Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ปัญญา มี ๓ ระดับ

mp 3 (for download) : ปัญญา มี ๓ ระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ปัญญา มี ๓ ระดับ

ปัญญา มี ๓ ระดับ

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเราหัดภาวนานะ ต่อไป ทีแรกเราก็คอยรู้สึกกายรู้สึกใจไปเรื่อย เห็นเลย กายมันทำงาน กายมันยืน กายมันเดิน กายมันนั่ง กายมันนอน มิใช่เรา ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นร่างกายมันไม่ใช่ตัวเรา เห็นจิตมันทำงานไปนะ จิตมันสุข จิตมันทุกข์ จิตมันดี จิตมันร้าย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เราโกรธนะ จิตมันโกรธ ไม่ใช่เราโกรธ มันจะรู้สึกอย่างนี้เลย ฝึกไปๆจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวเราในกายในใจนี้ ไม่มีตัวเรานอกเหนือกายนอกเหนือใจนี้ ได้พระโสดาบัน นี่มีปัญญาขั้นต้น

ถัดจากนั้น รู้กายรู้ใจ มีสติรู้กายรู้ใจต่อไปอีกนะ ฝึกไปเรื่อย วันหนึ่งปัญญามันแจ้งขึ้นมา เห็นเลยกายนี้ทุกข์ล้วนๆนะ หมดความยึดถือในกาย ก็หมดความยึดถือใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย หมดความยึดถือใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ไปด้วย ความยินดียินร้ายในกายก็จะไม่มี กามและปฏิฆะก็ขาดไป นี้เป็นปัญญาขั้นกลาง

ต่อไปการปฏิบัติจะบีบวงเข้ามาที่จิต เราจะเห็นว่าจิตนี้เป็นตัวที่มีความสุขมากเลย จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีความสุขมาก จิตที่เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง มีความทุกข์มาก จะเห็นจิตเป็นสองส่วนอยู่ เพราะฉะนั้นงานยังไม่เสร็จ ต้องภาวนาต่อไปอีกนะ วันหนึ่งเห็นแจ้งเลย จิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย จิตมันจะสลัดคืนจิตให้โลกไป เป็นเรื่องอัศจรรย์นะ จิตสลัดคืนจิตให้โลก ฟังไปก่อนนะ ภาวนาไปเดี๋ยววันหนึ่งเห็นเองแหละ จิตมันสลัดคืนจิตให้โลกได้ เมื่อมันคืนจิตให้โลกไปแล้วมันจะไม่ยึดถืออะไรขึ้นมาอีกแล้ว สิ่งที่มันยึดถือเหนียวแน่นที่สุด ว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นของเรา ก็คือจิตนี้เอง ค่อยๆฝึกเป็นลำดับๆไปนะ การที่เห็นว่าจิตเป็นทุกข์ล้วนๆนะ เป็นปัญญาขั้นสูง

เพราะฉะนั้นเบื้องต้น ฝึกไปเพื่อให้เห็นว่า “ตัวเราไม่มี” เบื้องกลาง ฝึกไปให้เห็นว่า “กายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ” เบื้องปลายเราจะฝึกไปจนเห็นว่า “จิตเป็นทุกข์ล้วนๆ” ค่อยๆฝึก ไม่ยากเท่าที่คิดหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

 mp 3 (for download) : เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์: สมถกรรมฐาน มุ่งไปที่ความสุข ความสงบ ความดี วิปัสสนามุ่งให้เกิดปัญญา ปัญญาคือการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน วิธีการก็ไม่เหมือนกัน เราจะต้องเรียน ต้องแยกแยะให้ออกนะว่า การดำเนินจิตแบบไหนเป็นสมถกรรมฐาน การดำเนินจิตแบบไหนเป็นวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าแยกไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไปทำสมถะ แล้วคิดว่าทำวิปัสสนาอยู่

สมถกรรมฐาน หลักการของมัน ไม่ยากเท่าไหร่ หลักการของสมถกรรมฐานก็คือ ให้เราสังเกตความจริงของจิตใจของเราเองก่อน จิตใจของเรานั้น ร่อนเร่ ซัดส่าย ตลอดเวลา เดี๋ยวหลงไปทางโน้น เดี๋ยวหลงไปทางนี้ เดี๋ยวจับอารมณ์อันโน้น เดี๋ยวจับอารมณ์อันนี้ ฟุ้งซ่าน จับอารมณ์โน้นอารมณ์นี้ จิตใจนั้นเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง อุตลุดตลอดเวลา คนที่ภาวนาไม่เป็นก็พยายามบังคับใจ ให้สงบ ให้ดี บังคับยังไงมันก็ไม่สงบนะ มีแต่เครียด เพราะฉะนั้นพวกที่ภาวนาแล้วเครียดนะ แสดงว่าไปทำสมถะแบบผิด ผิดวิธีด้วย ถ้าทำถูกวิธีจะไม่เครียด

จิต ถ้าเรารู้จักลักษณะของจิตนะ จิตมันคล้ายๆเด็ก เหมือนเด็กซนๆคนหนึ่ง จิต เดี๋ยวก็วิ่งไปทางโน้น เดี๋ยวก็วิ่งไปทางนี้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ จิตมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเราทำสมถะผิดนะ ก็คล้ายๆว่าเราเอาไม้เรียวไป ไปยืนเฝ้าเด็กไว้ บังคับไม่ให้มันกระดุกกระดิก เด็กมันจะเครียด จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราไปบังคับให้มันนิ่งนะ มันจะเครียด เราต้องใช้อุบายวิธี หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ คล้ายๆกับว่า เรารู้ว่าเด็กคนนี้ชอบกินไอติม เราก็บอกเด็กว่า อย่าซนนอกบ้าน มา เข้ามาในบ้าน มากินไอติมให้สบายใจ เห็นมั้ย เด็กจะสมัครใจเข้ามาในบ้าน เด็กก็มีความสุขด้วย ใช่มั้ย แล้วเด็กก็ไม่ร่อนเร่ออกไปนอกบ้านด้วย

หลักของการทำสมถกรรมฐานก็แบบเดียวกัน เราต้องเลือก ว่าจิตใจของเรานี้ รู้อารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข บางคนรู้ลมหายใจแล้วมีความสุข ก็รู้ลมหายใจไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องไปคิด ว่าจะทำอย่างไรจิตจะสงบ ถ้ารู้ลมแล้วสบายใจนะ รู้ลมไป บางคนดูท้องพองยุบแล้วจิตสบายใจ ก็ดูท้องพองยุบ บางคนเดินจงกรม บางคนภาวนาพุทโธ บางคนขยับมือ ทำจังหวะแบบหลวงพ่อเทียน ทำแล้วจิตใจสบาย มีความสุข ก็ทำอย่างนั้น ความสุขนี้แหละเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ พอจิตมันมีความสุขนะ จิตจะไม่หนี ซัดส่าย ไปที่อื่น มันจะเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ที่มันมีความสุข นี่เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้

เพราะฉะนั้นบางคนภาวนานะ ทำอย่างไรก็ไม่สงบๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะไปพยายามบังคับจิตให้สงบ มันไม่ยอมสงบหรอก ต้องหาอารมณ์ที่มีความสุขมาล่อมัน ยกตัวอย่างหลวงพ่อตอนเด็กๆ หลวงพ่อชอบลมหายใจ ไปเรียนหายใจออก หายใจเข้า จากท่านพ่อลี วัดอโศการาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ ส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด พอหายใจแล้วมีความสุข พอมีความสุขแล้วจิตสงบ คล้ายๆเด็กได้กินไอติม เด็กก็ไม่ไปซน นี่เคล็ดลับของสมาธินะ เคล็ดลับของสมถะ คือเลือกอารมณ์ที่เรามีความสุข แล้วจิตจะสงบเอง ถ้าจิตสงบโดยที่ไม่ได้บังคับ จิตจะไม่เครียด

ถ้าคนไหนภาวนาแล้วก็เครียด แสดงว่าสมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่มี ถ้าภาวนาแล้วจิตใจมีความสุข มีความสงบ อยู่ในตัวเอง ได้สมถะ โดยไม่ได้บังคับ ทีนี้พอมีความสุขแล้ว มีความสงบแล้ว อย่าหยุดอยู่แค่นี้ ถ้าลำพังการปฏิบัติธรรมนะ มุ่งเอาความสุข ความสงบ ยังตื้นเกินไป ศาสนาพุทธมีสิ่งที่ปราณีต ลึกซึ้ง กว่านั้นอีกเยอะ ลำพังแค่ภาวนาเพื่อให้จิตมีความสุข มีความสงบเนี่ย ไม่มีพระพุทธเจ้า เขาก็สอนกันได้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แล้วคนอื่นไม่มี คือ วิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อ วันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

mp 3 (for download) : พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

พระพุทธเจ้าสอนอะไร?

หลวงพ่อปราโมทย์: ครั้งหนึ่ง สมเด็จญาณฯ ( สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก )เคยเขียนนะ พระศรีนครินทร์ฯ ( สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ) ท่านอาราธนาให้เขียนว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร ท่านเขียนเอาไว้ดีแล้ว พระพุทธเจ้าสอนอะไร สอนอริยสัจจ์สิ สอนไปเพื่ออะไร เพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง สอนอะไร ถ้าตัวเนื้อหาธรรมะนะ พระพุทธเจ้าท่านสอนอริยสัจจ์ อริยสัจจ์เป็นธรรมที่ครอบคลุมธรรมะทั้งหมด

มีพระสูตรอันหนึ่งนะ ชื่อ รอยเท้าช้าง ชื่อ อัตถิปโทปมสูตร ( มหาหัตถิปโทปมสูตร อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง )ชื่อยาวมากนะ ท่านสอนบอกว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์บกนะ สัตว์น้ำมันก็มีรอยเท้าเหมือนกัน แต่ว่ามีไม่กี่ชนิดที่มีเท้า ในพระสูตรบอกว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายเนี่ย เหยียบลงไปได้ในรอยเท้าช้าง ที่เป็นอย่างนี้เพราะในสมัยพุทธกาลไม่มีไดโนเสาร์แล้ว

หมายถึงธรรมะทั้งหมดนี้นะ ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน รวมลงอยู่ในอริยสัจจ์ ย่อๆก็คือ ท่านสอนเรื่องทุกข์ กับความพ้นทุกข์ ทุกข์ก็มีถึงเหตุของทุกข์ แล้วก็ตัวทุกข์ ความพ้นทุกข์ท่านก็สอนถึงวิธีปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์แล้วก็ตัวของความพ้นทุกข์ คือตัวนิพพาน สอนได้ ๒ กลุ่ม

ทีนี้ตัวมรรคเนี่ย ย่อๆลงมาก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องทำ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเรียนนั่นเอง เรียนศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา จิตตสิกขาเรียนแล้วจะเกิดจิตที่ตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ

ย่อๆลงไปอีกนะ คือ ทำสมถะกับวิปัสสนา ตรงภาวนานี้น่ะ ภาวนาก็มี ๒ ส่วน สมถะกับวิปัสสนา ตรงวิปัสสนาเนี่ย ถ้าทำถูกต้องนะ มีสติ รู้กายรู้ใจ ลงปัจจุบัน เห็นตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ไปเรื่อยๆ ในที่สุดจะเกิดปัญญา เกิดผล มีปัญญาขึ้นมา เบื้องต้นเป็นพระโสดาบันนะ เบื้องปลายเป็นพระอรหันต์

พระโสดาบันท่านจะเข้าใจว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เพราะฉะนั้นข้อที่ ๑ ที่จิรัฐถามนะ มันคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน เป็นผลแล้ว เป็นผลจากการเจริญสติ ไม่ใช่ให้ทำตัวมัน ไม่ใช่ให้ทำความรู้นี้ขึ้นมานะ เจริญสติไปแล้วผลที่เกิดขึ้นคือมีความรู้ความเข้าใจ ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป เนี่ยความรู้ความเข้าใจของพระโสดาบัน เพราะฉะนั้นพระโสดาบันรู้ว่า สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ

ส่วรพระอรหันต์เนี่ย ท่านจะแจ้งสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ สิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับคือนิพพาน พระโสดาฯ พระสกทาคาฯ พระอนาคาฯ ยังไม่แจ้ง(ในสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ) เห็นบ้าง แต่ว่าไม่แจ่มแจ้ง เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ ภาวนา จะเกิดปัญญาเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป เบื้องปลายก็จะเกิดปัญญาไปเห็นแจ้งสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับ เพราะฉะนั้นธรรมะมีหลายระดับนะ มีหลายขั้น

อันแรกเลย วัตถุประสงค์ของธรรมะนะ ภาวนาไปเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง เบื้องต้นพ้นทุกข์ เบื้องปลายดับทุกข์ พ้นทุกข์เนี่ยเป็นพระอรหันต์ที่ยังดำรงค์ขันธ์อยู่ ดับทุกข์คือพระอรหันต์ที่ท่านดับขันธ์แล้ว พ้นทุกข์เนี่ยพระอรหันต์มีขันธ์มั้ย? มี แต่ว่าจิตของท่านพ้นจากขันธ์ เพราะฉะนั้นท่านพ้นจากทุกข์ เบื้องปลายนี้ดับขันธ์ ก็ดับทุกข์ ตัวขันธ์นั้นแหละตัวทุกข์

ธรรมะปราณีตนะ ค่อยๆเรียน ค่อยๆฟัง อย่านึกเอาเอง มั่ว เดี๋ยวมั่วเอา อย่าไปเอา ยกตัวอย่างวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งนะ สิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างหนึ่ง วิธีปฏิบัติอย่างหนึ่ง ผลของการปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง อย่าเอาไปปนกัน ถ้าปนกันแล้วยุ่งตายเลย

ยกตัวอย่าง ถามหลวงพ่อบอกว่า เราภาวนาเพื่ออะไร พระพุทธศาสนาสอนอะไรกันแน่ สอนให้เห็นว่าทุกอย่างผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อันนี้เป็นความรู้ความเข้าใจของพระโสดาบัน ทุกอย่างมาแล้วไป นี่เกิดแล้วดับ หรือข้อสอง สอนให้จิตสำเหนียกสภาพดั้งเดิมของจิตเดิมแท้ ไม่ได้สอนให้สำเหนียกนะ มันสำเหนียกเอง มันเป็นผลน่ะ ถ้าเห็นนิพพานก็จะเห็นจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ไปเห็นนิพพาน

