไม่ทัน ดูสุขทุกข์ไม่ทัน ก็มาดูกิเลสเอา ดูง่ายๆ แค่นี้เอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

mp3 for download : การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : การดูจิตดูใจเรียกว่า จิตตนานุปัสสนา การดูกระบวนการทำงานของสภาวธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนา กรรมฐานเหล่านี้เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมาก เมื่อพวกเราเป็นพวกช่างคิด เรามาดูจิตดูใจตัวเอง การดูจิตนั้นไม่ต้องใช้สมาธิเยอะ ใช้สมาธิเป็นขณะๆไป เรียกว่าขณิกสมาธิ

วิธีทำให้มีสมาธิเมื่อเช้าหลวงพ่อบอกไปแล้วนะ รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไป รู้ทันจิตที่ไหลไป จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ตรงที่จิตตั้งมั่นขึ้นมาเนี่ย อย่าไปบังคับจิตให้นิ่ง จิตมีความสุขให้รู้ว่ามีความสุข จิตมีความทุกข์ให้รู้ว่ามีความทุกข์ จิตสงบให้รู้ว่าสงบ จิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตมีราคะให้รู้ว่ามีราคะ จิตมีโทสะให้รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีราคะก็รู้ จิตไม่มีโทสะก็รู้ จิตหลงไปก็รู้ จิตรู้สึกตัวอยู่ก็รู้ เนี่ยคอยดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อย

การดูความเปลี่ยนแปลงของจิตนั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิลึกๆ คนที่นั่งสมาธิลึกๆเนี่ย ดูจิตยาก มันจะไม่มีอะไรให้เปลี่ยน จะนิ่งๆ เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจเนี่ย เหมาะสำหรับพวกที่เข้าฌานไม่เป็น แต่ถ้าพวกที่ดูจิตแล้วเข้าฌานเป็น จะไปสู่จุดสุดยอดอีกเรื่องหนึ่ง สามารถไปเดินปัญญาในสมาธิได้ พวกดูกายเก่งๆเนี่ย เจริญปัญญาในสมาธิไม่ได้ ต้องดูจิตเก่งๆ ทำสมาธิและปัญญาควบกันได้

ดูกายเก่ง ต้องทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาดูกาย แต่ถ้าจะทำสมาธิและปัญญาควบกัน ถ้าทำสมาธิรู้ลมหายใจแล้วจิตรวมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง มีเอกัคคตา รู้ทันจิตที่เข้าไปจับแสงสว่าง ก็ปล่อย ไม่จับ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร จิตทวนกระแสเข้าหาตัวรู้ และตั้งมั่นอยู่ ปีติเด่นดวงขึ้นมา ในขณะนั้นมีทั้งปีติมีทั้งสุขมีทั้งเอกัคคตาอยู่ด้วยกัน แต่ปีติจะเด่น ใจเนี่ยเด่นดวงตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่ แต่ปีติเด่น สติระลึกรู้ลงไปที่ปีติ เห็นปีติดับไป เนี่ยเขาทำวิปัสสนาในสมาธิ เขาดูองค์ฌานที่เกิดดับ องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยไม่ใช่กาย องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยเป็นเรื่องของนามธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพวกที่ดูจิตได้นะ จะไปเดินปัญญาในฌานได้

แล้วถ้าดูจิตจนชำนิชำนาญจนถึงระดับที่เป็นพระอริยบุคคล แล้วถ้าตายไปนะ ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ไปเกิดในพรหมโลก แล้วเข้าฌานเก่งมากเลย ได้ฌานที่ ๘ ด้วย ไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภูมิเป็นภพของเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภพของพรหมที่สูงที่สุด ในคัมภีร์สอนเอาไว้เลยว่า ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ชำนาญการดูจิตนะ จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ คนอื่นทำไม่ได้ ถ้าเป็นปุถุชนแล้วจะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องการดูจิต จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่เข้าอรูปฌานถึงขีดสุดไม่ได้ก็จะไม่ไปเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิด้วย

เพราะฉะนั้นการที่เราหัดดูจิตดูใจเนี่ยนะ พวกที่สมาธิมากก็ดูได้ พวกนี้จะสามารถไปเจริญปัญญาในฌานได้ ทำสมาธิและวิปัสสนาควบกัน พวกนี้ทำรวดไปได้ ไม่มีข้อจำกัดในภูมิอะไร ยกเว้นอันเดียว ภูมิอสัญญสัตตา ภพของอสัญญสัตตา พรหมลูกฟัก แต่ท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระอริยะทั้งหลายท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะไม่ไปอยู่ในพรหมลูกฟัก เสียเวลา

และถ้าเราดูจิตดูใจแต่ไม่ชำนาญจนถึงอรูป(ฌาน)นะ เราจะดูจิตในชีวิตประจำวัน ดูอยู่ข้างนอกอย่างที่พวกเรามีนี่แหละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศาสนาต้องให้คำตอบของชีวิตได้ ผู้คนจึงจะไม่ทิ้งศาสนา

mp3 for download : ศาสนาต้องให้คำตอบของชีวิตได้ ผู้คนจึงจะไม่ทิ้งศาสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : เห็นคนภาวนาดีๆเนี่ย เยอะเลย เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ที่ตัวเองรู้สึกได้ เคยทุกข์มากนะเหลือทุกข์น้อยลง เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นลง มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนามากขึ้น ยุคของเรานี้เป็นยุคที่คนทิ้งศาสนา คนมุ่งไปเอาความเจริญทางวัตถุกันหมด นี่จะว่าคนทิ้งศาสนาก็พูดยากนะ คือ..ถ้าหากศาสนาตอบคำถามของชีวิตเขาไม่ได้ ก็สมควรทิ้งหรอก เพราะไม่มีประโยชน์ คล้ายๆถ้ามีศาสนาแล้วก็เอาไว้เป็นที่รีดที่ไถนะ ไม่มีประโยชน์ หมดไปก็ไม่เป็นไร

