Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ภาวนาอย่างเดียวแต่ไม่รักษาศีล ภาวนาไม่ขึ้น

mp3 (for download) : ภาวนาอย่างเดียว ไม่รักษาศีล ภาวนาไม่ขึ้นหรอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศีลเป็นเครื่องมือเบื้องต้น ขัดเกลากิเลสหยาบๆ มันทำไม่ให้เราทำผิดทางกายทางวาจา ต้องรักษาศีล บางคนคิดจะภาวนาอย่างเดียว ไม่มีศีลนะ ใช้ไม่ได้เลย เห็นตัวอย่างมานักหนาสาหัสแล้ว พวกเราอย่าดูถูกว่าศีลเป็นเรื่องกิ๊กก๊อก เรื่องกระจอกอะไรอย่างนี้ ถ้าคนไหนไม่มีศีลนะ ภาวนาไม่ขึ้นหรอก อย่าว่าแต่โยมเลยนะ ยิ่งพระนี่ยิ่งไม่ได้เลย อย่างพระอาบัติแล้วปกปิดไว้นะ ภาวนาไม่ได้หรอก ทำอย่างไรก็ภาวนาไม่ได้ ถ้าศีลเสียนะ ภาวนาไม่ขึ้นหรอก เคยภาวนาดีก็เสียไปเลย

สวนสันติธรรม 33

521218

1.35 – 2.20

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

mp 3 (for download) : ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตเขาบรรลุของเขาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจเราอยากให้หาย ทำไมใจเราอยากให้หาย เพราะมันอยากดี อยากสุข อยากสงบ จิตใต้สำนึกนี้มันรักตัวเอง มันรักกาย รักใจนี้เหนียวแน่น คิดว่ากายกับใจเป็นเราเหนียวแน่นมาก อยากให้ดี อยากให้สุข อยากให้สงบ แล้วหาทางทำ มีความอยากเกิดขึ้น กับมีความหลงผิดว่ากายกับใจเป็นเรา ก็ไปหลงรักมันเข้า ไปยึดถือมันเข้า เสร็จแล้วก็เลยอยาก เกิดตัณหา เกิดอยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ เกิดการกระทำกรรมการสร้างภพ กำหนดโน้นกำหนดนี้หาทางแก้ไขหาทางรักษาไปเรื่อย สิ่งที่เกิดขึ้นมา คือ ทุกข์นั่นเอง ทุกข์แต่เกิด คือ อวิชชามีอยู่ ไม่รู้ความจริงของกายของใจ คิดว่าเป็นตัวเรา ยึดถือเหนียวแน่นว่าเป็นเรา ก็เกิดตัณหา มีอวิชชาก็เลยมีตัณหาขึ้นมา อยากให้ตัวเรามีความสุข อยากให้ตัวเราสงบ อยากให้ตัวเราดี อยากให้ตัวเราพ้นทุกข์ อยากให้ตัวเราบรรลุมรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่า อยาก กับคำว่า ตัวเรา พอมีความอยากเกิดขึ้นจิตใจก็ดิ้นรนทำงาน ทำอย่างนี้น่าจะดีๆ ทำอย่างนี้น่าจะไม่ดี จิตใจจะทำงานดิ้นไปเรื่อยๆ

จิตใจที่ทำงาน จิตใจที่ดิ้นรน จิตใจที่เกิดภาระทางใจขึ้นมา มีความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์ทางใจก็เกิดเพราะว่าใจมันดิ้น พอยิ่งดิ้นแล้วก็ทุกข์นะ พอทุกข์ก็ยิ่งดิ้นอีก อยากให้หาย นี้เข้าวงจรของมัน ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งทุกข์ก็ยิ่งดิ้นนะ ใครๆก็พยายาม ทำอย่างไรมันจะดี ทำอย่างไรมันจะสุข ทำอย่างไรจะสงบ ดิ้นไปเรื่อยๆน่าสงสารนะ แต่ถ้าเมื่อไหร่ละความเห็นผิดได้ ละอวิชชาได้ ตัณหาจะดับเอง ละความเห็นผิดในว่ากายกับใจเป็นตัวเรา เป็นตัวดีตัววิเศษนะ

พวกเราไม่สามารถจะเห็นกายเห็นใจเป็นตัวทุกข์ได้ ไม่ใช่ภูมิที่พวกเราจะเห็นได้ สิ่งที่พวกเราเห็นได้ขณะนี้ก็คือ กายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นได้แค่นี้แหล่ะนะ เกินกว่านี้เห็นไม่เป็น เห็นไม่ได้ รู้ไม่ได้ด้วยใจ ตราบใดที่ยังเห็นว่า กายเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง จิตเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง มันก็ยังมีการดิ้นรนต่อไปอีก เรียกว่า ตราบใดไม่รู้ว่ากายกับใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เรียกว่า ไม่รู้ทุกข์นะ ตัณหา คือ ตัวสมุทัยก็ยังมีอีก ใจมันดิ้นหาความสุข ดิ้นหนีความทุกข์ไปเรื่อยๆ เพราะยังมีทางเลือกอยู่ ถ้ามารู้กายรู้ใจมากเข้าๆ วันหนึ่งรู้แจ้งแทงตลอดลงในขันธ์ ๕ ในกายในใจ ในรูปในนามอันนี้ นี่ทุกข์ล้วนๆนะ เห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ล้วนๆเลย มันไม่ใช่ตัวเราเลย ใจจะวาง มันจะไม่อยากให้กายนี้ใจนี้มีความสุขอีกต่อไปแล้ว เพราะกายนี้ใจนี้ทำอย่างไรก็ไม่สุขหรอก มันเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ล้วนๆ มันรู้ด้วยปัญญาแล้วทำให้สุขไม่ได้ พอรู้ว่าทำให้สุขไม่ได้ มันจะวางจะปล่อยวาง แต่ถ้ายังมีทางเลือก มีสุขกับมีทุกข์ มันจะเลือกเอาสุขจะเลือกหนีทุกข์ ใจก็ดิ้นไปเรื่อยๆ

