Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ความเป็นกลางมีหลายระดับ

mp 3 (for download) : ความเป็นกลางมีหลายระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความเป็นกลางมีหลายระดับ

ความเป็นกลางมีหลายระดับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่างเราเจริญสติรู้กายรู้ใจไปนี้ ถึงจุดที่สติปัญญามันแก่กล้าขึ้นมา จิตจะเป็นกลาง จิตจะเป็นกลางต่อสังขาร ต่อความปรุงแต่งทั้งหลาย ด้วยปัญญา

เป็นกลางก็มีหลายกลางนะ เป็นกลางมีหลายแบบ

อันหนึ่งเป็นกลางด้วยการบังคับไว้ เพ่งเอาไว้ นี้เป็นกลางด้วยสมถะ

อันหนึ่งเป็นกลางด้วยวิปัสสนา เป็นกลางด้วยวิปัสสนาคือเห็นทุกอย่างเกิดแล้วดับ รู้ทันความไม่เป็นกลาง ใจค่อยเป็นกลางขึ้นมา

ทีนี้พัฒนามาเรื่อยๆนะ จนถึงวิปัสสนาญาณ ตัวสุดท้ายเลยที่เป็นฝ่ายโลกียะอยู่ ก็คือ สังขารุเบกขาฯ จิตมันเป็นกลางกับสังขาร เป็นกลางกับความปรุงแต่ง เพราะเราเจริญสติไปเรื่อยๆนะ เราจะเห็นเลย ในร่างกายนี้ ร่างกายที่หายใจออกก็ทุกข์นะ ร่างกายที่หายใจเข้าก็ทุกข์ ไม่เห็นสุขตรงไหนเลย ใจก็รู้แล้วใจยอมรับความจริงนี้ ใจเป็นกลางกับร่างกาย

ดูลงไปที่จิตนะ ก็จะเห็นเลย จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ จิตเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายใช่ไหม จิตสุขก็ชั่วคราว จิตทุกข์ก็ชั่วคราว จิตดีก็ชั่วคราว จิตร้ายก็ชั่วคราว ทีนี้พอเราเห็นอย่างนี้มากเข้าๆนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด ทุกสิ่งชั่วคราวหมดเลย ความสุขเกิดขึ้นจิตก็ไม่หลงระเริง ความทุกข์เกิดขึ้นจิตก็ไม่เศร้าหมอง จิตเป็นกลาง นี้เรียกว่ากลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมาก เป็นกลางด้วยปัญญา ไม่ใช่กลางด้วยสติที่ไประลึกรู้แล้วเกิดเป็นกลาง แต่เป็นกลางด้วยปัญญา และไม่ใช่เป็นกลางด้วยการเพ่งเอาไว้ เพราะฉะนั้นเป็นกลางมีหลายระดับ

ทีนี้บางคนนะ ภาวนาไป แล้วก็ประคองใจให้นิ่งไห้ว่าง ก็บอกว่าเป็นกลางแล้ว อันนี้ไม่เป็น หรือบางคน พอความไม่เป็นกลาง เช่นความยินดียินร้ายเกิดขึ้น สติระลึกรู้แล้วบอกว่าเป็นกลาง อันนี้ยังไม่พอนะ ต่อเมื่อปัญญามันเกิดจริงๆเลย เห็นสุข เห็นทุกข์ เห็นดี เห็นชั่ว ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ในใจมันยอมรับตรงนี้ ใจมันเป็นกลางต่อความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว พอใจเป็นกลางตัวนี้ ใจก็หยุดความดิ้นรน หยุดความปรุงแต่ง

ใจถ้ายังไม่เป็นกลางมันจะดิ้นมันยังปรุงแต่งไม่เลิก ถ้าใจเป็นกลางอย่างแท้จริงด้วยสติ ด้วยปัญญาที่แท้จริง จะหมดความปรุงแต่ง เมื่อจิตใจหมดความปรุงแต่งแล้ว จิตมันจะสงบของมันเอง แล้วถ้าสติปัญญามันพอ เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจมามากพอแล้ว มันจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ เพราะอริยมรรคเวลาเกิด เกิดในอัปนาสมาธิ ไม่ได้เกิดอยู่ในจิตของคนทั่วๆไป จิตของเราทั่วๆไปนี้เรียกว่าจิตที่โคจรอยู่ในกามาวจรภูมิ เรียกว่า “กามวจรจิต” ยังร่อนเร่ไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เวลาที่เกิดอริยมรรคนี่มันจะรวมเข้ามาที่ใจอันเดียวนะ ไม่ได้ร่อนเร่ไปทางทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะรวมลงที่ใจอันเดียว แล้วก็มาตัดสินใจที่ใจนี้เองนะ

แล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับๆไป ๒-๓ ขณะ ถัดจากนั้นจิตรู้ด้วยความเป็นกลางอย่างแท้จริง อะไรมายั่วจิตก็ไม่กระเพื่อมหวั่นไหว จิตมีขันติที่แท้จริงเลย พอไม่กระเพื่อมหวั่นไหว สักว่ารู้สักว่าเห็น รู้แล้ววางลงไป มันวางของมันเอง บางคนได้ยินครูบาอาจารย์พูด บอกว่ารู้แล้ววางนะ จงใจวางก็ไม่ใช่ของจริงนะ จงใจวางก็ของปลอมอีก ก็เป็นการสร้างภพว่างๆขึ้นมา จงใจวางเป็นการสร้างภพอีกชนิดหนึ่งขึ้นมา แต่ถ้าจิตมันวางเองนะ มันจะถอนตัวออกจากภพเลย หมดจากความปรุงแต่ง จิตหมดจากความปรุงแต่งแล้ว มันรวมลงที่จิตนะ อริยมรรคถึงจะเกิดขึ้น เกิดอริยมรรค ๑ ขณะเท่านั้น ไม่เกิด ๒ ขณะ แล้วเกิดอริยผลขึ้น ๒-๓ ขณะ ไม่เกิน ๓ ขณะ มีเท่านั้นเอง แล้วจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอกนี่ กลับมาสู่จิตของมนุษย์ปกติอย่างนี้อีก


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๙
File: 520517.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความรู้สึกเป็นตัวเรา แทรกอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ

mp 3 (for download) : ความรู้สึกเป็นตัวเรา แทรกอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความรู้สึกเป็นตัวเรา แทรกอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ

ความรู้สึกเป็นตัวเรา แทรกอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เป้าหมายแรก เราต้องพัฒนาสติไปเรื่อย จนเกิดปัญญา ให้เห็นความจริงก่อนว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี

พวกเราหัดเจริญสติเรื่อยๆ บางคนเริ่มเห็นแล้ว ว่าตัวเราไม่มี ทีนี้บางคนเริ่มเห็น เช่น พอมีสติอยู่นะ กำลังอาบน้ำถูสบู่อะไรอยู่นี่ ถูขี้ไคลอยู่ รู้สึกแว้บ..ขึ้นมาเลย ตัวนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นอะไรตัวหนึ่งก็ไม่รู้

ถามว่ามันเป็นอะไร? ถ้าจะใส่ชื่อให้มัน มันก็เป็นรูปอันหนึ่ง เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ เป็นรูป ไม่ใช่ตัวเรา นี่ เริ่มมีสติ เริ่มมีปัญญา เห็นความจริง บางคนก็เห็นเลยว่า ความรู้สึกเป็นเรานะ ผุดขึ้นมาในใจเป็นคราวๆแล้วก็หายไป ผุดขึ้นมาแล้วก็หายไป แต่ตรงนี้ยังไม่ได้โสดาฯนะ ถ้าโสดาฯมันจะไม่ผุดขึ้นอีกเลย

ทีนี้บางคนนี่ พอหัดภาวนาไป เริ่มเห็นแล้ว เห็นตัวเราโผล่ขึ้นมา ความรู้สึกเป็นตัวเรา ความรู้สึกเป็นตัวเรานี่มันแทรกอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำเลย จะกินข้าว จะอาบน้ำ จะทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่างนะ มันแฝงสิ่งที่เป็นตัวเราเข้าไปตลอดเวลา การกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ล้วนแต่ย้ำตัวเองตลอดว่า ตัวฉันยังอยู่ ฉันยังอยู่ ฉันมีจริงๆนะ นี่มันกลัวตัวเราหายไป

ทีนี้พอมาหัดภาวนา พอใจรู้ ใจตื่น ใจเบิกบาน ใจไม่หลงไปอยู่ในโลกของความคิด จะเห็นว่าตัวเราไม่มี ทีนี้บางคนเข้าใจผิด พอเห็นความเป็นตัวเราโผล่ขึ้นมาแว้บ.. พอสติรู้ทัน ความเป็นตัวเราดับไป ก็คิดว่าบรรลุพระโสดาบัน ยังไม่บรรลุนะ ไม่บรรลุง่ายขนาดนั้นหรอก เพิ่งเห็นทีเดียว แต่บางคนเห็นครั้งเดียวก็บรรลุเลย มันเกิดอริยมรรคต่อไปเลย แต่ส่วนมากเห็นครั้งหนึ่งยังไม่พอหรอกนะ อินทรีย์เราไม่แก่กล้าพอ เราก็จะเห็นเลยเดี๋ยวก็มีตัวเรา เดี๋ยวตัวเราก็ไม่มี มีเกิดมีดับอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ถ้ามีตัวเราแฝงเร้นปรากฎขึ้นได้แม้แต่นิดๆหน่อยๆ ยังไม่ใช่พระโสดาบัน ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้วท่านจะละความมีตัวเรานี้เป็นสมุจเฉทเลย ไม่มีอีกต่อไปละ ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษาจิตนะ จะไม่รู้สึกว่ามีเราอีกต่อไปละ แต่ถ้ายังมีแฝงๆขึ้นมานี้ ไม่ใช่ของจริง


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๙
File: 520517.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าไม่ทำในรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ กำลังจะไม่พอในการรู้สึกตัวระหว่างวัน

mp3 (for download) : ถ้าไม่ทำในรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ กำลังจะไม่พอในการเจริญสติระหว่างวัน 

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


 

สวดมนต์

สวดมนต์

 

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเรา มีเครื่องช่วยอันหนึ่ง ของนักปฏิบัตินะ คือการทำตามรูปแบบบ้าง ยกตัวอย่าง ถ้าเราปฏิบัติ ดูจิตดูใจเราทั้งวัน กำลังเราไม่พอ ใจจะเหมือนรู้ตัวอยู่ ความจริงไม่รู้แล้วนะ จะคล้ายๆรู้แต่ไม่รู้ บางทีก็ไปหลงเพ่งจิต 

เพราะฉะนั้นก่อนจะนอนนะ เราไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เดินจงกรม อะไรอย่างนี้ เราทำทุกวัน สม่ำเสมอ ไม่ละเลย ก่อนนอน คล้ายๆ เราได้พักผ่อนจิตใจของเราก่อน แล้วก็พักผ่อนร่างกายทีหลัง ตื่นเช้าขึ้นมาจิตใจของเราแช่มชื่นเบิกบาน มีสติเกิดง่าย ตามรู้ตามดูได้บ่อยๆ แต่ถ้าเราดูลูกเดียว รู้ลูกเดียว ล่ะก็ ใจเราไม่เคยได้พักผ่อนเลย กำลังบางทีไม่พอ มันปฏิบัติแล้วมันไม่สดชื่น 

ในการปฎิบัตินะ อาศัยรูปแบบเหมือนกัน แต่ไม่ใช่การติดในรูปแบบหรอก ครูบาอาจารย์ แต่ก่อน สอนหลวงพ่อ ท่านเน้นเรื่องการรู้สึกตัวในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว ยกตัวอย่าง หลวงพ่อพุธสอนเลย ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด นะ ให้มีสติ รู้สึกตัวไป 

หลวงปู่ดูลย์ก็ให้ดูใจตัวเอง จิตชอบส่งออกนอก จิตส่งออกนอกคือจิตมันวิ่งไปทางตา วิ่งไปดูคนอื่นแล้วลืมตัวเอง จิตวิ่งไปทางหู วิ่งไปฟังเขาคุยกันแล้วก็ลืมตัวเอง รู้เรื่องที่เขาคุยแต่ลืมตัวเอง จิตวิ่งไปทางใจหนีไปคิด รู้เรื่องที่คิดบ้าง ไม่รู้บ้าง แล้วก็ลืมตัวเอง ท่านสอนบอกให้คอยรู้ทันเวลามันหลง 

แต่ว่าก่อนนอน หลวงพ่อไหว้พระ สวดมนต์ ทำมาตั้งแต่เด็กแล้ว ทำทุกวัน นั่งสมาธิ เดินจงกรม อะไรอย่างนี้ จิตใจเราได้แรง มีกำลัง ช่วงไหนละเลยไป เจริญสติในชีวิตประจำวันลูกเดียวเลย บางทีแห้งแล้งไป เหนื่อย แห้งแล้ง บางทีเห็นมันไหว ยิบยับ ยิบยับ นะ ไม่มีกำลังจะตัด ไม่มีกำลัง 