แต่ถ้าหากศาสนาเนี่ยแก้ไขปัญหาชีวิตให้เขาได้ คนเข้าถึงเนื้อหาแท้ๆของศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ถ้าเราเข้าถึงเราเข้าใจ เราพ้นทุกข์ทันตาเห็น ไม่ใช่ทำไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วชาติต่อๆไปค่อยเห็น ต้องเห็นเดี๋ยวนี้ ศาสนาพุทธน่ะเป็นเรื่องปัจจัตตังนะ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ วิญญูชนรู้ด้วยตนเอง รู้ลงขณะปัจจุบันนี้แหละ ไม่ใช่วิญญูชนเชื่อไปเหอะ เชื่อไปก่อน ทำไว้แล้วชาติหน้าดี ไกลไป

นี่หลวงพ่อพยายามประกาศธรรมะที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในเวลาสั้นๆ แท้จริงธรรมะที่ประกาศเนี่ย เป็นธรรมะของเก่า ครูบาอาจารย์สอนต่อๆกันมา ไม่ขาดยุคขาดสมัยนะในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา หลวงพ่อเปลี่ยนบางอย่างไป เปลี่ยนภาษาไป เปลี่ยนภาษาให้คนรุ่นเราฟังรู้เรื่อง นอกจากเปลี่ยนภาษาแล้วก็มาเลือกวิธีการที่คนสมัยเรานี้จะรับได้ พระพุทธเจ้าเป็นธรรมราชา เป็นพระราชาของธรรมะ เป็นภควโต (อ่าน ภะคะวะโต – ผู้ถอด) เป็นผู้จำแนกแจกธรรม ธรรมะที่ท่านให้ไว้นะ มากมายมหาศาลเลย เหมาะกับจริตนิสัยกับคนต่างๆนานา ความกรุณาของท่านแผ่ไพศาล ท่านสอนธรรมะไว้มากมาย เพราะจริตนิสัยของคนนั้นแตกต่างมากมาย หลวงพ่อก็แค่มาดู ว่าธรรมะอะไรที่คนสมัยเราจะทำได้ง่าย

การปฏิบัติธรรมนั้น ถึงอย่างไรก็หนีการปฎิบัติธรรมไม่ได้ เพราะศาสนาพุทธนั้นเป็นกรรมวาที เป็นเรื่องที่ต้องทำ เป็นเรื่องของการกระทำ มีผลของการกระทำ เราอยากพ้นทุกข์เราก็ต้องลงมือปฏิบัติ ไม่มีฟลุ๊ค แต่การปฏิบัตินั้นมีตั้งหลายแบบ ใช้สมาธินำปัญญาก็มี ใช้สมาธิกับปัญญาควบกันก็มี ใช้ปัญญานำสมาธิก็มี

ในสมัยครูบาอาจารย์นั้น ท่านจะใช้สมาธินำปัญญามาก เพราะชีวิตท่านไม่มีความเร่งร้อนอะไร คนสมัยก่อนปีหนึ่งทำนา ก็รอเวลาไปเกี่ยวข้าว ข้าวสุกก็ไปเกี่ยวข้าว ชีวิตของพวกเราทุกวันนี้มีแต่ความเร่าร้อนรีบร้อนตลอดเวลา หาอยู่หากินกันวุ่นวายตลอดเวลา เราจะเอาเวลาที่ไหน เราจะเอากำลังใจที่ไหน มานั่งสมาธินานๆให้จิตมีความสุขความสงบ เพราะฉะนั้นกรรมฐานนั่งสมาธิมากนี้ ไม่เหมาะกับคนยุคเราแล้ว แต่ยังเหมาะกับคนบางคนที่เขาทำได้ เหมาะกับบางคน

เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่สิ่งที่เราจะทำลายไปนะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าจะต้องรักษาไว้ให้ครบเลย จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างคนรุ่นเราเป็นพวกคิดมากเยอะ เจริญทางวัตถุรุนแรง สิ่งที่มากระทบกับตาหูจมูกลิ้นกายใจรุนแรง ให้ไปนั่งสมาธิก็ไม่ไหวแล้วนะ คนโบราณไปหว่านข้าวไถนาเสร็จนะ มีเวลาก็นั่งสมาธิได้ทั้งๆวัน นั่งได้หลายๆวัน ไม่มีอะไรทำ คอยดูนกดูหนูไม่ให้มากินข้าวเท่านั้น เดินดูนก ไล่หนู อะไรอย่างนี้ ก็เจริญสติไปได้นะ ถึงเวลาก็เข้าใต้ต้นไม้นั่งสมาธิ ชีวิตไม่ได้เร่งร้อนอะไร

แต่เราทำไม่ได้แล้ว คนส่วนใหญ่ในยุคนี้ทำไม่ได้แล้ว ปากกัดตีนถีบอยู่ตลอดเวลา เราก็มีกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าท่านให้ไว้ที่เหมาะกับคนที่ทำงานที่ต้องใช้ความคิด พวกคิดมาก เรียกว่าพวกทิฎฐิจริต กรรมฐานที่เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต คือการดูจิตดูใจของตนเอง หรือดูสภาวธรรม ดูการทำงานของกระบวนการของธรรมะ ดูการทำงานของธรรมะ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม การดูจิตดูใจนั้นเรียกว่า “จิตตานุปัสสนา” การดูกระบวนการของสภาวธรรมเรียกว่า “ธรรมานุปัสสนา” กรรมฐานเหล่านี้เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น

mp3 for download : ลักษณะของจิตที่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาจะมีลักษณะที่เบา มีลักษณะที่นุ่มนวลอ่อนโยน มีลักษณะที่ปราดเปรียวว่องไว ไม่หนักไม่แน่นไม่แข็งไม่ซึมไม่ทื่อ

ถ้านั่งสมาธิแล้วจิตแน่นจิตแข็งจิตซึมจิตทื่อ ให้รู้เลยว่าเป็นมิจฉาสมาธิแล้วล่ะนะ นอกรีตนอกรอยแล้ว ไม่ใช่สมาธิในทางศาสนาพุทธแล้ว หรือนั่งแล้วเคลิ้มง่อกๆแง่กๆขาดสตินะ ใช้ไม่ได้เลย จิตไม่ได้มีความคล่องแคล่วว่องไวควรแก่การงาน จิตสะลึมสะลือ หรือจิตเที่ยวเห็นโน้นเห็นนี่ออกข้างนอกไป จิตไม่อยู่กับฐาน สิ่งเหล่านี้ใช้ไม่ได้ทั้งสิ้นเลย