นั้นอยู่ที่ความเข้าใจของเรานี่เอง ถ้าเมื่อใดเราสามารถเข้าใจรูปนามกายใจ ขันธ์ ๕ อะไรของเรานี้ ว่ามันไม่เที่ยงนะ มันเป็นตัวทุกข์แท้ๆนะ มันบังคับไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสิ่งที่อาศัยเกิดขึ้นมาชั่วคราวแล้วก็แตกสลายไป ทั้งรูปทั้งนามเป็นอย่างนี้แล้ววาง ใจจะหมดความดิ้นรน เรียกว่า ตัณหาถูกละไป รู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อใด สมุทัย คือ ตัณหาถูกละโดยอัตโนมัติ อัตโนมัติแล้วไม่ขึ้นมาอีกแล้ว เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว

ของพวกเรา ภาวนาที่อยู่ครึ่งๆกลางๆนะไม่ใช่ปุถุชนธรรมดาๆ เราจะเห็นว่าถ้ามีความอยากแล้วมีความทุกข์ ถ้าเกิดความอยากนะใจก็ดิ้นรน ใจเป็นทุกข์ เราเห็นได้แค่นี้นะ เรายังไม่เห็นหรอกว่าที่ดิ้นรนก็เพราะว่า มันรักตัวเองๆ เพราะมันเห็นว่า กายนี้ใจนี้เป็นของดีของวิเศษ ถ้าเมื่อใดมันเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานะ มันเลิกรักตัวเอง มันก็จะเลิกดิ้นรน หมดตัณหาที่จะเที่ยวหาความสุข เที่ยวหนีความทุกข์ ตัณหาพูดย่อๆเลยนะ จริงๆแล้วก็คือ การวิ่งหาความสุข วิ่งหนีความทุกข์นั่นเอง ดิ้นรนไป พอดิ้นรนแล้วก็ทุกข์มากกว่าเก่า ใจเป็นทุกข์อึดอัดขัดข้องขึ้นมา

นั้นหน้าที่เรามีนิดเดียวนะ รู้กายรู้ใจๆ อย่างที่เขาเป็น รู้ไปเรื่อยๆ รู้จนวันหนึ่งมันอิ่ม รู้จนวันหนึ่งมันพอนะ มันพอ มันพอของมันเอง ตรงที่มันพอของมันเอง มันวางของมันเองๆ  ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นะ ไม่มีใครทำได้เลยสักคนเดียวในโลกนี้ จิตเขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เมื่อเขามีปัญญาแก่รอบในกองทุกข์จริงๆ ต้องเห็นขันธ์ ๕ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆ เมื่อไหร่เขาวางของเขาเองแหล่ะ

นี่พวกเราเห็นไม่ได้ เราก็เห็นว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เราเห็นได้แค่นี้ เห็นแค่นี้ก็ยังดี รู้สึกปัญญามันก็เกิดเป็นลำดับๆไป มันก็จะเห็นเลย ความสุขก็ชั่วคราวนะ ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วคราว พอชั่วคราวๆไปเรื่อยในที่สุด จิตหยุดความดิ้นรน นี่พอจิตหยุดความดิ้นรน จิตจะไปเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้นรน เห็นนิพพาน นิพพานนี่ไม่มีตัวมีตนอะไร มีความสงบ สันติ ถ้าฝึกลำดับๆไปนะ วันหนึ่งมันรู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจแล้วก็พ้นแล้ว มันรู้ทุกข์นั่นแหล่ะ ละสมุทัย ทำนิโรธ คือ นิพพานให้แจ้งขึ้นมาต่อหน้าต่อตา การรู้ทุกข์จนละสมุทัย แจ้งนิโรธนี่แหล่ะ เรียกว่า มรรค เรียกว่า การเจริญมรรค การเจริญมรรคจริงๆ ก็คือ การรู้ทุกข์นั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491124B.mp3
Time: 1.54 – 8.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความสุขเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้จริง

mp3 (for download) : ความสุขเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

อย่างคนไหนภาวนากับหลวงพ่อมาช่วงหนึ่ง รู้สึกไหม ความสุขยังน่าเบื่อเลย ใครรู้สึกไหมว่า ความสุขก็พึ่งพาอาศัยไม่ได้นะ นี่เราภาวนาไปเราเห็นเลย ความสุขของชั่วคราว แต่เดิมเราคิดจะเอาความสุขเป็นที่พึ่งที่อาศัยนะ เราอยากได้ความสุข เราดิ้นรนหาความสุขตลอดชีวิตเลย คิดว่าทำอย่างนี้แล้วจะมีความสุข คิดว่าดูอันนี้แล้วจะสุข คิดว่าฟังอันนี้แล้วจะสุขนะ คิดว่าคิดเรื่องนี้แล้วจะสุข สุดท้ายนะ ความสุขอันนั้นก็อยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป นี้พอเราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก โอ้ ความสุขก็เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้นะ เป็นของชั่วครั้งชั่วคราว มีเหตุก็เกิดขึ้นมา เดี๋ยวหมดเหตุก็ดับไปอีก