คำว่าจิตเดิมแท้เนี่ย เป็นคำซึ่งไม่มีพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ฝ่ายเถรวาทพูดถึงจิตพระอรหันต์นี้ จะพูดถึงมหากริยาจิต แค่มหากริยาจิตเกิดแล้วดับ ทีนี้ทางฝ่ายเซนทางฝ่ายอะไรนี้ เขาพูดถึงจิตเดิมแท้ คือจิตที่พ้นการปรุงแต่ง ถ้าอนุโลมเอาก็คือ มหากริยาจิต แต่ว่ามันมีสภาวธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นธาตุ ธาตุรู้ จะเรียกว่าอะไรก็ได้ จิตเดิมแท้ก็ได้ อะไรก็ได้ เป็นธาตุรู้ ธาตุรู้มันเข้าคู่กับธรรมธาตุ คือ ธาตุของธรรม อันนี้ไม่มีในคำสอนของฝ่ายเถรวาทเรา ไม่พูดถึงสิ่งเหล่านี้หรอก แต่พูดถึงธาตุธรรม คือพระนิพพาน

เพราะฉะนั้นเวลาเราเรียน เรารู้นะ วัตถุประสงค์ของการเรียน เพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิงนะ

สิ่งที่เราต้องทำนะ เราก็พัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา หรือ ละชั่วทำดีทำจิตให้ผ่องแผ้วขึ้นมา พูดได้หลาย Dimensions หลายแง่ หลายมุม หลายมิติ รวมความก็คือ ทำอันใดอันหนึ่งครบ set ของมัน ก็คือทำทั้งหมดแหละ มีศีล สมาธิ ปัญญา ครบ มันก็คือครบ ละชั่ว ทำดี ทำจิตผ่องแผ้วได้ ก็ครบเหมือนกัน

ทีนี้ก็เจริญไป วิธีที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์ ก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไป วิธีที่จะละชั่ว ทำดี ทำจิตผ่องแผ้วนะ ก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไป ถ้าเจริญสติ(ปัฏฐาน)ไม่ได้ ละชั่วไม่ได้จริงหรอก ได้แต่ข่มความชั่วเป็นคราวๆ ทำดีไม่ได้จริงหรอก ดีแป๊บเดียวนะ เดี๋ยวก็ชั่วแทรกเข้ามาแล้ว เช่นเห็นคนอื่นเขาได้ดิบได้ดีก็โมทนาๆ มันดีหลายที่ชักอิจฉาแล้ว มันทนไม่ได้หรอก หรือเห็นคนนี้ตกทุกข์ได้ยาก สงสารเขา ไปแนะนำ แนเะนำเขา เขาไม่ฟังก็โมโหแล้ว

กุศลเนี่ยพลิกเป็นอกุศลได้เสมอเลยถ้าขาดสติ เพราะงานของเรานะ มีสติไว้ มีสติไว้แล้ว แล้วก็ยังทำ ๒ อย่าง อันหนึ่งทำสมถะนะ สมถะก็ต้องมีสติ ถ้าสมถะขาดสติเป็นมิจฉาสมาธิไปเลย ใช้ไม่ได้ อย่างที่พวกเรานั่งเคลิ้มๆนี้ใช้ไม่ได้เลยนะ

เพราะฉะนั้นนั่งนี่ต้องรู้เนื้อรู้ตัว เดินรู้เนื้อรู้ตัว จิตสงบ จิตตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์อันเดียวโดยที่ไม่ได้บังคับไว้ มีความสุขอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างนั้น สงบแนบแน่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะ จิตยอมไปมีความสุขมีความสงบนะ ต้องเลือกอารมณ์ ถ้าเราเลือกอารมณ์กรรมฐานที่เราชอบ จิตมันชอบน่ะ ไม่ใช่เราชอบ ที่จิตมันชอบ

ยกตัวอย่าง บางคนนะ จิตชอบพิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะแล้วสงบ แต่เราไม่ชอบ เรากลัวผี ให้ไปนั่งป่าช้านี่ไม่ชอบเลยนะ ไปเห็นรดน้ำศพ บางคนยังไม่ชอบเลย แต่จิตมันชอบ พอเข้าใกล้แล้วสงบ อย่างนี้สมควรทำอย่างไรดี จิตมันชอบแบบนี้ จิตมันชอบอย่างนี้ก็เอาสิ เรากลัวผี ดูไปเรื่อยๆ เดี๋ยววันหลังก็ไม่กลัวเองแหละนะ แต่จิตมันเข้าใกล้ มันไปเห็นศพ อื๋อ… รถทับมาเละๆ พองๆ เวลาศพถูกรถทับนะ เน่าเร็วมากเลย เร็วกว่าศพธรรมดา แป๊บเดียวก็เน่า เราก็ไปดูได้จิตใจสงบ นี่ถ้าจิตมันชอบ

บางคนจิตมันชอบพุทโธ เราก็อยู่กับพุทโธ จิตมันชอบลมหายใจก็อยู่กับลมหายใจ จิตมันชอบท้องพองยุบก็อยู่กับท้องพองยุบไป อยู่กับอารมณ์ที่จิตชอบ จิตก็ไม่ร่อนเร่ไป จิตเสพอารมณ์ที่มันชอบนะ ก็ไม่หนีไปเที่ยว ได้สมถะนะ อย่างนี้ ก็มีสติอยู่กับอารมณ์นั้น

ถ้าทำวิปัสสนานะ ก็มีสติรู้กายรู้ใจไป รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่น ต้องดูอยู่ห่างๆนิดนึง แต่ตรงจิตตั้งมั่นก็มีอยู่ ๒ พวกนะ พวกหนึ่งตั้งทรงเด่นอยู่เลย พวกนี้ทางฌานอยู่ พอออกจากฌานแล้วจะทรงเด่นอยู่นาน อีกพวกหนึ่งไม่ได้ทรงฌาน ตั้งเป็นขณะๆ เรียก ขณิกสมาธิ เป็นขณะๆ แค่นี้ก็นิพพานได้ ถึงมรรคผลนิพพานได้ ถึงพระอรหันต์ได้

เวลาที่เราเจริญสตินะ เราอย่าดูถูก(ดูหมิ่น)สมาธิชั่วขณะนะ เวลาที่เราเจริญสติในชีวิตประจำวันจริงๆเนี่ย ส่วนใหญ่ใช้สมาธิชั่วขณะนี้เอง ทีละขณะๆ เดี๋ยวรู้สึกตัวขึ้นมา ใจตั้งมั่นได้แว้บ หลงไปอีกละ ไหลไป พอรู้ทัน สติระลึกรู้ใจไหลไปนะ ใจก็ตั้งขึ้นอีกแว้บ แว้บ แว้บ แว้บ ตลอดวันเลยนะ มีแต่ไหลไปแล้วก็ตั้ง ไหลแล้วก็ตั้ง แค่นี้พอแล้ว ถึงวันหนึ่งนะ ปัญญามันเกิดนะ มันจะเห็นเลย จิตไหลไปห้ามไม่ได้ จิตตั้งมั่นสั่งไม่ได้ มันสั่งไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ มีแต่เกิดแล้วดับ จิตหลงไปกับจิตที่ตั้งมั่นเท่าเทียมกันขึ้นมา เท่าเทียมกันโดยความเป็นไตรลักษณ์ นี่เวลาเดินวิปัสสนานะ ไม่ใช่จะเอาอันหนึ่ง จะเกลียดอีกอันหนึ่ง

เรามีสติ รู้สภาวะทั้งหลาย ที่มันเป็นคู่ๆ เช่น เผลอกับรู้ นี่คู่หนึ่ง ใช่มั้ย โกรธกับไม่โกรธคู่หนึ่ง โลภกับไม่โลภคู่หนึ่งเนี่ย เห็นเป็นคู่ๆไว้ มันจะพลิกไปพลิกมาในคู่ของมัน เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ฝึกอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง ไม่ใช่จะเอารู้สึกตัว เกลียดหลง จะเอาความไม่โกรธ เกลียดความโกรธ จะเอาความไม่โลภ เกลียดความโลภ

แต่การที่เห็นคู่ๆ มันจะทำให้เห็นว่า ความโลภ โกรธ หลง เห็นขึ้นมาแล้วก็ดับไป ความรู้สึกตัว รู้ตื่นเบิกบานเกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป ชีวิตเราขาดเป็นท่อน ท่อน ท่อน ท่อน ไม่ใช่มีชีวิตอันเดียวรวดเลย คนซึ่งภาวนาไม่เป็นนะ จะรู้สึกมีตัวเราอันเดียวรวด พวกเราจะรู้สึก ปุถุชนทั้งหลายจะรู้สึก หลายคนซึ่งยังเจริญวิปัสสนาไม่พอ จะรู้สึก รู้สึกมั้ย ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนนี้ กับเราตอนเด็กๆ เป็นเราคนเดียวกัน รู้สึกมั้ย หน้าตาหรอกที่เปลี่ยนไปนะ แต่ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนเดิมด้วย

เนี่ยถ้าหากทำวิปัสสนาถูกต้องนะ จะเห็นเลยว่า มันเกิดดับเป็นขณะๆ ชีวิตตะกี้นี้ กับชีวิตปัจจุบันนี้ เหมือนกับคนละคนกันเลย ขาดออกจากกัน จิตตะกี้นี้หลง จิตตอนนี้รู้สึก(ตัว) มันเหมือนคนละคนกันเลย เหมือนคนละคนเลย ถ้าดูเป็นนะก็จะเห็นเลย มีช่องว่างเล็กๆมาคั่น จิตดวงนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีช่องว่างมาคั่น ขาดออกจากกันนะ ไม่ใช่ตัวเดิม ไม่ใช่เหมือนร่างกายนี้คนเก่า เปลี่ยนแต่เสื้อไปเรื่อยๆ อันนั้นมิจฉาทิฎฐิ

ยกตัวอย่างพวกเราหลายคน คิดว่าในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง พอตายไปนะ เราตัวนี้ออกจากร่างนี้ ไปหาร่างใหม่เกิดอีก นี่มิจฉาทิฎฐิ เพราะว่าทำวิปัสสนาไม่เป็น ไม่เห็นว่าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับ (อีก)ดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับนะ

เพราะฉะนั้นการที่เราเห็นนะ จิตดวงหนึ่งเกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับไป จะเป็นกุศลก็ตาม เป็นอกุศลก็ตาม จะเป็นจิตที่รู้หรือเป็นจิตที่หลงก็ตาม ทั้งหมด มีสภาพอันเดียวกันหมดเลย เกิดแล้วดับเหมือนกัน ในที่สุดปัญญามันเกิดนะ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา นี่เป็นภูมิธรรมของพระโสดาบัน สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ก็จะเห็นอยู่นี่เองนะ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม มีแต่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ๆ ไปเรื่อยๆ

ทีนี้พอฝึกมากเข้าๆนะ ปัญญามันเริ่มแก่กล้าขึ้น มันเห็นเลย ตัวที่เกิดแล้วดับเนี่ย ตอนที่มันมีอยู่ มันก็ทุกข์นะ มันทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองนั้นแหละ พอปัญญามันแจ้งนะ มันรู้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมานี่ มันทุกข์หมดเลยนะ จิตมันสลัดทิ้งเลย หมดความยึดถือในรูปธรรมนามธรรม เมื่อจิตหมดความยึดถือในรูปธรรมนามธรรม จิตจะดูเมือนถอดตัวเองออกมา

แต่พูดแล้วไม่รู้ว่าภาษามันจะเป็นยังไงนะ บางทีจะพูดในมุมหนึ่งมันเหมือนจับมันข้างทิ้งไปเลยนะ มันโยนจิตทิ้งไป อีกมุมหนึ่งนะ เหมือนมันถอดออกมา มันหลุดออกจากกันนะ แต่เดิม มันหลุดออกจากกัน สมมุติมันรวมอยู่ด้วยกันอย่างนี้ จิตกับขันธ์มันรวมอยู่ด้วยกันอย่างนี้ พอภาวนาเห็นขันธ์เป็นทุกข์นะ เหมือนจิตมันถอดออกมา แต่พวกเราภาวนาเห็นจิตถอดออกมา แยกออกมาจากขันธ์เป็นสองส่วนใช่มั้ย อันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าขั้นสุดท้ายไม่ได้เป็นอย่างนั้น ถอดออกมาแล้วนะก็ทิ้งตัวนี้ด้วย ทิ้งไป ตัวนี้(อีกตัวหนึ่ง)ก็ทิ้งไปนะ แล้วปรากฎว่า มันมีธาตุอยู่ธาตุหนึ่ง คือธาตุรู้ ธาตุรู้นี้จะซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง

แต่เดิมจิตเรามีขอบมีเขต มีจุดมีดวง นี่คนดีมากแล้วนะ ดวงแค่นี้ พวกเทวดา รุกขเทวดา รัศมีนิดเดียว แค่นี้เอง เล็กเท่าดาวเอง บางคนภาวนามานานนะ เท่ากับล้อ ล้อเกวียน ล้อรถบดถนน รัศมีไม่เท่ากัน แต่มีขอบมีเขตอยู่ ตรงที่มันเข้าถึงธาตุรู้จริงๆเนี่ย ธาตุรู้นี้ซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง ธาตุรู้น่ะคล้ายๆอากาศธาตุ แต่อากาศธาตุไม่ใช่ธาตุรู้ อากาศธาตุเป็นช่องว่าง อากาศธาตุซึมซ่านเข้าไปได้ ในพัดนี้ก็มีอากาศธาตุ มันซึมซ่านเข้าไป ในแผ่นดินก็มีอากาศธาตุซึมซ่านอยู่ ธาตุรู้นี้ก็ซึมซ่านคล้ายๆกัน แต่ธาตุรู้เป็นธาตุรู้ จะเรียกว่าจิตมั้ย มันก็ไม่ใช่จิตที่เคยเห็น เป็นธาตุรู้ แล้วแต่จะเรียกชื่อ เป็นเจ้าของมั้ย ไม่มีเจ้าของ ไม่มีขอบ ไม่มีเขต ไม่มีจุด ไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง ถามว่าธาตุรู้ รู้อะไร ธาตุรู้รู้ธรรม รู้นิพพานนะ นิพพานเนี่ย ครอบโลกครอบจักรวาล ซึมซ่านไปในทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนกันเปี๊ยบเลย แต่เป็นอีกสภาวะหนึ่ง พูดแล้วฟังยาก พวกคิดมาก อยากเรียนเยอะๆ ไปภาวนาเอาเองนะ แล้วจะเห็น