ถ้าเรามีสมาธิที่ถูกต้องเนี่ย จิตจะมีความตั้งมั่นอยู่กับตัวเอง จิตตั้งมั่นอยู่กับจิต เรียกว่าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ จิตหนีไปเมื่อไหร่มันก็ลืมกายลืมใจ มีร่างกายก็ลืมร่างกาย มีจิตใจก็ลืมจิตใจ แต่ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จิตจะเบาสบาย นุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว มีความสุขความสงบอยู่ในตัวเอง จิตจะถอยตัวออกมาจากรูปธรรมนามธรรม เพราะไม่ไหลเข้าไปในปรากฏการณ์ทั้งหลาย จิตจะถอยตัวออกมาเป็นคนดู

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอรหันต์ส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลนะ ก่อนที่จะบรรลุพระอรหันต์ ก่อนที่จะบรรลุพระโสดาฯอะไรอย่างนี้ ก็ทำฌานไม่ได้เหมือนพวกเรานี้เอง ยกตัวอย่างเมื่อวานนี้ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟัง พวกที่ไม่ได้มา เล่าย่อๆนิดนึง

พระพุทธเจ้าท่านอยู่กับพระ หมู่สงฆ์จำนวนมากนะ แล้วท่านก็อธิบายให้สงฆ์ฟัง บอกว่าในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เนี่ย เป็นพระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ เนี่ย ๖๐ องค์ อภิญญา ๖ อีก ๖๐ องค์ ได้อุภโตภาควิมุตติ ๖๐ องค์ พระอรหันต์ ๓ จำพวกนี้ต้องทรงฌาน รวมแล้ว ๑๘๐ องค์ อีก ๓๒๐ องค์ คือคนอย่างพวกเรานี่เอง

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราเข้าฌานไม่ได้เราจะสิ้นหวังเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ เราก็ต้องรู้จักวิธีปฏิบัติที่พอเหมาะพอควรกับสิ่งที่เราเป็นสิ่งที่เรามีอยู่ เรามีความฟุ้งซ่านมาก เราไม่ได้มีสมาธิมาก เข้าฌานไม่เป็น เราก็มาฝึกให้ได้สมาธิชนิดตั้งมั่น แต่มันจะตั้งอยู่ชั่วขณะเท่านั้นเอง ไม่ตั้งนาน ไม่ใช่อัปนาสมาธิ แต่จะตั้งเป็นขณะๆเรียกว่า ขณิกสมาธิ จิตตั้งเป็นขณะๆนะ

ขณิกสมาธิ วิธีฝึกนะ พวกเรา เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเข้าฌาน ทำเพื่อเป็นเครื่องอยู่ของจิตเท่านั้นเอง หัดพุทโธไปก็ได้ หัดรู้ลมหายใจไปก็ได้ หัดดูท้องพองยุบไปก็ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อน้อมจิตไปอยู่กับอารมณ์อันนั้น ถ้าน้อมจิตไปอยู่ที่อารมณ์อันนั้นจะเป็นสมาธิชนิดที่ ๑ (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)) คือสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน ถ้าทำกรรมฐานขึ้นอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิต จิตไหลไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอารมณ์กรรมฐานอันนั้นก็รู้ทัน จิตมันเคลื่อนตลอดนะ เคลื่อนไปคิดก็ได้ เคลื่อนไปเพ่งก็ได้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะเลิกเคลื่อน เพราะจิตที่เคลื่อนเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันที่สติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็จะตั้งมั่นอยู่กับฐาน

เพราะฉะนั้นๆเราหัดพุทโธๆนะ จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา เราหัดรู้ลมหายใจนะ จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา รู้ลมหายใจอยู่ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจแล้ว จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ถ้ารู้ทันว่าจิตไหลไปนะ จิตจะตั้งมั่น

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นจะต้องทำกรรมฐานอย่างหนึ่งเสียก่อนนะ ถ้าไม่ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน จิตจะไหลตลอดเวลาจนดูไม่ทัน เดี๋ยวก็ไหลไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ดูไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นเบื้องต้นทำกรรมฐานขึ้นมาสักอย่างหนึ่งก่อน พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป จิตหนีไปคิดก็รู้ จิตไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็รู้นะ จิตเคลื่อนไปเมื่อไหร่ให้รู้ทัน

ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อน จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้เจตนาให้ตั้ง มันตั้งของมันเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๙ ถึงนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)

mp3 for download : วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๑/๓)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิชนิดที่ตั้งมั่น มีวิธีฝึก ๒ วิธี เนี่ยไม่มีใครสอนละเอียดเท่าหลวงพ่อหรอกนะ ส่วนมากท่านก็สอนให้พุทโธเอา จบแล้วไม่พูดอะไรแล้ว สอนตั้งหลายปีก็สอนสั้นๆแค่นี้เอง ต้องตั้งใจทำเอามากเลย หลวงพ่อสอนละเอียดยิบเลยนะ สอนให้แทบจะครบทุกแง่ทุกมุมเลย

วิธีที่จะฝึกให้ได้ลักขณูปนิชฌาน หรือสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย มี ๒ วิธี วิธีที่ ๑ ทำฌาน พวกเราถ้าทำฌานไม่ได้ วิธีนี้ก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องใช้วิธีที่สอง (ดู วิธีฝึกสมาธิชนิดตั้งมั่น (๓/๓))

วิธีทำฌาน อันนี้จะยาวไปนิดนึงนะ ก็คือ ต้องถึงฌานที่ ๒ ละวิตกละวิจารณ์ก่อน มีวิตกคือการตรึกอยู่ในอารมณ์ มีวิจารณ์คือจิตส่งออกไปเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ อารมณ์นั้นเป็นปฏิภาคนิมิตร เป็นแสงสว่าง เวลาที่จิตเข้าไปจับที่แสงอยู่นี่นะ ยังไม่มีตัวรู้นะ ถ้ารู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไปอยู่กับปฏิภาคนิมิตร รู้ทันว่าจิตได้ไปตรึกอยู่กับปฏิภาคนิมิตร รู้ทันว่าจิตไปเคล้าเคลียหรือไปตรองในปฏิภาคนิมิตร อาการที่จิตส่งออกไปอยู่กับปฏิภาคนิมิตรจะขาดสะบั้นลง จิตจะทวนกระแสกลับมาตั้งมั่นอยู่ที่จิต

เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎกจะพูดถึงสภาวะชนิดหนึ่ง ชื่อ เอโกทิภาวะ เอโกทิภาวะเกิดขึ้นในฌานที่สอง เอโกทิภาวะก็คือความตั้งมั่นของจิตนั่นเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๖วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๗๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ายังคิดอยู่ ยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน

mp3 for download : ถ้ายังคิดอยู่ ยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความจริงของรูปธรรมนามธรรมอันนี้ ก็คือไตรลักษณ์นั่นเอง ร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เป็นทุกข์ ร่างกายนี้เป็นอนัตตา จิตใจของเรานี้ไม่เที่ยง จิตใจของเรานี้เป็นทุกข์ จิตใจของเรานี้เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจ

วิปัสสนากรรมฐานก็คือ การที่เรามาเรียนรู้ความจริง ของกายของใจของรูปของนาม เราจะไม่ได้คิดเอาว่าร่างกายไม่ดี ร่างกายแย่อย่างโน้น ร่างกายเป็นทุกข์อย่างนี้ เราจะไม่คิดเอาว่าจิตใจเป็นอย่างโน้นจิตใจเป็นอย่างนี้จิตใจเป็นของห้ามไม่ได้นะอะไรอย่างนี้

ถ้ายังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน ถ้ายังคิดอยู่เรียกว่า “วิตก” คำว่าวิตกแปลว่าตรึกนะ ถ้าวิปัสสนะ ปัสสนะแปลว่าเห็น วิปัสสนะแปลว่าเห็นแจ้งเห็นจริงเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงว่า รูปธรรมนามธรรมนี้ ในความเป็นจริงแล้วไม่เที่ยง ในความเป็นจริงแล้วมีความทุก์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ในความเป็นจริงแล้วไม่อยู่ในอนาจบังคับของเรา ไม่ใช่ของเราที่แท้จริง

การที่เราจะมาเจริญปัญญาแล้วเห็นความจริงของรูปธรรมนามธรรมได้เนี่ย จิตต้องถอยตัวออกมาเป็นผู้สังเกตการณ์ ถ้าจิตยังเป็นผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่งอยู่ จะไม่สามารถเห็นความจริงได้ เหมือนเราอยากเห็นพฤติกรรมของใครสักคนหนึ่งนะ เราต้องทำใจเป็นกลางจริงๆ

ไม่ใช่ว่าดูใครไปแล้วก็ตัดสินเขาไปตลอดว่าคนนี้เป็นอย่างนี้คนนี้เป็นอย่างนี้ การตัดสินของเราอาจจะผิดก็ได้ ใช่มั้ย จริงๆที่เขาดูตึงตังเอะอะโวยวาย เราก็สรุปว่าเขาขี้โมโห ซึ่งจริงๆอาจจะไม่ใช่ก็ได้ แต่โดยนิสัยเป็นคนเสียงดัง เป็นกริยามารยาทโฉ่งฉ่าง แต่จริงๆแล้วใจดีก็ได้

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราคิดเอาเองนะ เชื่อไม่ได้หรอก คิดเอาเองตัดสินเอาเองเชื่อไม่ได้ เราต้องเข้าไปดูต้องเข้าไปสังเกตการณ์ว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร นี่ล่ะคืองานวิจัยภาคสนามจริงๆนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อวิปัสสนา

mp3 for download : สมาธิเพื่อวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิยังมีอีกชนิดหนึ่ง สมาธิที่ใช้ในการเจริญปัญญา สมาธิชนิดนี้ไม่ใช่อารัมณูปนิชฌาน แต่เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน” ลักขณูคือเห็นลักขณะ คำว่าลักขณะนี้คนไทยเรียกว่า “ลักษณะ” ลักขณะเป็นภาษาบาลี แต่คนไทยยืมศัพท์นี้มาใช้นะ ยืมภาษาสันสกฤตมาใช้ เรียกว่า “ลักษณะ” เคยได้ยินคำว่า “ไตรลักษณ์” มั้ย “ไตรลักษณะ” นะ ถ้าเป็นภาษาบาลีก็จะเป็น “ลักขณะ” กอไก่แล้วก็ต่อด้วยขอไข่

สมาธิที่เห็นไตรลักษณ์ ลักษณะของสมาธิชนิดนี้นะ จิตใจเป็นคนดู เป็นสภาวะที่เรียกว่า “ความตั้งมั่น” พวกเราไปเปิดพจนานุกรมดูให้ดีนะ สมาธิไม่ได้แปลว่าสงบ เนี่ยพวกมักง่ายแปลเอาเองว่าสมาธิแปลว่าสงบ ในพจนานุกรมทั้งหลาย ไปดูนะ คำว่า “สมาธิ” จริงๆแล้วแปลว่าความตั้งมั่นของจิต

ความตั้งมั่นของจิตหมายถึงอะไร หมายถึงจิตไม่แส่ส่ายไหลเพลินไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตั้งมั่นอยู่ที่ตัวเอง ไม่ใช่ไปตั้งอยู่ที่ตัวอารมณ์ ถ้าจิตของเราไหลไปตั้งนิ่งอยู่ที่ตัวอารมณ์ เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” เพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ใช้ทำสมถกรรมฐาน ถ้าจิตตั้งมั่นอยู่กับจิต ไม่ใช่ไปตั้งอยู่ที่อารมณ์นะ ตั้งอยู่กับความรู้สึกตัว รู้สึกกาย รู้สึกใจ ของตัวเอง ใจของเราจะมีความรู้สึกว่า มันเหมือนเป็นคนดูคนหนึ่ง

ร่างกายเดินอยู่ มีใจที่ตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นร่างกายเดินใจเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในร่างกาย ใจเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ความเฉยๆเกิดขึ้นในจิตใจ ใจเป็นคนดู เห็นกิเลสเกิดขึ้นในใจ ใจเป็นคนดู ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นแค่คนดู ตัวนี้แหละเอาไว้ทำวิปัสสนากรรมฐาน