ไม่มีอะไรที่จะพึ่งพาอาศัยได้เลยในโลกนี้นะ วิ่งหาความสุขแทบตายเลย เสร็จแล้วความสุขก็ไม่ได้ให้อะไรมากกว่าว่า วันหนึ่งมันก็ผ่านไป นี่เฝ้าดูลงไปนี้นะ ในที่สุด ใจมันจะค่อยๆเบื่อ เพราะเห็นตามความเป็นจริงนะจะเบื่อ เบื่อสุข และเบื่อทุกข์เท่าๆกัน เบื่อกุศลและอกุศลเท่าๆกัน เพราะมีปัญญาเห็นความจริงทุกอย่างเกิดแล้วดับหมดเลย อุตส่าห์มาฟังธรรมนะจิตแช่มชื่นเบิกบาน สังเกตไหม กลับบ้านวันสองวันก็หายแล้วนะ หรือบางคนกลับไปนิดเดียวก็หายแล้ว บางคนไม่ทันจะออกจากวัดก็หายแล้วนะ ทุกอย่างนะมันชั่วคราวหมดเลย เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้จริงหรอก เห็นแล้วเบื่อนะ พอเบื่อหน่ายใจมันก็คลายความยึดถือลง อย่างเราเห็นว่าความสุขก็น่าเบื่อนะ แต่เดิมนะอยากได้ความสุข พอเห็นว่าความสุขก็ของน่าเบื่อพึ่งพาไม่ได้นะ ความดิ้นรนที่จะหาความสุขมันก็ลดลง

เราเห็นความทุกข์นะก็เป็นของชั่วคราวอีกนะ แต่เดิมเกลียดมันไม่อยากให้มีเลย ดิ้นรนใหญ่ ดิ้นเท่าไหร่ก็หนีมันไม่พ้นนะ ในที่สุดใจเป็นกลางกับมันนะ อยู่กับมันได้ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดี ทั้งชั่วนะ เบื่อตัวเองก็หนีไม่ได้ เบื่ออย่างไรไปไหนก็เอากายเอาใจไปด้วย เอาสุขเอาทุกข์ไปด้วย เอาดีเอาชั่วไปด้วย ไปไหนก็เอาไปด้วย นี่เฝ้าดูนะ ใจมันจะเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายแล้วก็คลายความยึดถือ ความสุขก็ยึดไม่ได้ ความทุกข์ก็ยึดไม่ได้ ห้ามไม่ได้นี่ ไม่รู้จะห้ามอย่างไรนะ กุศลทั้งหลายก็ยึดเอาไว้ไม่ได้ สั่งให้มีตลอดก็ไม่ได้นะ อกุศลนะห้ามมันไม่ฟังหรอก มันจะมามันก็มานะ นี้เฝ้าดูของจริงไปนี้นะ ใจก็เบื่อหน่ายคลายกำหนัด คลายความผูกพันในสุขในทุกข์ ในดีในชั่วนะ พอสิ่งใดเกิดขึ้นมาใจก็รู้ด้วยความเป็นกลาง ใจที่รู้ด้วยความเป็นกลาง เพราะมีปัญญาแล้วเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว ใจที่เป็นกลางนี้ ใจจะไม่ดิ้น หมดความดิ้นรนของจิตนะ จิตที่หมดความดิ้นรนนะ จะมีความสงบสุข

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ 33

521211

9.17 – 12.03

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

mp 3 (for download) : ทางแยกระหว่างพุทธภูมิกับสาวกภูมิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การภาวนานะ ขั้นแรกสุดเลยคือต้องรู้วิธีให้ได้ก่อน พวกเรามาเรียนวิธีนะ ชาวไฟฟ้ามาเรียนวิธีการรู้วิธีการให้รู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน โดยไม่เผลอไป ถ้าเผลอไปไม่ได้รู้กายรู้ใจ ถ้าเพ่งไว้ก็รู้กายรู้ใจไม่ตรงความจริง เราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ลงปัจจุบันรู้ไปเรื่อยๆ รู้ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง

จิตใจที่เป็นกลางคือมีสัมมาสมาธิ การรู้กายรู้คือ รู้ด้วยสติ สติตามระลึก ให้รู้ขึ้นเองไม่ใช่ให้แกล้งระลึก รู้อย่างเป็นกลาง ใจเป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่ถลำลงไปเพ่งจ้องก็จะเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริง เมื่อเห็นกายเห็นใจตรงตามความเป็นจริงว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก แรกๆ บางคนอินทรีย์อ่อนหน่อย ก็จะเกิดความเบื่อขึ้น บางคนเกิดความเบื่อ บางคนเกิดความรู้สึกน่าสยดสยอง ในโลกนี้หาความสุขไม่ได้อีกแล้ว บางคนรู้สึกโหวงๆ ทุกอย่างว่างเปล่า ไม่รู้จะยึดอะไรดี มีหลายแบบ สติปัญญารู้ลงไปอีก เบื่อก็รู้ กลัวก็รู้ โหวงๆ ก็รู้ นะ สักว่ารู้ สักว่าเห็น ใจก็ตั้งมั่นเป็นกลางขึ้นมาอีก ก็รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในกาย ในใจไปเรื่อยๆ เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงบังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บังคับไม่ได้เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ รู้จนกระทั่งใจยอมรับความจริงว่า ทุกอย่างชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลงก็ชั่วคราว อะไรๆ ก็ชั่วคราว พอภาวนาจนสติปัญญาเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว จิตจะเข้าไปสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง

ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุกสิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุกข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหมดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวนาได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือมรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ และถ้าได้พบพระพุทธเจ้าในวันนั้น ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้น เท่านี้นะจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แต่ถ้าจิตยังไม่เป็นกลาง ไม่สามารถได้รับพยากรณ์ เมื่อจิตยังกลับกลอก ยังกลัวทุกข์อยู่ ยังรักสุขอยู่ ยังไม่แน่นอน เป็นโพธิสัตว์ที่ยังไม่แน่นอน ใครอยากเป็นโพธิสัตว์ต้องภาวนาอย่างที่หลวงพ่อสอนนี่ รู้กาย รู้ใจ จนกระทั่งเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และตรงทุกจุดนั้น จิตจะเลือกของเขาเอง ถ้าจะไปพุทธภูมิ มันก็จะไปค้างอยู่ตรงนั้นล่ะ ออกมาสร้างบารมี ช่วยเหลือผู้คนไป ด้วยจิตที่เป็นกลาง มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สิงห์กับหลวงปู่ดูลย์เป็นเพื่อนกัน อาจารย์สิงห์ท่านได้ชื่อว่าเป็นแม่ทัพธรรมของหลวงปู่มั่น อาจารย์สิงห์เดินพุทธภูมิ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านอยากละ เห็นลูกศิษย์ลูกหาพ้นทุกข์ไปแล้ว ท่านไม่พ้นสักที ท่านอยากละ ท่านก็ประกาศเลยว่า ถ้าใครแก้ให้ท่านได้ ให้ท่านเลิกพุทธภูมิได้ท่านจะยอมเป็นลูกศิษย์ แม้ถ้าลูกศิษย์ของท่านแก้ให้ท่านได้ ท่านจะนับถือเป็นอาจารย์ ใจถึงนะ ไม่มีไว้หน้าไว้ตา ถ้าเราเป็นอาจารย์ เราต้องไว้หน้าใช่ไหม วางฟอร์ม ลูกศิษย์ภาวนาเก่งกว่า เราก็หลอกไปเรื่อยๆ ว่า ฉันยังเก่งกว่า ทั้งที่ไม่ได้เรื่องเลย เยอะนะ อาจารย์สิงห์ไม่มีฟอร์ม ใครแก้ให้ได้ก็เอา นับถือ ปรากฏไม่มีใครแก้ได้ จนท่านแก่ วันหนึ่งท่านก็ปรารภขึ้นมาว่าตอนนี้กำลังท่านมาก ปัญญาท่านแก่กล้า ถ้าท่านละพุทธภูมินี่ ท่านจะพ้นทุกข์ใน ๗ วัน แต่ว่าท่านไม่ละแล้ว ใจของท่านเป็นกลางต่อสรรพสิ่ง ใจเป็นกลางแล้ว มีความรู้สึกว่ากัปหนึ่งเหมือนวันเดียว จะนรก จะสวรรค์อะไร ไม่สนใจแล้ว เสมอกันหมดเลย สุข ทุกข์ ดี ชั่ว เสมอกันหมด จิตอย่างนี้มีกำลัง เดินไปพุทธภูมิไหว ถ้าพุทธภูมิเหยาะๆ แหยะๆ ไม่ได้กินหรอก พุทธภูมิแต่ปาก แต่ถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วยกำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501020A.mp3
Time: 25.10 – 32.06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ทำหน้าที่ต่างกัน เราต้องรู้ว่าอะไรใช้สู้กับอะไร

mp3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา มีหน้าที่ต่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศีล สมาธิ ปัญญา ทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน

‘ศีล’ นี่ละอะไร ละการทำผิดทำบาปทางกาย ทางวาจา ‘สมาธิ’ ละการผิดทำบาปทางใจ ‘ปัญญา’ ละความเห็นผิด คนละอันกันนะ เพราะฉะนั้น เราจะเอาศีลมาละความเห็นผิดนี่ละไม่ได้ เอาสมาธิมาละความเห็นผิดนี่ละไม่ได้ มันละด้วยปัญญา ต้องรู้ว่าอันไหนใช้เครื่องมืออันไหน

กิเลสมีหลายชั้น ปัญญาละกิเลสที่ละเอียดที่สุด กิเลสที่ละเอียดที่สุดคือความเห็นผิด เห็นไหม ไม่ใช่แค่ ราคะ โทสะ โมหะ นะ มันคือหัวหน้าโมหะ ความเห็นผิดคือตัวอวิชชา เพราะฉะนั้นเราจะล้างด้วยปัญญา ‘อวิชชา’ คือความไม่รู้ ล้างด้วย ‘ปัญญา’ คือความรู้ เป็นคู่ปรับกัน รู้ความจริงของกายของใจ รู้แจ้งลงมาในกายในใจ ทีนี้จะรู้แจ้งลงมาให้กายในใจได้ จิตใจต้องตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว มีสมาธิก่อน ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ลืมเนื้อลืมตัวไป ปัญญาไม่เกิดหรอก หรือมีสมาธิแล้วก็ไปพอใจ นิ่งว่างอยู่ในสมาธินะ ไม่ยอมดูกายดูใจ มันก็ไม่เกิดปัญญา เพราะปัญญาคือการเห็นความเห็นจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้นะ ว่าอะไรใช้สู้กับอะไร

CD สวนสันติธรรม 33

521226A

15.32 – 16.57

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติ จากไม่มีศีลก็มีศีล จากไม่มีสมาธิก็มีสมาธิ จากไม่มีปัญญาก็มีปัญญา

