Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

เจริญปัญญาอย่างเดียวไปไม่รอด ต้องสั่งสมศีล สมาธิ ให้ถึงพร้อมด้วย

เจริญปัญญาอย่างเดียวไปไม่รอด ต้องสั่งสมศีล สมาธิ ให้ถึงพร้อมด้วย

เจริญปัญญาอย่างเดียวไปไม่รอด ต้องสั่งสมศีล สมาธิ ให้ถึงพร้อมด้วย

mp3 (for download) : เจริญปัญญาอย่างเดียวไปไม่รอด ต้องสั่งสมศีล สมาธิ ให้ถึงพร้อมด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ละศีล สมาธิ ปัญญา แต่ละอย่าง แต่ละอย่าง ล้างกิเลสคนละแบบกัน ศีลก็ล้างกิเลสแบบที่ศีลล้างได้ สมาธิก็ล้างกิเลสอย่างที่สมาธิล้างได้ ปัญญาล้างกิเลสอย่างที่ปัญญาล้างได้

ศีลก็ทำให้เกิดกุศลอย่างที่ศึลทำให้เกิดได้ สมาธิทำกุศลอย่างที่สมาธิทำได้ ปัญญาทำกุศลอย่างที่ปัญญาทำได้ ไม่เหมือนกันนะ เพราะฉะนั้นเราต้องสะสมไปนะ ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใ่ช่ว่าจะเจริญปัญญาอย่างเดียวแล้ว มีสติรู้กายรู้ใจแล้ว เป็นชู้กับเขาก็ได้ โกงเขาก็ได้ โกหกเขาก็ได้ มีนะ หลวงพ่อเคยรู้จักอยู่ โอ้โห โกหกเป็นไฟเลย โกงเป็นไฟเลย แต่มาบอกว่าภาวนานะ มีสติ ไปไม่รอดหรอกนะ

ศีลนั้นทำไปเพื่ออะไร ศีลทำไปเพื่อละบาปอกุศลทางกาย ทางวาจา ทำให้กายวาจาเรียบร้อย สมาธินั้นทำไปเพื่อละบาปอกุศลทางใจ ทำไปเพื่อให้จิตใจสงบเรียบร้อย ตั้งมั่น ปัญญาทำไปเพื่อล้างความเห็นผิด ทำให้เกิดปัญญาเห็นความจริง ก็จะเข้าไปสู่ความหลุดพ้น อย่างสมาธินะ ก็ทำให้เกิดบารมีหลายตัวนะ ไม่มีสมาธิก็ไปไม่รอด อย่างเมตตาเนี่ย เราไปเจริญสติจะเกิดเมตตามั้ย คนละเรื่องกันนะ เราอยากมีเมตตาใช่มั้ย อย่างจิตเราขี้โมโหเนี่ย เราเจริญเมตตาบ่อยๆ ใจก็ไม่ค่อยโมโห ใจอยู่กับเมตตา ใช่มั้ย สะสมเมตตาไป คนละเรื่องกัน

เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่า เอะอะ ก็จะเจริญสติเพียงอย่างเดียว แล้วก็บรรลุมรรคผลนิพพาน ไม่ต้องมีศีล ไม่มีสมาธิ ไปไม่ได้นะ แต่ต้องรู้ว่าศีลส่งทอดไปให้สมาธิ สมาธิส่งทอดไปให้มีปัญญา ไม่ได้ไปหยุดอยู่ที่ใดที่หนึ่ง อยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่ง ก็ต้องค่อยๆพัฒนาไปเรื่อยๆ ฝึกทุกวัน ทุกวันนะ เดี๋ยวก็ดีเองแหละ ไม่ยากอะไร แต่ว่าตัวสำคัญที่สุดต้องมีสติ ถ้าขาดสติก็ไม่มีศีล ขาดสติก็ไม่มีสมาธิ ขาดสติก็ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้นให้มีสติเรื่อยๆ รู้ทันจิตใจตัวเองไป

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๗ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

mp 3 (for download) : จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ

คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ

ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ

พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ

ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย…

อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊

เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง

จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัตินี่ถ้าเราแยกส่วนการปฏิบัติออกจากการดำเนินชีวิตปกติของเรา อย่ามาพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานเลย ชาตินี้ไม่ได้ ถ้ายังรู้สึกนะ เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ใช่เวลาปฏิบัติ ถ้ารู้สึกอย่างนี้อย่าพูดเรื่องมรรค ผล นิพพาน เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราได้ ก็ไม่ต้องพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานนะ อย่างไรก็ต้องได้ เพราะฉะนั้นต้องหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราให้ได้

เมื่อสักเดือนสองเดือนนะ มีคนไปเรียนกับหลวงพ่อที่ศรีราชา ศาลาหลวงพ่อใหญ่กว่านี้ตั้งเกือบเท่า วันนั้นคนเต็ม ยาว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า ผมอยากเดินจงกรม จะเดินอย่างไร อยากเดินจงกรม หลวงพ่อบอกว่า กล้าออกมาเดินโชว์ไหม เดินตรงนี้ กล้าไหม เด็กคนนี้กล้า ค่อยๆ แหวกคนออกมานะ แหวกเดินออกมา หลวงพ่อบอกว่าหยุดก่อน ใช้ไม่ได้แล้ว ทำไม ขาดสติ ที่ขาดสติก็ตอนที่แหวกคนออกมา จะมาเข้าทางจงกรม คิดว่าเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ คิดว่าตอนนี้ไม่ต้องปฏิบัติ เดี๋ยวเอาไว้เข้าทางจงกรมก่อนค่อยปฏิบัติ นี่เข้าใจผิดแล้ว แท้จริงแล้วทุกก้าวที่เดินถ้ามีความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย เดินอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมานะ ก็เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมด ถ้าเดินกลับไปกลับมาแล้วขาดสติ ก็เรียกเดินเรื่อยเปื่อย ถ้าเดินแล้วก็เพ่งเอาเพ่งเอา บังคับกาย บังคับใจ ก็เรียกเดินทรมาน ทรมานกายทรมานใจ ถ้าเดินแบบมีสติก็เรียกว่าเดินจงกรม

หลวงพ่อก็ให้เดินต่อ คราวนี้เขาก็ไม่เดินใจลอยแล้ว เขาเดินค่อยๆ รู้สึกตัวมานะ กำลังพอดีเลย พอเริ่มเข้าทางจงกรมปุ๊บ เริ่มวางฟอร์มแบบนักปฏิบัติ วางฟอร์ม ทำขรึม บอกนี่ผิดไปอีกข้างหนึ่งแล้ว สิ่งที่ผิดหลวงพ่อพูดบ่อยๆ สุดโต่งมีสองอัน อันหนึ่งเผลอไป ตอนเดินออกมาทีแรก เผลอไป เรื่อยเปื่อย พอเริ่มลงมือปฏิบัติ บังคับกาย บังคับใจ สุดโต่ง

พอเราบังคับกายบังคับใจนะ กายก็นิ่งผิดความเป็นจริง จิตก็นิ่งผิดความเป็นจริง เราต้องการดูให้เห็นความจริงต่างหาก ไปทำจนมันผิดความจริง แล้วจะเอาความจริงที่ไหนไปดู เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ตามที่เขาเป็นจริงๆ นะ อย่าไปดัดแปลอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานไม่ได้เอาไว้ฝึกดัดแปลง แต่เอาไว้ดูเพื่อให้เห็นความจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา พอรู้ความจริงแล้วมันจะปล่อยวาง แต่ถ้าไปบังคับไปทำขรึม ทื่อๆ ไว้นะ ยิ่งแก่ยิ่งเก่งนะ ยิ่งแก่ยิ่งเพ่งเก่ง ใครด่าก็เฉย ใครชมก็เฉยนะ ฝึกจนกระทั่งมีรู้สึกเหมือนตนเองเป็นต้นไม้และก้อนหิน ไร้ความรู้สึก ฝึกอย่างนั้นน่าสงสาร เหนื่อย บางคนเพ่งมากๆๆ เพ่งไปกันจนพิกลพิการนะ ต้องหอบหิ้วกันมาให้เราแก้ให้ มันก็แก้ยากนะ

เพราะฉะนั้นอย่ารีบร้อน อย่าใจร้อนรีบปฏิบัติมากนัก ฟังให้รู้เรื่องหน่อย แล้วค่อยลงมือทำ เรียนก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓
File:
490716.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

mp 3 (for download) : การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เคยมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านหลงป่าเข้าพม่าไป แล้วก็เปียกฝนสามวันสามคืน เดินหลงทาง ข้าวก็ไม่มีจะฉัน ปอดบวม เข้าไปหลบฝนอยู่ในถ้ำ ก็ยังภาวนา แล้วรู้สึกว่าคราวนี้ต้องตายแน่ๆเลย ถึงแข็งแรงนะ จะรอดออกจากป่าหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะหลงทาง

ท่านก็ภาวนาของท่านไปเรื่อย กะว่าถ้าตายแล้วจิตใจจะห่วงอะไรมั้ย ร่างกายนี้ไม่ห่วงแล้ว ดูจิตดูใจก็ไม่ห่วงแล้ว ใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง พร้อมจะตายแล้ว จิตใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง ท่านก็ดูไปเรื่อยๆ เอ๊ะ! ไม่ยึดอะไรเลย ทำไมมันมีอะไรก็ไม่รู้ แปลกๆ สังเกตไปเรื่อยๆ ยึดความไม่ยึดอะไร ท่านเห็นว่าท่านยึดความไม่ยึดอะไร ยึดความว่างไว้ ตรงนี้ขาดปั๊บลงไป จิตท่านสว่างจ้าขึ้นมา

ท่านก็นึกว่า ในถ้ำ อยู่ในถ้ำมืดๆนะ กลางคืนนะ นึกว่าสว่างแล้ว ดูนาฬิกา ก็ยังไม่สว่างนะ ยังกลางคืนอยู่ มองข้างนอกก็มืดตึ๊ดตื๋อเลย ในถ้ำทั้งถ้ำนี่สว่าง แล้วท่านก็หายป่วย เสร็จแล้วตอนเช้า ฝนหยุดแล้ว ออกไปจากถ้ำ หิวนะ หิว ไม่มีอะไรฉันหลายวัน เจอลิงมันถือมะละกอ แล้วมันทำมะละกอตกลงมาที่พื้น แล้วมันก็มองหน้าท่านนะ มองมะละกอ มองหน้า

ท่านก็นึกว่า เอ๊… มันไม่กล้าหยิบกระมัง คงกลัวท่านว่า พอก้มลงหยิบเดี๋ยวท่านเล่นงาน ท่านเลยกลับเข้าถ้ำ เป็นเรา เราจะแย่งลิงกินใช่มั้ย เราก็จะมีเหตุผลเราต้องเอาตัวรอดไว้ก่อน จะได้มีแรงภาวนาต่อไปอีก ใช่มั้ย ท่านไม่เอา ท่านกลับเข้าถ้ำไป ลิงถึงได้มาเก็บมะละกอคืนไป

เข้าไปพักหนึ่งถึงได้ออกมา ปรากฎว่าลิงมาอยู่ที่พื้นดินละ ถือมะละกอ คราวนี้มันกลิ้งมาให้ท่านแล้วก็หนีขึ้นต้นไม้ไปเลย ลองดูมะละกอลูกนี้นะ มีรอยนกเจาะๆไว้ด้วย อุตส่าห์ไปเก็บมาให้นะ ท่านบอกว่าตั้งแต่เกิดมาไม่เคยฉันอะไรอร่อยเท่านั้นเลย ฉันเสร็จแล้วเลยเดินกลับมาเมืองไทยได้ หลงเข้าป่าพม่าไป

ที่หลงเพราะท่านไปเดินตามลำห้วยไป นึกว่าลำห้วยนี้จะไหลเข้าฝั่งไทย กลายเป็นลำห้วยนี้ไหลไปพม่า ตามไป ตามไป ต้นไม้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เลยรู้ว่าไม่ใช่เมืองไทยแน่ เมืองไทยเข้ามาต้องเหลือแต่ต้นมันสำปะหลัง