งานวิปัสสนากรรมฐานคืองานวิจัยภาคสนามล่ะ ตัว Object ที่เราจะเรียน ในการวิจัยภาคสนาม ก็คือรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวเรา เราจะเรียนเพื่อให้เห็นความจริงของรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา ความจริงของรูปธรรมและนามธรรมอันนี้ ก็คือ “ไตรลักษณ์” นั่นเอง ร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เป็นทุกข์ ร่างกายนี้เป็นอนัตตา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Dhammada News: New Files Uploaded (๒๑ กันยายน ๒๕๕๖)

    New Files Updated วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖

  • 560915: ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน) ครั้งที่ ๖๒ แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖
  • 560722: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕o แสดงธรรมเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖
  • 560712: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕o แสดงธรรมเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖
  • 560706B: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕o แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๖ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖
  • 560706A: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕o แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๖ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖
  • 560910: ทีมกรุ๊ป แสดงธรรมเมื่อวันอังคารที่ ๑o เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว

mp3 for download : ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: วิธีที่จะฝึกให้จิตเป็นผู้รู้นะ ต้องรู้ทันว่าจิตไปคิด ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว ต้องมีเครื่องอยู่ไว้สักอันนึงให้จิตอยู่ก่อน ถ้าจิตทิ้งเครื่องอยู่นั่นไปเมื่อไหร่นะ มันจะรู้ได้เร็วว่าหลงไปคิดแล้ว

ยกตัวอย่าง เราอยู่กับพุทโธ พุทโธ…พุทโธ…พุทโธไปเรื่อยนะ ไม่ได้บังคับจิตให้อยู่กับพุทโธ แต่มีพุทโธเป็นแบ็คกราวนด์ พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิต พุทโธ…พุทโธ… อ้าว จิตหนีไปคิดแล้ว คอยรู้ทัน อย่างนี้ใช้ได้ พุทโธ…พุทโธ แล้วจิตไปนิ่งเงียบอยู่แล้ว สงบนิ่งอยู่แล้วไปเพ่งจิตอยู่ ก็รู้ทัน

หรือมารู้ลมหายใจก็ได้ ใครชอบหายใจก็รู้ลมหายใจ หายใจออก หายใจเข้า หายใจสบายๆ หายใจแล้วไม่บังคับจิต หายใจสบาย หายใจนะ…หายใจ…เสร็จแล้วจิตไปเพ่งลมหายใจก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้ พอจิตหนีไปคิดก็รู้ปุ๊บนะ จิตจะตื่นขึ้นมาพอดีเลย

หรือขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ หลวงพ่อเทียนท่านขยับมือสองข้างรวมกัน 14 จังหวะ ขยับไปแล้วรู้สึก รู้สึกตัว…ขยับ…รู้สึก…ขยับไปแล้วคอยรู้สึกไป ขยับไปๆ จิตแอบไปคิด รู้ทันว่าจิตแอบไปคิดละ ขยับไปแล้วจิตไปเพ่งใส่มือ รู้ทัน ตรงที่รู้ทันว่าจิตหนีไปคิดเนี่ย จิตจะตื่นขึ้นมา

ดูท้องพองยุบก็ได้ ดูท้องพองยุบไป จิตไปเพ่งที่ท้องก็รู้ทัน จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน ตรงที่จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทันนั่นแหละ จิตจะตื่นขึ้นมา จิตจะหลุดออกจากโลกของความคิด

งั้นเราคอยฝึกนะ หากรรมฐานอันนึงขึ้นมาก่อน อยู่ๆ จะให้จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนี่ยาก ยากนะ อินทรีย์เรายังไม่แก่กล้าพอ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530530A
ระหว่างนาทีที่ ๑๙วินาทีที่ ๑๘ ถึงนาทีที่ ๒๑วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพ่งขันธ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา

mp3 for download :เพ่งขันธ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นก็เอาแค่แยกขันธ์ก็พอแล้วนะ แยกขันธ์ ดูขันธ์มันทำงานไป ดูรูปทั้งตัวแหละไม่ต้องไปแยกมันมาก ยุ่ง เห็นร่างกายทั้งตัวแหละ ไม่ใช่ตัวเรา ดูเวทนาก็เห็นเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ดูสังขารก็เห็นสังขารไม่ใช่เรา ดูจิตใจก็เห็นเกิดดับอยู่ตามทวารทั้ง ๖ เป็นวิญญาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ เกิดดับ

ดูไปๆนะ พอแยกขันธ์ได้ก็จะเห็นว่า ไม่มีตัวเราในแต่ละขันธ์ มีแต่สภาวธรรมที่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ไม่มีตัวเราที่แท้จริงในขันธ์ทั้งหลาย

ไปฝึกเอานะ เพราะฉะนั้นคนไหนที่ยังรู้ตัวไม่ได้ ก็ฝึกรู้สึกตัวให้ได้ คนไหนรู้สึกตัวได้แล้ว ฝึกแยกขันธ์ พอแยกขันธ์ได้แล้วก็มาเรียนเรื่องวิปัสสนาได้ แยกขันธ์ได้ยังไม่ขึ้นวิปัสสนานะ ต้องเห็นไตรลักษณ์ของแต่ละขันธ์ จึงจะเป็นวิปัสสนา หลวงพ่อบอกแล้วนะว่าต้องเห็นไตรลักษณ์จึงจะเป็นวิปัสสนา ไม่ใช่เห็นขันธ์จึงจะเป็นวิปัสสนา ยังไม่ถึง การที่เราเห็นขันธ์ เราเพ่งอยู่ที่ขันธ์ เป็นสมถะนะ

เพราะฉะนั้นกว่าจะขึ้นวิปัสสนาไม่ใช่ง่ายนะ บางคนไม่เข้าใจ ไปเพ่งขันธ์อยู่เรื่อย ไปเพ่งท้อง ดูท้องพองยุบแล้วไปเพ่งอยู่ที่ท้องแล้วบอกว่าทำวิปัสสนา ไม่เป็นหรอก ต้องเรียนอีก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๓ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตเรียกว่าวิญญาณขันธ์ เพราะหยั่งรู้ลงใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

mp3 for download :จิตเรียกว่าวิญญาณขันธ์ เพราะหยั่งรู้ลงใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พยายามแยกไป ร่างกายอยู่ส่วนร่างกาย เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์อยู่ส่วนของเวทนา สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็อยู่ส่วนของ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็อยู่ส่วนจิต