mp3 (for download) : มีสติก็มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าดูจิตเป็นนะ เคยไม่มีศีล ก็จะมีศีล ไม่มีสมาธิ ก็จะมีสมาธิขึ้นมา หัดดูจิตดูใจของเรา มีสติรักษาจิตไปเรื่อย รู้ทันจิตไป กิเลสเกิดขึ้นรู้ทัน กิเลสเกิดขึ้นรู้ทัน ถ้าฝึกอย่างนี้เรื่อยนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตไม่ผิดศีลหรอก จิตไม่ผิดศีล กาย วาจาก็ไม่ผิดศีล รักษาใจไว้ได้ตัวเดียว กายวาจา ก็เรียบร้อยไปด้วย คนเราทำผิดศีลทางกาย ทางวาจาได้นั้น ก็เพราะว่ากิเลสครอบงำจิต กิเลสครอบงำจิตเพราะว่าไม่มีสติรู้ทัน เราอยากรักษาศีลให้สบาย ไม่ลำบาก อย่างคนไม่มีสติรักษาศีลยากที่สุดเลย เดี๋ยวก็เผลอ เดี๋ยวก็เผลอ เผลอแล้วก็ทำผิดศีลอีก ศีลกระพร่องกระแพร่ง ศีลโกโรโกโสอย่างนั้นใช้ไม่ได้ มีสติรู้ทันจิตบ่อยๆไว้ กิเลสเกิดรู้ทัน กิเลสเกิดรู้ทัน อย่างราคะเกิดแล้วรู้ทัน ราคะครอบงำจิตไม่ได้ ก็ไม่เป็นชู้กับใคร ไม่มีกิ๊ก มีอะไรหรอก ไม่ขโมยใครหรอก มันอัตโนมัติขึ้นมาอย่างนี้ โทสะเกิดขึ้นมีสติรู้ทันนะ โทสะครอบงำจิตไม่ได้ มันก็ไม่ฆ่าไม่ตีใคร เห็นมั๊ยสำคัญนะ มีสติรักษาจิตเอาไว้ คอยรู้ทันจิตไปเรื่อย กิเลสครอบงำไม่ได้ก็มีศีลขึ้นมา จิตใจฟุ้งซ่านได้ก็เพราะกิเลสนั่นแหล่ะ จิตใจทำผิดศีลได้ก็เพราะกิเลส จิตใจฟุ้งซ่านได้ก็เพราะกิเลส มันมีสติอยู่นะ จิตใจมันฟุ้งขึ้นมารู้ทัน ความฟุ้งซ่านก็ดับไป จิตมันคิดไปในเรื่องกาม มีกามฉันทะนิวรณ์ จิตมันตรึกไป คิดไปในกาม มีสติรู้ทันนะ กามฉันทะก็ดับไป ใจมันตรึกไปในทางพยาบาท คิดไปในทางพยาบาท มีสติรู้ทันนะความพยาบาทก็ดับไป มีสติรู้ทันใจมันฟุ้งซ่านรู้ทัน ใจมันหดหู่รู้ทัน ใจมันลังเลสงสัยรู้ทันขึ้น กิเลสพวกนี้จะดับไป

กิเลสระดับนี้ เรียกว่า นิวรณ์ เป็นกิเลสชั้นกลาง ถ้านิวรณ์มันทำงานขึ้นมาได้ มันจะกลายเป็นกิเลสอย่างหยาบ เป็น ราคะ โทสะ โมหะ ขึ้นมา ถ้า ราคะ โทสะ โมหะ เกิดแล้วมันครอบงำจิต จะผิดศีล แต่ถ้านิวรณ์เกิดนะ ยังไม่แรงถึงขั้น ราคะ โทสะ โมหะ จะเสียสมาธิไป จิตจะฟุ้ง จิตจะเคลื่อนไป ลืมกายลืมใจแล้ว ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว งั้นเรามีสติรู้ทันจิต จิตมีนิวรณ์เกิดขึ้น กามฉันทะ ความพอใจในกามเกิดขึ้น พยาบาทเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความลังเลสงสัย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นคอยรู้ทันลงไป  กิเลสนิวรณ์มันก็ดับ อยู่ไม่ได้หรอก มันสู้สติไม่ได้ มีสติเมื่อไหร่มันไม่มีกิเลสหรอก

นี่เราก็ล้างความฟุ้งซ่านของจิตไป จิตไม่หลงปรุง หลงคิด หลงนึกไป จิตอยู่กับเนื้อกับตัว ตั้งมั่น หลุดออกจากโลกของความคิดได้  แม้สมาธิทำไปนะ เราจะหลุดออกจากโลกของความคิด และนิวรณ์นั้นมันลากให้เราปรุงไป ลากให้เราคิดไป คิดไปในกาม คิดไปในพยาบาท คิดฟุ้งซ่าน คิดหดหู่ คิดสงสัย นิวรณ์มันลากให้เราหลงไปคิดให้จิตฟุ้งซ่าน มีสติรู้ทันจิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วตอนนี้ พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว คราวนี้เดินปัญญาได้ เห็นมั๊ยสำคัญนะ มีสติรู้จิตไป กิเลสหยาบครอบงำไม่ได้ กายวาจาเรียบร้อย มีสติรู้ทันกิเลสอย่างกลางๆ เรียกว่า นิวรณ์  นิวรณ์นี่เป็นตัวกระตุ้น ถ้าปล่อยมันรู้ไม่ทันมัน จะกลายเป็นกิเลสหยาบ ถ้ารู้ทันมันใจก็สงบ ใจไม่ฟุ้งซ่านไปหลงไปอยู่ในโลกของความคิด เรียบร้อยใจสบายอยู่กับเนื้อกับตัว คราวนี้ก็เดินปัญญา

หลักของการเดินปัญญาเนี้ย ต้องแยกรูป แยกนาม แยกกาย แยกใจให้ได้นะ หลายคนที่พอมีสติขึ้นมาปุ๊บ รูปนามกายใจมันแยกเอง พวกที่มีบารมีนี่ มีสะสมมาแล้วเคยภาวนามาแล้ว พอใจรู้สึกตัวปุ๊บนี่ มันจะเห็นเลยร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเองเลย เห็นความรู้สึกสุขทุกข์อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเองนะ เห็นกุศล เห็นอกุศลอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง นี่มันเห็นได้เองนะ คนซึ่งมีบารมี อบรมมา อินทรีย์แก่กล้ามา บางคนไม่แก่กล้า พอรู้ตัวแล้วรู้อยู่เฉยๆ รู้ว่างๆอยู่นะ ไปเอาความว่าง น่าสงสาร ภาวนากับความว่าง เรียกว่า มักน้อยในเรื่องไม่ควรมักน้อย ต้องรู้กายต้องรู้ใจนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างอื่นเลย งั้นบางทีทำสมาธินะรู้ตัว ใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว รู้ตัว สว่าง ว่าง สบาย จิตไปค้างอยู่ตรงนี้ขี้เกียจขี้คร้านไม่เดินปัญญาต่อ อย่ามาคุยเรื่องมรรคผลนิพพาน บางคนเข้าใจผิดนะ บอกให้ประคองจิตให้ว่าง ไปงั้นนะ ว่างไปถึงที่หนึ่งแล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานไปได้ด้วยปัญญา