เพราะฉะนั้นสรุปก็คือ พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเพื่อให้เราเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ไม่ได้สอนเพื่อให้เห็นจิตเดิมแท้ ท่านสอนเพื่อความพ้นทุกข์สิ้นเชิง แล้วเราก็เจริญสติ(ปัฏฐาน)ไปเรื่อยๆ ความรู้ความเข้าใจของเราก็พัฒนาเป็นลำดับๆไป

เบื้องต้นก็จะเห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป ไม่ควรยึดมั่นหรอก แต่มันยังยึดมั่นอยู่นะ เบื้องปลายนี้แหละมันหมดความยึดมั่นจริงๆ แล้วมันก็จะไปเห็นจิตที่เป็นอิสระ เราอย่าไปพูดถึงจิตเดิมแท้เดิมเท้อเลย ฟังแล้วเวียนหัวนะ วาดภาพมันเหมือนมีอะไรลึกลับซ้อนขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ที่เรียนอยู่ทุกวันนี้ก็จะปางตายแล้ว ยังจะไปสร้างจิตเดิมแท้ขึ้นมาอีกดวงหนึ่ง ยุ่งตายเลย ไม่มีนะ สิ่งทีเป็นอมตะ มีแต่พระนิพพานเท่านั้นที่เป็นอมตะ อย่าไปวาดภาพว่ามีอะไรที่เป็นอมตะอยู่

สุดท้ายก็จะเห็นสิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับคือเห็นพระนิพพาน เป็นผลหรอก เบื้องต้นเห็นสิ่งที่เกิดแล้วก็ดับ ได้เป็นพระโสดาบัน เบื้องปลายรู้แจ้งสิ่งที่ไม่เกิดแล้วก็ไม่ดับ คือพระนิพพาน หน้าที่ของเราตอนนี้ก็คือเจริญสติ(ปัฏฐาน)ไปเรื่อยๆ รู้กายรู้ใจไป สังเกตตัวเองไปเรื่อย อกุศลอะไรยังไม่ได้ละนะ ก็ละเสียบ้าง ขัดเกลาตัวเอง ไม่ใช่ตามใจอกุศลนะ กุศลใดยังไม่เจริญก็เจริญเสียบ้าง ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยๆนะ หวังว่ามันจะเจริญขึ้นมาตามยถากรรม

ยกตัวอย่าง เราต้องหัดให้อภัยคน ต้องฝึกเหมือนกันนะ ไม่ใช่ว่าฉันเจริญสติอย่างเดียวอะไรอย่างนี้ จะเอาแต่ปัญญา บางทีกิเลสเล็กกิเลสน้อย ไม่ยอมละนะ จะเอาแต่ปัญญา ในที่สุดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ศีลฉันจะไม่ถือหรอก ฉันจะมีแต่สติ มีแต่ปัญญา กลายเป็นมิจฉาทิฎฐิง่ายๆนะ

หลวงพ่อเคยรู้จักคนหนึ่ง ไม่ถือศีลนะ สอนลูกไม่ให้ถือศีลด้วย บอกว่าไม่จำเป็น เราดำรงค์ชีวิตอย่างมีเหตุผลก็พอแล้ว สอนลูกอย่างนี้ ดำรงค์ชีวิตอย่างมีเหตุผลตามใจกิเลสสิ วงเล็บไว้ด้วยน่ะ ไม่มีศีลน่ะ

เพราะฉะนั้น อกุศลเล็กๆน้อยๆนะ เราก็ต้องรู้ทัน อย่าไปเชื่อมัน อย่าไปตามใจมัน กุศลแม้แต่เล็กแต่น้อยนะ เราก็ต้องคอยดูแลรักษามัน คอยดูมันไป มีสติ พัฒนามันขึ้นไปเรื่อยๆ จิตใจเข้าไปคลุกคลี พัวพันอยู่กับอารมณ์ต่างๆ คอยรู้ทันจนมันถอดถอนออกมา มันเข้าถึงความผ่องแผ้วของมัน นี่คือละชั่วทำดีทำจิตผ่องแผ้ว มีศีลมีสมาธิมีปัญญา ค่อยๆพัฒนาไปนะ ค่อยฝึกของเราทุกวันๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
Track: ๙
File: 520508.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิที่มีจิตตั้งมั่น ต่างกับสมาธิที่มีจิตสงบในอารมณ์อันเดียว

mp 3 (for download) : สมาธิที่มีจิตตั้งมั่น ต่างกับสมาธิที่มีจิตสงบในอารมณ์อันเดียว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมาธิที่มีจิตตั้งมั่น ต่างกับสมาธิที่มีจิตสงบในอารมณ์อันเดียว

สมาธิที่มีจิตตั้งมั่น ต่างกับสมาธิที่มีจิตสงบในอารมณ์อันเดียว

หลวงพ่อปราโมทย์: ตั้งมั่นกับสงบ คนละอันกันนะ เป็นลักษณะของสมาธิคนละชนิดกัน ถ้าสงบเนี่ย มันจะนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวนะ เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน จะสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าตั้งมั่นอยู่เนี่ย จะสามารถเห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปธรรมนามธรรมได้ เรียก ลักขณูปนิชฌาน คนละอันกัน อันหนึ่งเป็นฌาน เป็นความตั้งมั่น ที่เห็นลักษณะ คือเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม อีกอันหนึ่งเห็นตัวรูปนาม

เพราะฉะนั้นลำพังเราเห็นตัวรูปนาม ยังไม่ใช่วิปัสสนานะ บางคนเข้าใจผิดเลย ยกตัวอย่างไปดูท้องพองยุบ แล้วคิดว่าถ้าดูท้องพองยุบแล้วเป็นวิปัสสนา ไม่เป็นหรอก เพราะมันเป็นการเห็นตัวท้อง เห็นตัวท้องมันเป็นตัวอารมณ์ เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน เป็นสมถกรรมฐาน แต่ถ้าเห็นรูปพอง รูปยุบ นี่เกิดแล้วดับไปเรื่อยนะ นี่เห็นลักษณะแล้ว เห็นความเกิดดับของมัน อย่างนี้ขึ้นเดินปัญญาได้

รู้ลมหายใจ จิตไปรู้ลมหายใจนะ สงบ อยู่กับลมหายใจ อันนี้รู้อะไร รู้ลมหายใจ ลมหายใจเรียกว่าเป็นอารมณ์ คำว่าอารมณ์นะ คือคำว่า Object นะ เป็นตัวที่ถูกรู้ Objective คำว่าอารมณ์ในศาสนาพุทธนี้ ไม่ใช่แปลว่าอารมณ์อย่างที่พวกเรารู้จัก emotion อะไรอย่างนี้ ไม่ใช่ อารมณ์หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้

เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่างเราไปรู้ลมหายใจนะ จิตเกาะนิ่งอยู่กับลมหายใจ นี่คือการเพ่งตัวอารมณ์ เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน เป็นสมถกรรมฐาน แต่ถ้าเราเห็นร่างกายมันหายใจ เห็นรูปมันเคลื่อนไหวนะ ใจมันเป็นคนดู มันมีความรู้สึกหยั่งซึ้ง ลึกซึ้ง อยู่ในใจนะ เนียนๆ ลึกซึ้งอยู่ในใจเลย รูปที่เคลื่อนไหวอยู่นี้ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เราไม่ใช่เขาเลย เป็นรูปที่เคลื่อนไหว อันนี้มันเดินปัญญานะ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน

เพราะฉะนั้นถ้าไม่เห็นลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่าตัวลักษณะ ถ้าไม่เห็นลักษณะก็ไม่ขึ้นวิปัสสนา สมาธิก็เลยมี ๒ พวก สมาธิที่ไปรู้ตัวอารมณ์ กับสมาธิที่ไปรู้ตัวลักษณะ ความเป็นไตรลักษณ์ มี ๒ ชนิด

เนี่ยต้องเรียนทั้งสิ้นนะ ถ้าไม่เรียนแล้วก็ เอาสมาธิชนิดเพ่งอารมณ์นี้แหละมาทำวิปัสสนา เช่น ไปนั่งเพ่งลมหายใจแล้วบอกว่าทำวิปัสสนา ไปนั่งเพ่งท้องพองยุบแล้วบอกว่าทำวิปัสสนา ไม่เป็นหรอก เป็นสมถะล้วนๆเลย ต้องเห็นไตรลักษณ์จึงจะเป็นวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๑๕
File: 530917A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาเลยการคิด แต่บางคนต้องอาศัยการคิดกระตุ้นให้จิตเดินปัญญา

mp 3 (for download) : วิปัสสนาเลยการคิด แต่บางคนต้องอาศัยการคิดกระตุ้นให้จิตเดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิปัสสนาเลยการคิด

วิปัสสนาเลยการคิด

หลวงพ่อปราโมทย์: การที่เห็นไตรลักษณ์ด้วยการเปรียบเทียบเอานะ เมื่อก่อนยังหนุ่มตอนนี้แก่อะไรอย่างนี้ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาเลย นี่ เห็นไตรลักษณ์แล้วนะ แต่เป็นการเห็นด้วยการคิดเอา ไม่ใช่วิปัสสนานะ ตัวนี้เขาเรียก “สัมมัสสนญาณ” ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ต่อเมื่อเห็นรูปนามเกิดดับต่อหน้าต่อตาได้นั้นล่ะ มันจะขึ้นวิปัสสนาจริงๆ ไม่คิดแล้วนะ วิปัสสนาเนี่ยเลยการคิดไป

แต่บางคนทำไมต้องคิดก่อน ตรงนี้ถ้าเราไม่เรียนให้ดีนะเราจะสับสน ครูบาอาจารย์บางท่าน ท่านก็บอกว่าทำความสงบแล้วให้คิดพิจารณาไป อันนั้นยังไม่ได้ขึ้นวิปัสสนา แต่เป็นการกระตุ้นให้จิตเดินปัญญา ไม่ให้จิตติดเฉย จิตสงบ จิตเฉยอยู่เฉยๆไม่เดินปัญญา เช่น สงบแล้วก็เฉยอยู่อย่างนั้น หรือตื่นขึ้นมา ตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัว แล้วพอใจอยู่ในความรู้สึกตัว แล้วก็ติดอยู่ในความรู้สึกตัว ไม่เดินปัญญา อย่างนี้ครูบาอาจารย์จะกระตุ้น ให้คิดพิจารณาไป พิจารณากาย พิจารณาความตาย พิจารณา ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง อะไรอย่างนี้ พิจารณากระตุ้นให้จิตมันทำงาน ไม่ให้จิตมันติดเฉย เป็นอุบาย อุบายไม่ให้จิตติดเฉย

พอจิตมันเคยมองในมุมของไตรลักษณ์บ้างแล้วโดยคิดนำไปก่อน พอจิตมันคุ้นเคยที่จะมองในมุมของไตรลักษณ์แล้วเนี่ย ต่อไปมันจะมองได้เอง ตรงที่มันมองได้เองนี้แหละ มันจะขึ้นวิปัสสนาจริงๆล่ะ ทีนี้บางท่าน ท่านพิจารณานานนะ เป็นปีๆเลย แล้วเสร็จแล้วจิตมันเดินของมันเอง แว้บเดียวสั้นๆนะ ท่านเกิดได้ผลอะไรขึ้นมานะ ท่านก็เลยสรุปบอกว่า ได้ผลเพราะว่าคิดมายาวๆนี่เอง นะ ไม่รู้หรอกว่าได้ผลตรงที่วับเดียวนั้นน่ะ

ทีนี้ถ้าเราเรียนสักหน่อยนะ มันจะไม่ปนกัน ระหว่างสมถะกับวิปัสสนา ตรงที่ยังคิดอยู่ยังเป็นสมถะอยู่ ตรงที่เห็นตามความเป็นจริง ความเกิดดับตามความเป็นจริงนั้นขึ้นวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๑๖
File: 530917B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิ มี ๒ แบบ

mp 3 (for download) : สมาธิ มี ๒ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมาธิ มี ๒ แบบ

สมาธิ มี ๒ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิมี ๒ อัน อันหนึ่งให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อีกอันหนึ่งให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู อารัมมณูปนิชฌานทำให้จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว ลักขณูปนิชฌานทำให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเห็นลักษณะคือความเป็นไตรลักษณ์ได้

ถ้ามีลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดที่เห็นลักษณะได้นี้แหละ เอาไปเป็นเครื่องมือในการเจริญปัญญา ส่วนสมาธิที่ไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นเครื่องมือในการพักผ่อน มีประโยชน์มั้ยพักผ่อน มี ทำงานหามรุ่งหามค่ำไม่มีความสุข แห้งแล้ง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ปฏิเสธสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง สมาธิที่ปฏิเสธก็คือสมาธิที่ลืมเนื้อลืมตัว เคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว ง็อกแง็กๆ อย่างนั้นไม่ได้เรื่อง ต้องเป็นสมาธิที่ไม่ขาดสติ ถ้าขาดสติเมื่อไหร่นะ ถึงจะมีสมาธิอยู่จิตก็เป็นอกุศล

เราอย่านึกนะว่าสมาธิเกิดจากจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น แม้จิตอกุศลก็มีสมาธิ ยกตัวอย่างคนจะไปยิงหัวคนอื่นนะ มีสมาธินะ มี ไม่งั้นยิงไม่ถูกน่ะ คนเล่นไพ่มีสมาธิมั้ย มี เห็นมั้ย คนเชียร์มวยเคยเห็นมั้ย เชียร์มวย เคยเห็นในโทรทัศน์มั้ย มันเต้นเหย็งๆเลย มันมีสมาธิในการดูมวยใช่มั้ย รู้หมดเลยนักมวยควรจะชกอย่างนี้ ควรจะเตะอย่างนี้ รู้หมดเลย เพราะชอบสอนให้นักมวยทำอย่างนั้นอย่างนี้ ตัวเองมีสมาธิจดจ่อดู ดูออก