จิตก็ไม่ได้เป็นผู้รู้อยู่ตลอดเวลา บางทีก็เป็น ผู้นึก ผู้คิด ผู้ปรุง ผู้แต่ง บางทีจิตก็วิ่งไปดู บางทีจิตก็วิ่งไปฟัง บางทีจิตก็วิ่งไปคิด สลับไปสลับมาทางอายตนะทั้ง ๖ ท่านถึงเรียกว่า ขันธ์ ขันธ์แปลว่ากอง จิตมีดวงเดียวทำไมมีกอง เพราะจิตนี้เกิดดับสารพัดที่นะ เกิดดับได้ ๖ แห่ง เกิดดับทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านเลยเรียกว่า “วิญญาณ”

วิญญาณเป็นความหยั่งรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันมีเยอะแยะ เดี๋ยวไปรู้ที่ตา เดี๋ยวไปรู้ที่หู สลับไปเรื่อยๆ ก็เลยรวมเป็นขันธ์ๆหนึ่งขึ้นมา เป็นวิญญาณขันธ์ ความรับรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ถ้ารับรู้อยู่ในธรรมธาตุอันเดียว ก็ไม่ได้เป็นขันธ์หรอก ก็เป็นธรรมไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คำว่า “อารมณ์” ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้

mp3 (for download) : คำว่า “อารมณ์” ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันจะมีสองอย่างเกิดร่วมกัน ก็คือจิต ซึ่งเป็นผู้รู้ กับอารมณ์ คำว่าอารมณ์เนี่ยเป็นศัพท์เฉพาะเป็นเทคนิคอลเทอมของพระพุทธเจ้านะ คำว่าอารมณ์ไม่ใช่ Emotion อารมณ์หมายถึง Objective หมายถึงสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

เพราะฉะนั้นมันจะมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ มี Ojectvie กับ Subjective จะมี ๒ ตัว เกิดร่วมกันเสมอ ไม่เกิดตัวเดียวหรอก เราพยายามแยก ๒ ตัวนี้ออกจากกัน ร่างกายยืนเดินนั่งนอนนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จิตซึ่งเป็นคนที่ไปรู้ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอนนั้น เป็นคนละส่วนกับร่างกาย ค่อยๆหัดอย่างนี้

นั่งไปนานมันปวดมันเมื่อยก็เห็นอีก ความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความปวดความเมื่อยไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายมันนั่งมาก่อน ความปวดความเมื่อยมันมาทีหลัง เพราะฉะนั้นเป็นคนละอันกัน ความปวดความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก และความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า พอมันปวดก็อย่าเพิ่งขยับ นั่งดูมันไปเรื่อย หัดแยกไป ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งความปวดความเมื่อยอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ส่วนหนึ่ง อย่าเพิ่งเปลี่ยนอิริยาบถ อดทนไว้ก่อน อยากได้ของดีเบื้องต้นทนไว้หน่อย

พอนั่งไปนานมันปวดมากนะ ใจมันเริ่มทุรนทุราย ใจมันเริ่มกระสับกระส่าย เริ่มกังวล นั่งนานๆจะเป็นอัมพาตมั้ย นั่งนานๆถ้าจะไม่ดี อะไรอย่างนี้ เปลี่ยนอิริยาบถเสียเถิด หลวงพ่อปราโมทย์บอกให้ทางสายกลาง นั่งนานไปทรมานเป็นอัตตกิลมถานุโยค นี่กิเลสหลอกทั้งนั้นเลย จิตมันดิ้นรนแล้ว ความฟุ้งซ่านของจิตมันเกิด พอมันเจ็บปวดมากๆนะ จิตมันฟุ้งซ่าน เราก็ดูลงไป ความฟุ้งซ่านเนี่ย ไม่ใช่ความเจ็บปวด ความเจ็บปวดมันอยู่ที่ร่างกาย ความฟุ้งซ่านมันอยู่ที่ใจเรา เพราะฉะนั้นความเจ็บปวดกับความฟุ้งซ่านเป็นคนละขันธ์กัน คนละอันกัน ความฟุ้งซ่านไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความเจ็บปวด ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่จิต แต่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ได้จิตผู้รู้แล้ว มาเดินปัญญา

mp3 (for download) : ได้จิตผู้รู้แล้ว มาเดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าได้ตัวรู้แล้วถัดจากนั้นมาเดินปัญญา บางคนมีวาสนาเก่า เคยเจริญปัญญามาแต่ชาติก่อนๆแล้ว ทันทีที่ตัวรู้เกิดขึ้นนะ ขันธ์ก็แยกเลย เห็นเลยร่างกายกับจิตคนละอันกัน ความสุขความทุกข์กับจิตนี้คนละอันกัน ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลนี้เป็นคนละอันกัน เห็นอย่างนี้เลย คนซึ่งมีบารมีเก่าในทางเดินปัญญามาก่อน

แต่ถ้ามันไม่มี ทำอย่างไร ก็ต้องช่วยมันอีก วิธีช่วยมันนะก็คือ หัดแยกธาตุแยกขันธ์ แยกไป ร่างกายส่วนร่างกาย จิตส่วนจิต ต้องหัดแยก นั่งอยู่หรือเดินอยู่ ก็คอยรู้สึกไป เห็นร่างกายมันนั่ง เห็นร่างกายมันเดิน เห็นร่างกายมันยืน อิริยาบถนอนนั้นเว้นไว้ก่อนนะ ไม่ชำนาญแล้วไปนอนดู แป๊บเดียว จิตก็วิเวก จิตรวม รวมเข้ากับโมหะ หลงไปเลย หลับ