ภาวนานะ ภาวนา ต้องทำ ฝึกไปเรื่อยๆ มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ไม่ใช่ภาวนาแล้วเคร่งเครียดนะ ถ้าภาวนาแล้วเคร่งเครียดแสดงว่าทำิผิด ถ้าภาวนาถูกจะมีแต่ความสุข มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน นั่งอยู่เฉยๆก็มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา คุณมนเคยเป็นใช่มั้ย มันมีความสุข

ความสุขมันเกิดจากการมีสติ รู้ลงในกาย รู้ลงในใจ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆนะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้น มากขึ้น เป็นเรื่องประหลาดนะ รู้ทุกข์แล้วมีความสุข รู้ทุกข์แล้วพ้นทุกข์ มีแต่ความสุขล้วนๆ

ใครๆก็อยากละทุกข์ทั้งนั้นเลย พระพุทธเจ้ากลับสอนให้รู้ทุกข์ ทุกข์อยู่ที่กายรู้ลงในกาย ทุกข์อยู่้ที่จิตใจรู้ลงในใจ รู้ไปเรื่อย จนวันหนึ่งไม่ยึดถือในกายในใจ ไม่ยึดถืออะไรเลย รวมทั้งไม่ยึดถือความไม่ยึดถือด้วยนะ เหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อเล่า เสร็จแล้วท่านไปยึดความไม่มีอะไร พอท่านผ่านตรงนี้นะ จิตใจของท่านก็เปลี่ยนไปเยอะแยะ

ท่านกลับเข้ามาในเมืองนะ พอดีมีโยมคนหนึ่งรู้จักท่าน นิมนต์ท่านไปฉัน ก็มีคนรู้จักกับหลวงพ่อบอกว่าเนี่ย ท่านมาจากป่าละ เลยไปหาท่าน ไปที่บ้านเขานั่นแหละ เป็นตึกแถวนะ ไม่เจอหลายปี นานๆเจอทีหนึ่ง

ท่านก็เล่า การภาวนานะ เวลานักปฏิบัติเจอกัน สนทนาธรรมด้วยเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ น่าฟังมากเลย น่าฟัง มันเป็นเรื่องของการต่อสู้กับกิเลสของตัวเองนั้นแหละ ไม่ใช่สู้คนอื่นนะ สู้กิเลสของเราเอง ล้มลุกคลุกคลาน ตอนสู้นะ ปางตาย

แต่ตอนสู้ขาดมาแล้ว มันขำนะ มันขำว่า แต่ก่อนทำไมมันโง่นะ ของง่ายๆเท่านี้เอง ไม่เข้าใจ สอบผ่านได้แล้วมันจะขำตัวเอง บางทีรู้สึกสมเพชตัวเองนะ ทำไมมันโง่หลายนะ โง่หลาย ของง่ายเท่านี้ไม่เห็น เห็นแล้วรู้ เห็นแล้วนะ ยังไม่เข้าใจ ง่ายกว่าที่นึกนะ

การภาวนา ถ้าเมื่อไรภาวนาแล้วรู้สึกยาก สังวรไว้เลยว่าผิดแน่นอน การภาวนาถ้าถูกต้อง จะต้องง่าย จิตใจมีสติ จิตใจมีสัมมาสมาธิ รู้ตื่น เบิกบาน เห็นกายตามความเป็นจริง เห็นใจตามความเป็นจริง มีแต่ความสุขล้วนๆเลย ค่อยๆภาวนา มันไม่ได้ยากเย็นเหมือนที่เราวาดภาพไว้ เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้ผิดธรรมดา ธรรมะคือธรรมดานั่นเอง

เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ ธรรมดาของกาย ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมดาของใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน เรียนจนเห็นธรรมดา เรียนไปเรื่อย เห็นไปเรื่อย จนใจยอมรับความเป็นธรรมดาของกายของใจ ยอมรับแล้วมันไม่เที่ยงนี่ จะไปยินดียินร้ายอะไรกับมัน มันเป็นทุกข์นะ มันไม่ใช่เป็นสุข มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่บังคับได้

หลายคนภาวนาแทนที่จะมุ่งมาให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกือบทั้งหมดที่ภาวนาแล้วล้มลุกคลุกคลานนะ ภาวนาเื่พื่อจะให้มันเที่ยง เพื่อจะให้มันสุข เพื่อจะบังคับมันให้ได้

ยกตัวอย่างภาวนาแล้วอยากให้จิตใจสงบถาวร ให้สุขถาวร ให้ดีถาวร อะไรอย่างนี้ ภาวนาแล้วจะเอา อยากได้ อยากได้ความสุข อยากได้ความสงบ อยากได้ความดี สุข สงบ ดี ธรรมดาก็ไม่ได้นะ อยากถาวรด้วย ลืมไปว่าถาวรไม่มี มีแต่อนิจจัง ไม่ถาวร มีแต่ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีความสุขที่แท้จริงในกายในใจนี้

ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ภาวนาไปแล้ว ร่างกายมีความสุขนะ ไม่ใช่นะ จิตใจก็ยังทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด ธรรมดานั่นเอง ความสุขมันอยู่ตรงที่ ไม่ได้ยึดถือขันธ์ต่างหาก ไม่ยึดถือในกาย ไม่ยึดถือในใจ เป็นอิสระ อิสระจากกายจากใจ ความสุขมันอยู่ที่พ้นขันธ์ ไม่ใช่ความสุขอยู่ที่ดัดแปลงขันธ์สำเร็จแล้ว

พวกเราภาวนา รู้สึกมั้ย อยากดี อยากสุข อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่าอยากนะ มีแต่คำว่าอยาก ลืมไปว่าความอยากเกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดทีนั้น พอความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้น จิตก็ดิ้น จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีความอยากจิตก็ไม่ดิ้น จิตไม่ดิ้นจิตก็ไม่ทุกข์

แต่ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้แจ้งในกายในใจนี้ว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ มันยังรักกายรักใจ มันคิดว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา คิดอย่างนี้ มันอยากให้เรามีความสุข อยากให้เรามีความสงบ อยากให้เราดี อยากให้เราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมีความอยากแล้วใจก็ดิ้น ใจก็ดิ้นแล้วใจก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังละอวิชาไม่ได้นะ ตัณหาคือความอยากก็จะไม่หมดไป

จะหมดเป็นคราวๆพอมีสติรู้ทันนะ ก็ดับไป พอขาดสตินะ ก็กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเลยต้องมีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา แต่พอภาวนาจนถึงที่สุดแ้ล้วนี่ มีปัญญา มีวิชาเกิดแล้ว มันไม่ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมา ไม่ต้องรักษาจิตน่ะ แล้วถามว่ามีสติมั้ย มีก็มีไปอย่างนั้นล่ะ ไม่ได้มีเพื่อรักษาจิต เพราะจิตนั้นไม่ต้องรักษา เพราะคืนโลกคืนธรรมชาติเขาไปแล้ว

เนี่ยธรรมะนะ เป็นสิ่งที่เราึนึกไม่ถึง นึกไม่ถึง เราภาวนา เราก็หวังว่าวันหนึ่งจิตของเราจะดี จะสุข จะสงบ ถาวร วาดภาพพระอรหันต์ไว้อย่างนั้น จริงๆไม่ได้เป็นอย่างที่นึกหรอก คนที่วางขันธ์ไปแล้ว กับคนที่มีขันธ์อยู่ ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน ของเราคิดแต่ว่าทำอย่างไรจะดี ของท่านรู้ว่าวางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว วางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาอะไรต่อไป

ถามว่ากิเลสเกิดขึ้นมาครอบงำจิตใจได้มั้ย ไม่ได้นะ จิตใจเข้าถึงภาวะที่อะไรก็ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะว่ามีปัญญารู้ทุกข์นี่แหละ สำคัญ ใช่รู้อย่างอื่นนะ ในขณะที่เราต่อสู้ ตะลุมบอนไป จิตใจเกิดปัญญา เกิดสติ เกิดสมาธินะ เกิดคุณงามความดีแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง มันอิ่มอกอิ่มใจ แต่สักพักหนึ่งมันก็พบว่าไม่ใช่นะ มันเสื่อมไปอีก

มีสติก็ขาดสติได้นะ มีสมาธิก็ขาดสมาธิได้ มีปัญญาก็โง่ได้อีก เนี่ยยังของกลับกลอก ยังของแปรปรวนอยู่ จิตใจก็ถูกกิเลสย้อมได้อีก แ้ล้วมันยังรู้สึกลึกๆว่ายังขาดอะไรอย่างหนึ่งที่ยังไม่ีรู้แจ้ง ตราบใดที่ยังขาดอันนี้อยู่เนี่ย จิตยังไม่เลิกดิ้นรนค้นคว้า จนวันหนึ่งจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์ พอจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตคืนกายคืนจิตให้โลก มันคืนกายไปก่อนนะ สุดท้ายมันหวงอยู่ที่จิตอันเดียวนี่แหละ พอคืนจิตให้โลกไปแล้ว ไม่ียึดถืออะไรในโลกอีก งานตรงนั้นก็หมดลงตรงนั้นเอง เข้าถึงความสุขที่นึกไม่ถึง

สวนสันติธรรม
CD: 19
File: 500310A.mp3
Time: 4.02 – 14.47

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกจิตให้ตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

ฝึกจิตให้ตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

ฝึกจิตให้ตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

mp3 (for download) : ฝึกให้จิตตั้งมั่นด้วยการรู้ทันนิวรณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตมีนิวรณ์ จิตที่ฟุ้งไปในกาม เรียกว่ามีกามฉันทะ ฟุ้งไปในกาม จิตฟุ้งไปในความพยาบาทขัดเคือง เวลาเกลียดใครก็คิดถึงคนนั้นบ่อยๆ จิตมีพยาบาท จนฟุ้งไปในพยาบาท บางทีฟุ้งสะเปะสะปะ เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ฟุ้งไป ฟุ้งไป แล้วก็หงุดหงิด รำคาญใจ

บางทีฟุ้งไป แล้วก็คิดไป แล้วเกิดลังเลสงสัย ฟุ้งไป ฟุ้งไป แล้วก็หดหู่ มีมั้ยไปฟุ้งซ่านแล้วไปหดหู่ เนี่ยใจมันฟุ้งไปนะ ถ้าเรามีสติรู้ทันใจที่ไหลไป ใจที่ฟุ้งไป หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตออกนอก ใจฟุ้งไปนะ กระทั่งฟุ้งในธรรมะก็ฟุ้งซ่านนะ ยกตัวอย่าง มีสังโยชน์ตัวหนึ่งเรียกว่าอุทธัจจะสังโยชน์ พระอรหันต์ถึงจะละได้ ตรงนี้ใจฟุ้งในธรรมะ ไม่ใช่ฟุ้งในอธรรมนะ ฟุ้งในธรรมะก็ฟุ้งนั่นแหละ ใจมันไหลไป ใจมันส่งออก

ถ้าเรามีสติรู้ทันใจที่ไหลไป ไหลไปในกาม ไหลไปในพยาบาท ไหลไปในเรื่องราวที่คิด ไหลสะเปะสะปะ ไหลไปจมแช่อยู่ในความซึมเซาหดหู่ อะไรอย่างนี้ รู้ทันลงไปนะ ใจตั้งมั่นขึ้นมา ใจตั้งมั่นขึ้นมานะนิวรณ์เหล่านี้ดับหมดเลย เกิดสมาธิ ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ใจตั้งมั่นอยู่ทั้งวันทั้งคืน

เพราะฉะนั้นเราดูจิตดูใจไปนะ ดูจิตไปเรื่อย กิเลสหยาบมาเรารู้ทันปุ๊บ กิเลสหยาบดับ เราไม่ผิดศีลละ กิเลสอย่างกลางๆคือนิวรณ์เกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันปั๊บ นิวรณ์ก็ดับไปเลย ใจก็ตั้งมั่น ใจไม่ฟุ้งนะ ไม่ฟุ้งไปในกาม ไม่ฟุ้งไปในพยาบาท ไม่ฟุ้งซ่านสะเปะสะปะ ไม่หดหู่ ไม่สงสัย ใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว รู้เนื้อรู้ตัวอยู่