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่สวนโพธิญาณ
หนองตากยา ท่าม่วง กาญจนบุรี
เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๘

  

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ ๙
ลำดับที่ ๑๕
File: 480821A
นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๘ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๐๗
 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

mp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์: สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต วิธีฝึกมี ๒ วิธี วิธีหนึ่งทำฌานสำหรับคนที่ทำฌานได้ ทำฌานไปจนถึงฌานที่ ๒ ละวิตก ละวิจารณ์ได้ วิตกคือการตรึกถึงอารมณ์ วิจารณ์คือการตรอง เคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ มีความจงใจที่จะตรึกนะ แต่ตรงวิจารณ์มันเคล้าเคลียไม่ได้จงใจเคล้าแล้ว

แต่ตรงนี้ วิตกวิจารณ์นี้ ยังปนอยู่กับการคิดอยู่ ยังมีการหยิบยกอารมณ์ จงใจหยิบยกอารมณ์ขึ้นมา ใจไปจงใจเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์ ใจจะยังไม่ตื่น เพราะยังเพ่งเล็งอยู่ที่ตัวอารมณ์

พอพ้นจากฌานที่ ๑ ไปนะ ดับวิตกดับวิจารณ์ไป มีปีติ มีความสุข มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะมีสภาวธรรมตัวหนึ่ง เรียกว่า “เอโกทิภาวะ” ภาวะแห่งความตื่นเกิดขึ้น จิตจะเป็นผู้ตื่นขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้

เมื่อเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวความตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้ มันจะทรงอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ก็เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ แต่ว่าตอนที่ยังไม่เสื่อม ก็อาศัยมีใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา คอยรู้กายที่เคลื่อนไหวไป ดูกายไปเรื่อย อย่าไปดูจิตนะ ถ้าทำสมาธิออกมา แล้วก็จิตมันติดความนิ่งความเฉยนะ ต้องระวัง ถ้าไปดูจิตเดี๋ยวจะไปนิ่งใหญ่

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ชอบสอนว่า ออกจากสมาธิแล้วคอยรู้กาย แต่คนไหนถนัดดูจิต ออกจากสมาธิแล้วก็ดูจิตต่อไปได้เลย ก็ไม่มีข้อห้ามหรอก แต่ส่วนใหญ่แล้วควรจะมารู้กาย เห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นของถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเรา นี่ จิตมันแยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู เรียกว่ามีจิตผู้รู้

อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารมณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าจะให้เป็นสัมมาสมาธิ จิตต้องตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้อารมณ์ จิตอยู่ต่างหาก เห็นร่างกายอยู่ต่างหาก ร่างกายกับจิตมันแยกกัน เห็นเวทนากับจิตมันแยกกัน เห็นความปรุงแต่ง เช่นโลภ โกรธ หลง กับจิตเนี่ย มันแยกกัน

เห็นจิตเกิดดับไปทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ตาดับที่ตา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่ใจดับที่ใจ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็หลงไป มันเกิดดับให้ดู

แล้วถ้าใจเราคอยรู้นะ รู้ทันใจที่มันไหลไปไหลมาเนี่ย ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พอใจตั้งมั่นขึ้นเอง ที่หลวงพ่อชอบใช้คำว่า จิตมันถึงฐานแล้ว มันรู้ตัวเต็มที่แล้ว มันตื่นเต็มที่แล้ว ตรงนี้ ตรงนี้ จิตตรงนี้น่ะสำคัญ ถ้าจิตยังไหลตามอารมณ์ไปนะ ไม่สามารถทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงได้ แต่ถ้าจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะเห็นเลย ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีเลยนะ เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เห็นสังขาร โลภ โกรธ หลง อะไรพวกนี้ไม่ใช่เรา แล้วก็เห็นจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ นี้เป็นการเจริญปัญญา เพราะการเจริญปัญญาต้องเห็นไตรลักษณ์นะ ไม่ใช่เห็นอย่างอื่น


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๖
File: 511221.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

mp3 for download: วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าสอนให้รู้กาย พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ใจ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนกำหนดนะ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ “ทุกขัง อริยสัจจัง ปริญญาญัง” ทุกข์เป็นสิ่งควรรู้รอบ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรรู้รอบ รู้รอบ คือ รู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา

รู้ด้วยสติ คือ รู้ถึงตัวสภาวะของมัน รู้ด้วยปัญญาก็จะเห็นลักษณะของมัน รู้ด้วยสติก็คือ เห็นสภาวะ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น เห็นความโกรธโผล่ขึ้นมา รู้ด้วยปัญญาก็คือ เห็นว่าความโกรธนั้นไม่เที่ยง ความโกรธนั้นเป็นทุกข์ ความโกรธมิใช่ตัวเรา บังคับไม่ได้ ห้ามไม่ได้ รู้ด้วยปัญญาก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นแหละ ถ้ารู้ด้วยสติก็เห็นรูปนาม รู้ด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นต้องรู้ด้วยสติและปัญญา

รู้ด้วยสติอย่างเดียวไม่ได้ บางคนไปเดินจงกรมนะ เอาจิตไปจ่อไว้ที่เท้า เท้าเคลื่อนไหวอย่างไรรู้หมดเลย อันนั้นไม่มีปัญญา ถ้ารู้ด้วยปัญญาจะเห็นเลย ตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ตัวที่โกรธ ความโกรธนั้น ไม่ใช่ตัวเรา สภาวธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ว่าสภาวธรรมใดๆ จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเรา นี่อย่างนี้ถึงจะเรียกว่ามีปัญญา บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ถึงความบริสุทธิ์เป็นอย่างไร ถึงพระอรหันต์นั่นเอง

บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญานะ ปัญญาเกิดจากอะไร ปัญญาเกิดจากมีสติ รู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฎ แต่ปัญญามีสติรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญ ที่ให้เกิดปัญญา คือมีสัมมาสมาธิ

ในพระอภิธรรมถึงสอนว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิมิใช่มิจฉาสมาธิ สมาธิที่พวกเราฝึกอยู่เกือบทั้งหมดคือมิจฉาสมาธิ สมาธิเพ่ง สมาธิจ้อง สมาธิบังคับ สมาธิกำหนด สมาธิเครียดๆแข็งๆ สมาธิเคลิ้มๆ สมาธิลืมเนื้อลืมตัว สิ่งเหล่านี้เป็นมิจฉาสมาธิทั้งสิ้น

หรือสมาธิเข้าไปนอนแช่ รู้ลมหายใจก็ไปนอนอยู่กับลม แช่จิตลงไปแช่กับลม รู้ท้องพองยุบจิตไปแช่อยู่ที่ท้อง รู้เท้า ยกเท้า ย่างเท้า จิตไปแช่อยู่ที่เท้า ขยับมือ จิตไปไหลไปอยู่ในมือ อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าสัมมาสมาธิ ใจจะตั้งมั่น สักว่ารู้ สักว่าเห็นอยู่ ใจมันตั้งมั่นเป็นแค่คนดู สติระลึกไป แต่ใจเป็นคนรู้เฉยๆ ใจไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อ สติระลึกรู้ ใจไม่ปรุงแต่งต่อนะ ใจเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่อย่างนั้นเอง

พอใจมันไม่ปรุงแต่งต่อ มันจะเห็นความจริง ของสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งรูปธรรมนามธรรมที่เกิดขึ้น สภาวะทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวเราในสภาวะเหล่านั้น ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ อย่างนี้นะ เห็นไป วันหนึ่งก็จะแจ้งขึ้นมา


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
Track: ๑๑
File: 510202.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รักษาศีลแล้วมีความสุข ไม่ใช่ถือศีลแล้วลำบาก

รักษาศีลแล้วมีความสุข

รักษาศีลแล้วมีความสุข

mp 3 : (for download) : ถือศีลแล้วมีความสุข ไม่ใช่ถือศีลแล้วลำบาก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

อย่างคนที่ไม่มีศีลเขาก็ไม่มีความสุขอย่างจริงจัง คนทีศีลมีความสุขมากกว่า แต่คนทั่วๆไปที่ไม่มีปัญญาเนี่ย ก็จะเข้าใจว่า รักษาศีลทำให้มีความทุกข์ ความจริงรักษาศีลนั้นรักษาเพื่อให้มีความสุข ไม่ใช่ให้มีความทุกข์

อย่างเราจะฆ่าคนกับเราไม่ฆ่าเนี่ย เห็นมั้ยฆ่าคนมีความทุกข์นะ ต้องวางแผน วางแผนจะไปฆ่าเขา จะฆ่าได้ไม่ได้หรือจะถูกเขาฆ่ายังไม่แน่ มีคนรู้จักกันคนหนึ่งนะ แกเป็นอาเสี่ย ตอนนั้นหลวงพ่ออยู่ที่เมืองกาญจน์ ชื่อเสี่ย… อย่าไปเอ่ยชื่อเลยเดี๋ยวแกได้ยิน เสี่ยเนี่ยแกเครียด เมียแกเนี่ยเข้ามายึดครองกิจการไว้ เพราะแกเอาแต่กินเหล้า กินเหล้า เมา แล้วก็ทำธุรกิจแบบสะเปะสะปะไปเรื่อย เมียมายึดครองกิจการไว้ วันหนึ่งก็แค้นเมียมากเลย เมาเหล้านะ ตะโกนลั่นบ้านเลย “กูจะฆ่ามึง”นะ พอตะโกนไปซะลั่นเลยนะ เสร็จแล้วตกใจอุทานต่อ “เอ๊ะ หรือมันจะฆ่ากู” คิดจะฆ่านะก็กลัวเขาฆ่าเอาเหมือนกัน พอไปฆ่าแล้วก็ต้องหนีตำรวจนะ เจอตำรวจก็สะดุ้งนะ เจอเมียตำรวจอย่างคุณมาลีก็สะดุ้งเหมือนกัน ต้องปกปิด ต้องซ่อนเร้น ต้องหลบซ่อนนะ คนถือศีลสบายกว่าไม่ต้องฆ่าใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่ลำบาก คนโกหก?คนโกหกก็ลำบาก โกหกแล้วต้องจำ คนไหนความจำเสื่อมอย่าไปริอาจโกหก เขาจะจับได้อย่างรวดเร็ว เช้า สาย บ่าย เย็น พูดกับคยเดิมยังพูดไม่เหมือนเดิมอีก อย่างนี้ใช้ไม่ได้ อย่างคนพูดความจริงไม่ต้องจำมาก ไม่ต้องจำ เพราะความจริงมันก็อยู่อย่างนั้นแหละ คนประพฤติผิดในกามนะ ต้องหลบซ่อน ต้องหลีกเร้น ใจคอไม่สบาย แต่คนซึ่งไม่ประพฤติผิดในกาม คนไม่ประพฤติผิดในกามสบายกว่า คนจะกินเหล้า กินยา ติดยาเสพติด เนี่ยไม่สบาย ต้องหาเงินหาทอง ไปซื้อมากิน บางอย่างก็มีโทษมาก

เนี่ย ลองดูให้ดี การถือศีลนี่มันดี หรืออย่างลักขโมยเขา?คนไม่ขโมยน่ะสบาย ไปลักเขาไปขโมยเขา ไม่สบายหรอก กังวล จะวางแผนอย่างไร จะไปแย่งเขามา ได้เขามาแล้วทำอย่างไรเจ้าชองเขาจะไม่รู้ จะไม่โดนตามจับ ไม่โดนเล่นงาน เนี่ย คนที่มีศีลนะ ก็มีความสุขอย่างคนมีศีล สบาย ถือศีลแล้วจิตใจสบายมีความสุข เพราะฉะนั้นถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ว่าถือศีลแล้วลำบาก ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิถือศีลแล้วสบายมีความสุข

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑๖ ณ.ศาลาลุงชิน

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๖ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๐
File: 501216
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

mp3 for download: ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พอจิตตั้งมั่นแล้ว ก็มาถึงขั้นของการเดินปัญญา ปัญญาทำหน้าที่ล้างกิเลสละเอียด กิเลสหยาบ คือ ‘ราคะ โทสะ โมหะ’ เนี่ยมันล้นออกมาทางกายทางวาจาได้ มันมาควบคุมพฤติกรรมทางกายทางวาจาได้ สู้ด้วยศีล ไม่ทำผิดทางกายทางวาจา ตั้งใจไว้เลยทุกวัน ตั้งใจจะไม่ผิดศีล ๕

กิเลสอย่างกลางคือ ‘นิวรณ์’ มันทำให้จิตฟุ้งซ่าน เราก็ให้จิตมาแน่วแน่ ตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ โดยการมีวิหารธรรมมาเป็นเครื่องสังเกตว่าจิตหนีไปแล้ว จิตจะตั้งขึ้นมา จิตก็ไม่ฟุ้งไป นี่สู้กับกิเลสชั้นกลางได้ คือนิวรณ์ได้