เพราะฉะนั้นยืนอยู่ก็รู้สึก เห็นร่างกายมันยืน จิตเป็นคนดู นั่งอยู่ก็รู้สึก เห็นร่างกายมันนั่ง จิตเป็นคนดู เดินอยู่ก็รู้สึก เห็นร่างกายมันเดิน จิตเป็นคนดู ให้มีจิตเป็นคนดูเรื่อยๆ หรือมีความสุขเกิดขึ้น มีความสุขเกิดขึ้นก็เห็นอีก ความสุขเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู มีความทุกข์เกิดขึ้นก็รู้อีก ความทุกข์เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๐ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เผลอไปรู้ทัน เพ่งไปรู้ทัน ฝึกเรื่อยๆตัวรู้จะเด่น

mp3 (for download) : เผลอไปรู้ทัน เพ่งไปรู้ทัน ฝึกเรื่อยๆตัวรู้จะเด่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อเทียนสอนดีนะ หลวงพ่อเทียนบอกว่า ถ้ารู้ทันว่าจิตคิดจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่ห้ามจิตคิด หลังๆสอนกันเคลื่อนไปจากที่หลวงพ่อเทียนสอนด้วยซ้ำ ไปขยับมือแล้วไปเพ่งใส่มือ ที่จริงแล้วที่ท่านขยับมือนั้นท่านบอกว่าท่านเขย่าธาตุรู้ ปลุกความรู้สึกตัวต่างหากล่ะ ไม่ใช่ไปเพ่งจิตให้นิ่ง ขยับมือแล้วรู้สึกๆ จิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตไปเพ่งใส่มือ รู้ทัน หนีไปคิดอะไร หนีไปคิดว่าท่านี้แล้วต่อไปจะเป็นท่าไหน บางทีก็หนีไปคิดเรื่องอื่นเลย พวกที่ขยับจนชำนาญแล้วนะ จิตก็หนีไปคิดเรื่องอื่น

เพราะเวลาเราฝึกกรรมฐานนะ ให้จิตมีคเรื่องอยู่สักอันหนึ่ง ถ้ามันเผลอไปก็รู้ทัน มันไปเพ่งอยู่ก็รู้ทัน ฝึกเรื่อยๆตัวรู้จะเด่น เมื่อได้ตัวรู้แล้ว ถัดจากนั้นมาเดินปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๘ ถึงนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ได้ความรู้สึกตัว ยังไม่ถึงการเจริญวิปัสสนา

mp3 (for download) : ได้ความรู้สึกตัว ยังไม่ถึงการเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นต้องซ้อมนะ ของฟรีไม่มี คนในโลกนะ มันฝันมาตลอด มันเกิดมาได้ก็เพราะว่ามันหลง เพราะฉะนั้นจิตของเราที่พากันมาเกิดเนี่ย มันคุ้นเคยกับความหลง ไม่คุ้นเคยกับความรู้สึกตัว จิตไม่คุ้นกับความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน จิตเคยแต่เป็นผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ผู้ปรุงผู้แต่งก็เช่น แต่งการเพ่งการจ้องเอาไว้ก็ได้ แต่งเรื่องไร้สาระทางโลกก็ได้ เป็นความปรุงแต่งทั้งฝ่ายชั่วความปรุงแต่งทั้งฝ่ายดี จิตจะหลงแต่ความปรุงแต่ง จิตไม่คุ้นเคยที่จะเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เราต้องช่วยมัน ต้องซ้อมมัน

หลวงพ่อตั้งแต่เด็กก็หัดหายใจเข้าพุทหายใจออกโธอะไรอย่างนี้ ฝึกอยู่ ทีแรกจิตออกนอก ไม่รู้ทันจิต จิตหนีไปเที่ยวข้างนอก ไปดูสวรรค์ดูอะไรอย่างนั้นไป จริงหรือเท็จก็ไม่รู้หรอก หาสาระแก่นสารไม่ได้ ไม่ลดละกิเลสเลย

ต่อมาก็เห็นว่า จิตไปอย่างนี้ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรนะ พยายามไม่ให้ไป พยายามรู้สึก พยายามรู้สึก หายใจพอจะเคลิ้มขาดสตินะ ก็หายใจแรงขึ้นนิดหนึ่งให้รู้สึกตัวอยู่เรื่อย ก็ฝึกรู้สึกตัวนะแต่ว่าเดินปัญญาไม่เป็น เพราะฉะนั้นได้ความรู้สึกตัวมา ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก เพียงแต่ได้เครื่องมือมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นพวกเรา ไปซ้อมให้ได้เครื่องมือตัวนี้ให้ชำนาญ จิตไหลไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งรู้ทัน ฝึกให้มาก ในที่สุดเราก็จะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา เมื่อเราได้จิตผู้รู้เนี่ย เราได้ต้นทางที่จะเดินปัญญาแล้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๕๖ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่พักไม่เพียร

mp3 (for download) : ไม่พักไม่เพียร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ผู้เผลอลืมกายลืมใจ ที่ไปของเราก็คือ ทุคติ ผู้เพ่งบังคับกายบังคับใจไว้ ที่ไปของเราในอนาคตคือสุคติ แต่ไม่ไปนิพพาน เพราะฉะนั้นการที่เราบังคับกายบังคับใจเรื่อยไป ไม่ตกนรกหรอก ดี แต่มันหยุดอยู่แค่ดีเท่านั้นเอง ไม่สามารถไปถึงนิพพานได้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปสุดโต่งสองฝั่ง ถ้าเราไปสุดโต่งสองฝั่ง ไม่ไปนิพพาน

ครั้งหนึ่งมีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ก็คือกิเลสทั้งหลายนั้นเอง พระพุทธเจ้าบอกว่า เราข้ามโอฆะได้เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาฟังแล้วงง ไม่พักอยู่เนี่ยฟังแล้วเข้าใจ แต่ไม่เพียรฟังแล้วไม่เข้าใจ ก็ถามท่านอีกว่า ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราพ้นจากโอฆะข้ามห้วงน้ำได้ด้วยวิธีนี้