นี่อาศัยมีสติรู้ทันจิตไปนะ ได้ทั้งศีล ได้ทั้งสมาธิ


แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
ลำดับที่ ๑๒
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๒ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่นคือวิมุตติ ไม่ใช่อย่างอื่น

ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่นคือวิมุตติ ไม่ใช่อย่างอื่น

ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่นคือวิมุตติ ไม่ใช่อย่างอื่น

mp3 for download : ตั้งหลักให้ดี เราหาแก่น ไม่ใช่อย่างอื่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตั้งหลักให้ดี มิใช่ภาวนาเพื่อให้เกิดความดี ความสุข ความสงบ หลวงพ่อมาหัดทำใหม่ๆก็ผิดเหมือนกันล่ะ ตั้งเป้าผิด ตั้งเป้าผิดนะ ตอนเด็กๆหัดภาวนาตั้งแต่เจ็ดขวบ หัดรู้ลมหายใจ ตั้งเป้าไว้เลยว่าจะต้องสงบ เอาความสงบเป็นสรณะนะ

ความสงบเองก็เป็นของไม่แน่นอน ใช่มั้ย ยังเป็นสังขารอยู่ ยังเป็นของที่แปรปรวนอยู่ เราไปเอาความสงบเป็นเป้าหมายเนี่ยไปไม่รอดหรอก วันนี้สงบได้อีกวันหนึ่งก็ฟุ้งซ่านได้อีกนะ หรือจะเอาความดี ความดีก็ยังแปรปรวนได้อีก ใช่มั้ย วันนี้ดี พรุ่งนี้ร้ายได้อีก เนี่ยเราเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติไม่ได้หรอก มันเป็นของไม่แน่นอน เป็นของแปรปรวน

เราต้องปฏิบัติเอาแก่นสารสาระให้ได้นะ คือ ความหลุดพ้น ไม่ใช่เอาแค่ว่า.. พระพุทธเจ้าเคยเทียบนะ บางคนอยากได้แก่นไม้ แต่ว่าไปเอาใบไม้ ไปเก็บใบไม้มา เก็บกิ่งเล็กๆมา ท่านบอก เหมือนคนจะมาภาวนา จะมาบวชเนี่ย บางคนมาบวชแล้วไปติดที่ลาภสักการะที่ชื่อเสียง อย่างนี้เหมือนอยากได้แก่นไม้ แต่ได้แค่ใบไม้ ได้แค่กิ่งเล็กๆ อะไรอย่างนี้

บางคนก็ภูมิใจ มาบวชทั้งที หรือมาภาวนาทั้งที รักษาศีลได้ดี ท่านบอกศีลก็ยังไม่ใช่แก่น ศีลเหมือนสะเก็ดไม้ สะเก็ดไม้เปลือกๆมัน บางคนก็มุ่งเอาสมาธิ ท่านก็บอกว่าสมาธิก็ยังใช้ไม่ได้ รู้สึกจะข้ามขั้นไปอันหนึ่งแล้ว เปรียบอะไรอีกอัน กิ่งไม้หรืออะไร แล้วค่อยมาสะเก็ดไม้นะ คือยังไม่ถึงแก่นสักทีน่ะ

สิ่งที่ไม่ใช่แก่นของการปฏิบัตินะ อันแรกเลย ชื่อเสียง ลาภสักการะ นะ กระทั่งเป็นโยมอย่านึกว่าภาวนาแล้วไม่เอาชื่อเสียงนะ โยมที่ไปเปิดสอนเนี่ยเยอะแยะเลย นะ สอนถูกบ้าง สอนผิดบ้าง มีสารพัดนานาชนิดเลย บางคนไปเที่ยวสอนคนอื่นนะ แล้วก็บอกว่าเป็นสาขาของหลวงพ่อปราโมทย์ มีนะ เราฟังแล้วงงมากเลยนะ เราไปเปิดแฟรนไชส์ไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ฟังแล้วก็งงๆนะ ไม่มีนะ ขอแถลงการณ์หน่อย สวนสันติธรรมไม่มีสาขานะ ตรงนี้ มีคนมาเสนอที่ดิน เสนออะไรให้เสมอๆ หลวงพ่อไม่เอาสักอันหนึ่ง เราไม่มีความพร้อมที่จะขยายงานแบบนั้น ขยายแล้วคุณภาพไม่ดี ขยายทำไม เอาของหลอกลวงไปให้คนเขาได้ยังไง เพราะฉะนั้นไม่มีสาขานะ

เพราะฉะนั้นเราภาวนาไม่ได้เอาชื่อเสียง ไม่ได้เอาผลประโยชน์ เอาผลประโยชน์ก็มี บางคนเขาก็เอาผลประโยชน์ บางคนเอาชื่อเสียง พวกนี้ใช้ไม่ได้ ห่างไกลนะ ห่างไกลจากเป้าหมายที่แท้จริง

ไม่ได้ภาวนาเพื่อจะภูมิใจว่ามีศีล มีศีลเหนือคนอื่น สังเกตมั้ย บางคนชอบไปถือศีล ถือศีลเสร็จแล้วกลับมาดูถูกคนอื่นว่าไม่มีศีล เนี่ยเพิ่มกิเลสนะ อย่างนี้ ใช้ไม่ได้นะ ท่านบอกว่าใช้ไม่ได้ หรือบางคนเอาสมาธิ ทุกวันจิตสงบ ใจสว่าง โล่ง ว่าง สบาย อยู่กับความว่าง นี่ภาวนาแล้วเอาสมาธิ ท่านก็ว่ายังใช้ไม่ได้ สมาธิเหมือนกับอะไร เปลือกไม้หรืออะไรอย่างนี้ ท่านเทียบ บางคนจะเอาปัญญา ภาวนาแล้วอยากมีความรู้เยอะๆ อยากแตกฉาน นี่เหมือนเอาเนื้อไม้ ยังไม่ถึงแก่นไม้ ขนาดศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเรามุ่งมาปฏิบัติเพื่อสิ่งเหล่านี้ ก็เรียกว่ายังไม่เข้าเป้าเลย ยังไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริง

แล้วเราปฏิบัติเพื่ออะไร เพื่อวิมุติ ความหลุดพ้นจากความยึดถือ ในรูป ในนาม ในกาย ในใจ นี้ ไม่ยึดอะไรในโลก เพราะฉะนั้นเราภาวนาเพื่อให้เกิดวิมุตินะ จะมีวิมุติได้ต้องมีปัญญาเห็นความจริง ล้างความเห็นผิดไป มันไปยึดถืออยู่เพราะมันเห็นผิด ที่เห็นผิดเพราะมันคุ้นเคยที่จะเห็นผิด เห็นร่างกายทีไรก็รู้สึกตัวเราทุกที ใจมันโกรธขึ้นมาก็ว่าเราโกรธ ใจมันโลภก็ว่าเราโลภ ความจริง จิตมันปรุงความโลภขึ้นมา จิตมันปรุงความโกรธขึ้นมา มันไม่ใช่เราโลภเราโกรธหรอก เนี่ยเราหัดภาวนานะ หัดดูของจริง ไม่ใช่มุ่งเอาสิ่งที่ปลีกย่อย…

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๕ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญา จิตไม่เป็นอุเบกขา

ถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญา จิตไม่เป็นอุเบกขา

mp3 for download: ถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญา จิตไม่เป็นอุเบกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: นี่ คนนี้ถาม บอกว่า ไปเลี้ยงไปช่วยเหลือรักษาสุนัขจรจัด เป็นมะเร็งในช่องปาก เวลาเห็นสุนัขมันจาม เห็นเลือดมันไหล จิตจะเศร้ามาก สงสาร

สงสารกับเศร้าไม่เหมือนกันนะ สงสารเป็นกุศล เศร้าเป็นอกุศล อกุศล ตัวนี้ สงสารจริงๆก็คือกรุณา เห็นเขาเป็นทุกข์อยากให้เขาพ้นทุกข์ ทีนี้ความอยากให้เขาพ้นทุกข์มันไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่เป็นอุเบกขา พอไม่มีปัญญาก็ไม่เกิดอุเบกขา ไม่รู้หรอกสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมของตนเอง ใจเราก็เลยยอมรับไม่ได้ เห็นสุนัขมันน่าสงสาร เกิดกรุณา ขาดอุเบกขากำกับมันก็พลิกเป็นโทสะ เศร้าเป็นโทสะนะ เศร้าเป็นอกุศล

เพราะฉะนั้นเลี้ยงสัตว์ เมตตา กรุณา ได้ แต่ก็ต้องมีอุเบกขานะ ถ้าไม่มีอุเบกขากำกับ ถ้าไม่พิจารณาลงไปว่าสัตว์ทั้งหลายมันก็มีกรรมเป็นของมันเอง ตัวกรุณามันจะพลิกเป็นโทสะ

อย่างตัวเมตตาก็เหมือนกันนะ เมตตา เราเห็นคนนี้น่าสงสาร เห็นคนนี้แล้วเรารู้สึกชอบอะไรอย่างนี้ เมตตา เมตตาคือความรู้สึกเป็นมิตร เมตตากับคำว่ามิตรคำเดียวกันนะ มิตร คำว่าไมตรี คำว่าเมตตา คำว่ามิตร คำว่าเมตตรัยชื่อของพระศรีอาริย์ เมตตรัย คำเดียวกัน คือไมตรีคือความรู้สึกเป็นมิตร

เวลาที่เรารู้สึกเป็นมิตรกับใคร รู้สึกดีๆกับใครเนี่ย ราคะมันจะแทรก ราคะมันจะแทรก เพราะฉะนั้นต้องมีสตินะ ถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญา จิตไม่เป็นอุเบกขา ไม่เมตตาเฉยๆ จะกลายเป็นราคะ ทีแรกก็เมตตาเขาดีๆ เสร็จแล้วก็อยากรู้สึกว่าเป็นเจ้าข้าวเจ้าของเขาขึ้นมา

จิตนี้พร้อมที่จะพลิกเป็นอกุศลตลอดเวลา มีเมตตาก็พร้อมจะเป็นราคะ มีกรุณาก็พร้อมจะเป็นโทสะ มีมุฑิตาเห็นคนอื่นเขาดีแล้วก็ดีใจกับเขานะ แต่มันชักจะดีหลายทีแล้ว ชักจะอิจฉาแล้ว มันดีเกินไป ไม่เห็นมันทำอะไรเลยทำไมมันดีอย่างนี้ มันเกินไป โลกนี้ไม่ยุติธรรม น่ะไปโน่นแล้ว เห็นมั้ย ไม่อุเบกขา อุเบกขาคือ ไปเห็นสมบัติของเขา เขาได้สมบัติ เช่น ทรัพย์สมบัติ หรือชื่อเสียงเกียรติยศ อะไรอย่างนี้ เขาทำของเขามา นะ เขาทำของเขามา เนี่ยสมควรแก่เหตุเป็นไปตามกรรม ถ้าไม่เห็นตรงนี้ไม่มีอุเบกขา แล้วไปอิจฉาเขา อุเบกขานะ ก็ไม่มีปัญญา ไม่มีสติ กลายเป็นแห้งแล้งแข็งกระด้าง แล้วบอกว่าอุเบกขา