สมาธิมันเกิดกับจิตทุกชนิดแหละ จิตที่เป็นกุศลมันก็มีสมาธิ จิตอกุศลมันก็มีสมาธิ เพราะฉะนั้นนะเราเลือกสมาธิจากจิตที่เป็นกุศลน่ะ มี ๒ จำพวก พวกหนึ่งสงบ อีกพวกหนึ่งตั้งมั่น สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว วิธีฝึกทำอย่างไร เรารู้เราจะทำอะไร

ยกตัวอย่างเราจะทำสมถะ ทำเพื่ออะไร เพื่อสงบหรือเพื่อตั้งมั่น ทำอย่างไร อันนี้ก็ต้องรู้นะ ถ้าจะทำให้สงบ เราก็เลือกดู อารมณ์อะไรที่เราอยู่แล้วมีความสุข เราไปรู้อารมณ์อันนั้น ใครอยู่กับพุทโธมีความสุขก็อยู่กับพุทโธ ใครอยู่กับลมหายใจ อยู่กับท้องพองยุบ อยู่กับการเดินจงกรม อยู่กับการขยับมือทำจังหวะ แล้วมีความสุข เราก็ใช้อารมณ์อันนั้น เลือกเอาอารมณ์ที่มีความสุข หรือหัดดูจิตดูใจไป แล้วมีความสุข

เมื่อเช้าอาจารย์ Sup ครู Sup’K เขาไปบอก ว่าครู Sup’K เนี่ย ภาวนาหายใจเข้าก็บริกรรมนะ หายใจเข้าก็รู้ ตอนหายใจออกบริกรรมว่าหายใจออกก็รู้ ถามว่าใช้ได้มั้ย ใช้ได้ เพราะครู Sup’K แกบอกว่า แกบริกรรมแบบนี้แล้วมีความสุข จิตใจมีความสุขจิตจะสงบ จิตจะไม่หนีไปที่อื่นนะ สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว สบาย เพราะฉะนั้นเราเลือกอารมณ์ที่เราอยู่แล้วมีความสุข แต่ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศล ใช้ได้ทั้งสิ้นเลย จะได้จิตที่มีความสงบขึ้นมา

แล้วจิตที่ตั้งมั่นล่ะฝึกอย่างไร เราก็ฝึกไปอย่างเดิมนั้นแหละ แต่ปรับมุมมองนิดหน่อยนะ แทนที่จะน้อมจิตให้ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วมีความสุขนะ เปลี่ยนมาเป็นคนคอยรู้ทันจิตนะ มาเป็นคนคอยรู้ทันจิต เช่นหายใจไปบริกรรมไป หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ รู้ไปบริกรรมไป จิตไหลแว้บ..ไปที่อื่นน่ะ จิตไหลแแว้บไป รู้ทัน รู้ทัน จิตมันไหลแว้บไป เรารู้ทัน อย่างนี้ เราเห็นจิ๊บเดินไปใช่มั้ย จิตเราไหลไปอยู่ที่เขา เราคอยรู้ทัน จิตมันจะหนีไปเรื่อย จิตที่หนีไปนั้นแหละเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น มันหนีไป มันจะลืมเนื้อลืมตัว ลืมกายลืมใจ

เพราะฉะนั้นเรามาฝึกนะ ฝึกพุทโธไป หายใจไป หายใจอย่างเดียวหรือว่าจะหายใจไปพุทโธไปก็ได้ หายใจไปแล้วบริกรรมอย่างอื่นก็ได้ เช่น หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ แล้วแต่ถนัดนะ ไม่มีดีมีเลวกว่ากันหรอก แล้วก็คอยรู้ทันนะ หายใจไปๆ จิตหนีไปคิดน่ะ จิตไหลไปแล้ว รู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน รู้ทันกริยาอาการของจิตไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หายใจแล้วไปรู้ตัวลมหายใจนะ จะคนละแบบกัน ไม่ได้หายใจเอาความสงบ แต่หายใจแล้วคอยรู้ทันจิตที่ไม่สงบ จิตที่ฟุ้ง จิตที่ไหลไปไหลมา

วิธีนี้ก็ใช้กับกรรมฐานอย่างอื่นก็ได้นะ ยกตัวอย่างบางคนก็พุทโธๆ ไม่ได้พูดถึงลมหายใจ ไม่ได้สนใจลมหายใจเลย พุทโธลูกเดียวเลย พุทโธๆไปแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งอารมณ์ เพ่งจิตนิ่งๆอยู่ ก็รู้ทัน จิตไปทำอะไรก็รู้ทัน คอยรู้ทันอย่างนี้นะ ต่อไปจิตจะกลายเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ตรงที่รู้ทันนั้นแหละ จิตไม่ไหลไป ตรงที่จิตไม่ไหลไปนั้นแหละ จิตตั้งมั่นขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นตั้งมั่นโดยที่ไม่ได้เจตนาให้ตั้งมั่น ตั้งมั่นโดยที่ไม่ได้บังคับให้ตั้งมั่น ถ้าเจตนาให้ตั้งมั่นเนี่ยเจือด้วยโลภะ ไม่ตั้งมั่นจริง ไปบังคับมันยิ่งเครียดใหญ่ แน่นๆ ใช้ไม่ได้

เพราะฉะนั้นสมาธิ ๒ อย่างนะ ฝึกไม่เหมือนกัน อย่างแรกรู้อารมณ์ที่สบาย มีความสุข แล้วจิตสงบอยู่ในอารมณ์อันนั้น อันนี้เอาไว้พักผ่อน อย่างที่ ๒ ก็รู้อารมณ์อย่างที่เคยรู้นั่นแหละ แล้วคอยรู้ทันที่จิต จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้รู้ผู้ดู ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ได้นะ ให้ได้ทั้งสองอย่างล่ะ ดีที่สุด อันหนึ่งเอาไว้พักผ่อน อันหนึ่งเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๑๖
File: 530917B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

mp3 (for download): สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

หลวงพ่อปราโมทย์: แต่ถ้าเราเคยฝึกสมาธิมาแล้วนะ จิตเรารวมเข้าไป ตรงที่จิตรวมเข้าไป ถ้าเราฝึกเต็มรูปแบบนะ ของสัมมาสมาธิแท้ๆ ของจิตสิกขาแท้ๆเนี่ย ตรงที่จิตรวมเข้าไปในปฐมฌานเนี่ย จิตยังไม่มีธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ เด่นดวง เพราะในปฐมฌานยังมีวิตกมีวิจารอยู่ ยังมีการตรึก มีการตรอง ถึงตัวอารมณ์อยู่ จิตยังสนใจไปยังที่ตัวอารมณ์เป็นหลัก เป็นเครื่องผูกมัดจิตให้สงบ

ทีนี้พอขึ้นถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน วิตกวิจารดับไป ถ้าพูดแบบอภิธรรม มันคือฌานที่ ๓ ของอภิธรรม เป็นฌานที่ ๒ ของพระสูตร เราพูดแบบพระสูตรก็แล้วกัน พอขึ้นถึงฌานที่ ๒ วิตกวิจารดับไป มีปีติ มีสุข เอกัคคตา ในขณะนั้นจะเกิดองค์ธรรมที่พิเศษอัศจรรย์ชนิดหนึ่งขึ้น ในพระสูตรจะเรียกว่า เอโกทิภาวะ

เอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ในอรรถกถาบอกว่า คือสัมมาสมาธินั่นเอง เอโกทิภาวะก็คือ สภาวะที่ใจนี้ตั้งมั่น เด่นดวง ขึ้นมา แล้วมันเห็นอารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของถูกรู้ถูกดู ใจมันเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เนี่ยถ้าใจเราเข้าไปถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน เราจะได้ เอโกทิภาวะ ขึ้นมา และถ้าถึง ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ถึงฌานที่ ๘ อะไรเหล่านี้ เอโกทิภาวะก็ยังอยู่ ใจจะตั้งมั่นเด่นอยู่อย่างนั้น

พอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอเอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดินได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง

ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที

เนี่ยถ้าเราฝึกเต็มภูมินะ เราจะเดินมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกายานุปัสสนานะ หรือเวทนานุปัสสนาก็ตามเนี่ย ในอภิธรรมท่านถึงสอบบอกว่า เหมาะกับคนเล่นฌาน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จะทำได้ดีถ้าเราทำฌาน และฌานนั้นถ้าจะดีจริงๆต้องถึงฌานที่ ๒ แล้ว จะมีเอโกทิภาวะขึ้นมา แล้วจะเห็นทันทีว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จะเห็นอย่างนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
File: 510216A
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เบื่อเพราะปัญญาหรือโทสะ

mp 3 (for download) : เบื่อเพราะปัญญาหรือโทสะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เบื่อเพราะปัญญาหรือโทสะ

เบื่อเพราะปัญญาหรือโทสะ

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนเบื่อนะ เบื่อจับจิตจับใจเลย เบื่อ ภาวนาไปช่วงหนึ่ง เบื่อมากเลย เบื่อของนิพพิทา กับเบื่อของโทสะ ไม่เหมือนกัน เบื่อของนิพพิทาเนี่ย เบื่อด้วยปัญญา มันเห็นว่าทุกสิ่งที่ปรุงแต่งน่าเบื่อหมดเลย หาอะไรที่น่ารักสักอันหนึ่งไม่ได้เลย หาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ น่าเบื่อหมด สุขและทุกข์ก็น่าเบื่อเท่าๆกัน กุศลและอกุศลก็น่าเบื่อเท่าๆกัน อย่างนี้เบื่อด้วยปัญญา

ถ้าเบื่อด้วยโทสะ มันจะเบื่ออย่างหนึ่ง มันจะไปเอาอีกอย่างหนึ่ง มันจะเบื่อทุกข์แล้วมันจะเอาสุข มันเบื่อกิเลสมันจะเอากุศล อะไรอย่างนี้ อันนั้นยังไม่ใช่ผลของการทำวิปัสสนาหรอก อันนั้นเป็นผลของกิเลส


แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๑
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๔
File: 510421.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กฎของธรรมะ

mp 3 (for download) : กฎของธรรมะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

กฎของธรรมะ

กฎของธรรมะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเราภาวนานะ เรารู้เลย สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ สิ่งที่เรียกว่า “ตัวเรา” ไม่มี มีแต่รูปธรรมนามธรรมที่มีเหตุก็มารวมกันชั่วครั้งชั่วคราว เดี๋ยวก็แตกสลายออกไป เนี่ยเราภาวนาเพื่อจะล้างความเห็นผิดตรงนี้ ล้างความเห็นผิดที่ว่ามีตัวเรา แล้วก็จะหมดความสงสัยในอดีต หมดความสงสัยในอนาคตไปด้วย

นี่ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ทำหน้าที่ของเขานะ แต่ละอย่างๆ ไม่ใช่จะเดินปัญญาอย่างเดียว ไม่มีศีล ก็ทำผิด ทำความชั่วหยาบทางกายทางวาจา หรือคิดฟุ้งซ่านตลอดเวลา กระทั่งคิดธรรมะนะ ฟุ้งซ่านในธรรมะ ก็เรียกว่าไม่มีสมาธิเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึก เราค่อยๆฝึกให้ถึงพร้อมนะ ให้มีทั้งศีล มีทั้งสมาธิ มีปัญญา เพื่อจะได้ล้างการกระทำผิดทางกายทางวาจา ล้างการคิดผิดๆ ล้างความเห็นผิดๆ ตัวสำคัญที่สุดคือความเห็นนี่แหละ พอ(มีความ)เห็นผิดเสียอย่างเดียวนะ มันก็คิดผิด ทำผิด พูดผิด เพราะฉะนั้นสูงสุดนะก็คือปัญญา แต่ว่าปัญญาอย่างเดียวไม่พอนะ ศีลกับสมาธิก็สำคัญด้วย มันต้องฝึก

เราจะมีศีล เราจะมีสมาธิ เราจะมีปัญญา เราต้องมีสติ ถ้าไม่มีสติอย่ามาคุยเรื่องมีศีล อย่ามาคุยเรื่องมีสมาธิ อย่ามาคุยเรื่องมีปัญญา ไม่มีหรอก เพราะศีล สมาธิ ปัญญา เป็นธรรมะฝ่ายกุศล ไม่เกิดลอยๆหรอก ต้องเกิดร่วมกับสติเสมอเลย ถามว่าแล้วอะไรเป็นเหตุของมันนะ แต่ละอย่างๆก็มีเหตุนะ แต่รวมความแล้วกุศลเนี่ย ต้นตอของกุศลทั้งหลายนะมาจาก “โยนิโสมนสิการ” ความแยบคาย แยบคายในการสังเกตตัวเองนะ สิ่งที่เราทำอยู่นี้ เราทำตามที่พระพุทธเจ้าสอนให้ทำหรือเปล่า? เรางดเว้นการกระทำที่พระพุทธเจ้าห้ามหรือเปล่า? เราทำถูกต้องตามที่ท่านสั่งมั้ย เนี่ยถ้าเราสำรวจตัวเองได้นะ มันจะค่อยๆพัฒนาตัวเองขึ้นมา

ต้องพัฒนาเครื่องมือสำคัญเลย คือความมีสติ คนในโลกนี้ไม่มีสตินะถึงได้ผิดศีล ไม่มีสติทำให้ขาดสมาธินะ ไม่มีสติก็ไม่มีปัญญา ขาดสติอันเดียวนะ ก็คือจิตไม่เป็นกุศลละ เมื่อไรจิตมีสติเมื่อนั้นจิตเป็นกุศล เมื่อไรจิตไม่มีสติเมื่อนั้นจิตเป็นอกุศล อันนี้เป็นกฎเลยนะ เป็นกฎ คล้ายๆ เขาเรียกว่าอะไร อย่างทฤษฎีเรขาคณิตมีกฎของมัน ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฏีทางธรรมะก็มีกฎของธรรมะเหมือนกัน เรียกว่า “ธรรมนิยาม”