หลวงพ่อปราโมย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒
ก่อนฉันเช้า

CD สวนสันติธรรม 33
file: 521226A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญปัญญาอย่างเดียว ทิ้งบารมีตัวอื่น ๆ ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้

mp3 (for download) : เจริญปัญญาอย่างเดียว ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนจะข้ามภพข้ามชาติได้ บารมีต้องเต็ม บารมีต้องครบ บารมีมีสิบตัว

บารมีที่เกิดจากการเจริญปัญญานี่ ‘ปัญญาบารมี’ บารมีอื่นๆ ก็ต้องทำอย่างอื่นด้วย อย่างเจริญเมตตาใช่ไหม ‘เมตตาบารมี’ เราตั้งใจปฏิบัติก็ต้องมี ‘ขันติ’ มี ‘อธิษฐานบารมี’ ตั้งใจมั่น มี ‘สัจจะ’ รักในความจริง มี ‘ทาน’ การเสียสละ นี่สิ่งเหล่านี้นะเป็นบารมีทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าดูถูก ไม่ใช่จะเจริญปัญญาอย่างเดียว ทิ้งบารมีตัวอื่นไปหมดเลย ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้หรอก บารมีทุกตัวนะจะส่งทอดเราขึ้นไป มันจะทำให้เราลดละความเห็นแก่ตัว ลดละความรักตัวเอง

ในนาทีสุดท้ายที่จะข้ามภพข้ามชาติจริงๆ ต้องเต็ม ถ้ากะพร่องกะแพร่งนะ ใจจะถอนเลย ใจสู้ไม่ได้ นาทีจะข้ามภพข้ามชาตินะ มันจะเห็นทุกข์มหาศาลเลย สำหรับคนทรงฌานนะจะเห็นทุกข์มหาศาลเลย ลำบากมาก เหมือนจะตาย นี่พอเหมือนจะตายขึ้นมานี่ ถ้าบารมีไม่พอนะ มันจะถอย อย่างเราตั้งใจไว้แล้วว่าเราจะสู้ตาย พอมันจะตายจริงๆ นะ ใจถอยแล้ว ไม่เอาดีกว่า รักษาชีวิตรอดไว้ เดี๋ยวค่อยภาวนาเอาใหม่ นี่บารมีไม่พอ อธิษฐานบารมีไม่พอ ไม่มีสัจจะกับตัวเองด้วย ไม่มีขันติด้วย ไม่มีทานบารมี กล้าสละชีวิตเพื่อธรรมะด้วย กลับมาอยู่กับโลกดีกว่า นี่ขาดเนกขัมมะบารมี เวียนกลับมาสู่กามอีก กลับมาสู่โลกอีก ไม่มีปัญญาบารมี ไม่รู้แจ้งอริยสัจ

เพราะฉะนั้นเราต้องสะสมทั้งหมดเลยนะ คุณความดีทั้งหลาย ทาน ศีล ภาวนา ภาวนามีสมถะ มีวิปัสสนา

CD สวนสันติธรรม 33

521226A

8.08 – 10.06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

mp 3 (for download) : สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สติปัฏฐานมีสองส่วน ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ และทำให้เกิดปัญญา

ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ ให้ตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิตไป

ส่วนที่ทำให้เกิดปัญญานี้นะ รู้กายลงไปเป็นปัจจุบัน แล้วก็ตามรู้จิต จะต่างกันนะ

ฉนั้นในขั้นที่เราจะกระตุ้นให้สติเกิด ก็ตามรู้ทั้งกายทั้งจิตนั่นแหล่ะ อย่าไปดูลงปัจจุบันที่กาย เพราะถ้าดูลงปัจจุับันที่กาย จะไปเพ่งกายอัตโนมัติเลย

ในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา“  “ปัสนา” คือการเห็น ตามเห็นเนืองๆ ซึ่งกาย   ตามเห็นน่ะ เป็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ทีนี้ตามเห็นไปเรื่อยๆ แล้วมันเกิดสติ แล้วจิตมันจำสภาวะได้ กำลังเผลอๆ อยู่นี่ เกิดขยับตัววับนะ สติก็เกิดแล้ว หรือกำลังเผลอๆ อยู่ เกิดความรู้สึกทุกข์อะไรแว๊บขึ้นมานะ สติก็เกิด  หรือกำลังเผลออยู่ จิตเป็นกุศลอกุศลขึ้นมา สติก็เกิด  คนไหนเคยตามรู้กายเนืองๆ พอร่างกายเคลื่อนไหวปุ๊บ สติเกิด  คนไหนตามรู้จิตเนืองๆ พอจิตเคลื่อนไหว สติก็เกิด

พอสติเกิดแล้ว คราวนี้มารู้กายลงเป็นปัจจุบัน รู้สึกเลย ตัวที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นรูปธรรมอันนึงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีธาตุไหลเข้า ธาตุไหลออกตลอด แล้วธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นกายนี้ ก็เปลี่ยนแปลงตลอด