เห็นคนจะตาย ฉันอุเบกขา คนตกน้ำป๋อมแป๋ม ป๋อมแป๋ม ฉันอุเบกขา เนี่ยเข้าใจผิดแล้ว นะ อุเบกขาหมายถึงว่า ต้องทำเมตตา กรุณา มุฑิตา ให้เต็มที่นะ แต่ทำด้วยอุเบกขา ไม่ใช่ว่า อุเบกขาคือไม่ทำอะไร เพราะฉะนั้นพวกเราที่ฝึกสติเนี่ย จำเป็น ดีมาก มีประโยชน์ แค่เลี้ยงหมาก็ตกนรกได้แล้ว หรือไปเกิดเป็นหมาได้ นะ ต้องระวังมากนะ พวกเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว แล้วก็รักมันมาก ผูกพันธ์มาก ถ้าตายไปในขณะที่จิตเป็นห่วงมัน โอ๊ย..เราตายแล้วใครจะเลี้ยงมันนะ เรานี่แหละจะมาเป็นเปรตอยู่กับหมา นะ หรือว่ารักใคร่พอใจ นะ โอ๊ย..เอาหมาไปอุ้ม กอดอยู่ทุกวันนะ จิตใจผูกพันธ์กับหมา ตายไปก็เป็นหมาได้นะ มันแล้วแต่ว่า จิตขณะนั้นมันเป็นอกุศลหรือเปล่า เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เห็นมั้ย ใครถามเรื่องอะไรตอบได้หมด ลงด้วยเรื่องสติได้แล้ว นะ ถ้าลงได้อย่างนี้ก็เรียกว่าจบได้ ถ้าลงสติไม่ได้นะ จบไม่ลง นักปฏิบัตินะ.. มีแต่สตินี้แหละ ดีที่สุด

เพราะฉะนั้นต้องดูนะ ดูใจของเราไป ใจที่เศร้าหมอง สงสารหมา เมตตา กรุณา ได้นะ แต่อย่าให้เศร้าหมอง


แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี
CD สวนสันติธรรม แผ่น ๒๕
ลำดับที่ ๘
File: 510427B.mp3
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

mp 3 (for download) : พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเราแต่ละคนมีงานนะ งานของเราที่แท้จริงก็คือ ทำอย่างไรเราจะพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์นี้ให้ได้ นี่คืองานทีแท้จริงของแต่ละคน แต่ละคน แต่เราไม่รู้หรอก ว่าเราจะต้องทำงานอันนี้

ดังนั้น เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ จิตพ้นจากอาสวะนะ ชาติสิ้นจบแล้วนะ พรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ เพื่อความหลุดพ้น ไม่มีอีกแล้ว ทำครั้งเดียว ไม่ต้องทำอีกแล้ว พระไตรปิฎกก็จะบอกว่า ท่านผู้นี้ก็เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก

คำว่าพระอรหันต์ พระอรหันต์นี้ ไม่ใช่กายเนื้อที่เรามองเห็น ในความเป็นจริงนี่พระอรหันต์คือภาคี คืออันหนึ่งอันเดียวที่สมบูรณ์ กับพระรัตนตรัย กับธรรมะ ส่วนพระอรหันต์ที่เห็นเป็นองค์ๆ เช่นพระโมคคัลลา สารีบุตร อะไรอย่างนี้ อันนี้เราเห็นแต่รูปกาย ความเป็นพระอรหันต์ของท่าน กับความเป็นพุทธะ กับธรรมะนั้น เป็นอันเดียวกัน นี่ใจเราจะเห็นถึงขนาดนั้น

เราจะรู้ว่าพระอรหันต์นี้ หรือกระทั่งพระพุทธเจ้า ที่เราเห็นเป็นองค์ๆนี้ เป็นการปรากฎ เป็นการแสดงตัวออกมาของธรรมะเท่านั้นเอง เป็นทางผ่านของธรรมะเพื่อมาสู่โลกของสมมุติบัญญัติ อาศัยสมมุติบัญญัติเพื่อจะถ่ายทอดสิ่งซึ่งเหนือสมมุติบัญญัติ ทำไมต้องอาศัยสมมุติบัญญัติ เพราะว่าถ่ายทอดไปกับคนที่ยังหลงอยู่ในสมมุติบัญญัติ

ธรรมะเป็นของลึกซึ้งนะ ลึกสุดๆเลย ถ้าเข้าถึงแล้วก็จะอัศจรรย์ในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เอาไปตัดหัวแล้วให้บอกว่า พระพุทธเจ้าพูดไม่จริงก็ไม่ยอมนะ ไม่เชื่อ เชื่อแน่นแฟ้นว่าท่านพูดจริงๆ ใครจะเชื่อนะ ใครจะนึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน ใครจะนึกถึงว่า รูปกายของพระแต่ละองค์ แต่ละองค์ ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมานะ จนถึงพระโกณฑัญญะ พระอะไรต่ออะไรนี้ เป็นแค่ทางปรากฎขึ้นมาของธรรมะ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ปรากฎขึ้นชั่วคราวแล้วสลายไป แต่ธรรมะแท้ๆไม่ได้สลายไปด้วย


แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
ลำดับที่ ๑๒
File: 510324A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตได้ สติ, สมาธิ, ปัญญา

ดูจิตได้ สติ, สมาธิ, ปัญญา

ดูจิตได้ สติ, สมาธิ, ปัญญา

mp3 for download: ดูจิตได้ สติ, สมาธิ, ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พากเพียรเข้านะ ฝึกไป เพื่อตัวเราเองนั่นแหล่ะนะ   เข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอก เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างเร็วเลย หลวงพ่อไม่เคยสอนให้เราเชื่องมงายนะ ไม่ใช่มาเชื่อหลวงพ่ออะไรอย่างนี้ ไร้สาระ

หลวงพ่อบอกวิธีปฏิบัติให้ ไปลองทำดู  วิญญูชนจะรู้ด้วยตัวเอง ว่าอะไรถูก อะไรผิด   เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเองได้ ใช้เวลาไม่มากเท่าไรหรอก

อย่างคนเคยแต่เห็นแก่ตัว ก็ละอายใจที่จะเห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัวลง

เคยทุศีล ไม่มีศีล ก็เริ่มจะมีศีึล ทำผิดศีลก็อาย

ใจไม่เคยมีความสุข มีความสงบ มาปฏิบัติก็เริ่มมีความสุขมีความสงบขึ้นมา มีสมาธิ มีความสุขมีความสงบ

ไม่เคยเดินปัญญา ไม่เคยรู้กายรู้ใจของตัวเองเลย ก็ได้รู้มากขึ้นๆ เห็นความจริงมากขึ้นในกายในใจ

พวกเราสังเกตไหม อย่างพวกเรามาหัดดูจิต  แรกๆ เรารู้สึกมีความสุข รู้สึกไหม?  ฝึกไปๆ ทำไมเห็นแต่ทุกข์

ตรงที่ฝึกไปแล้วมีความสุขขึ้นมานั้น เพราะเรามีสติรู้ทันจิต จิตจะตั้งมั่น จิตได้สมาธิ  มีความสุขขึ้นมา แต่สมาธิของเราเป็นขณิกะ ความสุขของเราจะเป็นแว๊บๆ รู้สึกไหม?  นั่นได้สมาธินะ ที่ดูจิตๆ อยู่

ถัดจากนั้น พอเรารู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว สติระลึกรู้กายบ้าง รู้เวทนาบ้าง รู้จิตบ้าง แล้วแต่เขาจะระลึก เพราะสติเป็นอนัตตา  พอระลึกมากเข้าๆ เห็นมีแต่ทุกข์ กายนี้ก็ทุกข์นะ เวทนาก็เกิดแล้วก็ดับ ความสุขก็ไม่ใช่ของจริง

ความสุขเป็นภาพลวงตา นั่นก็คือ ช่วงที่ทุกข์น้อยๆ ก็รู้สึกสุข  มีแต่ทุกข์ันั่นแหล่ะ  กุศล-อกุศลทั้งหลาย มีแต่เกิดแล้วก็ดับไปๆ เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้เลย  จิตเองก็เกิดดับไปตลอดเลย เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้  วันนี้ทำไว้ดีแล้ว พรุ่งนี้ฟุ้งอีกละ  แต่ละวันๆ จะเห็นแต่ความเปลี่ยนแปลง ไม่เห็นมันจะสุขตรงไหนเลย

ขั้นในการเจริญปัญญา จะเห็นทุกข์นะ   ฉะนั้นบางคนบอกว่า ภาวนากับหลวงพ่อมาช่วงหนึ่ง ทำไมเห็นแต่ทุกข์  ยืน เดิน นั่ง นอน มีแต่ทุกข์นะ   จะพลิกซ้ายพลิกขวาก็ทุกข์  ทำอะไรก็ทุกข์หมดเลย  เพราะว่าจิตเราเดินปัญญา  ถ้าภาวนาแล้วมีแต่สุข สุข สุข เราไปติดสมถะแล้ว

ฉะนั้นเบื้องต้นนี้ หัดดูทีแรก จิตตั้งมั่นขึ้นมาแว๊บ มีความสุข อันนั้นได้สมาธิ

ต่อไปสติระลึกรู้กาย ระลึกรู้ใจ มากเข้าๆ จะเห็นแต่ทุกข์  แต่ยิ่งเห็นทุกข์เท่าไหร่ ยิ่งมีความสุขเท่านั้น  นี่เป็นปฏิภาคกลับกันนะ เป็นเรื่องอัศจรรย์  ยิ่งเห็นขันธ์เป็นทุกข์นะ ใจยิ่งมีความสุข มีความสงบมากขึ้นๆ  ใจห่างโลกออกไปเรื่อยๆ ยิ่งฝึกแล้วยิ่งห่างโลกไปเรื่อยๆ รู้สึกไหม?

แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ หลังฉันเช้า
CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
Track: ๔
File: 521204B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกด้วย

จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกด้วย

จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกด้วย

mp3 (for download) : จะเอาแก่นไม้ ก็ต้องอาศัยเปลือกไม้ด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ  จิตบรรลุของมันเอง  เมื่อศีล  สมาธิ  ปัญญานี้แก่รอบพอ  จะต้องสะสมนะ     ท่านบอกว่า ไม่เอาศีลเป็นเป้าหมาย ไม่เอาสมาธิ  ไม่เอาปัญญา    แต่ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ไม่เอาเลย เพียงแต่ว่าไม่เอามาเป็นเป้าหมาย    บางคนฟังหลวงพ่อบอกว่า  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  เป็นสะเก็ดไม้  เป็นเปลือกไม้  เป็นกระพี้ไม้   นั้นแสดงว่าไม่ต้องเอา  จะเอาวิมุติ  อยากหลุดพ้นอย่างเดียวไม่หลุดหรอก  ต้นไม้จะมีแก่นขึ้นมาได้  ต้องมีใบใช่ไหม  มีกิ่ง  มีเปลือก  มีกระพี้  ไม่อย่างนั้นจะมีแก่นขึ้นมาได้อย่างไร   เราจะภาวนาให้เกิดวิมุติ  เราก็ต้องมีเปลือกพวกนี้   ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ต้องอบรมไปเรื่อย  ให้แก่รอบนะ   แต่ไม่ใช่เป้าหมาย  มันคือเครื่องมือ เครื่องมือกับเป้าหมายไม่เหมือนกันนะ  อย่างเป้าหมายของหมอต้องรักษาโรคให้ได้  แต่หมอมีเครื่องมือเยอะแยะเลย  ถ้าหมอคนนี้เป็นหมอพิกลพิการทางจิตใจ  จะซื้อเครื่องมือมาเยอะเลย  แต่คนไข้จะอยู่หรือจะตายไม่สนหรอก  ขอให้ได้ใช้เครื่องมือ  อย่างนี้ก็ไม่ไหวใช่ไหม    เรียกว่าผิดเป้าหมายแล้ว    อย่างนั้นเป้าหมายเราจริง ๆ  การหลุดพ้นนะ   แต่เครื่องมือต้องสะสม  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ต้องสะสมไปเรื่อย

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๓
File: 521227
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยสัจจ์