กุศลกับอกุศลไม่เกิดร่วมกันหรอก จิตที่มีสติ เป็นจิตที่มีกุศล เป็นกุศล เพราะฉะนั้นถ้ามีสติเมื่อไหร่นะ อกุศลไม่มีเมื่อนั้น นี่เป็นกฎของธรรมะ สติคือความระลึกได้ ถึงรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฎ อันนี้เป็นสติชั้นสูงนะ เรียกว่าสติปัฏฐาน

ถ้าสติธรรมดาๆ สติระลึกอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศล ยกตัวอย่างอยากมาสวนสันติธรรมนะ อยากมาฟังเทศน์ อยากมาใส่บาตร อยากได้ความรู้ไปปฏิบัติ อะไรอย่างนี้ เป็นฉันทะ ไม่ใช่ตัณหาหรอก ฝ่ายดีเขาเรียกฉันทะ ฝ่ายชั่วเขาเรียกตัณหา เนี่ยจิตใจที่มันอยากทำดีทั้งหลายนะ จิตเป็นกุศล ในขณะนั้นมีสติ แต่เป็นสติธรรมดา เป็นสติที่จะพาเราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก แต่เป็นโลกที่ดี ไปสุคติ

แต่ถ้าสติที่จะข้ามโลกนั้นน่ะ จะต้องเป็นสติปัฏฐาน สติปัฏฐานก็คือเป็นสติที่รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นาม ไม่ใช่รู้อย่างอื่น เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกให้มีสติปัฏฐานขึ้นนะ คอยรู้สึกตัว อย่าใจลอย คนในโลกนั้นใจลอยตลอดเวลา มันลืมตัวเองตลอดเวลา


แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
Track: ๘
File: 521218.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๖ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่เป็นกุศลมี ๒ ระดับ

mp 3 (for download) : จิตที่เป็นกุศลมี ๒ ระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตที่เป็นกุศล มี ๒ ระดับ

จิตที่เป็นกุศล มี ๒ ระดับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : กิเลสครอบงำได้เพราะมันไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ถ้ามีก็มีแต่สมาธิ สมาธิเนี่ยมันเกิดร่วมกับอกุศลก็ได้ แต่สติกับปัญญาเกิดแก่จิตที่เป็นกุศลเท่านั้น พวกเราต้องมีสติไว้ก่อน ก่อนจะมีปัญญาได้ต้องมีสติก่อน

จิตที่เป็นกุศลนั้นมีสองระดับ เป็นกุศลที่ไม่มีปัญญาอย่างหนึ่ง กุศลที่มีปัญญาอีกอย่างหนึ่ง

เพราะฉะนั้นมีสติเฉยๆนั้นยังไม่มีปัญญา นี่ถ้าอยากมีวิมุตติ อยากได้วิมุตติ ความหลุดพ้น ต้องมีทั้งสติ ทั้งปัญญา มีสติรู้เท่าทันความปรากฏขึ้น ความหายไปของตัวสภาวธรรม รูปธรรม นามธรรม  สติเป็นตัวรู้ทันสภาวะ เมื่อมีสภาวะอะไรเกิดขึ้น ปัญญาเป็นตัวรู้ลักษณะ คือรู้ว่าสภาวะทั้งหลายนั้นตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ ลักษณะก็คือไตรลักษณ์นั้นแหละ บางทีเรียกว่าลักษณะ ลักษณะ

ลักษณะที่เป็นกลางๆทั่วๆไปสำหรับธรรมชาติที่ปรุงแต่งทั้งหลายมีสามอย่าง – อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เลยเรียกว่าไตรลักษณ์ “ไตร” แปลว่าสาม ลักษณะสามอย่าง คนที่ไปรู้ลักษณะสามอย่างหรืออันใดอันหนึ่งนั้นคือตัวปัญญา สติเป็นตัวรู้รูปธรรมนามธรรมที่เกิดขึ้น

ปัญญาเป็นตัวเห็นความจริงว่ารูปธรรมนามธรรมอันนั้นเป็นไตรลักษณ์ เนี่ยถ้ามีสติมีปัญญาแก่รอบนะ จะรู้เลย สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดมานะล้วนแต่ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ เกิดแล้วดับทั้งสิ้น เนี่ยรู้รวบยอด ก็จะเป็นพระโสดาบัน ไม่มีตัวมีตน สิ่งทั้งหลายเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร นี่เห็นอนัตตา ก็เป็นพระโสดาบัน ไม่มีตัวไม่มีตน

เพราะฉะนั้นเครื่องมือที่เราต้องพัฒนาขึ้นมานะ ตัวแรกชื่อว่าสติ ตัวที่สองชื่อว่าปัญญา สติเป็นตัวรู้ทันลักษณะที่กำลังปรากฏอยู่ ปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของสภาวะ สติเป็นตัวรู้สภาวะที่เกิดขึ้นมา

ปัญญาเป็นตัวเข้าใจความเป็นจริงของสภาวะว่าตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ เพราะงั้นปัญญาเป็นตัวเข้าใจ สติเป็นตัวรู้ทัน ปัญญาเป็นตัวเข้าใจ

ต้องมีสองตัวเนี้ย ถึงจะเอาตัวรอดได้ ได้มรรคได้ผลได้


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
Track: ๘
File: 531112.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๒/๒)

mp3 for download : จากสมถะสู่วิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๒/๒)

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๒/๒)

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอย่างไรจะพลิกจากสมถะขึ้นสู่วิปัสสนาได้ วิปัสสนาคือการมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเมื่อใจเราสงบแล้วเนี่ย อย่าสงบอยู่เฉยๆ เพลินๆ มีแต่ความสุขอยู่เฉยๆ ระลึกรู้กายระลึกรู้ใจไว้ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ เวลาที่จิตถอยออกจากสมาธินะ จิตที่เคยสงบเนี่ยจะเริ่มฟุ้งซ่าน ให้เรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป ตรงนี้เป็นนาทีทองของการปฏิบัติเลย การที่จะพลิกจากสมถะขึ้นวิปัสสนา

ทำความสงบมาแล้ว ตอนที่จิตถอยออกจากความสงบ อย่าเจตนาถอย ถ้าเจตนาถอยจะปวดหัว ใจมันยังคล้ายๆมันยังนอนไม่พอ มันยังพักไม่พอ แล้วไปดึงมันขึ้นมา เหมือนคนกำลังหลับลึกนะ ถูกปลุกขึ้นมา ปวดหัว ถ้าจิตมันถอนขึ้นมาเองนะ ค่อยๆรู้สึก มันรู้สึกขึ้นมาเนี่ย พอรู้สึกขึ้นมาแล้วอย่าไปบอกว่า อ้าว..สบายแล้วหมดเวลาปฏิบัติแล้ว อันนี้ฉลาดน้อยมาก พอจิตถอนขึ้นมานะ ให้คอยรู้สึกกายรู้สึกใจ ร่างกายอยู่ท่าไหนก็รู้สึกไป จะเห็นเลยร่างกายที่อยู่ท่านี้อาจจะนั่งคอเอียงก็ได้ นั่งแล้วแข้งขาเหยียดก็ได้ ไม่สำคัญหรอก ไม่สำคัญว่านั่งท่าไหนนะ สำคัญที่คุณภาพข้างใน จิตใจเป็นอย่างไร

มีน้องร่วมสาบานของหลวงพ่อ เขาเรียก ซือตี๋ เวลาภาวนา ภาวนาเก่งนะ คนนี้ ภาวนาดี ภาวนาเข้าใจธรรมะ แต่เวลานั่งสมาธินะ ไม่น่านับถือ นั่งขัดสมาธิ์ดีๆนี่นะ พอจิตรวมลงไปนะ แข้งขามันจะเหยียดออกไป กางแข้งกางขานะ คนก็แอบมาหัวเราะ ครูบาอาจารย์ก็เตือน อย่าไปหัวเราะเขานะ ตัวเขาไม่ตรงแต่จิตเขาตรง ไปหัวเราะเขาบาป เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ ร่างกายอยู่ในท่าไหนเราก็รู้สึกไป พอรู้สึกตัวขึ้นมาใจจะเริ่มคิด เราก็รู้ทันว่าใจมันคิด ใจมันเป็นอย่างไรก็ตามรู้มันไปเลย นี่เป็นวิธีการนะ

แต่บางคนพอจิตถอยออกจากสมาธิแล้วถอยไม่หมด ติดความสงบออกมาด้วย ตัวนี้มีปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าทำสมาธิแล้วพอออกจากสมาธินะ ใจตื่นขึ้นมาเต็มที่ อยู่ในโลกของมนุษย์ธรรมดาเลย เรียกว่าจิตมาอยู่ในกามาวจรภูมิเลยเนี่ย ดีที่สุดเลย แต่ถ้าจิตมันติดค้างอารมณ์ในรูปาวจร อรูปาวจร อารมณ์ในฌานออกมา มันจะซึมๆไปนิดนึง มันจะคล้ายๆ.. หลวงพ่อทำให้ดู ทำเก่ง.. เนี่ยโลกว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตน ไม่มีอะไร ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา จะไปเห็นอะไร โง่.. ฉลาดน้อยๆ

ทีนี้ถ้าจิตมันค้างอารมณ์ออกมานะ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ให้กระตุ้นให้จิตทำงาน เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์วัดป่าจะบอกว่า พอทำความสงบแล้วให้พิจารณากาย ให้มาพิจารณากาย พุทโธแล้วมาพิจารณากาย รู้ลมหายใจแล้วพอถอยออกมาแล้วมาพิจารณากาย พิจารณาเพื่ออะไร เพื่อกระตุ้นไม่ให้จิตติดความสงบเฉยๆของสมาธิออกมา ให้มันหลุดออกมาสู่โลกภายนอกนี้ให้ได้ พอพิจารณาแล้วจิตมันกระฉับกระเฉงแล้ว จิตยอมทำงาน จิตยอมรู้กาย จิตยอมรู้ใจ หน้าที่ของเราก็คือ เจริญสติในชีวิตประจำวันต่อไป

เพราะฉะนั้นกรรมฐานที่ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านสอน มันจะมี ๓ สเต็ป อันหนึ่งทำความสงบเข้ามา ทำความสงบอย่างเดียวนะ ไม่ดี หลวงปู่มั่นบอกทำความสงบมาก เนิ่นช้า ทีนี้พอสงบแล้วนะ ใจยังค้างคาอยู่ในความสงบนะ ท่านให้พิจารณากาย ทำไมต้องพิจารณากายตัวเอง เพราะว่าพิจารณาแล้วกิเลสมันไม่เกิด ถ้าให้ไปพิจารณากายสาวนะ เดี๋ยวมันจะสวยขึ้นมา ยิ่งพวกที่ติดสมาธินะ พอออกมาเจอหมาๆจะสวยด้วยซ้ำไป เพราะกิเลสจะดีดตัวอย่างรุนแรงเลย หรือเป็นคนขี้โมโห ไปทำสมาธินะ สงบไป พอออกจากสมาธินะ ขี้โมโหมากกว่าเก่า มันคิดดอกเบี้ยนะ

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณาร่างกายตัวเอง พิจารณาแล้วมันไม่เกิดกิเลสขึ้นมา แต่เป็นการกระตุ้นให้จิตมันทำงาน เป็นการกระตุ้นเพราะหลวงปู่มั่นสอนว่าระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย เพราะฉะนั้นท่านจึงมาพิจารณากายกัน ปลอดภัย พิจารณากายตนเองนี่ปลอดภัย พิจารณาอย่างอื่นไม่ค่อยปลอดภัย

ทีนี้พิจารณาไม่ใช่พิจารณามันทั้งวันทั้งคืน หลวงปู่มั่นบอกอีก พิจารณามากฟุ้งซ่าน เห็นมั้ย พิจารณาพอดีๆ พอให้จิตมันตื่นตัวขึ้นมา คล่องแคล่ว ปราดเปรียว กระฉับกระเฉง ถัดจากนั้นท่านถึงสอน บอกว่า การเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ คือหัวใจของการปฎิบัติ เห็นมั้ย หลวงปู่มั่นสอนนะ เป๊ะเลย

บางคนไปเข้าใจคลาดเคลื่อน ไปได้ยินหลวงปู่มั่นสอนว่า พุทโธๆ โอ๊ย.. สมถะ แล้วจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ยังไง โกหก ไม่จริงหรอก ปรามาสล่วงเกินครูบาอาจารย์ ไม่รู้หรอกว่า ตรงนั้นท่านก็ทำสมถะ ท่านก็รู้ว่าทำสมถะ ทำสมถะแล้วท่านก็มาพิจารณากาย ท่านก็รู้ว่าไม่ใช่วิปัสสนา หลวงปู่เทสก์เคยสอนชัดเลยว่า คิดพิจารณากายไม่ใช่วิปัสสนา หลวงพ่อพุธก็บอกนะว่า วิปัสสนานะเริ่มเมื่อหมดความคิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่คิดเอา

ทีนี้บางคนฟังธรรมะของครูบาอาจารย์ไม่ตลอดสาย ฟังได้นิดๆก็ปรามาสไว้ก่อน เฮ้ยพุทโธเป็นแต่สมถะ เพราะไม่ได้ใช้อารมณ์รูปนาม ใช้ไม่ได้หรอก คิดพิจารณากายก็ใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้เห็นสภาวธรรมเกิดดับ แต่เป็นการคิดเอา ไม่ใช่วิปัสสนา ก็ไม่ใช่วิปัสสนาสิ ใครว่าวิปัสสนาล่ะ หัวใจอยู่ตรงที่มีสติในชีวิตประจำวันนี้ต่างหาก ท่านสอนว่า ยืน เดิน นั่ง นอน นะ จะครองผ้าจีวร สังฆาติ จะฉันอาหาร จะขับถ่าย ให้มีสติ มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ตรงนี้แหละคือตัววิปัสสนาแท้ๆ ท่านถึงบอกหัวใจของการปฏิบัติอยู่ตรงนี้