รู้ลงปัจจุับันนะ ถ้าดูจิตก็ตามดูัมันไปเรื่อยๆ  ดูกายมีสอง step  ถ้าดูจิตนะ ดูตั้งแต่ต้นจนจบ ดูอย่างเดียว ดูอย่างเดียวกัน แต่ตอนดูก็ให้สติเกิดเอง ก่อนดูให้สติเกิดเอง อย่าจงใจให้เกิด  จงใจให้เกิดแล้วกลายเป็นเพ่งจ้อง  ระหว่างรู้ก็อย่าถลำลงไปรู้ ให้สักว่ารู้ ให้สักว่าเห็น ดูแบบคนวงนอก ไม่มีส่วนได้เสีย ดูกายเหมือนเราดูกายคนอื่น  ดูจิตใจเหมือนเราดูจิตใจคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย

จิตมันโกรธขึ้นมานะ ก็ดูเหมือนเห็นคนอื่นโกรธ เห็นความโกรธไหลมาไหลไป ดูอย่างไม่มีส่วนได้เสีย ดูอยู่ห่างๆ มันจะเหมือนเราอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปคลุกกับมัน เหมือนเราอยู่บนยอดตึำกนะ มองลงมา เห็นรถวิ่งเต็มถนนนะ  รถจะชนกันข้างล่างนะ ก็ไม่ได้มากระเทือนถึงเราที่เป็นแค่คนดู   จิตใจเป็นกุศลอกุศล จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรเนี่ย ก็ไม่กระเทือนเข้ามาถึงคนดู

พอรู้แล้วก็อย่าไปแทรกแซงมัน ก่อนจะรู้อย่าจงใจรู้  ระหว่างรู้นะให้สักว่ารู้ อย่าถลำลงไปรู้  รู้แล้วอย่าแทรกแซง  เกือบทั้งหมดก็แทรกแซง เจอกุศลก็อยากให้เกิดบ่อยๆ เกิดแล้วก็อยากให้อยู่นานๆ  เจอสุขก็อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้อยู่นานๆ  เจออกุศล เจอทุกข์ก็อยากให้หายไปเร็วๆ หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น  ตรงที่เข้าไปแทรกแซงมีปัญหามาก ลำพังกายนี้ใจนี้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง  มันเรื่องของกายเรื่องของใจ เรื่องของธาตุเรื่องของขันธ์ ไม่เกี่ยวกับเรา  ถ้าเมื่อไรเราหลงยินดียินร้าย  อย่างความโกรธเกิด อยากให้หาย  พออยากให้หายนะ ใจมันจะดิ้น  ใจจะดิ้นรนขึ้นมาทำงาน   พอใจดิ้นรนทำงาน ความทุกข์เกิดซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก อันนี้เป็นความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109A.mp3
Time: 3.25 – 7.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

mp 3 (for download) : การภาวนาจะขึ้นวิปัสสนาแท้ๆ เมื่อเห็นสันตติขาดหรือฆนะแตก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาดูจิตดูใจ ถ้าขึ้นวิปัสสนาแล้วก็จะเห็นความเกิดดับ เห็นจิตดวงนึงเกิดขึ้นดับไป มีช่องว่างมาคั่น ดวงนึงเกิดขึ้นดับไปมีช่องว่างมาคั่น หรือบางทีก็เห็นนามธรรมกระจายตัวออกไป เห็นจิตอยู่ต่างหากนะ เห็นความรู้สึกสุขรู้สึกรู้สึกทุกข์แยกออกไป เห็นความจำได้หมายรู้แยกออกไป เห็นกุศลและอกุศลทั้งหลายนี้แยกออกไป ไม่ใช่จิต แยกออกไปอีกนะ กระจายออกไป กระจายออกไป งั้นวิปัสสนานี่มันจะเห็น

วิปัสสนาแท้ๆมันจะเห็นสองอัน อันนึงเห็นสันตติ คือความสืบเนื่องมันขาด เห็นรูปอันนี้กับรูปอันนี้คนละรูปกัน เห็นคนละรูป เห็นนามอันนี้กับนามอันนี้คนละนาม สันตติมันขาด มันขาดอย่างไร เห็นนามอันนึงกับนามอันนึงขาดออกจากกันมีช่องว่างมาคั่น มีช่องว่างมาคั่น นี่สันตติขาด ไม่ใช่ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกันเหมือนสายน้ำ แต่เดิมเรานั่งดูจิตดูใจไปเราเหมือนเราดูน้ำไหลผ่านหน้าไป ไหลไปเรื่อยไม่มีช่องว่าง นี่ พอสติ สมาธิแก่กล้าขึ้นมามันเห็นนะ รูปนามมันเกิดดับได้ เกิดแล้วดับ อันใหม่กับอันเก่านี่คนละอันกัน เห็นต่อหน้าต่อตา ไม่ใช่คิดเอา ถ้ายังคิดเอาเรียกว่า สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาญาณนี่ต้องอุทยัพพยญาณ ชื่อมันไม่ต้องจำก็ได้นะไม่สำคัญหรอก ชื่อมันยาว รวมชื่อสิบหกชื่อนะยาววากว่าๆ ไม่ต้องจำ

หรือเห็นฆนะ อันนึงเห็นสันตติขาด อันนึงเห็นฆนะ ฆนะแปลว่ากลุ่มก้อน เขียนด้วย ฆ ระฆัง น หนู ฆนะ มันแตก สิ่งที่เป็นกลุ่มเป็นก้อนนะมันแตกออกไป อย่างแต่เดิมเรารูปกับนามมันแยกออกจากกัน รูปก็แตกออกไปอีก สิ่งที่เป็นรูปแตกออกไปสี่อย่างเป็นธาตุสี่ นามก็แตกออกไปเป็นสี่อย่าง เป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกออกไปนะ นี่ ฆนะ มันแตก แล้วก็เห็นแต่ละอัน ๆ แต่ละสภาวะๆ มันแยกย้ายกันทำงาน แต่ละคนทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง เห็นมั๊ย กว่าจะขึ้นวิปัสสนาจริงๆไม่ใช่ง่ายนะ

สวนสันติธรรม
CD: 25
File: 510510.mp3
Time: 9.37 – 11.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ ต่ออารมณ์

mp3 (for download) : ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม :นมัสการค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้ก็คือฝึกหัดตามดูอารมณ์นะคะ ก็คือส่วนใหญ่จะรู้ว่าหลงไปคิดค่ะ แต่อารมณ์อื่นจะเฉยๆ จะไม่ค่อยรู้สึกค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฉยเพราะเราไปประคองใจให้นิ่งหรือเปล่า?