อริยสัจจ์

อริยสัจจ์

mp3 for download: อริยสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เรียนธรรมะเรียนง่ายๆนะ เรียนแบบเป็นกันเอง สมัยพุทธกาลนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ก็สอนธรรมะได้ อยู่ที่ไหนก็พูดกันได้ธรรมะ ธรระมจริงๆเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนอะไร ฆราวาสก็ทำได้นะ ฆราวาสทำให้ถึงมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เรื่องที่ว่าเหลือวิสัยทำไม่ได้ แต่ว่าต้องจริงจังหน่อย แต่จริงจังก็ไม่ได้จริงจังแบบวัวแบบควายนะ เอาแรงเข้าทุ่ม ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าสอนหลักไว้แล้ว เราจะมาทำนอกหลักพระพุทธเจ้าแล้วก็จะบรรลุอะไรอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนเสียก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์ นี่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของท่าน อริยสัจจ์มีเรื่องทุกข์ คำว่าทุกข์ก็ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ ต้องเรียนนะ ทุกข์ไม่ได้แปลว่าความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าทุกข์คือกายกับใจ ท่านบอกว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ว่าโดยสรุปขันธ์ ๕ คือตัวทุกข์ ทุกข์ให้ทำอะไร ทุกข์ให้รู้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราเนี่ย รู้กายรู้ใจลงไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำอย่างอื่นกับกายกับใจนะ หน้าที่คือรู้กายรู้ใจ ถ้าเรารู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งเนี่ยถึงจะละอวิชาได้ อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์นั่นเอง คือไม่รู้ว่ากายกับใจนี้เป็นตัวทุกข์ เราไปคิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษ แต่ถ้าเรามาเจริญสติรู้กาย เจริญสติรู้ใจ รู้มากเข้าๆเราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ตัวทุกข์ล้วนๆ พอมันเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์แจ่มแจ้งปุ๊บ สมุทัยจะเป็นอันถูกละอัตโนมัติเลย ฉะนั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ สมุทัยถูกละเมื่อนั้น จำไว้นะ ไม่ใช่ว่าละสมุทัยเมื่อไหร่ พ้นทุกข์เมื่อนั้นนะ ธรรมะมันคนละระดับกัน

พวกเราเรียนธรรมะมันมีหลายขั้นตอน อย่างคนทั่วๆไปเนี่ย สมุทัย คนทั่วๆไปเห็นว่า ถ้ามีความอยากแล้วไม่สมอยากแล้วจะทุกข์ ถ้าสมอยากแล้วไม่ทุกข์ เนี่ยคนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นมากเลย ถ้ามีความอยากแล้วก็ไม่สมอยากแล้วทุกข์ นักปฏิบัติจะละเอียดขึ้นมาหน่อย เห็นว่าถ้ามีความอยากเมื่อไรก็มีความทุกข์เมื่อนั้น จะสมอยากหรือจะไม่สมอยาก แค่มีความอยากขึ้นมาจิตก็เริ่มดิ้นรน มันจะดิ้นนะ หมุนติ้วๆ ทำงานขึ้นมา เพราะฉะนั้นทันทีที่เกิดความอยากความทุกข์ก็เกิด แล้วก็เลยคิดว่า ถ้าไม่อยากเนี่ยความทุกข์ก็ไม่มี กายกับใจนี้ก็ไม่ทุกข์ ถ้าอยากแล้วจิตใจจะมีความทุกข์ขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์จริง ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์จะรู้เลยว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ อย่างจิตใจของเราเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยากมันก็ทุกข์โดยตัวของมันเอง

ธรรมะลึกมากนะ แต่เดิมเราไม่เข้าใจธรรมะอย่างนี้ เราก็ดิ้นรนแสวงหาไปเรื่อยๆ ทำอย่างไรจิตใจของเราจะมีความสุขถาวร ทำอย่างไรเราจะดีถาวร ทำอย่างไรจิตจะสงบถาวร เนี่ยเราเที่ยวค้นหา จิตที่ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ซึ่งมันไม่มีในโลกนี้ มันมีแต่ของไม่เที่ยง มันมีแต่ของเป็นทุกข์ มันมีแต่ของบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เราจะไปหาอะไรที่บังคับให้ได้ ควบคุมให้ได้ แล้วมีความสุขด้วย เป็นตัวเราด้วย เราไปหาสิ่งซึ่งไม่มี เพราะฉะนั้นการดิ้นรนค้นคว้า ที่ภาวนา ที่ปฎิบัติกันนั้นน่ะ ที่มุ่งเอาความสุข ความสงบ ของจิตของใจนี่นะ ไม่มีทางละอวิชาได้เลย

ท่านอาจารย์มหาบัวท่านวิจารณ์บอกว่า ภาวนาแบบนี้นะ กิเลสหนังไม่ถลอกเลย ไม่ถลอกจริงๆนะ ไม่ใช่แกล้งว่า เพราะอะไร เพราะมันภาวนาตอบสนองกิเลส ภาวนาเพื่อว่าวันหนึ่ง “กู”จะได้มีความสุขถาวร “กู”จะดีถาวร “กู”จะสงบถาวร ไปภาวนาเอาของซึ่งไม่มี เพราะว่าปัญญาเรายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์

ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์นี้นะจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจตัวทุกข์ล้วนๆ ถ้าเห็นอย่างนี้ มันจะหมดสมุทัย หมดความอยากโดยอัตโนมัติ ตัณหามันจะเป็นอะไร้ ตัณหามันก็แค่ว่า อยากให้กายให้ใจมีสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ตัณหามันก็มีอยู่เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นเมื่อใดเราเห็นกายเห็นใจนี้ทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง ถ้าเห็นอย่างนี้นะ ตัณหาจะถูกละอัตโนมัติ ไม่เกิดขึ้นมา ทันทีที่ตัณหาไม่เกิด จิตใจก็เข้าถึงสันติสุขในฉับพลันนั้นเลย สันติสุขก็คือนิพพาน หรือก็คือนิโรธนั่นเอง ตัวสันตินั้นแหละ ตัวนิโรธ ตัวนิพพาน เมื่อไรจิตหมดตัณหาจิตก็หมดความดิ้น จิตที่หมดความดิ้นรนก็มองเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรนคือนิพพานปรากฎอยู่ต่อหน้าต่อตา

ในขณะที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งจนกระทั่งละสมุทัยแจ้งนิโรธ ในขณะนั้นแหละเรียกอริยมรรค เพราะฉะนั้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดขึ้นในขณะจิตเดียวกัน ไม่ใช่ว่ารู้ทุกข์วันหนึ่ง ละสมุทัยวันหนึ่ง แจ้งนิโรธวันหนึ่ง ไม่ใช่ เกิดในขณะจิตเดียว


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๒
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตื่นยังไม่ใช่มรรคผล

จิตตื่นยังไม่ใช่มรรคผล

จิตตื่นยังไม่ใช่มรรคผล

mp3 (for download): จิตตื่นยังไม่ใช่มรรคผล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พอจิตตื่นขึ้นมาแล้ว คราวนี้เราได้เป็นพุทธะน้อยๆ  เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว  แต่ยังไม่ใช่มรรคผลนิพพาน จิตตื่นขึ้นมา จิตเป็นผู้รู้ขึ้นมา  จิตมีสมาธิขึ้นมาแล้ว ถัดจากนี้ต้องเดินปัญญา ต้องเดินปัญญานะ

วิธีเดินปัญญา ก็คือ มีสติรู้ความเปลี่ยนแปลงของกาย  มีสติรู้ความเปลี่ยนแปลงของใจ ดูกายดูใจอย่างที่เขาเป็น แต่ดูด้วยจิตที่ตั้งมั่น มีสมาธิ

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่  ๓๔
File: 530423B
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๘ ถึงนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดพร้อม

mp3 (for download) : ดูจิตได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดพร้อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูจิตเป็นหลักไว้ แต่ร่างกายเคลื่อนไหวให้รู้สึกนะ

โยม: หลวงพ่อหนูขอการบ้านน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: นี่ไง ให้ไปดูไง

โยม: แค่นี้เองเหรอคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าใจแอบไปคิดก็รู้ทันๆ แค่นี้ก็เป็นพระอรหันต์ได้ จะเอาแค่ไหน (หัวเราะ)

โยม: ค่ะ แค่นี้ก็แค่นี้ค่ะ  (หัวเราะ)

หลวงพ่อปราโมทย์: หนูรู้หรือเปล่า ดูจิตเฉยๆ นี่แหละนะ สมถะก็ได้นะ วิปัสสนาก็ได้ ศีลก็มี สมาธิก็มี อย่างดูจิตแล้วมีศีลได้อย่างไร ดูจิตแล้วพอเราเห็นกิเลสเกิดขึ้นมา กิเลสมันเกิดปั๊บ เรารู้ทันมันกิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ เราจะไม่ผิดศีล พอใจมันฟุ้งซ่านขึ้นมา เรามีสติรู้ทัน ความฟุ้งซ่านจะดับไป ใจจะมีสมาธิขึ้นมา เสร็จแล้วเราก็จะเห็นนะ จิตใจมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว มันปรุงมันแต่งทั้งวันเลย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายหมุนเวียนเปลี่ยนไป นี่มันไม่เที่ยงตลอดเลย แล้วมันบังคับไม่ได้ นี่เห็นไตรลักษณ์นะ นี่คือวิปัสสนานะ เพราะฉะนั้น การที่เราคอยรู้ทันจิตตัวเองนี่นะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เกิดพร้อมเลย

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๒
Track ๑๗
File: 521127B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๓๖ ถึงนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

mp 3 (for download) : เรามีสติขึ้นมา เพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เืบื้องต้นน่ะมันต้องตามรู้กาย ตามรู้ใจ  “ตามรู้” นะ

เพื่ออะไร? เพื่อให้เกิดสติ ตามรู้เพื่อให้จิตจำสภาวะได้ แล้วเกิดสติ

ฉะนั้นในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำเหมือนกันหมดเลย กายนุปัสสนา-การตามเห็นกาย  จิตตานุปัสสนา-การตามเห็นจิต  เป็นคนละส่วนกับขั้นที่ทำให้เิกิดปัญญา คนละส่วนกัน    ในสติปัฏฐานมีสองส่วน  ส่วนที่ทำให้เกิดสติ ตามเห็นกาย ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ตามเห็นมากๆแล้ว จิตจำสภาวะของรูปนามได้แม่น  พอรูปนามเคลื่อนไหวขึ้นมา สติเกิดเอง  เมื่อสติเกิดเองแล้ว คราวนี้มันไม่มีแล้ว สายกาย สายจิต เพราะสติเป็นอนัตตา บางทีสติระลึกรู้กาย บางทีก็ระลึกรู้ใจ ไ่ม่มีสายแล้ว   ฉะนั้นตอนสุดท้ายก็จะเหลือแต่ว่า ขณะนี้มีสติ หรือว่า ขณะนี้ขาดสติ

ทีนี้ มีสติขึ้นมาก็ไม่ใช่เพื่อว่าจะมีสติต่อเนื่อง สติเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป แค่นั้นพอแล้ว  เรามีสติขึ้นมาเพื่ออะไร? เพื่อจะตัดตอนชีวิตของเราให้ขาดเป็นท่อนๆ แต่เดิมชีวิตของเรานี้เป็นอันเดียวรวดเลย คือหลงตลอดชาติเลย เราจะไม่รู้สึกตัวว่าหลง เราจะรู้สึกว่า เรามีอยู่จริงๆ  รู้สึกว่าจิตนี้เที่ยง จิตนี้คือตัวเรา เพราะว่าจิตมันหลง ไม่เคยขาดตอนลงไปให้เห็นเลย   เราฝึกจนสติเกิดนะ มันจะขาดตอนอัตโนมัติเลย  จิตที่หลงเกิดขึ้นแล้วดับไป จิตที่รู้สึกตัวเกิดแล้วดับไป  ฝึกอย่างนี้ ในที่สุดเห็นเลย จิตทั้งที่เผลอไป ที่ทั้งรู้สึกตัว ที่มีสติ ที่ไม่มีสติ ล้วนแต่เกิดแล้วดับ

เวลาเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมนี้ เข้าใจทั้งคู่เลย ไม่ใช่เอาอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง  ไม่ใช่เอาจิตที่มีีสติ เกลียดจิตที่ขาดสติ  เพียงแต่จิตที่มีสติเป็นแค่เครื่องอาศัยเท่านั้นเอง เพื่อจะได้เห็นไตรลักษณ์นั่นเอง  ท่านถึงบอกว่า ธรรมะเหมือนเรือ เป็นเครื่องอาศัย

ฉะนั้นเรามีสติขึ้นมา แว๊บ  เห็นเลย ชีวิตที่ขาดสติดับไปแล้ว มีสติอยู่ชั่วขณะ สติก็ดับอีก  ถัดไป จิตอาจจะมีสติหรืออาจจะขาดสติก็ได้ เราเลือกไม่ได้ โวฎฐัพพนจิตมันเลือก มีตัวหนึ่งเลือกแทนเรา เราเลือกไม่ได้  ฉะนั้นจิตจะมีสติ จิตจะขาดสติ ก็เลือกไม่ได้    ถ้าจิตมีสติขึ้นมาอีก มันก็จะระลึกได้ว่า เมื่อกี้มีสติอยู่ เมื่อกี้รู้สึกตัวแล้ว  ถ้าจิตดวงถัดมาไม่มีสติ มันก็เผลอไปอีก  แล้วเดี๋ยวมีจิตที่มีสติมาระลึกใหม่ อ้อเมื่อกี้เผลอไป  เมื่อกี้เผลอไป รู้สึกตัวแว๊บ เกิดโลภะแทรก กลัวเผลอ ไม่อยากเผลอ อยากจะรู้ตัว เพ่ง  เกิดการทำงานทางใจ ให้รู้ทันว่าทำงานทางใจแล้ว

ฉะนั้นรู้ลงปัจจุบันไปเรื่อยๆ เขาจะดัดแปลง เขาจะพลิกแพลงอย่างไร ตามรู้ไป  ตามรู้ไม่ใช่เพื่อเอาอันใดอันหนึ่ง หรือเพื่อปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ไม่ได้เอาจิตที่มีสติ ไม่ได้ปฏิเสธจิตที่ขาดสติ  เพราะจิตที่มีสติและจิตที่ขาดสติสอนธรรมะเราอย่างเท่าเทียมกัน  เพียงแต่ต้องมีสติขึ้นมาเพื่อจะได้ตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นท่อนๆ อยู่ในช่องเล็กๆของปัจจุบัน ช่องเล็กๆ มันจะเห็นแต่ว่ามีความเกิดดับเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ถึงจุดที่แ่จ่มแจ้งก็จะรู้เลย ทุกสิ่งเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ปัญญามันอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าฝึกจนไม่มีความขาดสตินะ สติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้หรอก เกิดได้ก็ดับได้


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๑
File: 491123A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

mp3 for download: ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: สมาธิก็จะเกิดขึ้นถ้ามีสติที่แท้จริง ถ้าเป็นมิจฉาสติก็ได้มิจฉาสมาธิ มิจฉาสติเช่น รู้ท้องพองยุบก็เพ่งอยู่ที่ท้องใจนิ่งๆทื่อๆนะ หรือเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้าไปเรื่อยๆ ใจนิ่งๆทื่อๆ เพ่งไปเรื่อยในที่สุดเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอยตัวเบาตัวโคลงตัวใหญ่ นะ มีหลายแบบ เกิดขนลุกซู่ซ่า เกิดรู้สึกเหมือนฟ้าแล่บวูบๆวาบๆอะไรอย่างนี้ พวกนั้นยังไม่ใช่ตัวสัมมาสมาธิ

หรือบางคนภาวนาแล้วขาดสตินะ เคลิ้ม..ลืมเนื้อลืมตัว ชอบกันมากนะนั่งสมาธิแล้วเคลิ้มเนี่ย สมัยก่อนหลวงพ่ออยู่ตามวัดป่า กลางค่ำกลางคืนบางทีเขาไปภาวนารวมกัน นั่งรวมกันเยอะๆเปิดเทปครูบาอาจารย์ไปด้วย เพราะครูบาอาจารย์แก่แล้วเทศน์ไม่ไหว ครูบาอาจารย์บางองค์เสียงท่านนุ่มนวลมากนะ อย่างหลวงปู่เทสก์นะ

หลวงปู่เทสก์ หลวงพ่อไปอยู่กับท่านบ่อยๆแต่ก่อน กลางค่ำกลางคืนคนภาวนา เปิดเทปท่านไปนะแล้วก็สบาย . . . . หลวงพ่อก็ทำเป็นนะ ไม่ยากหรอก เคลิ้มไปนะ พอหมดชั่วโมง สมัยก่อนมันเป็นเทปนี่ พอครึ่งชั่วโมงมันดีดแป๊ก.. อ้า..ตื่น เดี๋ยวเปิดอีกหน้าหนึ่ง.. แป๊ก.. อ้า.. ตื่น แผ่นส่วนกุศลได้แล้วหมดเวลาละ.. ฝึกอะไร? ฝึกโมหะ ฝึกอะไร? ฝึกโลภะ ไม่ได้ฝึกสติ อย่างนั้นใช้ไม่ได้เลย

หลวงพ่อไปเห็นเขาภาวนานะ ใจเราก็นึก โอ้.. นี่ไม่ได้ภาวนา นี่ขาดสติ ไม่ได้ภาวนา พอตอนเช้า ตามพวกคุณป้านะเข้าไปถวายดอกไม้ท่าน หลวงปู่ก็หันมามองหน้าเรายิ้มๆนะ “วัดนี้เขาไม่ได้ภาวนากันแล้วล่ะ” อูย.. ใจเรานี้แวบ.. แป้วเลย แหมนินทาอยู่ที่โบสถ์นะ นินทาในใจอยู่ในโบสถ์นะ เช้าโดนท่านเฉาะเข้าให้แล้ว ท่านก็พูดยิ้มๆนะ กับโยมท่านใจดี ส่วนมากครูบาอาจารย์จะใจดีกับโยมนะ จะดุกับพระ เหมือนกันแทบทั้งนั้นเลย

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: 510427A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๘ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๙
File: 510628.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตั้งมั่นเป็นอย่างไร?

mp3 : (for download) : จิตตั้งมั่นเป็นอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นมีสมาธิอยู่ จิตจะไหลตามอารมณ์ไป เวลาไปดูลมหายใจเนี่ย จิตจะไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น เวลาดูท้องพองยุบจิตจะไหลไปอยู่ที่ท้องอย่างนี้เรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น เวลาที่คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้จิตไหลไปอยู่ในโลกของความคิด จิตไม่ตั้งมั่น เวลาโลภเกิดขึ้นไปเห็นความโลภโผล่ขึ้นมามีสติรู้ว่าความโลภเกิดขึ้นนะ จิตถลำลงไปในความโลภอีก ไหลตามความโลภไป นี่ จิตไม่ตั้งมั่น

ถ้าเราเคยฝึกซ้อมจิตไหลไปแล้วรู้ ไหลไปแล้วรู้ จิตมันตั้งขึ้นมา มันจะเห็นเลย มันจะมีสภาวะคล้ายๆเรายืนอยู่บนบกนะ แล้วเห็นของไหลมาในน้ำ ดอกไม้ลอยมาบ้าง หมาเน่าลอยมาบ้าง ลอยมาในน้ำลอยมาแล้วลอยไป เราอยู่บนบก เราอยู่ห่างๆ เราดูอยู่ห่างๆ หรือเหมือนเรายืนอยู่บนตึกริมถนน ตึกแถวริมถนนเรายืนอยู่ เห็นรถวิ่งอยู่ในถนนเราไม่วิ่งลงไปในถนน ใจมันดูอยู่ห่างๆ เนี่ยสภาวะที่จิตตั้งมั่นนะ จิตจะตั้งตัวเป็นผู้รู้อยู่ห่างๆ มันจะไม่ in เข้าไปในปรากฏการณ์ เมื่อไม่ in เข้าไปในปรากฏการณ์มันจะเห็นปรากฎการณ์ชัด ถ้าเมื่อไหร่เรา in เข้าไปในปรากฎการณ์ เราจะเห็นปรากฎการณ์ไม่ชัด

อย่างในเวลาที่ชีวิตเรามีปัญหาหรือว่าเราทำงานนะ ทำไมพวกที่ปรึกษามันหากินได้ เพราะที่ปรึกษามันไม่ได้ in พวก Consult Consultant พวกนี้มันไม่ได้ in กับเรา บริษัทฯเราจะเจ๊งมันไม่ได้เดือดร้อน มันได้ค่าจ้างมันพอใจ ส่วนเรา เรา in นะ บริษัทฯเราจะอยู่ได้ไม่ได้เนี่ย เรา in แล้ว

การที่เรา in เข้าไปในปรากฎการณ์ หลงเข้าไปในปรากฎการณ์ ทำให้เราเห็นอะไรไม่ชัด มองไม่ตรงความจริง ที่ปรึกษามองง่ายกว่าเราทั้งๆที่ไม่ได้เก่งกว่าเรานะ หลายคนหลวงพ่อสังเกตนะ ที่ปรึกษาโง่กว่าเราอีก มันไม่ได้รู้อะไรมากกว่าเราหรอก ข้อมูลเราก็รู้เยอะนะ เยอะกว่าเขาน่ะ แต่เยอะจนข้อมูลถมเอา จนมองอะไรไม่ออกเลย

ถ้าเราถอนตัวขึ้นมา เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ได้ จิตที่ตั้งมั่นมีสมาธินี้ล่ะ คือจิตที่ถอนตัวออกมาเป็นผู้สังเกตการณ์ มันจะเห็นโลกนี้ตามความเป็นจริง เห็นรูปเห็นนามเห็นกายนี้ตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างผ่านมาแล้วผ่านไปเกิดแล้วดับทั้งสิ้นเลย จะเห็นอย่างนี้ เห็นแล้วเห็นอีก ในที่สุดจิตจะวาง มีแต่ทุกข์ล้วนๆไม่รู้จะเอาไปทำไม มีแต่ของไม่เที่ยงไม่รู้จะเอาไปทำไม มีแต่ของที่ไม่ใช่เรา พึ่งพาอาศัยไม่ได้เลย น่าเบื่อหน่าย จิตจะวาง เพราะฉะนั้นจิตจะวางได้ด้วยการเดินปัญญา เดินปัญญาได้ก็ต้องมีการฝึกให้มีสตินะ ฝึกให้มีสมาธิขึ้นมา ต้องฝึกทั้งสิ้นเลย แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องมีศีลนะ ถ้าไม่มีศีลล่ะก็ คุณงามความดีทั้งหลายม้นจะหายไปอย่างรวดเร็วเลย สมาธิก็เสื่อม

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530423.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๗ ถึงนาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวเราเหมือนหมูกระดาษ

mp 3 (for download) : ตัวเราเหมือนหมูกระดาษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อวานนะแน่นเลย ของวัดโสมวัดเดียวมาสิบองค์ แ่ต่ท่านก็อดทนนะ ฟังฟังจนกระทั่งตื่นขึ้นมาได้เจ็ดแปดองค์  และตั้้งอกตั้งใจภาวนา  บางองค์เป็นมหานะ ไม่ถือว่าความรู้เยอะ ได้ฟังธรรมะในภาคปฏิบัติดู ฟังพอจิตตื่นขึ้นมาแล้วบอกว่ามันง่ายนิดเดียว หลงไปทำซะยากเลย จริงๆง่าย เราไปทำให้มันยากเอง มันจะยากอะไร ถูกเขาด่าแล้วโกรธ รู้ว่าโกรธ  ถ้าจะให้ยากก็ต้องไม่โกรธ ทำอย่างไรจะไม่โกรธนี่ยากนะ หรือโกรธแล้วทำอย่างไรจะดับ นี่ยาก  ถูกเขาด่า โกรธ รู้ว่าโกรธ ไม่เห็นยากอะไรเลย ใครก็ทำได้ เพียงแต่เรานึกไม่ถึงว่าการปฏิบัติมันจะง่ายขนาดนั้น