ทีนี้บางคนเรียนไม่ดี หลังๆเริ่มหย่อนไป เอะอะทำความสงบอย่างเดียว แล้วก็ไม่ยอมพิจารณากาย หรือว่าสงบแล้วพิจารณากาย แต่พอหมดเวลาปฏิบัตินะ ไม่เจริญสติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ได้เจริญสติในชีวิตประจำวันนะ อย่ามาพูดถึงมรรค ผล นิพพาน เลย ห่างไกล ก็ตอนทำสมาธิอยู่ วันหนึ่งๆจะทำสักกี่ชั่วโมง ใช่มั้ย เวลาที่เหลืออยู่ข้างนอกนี้ เราปล่อยทิ้งไปเฉยๆ กิเลสก็เอาไปกินหมด ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา

เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำความสงบแล้ว อย่าสงบเฉยอยู่ ให้ต่อขึ้นวิปัสสนา พอจิตถอนออกมาจากสมาธิมานะ รู้กายรู้ใจตามที่เขาเป็น ตามรู้ไปเลย แต่ถ้าถอนออกมาแล้วมันไม่ยอมรู้กายรู้ใจ มันเซื่องๆซึมๆอยู่อย่างนั้นนะ หาอะไรมายั่วมัน ให้จิตมันทำงาน คิดพิจารณากายก็ได้ หรือพิจารณาธรรมะอะไรก็ได้ ให้จิตมันทำงาน อย่าให้มันเฉย พอจิตมันทำงานแล้วคอยรู้สึก แต่อย่าให้มันฟุ้งออกไปข้างนอกนะ คอยรู้วนเวียนอยู่ในกายในใจตัวเอง

พอจิตมันเคลื่อนไหวคล่องแคล่วปราดเปรียวแล้วเนี่ย จิตจะนุ่มนวล จิตจะอ่อนโยน จิตจะคล่องแคล่วปราดเปรียว มีคุณสมบัติอย่างนี้แหละ ในพระไตรปิฎกก็พูดถึงคุณสมบัติเหล่านี้ว่า ทำสมาธิแล้วนะ จิตเบา จิตอ่อน จิตคล่องแคล่วว่องไว จิตควรแก่การงาน คือไม่ถูกกิเลสไม่ถูกนิวรณ์ครอบงำ จิตซื่อตรงในการรู้อารมณ์ โน้มน้อมจิตนี้ให้เกิดญาณทัศนะ ก็คือมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ ด้วยจิตที่เบาๆ จิตที่สบาย จิตที่รู้เนื้อรู้ตัว จิตที่คล่องแคล่วว่องไว นี่ รู้อย่างนี้เรื่อย.. อย่าให้มันเฉย..ซึมกระทืออยู่ อย่าน้อมจิตไปอยู่ในความว่าง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๑/๒)

mp3 for download : การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๑/๒)

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๑/๒)

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันหนึ่งทำฌานไป ยกตัวอย่าง เรารู้ลมหายใจ ทีแรกลมหายใจนี้ เขาเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” รู้ตัวลมหายใจ เห็นลมนะ ลมกระทบ ดูเล่นๆ ดูแบบใจเป็นคนดู อย่าให้จิตไหลเข้าไปอยู่ที่ลมนะ จิตไหลไปอยู่ที่ลมจะเป็นการเพ่งลม ฌานไม่เกิดหรอก ให้รู้มัน ให้รู้ลม เห็นร่างกายมันหายใจ เห็นหายใจอย่างนี้ หายใจ ดูอย่างสบายๆ ดูอย่างผ่อนคลาย ถ้าไปเพ่งแล้วจะไม่ผ่อนคลาย ถ้าจิตไม่ผ่อนคลายจิตจะไม่มีความสุข จิตไม่มีความสุขสมาธิจะไม่เกิด จำไว้นะ มันมีกระบวนการของมันนะ มีเหตุ มีผล มีต้น มีปลาย ทั้งสิ้นเลย

เรารู้ เราเห็นร่างกายของเราไป รู้เล่นๆไปนะ ดูไปเรื่อยๆจิตใจมีความสุข มีความสบาย ลมหายใจค่อยๆแปรสภาพไปเป็นแสงสว่าง เราจะเห็นลมเป็นแสงเลย เป็นเส้น..เลยนะ การที่เรารู้แสงสว่างอันนี้ ตัวนี้ไม่ใช่บริกรรมนิมิต ไม่ใช่ลมตัวเดิมแล้ว ตัวนี้เขาเรียกว่า “อุคหนิมิต” เป็นอุคหนิมิตขึ้นมา เราดูเห็นแสงสว่าง ใจเราสบาย ดูเล่นๆไป ทีแรกมันจะยืดยาว เห็นเป็นแสงเป็นเกลียววิ่ง มันจะรวมขึ้นมาเป็นดวง พอเราเห็นดวงนี้ เรารู้อยู่ที่ดวงนี้นะ มีสติรู้อย่างสบายๆ ดวงนี้สวยงามนะ ผ่องใส เหมือนแก้วสวยงาม เห็นแล้วมีความสุข ตัวดวงสว่างนี้เรียกว่า “ปฎิภาคนิมิต” เห็นมั้ย ไม่ใช่ตัวลมแท้ๆแล้ว กลายเป็นรู้นิมิตแล้ว ทำฌานไม่ใช่รู้ตัวลมนะ ทำฌานสุดท้ายไปรู้ตัวนิมิต มีนิมิตขึ้นมาแล้วก็รู้นิมิตไป นิมิตนี้สวยงาม นิมิตนี้ย่อได้ขยายได้นะ เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ มีความสุข เห็นแล้วมีความสุข

เห็นแล้วมีความสุขจิตก็มีปีติขึ้นมา จิตนี้มีความสุขที่ได้รู้นิมิตนี้ เพราะฉะนั้นจิตนี้จะเกาะอยู่กับนิมิตนี้โดยที่ไม่ได้เจตนา เรียกว่ามันมี “วิตก” คือมันตรึกถึงตัวนิมิตนี้ จิตนี้จะเคล้าเคลียอยู่กับตัวนิมิตนี้ เรียกว่า “วิจาร” จิตจะมีปีติ มีความสุขขึ้นมา มีเอกัคตาขึ้นมา

ภาวนาต่อไปอีกนะ จิตจะเห็นเลยว่า จิตยังถลำไปเกาะอยู่กับนิมิตนี้ ไม่ค่อยได้อะไรขึ้นมา ก็สังเกตเห็นอีก นิมิตนี้เป็นของถูกรู้ถูกดูนะ จิตมันถอนออกจากนิมิต มันละวิตกละวิจารเสีย ม้นเข้ามารู้อยู่ที่ตัวรู้ ตัวรู้คือ “เอโกทิภาวะ” ถึงผุดขึ้นในฌานที่สอง เอโกทิภาวะ คือตัวสัมมาสมาธิแท้ๆนี่เอง เกิดในฌานที่สอง ตัวนี้ยังเป็นแค่ตัวรู้ เป็นธรรมชาติรู้

จะทำฌานสูงขึ้นไปก็ได้หรือจะทำอยู่แค่นี้ก็ได้ พอออกจากตรงนี้แล้วเนี่ย อำนาจของสมาธิที่เราทำนี้ยังทรงอยู่อีกช่วงหนึ่ง จิตของคนซึ่งเดินมาถึงตรงนี้ ถอยออกมาแล้วนะ มันจะมีตัวรู้อยู่ อยู่ได้เป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าคนไหนเกิน ๗ วัน ต้องรู้เลยว่า ไปประคองตัวรู้ไว้แล้ว ผิดอีกแล้ว มันอยู่ไม่นานหรอก อยู่วันสองวัน อะไรอย่างนี้ วันสองวันแล้วเสื่อมไป เราก็ทำเอาใหม่ อย่าอยากทำ ถ้าอยากให้ได้ดีอย่างเดิม มันจะไม่ได้ ทีนี้ฝึกไปเรื่อย จนจิตมันชำนาญนะ มันรู้จักตัวรู้ชำนาญ ต่อไปถึงไม่ทรงฌานอยู่นะ นึกถึงมันก็มีอยู่แล้ว นี่เป็นเพราะมันชำนาญแล้ว มันคือสภาวะที่ “รู้” นั่นเอง

ทีนี้พอมีสภาวะที่ “รู้” แล้วมาเดินปัญญาต่อ เห็นกายมันทำงาน ทำไมต้องดูกาย เพราะว่าถ้าดูจิตนะ มันจะนิ่งไปเลย เพราะว่าจิตนั้นมันทรงตัวอยู่ เป็นตัวรู้ไปแล้ว มันไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งอะไรแล้ว ถ้าอยู่ๆไปดูใส่ตัวจิต มันก็จะไม่มีอะไรให้ดู มีแต่ว่างๆ นิ่งๆ ไป เพราะฉะนั้นพอจิตทรงฌานะ แล้วถอยออกมาเนี่ย ควรจะมารู้กาย หรือรู้เวทนา อย่าไปดูจิต เพราะฉะนั้นรู้กายและเวทนาเนี่ย เหมาะกับสมถยานิก

พวกที่ไม่มีสมาธินะ ไปดูกายก็ไปเพ่งกาย ไม่มีจิตที่ทรงตัวเป็นคนดูอยู่ จิตกับกายจะไม่แยกออกจากกัน ถ้าจิตกับกายไม่แยกออกจากกัน เรียกว่าแยกรูปแยกนามไม่ได้ ถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ อย่ามาพูดเรื่องวิปัสสนา เพราะการเจริญปัญญานะ ญาณตัวแรกเลยชื่อ “นามรูปปริเฉทญาณ” แยกรูปแยกนามออกมา กายอยู่ส่วนกายนะ จิตอยู่ส่วนจิต จิตมันตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นกายมันทำงาน แต่ถ้าจิตเผลอไผลไปที่อื่นนะ สติก็ระลึกได้อีก รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิตนะ ไม่ใช่เพ่งอยู่แต่กายอย่างเดียว นี่สำหรับคนซึ่งทำสมาธิเต็มรูปแบบ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีลเป็นปัจจัยให้ถึงนิพพาน

mp3 for download : ศีลเป็นปัจจัยให้ถึงนิพพาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ศีลเป็นปัจจัยให้ถึงนิพพาน

ศีลเป็นปัจจัยให้ถึงนิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนที่มีศีลสมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530425A.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าไม่มีศีล ก็ไม่มีสมาธิ

mp3 for download : ถ้าไม่มีศีล ก็ไม่มีสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าไม่มีศีล ก็ไม่มีสมาธิ

ถ้าไม่มีศีล ก็ไม่มีสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลย มีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย.


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530425A.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีปัญญาดีคือเข้าใจอริยสัจจ์

mp3 for download : มีปัญญาดีคือเข้าใจอริยสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มีปัญญาดีคือเข้าใจอริยสัจจ์

มีปัญญาดีคือเข้าใจอริยสัจจ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตัวสำคัญคือมีสติไว้ พอมีสติจิตเป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลนะมันสว่าง แล้วถ้าเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญานี้จะสว่างมาก ท่านถึงบอกว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี พระอริยเจ้าทั้งหลายนี้แสงมาก เคยฟังสวดมนต์ของสวนโมกข์มั้ย บอกว่า พระอริยเจ้ามีปัญญาดี มีปัญญาดีคือท่านเข้าใจอริยสัจจ์ พวกเราภาวนาเนี่ย วันหนึ่งจะเข้าใจอริยสัจจ์ เรียกว่ามีปัญญาดี ตอนนี้ปัญญายังไม่ดีนะ ยังไม่เห็นอริยสัจจ์

ปัญญาก็เป็นชั้นๆนะ ปัญญาเป็นขั้นๆไป สมาธิก็เป็นขั้นๆไป ยกตัวอย่างปุถุชนนะ ศีลนี่น้อย ปุถุชนที่มีศีลนี่มีน้อย สมาธิก็ไม่ค่อยมี ปัญญาก็ไม่มี พอได้เป็นพระโสดาบันนะ มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย ดูสิขนาดพระโสดาบันยังบอกว่ามีปัญญาเล็กน้อยเลย ปัญญาเล็กน้อยของพระโสดาบันก็คือ ท่านเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี ของเรายังเห็นว่ามีตัวเรา รู้สึกมั้ย เพราะฉะนั้นพูดซื่อๆว่าไม่มีปัญญา พูดตรงๆก็คือ ยังไม่มีปัญญา ถ้าเป็นพระโสดาบันเนี่ยมีปัญญาเล็กน้อย คือ เห็นความจริงแล้วตัวเราไม่มี

พอได้พระสกทาคาฯนะ ก็มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิปานกลาง มีปัญญาเล็กน้อย สมาธิปานกลางหมายถึงใจจะตั้งมั่น ไม่แฉลบซ้ายแฉลบขวา ใจของพวกเรารู้สึกมั้ยแฉลบตลอดเวลา วับ วับ วับ วับ วับ ตลอดเวลานะ ใจเราไม่มีคำว่าตั้งมั่น ทำสมาธิก็ตั้งขึ้นมาได้ด้วยการเพ่งเอาไว้ แต่ที่จะตั้งด้วยตัวเองมันไม่ตั้ง มันแฉลบตลอดเวลา กระทั่งพระโสดาฯยังแฉลบเลย พระสกทาคาฯนี่ใจมีสมาธิปานกลาง หมายถึงว่ามันตั้งมั่นอยู่ได้ โดยที่ไม่ได้บังคับ ไม่ได้ประคอง ยกตัวอย่างเวลาหลงไปนะ จะหลงสั้น ไหลแว้บไปก็รู้สึกแล้ว แล้วใจก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ไหลแว้บก็รู้สึกแล้ว ใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา เวลาของความตั้งมั่นมันเยอะ

ของเรานึกออกมั้ย เวลาหลงเยอะ เวลารู้ตัว เวลาตั้งมั่น มีนิดเดียว นึกออกมั้ย หลงทีหนึ่ง ๕ นาที แล้วรู้สึกตัวทีหนึ่ง ๑ แว้บ ใช่มั้ย หลงไป ๓ นาที รู้สึกแว้บหนึ่ง อะไรอย่างนี้ อันนี้พวกภาวนาเก่งแล้วนะ คนภาวนาไม่เป็นมันหลงทั้งวันเลย หลงตั้งแต่ตื่นจนหลับเลย ไม่มีรู้สึกตัวสักแว้บเดียวเลย เพราะฉะนั้นปุถุชนนั้นลำบาก พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า คนส่วนใหญ่ตายแล้วไปอบาย เพราะไม่ค่อยมีสติ