กิเลสอย่างละเอียดคืออะไร กิเลสอย่างละเอียดคือ ‘มิจฉาทิฎฐิ’ จำไว้นะ เพราะฉะนั้นกิเลสละเอียดที่สุดคือตัวมิจฉาทิฎฐิ บางคนสอนเสียอีกนะ จิตดีอยู่แล้ว สัมมาทิฎฐิก็ไม่จำเป็น จิตแค่ปภัสสรเท่านั้น จิตโง่ ราคะ โทสะ โมหะ เพียบเลย นิวรณ์ก็ยังซ่อนอยู่ มองไม่เห็นหรอก มิจฉาทิฎฐิก็ยังมีอยู่ บอกไม่ต้องล้าง ไม่ล้างได้ไง พระพุทธเจ้าสอนให้ล้าง ล้างมิจฉาทิฎฐิด้วยปัญญา ปัญญาเท่านั้นแหละที่จะล้างมิจฉาทิฎฐิได้

เพราะฉะนั้นศีลเนี่ยนะ ล้าง ราคะ โทสะ ที่เป็นกิเลสชั่วหยาบ สมาธิคือความตั้งมั่นของจิต ซึ่งเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จะล้างกิเลสชั้นกลางคือนิวรณ์ คือความฟุ้งต่างๆ ฟุ้งนานาชนิด ไม่ฟุ้ง กิเลสชั้นละเอียดคือมิจฉาทิฎฐิ ล้างด้วยปัญญา เป็นหน้าที่ของปัญญา ปัญญาเนี่ยเหมือนมีดโกนนะ เหมือนมีดผ่าตัดน่ะ ตัวศีลเหมือนขวาน เหมือนพร้า เหมือนเลื่อย เหมือนสิ่วอะไรนี่ ของหยาบๆ ตัวนิวรณ์สู้ด้วยสมาธินะ เหมือนตะไบ เหมือนอะไร กระดาษทราย เหมือนอะไร อันนี้ก็ละเอียดขึ้นมา ตัวปัญญานะ คมกริบเลย เหมือนมีดผ่าตัดนะ จะเอามีดผ่าตัดไปตัดต้นไม้ได้มั้ย ตัดได้แต่ต้นไม้ไม่ตาย ไม่ขาด เอามีดผ่าตัดไปตัดกิเลสหยาบๆ ตัดไม่ขาดหรอก กิเลสมันตัดเอาปัญญาขาดไปเลย

เพราะฉะนั้นอย่านึกนะว่า มีสติ มีปัญญา อย่างเดียว แล้วสู้กิเลสได้ทุกชนิด ต้องพร้อม ท่านถึงบอกว่า ความดีต้องพร้อม ใช่มั้ย สพฺพปาปสฺส อกรณํ ไม่ทำบาปทั้งปวง กุสลสฺสูปสมฺปทา ทำกุศลให้ถึงพร้อม ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม ไม่ใช่มีอันเดียว

เพราะฉะนั้น ถ้ามีศีลอย่างเดียวนะ รักษาศีลอย่างเดียวไม่มีสมาธิได้มั้ย ได้ มีสมาธิอย่างเดียวไม่มีศีล ไม่ได้แล้ว นะ ไม่ได้แล้ว มีปัญญาอย่างเดียวไม่มีศีลไม่มีสมาธินี่ไม่ได้เลยนะ ไม่ได้เลย เหมือนสร้างบ้านกลางอากาศ ไม่มีเสาเข็ม ไม่มีตอม่อ ไม่มีคาน ไม่มีอะไรอย่างนี้ สร้างไว้กลางอากาศ

ปัญญานี้จะเป็นตัวล้างความเห็นผิด เพราะฉะนั้นความเห็นผิดนี้แหละเป็นกิเลสชั่วหยาบ ชั่วร้ายสุดๆเลย ความเห็นผิดก็คือตัวอวิชานั่นเอง ซ่อนเนียนๆอยู่ในใจ ถ้าใครเชื่อว่าจิตนี้ดีอยู่แล้ว เพราะปภัสสรอยู่แล้วนะ แสดงว่าบริสุทธิ์อยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลย ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ต้องใช้ สัมมาทิฎฐิไม่ต้องมี พวกนี้จะนอนจมกิเลสโดยไม่รู้เรื่องอยู่อย่างนั้น กี่ภพกี่ชาติก็จะจมอยู่กับกิเลสอยู่อย่างนั้นเลย

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๒๙ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๙
CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
ลำดับที่ ๒๑
File: 530730A.mp3
 
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความจริงของกายคือไตรลักษณ์ ความจริงของจิตคือไตรลักษณ์

mp3 for download: ความจริงของกายคือไตรลักษณ์ ความจริงของจิตคือไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ปัญญานี้จะเป็นตัวล้างความเห็นผิด เพราะฉะนั้นความเห็นผิดนี้แหละเป็นกิเลสชั่วหยาบ ชั่วร้ายสุดๆเลย ความเห็นผิดก็คือตัวอวิชานั่นเอง ซ่อนเนียนๆอยู่ในใจ

ถ้าใครเชื่อว่าจิตนี้ดีอยู่แล้ว ปภัสสรอยู่แล้วแสดงว่าบริสุทธิ์อยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลย ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ต้องใช้ สัมมาทิฎฐิไม่ต้องมี พวกนี้จะนอนจมกิเลสโดยไม่รู้เรื่องอยู่อย่างนั้น กี่ภพกี่ชาติก็จะจมอยู่กับกิเลสอย่างนั้นเลย

เพราะฉะนั้นจิตไม่ได้ดีอยู่แล้วนะ จิตชั่วอยู่แล้ว ต้องกลับข้างเลยนะ จิตมีอวิชาครองโลกครองหัวใจอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะต้องล้างอวิชาให้ได้ จะล้างอวิชาได้นะ ต้องล้างลูกน้องมันก่อน ต้องล้างกิเลสหยาบๆ กิเลสอย่างกลางเข้าไป สู้ของมันไป

กิเลสละเอียด ล้างได้ด้วยปัญญา วิธีใช้ปัญญานะ มีสติ รู้ทัน ปัญญานี้เป็นเครื่องซักฟอก เรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ อวิชาเนี่ยเป็นความไม่รู้อริยสัจจ์ อริยสัจจ์ข้อที่ ๑ คือ ทุกข์ อวิชาทำให้เราไม่รู้ทุกข์ อะไรคือทุกข์ รูปธรรม นามธรรม นั้นแหละคือตัวทุกข์ นะ เรียกว่า รูปนาม เป็นตัวทุกข์

ทีนี้เราไม่รู้ ว่าตัวทุกข์ก็คือรูปธรรมนามธรรม คือสิ่งซึ่งเราเห็นว่าคือตัวเรานั่นเอง ถ้ารู้รูปรู้นามก็เรียกว่า รู้ทุกข์ เพราะฉะนั้นวิธีปฎิบัตินะ ให้รู้ทุกข์ คือ รู้รูป รู้นาม รู้กาย รู้ใจ ของตัวเองนี้แหละ รู้เข้าไป ซักฟอกเข้าไป ว่ากายนี้จริงๆเป็นอย่างไร เราต้องการรู้ความจริง เพราะฉะนั้นเราไม่ดัดแปลงความจริง ร่างกายเคลื่อนไหว ก็ดูมันเคลื่อนไหวไป ไม่ต้องดัดแปลงมัน ทำให้มันนิ่ง หรือว่าเคลื่อนไหวผิดธรรมชาติธรรมดา

เคยเดินท่าไหนก็เดินได้นะ ยกเว้นจะเดินในพิธีการ คนอื่นเขาเดินช้าๆ เราจะไปจ้ำๆตามควายอยู่คนเดียวมันก็ไม่ได้ เดี๋ยวไปเหยียบคนอื่นเขาเข้า เดินให้เหมือนๆเขา แต่ในธรรมชาติธรรมดาของเราน่ะ เดินจงกรมแต่ละคนนะ มีท่าที่ตัวเองถนัดก็เดินไปอย่างนั้น แต่ไม่ใช่เดินถนัดเอ้อระเหยนะ (สติ)หนีไปหมดเลย

เพราะฉะนั้นเราไม่ดัดแปลง เราไม่เริ่มต้นด้วยการดัดแปลง เราต้องการรู้ว่าจริงๆเป็นอย่างไร จริงๆเป็นอย่างไร กายนี้เป็นอย่างไร จิตนี้เป็นอย่างไร เราต้องการรู้ทุกข์ เราไม่ต้องการดัดแปลงทุกข์ เราไม่ต้องการละทุกข์นะ ไม่ใช่ละทุกข์นะ ยกตัวอย่างนั่งสมาธิปวด ทำอย่างไรจะหายปวด อันนั้นอยากละทุกข์แล้ว ทุกข์ให้รู้ ไม่ใช่ให้ละ หน้าที่ของเรา รู้ รู้รูป รู้นาม ตามที่เขาเป็น

อยากรู้ตามที่เขาเป็น ต้องไม่ไปดัดแปลงเขา เขาเป็นอย่างไร รู้ว่าเขาเป็นอย่างนั้นนะ ทำใจเป็นแค่คนดูนะ ทำใจเป็นแค่คนดู ใจที่เป็นคนดูได้นั้นแหละ คือใจที่มีสมาธิแล้ว เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้รู้นะ ไม่ใช่ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง เพราะฉะนั้นใจที่ไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้ มันจะตั้งขึ้นมา พอใจมันตั้งขึ้นมา ก็เรียกว่าใจเรามีสมาธิแล้ว มาดูรูป ดูนาม มันทำงาน ดูด้วยใจที่ตั้งมั่น สบายๆ เป็นผู้รู้ผู้ดูนี่เอง

เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว เห็นจิตใจมันเคลื่อนไหว ใจเราเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู สบายๆ ในที่สุดจะเห็นความจริง ความจริงของกายคืออะไร ความจริงของกายคือไตรลักษณ์ ความจริงของจิตคืออะไร คือไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นความจริงของกายก็ไตรลักษณ์ ความจริงของจิตก็ไตรลักษณ์ อันเดียวกันนั้นเอง คือความเป็นไตรลักษณ์

เราดูเพื่อให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ของกายของใจ การเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจนี้แหละ ชื่อว่า เจริญปัญญา มีปัญญา ถ้าไปเห็นอย่างอื่นไม่เรียกว่าปัญญานะ ไปเห็นว่าร่างกายนี้คือตัวเรา ร่างกายนี้เที่ยงถาวร อย่างนี้ไม่เรียกว่าปัญญา ต้องเห็นเลย มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์นะ มันทนอยู่ไม่ได้ มันเคลื่อนไหว มันเปลี่ยนแปลง มันหมุนเวียนไปเรื่อย ไม่มีตัวเรา เนี่ยดูไปเรื่อยๆ

ดูจนกระทั่งเห็นความจริงเลย กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา เป็นแค่รูปธรรม เป็นแค่นามธรรม มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ตัวนี้สำคัญนะ จะเห็นอย่างนั้นจริงๆ เห็นเลยว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นน่ะ ไม่ใช่สิ่งที่อมตะ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวเราถาวร ไม่มีสิ่งที่เป็นตัวเราถาวร ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดถาวรเลย ไม่เฉพาะว่าสิ่งที่เป็นตัวเรานะ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดถาวร มีสิ่งถาวรอันเดียวคือนิพพาน ซึ่งเรายังไม่เห็น

ต้องเห็นรูปเห็นนามให้แจ้งนะ เห็นรูปเห็นนามให้แจ้ง พอเห็นรูปเห็นนามแจ้งแล้ว ตอนที่เกิดอริยมรรคนั้นน่ะ จิตจะสัมผัสกับพระนิพพาน ตอนที่ได้โสดาปัตติมรรคนั่นแหละ คือครั้งแรกในสังสารวัฏฏ์ ที่สัมผัสกับพระนิพพาน

พระนิพพานเป็นอย่างไร พระนิพพานไม่มีไม่เป็นอะไร เป็นสภาวะที่พ้นจากความมีความเป็น นิพพานมีอยู่มั้ย มีอยู่ มีลักษณะอย่างไร มีลักษณะสันติ สงบ สันติ ไม่ใช่ไม่มี ไม่ใช่นิพพานแห้งแล้ง โหวงๆเหวงๆ ไม่รู้เรื่องรู้ราว จิตที่สัมผัสนิพพานเป็นอย่างไร มีบรมสุข เพราะนิพพานเป็นบรมสุข เราไปสัมผัสบรมสุขนะ มันก็บรมสุขไปด้วยนะ เราไปสัมผัสไฟ ไฟมันร้อนใช่มั้ย มันก็บรมร้อนไปด้วยแหละ ใช่มั้ย สัมผัสน้ำแข็งมันก็บรมเย็นแหละ สัมผัสพระนิพพานบรมสุขนะ สุขจริงๆนะ สุขจนธาตุขันธ์มนุษย์แทบจะทนอยู่ไม่ได้เลย สัมผัสทีแรกแทบตายเลย

แต่ว่าตอนโสดาฯ สกทาคาฯ อนาคาฯ นี่ สัมผัสแป๊บเดียว ไม่ทันตายหรอกนะ ไม่ทันรู้สึกหรอก ต้องภาวนาให้มันสุดขีดนะ นึกถึงพระนิพพาน จิตมันทรงอยู่อย่างนั้นน่ะ ทรงกับพระนิพพาน โอ้โหมันมีความสุข เรื่องนี้ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟังนะ หลวงพ่อแค่อวดข้อมูลที่ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟัง

หลวงปู่สุวัจน์ (สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย ต. เสม็ด อ. เมือง จ. บุรีรัมย์) ท่านบอกนะ ท่านบอกว่า ตอนที่ท่านปล่อยวางจิตนะ ท่านมีความสุขอยู่ตั้งปีกว่าๆ สุขมหาศาล สุขเหมือนจะทนอยู่ไม่ไหวเลย สุขมหาศาล สุขแทบตาย สุขมาก ต่อๆไปใจก็ค่อยๆคุ้นเคยนะ ใจก็ค่อยๆเป็นอุเบกขา ก็มีความสุขบ้าง อุเบกขาบ้าง ไม่หวือหวาเหมือนทีแรก มีความสุขมาก

เนี่ยพวกเราอยากได้สัมผัสความสุขอันนี้นะ เราต้องพ้นทุกข์ให้ได้ ตัวทุกข์ก็คือ รูป นาม กาย ใจ ของเรานี่เอง เราจะพ้นทุกข์ได้ ใจจะปล่อยวางรูปนาม ปล่อยวางกายวางใจได้ ใจต้องมีปัญญาเห็นความจริงของรูปของนามนะว่า ไม่ใช่ของดีของวิเศษ..