ท่านมหาท่านพูดว่าเมื่อก่อนท่่านไปสร้างอะไรขึ้นมาซะแข็งไปหมดเลย นึกไม่ถึงว่ามันจะธรรมดา  อ้าวธรรมะก็ธรรมดาก็ันั่นแหล่ะ ธรรมะไม่ธรรมดาแล้วมันจะเป็นธรรมะได้อย่างไร ธรรมะกับธรรมดามันก็คำเดียวกันนั่นแหล่ะ  เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ จนเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่างร่างกายนี้ ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เรื่องธรรมดา  จิตใจเีดี๋ยวสุข เีดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เรื่องธรรมดา  เดี๋ยวสงบเดี๋ยวฟุ้งซ่าน ธรรมดา  พอยอมรับความเป็นธรรมดา ใจก็เข้าไปสู่ความเป็นกลาง ไม่ดิ้น

มีวิธีฝึกกรรมฐานง่ายๆอย่างนึง อันนี้อยากฝากญาติโยมลองไปดู กระทั่งพระก็ได้นะ แต่พระยังไม่มา คือเวลาแต่ละคนนี่จะแอบสร้างภพขึ้นมา  สร้าง “ภพ” คือสร้างสภาวะอะไรขึ้นมาบางอย่าง แต่ละคนจะสร้างทุกคนแหล่ะ  เวลาเราเจอคนนี้ เราก็ต้องวางมาด มันจะสร้างขึ้นมาตลอดเวลา  หรือเวลาบางคนจะคุยกับหลวงพ่อ ต้องทำเสียงหล่อๆหน่อย ต้องให้มันไม่ธรรมดา ต้องไม่ธรรมดา นี่เสแสร้งสร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา เพื่ออะไร? เพื่อให้ดูดี  ลองสังเกตตัวเองดู กะเทาะเปลือกตัวเองออก จนเห็นเลย ตัวจริงของเราอย่างไร

เราชอบสร้างภาพหลอกๆขึ้นมา อย่างเราเจอคนเจออะไรแต่ละวันๆ เราจะสร้างมาดขึ้นมา เจอลูกค้าเราก็ต้องทำฟอร์มอย่างนี้ใช่ไหม เจอเจ้านายเราก็ต้องทำท่านี้ เจอสาวเราต้องทำอย่างนี้ ต้องวางฟอร์ม  ฟอร์มที่สร้างขึ้นจริงๆ คือสภาวะนั่นเอง คือภพอันหนึ่ง บางทีก็เป็นภพของพ่อ วางฟอร์มเป็นพ่อ บางทีก็วางฟอร์มเป็นแม่ วางฟอร์มเป็นนางเอก  มีนะ ผู้หญิงชอบวา่งฟอร์มเป็นนางเอก ทำเศร้าๆ มีหยาดน้ำตาและหยดเลือดเยิ้มๆในใจ ชอบนักเชียว หาเรื่องลงนรกแท้ๆเลยนะ สะใจ เจ็บๆ คันๆ แสบๆ อู้ยชอบ ชอบเข้าไปได้ไง ทำใ้ห้จิตคุ้นเคยกับอกุศล

แต่ละคนจะวางฟอร์ม ให้เรารู้ทัน  อย่างบางคนหลวงพ่อเคยชี้ ไม่รู้วันนี้มาไหม เขาภาวนาเก่งนะ แต่พอเริ่มพูดกับหลวงพ่อ เขาจะต้องทำเสียงหล่อ “(ทำเสียงหล่อ) ผมมีเรื่องกราบเรียนหลวงพ่อ” นี่  ทำเสียงหล่อนะ พอหลวงพ่อชี้ให้ดู นี่เสแสร้งนะ เห็น เห็นว่านี่ปรุง สร้างภพขึ้นมา สร้างภพของนักปฏิบัติที่ดี ทำดูเลื่อมใสศรัทธากับครูบาอาจารย์มาก พอเห็นตรงนี้ปั๊บ หลุดออกมาเลย   ฉะนั้น ภพทั้งหลายนี่ ถ้าเรารู้ทัน เราจะหลุดออกมา แล้วไม่มีอะไร ว่างๆ ไม่มีอะไร  แต่ถ้ารู้ไม่่ทัน มันก็สร้างภาพขึ้นมา เป็นรูปเป็นร่าง สวยงามอย่างโน้นอย่างนี้

สองวันนี้ หลวงพ่อคุยกับพวกที่มาอยู่วัด บอกเคยเห็น “หมูกระดาษ” ไหม? หมูกระดาษใครเคยเห็นไหม? หมูกระดาษตัวแดงๆ ต้องคนโบราณหน่อยนะถึงจะเคยเห็น  ถ้าเดี๋ยวนี้หมูพลาสติก แต่หมูพลาสติกเอามายกเคสนี้ไม่ได้   หมูํกระดาษนี้มันทำด้วยกระดาษ ค่อยๆปะนะทีละแผ่นๆ ค่อยๆปะขึ้นมา มีแม่พิมพ์สองด้าน ปะทีละด้าน เสร็จแล้วก็เอามาเย็บตรงกลาง ทากาว ทาสี สีที่โปรดคือสีแดง หมูพวกนี้ต้องสีแดง หางก็เอาอะไรทำเป็นพู่ๆหน่อย เขียนตา เขียนหู

แต่ละคนนี้เหมือนหมูกระดาษนะ พวกเราเป็นหมูกระดาษคนละตัว แต่บางตัวก็เป็นหมากระดาษ เราปั้นขึ้นมา ถ้าเรารู้ตัวจริง มันไม่ได้มีจริง เราค่อยๆลอกเปลือกมันออก ลอกสิ่งที่เราปรุงแต่งออกไป ลอกออกไปเป็นชั้นๆ ลอกออกไปเรื่อยๆ  ถึงจุดหนึ่งจะเข้าไปถึงตัวจริงของมัน ตัวจริงของมันไม่มีอะไรเลย มันมาจากความว่างเปล่า แล้วก็สร้างขึ้นมาจนเป็นตัวเป็นตน  แต่ถ้าเมื่อไหร่เราลอกเปลือกตัวเองไปเรื่อย ลอกความปรุงแต่งไปเรื่อย จนถึงสุดท้าย ลอกชั้นในสุดออกไป ภายในมันก็เป็นความว่างๆใช่ไหม อาจจะขังอากาศอยู่ พอเปลือกกระดาษหลุดออกไปแล้ว  อากาศนั้นกระจายรวมเข้ากับอากาศข้างนอกนั่นเอง

ฉะนั้นการภาวนานี้ก็เหมือนกันนะ ถ้าจิตพ้นจากความห่อหุ้มแล้ว จิตไม่มีเปลือกห่อหุ้ม ไม่ได้สร้างภพใดๆมาห่อหุ้มมันแล้ว มันจะกลืนเข้ากับอากาศข้างนอกนั่น จะกลืนเข้ากับโลก ฉะนั้นเราภาวนาจนถึงจุดสุดท้าย จิตกับธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ จะกลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน

หลวงปู่ดูลย์เคยสอนหลวงพ่อ บอกว่า ถ้าวันใดเธอเห็นจิตกับสิ่งที่แวดล้อมอยู่เป็นสิ่งเดียวกันนะ เธอจะแจ่มแจ้งฉับพลันนั้นเลย เราฟังเราก็นึกว่าเป็นวิธีปฏิบัตินะ แต่ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร ก็ดูจิตของเราไปเรื่อย ดูไป จนกระทั่งวันหนึ่ง พอเราไม่ยึดถือจิตซะอย่างเดียว เราสลัดคืนจิต จิตกับโลกนี้กลืนเข้าด้วยกัน เป็นอันเดียวกัน  คนไหนเป็นนักดูจิตคนอื่น ไม่ใช่นักดูจิตตัวเอง  นักดูจิตคนอื่นที่ชำนาญ พอไปเจอท่านที่ภาวนาที่ปล่อยวางจิตแล้ว จะพบว่าจิตของท่านเหล่านี้กลมกลืนเข้ากับโลก กลมกลืนเป็นอันเดียวกันกับโลก แต่อันนี้เขาไม่สามารถเห็นจิตที่พ้นโลกได้ เขาเห็นแต่จิตที่กลมกลืนเข้ากับโลก เหมือนอากาศในหมูกระดาษนี้ที่รวมเข้ากับอากาศ กับโลกข้างนอก เป็นอันเดียวกันนั่นเอง  อันนี้เล่าให้ฟังเล่นๆนะ เพื่อยั่วน้ำลาย

วันหนึ่งถ้าพากเพียรไป ดูกายดูใจของเราไป เราปอกเปลือกของตัวเองออกไปจนล้อนจ้อนไม่มีอะไรเหลือเลย เราจะพบตัวจริง ของเราซึ่งไม่มีอะไรเลย  เพราะฉะนั้น เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย

จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย  เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย  กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ  ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์”  จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ”  พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน เป็นเรื่องที่แปลกนะ เวลาเราภาวนาเืบื้องต้น เราก็รู้ึสึก พระพุทธก็อันนึง พระธรรมก็อันนึง พระสงฆ์ก็อันนึง  แต่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นอันเดียวกัน ในเนื้อแท้แล้วเป็นอันเดียวกัน เป็นความไม่มีอะไรนี่เอง เป็นธรรมะนั่นเอง  แต่ไม่ใช่แบบว่างเปล่าสาบสูญ  ถ้าสาบสูญเป็นมิจฉาทิฐิ  มีแต่ความสุขล้วนๆเลย เวลาที่เรากระทบ เราสัมผัส เราระลึกถึง เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกจนถึงจุดที่ว่าเราปล่อยวางจิตได้แล้ว เวลาที่เรามนสิการถึงนิพพาน นิพพานกับจิตก็สัมผัสกันอยู่ตรงนั้นเลย นิพพานไม่ใช่ต้องเข้าสมาธิก่อนแล้วส่งจิตไปดู ไม่ใช่

ค่อยฝึกนะ เราจะมีความสุขมหาศาลรออยู่ข้างหน้า หัดเบื้องต้นก็มีความสุขเล็กน้อยไปก่อน  คนไม่เคยมีสติ พอมีสติขึ้นมาก็มีความสุข  คนไม่มีศีล พอมีศีลขึ้นมาก็มีความสุข คนไม่เคยมีสัมมาสมาธิ พอจิตมีสัมมาสมาธิตั้งมั่น ไม่หลง ไ่ม่เผลอตามอารมณ์ สักว่ารู้ สักว่าเห็น มีความสุข  จิตที่มีวิมุติมีปัญญาขึ้นมาก็มีความสุข มีวิมุติขึ้นมาก็มีความสุข

เพราะฉะนั้นเราภาวนาไป จะมีความสุขเป็นลำดับๆไป  เบื้องต้นมีความสุขจากการรู้สึกตัวก่อน หัดตัวนี้ให้ได้ก่อน พอเรามีความสุขที่ได้รู้สึกตัว เราจะรู้สึกตัวบ่อย เพราะเราชอบแล้ว เราชอบรู้สึกตัว เราชักไม่ชอบเผลอแล้ว  แต่เดิมคิดว่าเผลอๆ เพลินๆ มีความสุข  รู้สึกตัวไม่มีความสุขเพราะรู้สึกตัวแล้วเห็นแต่ทุกข์ เห็นกายเป็นทุกข์ เห็นใจเป็นทุกข์  แต่พอเรารู้สึกตัวเป็น รู้สึกไปเรื่อย เราพบว่าทันทีที่รู้สึกตัว มีความสุขขึ้นมา มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา สุขอยู่ในตัวเอง แล้วก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป  เมื่อไหร่ใจหลงเข้าไปแทรกแซง เมื่อนั้นความทุกข์ก็เกิดขึ้น  เมื่อไหร่ใจไม่แทรกแซง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ก็มีความสุข  ตรงนี้เป็นความสุขของกายใจที่ตั้งมั่นและใจที่มีปัญญา แต่ยังไม่ใช่ความสุขถึงที่สุด  ความสุขของศาสนาพุทธมันลึกซึ้งเป็นชั้นๆ ไป