ถ้าเป็นพระโสดาฯนะ ศีลบริบูรณ์แล้ว สมาธิเล็กน้อย ปัญญาเล็กน้อย เป็นพระสกทาคาฯก็มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิปานกลาง มีป้ญญาเล็กน้อย ปัญญายังน้อยนะ พระสกทาคาฯ นี่ขนาดสกทาคาฯปัญญายังน้อย แล้วพวกเราล่ะจะขนาดไหน สรุปพวกเรายังไม่ได้มีปัญญานะ

ถ้าได้พระอนาคาฯนะ ท่านบอกว่า มีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาปานกลาง สมาธิของพระอนาคาบริบูรณ์แล้ว เพราะว่าอะไร เพราะว่ากามมันมายั่วไม่ได้แล้ว ท่านเห็นความจริงในกายนี้แจ่มแจ้งเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆเลย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เป็นตัวทุกข์นะ ไม่เห็นจะเป็นของดีของวิเศษเลย เพราะฉะนั้นใจท่านไม่ไหลไปในกามคุณอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใจของท่านตั้งมั่นนะ เพราะใจไม่ไหลไป ใจก็ตั้งมั่นอยู่ โดยไม่ต้องประคองไม่ต้องรักษา อย่างนี้ถือว่ามีสมาธิบริบูรณ์แล้ว

ปัญญาของท่านปานกลาง ปัญญาปานกลางเป็นอย่างไร คือท่านเห็นความจริงแล้วว่า กายนี้มันทุกขฺ์ล้วนๆนะ นี่คือปัญญาปานกลาง พวกเราเห็นกายเป็นทุกข์ล้วนๆมั้ย ไม่เห็นนะ เราเห็นว่ากายนี้เป็นทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้าง แถมยังเห็นอีกว่ากายนี้เป็นตัวเรา ใจนี้เป็นตัวเรา เบื้องต้นก็ไม่มีนะ เบื้องกลางก็ไม่มี ตัวปัญญา

ทีนี้พอภาวนาจนสุดขีดเลย ศีลบริบูรณ์ สมาธิบริบูรณ์ ปัญญาบริบูรณ์ เต็มบริบูรณ์ คือ ภูมิของพระอรหันต์ พระอรหันต์มีปัญญาบริบูรณ์ได้อย่างไร ปัญญาบริบูรณ์ของท่าน คือท่านเห็นว่าตัวจิตนี้แหละตัวทุกข์ ท่านหมดความยึดถือจิต เมื่อไม่ยึดถือจิตก็จะไม่ยึดถือสิ่งใดอีกแล้ว เพราะสิ่งที่เรายึดถือเหนียวแน่นที่สุดก็คือตัวจิตนั่นเอง เพราะท่านเห็นจิตเป็นตัวทุกข์ ท่านก็ปล่อยวาง ไม่ยึดถือ มีปัญญาแก่รอบแล้ว เห็นแจ่มแจ้งในขันธ์ ๕ ทั้งรูป ทั้งนาม ทั้งกาย ทั้งใจ ว่าเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ นี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง

เมื่อรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ท่านละสมุทัยอัตโนม้ติ ความอยากให้กายให้ใจเป็นสุข ความอยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ไม่เกิดขึ้นอีก เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ ก็ละสมุทัย เป็นสมุจฺเฉทปหานฺ*เลย ไม่เกิดขึ้นอีกแล้วสมุทัย ละแล้วละเลยนะ

เมื่อสมุทัยถูกละ นิโรธ คือนิพพาน ก็ปรากฎเต็มบริบูรณอยู่ต่อหน้าต่อตา เพราะนิโรธคือความสิ้นตัณหา นิพพานคือความสิ้นตัณหา สิ้นตัณหาได้เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง

*สมุจเฉทปหาน การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค
อ้างอิงจาก : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีศีล ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปทางกายทางวาจา

mp3 for download : มีศีล ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปทางกายทางวาจา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มีศีล ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปทางกายทางวาจา

มีศีล ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปทางกายทางวาจา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ยกตัวอย่างอยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย ถ้าทุศีลเสียอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530425A.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มรรคผลจะเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

mp3 for download : มรรคผลจะเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มรรคผลจะเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

มรรคผลจะเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530425A.mp3
ลำดับที่ ๑๒
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

mp3 for download : สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

สติปัฏฐานทำให้เกิดปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้เราจะทำอย่างไรให้เราจะมีศีลบริบูรณ์ มีสมาธิบริบูรณ์ มีปัญญาบริบูรณ์ ขึ้นมาได้นะ เราต้องหัดเจริญสตินะ ถ้าเจริญสติถูกต้อง ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเกิดขึ้นมา

สติที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดเนี่ย ต้องเป็นสติปัฏฐาน ความจริง ถ้าพูดตรงๆก็คือ สติธรรมดาเนี่ยทำให้มีศีลได้ สติธรรมดาทำให้มีสมาธิได้ แต่สติธรรมดาทำให้เกิดปัญญาไม่ได้ ต้องสติปัฏฐานถึงจะทำให้เกิดปัญญา

ยกตัวอย่าง เรามีสตินะ กิเลสเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้น เรารู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้นะ ศีลมันเกิดขึ้นเอง ยังไม่ทันจะเห็นความเป็นไตรลักษณ์เลย ยังไม่ได้เห็นว่า โลภ โกรธ หลง เป็นไตรลักษณ์เลยนะ แค่รู้ทันมัน มันดับไปเองแล้ว เพราะมีสติเมื่อไหร่นะ อกุศลจะดับทันที เมื่ออกุศลดับไปนะ อกุศลครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็ไม่ผิดศีล เห็นมั้ย แค่มีสติธรรมดานี่แหละ ก็ไม่ผิดศีลได้

ยกตัวอย่าง มันเกลียดคนนี้มากเลย เห็นแล้วเกลียดมากเลย มันเกิดรู้ทันว่าเกลียดขึ้นมานะ ยังไม่ทันจะเห็นว่าความเกลียดก็เป็นไตรลักษณ์ จิตที่ไปรู้ความเกลียดก็เป็นไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นน่ะ แค่มีสติขึ้นมาความเกลียดก็ดับไป ความเกลียดครอบงำจิตไม่ได้ ก็ไม่ฆ่าเขา ไม่ตีเขา ไม่ด่าเขา อะไรอย่างนี้ ศีลก็มีขึ้นมา

ไปเห็นของคนอื่น สวยๆงามๆ ใจมันอยากได้ เกิดรู้ทันว่าอยากได้ เนี่ยยังไม่ทันมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์เลยว่า ความอยากก็เป็นไตรลักษณ์ จิตที่รู้จิตที่มีความอยากขึ้นมา ก็เป็นไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้ สิ่งที่เราไปอยากเข้าก็เป็นไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นหรอก แค่มีสติขึ้นมานะ เห็นใจมันอยาก ความอยากก็ดับไปแล้ว

ทำไมมันดับได้เอง เพราะเมื่อไรมีสติเมื่อนั้นจิตเป็นกุศล จิตที่เป็นกุศล ไม่เกิดร่วมกับอกุศล อกุศลต้องดับไปเอง ไม่ต้องทำอะไร มันดับของมันเอง ตรงนี้ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนานะ ถึงขั้นมีสติรู้ทันก็ดับไป

หรือจิตใจของเราแส่ส่าย วิ่งซ้ายวิ่งขวาตลอดเวลา วิ่งร่อนเร่ไปเรื่อย เรามีสติรู้ทันนะ ใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา หรือไปกำหนด มีสติไปจับอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข จิตจะสงบ จิตของเราปกติร่อนเร่ตลอดเวลา หนีไปหนีมาๆ เรื่อย ทำไมมันหนีได้ล่ะ มันถูกอารมณ์มายั่ว เที่ยวหาความสุข เที่ยวหนีความทุกข์ไปเรื่อย เรารู้ทันๆนะ ใจมันจะตั้งขึ้นมา เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นใจที่วิ่งไปวิ่งมานะ รู้เฉยๆนะ ใจก็จะตั้ง เพราะคนที่รู้เนี่ย ไม่ได้วิ่ง คนที่วิ่งไม่ได้รู้ จิตดวงที่วิ่งนั้นวิ่งไปแล้ว จิตอีกดวงหนึ่งเป็นคนรู้ ก็แยกออกมา ตัวที่วิ่งก็ดับไป เกิดตัวที่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นมีสตินะใจก็ตั้งมั่น ใจก็สงบได้เอง ยังไม่ได้ขึ้นวิปัสสนาเลย

แต่จะมีสติที่จะใช้ทำวิปัสสนา เดินปัญญา เรียกว่าเจริญปัญญา ต้องเป็นสติปัฏฐาน สติอื่นๆใช้ไม่ได้ มีคนหนึ่งเขียนจดหมายมาเล่าให้หลวงพ่อฟัง เขียนมายาวมากเลย เขียนมายาวมาก ไม่เคยเจอใครเขียนจดหมายมายาวเท่านี้ พอๆกับหนังสือเล่มหนึ่งเล็กๆ อ่านซะเหนื่อยเลย ก็เป็นเรื่องคอยรู้ทันนะ แล้วก็คอยคิดพิจารณา ยกตัวอย่างเห็นร่างกายก็พิจารณาเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ อะไรอย่างนี้ อันนี้ยังคิดอยู่ ยังเจือด้วยการคิดอยู่ ตราบใดที่ยังเจือด้วยการคิดจะไม่ขึ้นวิปัสสนาหรอก

ต้องทำสติปัฏฐานให้เป็นนะ คอยรู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ แล้วก็รู้ความเป็นจริงของกายของใจ ตามดูมันไปอย่างที่มันเป็น นี่คือการเจริญสติปัฏฐานนะ เบื้องต้นคอยรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ อย่าไปเพ่งใส่มัน แค่รู้สึกถึงความมีอยู่ของกายของใจ รู้สึกไปเรื่อยนะ พอเรารู้สึกบ่อยๆ รู้สึกไปเรื่อยนะ ทีแรกเรารู้สึกจะรู้สึกเป็นจุดๆ แต่ที่เรารู้สึกที่ละจุดๆ ทีละขณะๆ เนี่ย พอมากๆเข้านะ มันจะเริ่มเห็นแล้ว ขณะนี้กับอีกขณะหนึ่ง มันเริ่มไม่เหมือนกัน มันจะเริ่มเห็นสภาวะเนี่ยมันเปลี่ยนๆๆไปเรื่อย

ยกตัวอย่างร่างกายนะ อยู่ตรงนี้ๆๆๆ มันก็เปลี่ยน หายใจออก หายใจเข้า เนี่ยมันเปลี่ยนนะ จิตก็เหมือนกัน จิตมันก็ขยับ ปั๊บๆๆๆ มันเปลี่ยนไปเรื่อย

ยกตัวอย่างความโกรธเกิดขึ้นนะ เห็น พุ่งขึ้นมาปึ๊บๆๆๆ ถึงหน้าแล้ว เรียกว่าเลือดขึ้นหน้า นี่โกรธแรง พอไปเห็น เดี๋ยวมันก็ลง ปุ๊บๆๆๆ เดี๋ยวก็ขึ้นอีก พอคิดอีก ขึ้นอีก พอไปรู้มัน มันก็ลง เราเห็น โอ๊ะ! มันเปลี่ยนแปลงแฮะ มันขึ้นๆลงๆได้เองแฮะ การที่เห็นมันเปลี่ยนแปลงเรียกว่าเห็นอนิจจังนะ เห็นเลยมันไม่คงทนอยู่ที่ใดที่หนึ่งนะ(ไม่คงทนอยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่งนะ-ผู้ถอด) เรียกว่าทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ เห็นว่ามันเป็นของมันเอง ถ้าเราคิดขึ้นมานะ โทสะก็เกิด พอไปรู้ทัน ไม่ได้คิดนะแต่ว่ารู้ทัน โทสะก็ดับ พอมีสติโทสะก็ดับ พอมีพยาบาทวิตก*โทสะก็เกิด เห็นมั้ย มันเป็นเองมัน ไม่ใช่เรา

นี่เราเดินปัญญา แต่ไม่ใช่คิดนะ ที่พูดให้ฟังเนี่ย ไปรู้เอา ทีแรกเราจะรู้เป็นจุดๆอย่างนี้ แต่รู้บ่อยๆแล้วเราจะเห็นว่ามันเปลี่ยน ไม่ใช่ดูไม่ให้คลาดสายตานะ บางคนเข้าใจผิด คิดว่าต้องจ้องไม่ให้คลาดสายตา เช่นดูพัดเนี่ย จ้องๆๆ อย่างนี้ไม่ใช่หรอกนะ

เวลาที่สติระลึก มันจะรู้ระลึกตรงนี้ได้แว้บหนึ่ง แล้วมันดับไป มันมาระลึกตรงนี้อีกแว้บหนึ่งแล้วมันดับ ระลึกตรงนี้อีกแว้บแล้วมันดับ มันจะเห็นน่ะว่ารูปแต่ละรูปมันเกิดดับได้ นามธรรมแต่ละอันก็เกิดดับวับๆๆๆไป อย่างนี้เรียกว่าเราเจริญปัญญาแล้ว มีปัญญา เห็นอะไร เห็นไตรลักษณ์

ทำสติปัฏฐาน มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ใจตั้งมั่นเป็นคนดู เราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจ เราเห็นปัจจุบันนะ เป็นขณะๆไป พอเห็นหลายๆอันนะ ต่อๆกันไปเรื่อยนะ ตามรู้เนืองๆ ท่านถึงบอกให้รู้เนืองๆ ไม่ใช่รู้ครั้งเดียว ถ้ารู้ครั้งเดียวไม่พอนะ ต้องรู้เนืองๆ