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๙ ถึงนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
ลำดับที่ ๒๑
File: 530730A.mp3

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

mp 3 (for download) : การภาวนาเหมือนการกินข้าว กินไปเรื่อยๆ แล้วมันอิ่มเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
Track: ๑๑
File: 510202.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๐ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

mp3 for download: มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะฉะนั้นเวลาที่กิเลสชั่วหยาบเกิดนะ คนจะทำผิดศีล เรายังสู้กิเลสหยาบๆไม่ได้ ตั้งใจไว้ รักษาศีลไว้ อย่างน้อยกิเลสชั่วหยาบเกิดขึ้นที่ใจก็ตาม อย่าให้มันทำผิดศีล ทางกายทางวาจาออกมา อย่าให้มันล้นออกมาทางกายทางวาจา มันไปเบียดเบียนคนอื่นเขา เพราะฉะนั้นศีลเนี่ยนะ ช่วยควบคุมพฤติกรรมทางกายทางวาจาของเรา ไม่ให้ไประรานผู้อื่น นี่ มันหยาบมาก มันก็ไประรานคนอื่น

กิเลสชั้นกลางชื่อว่านิวรณ์ เราจะสู้ด้วยสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ไม่ใช่สู้ความสงบ แต่สู้ด้วยความตั้งมั่น สมาธิ แปลว่าความตั้งมั่น สมาธิไม่ได้แปลว่าความสงบ อย่าไปแปลผิดนะ ถ้าแปลผิดก็ภาวนาผิดอีก สมาธิคือความตั้งมั่น องค์ธรรมของสมาธิคือความตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้นแหละ ถ้าเป็นสมาธิที่ดีก็ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศล ถ้าเป็นสมาธิที่ใช้เจริญวิปัสสนาก็ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์รูปนาม ถ้าเป็นสมาธิของพระอริยะเจ้าในขณะเกิดมรรคเกิดผล ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นิพพาน มีตลอดนะ สมาธิ กระทั่งก่อกรรมทำชั่วก็มีสมาธิ เพราะฉะนั้นสมาธิต้องดูให้ดี

สมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตอยู่ในอารมณ์ อารมณ์อันเดียว และถ้าตั้งเป็นนะ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา เราจะเห็นอารมณ์นั้นน่ะ กับจิตเป็นคนละอันกันนะ แยกกัน

นิวรณ์เป็นอะไร นิวรณ์ทั้งหมดเลยมี ๕ ตัว กามฉันทนิวรณ์ ความยินดีพอใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส พยาบาท ความไม่พอใจ ไม่พออกพอใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ความฟุ้งซ่าน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสงสัย วิจิกิจฉา แล้วก็ ถีนมิทธะ ความเซื่องซึม ของจิต ของเจตสิก จิตเซื่องซึม เจตสิกเซื่องซึม ซึมไปด้วยกัน ทำงานไม่ค่อยสะดวก ทำงานไม่ได้ รู้อารมณ์ได้ไม่ดีไม่ชัดเจน

นิวรณ์ทั้งหมดถึงจะมี ๕ ตัว แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว โดยสภาวะของมัน เป็นความฟุ้งของจิตทั้งสิ้นเลย ฟุ้งไปในอารมณ์ที่ดีก็เรียกว่า กามฉันทะ ฟุ้งไปในอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นพยาบาท ฟุ้งจับจด จับอารมณ์ไม่ถูก พวกนี้อุทธัจจะ ฟุ้งไปสงสัย คิดนึกปรุงแต่งใหญ่ เรียกว่า วิจิกิจฉา เห็นมั้ย ฟุ้งไปจับอารมณ์ไม่ได้เลย ไม่รู้เรื่องเลย เป็นถีนมิทธะ เซื่องซึม จับไม่ถูก เป็นเรื่องของจิตฟุ้งซ่านทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นถ้าจะสู้กับจิตฟุ้งซ่าน ก็ต้องจิตไม่ฟุ้งซ่าน จิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน คือ จิตที่ตั้งมั่น จิตมีสมาธิ จึงใช้สมาธิสู้กับนิวรณ์ เหมือนใช้ศีล ไปสู้กับ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นกิเลสชั่วหยาบ

เพราะฉะนั้นเราต้องมีนะ ต้องมี มีศีล มีสมาธิ วิธีฝึกให้จิตมีสมาธินะ สมาธิคือความตั้งมั่น ง่ายที่สุดเลย คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น ง่ายสุดๆ เบื้องต้น หาเครื่องอยู่ให้จิตเสียก่อน เราจะรู้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหว ต้องมีอะไร หยุดนิ่งเอาไว้ เป็นตัวสังเกต จึงจะเห็นชัดว่ามันเคลื่อนไหวมากขนาดไหน

จิตธรรมดาล่องลอย ดูยาก ไม่รู้เคลื่อนไปกี่องศาแล้ว ถ้ามีเครื่องสังเกต สมมุติว่ามีเครื่องสังเกตอันหนึ่ง มันอยู่ตรงนี้ก็รู้ เคลื่อนนิดหนึ่งก็เห็นแล้ว มันเคลื่อนแล้ว เครื่องสังเกตของจิตเนี่ย เรียกว่าเครื่องอยู่ วิหารธรรม

เพราะฉะนั้นเรามีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น พุทโธก็ได้ รู้ลมหายใจก็ได้ อะไรก็ได้ เอาสักอันหนึ่ง ให้จิตตั้งมั่น ให้จิตเนี่ยไปรู้เครื่องอยู่นั้นอย่างสบายๆ รู้พุทโธอย่างสบายๆ รู้ลมหายใจอย่างสบายๆ รู้ท้องพองยุบสบายๆ รู้อิริยาบถ ๔ สบายๆ รู้ร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถ ๔ รู้ร่างกายพอง ร่างกายยุบ รู้อย่างสบายๆ

รู้แล้วทำอะไร รู้แล้วให้จิตนิ่งอยู่กับอารมณ์อันนั้นรึ? ไม่ใช่นะ ไม่ใช่รู้แล้วบังคับให้จิตสงบนิ่งๆอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่รู้ เพื่อจะรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไปแล้ว ที่เคลื่อนไปแล้ว เช่นเราพุทโธๆ นะ จิตหนีไปจากพุทโธเรารู้ทัน เรารู้ลมหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปจากลมหายใจเรารู้ทัน ไม่ใช่บังคับจิตให้อยู่ที่ลมหายใจ ถ้าบังคับแล้วจิตจะแน่น

เพราะฉะนั้นเมื่อเราหัดพุทโธ หัดหายใจ หัดดูท้องพองยุบ แล้วรู้ทันจิตไว้บ่อยๆ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้นะ ไหลนิดหนึ่งก็เห็น ไหลนิดหนึ่งก็เห็น หลวงปู่มั่นสอนสมาธิให้กับฆราวาส สอนแบบนี้นะ สอนอย่างนี้นะ สอนให้ดูจิตนะ สอนให้ดูจิต ใครบอกว่า ดูจิต เป็นของใหม่ๆ เขาสอนกันมาแต่ไหนแต่ไร พระพุทธเจ้าก็สอน หลวงปู่มั่นเอามาสอนหลวงปู่ดูลย์ด้วย แล้วสอนฆราวาสด้วย

ฆราวาสเนี่ยท่านบอกให้มีเครื่องอยู่ไว้อันหนึ่ง อยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ แล้วคอยรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปแล้วรู้ จิตหนีไปแล้วรู้ ในที่สุดพอมันขยับหนีไป พอเรารู้ทันมันจะตั้งขึ้นเอง เพราะอะไร จิตที่หลงไป เป็นอกุศล มีโมหะ ทันทีที่สติระลึกได้ว่าจิตหลงไป จิตเป็นอกุศล จิตที่เป็นกุศลก็เกิด จิตไม่หลงแล้ว จิตตั้งขึ้นมาเอง อัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องบังคับนะ เพราะฉะนั้นเราฝึกบ่อยๆ

เนี่ย เราฝึกอย่างนี้ จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้ มีเครื่องอยู่ไว้อันหนึ่ง ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งอยู่ที่ลมหายใจ ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งอยู่กับพุทโธ ไม่บังคับจิตให้นิ่งอยู่กับท้องพองยุบ ไม่บังคับจิตให้นิ่งอยู่กับเท้าเวลาเดิน แต่จิตหนีไปจากอารมณ์ ที่เราใช้เป็นวิหารธรรม ให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันอย่างนี้จิตจะกลับมาเอง เข้าบ้าน กลับบ้านได้ เมื่อจิตเข้าบ้านได้ ตั้งมั่น

พอจิตตั้งมั่นแล้วมาถึงขั้นของการเดินปัญญา..

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๒

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
ลำดับที่ ๒๑
File: 530730A.mp3

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิที่เอื้อต่อวิปัสสนาต้องประกอบด้วยสติ

สมาธิที่เอื้อต่อวิปัสสนา

สมาธิที่เอื้อต่อวิปัสสนา

mp3 (for download) : สมาธิที่เอือต่อวิปัสสนาต้องประกอบด้วยสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นเราค่อยฝึกเอาไม่ได้ยากเท่าที่คิดหรอก มันยากเพราะว่าเราภาวนาไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์สักที ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติที่เนิ่นช้า เพราะไปภาวนาเอาแต่ความสงบ ทำแต่สมถะอย่างเดียว ไม่มีปัญญา สมถะมีมาก่อนพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าท่านก็ยอมรับสมถะ เอามาใช้ประโยชน์ สมถะเป็นการฝึกจิตฝึกใจให้สงบ ให้ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา ต้องรู้นะ วัตถุประสงค์ของสมถะ ไม่ใช่แค่สงบ ถ้าทำสมถะมุ่งเอาแค่ความสงบของจิตใจอย่างเดียว แค่เอาความสุขของจิตใจอย่างเดียว ไม่เอื้อต่อการที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาที่จะไปเห็นความจริงของกายของใจได้

สมถะ มีอยู่ ๒ พวก พวกหนึ่ง ทำสมถะไปแล้วเป็นมิจฉาสมาธิ จิตสงบเหมือนกันนะ แต่ว่าประกอบด้วยโมหะ ประกอบด้วยความหลง ประกอบด้วยโลภะ ประกอบด้วยราคะ มีความเพลิดเพลินยินดีพอใจในความสุขความสงบที่เกิดขึ้น ความสงบชนิดนี้ สมถะชนิดนี้ไม่เป็นไปเพื่อวิปัสสนา เป็นสมาธิที่มันที่อยู่ทั่วๆ ไป เช่น เราไปหัดนั่งสมาธิ นั่งแล้วก็เคลิ้มๆ สงบนะ หมดเวลาแล้วก็มีความสุข คล้ายๆหลับมาเต็มอิ่ม ตื่นขึ้นมามีความสุข ใจก็ยังเยิ้มๆ เคลิ้มๆ ติดความสุขของสมาธิออกมา สมาธิชนิดนี้ใช้ไม่ได้

มันมีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง คือ สมาธิซึ่งประกอบด้วยสติ อย่างเราหายใจไปนะ หายใจออก หายใจเข้านะ รู้สึกตัวไป เห็นร่างกายมันหายใจไปเรื่อย หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ไม่ให้ขาดสติ ไม่ให้เคลิ้มนะ ไม่ให้ขาดสติ หายใจแล้วรู้สึก หายใจแล้วรู้สึก ค่อยๆ ดู ค่อยๆ สังเกตไป ตัวที่หายใจอยู่นี่ ร่างกายมันหายใจ มันเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ นะ หายใจไปนานก็สังเกตร่างกายเป็นของถูกรู้ ร่างกายมันหายใจเป็นของถูกรู้ จิตเป็นคนรู้ร่างกายที่หายใจ นี่ฝึกไปๆ จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มันไม่ใช่ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ผู้หลง แต่เป็นผู้ดูจริงๆ

มันเป็นผู้ดูแล้ว ต่อไปนี้เราไม่ได้ไปประคองจิตให้นิ่งอยู่กับผู้รู้ผู้ดู มีสติตามรู้ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของกายของใจเรื่อยไป เราก็เจริญปัญญา เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี่เจริญปัญญาได้

เพราะฉะนั้น พวกเราต้องระมัดระวังในการทำสมาธิ ต้องเป็นสมาธิที่ประกอบด้วยสติ อย่าให้ขาดสติ สมาธิที่เป็นอกุศลมีอยู่ สมาธิไม่ใช่ไปเกิดกับจิตที่เป็นกุศลเสมอไป ไม่เหมือนสตินะ สติจะเกิดร่วมกับจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น แต่สมาธินี่เกิดกับจิตอกุศลก็ได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่ใจสงบแล้วประกอบด้วยโมหะ ลืมเนื้อลืมตัว เป็นไปได้ไหมที่จะสงบแล้วลืมตัว เป็นได้มากเลยนะ นั่งสมาธิแล้วก็เคลิ้มลืมตัวไปอย่างนี้ หรือนั่งแล้วก็ใจออกนอก เห็นแสงสว่าง เห็นเทวดา เห็นผี ออกนอกไป สมาธิชนิดนี้ไม่สามารถทำให้เรากลับมารู้จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูได้

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๓๑
File : 520709
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๑๕ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๑
แสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู คือ จิตที่มีสมาธิ

จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู คือ จิตที่มีสมาธิ

จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู คือ จิตที่มีสมาธิ

mp3 (for download) : จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู คือ จิตที่มีสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฝ้าดูลงไปนะ ค่อยๆ สังเกต ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ ดูไป จิตซึ่งมันตั้งมั่นมีผู้รู้ผู้ดูอยู่นี่แหละ เรียกว่า จิตมันมีสมาธิ ถ้าจิตมันหาย ผู้รู้ผู้ดูหายไปนะ กลายเป็นผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่งไป ก็เรียกว่าจิตมันขาดสมาธิ เราอย่านึกว่าสมาธิคือการเห็นแสงสีต่างๆ นะ การเห็นนิมิตแสงสีต่างๆ ไม่เรียกว่ามีสมาธิที่แท้จริงหรอก จิตยังสมาธิไม่ดีพอ ยังฟุ้งออกไปข้างนอก ไปเที่ยวเห็นอันโน้นอันนี้หรือจิตยังปรุงแต่งอยู่ เพราะฉะนั้น ถ้าจิตเราตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูเรียกว่าเรามีผู้รู้ มีสมาธิที่แท้จริงอยู่ เป็นสมาธิที่เกื้อกูลกับการเจริญวิปัสสนา

แสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๑
CD ศาลาลุงชิน แผ่นที่ ๓๑
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
File : 520709
ระหว่าง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓๓ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่แทรกแซงขันธ์

รู้ด้วยความเป็นกลาง

รู้ด้วยความเป็นกลาง

mp 3 (for download) : รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่แทรกแซงขันธ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

 

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตใจนะเค้าทำงานของเค้าทั้งวัน เค้าปรุงดีบ้าง ปรุงร้ายบ้าง ไม่เป็นปัญหานะ จิตจะปรุงกุศล จิตจะปรุงอกุศล ไม่มีปัญหา ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าพวกเรานักปฏิบัติชอบเข้าไปปรุงแต่งจิต เช่น จิตมีอกุศลนะ หาทางละ จิตเป็นกุศลพยายามรักษาหรือพยายามทำให้กุศลเกิดขึ้นมา จิตปรุงแต่งไม่เป็นไร เราอย่าไปปรุงแต่งจิต เพราะฉะนั้นอย่างจิตของเรามีโมหะ มัว ให้รู้ด้วยความเป็นกลาง นี่…คีย์เวิร์ดของมันนะ คือรู้ด้วยความเป็นกลาง ถ้าเรารู้ด้วยความเป็นกลางไม่ได้ เราจะเข้าไปปรุงแต่ง เช่น จิตเป็นอกุศลนะ อยากให้ดี ไม่เป็นกลาง แล้วเราก็พยายามหาทางทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ การที่เราปรุงแต่ง การที่เราพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมานั่นแหละ มันปิดกั้นไว้ ปิดกั้นเอาไว้จากมรรคผลนิพพาน นิพพานคือความไม่ปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นตราบใดที่จิตยังปรุงแต่งอยู่นะ ตราบใดที่ไปหลง ปรุงแต่งจิต ไม่ใช่จิตปรุงแต่ง ตราบใดที่ยังไปหลงปรุงแต่งจิตอยู่จะเห็นนิพพานไม่ได้เลย แต่ถ้าเราเห็นจิตนี้ปรุงแต่งไปทั้งวันทั้งคืน เราไม่ปรุงแต่งจิต ถึงจุดหนึ่งมันจะเห็นเลย จิตมันก็ส่วนจิตนะ ก็ทำงานของมันไป ธรรมชาติที่เป็นคนไปรู้ ก็อยู่ต่างหาก ไม่เกี่ยวกัน ธรรมชาติที่ไปรู้ขันธ์โดยที่ไม่ไปยึดขันธ์นั่นแหละ ธรรมชาติอย่างนี้นะ ถึงจะไปเห็นนิพพานได้

       จริงๆมรรคผลนิพพานไม่ใช่เรื่องยากเลยนะ นิพพานไม่เคยหายไปไหนสักวันเดียวเลย นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาเรามาแต่ไหนแต่ไร ไม่ได้อยู่ไกลเลยนะ อยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง แต่เราไม่เห็น นิพพานคือความไม่ปรุงแต่ง นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิสังขาร” นิพพานมีชื่ออันหนึ่งว่า “วิราคะ” ไม่มีความอยาก ใจของเรามันมีความอยาก อยากปฏิบัติธรรม อยากดี อยากโน่นอยากนี่ขึ้นมา พอมันมีความอยากขึ้นมา มันก็ปรุง คนชั่วก็ปรุงชั่ว คนดีก็ปรุงดี นักปฏิบัติก็ปรุงดีขึ้นมา คอยควบคุมกายคอยควบคุมใจ หาทางทำอย่างนั้นหาทางทำอย่างนี้ การที่พยายามทำอยู่นั่นแหละทำให้ไม่เห็นนิพพาน ฉะนั้นขันธ์ ๕ นะ ขันธ์ ๕ เค้าเป็นธรรมะที่ปรุงแต่งเรียก“สังขตธรรม” ฉะนั้นขันธ์ ๕ ต้องปรุงแต่ง ขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เราไม่ได้ไปฝึกให้ขันธ์ ๕ ไม่ปรุงแต่งนะ เพราะฉะนั้นอย่างจิตเนี่ย จิตอยู่ในขันธ์ ๕ จิตมีหน้าที่คิดนึกปรุงแต่ง เราไม่ได้ฝึกให้มันไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แต่เมื่อเค้าทำงาน ขันธ์ ๕ เค้าทำงานแล้วเนี่ยอย่าหลงเข้าไปแทรกแซงขันธ์ ๕  พวกเรานักปฏิบัติชอบแทรกแซงขันธ์ ๕ นะ เช่น ร่างกายนี้มันจะหายใจ เราก็ไปแทรกแซงการหายใจ ไปเปลี่ยนจังหวะการหายใจ หายใจให้ผิดธรรมดา แล้วก็เหนื่อยนะ ร่างกายเคยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เคยยืน เคยเดิน เคยนั่ง เคยนอน ท่านั้นท่านี้ เราก็เริ่มไปจำกัดมัน ต้องอยู่ท่านั้นต้องอยู่ท่านี้ ต้องเดินอย่างนั้นถึงถูกต้องนั่งอย่างนี้ถึงจะถูก เดินท่านั้นผิดเดินท่านี้ผิด นี่เราพยายามเข้าไปแทรกแซงขันธ์ เวทนาเค้าก็เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง เดี๋ยวเค้าก็สุข เดี๋ยวเค้าก็ทุกข์ เดี๋ยวเค้าเฉยๆ พอเราเห็นทุกข์ขึ้นมาเราไม่ชอบนะ พยายามแทรกแซงให้หายไป ความสุขก็พยายามแทรกแซงให้มันเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วแทรกแซงจะรักษามันไว้ นี่เราเข้าไปหลงแทรกแซงขันธ์ ๕ สัญญามันจะจำได้มันจะหมายรู้ ก็ไปแทรกแซง ที่อู๊ดเคยพลาดเรื่องแทรกแซงสัญญา ตัวนั้น จำได้ใช่มั้ย เห็นโต๊ะไปเรียกว่าเก้าอี้อะไรอย่างนี้นะ ไปแทรกแซงทำให้มันสับสน เสร็จแล้วมันจะอยู่ในโลกสมมุตินี้ไม่ได้ เพราะว่าสัญญา ไม่ตรงกับใครเค้าเลย สังขารก็คือจิตมันต้องปรุงดีบ้างปรุงชั่วบ้าง เราไม่อยากให้ปรุงชั่ว เราอยากให้ปรุงดี เราแทรกแซงนะ อย่างจิตฟุ้งซ่านขึ้นมา เราก็มาพุทโธๆ มาฟุ้งซ่านหนอๆ ให้หายฟุ้งซ่าน นี่แทรกแซง จิตโกรธขึ้นมานะ ก็พยายามแผ่เมตตาใหญ่ แผ่เมตตาให้หายโกรธ อันนี้ก็แทรกแซง แต่ถามว่าดีมั้ย? ก็ดี   เหมือนกันนะ แต่ดีแบบสมถะไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนานี่เราจะให้ขันธ์ทำงานไป โดยเราไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ ใจที่มันสงบตั้งมั่นไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ เห็นขันธ์ไปตามความเป็นจริง ใจดวงนี้เนี่ยใกล้ต่อมรรคผลนิพพาน ที่อาจารย์วัฒนาถาม “สังขารุเปกขาญาณ” เมื่อเช้านี้ จิตที่มันตั้งมั่นด้วยปัญญานะ ตั้งมั่นมีปัญญาอยู่ เห็นขันธ์ทำงานไปส่วนของขันธ์ จิตไม่เข้าไปแทรกแซงขันธ์ อย่างนี้เรียกว่า “สังขารุเปกขา” เป็นกลางกับขันธ์ เป็นกลางกับสังขาร กับความปรุงแต่งทั้งหลาย ภาวะแห่งการสักว่ารู้สักว่าเห็นก็จะเกิดขึ้น ใจจะไม่   ดิ้นรน เมื่อใจไม่ดิ้นรน ถึงจุดหนึ่งใจจะเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน ธรรมะที่ไม่มีความอยาก ธรรมะที่ไม่ดิ้นรน คือ “วิราคะ” กับ “วิสังขาร” หรือ “นิพพาน” นั่นเอง