คนในโลกใจมันคลุกอยู่กับอารมณ์ อย่างมีความอยากขึ้นมาแล้วก็ได้รับการตอบสนอง สมอยากแล้วมีความสุข ไม่สมอยากถึงจะทุกข์ คนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นที่สุดเลย  หมาแมวเหมือนกันนะ แมวจะไปจับนกนะ จับได้แล้วมีความสุข จับไม่ได้แล้วทุกข์  ถ้าสมอยากแล้วมีความสุข ถ้าไม่สมอยากถึงจะทุกข์  พวกเราผู้ภาวนา เราจะเห็นเลย ถ้ามีความอยากก็จะมีความทุกข์ ถ้าไม่มีความอยากแล้วไม่ทุกข์ จะเห็นอย่างนี้ ถ้าถึงจุดสุดท้ายเราจะรู้เลย จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยาก ขันธ์ห้านี่แหล่ะเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง ถ้าเห็นอยู่อย่างนี้เรียกว่า รู้อริยสัจแจ่มแจ้งแล้ว รู้ว่าขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง  ความอยากที่จะให้ขันธ์ห้าเป็นสุขจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะรู้ว่ามันเป็นตัวทุกข์ ทำอย่างไรมันก็ทุกข์ อย่างเรารู้ว่าไฟนี้เป็นของร้อน เราก็ไม่ต้องไปอยากให้มันเย็น อย่างไรมันก็ร้อน เราไม่โง่พอที่จะไปอยากรู้่ว่าไฟวันนี้จะเย็นหรือยัง ลองจับ จะไม่โง่ขนาดนั้น  คือจิตที่มันรู้ว่าขันธ์เป็นของร้อนแล้ว มันจะไ่ม่ไปหยิบฉวยขันธ์ขึ้นมาอีกแล้ว ไม่ไปหยิบฉวยจิต ไม่ไปหยิบฉวยขันธ์

สวนสันติธรรม
CD: 23
File: 501229B.mp3
Time: 0.10 – 12.11

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

งานหลักของเราคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏ

mp 3 (for download) : งานหลักของเราคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเมื่อไหร่เราปฏิบัติโดยการเข้าไปแทรกแซงเรื่อยๆนะ เช่น โกรธขึ้นมากำหนด โลภขึ้นมากำหนดนะ นานๆ เราจะรู้สึกว่าเราบังคับจิตได้ จะรู้สึกคึกคักห้าวหาญ ไม่กลัวกิเลสแล้ว กิเลสมาทีไรกำหนดแล้วจอดหมดทุกทีเลย จิตนี้เป็นอัตตาขึ้นมาแล้ว ได้พอกพูนความเห็นผิดว่าจิตเป็นตัวเป็นตน เป็นสิ่งบังคับได้ขึ้นมา จะไม่ใช่วิปัสสนานะ วิปัสสนาจะรู้กายอย่างที่เขาเป็นรู้ใจอย่างที่เขาเป็น เห็นจิตเห็นใจทำงานของเขาไปเรื่อย เราบังคับไม่ได้ เขาไม่เที่ยง เขาทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งนานๆ ไม่ได้ ดูไป ใจเห็นความจริงใจถึงยอมรับนะ ยอมรับแล้วมรรคผลมันจะเกิด

พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าเพราะรู้ตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงหมายถึงรู้รูปนามนะ รู้รูปนามตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงคือไตรลักษณ์นั่นเอง รู้ว่ารูปนามตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวเรา

เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย จอยรู้สึกไหม มันน่าเบื่อ สุขก็น่าเบื่อนะ ทุกข์ก็น่าเบื่อนะ ดีก็น่าเบื่อ ชั่วก็น่าเบื่อนะ อะไรๆ ก็น่าเบื่อ หยาบก็น่าเบื่อ ละเอียดก็น่าเบื่อ เพราะมันของไม่เที่ยงทั้งหมดเลยนะ เพราะรู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด คลายกำหนัดนี่มาจาก ภาษาไทยฟังแล้วแปลยาก ภาษาบาลีเรียกว่า “วิราคะ” หมายถึงใจเราไม่เข้าไปผูกพันกับมัน ใจไม่เข้าไปผูกพันในความสุข เพราะรู้ว่าความสุขชั่วคราว ไม่ไปหลงยินดีว่ามันจะต้องถาวร อยากให้มันถาวร ไม่มีอย่างนี้ จะไม่ดิ้นรนเพื่อจะรักษาความสุขแล้ว ใจไปเห็นความทุกข์เข้า ก็ไม่ผูกพันกับความทุกข์ ไม่ใช่คิดว่าความทุกข์เป็นตัวเราของเรานะ งั้นต้องไปหาทางละ ใจจะไม่เข้าไปผูกพันกับสภาวะที่มันไปรู้เข้า ใจมันคลายออก

เพราะรู้ตามความเป็นจริงก็เลยเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายเลยคลายกำหนัดคือคลายความผูกพัน คลายความรักใคร่ในสภาวะอันหนึ่ง เกลียดสภาวะอันหนึ่ง เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น หลุดพ้นจากอะไร จากรูปจากนามนั่นเอง ที่ชมพูเห็น จิตมันไปคว้าจิตขึ้นมา มันไม่หลุดพ้นนะ มันปล่อยไม่ได้ ถ้ามันเห็นความจริง จิตนี่ทุกข์ล้วนๆ นะ มันจะทิ้ง เรียกเห็นไตรลักษณ์ จิตแจ่มแจ้งแล้วมันทิ้งเลย มันทิ้ง

เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น อะไรหลุดพ้นอะไร จิตหลุดพ้นจากความถือมั่นในขันธ์นั่นเองนะ จิตหลุดพ้นจากกิเลสที่ห่อหุ้มจิตที่เรียกว่า “อาสวะ” กิเลสที่ห้อหุ้มจิต จิตหลุดพ้นออกมา เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้เลยนะ รู้ด้วยตัวเองนะ ของมันเคยยึดเคยถือไว้หนักๆ นะ มันหลุดแล้วมันวาง เห็นต่อหน้าต่อตา มันวางจริงๆ เพราะมันไปเห็นธรรมที่พ้นจากความเกิดความตาย

เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ก็จะรู้ธรรมะที่พ้นออกไป เรียกว่า “วิมุตติญาณทัสสนะ” รู้ธรรมะแห่งความหลุดพ้น รู้นิพพานนั่นเอง

แล้วก็รู้อีกนะว่าชาติสิ้นแล้วคือความเกิดสิ้นแล้ว ความเกิดคืออะไร คือการที่ใจเราเข้าไปหยิบฉวยรูปนามนั่นเอง ใจที่เราเข้าไปหยิบฉวยจิตนี่ คว้าปั๊บเข้ามาหยิบฉวยเข้ามา นี่แหละคือความเกิดคือชาติ ใจเข้ามาหยิบฉวยกายก็เกิดชาติ ใจหยิบฉวยจิตก็เกิดชาติ พอเบื่อหน่ายคลายกำหนัดก็หลุดพ้น รู้ว่าหลุดพ้นแล้วนะ รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว ไม่หยิบฉวยอะไรขึ้นมาอีกแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือการประพฤติปฏิบัติธรรมเนี่ย

การศึกษาธรรมะเนี่ย ศึกษาจบแล้ว ศึกษาจบแล้ว จบในศีลในจิตในปัญญา ศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ไม่ใช่ศีลสมาธิปัญญานะ เราพูดเล่นคล่องๆ ปากหรอกศีลสมาธิปัญญา

ไตรสิกขาคือศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา แจ่มแจ้งแล้วรู้หมดแล้ว

ศีลเนี่ยเป็นการศึกษาเพื่อสู้กิเลสหยาบๆ เพื่อให้จิตนี่มีความตั้งมั่นเพียงพอพร้อมที่จะมาเรียนรู้จิต คือทำจิตตสิกขา

จิตตสิกขาเนี่ย จิตจะสงบจากนิวรณ์จากกิเลสชั้นกลาง พร้อมที่จะไปเจริญปัญญา มันจะรู้ว่าจิตยังไงที่ข่มนิวรณ์ได้ จิตยังไงข่มนิวรณ์ได้แล้วพร้อมที่จะเจริญปัญญาด้วย จิตที่ข่มนิวรณ์ได้คือจิตที่ทำสมถะ จิตที่ข่มนิวรณ์แล้วพร้อมจะเจริญปัญญาคือจิตที่พร้อมต่อการทำวิปัสสนา ไม่เหมือนกัน

พอถึงปัญญาสิกขาก็คือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจจนละกิเลสขั้นละเอียดคือความหลงผิดได้ละอวิชชาได้

งั้นศีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ชำแหละกิเลสเป็นชั้นๆ ๆ เข้ามานะ จนกระทั่งจิตใจเราบริสุทธิ์หมดจดแล้ว หมดงานต้องทำเรียกว่าเรียนจบ เรียกว่าจบหลักสูตร ที่ว่าพรหมจรรย์อยู่จบแล้วหมายถึงว่าเรียนจบหลักสูตรแล้ว คนที่เรียนจบหลักสูตรเรียกว่า “อเสขบุคคล” คือคนที่ไม่ต้องเรียนอีกแล้ว คือพระอรหันต์นั่นเอง

พวกเราเป็นนักเรียนนะ พวกเรายังเป็นนักเรียน พระโสดาบันน่ะเป็นนักเรียนจริงๆ พระโสดาบันน่ะเป็นนักเรียน พวกเรานั้นเป็นคล้ายๆ นักเรียนเตรียมอนุบาลนะ ยังไม่ถึงขั้นเป็นนักเรียน เพราะพระโสดาบันขึ้นไปนี่ถึงจะเรียกว่าเป็น “เสขบุคคล” เป็นนักเรียน พระอรหันต์เรียกอเสขบุคคล ไม่ต้องเรียน ส่วนเราเป็น “กัลยาณปุถุชน” เป็นปุถุชนที่ดี ปุถุชนแปลว่าหนา กิเลสหนานั่นแหละ ไม่ใช่อะไรหนานะ กิเลสหนา ไม่ใช่สมองหนา กะโหลกหนานะ กิเลสหนาหมายถึงว่ากิเลสนี่มีแรงมาก ลากจูงจิตใจเราไปลงนรก เราก็ยอมไปกับมันนะ เอาความหอมหวานมาหลอกมาล่อ

งั้นเราค่อยศึกษาไปนะ จนกระทั่งวันหนึ่งงานเสร็จแล้วนะ เสร็จแล้ว ใจไม่ไปหยิบฉวยอะไรอีกแล้ว มันพ้นทุกข์แล้ว มันเห็นนิพพานเต็มบริบูรณ์ต่อหน้าต่อตา นี่พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจที่ควรทำเนี่ยควรทำในอะไร ในสังสารวัฏนี่เอง

พวกเราที่เวียนว่ายในสังสารวัฏนะ เรามีงานหลักของเรานะคือทำตัวให้พ้นสังสารวัฏให้ได้นะ นี่คืองานหลักของเรานะ ไม่ใช่ร่อนเร่ไปในสังสารวัฏเวียนเกิดเวียนตายไปเรื่อยๆ งั้นงานไม่มีที่สิ้นสุดเลย

กิจที่ควรทำก็คือการข้ามภพข้ามชาตินั่นเอง ได้ทำเสร็จแล้วทำหมดแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก เพราะตรงนี้ไม่มีอะไรจะต้องทำแล้ว กายกับใจเราคืนให้ธรรมชาติคืนให้โลกเขาไปแล้ว จิตใจจะมีแต่ความสุขนะ มีความสุขมีความสงบมีความเบิกบานถาวรอยู่อย่างนั้น จะหลับตื่นยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆ นะ เพราะว่าจิตใจไม่ถูกขยำขยี้ จิตใจของเราถูกปู้ยี่ปู้ยำนะ ปู้ยี่ปู้ยำด้วยตัวเองนี่แหละ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116B.mp3
Time: 27.39 – 34.48

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 13 of 17« First...1112131415...Last »