รู้เนืองๆไม่ใช่ว่า วันนี้โกรธแล้วรู้ พรุ่งนี้โกรธรู้อีก อย่างนั้นไม่ใช่ ถ้าความโกรธผุดขึ้นมาก็รู้ไปๆ เห็นมันดับไปนะ เดี๋ยวตัวอื่นเกิดขึ้นมาแล้วก็รู้..เห็นมันดับไป นี่รู้เนืองๆ แต่ไม่ได้จ้อง ถ้าจ้องเนี่ยรู้แบบไม่ให้คลาดสายตานะ ผิดนะ

*พยาบาทวิตก ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น, ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายใจ ไม่ใช่ภาวนาเพื่อให้มันดี

mp 3 (for download) : เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายใจ ไม่ใช่ภาวนาเพื่อให้มันดี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายใจ ไม่ใช่ภาวนาเพื่อให้มันดี

เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายใจ ไม่ใช่ภาวนาเพื่อให้มันดี

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราไม่ได้ภาวนาเพื่อจะเป็นคนดี แต่ห้ามชั่วนะ ทุกคนต้องถือศีล ๕ นะ ถ้าไม่มีศีล ๕ ภาวนาไม่ขึ้น เชื่อหลวงพ่อเถอะ ต้องมีศีล เพราะฉะนั้นเรามีศีล ๕ ไว้ แต่เราไม่ได้ภาวนาเพื่อจะเป็นคนดี เราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงว่าไม่มีคนต่างหากล่ะ มันเลยขั้นที่จะเป็นคนดีไปเยอะเลย เราภาวนาเพื่อให้เห็นว่าจริงๆไม่มีคนหรอก มีแต่อะไร มีแต่รูปธรรมกับนามธรรม รูปธรรมเป็นก้อนธาตุ อาศัยพ่อแม่เกิดมา อาศัยอาหาร อาศัยน้ำ อาศัยอากาศ อยู่กับโลกนี้ วันหนึ่งก็คืนก้อนธาตุนี้ให้โลกไป

ความจริงต้องคืนตั้งแต่แรก ถ้าเป็นพระอนาคาฯก็คืนก้อนนี้ให้โลกแล้ว แต่ของเราไม่คืนหรอก เรายักยอกไว้ ไอ้นี่ของเรานะ เมื่อตรงนี้เป็นของเรา ตรงนี้ไม่ใช่ของเราละ นี่คนอื่น นี่ตัวเรานี่คนอื่น เกิดอย่างนี้ขึ้นมา ถ้าคืนให้โลกนะ นี่ส่วนหนึ่งของโลก นี่ก็ส่วนหนึ่งของโลก เสมอกัน

เพราะฉะนั้นเราภาวนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ไม่ใช่ภาวนาเพื่อให้มันดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร การภาวนาเพื่อให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร คือการทำสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานไม่ได้เอาดี เอาสุข เอาสงบ แต่วิปัสสนากรรมฐานทำไปเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ กายนี้เป็นก้อนธาตุ ใจเป็นนามธรรมที่เกิดดับเป็นขณะๆสืบเนื่องกันไปเรื่อยๆ ควบคุมไม่ได้ บังคับไม่ได้ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน

อย่างโทสะจะเกิดก็ต้องมีเหตุของโทสะ อันแรกเลยเรามีสันดานขี้โมโห เรียกว่ามีอนุสัยที่มีโทสะ อันที่สองเรากระทบอารมณ์ที่ไม่ดี อย่างคนขี้โมโหนะ มีนิสัยขี้โมโห แต่ว่าแหมมีแต่กระทบแต่อารมณ์ดีๆ มันก็ไม่โมโห เห็นมั้ย เราก็บอกหมู่นี้จิตใจดีไม่โมโหเลย อย่างนี้ไม่ใช่ มันต้องมีเหตุนะ อย่างโทสะต้องมีเหตุโทสะถึงเกิด ราคะก็ต้องมีเหตุราคะถึงเกิด ถ้าไม่มีเหตุไม่เกิด แต่ถ้ามีเหตุแล้วสั่งไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ บังคับไม่ได้ ให้เรามีสติรู้เรื่อยไป

โทสะเกิดจากอะไรรู้มั้ย มีเหตุ มีอนุสัย มีอารมณ์ที่ไม่ดี ตรงอารมณ์ที่ไม่ดีเนี่ย เกิดจากการตัดสินของเราเอง ว่าอารมณ์อันนี้ไม่ดี อันนั้นมันมีพยาบาทวิตกเกิดขึ้น อาศัยพยาบาทวิตกโทสะก็เกิด อาศัยกามวิตกราคะก็เกิด ตามหลังความคิดมาทั้งสิ้นเลย ตามหลังการให้ค่าการตีความมานะ สิ่งทั้งหลายมีเหตุทั้งสิ้นเลย ให้เรารู้ทันลงไป เราจะเห็นว่าทุกสิ่งเกิดแล้วดับ บังคับไม่ได้ ดูอย่างนี้เรื่อยๆ ดูเพื่อให้เห็นความจริง ไม่ได้ดูเอาสุข เอาสงบ เอาดี

แต่เมื่อเห็นความจริง ไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจแล้ว ถามว่าชั่วได้มั้ย ชั่วไม่ได้ คนเราที่ทำชั่วเพราะหลงรักกาย หลงรักใจ อยากให้ตัวเองมีความสุขเลยไปทำความชั่ว ในขณะเดียวกันพวกที่ชอบเข้าวัดเข้าคอร์ส พวกชอบมาห้องสมุดบ้านอารีย์อะไรเนี่ย พวกนี้ก็รักตัวเองนะ แต่ว่าปรุงฝ่ายดี เข้าวัดเข้าวา ฟังธรรม สวดมนต์ไหว้พระ ทำโน่นทำนี่ อันนี้เรียกว่าปรุงดี แต่ปรุงดีก็ดีกว่าปรุงชั่วนะ ปรุงชั่วแล้วตัวเองเดือดร้อน คนอื่นเดือดร้อน ถ้าปรุงดีตัวเองมีความสุข คนอื่นรอบข้างมีความสุข

แต่ว่าต้องพัฒนาให้เกินนั้นอีก มารู้ความจริงของกายของใจมากๆ รู้ไปเรื่อย จนมันแจ่มแจ้งแล้วมันปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจไป แล้วจะมีความสุขอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เคยนึกเคยฝัน


CD: บ้านอารีย์ วันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑
File: 510914.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๕๙
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีปัญญาจะรู้ความจริงของสภาวะ

mp3 for download : มีปัญญาจะรู้ความจริงของสภาวะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มีปัญญาจะรู้ความจริงของสภาวะ

มีปัญญาจะรู้ความจริงของสภาวะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางใจมีสองพวก พวกหนึ่งคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ เรียกว่า “เวทนาทางใจ” มีศัพท์เพราะๆนะ ความสุขทางใจก็ไม่เรียกสุขเวทนา เรียก “โสมนัสเวทนา“  ฟังให้เป็นแขกมากๆหน่อย ความทุกข์ทางใจก็ไม่เรียกว่าทุกขเวทนา เรียก “โทมนัสเวทนา“  โสมนัส โทมนัส ใครเคยได้ยินคำว่า โสมนัส บ้าง? ชื่อวัดใช่ไหม? วัดโสมนัสฯ ดูให้ดี โสมนัส โทมนัส ความสุขความทุกข์ทางใจไม่ใช่จิตหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในจิต มีอีกเวทนาหนึ่งเกิดขึ้นที่จิต เรียก “อุเบกขาเวทนา” เป็นความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์

สิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในจิต มีอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “สังขาร” มีสองอัน มีเวทนากับสังขาร แปลกปลอมเข้ามาในจิต “สังขาร” ก็คือ ความปรุงดี ความปรุงชั่ว ความปรุงกลางๆไม่ถึงกับดีไม่ถึงกับชั่ว

ความปรุงดี เช่น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นความปรุงดี เพราะฉะนั้นปัญญาก็เป็นของปรุงแต่งนะ เมื่อเป็นของปรุงแต่งได้ เกิดได้ ยังดับได้อยู่ ยังเป็นของปรุงแต่งอยู่ สติล่ะ สติก็เป็นของปรุงแต่ง เกิดได้ ยังดับได้อยู่ มันอยู่ในขันธ์น่ะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษแท้จริงแล้ว

เพราะฉะนั้นตัวกุศลทั้งหลายเอง ก็ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ แปรปรวน เกิดแล้วก็ดับเหมือนกัน มีเหตุถึงจะเกิด ไม่มีเหตุไม่เกิดหรอก สติก็ต้องมีเหตุของสติถึงจะเกิด สมาธิก็ต้องมีเหตุของสมาธิ ศรัทธาก็ต้องมีเหตุของศรัทธา วิริยะก็ต้องมีเหตุของวิริยะ สมาธิก็ต้องมีเหตุของมัน แต่ละอันๆมันมีเหตุ  ความปรุงดีมันแทรกเข้ามาในจิต มันไม่ใช่จิต สติไม่ใช่จิต ศรัทธาไม่ใช่จิต สมาธิไม่ใช่จิต ปัญญาไม่ใช่จิต เป็นความปรุงดี

ความปรุงชั่ว ได้แก่ โลภ โกรธ หลง นี่พูดแบบรวบย่อ กิเลสสามตระกูล โลภ โกรธ หลง แต่ละตระกูลก็แยกย่อยออกไปได้เยอะแยะ

โลภะเป็นความโลภ ราคะก็โลภ อยู่ในตระกูลโลภเหมือนกัน ความอยากก็อยู่ในตระกูลโลภ ความยึดถือในความคิดความเห็น อันนี้ก็อยู่ในตระกูลโลภะเรียกว่าทิฎฐิ ตระกูลโลภก็มีเยอะแยะเลย

ตระกูลโกรธก็เยอะนะ เช่น ความเศร้าโศก ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นกิเลสตระกูลโทสะ ตระกูลโกรธ ความกลัว ความกังวล ความตระหนี่ เวลาความตระหนี่เกิดขึ้นมาในใจ รู้สึกมีสุขหรือมีทุกข์ เวลาใจเกิดความตระหนี่ขึ้นมา ใจเป็นทุกข์นะ ไม่ใช่ใจเป็นสุข เมื่อไรใจเป็นทุกข์ อันนั้นตระกูลโทสะ เพราะจิตที่มีโทสะจะมีความทุกข์เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นอะไรเกิดขึ้นมาแล้วใจเป็นทุกข์นะ รู้ได้เลยว่า อันนี้เป็นตระกูลโทสะ ดูง่ายๆเลย ความอิจฉา อิจฉาเกิดแล้วมีความสุขไหม ความกังวลนี่เยอะแยะเลยนะ ตระกูลโทสะ มีลูกมีหลานยั้วเยี้ยเต็มไปหมดเลย

ตระกูลหลง ตระกูลโมหะ เช่น ฟุ้งซ่าน โมหะนี้เป็นตระกูลที่ว่า เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะไม่เห็นรูปนามตามความเป็นจริง มันปิดกั้นปัญญา โมหะกับปัญญาเป็นสิ่งตรงข้ามกัน บางทีเรียกปัญญาว่า “อโมหะ” ไม่มีโมหะ โมหะกับปัญญาตรงข้ามกัน มีปัญญาก็จะรู้สภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้ความจริงของสภาวะ มีปัญญาจะรู้ความจริงของสภาวะ ถ้ามีโมหะจะไม่รู้ความจริงของสภาวะ เช่นโกรธอยู่-ไม่รู้ว่าโกรธอยู่ นี่กำลังหลงอยู่นะ มีโมหะ  โลภอยู่-ไม่รู้ว่ากำลังโลภอยู่ มีโมหะ

ทำไมมันไม่รู้? เพราะใจมัวหนีไปที่อื่น เรียกว่าใจมันฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นโมหะมีตัวใหญ่ตัวหนึ่งนะ คือ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน เวลาจิตฟุ้งซ่านไปทางตา ฟุ้งซ่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ฟุ้งซ่านไปคิด มันจะไม่รู้สภาวะแล้ว มันจะลืมตัวเอง เพราะฉะนั้นความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นมา จะไม่เห็นสภาวะ

ยังมีโมหะตัวอื่นๆอีก เช่น ความลังเลสงสัย แต่ถ้าเราสงสัยว่าถนนนี้ไปไหน คนๆนี้ชื่ออะไร อันนี้ไม่เรียกว่าโมหะ โมหะนี้สงสัยในพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ ธรรมะจะจริงหรือ การปฏิบัตินี้มันเป็นไปได้หรือเปล่า มันทำได้อย่างไร พระอริยสงฆ์จะมีจริงหรือเปล่า ไม่น่าเชื่อว่าจะมี พระพุทธเจ้าก็คงเป็นนักปราชญ์คนหนึ่งหรอก เป็นนักปราชญ์ที่คิดเก่งหน่อย หรืออาจจะไม่ใช่มีคนเดียวด้วย เป็นคนที่แต่งตำรา เขียนพระไตรปิฎก อาจเป็นคนกลุ่มใหญ่เลยช่วยกันเขียนขึ้นมา แล้วโมเมว่ามีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง คิดได้ขนาดนี้นะ ธรรมะก็ไม่มีอะไรหรอก เป็นปรัชญา สอนไปเพื่อหลอกให้คนทำดี สังคมจะได้สงบสุข แน่ะ คิดไปได้ขนาดนั้น ศีลธรรมก็ไม่มี นรกสวรรค์ก็ไม่มีหรอก เป็นอุบายของนักปราชญ์ ที่จะให้สังคมสงบสุข เนี่ยใจตระกูลอย่างนี้นะ มิจฉาทิฎฐิทั้งนั้นเลย พวกนี้ต้องล้างด้วยปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนานะ ถึงจะล้างมันไหว ถ้าภาวนาไม่เป็น ก็สงสัยว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจริงหรือ

ถ้าภาวนาเป็น ได้เป็นพระโสดาบันเมื่อไหร่ ไม่สงสัยอีกต่อไป เพราะฉะนั้นคนที่ล้างความสงสัยได้เด็ดขาด ต้องเป็นพระโสดาบัน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
ลำดับที่ ๗
File: 530606A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 11 of 17« First...910111213...Last »