       เพราะฉะนั้นไม่มีใครกีดกั้นเราไว้จากนิพพานเลย ไม่มีใครกีดกั้นเราจากมรรคผล เรากีดกั้นตัวเอง ด้วยความอยากจะได้มรรคผลนิพพานนั่นแหละ พออยากจะได้ขึ้นมาก็ดิ้นรนใหญ่เลย หาทางทำยังไงจะได้      ทำยังไงจะถูก เวลาเรียนธรรมะก็ชอบถามนะ “จะวางจิตไว้ตรงไหนถึงจะถูก?” “จะทำยังไงถึงจะดี? ” “ทำ ยังไงจะมีสติได้ทั้งวัน?” อะไรอย่างนี้ เราคิดแต่จะทำน่ะแทนที่เราจะรู้ทันการกระทำนะ แล้วหยุดการกระทำของใจเราเอง ส่วนขันธ์ไม่หยุดนะ ไม่ไปแทรกแซงให้ขันธ์หยุดการเคลื่อนไหวนะ หลายคนไปแทรกแซงขันธ์ เช่น ไม่ยอมเดิน นั่งอย่างเดียว นั่งไปเรื่อยๆนะ คิดว่าถ้ามันอยากกระดุกกระดิกขึ้นมาเนี่ย กิเลสมันจะแทรก ก็เลยทรมานนั่งอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน คือเราชอบทำอะไรที่เป็นการแทรกแซงขันธ์ นักปฏิบัติน่ะ  ไม่ได้ทำอย่างอื่นหรอก ชอบแทรกแซงขันธ์ แทรกแซงไปเรื่อยเลย บังคับไป กระทั่งทำสมถะนะ ก็คือพยายามบังคับให้ใจนิ่ง แต่ว่ามีประโยชน์นะ สมถะ ไม่ใช่หลวงพ่อว่าไม่ให้ทำนะ เพียงแต่ว่าทำสมถะ บังคับใจไปเรื่อยๆ ไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพพาน อยากได้มรรคผลนิพพานต้องปล่อยให้ขันธ์ ๕ ทำงานไป แล้วมีสติตามรู้ไปเรื่อยๆ จนเห็นความจริง ว่ามันทำงานของมันเอง มันไม่ใช่ตัวเรา ใจเป็นกลาง ใจไม่ดิ้นรน ตรงที่ใจไม่ดิ้นรนนั่นแหละ ใจจะเข้าไปถึงธรรมะ ไม่ใช่ทำให้ขันธ์สงบแล้วเข้าถึงธรรมะนะ ขันธ์ก็ต้องเป็นขันธ์ ขันธ์ก็ต้องปรุงแต่ง เพราะขันธ์เป็น “สังขตธรรม” ธรรมที่ต้องปรุงแต่ง

   ถ้าเราวางเป้าหมายของการปฏิบัติผิด เราจะเข้าถึงธรรมะไม่ได้ นักปฏิบัติเกือบทั้งหมดนะตั้ง         เป้าหมายของการปฏิบัติผิด อยากดี อยากดี อยากจะพ้นจากความชั่ว อยากจะดี  อยากได้รับความสุขนะ พ้นจากความทุกข์ อยากได้ความสงบ พ้นจากความฟุ้งซ่าน แท้จริงแล้วไม่มีใครทำขันธ์นี้ให้สุขถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้สงบถาวรได้ ไม่มีใครทำขันธ์ให้ดีถาวรได้ เพราะขันธ์เป็นของไม่ถาวร สุขได้ก็ทุกข์ได้ ดีได้ก็ชั่วได้นะ แต่ความพ้นจากขันธ์ต่างหากล่ะ คือความพ้นจากทุกข์ เราไม่เข้าใจนะ ว่าความพ้นจากขันธ์คือความพ้นจากทุกข์ พ้นจากขันธ์ไม่ต้องรอให้ตายก่อนนะ จิตนี้แหละมันไม่ยึดถือขันธ์ มันถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ เป็นอิสระจากขันธ์ เมื่อไรจิตเป็นอิสระจากขันธ์ ถอดถอนตัวเองออกจากขันธ์ ในพระไตรปิฎกมีคำหนึ่งด้วย สำรอกออกมา สำรอกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์นะ ขันธ์ก็เป็นทุกข์ตามธรรมดาของขันธ์ แต่จิตที่หลุดออกมาจากขันธ์ จิตที่พ้นจากขันธ์ ตัวนี้ต่างหากที่ไม่ทุกข์ ไม่ใช่พยายามไปปฏิบัติเพื่อให้ขันธ์เป็นสุขนะ พวกเราพยายามปฏิบัติจะให้ขันธ์เป็นสุข เช่น อยากให้จิตสุขถาวร ถ้าตั้งเป้าผิด การปฏิบัติผิดแน่นอนเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ ชาวพุทธทำเนี่ย ไม่ใช่ว่าทำยังไงจะดี ทำยังไงจะสุข ทำยังไงจะสงบ อันนั้นศาสนาอื่นเค้าก็ทำ สิ่งที่ชาวพุทธแตกต่างจากศาสนาอื่นๆ ก็อยู่ที่ตัวปัญญานั่นเอง สิ่งที่ทำให้ศาสนาพุทธต่างจากคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องศีล ไม่ใช่เรื่องสมาธินะ ศาสนาอื่นก็มีศีล มีสมาธิ แตกต่างก็แตกต่างในรายละเอียด อย่างคริสต์เนี่ยกินไวน์ได้ใช่มั้ย? ประเทศเค้าหนาวเค้าก็กินได้สิ แตกต่างกันไป ส่วนสมาธิก็หลักอันเดียวกันหมดล่ะ จะศาสนาไหนก็มีเรื่องของสมาธิ มุสลิมละหมาดวันละ ๕ ครั้ง เหมือนเราสวดมนต์นั่นเอง ใจจดจ่อ เค้าจดจ่อกับพระเจ้า จิตใจเค้าสงบ จิตใจเค้ามีความสุข เห็นมั้ย สมถะเป็นของสาธารณะนะ สมาธิเป็นของสาธารณะ ศีลก็เป็นของสาธารณะ นักปราชญ์ทั้งหลายยกย่องการมีศีลเหมือนๆกัน ศีลแตกต่างกันบ้างเล็กๆน้อยๆ แต่ปัญญาต่างหากที่ไม่เหมือนกัน คนอื่นเนี่ยสอนเพื่อมุ่งความสุขถาวรความเป็นอมตะ แต่พระพุทธเจ้าค้นพบว่าไม่มีทางทำขันธ์ให้เป็นสุขถาวรได้หรอก ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์

       เคยได้ยินอริยสัจ ๔ ใช่มั้ย? อริยสัจ ๔ ข้อแรกคือ ทุกข์ ทุกข์คืออะไร? ทุกข์คือขันธ์ ๕ นะ ขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ไม่มีใครทำขันธ์ ๕ ให้เป็นตัวสุขได้ แต่ว่าพวกเราที่ลงมือปฏิบัติเนี่ย มักจะมุ่งหวังให้ขันธ์ ๕ มีความสุข ตั้งเป้าผิดนะ ยังไงก็ผิด ทำไมเราอยากให้ขันธ์ ๕ มีสุข? เราคิดว่าขันธ์ ๕ นี้คือตัวเรา เราจะเสียดายมากเลยถ้าตัวเราหายไป เพราะเราจะรักเหนียวแน่นที่สุดเลยว่ามันคือตัวเรา พอมันเป็นตัวเรา เราก็อยากให้มันมีความสุข เพราะไม่รู้ความเป็นจริง คือมีอวิชชา ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ คิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวดี คิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวเรา ก็เกิดตัณหาเกิดความอยากจะให้ขันธ์ ๕ มีความสุข อยากให้ขันธ์ ๕ นี้พ้นจากทุกข์ พอมีความอยากขึ้นมาจิตใจก็ยิ่งดิ้นรน ดิ้นรนแสวงหาความสุข ดิ้นรนหนีความทุกข์ ที่ปฏิบัติธรรมกันแทบเป็นแทบตาย รู้สึกมั้ย? พอลงมือปฏิบัติแล้วความทุกข์เกิดขึ้นตั้งเยอะแยะเลย ความจริงต้องการพ้นทุกข์นะ แต่ยิ่งดิ้นมันยิ่งทุกข์ ยิ่งดิ้นมันยิ่งทุกข์ พอยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้นนะ นี่วัฏสงสารหมุนเวียนอยู่ตรงนี้เอง สังสารวัฏหมุนอยู่ตรงนี้เอง ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้น เวียนไปเรื่อยๆ ไม่มีทางสิ้นสุดเลย แล้วก็ดิ้นเลย ทำยังไงจะพ้นทุกข์ ทำยังไงจะพ้นทุกข์ ทำยังไงกายนี้ใจนี้จะพ้นทุกข์ พ้นไม่ได้เด็ดขาด แต่ถ้าปัญญาแก่กล้าขึ้นมานะ เห็นขันธ์ก็ส่วนขันธ์นะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย คืนขันธ์ให้กับโลกไป คืนขันธ์ให้ธรรมชาติไป คือคืนก้อนทุกข์ให้โลกไปนั่นเอง โลกนี้เป็นทุกข์นะ ขันธ์เป็นทุกข์ คำว่าโลกกับขันธ์ก็คำเดียวกันนั่นแหละ บางทีก็บอกโลกคือหมู่สัตว์ บางทีในพระไตรปิฎกบอก โลกคือขันธ์ ๕ คือรูปกับนาม ก็อันเดียวกัน มันเป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นหน้าที่เราเรียนรู้ทุกข์ รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจไปด้วยจิตใจที่เป็นกลาง นี่…คีย์เวิร์ดอยู่ตรงนี้เอง คือรู้ด้วยความเป็นกลาง รู้แล้วไม่แทรกแซง พวกเราตั้งหน้าแทรกแซงลูกเดียวเลย แทรกแซง บังคับ เคี่ยวเข็ญ อยากให้ได้มรรคผลนิพพาน อยากให้ดี อยากให้สุข อยากให้สงบ มีแต่แทรกแซง พอแทรกแซงมันก็คือการกระทำกรรม ก็มีวิบากมีความทุกข์ขึ้นมาอีก มีกิเลสคืออยากพ้นทุกข์  เกิดการกระทำกรรม เรียกว่า “กรรมฐาน” เกิดวิบากมีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าเรามีกิเลสอยากปฏิบัติ มีสติรู้ทัน รู้ทันความอยากดับลงไป ไม่มีความอยากปฏิบัติ แต่รูปเคลื่อนไหว รู้สึก จิตเคลื่อนไหวรู้สึก รู้สึกเองไม่ได้จงใจรู้สึก รู้สึกแล้วไม่ทำอะไร ไม่แทรกแซง ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่เข้าไปทำอะไรกับรูปกับนามกับกายกับใจ รู้ลูกเดียว รู้อย่างเป็นกลาง ใจที่เข้าถึงความเป็นกลางก็ไม่ดิ้นรน ใจที่ไม่ดิ้นรนนี่แหละจะเห็นนิพพาน เพราะฉะนั้น พรากออกจากขันธ์เมื่อไหร่ ก็เห็นนิพพานเมื่อนั้น พรากออกจากขันธ์ไม่ใช่ตายนะ อยู่ต่อหน้าต่อตานี่

       ถ้าใครภาวนากับหลวงพ่อไปช่วงหนึ่งจะเห็น ตื่นเช้าขึ้นมานะสิ่งแรกที่พวกเรานักปฏิบัติทำนะ คือหยิบฉวยจิตขึ้นมาก่อน หยิบฉวยขึ้นมาก่อน ดูออกมั้ย พวกที่ฝึกมาช่วงหนึ่งแล้ว พอตื่นเช้าขึ้นมานะ คว้าปั๊บเลย กลัวไม่ได้ปฏิบัติ กลัวหาย กลัวจะหลงไป คว้าเอาไว้ แล้วก็มาดูใหญ่ ดู ศึกษา นี่นึกว่านี่คือการปฏิบัติธรรมนะ นี่กำลังหลงอยู่แท้ๆเลย และไม่ได้ดูเฉยๆนะ บีบด้วยนะ เค้นมันทั้งวันเลย เค้นมันทั้งวันเลย เวลาตัณหาเกิดทีหนึ่ง เค้นทีหนึ่ง ตัณหาเกิดทีหนึ่ง เค้นทีหนึ่ง ตัวมันเองก็เป็นตัวทุกข์อยู่แล้ว เป็นภาระ มันเป็นทุกข์เพราะมันเป็นภาระนะ ไปหยิบฉวยขึ้นมา มันก็เป็นภาระ เลยเป็นทุกข์ขึ้นมา แถมยังไปบีบไปเค้นมันด้วยตัณหาอีก มีทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงกลนะ ให้รู้ลงไป รู้กายรู้ใจ รู้กายรู้ใจตามที่เค้าเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง บางครั้งรู้แล้วใจไม่เป็นกลาง ห้ามไม่ได้ เพราะจิตใจก็เป็นอนัตตา เช่น พอมันเห็นความทุกข์เกิดขึ้น มันอยากให้หาย ไม่เป็นกลาง ก็ไม่ว่ามันนะ ไม่เป็นกลางให้รู้ว่าไม่เป็นกลาง ให้     รู้ทันความไม่เป็นกลางนะ ความไม่เป็นกลางดับไปมันจะเป็นกลางของมันเอง เราก็จะรู้ทุกข์ด้วยความเป็นกลาง หรือความโกรธเกิดขึ้นมา มันอยากหายโกรธ ให้รู้ทันความอยากหายโกรธ ตัวนี้ไม่เป็นกลาง พอรู้ทันนะ ความอยากนี้ดับไป ใจเป็นกลาง ท่านบอก “ให้รู้ทุกข์ ให้ละสมุทัย” ใช่มั้ย “รู้ทุกข์” ก็คือสภาวะของรูปธรรมนามธรรมปรากฏขึ้นมาให้รู้ ใจเราไม่เป็นกลาง มันอยากให้เป็นอย่างนั้นอยากให้เป็นอย่างนี้ ตัวนี้ให้ละเสีย ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ ละความอยากที่จะแทรกแซงขันธ์นั่นเอง แล้วใจก็จะเป็นกลางกับขันธ์ ดูขันธ์ทำงานไป ถึงวันหนึ่ง ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นความจริงเลย ขันธ์ส่วนขันธ์นะ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา เราไม่มี มีแต่ธรรมชาติอันหนึ่งไปรู้ขันธ์เข้า ไม่มีความเป็นตัวเป็นตนตรงไหนเลย พอวางลงไปนะ มันจะวางเป็นลำดับๆไป ขั้นแรก มันวางกายก่อน วางความยึดถือกายก่อน เพราะว่ากายนี่ดูง่ายว่าเป็นตัวทุกข์ เห็นว่ากายนี้มันทุกข์ นี่ดูง่าย มันยอมวาง เวลาเจ็บหนักๆ เคยเห็นมั้ยตามโรงพยาบาล คนไข้เจ็บหนักนะอยากตาย เมื่อไหร่จะตายโว้ย เมื่อไหร่จะตายโว้ย เห็นไหม ไม่รักกายแล้วนะ เพราะกายนี้ทุกข์ อย่างนี้เห็น แต่ไม่รู้สึกว่าจิตเป็นทุกข์ มองไม่เห็น เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ พวกเราดูเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตัวเองนะ มันไม่อ้อมค้อม วันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราจะได้โสดาบัน วันใดไม่ยึดถือจิต วันนั้นแหละเป็นพระอรหันต์ เพราะสิ่งที่ยึดที่สุดเลยคือจิตนั่นเอง เพราะฉะนั้นเรียนรู้นะ เรียนรู้เข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตนเอง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๒
File: 491022B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

mp 3 (for download) : ภาวนาใหเหมือนเป็นคนวงนอก

mp3 for download:

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: คือเมื่อสองสามวันก่อนมันฟุ้งซ่านมากเลยค่ะ หลวงพ่อ แล้วพอมันรู้สึกว่าแก้ปัญหาจบนี่ หมดหน้าที่นี่ มันกลับมาเบิกบานเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นน่ะค่ะ แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นการกดอยู่หรือเปล่าน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่ได้กดนะ ไม่ได้กด คือใจของเรานี่มันยังไม่ได้พ้นจากความยึดถือ เพราะฉะนั้นเวลาทำงานมันก็เข้าไปคลุกวงใน อดเข้าไปคลุกไม่ได้หรอก เวลาตะลุมบอนนี่ห้ามมันก็ไม่ได้ แต่พอหมดภาระแล้วใจที่เคยฝึกไว้ดีแล้วก็ถอยออกมา รู้สึกไหมถอยออกมาอยู่วงนอก ไม่เข้าไปคลุกวงใน

โยม: ค่ะ รู้สึกเหมือนมันเป็นเรื่องของคนอื่นแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์: มันเป็นเรื่องคนอื่น เวลาเราเข้าไปคลุกวงในก็ไปตะลุมบอน ทีนี้ทั้งหมัด ทั้งเท้า ทั้งศอก ทั้งเข่านะ ตะลุมบอนเข้าไป พอไปตีกับเขาเสร็จ ถอยออกมานะ ผ่านไป ไม่รู้ไปตีกับเขาทำไม มันเหมือนเรื่องของคนอื่นทั้งหมดเลย อันนี้กระทั่งความรู้สึกทั่วๆ ไปก็จะรู้สึกนะ เวลาพวกเด็กๆ น่ะ บางคนอกหัก บางคนมีปัญหาชีวิตอะไรอย่างนี้ บางคนกลุ้มใจแฟนเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันเหมือนเผชิญอยู่กับปัญหา เหมือนคลุกวงในอยู่ มองปัญหาไม่ออก หาทางออกไม่ได้ พวก advisor เขาเรียกว่าอะไร พวก consultant พวกนี้เลยหากินได้ พวกนี้ไม่ได้คลุกวงใน

แต่พอเราออกห่างจากปัญหามา ปัญหามันผ่านไปแล้วนะ เราจะดูๆ มันเหมือนเรื่องของคนอื่นทั้งหมดเลย พอผ่านไปแล้วก็เหมือนเรื่องของคนอื่น ปัญหาที่เคยยิ่งใหญ่ไม่ยิ่งใหญ่อีกต่อไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตผ่านไปหมด แต่ถ้าเราเคยฝึกภาวนา ทุกอย่างในชีวิตเราผ่านไปหมดแล้วนะ เราก็เหลือแต่ความสุขความสงบของเราอยู่ แต่คนที่ไม่มีการภาวนาพอหมดเรื่องนี้มันก็จะดิ้นหาเรื่องอื่นไปอีก เขาเรียกว่าแส่หาเรื่อง สังเกตไหม ใครยอมรับไหมว่ามีนิสัยแส่หาเรื่อง ใครไม่เป็นลองยกมือ มีไหมใครไม่เป็น ไม่มี

จิตใจของเรานี่แส่ทั้งวัน มันเลยมีศัพท์คำหนึ่ง คำว่า “ส่ายแส่” รู้สึกมั้ย ส่ายไปแล้วก็แส่หาเรื่อง ส่ายไปแล้วก็แส่หาเรื่อง จิตมีธรรมชาติส่ายแส่ ส่ายไปส่ายมา ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรผลักให้ส่าย ตัณหาผลักให้ส่าย ส่ายไปแล้วก็ไปแส่ หาเรื่องมาใส่ตัวเอง วิ่งไปทางตาก็วิ่งไปเอาความทุกข์มาใส่ตัวเอง วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งไปคิดไปนึกนะ ก็วิ่งไปเอาความทุกข์มาใส่ตัวเองล้วนๆเลย

ตอนตะลุมบอนมองไม่ออกนะ คนวงนอกมองออก ทีนี้ทำอย่างไรเราจะสามารถฝึกจนเกิดคนวงนอกอยู่ในนี้ การเจริญสติปัฏฐานจะทำให้เรากลายเป็นคนวงนอกสำหรับกายนี้และใจนี้ เราจะมาอยู่วงนอกนะ เราจะเห็นกายเห็นใจมันทำงานไป เราไม่เกี่ยวหรอก เราเห็นมันทำงานไปเรื่อยๆเลย เพราะฉะนั้นมันจะทำผิด ทำถูก ทำดี ทำไม่ดี มันเห็นได้ชัดเพราะเราไม่ได้คลุกวงใน ถ้าคลุกวงในแล้วมันเกิดอคติขึ้นมา

โยม: หลวงพ่อคะ แล้วในกรณีที่เรารู้สึกว่า ถ้าเราไม่ไปคลุก มันเหมือนกับเราละเลยหน้าที่อะไรบางอย่าง

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ กิเลสมันหลอก เราสามารถทำหน้าที่โดยไม่คลุกวงในได้ เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหา เราต้องแก้ปัญหาด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เราจะมองปัญหาได้ชัด ที่นี้กิเลสมันจะหลอกให้ต้องทุ่มให้สุดเนื้อสุดตัว กระโดดเข้าไปคลุกวงใน แก้ปัญหาได้ไม่ดี เพราะมองอะไรก็ไม่ชัด มองอย่างคนนอก จะมองง่าย แก้ปัญหาง่าย เพราะฉะนั้นพวกที่ปรึกษาเลยหากินง่ายนะ ไม่ได้ฉลาดกว่าเรานะ ที่พวกเราต้องจ้างบริษัทฯที่ปรึกษามาทำโน่นทำนี่ พวกนี้ไม่ได้รู้งานของเรามากกว่าเรา พวกนี้ไม่ได้มีไอเดียหรือฉลาดอะไรมากกว่าเรา แต่พวกนี้ไม่มีผลประโยชน์กับเรา เราจะเจ๊งก็ไม่ว่าอะไร ขอให้จ่ายเงินก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นเขามองอะไรได้ง่ายกว่าเรา

ทำอย่างไรเราจะเป็นคนวงนอกสำหรับตัวเองโดยไม่ต้องจ้างใครมาช่วยมอง เป็นคนวงนอกก็ได้เห็นเลย กายไม่ใช่เรา รู้สึกมั้ย กายอยู่ห่างๆ จะรู้สึกทันทีเลย กายอยู่ห่างๆ เวทนา ความสุข ความทุกข์ อยู่ห่างๆ กุศล อกุศล อยู่ห่างๆ เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน เราไม่เข้าไปคลุกกับเขา ดูอย่างนี้นะ แล้วทุกอย่างจะผ่านมาแล้วก็ผ่านไปให้ดู โอ้..ภาวนาแล้วจะมีแต่ความสุข

โยม: ตอนนี้มันเป็นลักษณะที่ รู้ทฤษฎี แต่พอเวลาถึงจังหวะจริงๆ..

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ นั่นแหละ มันยังเมาหมัดอยู่ เพราะว่ามันชกมานาน มันชกมานับภพนับชาติไม่ถ้วน มันไม่เคยทำตัวเป็นแค่ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ เพราะเราเข้าวงในตลอด

พระพุทธเจ้าสอนเรา ให้ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ จนจิตใจของเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่คลุกวงใน พอพระพุทธเจ้าสอนเรา จนใจของเราตั้งมั่นขึ้นมา บทเรียนที่ทำให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาอย่างนี้เรียกว่า “จิตตสิกขา” จิตตสิกขา เราจะศึกษาไปจนจิตของเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นแค่คนดู เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่ใช่นักประพันธ์ ไม่ใช่นักวิจารณ์ ไม่ใช่นักแสดง เป็นแ่ค่คนดู พอดูแล้วคราวนี้ล่ะเห็นชัดเลย ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำงานนี้ไม่ใช่เราสักอันหนึ่ง ร่างกายที่ทำงานอยู่ไม่ใช่เรา เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ ไม่ใช่เรา สังขารที่เป็นกุศล อกุศล ไม่ใช่เรา จิตที่เกิดดับทางทวารทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่เรา ดูอย่างนี้นะ มันถอนเอาความเป็นเราออกมาแล้วมาคอยรู้คอยดูไปเรื่อยๆ ทำตัวเป็นแค่คนดู ถ้าคลุกวงในจะไม่เห็น

เหมือนเขาเตะฟุตบอลกันนะ เราอยากดูให้ชัดนะ กระโดดลงไปยืนกลางสนามนะ เราจะเจอเท้า ๔๔ ข้าง นะ ใช่มั้ย ๔๖ มีกรรมการอีกคน ดีไม่ดีโดนเหยียบ หลบคนนี้ เจออีกคนนี้ อะไรอย่างนี้ ถ้าเรานั่งบนอัฒจรรย์ดู เราเห็นหมดเลย เห็นภาพชัด

หรือเหมือนกับคนชกมวยกับคนดูมวยนะ คนชกมวยนะ มันเก่งแสนเก่ง เวลาชกนะ สังเกตมั้ย พวกที่ยืนข้างเวทีเป็นคนสอน ชกตรงนั้นสิ ชกตรงนี้สิ เพราะมันไม่มีส่วนได้เสีย มันดูง่าย เนี่ย บอก “เอ็งเซ่อ เอาหน้าไปให้เขาชกอยู่เรื่อย หลบสักนิดหนึ่งก็พ้นแล้ว” แต่ตอนเมาหมัดน่ะมันไม่รู้ เพราะฉะนั้นอย่าเมาหมัดนะ เวลาภาวนาห้ามเมาหมัด จำไว้นะ อย่าคลุกวงใน อย่าตะลุมบอนกับกิเลส ดูอยู่ห่างๆ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ดูห่างๆไว้นะ

คำว่าดูห่างๆนี้เป็นสภาวะนะ ถ้าภาวนาเป็นถึงจะรู้ัจัก ถ้าภาวนาไม่เป็น ดูห่างๆไม่เป็น ไม่เข้าใจหรอกว่าห่างอย่างไร ได้ยินหลวงพ่อพูดแล้วก็งงๆ แต่ถ้าภาวนาเป็นจะรู้เลย กายกับจิตนี้มีระยะทางนะ มีช่องว่าง มีระยะห่าง จิตกับเวทนาก็มีระยะห่าง จิตกับสังขารก็มีระยะห่าง แถมจิตที่ว่ามีระยะห่างนั้นยังเกิดดับเสียอีก ไปๆมาๆหาตัวเราไม่ได้สักตัวเดียว


แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
ลำดับที่: ๑๑
File: 510323.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

mp 3 (for download) : ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นคนรู้คนดู พวกเราหลายคนทำกรรมฐานมากมาย แต่สงสัยว่าทำไมมันไม่เกิดมรรคผลนิพพานตัวจริง เพราะมันไม่มีปัญญานั่นเอง ไม่มีปัญญาเห็นความจริงของรูปนาม มันคิดแต่จะบังคับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งลูกเดียวนะ ไม่ใช่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์