ทำไมจมลงไม่ดี จมลงไปทุคติ ฟูขึ้นลอยขึ้น ไปสู่สุคติ ไม่ได้ไปนิพพาน คำว่าไม่พักก็คือไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส ไม่หลงไปตามกามสุขัลลิกานุโยค เผลอไปนั่นแหละ คำว่าไม่เพียรของท่านก็คือ ไม่ได้ไปเพ่งกายเพ่งใจ เป็นอัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นเราต้องเดินทางสายกลางให้เป็น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้นี่ล่ะ เป็นกลาง

mp3 (for download) : รู้นี่ล่ะ เป็นกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครูบาอาจารย์แต่ก่อนสอน พุทโธๆ บางคนก็ไม่รู้จักพุทโธ พุทโธเป็นนกแก้วนกขุนทอง ไม่ได้เรื่อง พุทโธจริงๆแปลว่าผู้รู้ พุทโธจริงๆแปลว่าผู้ตื่น พุทโธแปลว่าผู้เบิกบาน

อะไรคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็จิตนั่นแหละคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เนี่ยพุทโธแล้วต้องรู้ทันจิต จิตก็จะค่อยตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้ จิตทีเป็นผู้รู้นั้นมันถอนตัวออกจากโลกของความคิดได้ มันไม่หลงแล้วมันก็ไม่ได้ไปเพ่งไว้ เพราะฉะนั้นตรงรู้นี้ล่ะ เป็นกลาง เผลอไปกับเพ่งเอาไว้เป็นความสุดโต่งสองข้าง

เพราะฉะนั้นจุดแรกนะ เราจะต้องตื่นขึ้นมาให้ได้ ต้องรู้ตัวขึ้นมาให้ได้ ฝึกไปเรื่อยจนจิตของเราเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน จิตหลุดออกจากโลกของความคิด สามารถเห็นกายเห็นใจทำงานตามความเป็นจริงได้ นี่คือจุดแรกที่พวกเราต้องทำให้ไดั ต้องตื่น ก็คือให้จิตเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้เผลอและไม่ใช่ผู้เพ่ง ผู้เผลอใช้ไม่ได้ ลืมกายลืมใจ ผู้เพ่งใช้ไม่ได้ บังคับกายบังคับใจ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ผิดสองอย่าง

mp3 (for download) : ผิดสองอย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่างบางที่บางคนเขาสอนกันนะ ไปเพ่ง เดินแล้วเพ่งอยู่ที่เท้านะ เท้ากระดุกกระดิกนะ จิตนิ่งอยู่ที่เท้าเลย ไม่เห็นไตรลักษณ์ ก็ได้แต่ความสงบเฉยๆ ไปดูท้องนะ เพ่งอยู่ที่ท้อง ไปดูลมหายใจ เพ่งอยู่ที่ลมหายใจ จิตไปเกาะอยู่กับลมหายใจ จิตไปเกาะที่ท้องที่เท้าอะไรอย่างนี้

จิตไม่ตั้งมั่น คือจิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลม เคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง เคลื่อนไปอยู่ที่เท้า นี่ไม่ใช่จิตที่ตั้งมั่น แต่เป็นจิตที่ไหลไปเพ่ง ไปเพ่ง ไป Focus ไป Concentrate อยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง แล้วลืมตัวเองไป ไตรลักษณ์จะแสดงไม่ได้

เพราะฉะนั้นเราจะไปผิดสองอย่าง อันหนึ่งเผลอไป เผลอไปก็ลืมกายลืมใจ อันที่สองเพ่งไว้ บังคับกายบังคับใจ ส่วนใหญ่ที่เพ่งก็คือบังคับใจนั่นแหละ ให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับมัน ก็ได้แต่ความสุขความสงบ ได้แต่สมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผิดมี ๒ อัน เราค่อยๆสังเกตตัวของเราเองก่อน ถ้าเราไม่ผิด ๒ อย่างนี้ ใจเราจะเป็นผู้รู้ผู้ตื่นขึ้นมา ผู้เบิกบานขึ้นมา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๙ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เผลอ เพ่ง

mp3 (for download) : เผลอ เพ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีการปฏิบัตินะ มันก็มีเป็นขั้นๆไปเหมือนกัน ขั้นแรกเลยก็ต้องหัดรู้สึกตัวให้เป็น คนรู้สึกตัวไม่เป็นนะ มันเดินปัญญาไม่ได้ รู้สึกตัวไม่เป็นก็หลงไป ถ้าไม่หลงไปก็นั่งเพ่งไว้ทั้งวัน คนส่วนใหญ่ที่เขาภาวนากัน เขาเอาแต่นั่งเพ่งกัน ไปที่ไหนก็เจอแต่นักเพ่ง เพ่งแล้วกายก็นิ่งใจก็นิ่ง ก็ได้แค่นั้นแหละ กี่ปีมันก็อยู่แค่นั้นแหละ เพ่งมาวันนี้สงบนะอีกหน่อยก็ฟุ้ง ฟุ้งแล้วก็ไปทำความสงบใหม่ ไปเพ่งอีกก็สงบ กลับไปกลับมาไม่มีอะไรขึ้นมา ก็ได้แค่นั้น

จะต้องกลับมารู้สึกตัวให้เป็น ไม่ใช่เผลอไป ไม่ใช่เพ่งเอาไว้ เผลอไปเนี่ยหย่อนไป เพ่งเอาไว้นี่ตึงเกินไป เผลอเนี่ยตามใจกิเลส กิเลสลากไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจโดยเฉพาะลากทางใจคือลากไปคิด ลืมตัวเอง ใช้ไม่ได้ เพ่งเอาไว้นะ เพ่งออกข้างนอกก็ได้ เพ่งพระ เพ่งเทียน เพ่งลูกแก้ว เพ่งใบไม้ เพ่งน้ำ เพ่งออกนอกก็ได้ เพ่งร่างกายก็ได้ เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งท้องพองยุบ หรืออิริยาบถ ๔ ยืนอยู่ก็เพ่งอยู่ทั้งตัว นั่งอยู่ก็เพ่งทั้งตัว นอนอยู่ก็เพ่งทั้งตัว เดินก็เพ่งตัวแข็งๆ ใจแข็งๆตัวแข็งๆ หรือเพ่งทางใจก็ได้ น้อมจิตให้นิ่ง รักษาจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวเลย ไม่ให้จิตคิดนึกปรุงแต่ง บังคับจิตให้นิ่ง สงบ อันนั้นก็คือเพ่ง ถ้าเผลอไปคือไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ ถ้าเพ่งไว้เนี่ย กายก็นิ่งใจก็นิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 10 of 67« First...89101112...203040...Last »