ทำไมไม่มีปัญญา เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นสำคัญนะ อย่างพระอยู่กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องคอยควบคุม บางวันจิตตามรู้กายตามรู้ใจมากเข้าๆ จิตกระจายๆ ออกไปนี่ ต้องเพิ่มสมถะละ เพิ่มความสงบให้ใจตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วขี้เกียจขี้คร้านอีก ต้องไล่อีกแล้ว ให้ออกมารู้กายมารู้ใจนะ

เนี่ยเวลาทำกรรมฐานก็คล้ายๆ เราขับรถยนต์นะ บางเวลาก็เหยียบเบรก เนี่ยทำสมถะ บางเวลาเหยียบคันเร่งเจริญปัญญา รถมันถึงจะไปถึงที่หมายได้ งั้นเราคอยดูนะ คอยดูกายคอยดูใจไป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นแค่คนดู

หลายคนทำมาหลายปีทำไมไม่ได้ผล หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ อย่างตอนนี้ฝึกพองยุบเยอะ ฝึกพองยุบแล้วเห็นท้องพองท้องยุบนะ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นจิตเราจะไหลไปตั้งอยู่ที่ท้อง จิตไปตั้งอยู่ที่ท้องเรียกว่าไปตั้งแช่ไม่ใช่ตั้งมั่น เข้าไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ จิตตั้งมั่นเนี่ยมันจะอยู่ต่างหากจากอารมณ์ มันจะเห็นเลยร่างกายที่พองร่างกายที่ยุบเป็นของถูกดู จิตอยู่ต่างหาก ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อน

เพราะฉะนั้นก่อนจะเกิดวิปัสสนาญาณนะ ญาณตัวแรกเลยนะเขาเรียกว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ” นามรูปปริจเฉทญาณคือแยกรูปกับนาม เห็นเลยเห็นท้องมันพองท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่นอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ใจถลำไปอยู่ที่ท้องนะ ตรงนี้ชอบดูลมหายใจก็ถลำไปอยู่ที่ลมหายใจ ขยับมือทำจังหวะก็ไปเพ่งใส่มือ จิตไหลไปอยู่ที่มือ เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ดูท้องจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูอิริยาบถสี่เพ่งมันทั้งตัวเลย อันนั้นเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตถลำลงไปตั้งแช่ในอารมณ์ จิตต้องตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สักว่ารู้อารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์นี่เป็นอันหนึ่ง ไหลเข้าไปรวมแช่อยู่กับอารมณ์เป็นอีกอันหนึ่ง

นี่พวกเราส่วนมากจิตไหลเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์ ไม่มีปัญญาจริงหรอก เกิดปัญญาไม่ได้ มันแช่ไปด้วยกัน ยกตัวอย่างให้ฟังนะ คล้ายๆ เรา ถ้าเรายืนอยู่บนบกริมคลองริมแม่น้ำ เราอยู่บนบกเราไม่ได้ตกน้ำ เราจะเห็นเลยในน้ำเดี๋ยวก็มีอันโน้นลอยมาอันนี้ลอยมา เดี๋ยวกอผักตบลอยมา เดี๋ยวท่อนไม้ลอยมา เดี๋ยวหมาเน่าลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไปเพราะว่าเราอยู่บนบก

แต่ถ้าเราตกลงไปในน้ำเราลอยไปกับมันนะ เห็นมันอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นมันอยู่ทั้งวัน ดูท้องก็เห็นท้องทั้งวันอยู่ทั้งวันนั่นแหละ ลอยไปด้วยกัน งั้นต้องเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

อย่างสายอภิธรรม อาจารย์แนบก็ชอบสอน ต้องเป็นคนดูละครนะ เป็นคนดูละครอย่าโดดเข้าไปในเวทีละคร ถ้าพูดสมัยใหม่คนรุ่นเราชอบดูฟุตบอล เราต้องดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์นะ อย่าไปดูฟุตบอลอยู่กลางสนามฟุตบอล เดี๋ยวถูกเขาเตะเอานะ ถูกกิเลสเตะเอา

งั้นเราต้องดูอยู่ห่างๆ เนี่ยเรียกว่าเราตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยินดียินร้ายกับมัน เป็นกลางในการรู้ จิตใจอ่อนโยนนุ่มนวล ตั้งมั่น คล่องแคล่วว่องไวนะ ไม่ไหลเข้าไป เนี่ยอย่างนี้จิตใจถึงจะมีปัญญาจริงเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ เพราะจิตมันไม่หลงตามไป จะเห็นแต่ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ถ้าไหลคู่กันไปมันคือการเพ่ง มันจะแนบอยู่ที่อันเดียวนะ เป็นการเพ่ง ได้สมถะ ได้แต่สมถะ

ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ทางวัดป่าท่านจะเรียกว่าจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นคนดู เป็นคนดูกาย ดูเวทนา ดูกุศลอกุศล ก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นกุศลอกุศลล้วนแต่เกิดแล้วก็ดับ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู ปัญญาถึงจะเกิด

งั้นสติเป็นเครื่องระลึกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแปลกปลอมขึ้นในกายในใจ สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการไปรู้อารมณ์ไม่ถลำลงไป ปัญญาก็จะเห็นความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา นี่สติสมาธิปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างนี้นะถึงจะเกิดมรรคเกิดผลได้ ทำไมเกิดมรรคเกิดผลได้เพราะว่ามีปัญญาแก่รอบแล้ว มีสมาธิบริบูรณ์ขึ้นมานะ ศีลสมาธิปัญญาพร้อมมูลขึ้นมานะ อริยมรรคถึงจะเกิด ตัวหนึ่งมากตัวหนึ่งน้อยกะพร่องกะแพร่งไม่เกิดหรอก งั้นต้องมีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางสักว่ารู้สักว่าเห็นนะ ถึงจะเห็นความจริงของกายของใจ ฟังเหมือนยากนะแต่ง่าย


แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
ลำดับที่: ๘
File: 491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

สมถะตามรูปแบบ

สมถะตามรูปแบบ

mp 3 (for download) : เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: งานเยอะ แล้วก็มันวุ่นๆ ยุ่งๆ แล้วรู้สึกว่าเหมือนมันไม่ได้ทำอะไรไปเลยน่ะค่ะ หลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องทำนะ อย่าทิ้งการทำในรูปแบบ เป็นเครื่องช่วย ถ้าเราจะเจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เจริญไปเรื่อยๆ นะ ถึงวันหนึ่งกำลังก็ไม่พอ ครูบาอาจารย์วัดป่าจะสอน อย่างสายวัดป่านี่ การปฏิบัติมี ๓ สเต็ป ต้องทำทั้งสามอัน

อันแรกเลยทำความสงบให้จิตตั้งมั่น จิตสงบ มีกำลังขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ที่นี้คนส่วนมากพอจิตสงบตั้งมั่นแล้วขี้เกียจ ขี้เกียจนี่ครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณากาย อันนี้ก็เป็นสมถะอีกแบบหนึ่ง ให้คิดพิจารณากาย พอหมดเวลาปฏิบัติในรูปแบบแล้ว คราวนี้ต้องมีสติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นสติในชีวิตประจำวันนี่ตัวสำคัญที่สุด แต่การที่ทำใจสงบตั้งมั่น ทำใจให้ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน อันนั้นก็เป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญมาก

ที่นี้ถ้าพวกเราทำฌานไม่ได้ แต่ละวันนะ แบ่งเวลาไว้หน่อย ไหว้พระไว้ สวดมนต์ไว้นะ ได้สมถะ สวดมนต์แล้วจิตใจสงบได้สมถะ ถ้าสวดมนต์แล้วขี้เกียจให้รู้ว่าขี้เกียจ เราไหว้พระสวดมนต์แล้วเราก็แบ่งเวลาปฏิบัติในรูปแบบ ห้านาที สิบนาที สิบห้านาทีอะไรอย่างนี้ ต้องทำ อย่างที่หลวงพ่อพูดตั้งแต่ต้นแล้วนะ แบ่งเวลาไว้แล้วก็ทำในรูปแบบไว้หน่อย แล้วหัดรู้สภาวะไป การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง สติมันจะมีกำลังที่จะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราทิ้งการทำในรูปแบบไปเลยนะ มันจะไม่มีกำลังจริง มันเหมือนรู้นะ แต่ใจจะกระจายๆ รู้อย่างนี้ ผึ้งรู้สึกไหม รู้แบบไม่มีแรง รู้แบบป้อแป้ๆ ไม่มีแรง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑
File: 491022A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วันใดมีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕ โดยอัตโนมัติ

มีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕

มีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕

mp3 (for download) : วันใดมีปัญญาเห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะปล่อยวางขันธ์ ๕ โดยอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าวันใดปัญญาเราเห็นว่าขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ  ใจจะปล่อยวางขันธ์ห้าโดยอัตโนมัติ ไม่ยึดถือขันธ์ห้า มีความสุขล้วนๆเลยคราวนี้ เพราะพ้นจากตัวทุกข์มาได้

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้หาความสุขนะ  ท่านสอนวิธีให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกข์คือพ้นจากอะไร? พ้นจากทุกข์คือพ้นจากขันธ์ ขันธ์นั่นแหล่ะตัวทุกข์  ถ้าเมื่อไรใจพ้นจากขันธ์ ก็พ้นจากทุกข์ ใจจะพ้นจากขันธ์ได้ด้วยปัญญาเห็นจริง ว่าขันธ์เป็นทุกข์

ปัญญาจะเกิดได้ ก็ต้องอาศัยสมาธิ ใจตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว คอยรู้ลงในกายในใจเนืองๆ เราค่อยๆ ฝึกของเราไปนะ  เดินไป ทุกวี่ทุกวันนะ สำรวจตัวเองไป  องค์มรรคแปดประการอันไหนของเรายังย่อหย่อน เราก็พัฒนาขึ้นมา


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๔
ลำดับที่ ๑
File: 530228A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๐
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เลี้ยงชีวิตอย่างสะอาด จนไม่เป็นไร แต่อย่าชั่ว

เลี้ยงชีวิตอย่างสะอาด จนไม่เป็นไร แต่อย่าชั่ว

เลี้ยงชีวิตอย่างสะอาด จนไม่เป็นไร แต่อย่าชั่ว

mp3 (for download) : เลี้ยงชีวิตอย่างสะอาด จนไม่เป็นไร แต่อย่าชั่ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่หลวงพ่อสอนจ้ำจี้จ้ำไชพวกเรา สังเกตไหมจะวนเวียนอยู่ในเรื่องมีความเพียรนะ มีสตินะ มีสมาธินะ แต่ก่อนอื่นต้องมีศีล เพราะฉะนั้นเรารักษาศีลไว้ รักษากายรักษาวาจาให้เรียบร้อย เลี้ยงชีวิตอย่างสะอาด จนไม่เป็นไร อย่าชั่ว

คนจน ความจนไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่ใช่สิ่งที่น่าดูถูกเหยียดหยาม ความชั่วต่างหากน่ารังเกียจ นี่ค่านิยมในสังคมทุกวันนี้มันตะแบงไปหมดแล้ว มันเห็นว่าความรวยนั้นน่ายกย่องสรรเสริญ ความดีเป็นเรื่องของคนโง่ ไปกันใหญ่แล้ว สังคมถึงได้ร้อนเต็มที พวกเราจะยากดีมีจนไม่สำคัญนะ สำคัญเราต้องดี

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๔
File: 530228A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๙ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนทำผิดศีลเพราะกิเลสครอบงำจิต

คนทำผิดศีลเพราะกิเลสครอบงำจิต

คนทำผิดศีลเพราะกิเลสครอบงำจิต

mp3 (for download) : ผิดศีลเพราะกิเลสครอบงำจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาเรารู้ทันจิตใจตนเองนะ กิเลสราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น สติรู้ทัน ราคะ โทสะ โมหะ จะครอบงำจิตไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะครอบงำจิตไม่ได้ คนจะไม่ผิดศีล เราทำผิดศีลเพราะราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ เราฆ่าเค้าได้เพราะโทสะครอบงำ หรือเพราะโลภะครอบงำก็ได้ อยากให้มันตายเพราะอยากได้สมบัติมัน หรืออยากฆ่าผัวมันเสียแล้วเอาเมียมันมา สมัยโบราณมีหนังชนิดนี้ด้วยนะ ชื่อยาวมากเรื่องฆ่าผัวมันเสียแล้วเอาเมียมันมา ทำด้วยโลภะก็ได้ ทำด้วยโทสะก็ได้ คนเราทำผิดศีลก็เพราะกิเลส หรือแย่งสมบัติกันก็ได้นะ ซ้อเจ็ดตีกับซ้อแป็ด เสี่ยแปดตีกับเสี่ยเก้าอะไรอย่างนี้ เพราะโลภะ ผลักดันให้ล้างผลาญกัน ทำให้มีโทสะซ้อนขึ้นมา ถ้าเรามีสตินะ กิเลสพวกนี้ครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๐๘ ถึงนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 12 of 17« First...1011121314...Last »