โยม : ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้ามันเฉยเพราะว่าเรารักษาจิตเอาไว้นะ ใช้ไม่ได้  แต่ถ้าเฉยเพราะปัญญา ถึงจะใช้ได้ แต่เฉยเพราะปัญญาเนี่ย ต้องฝึกกันช่วงหนึ่ง เช่น มันเห็นว่าสุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วก็ชั่วคราว อะไรอย่างนี้ เห็นอย่างนี้บ่อยๆนะ ใจจะเป็นกลาง

ของคุณตอนนี้มันมีการกดอยู่นิดนึงนะ ถ้านิ่งถ้าเฉยเพราะตรงนี้ ละเพ่งเอา ยังเพ่งอยู่ แต่ว่ามาเพ่งเพราะว่ากลัวหลวงพ่อตอนนี้แหล่ะ อยู่ข้างนอกก็เพ่งน้อยกว่านี้

ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ แล้วตามดู การภาวนานะ ปลดปล่อยตัวเองออกมา  ปลดปล่อยตัวจริงของแต่ละคนออกมานะ ตัวจริงของแต่ละคนน่าเกลียดมาก ฉนั้นเราอย่าไปสร้างเปลือกที่สวยๆ แล้วหุ้มเอาไว้ หลอกตัวเองก่อน แล้วก็ไปหลอกคนอื่นทีหลัง

เราปลดปล่อยตัวแท้ๆ ของเรา ตัวชั่วร้ายในใจนะ อย่าไปกดมันไว้ อย่าไปเพ่งมันไว้นะ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไป แล้วเราไม่เพ่งอารมณ์ไว้เนี่ย แล้วตัวจริงๆ มันจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่เราถือศีลไว้ก่อน จิตใจจะชั่วร้ายยังไงนะ ก็ไม่ละเมิดไปถึงคนอื่น ต้องระวังตรงนี้

ต่อไปนี้ กิเลสใดๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ เรารู้ทัน รู้ทันไปเรื่อย มันจะค่อยสลายตัวไป

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

44.06 – 45.35

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ายังเจือด้วยความคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง

mp3 (for download) : ถ้ายังเจือด้วยความคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่พยายามจะรู้นะ จงใจรู้ก่อน เบื้องต้นจงใจรู้ จงใจรู้สติยังไม่เกิด แต่ว่าพอหัดตามรู้สภาวะมากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งสติมันเกิดนะ แล้วมันมีปัญญาขึ้นมาด้วย อย่างหลายคนหัดรู้สึกๆ ไปเรื่ือยนะ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจลอยแล้วรู้ หรือโลภขึ้นมาก็รู้ โกรธขึ้นมาก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ หายใจออกหายใจเข้าก็รู้ หัดรู้ไปเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่ง อยู่ๆ ขึ้นมานี่ กำลังอาบน้ำอยู่ ส่วนใหญ่จะตอนอาบน้ำ พวกเราสังเกตไหม อาบน้ำ ถูสบู่ ถูขี้ไคล ถูตัว ถูๆ ไป สติปัญญามันเกิดขึ้นมา มันเห็นเลย ตัวที่กำลังลูบอยู่นี่เป็นวัตถุเท่านั้นเอง เป็นก้อนธาตุเท่านั้นเอง เนี่ีย มันเกิดปัญญาแล้วนะ มันมีสติที่ีแท้จริงนะ มันระลึกลงไป โดยที่ใจไม่เข้าไปแทรกแซง สักว่ารู้สักว่าเห็นจริงๆ ไม่ใช่พอระลึกรู้อันนี้ใจก็พากย์ต่อเลยว่า อันนี้คืออันนี้ อันนี้คืออันนี้

เพราะฉะนั้น พอสติมันระลึกนะ อย่างอาบน้ำอยู่ ถูสบู่อยู่ ปั๊บ มันระลึกขึ้นได้  นี่เป็นแค่รูปเท่านั้นเอง ไม่ใช่เรา บางคนพอเห็นว่าไม่ใช่เรานะ ใจสะเทือนขึ้นมาเลย ตกอกตกใจขึ้นมาเลยว่าตัวเราหายไป บางคนก็เบื่ือขึ้นมาเลย บางคนก็รู้แจ้งขึ้นมาว่าตัวเราไม่มี แล้วแต่ว่าจิตใจนั้นมีคุณภาพระดับไหน แต่ตอนนี้คนที่สามารถเห็นได้ว่า ร่างกายไม่ใช่ตัวเรามีไม่รู้จำนวนเท่าไหร่แล้วนะ มีเป็นพันๆ คนที่เรียน การที่เราเรียนจนสามารถเห็นโดยไม่เจตนาจะเห็น คือการรู้จริงๆ ถ้ายังเจือด้วยการคิดอยู่ ไม่ใช่การรู้ที่แท้จริง อย่างสมมติเรานั่งถูไปแล้วเราก็นั่งคิด นี่ไม่ใช่ตัวเรานะ นี่ไม่ใช่ตัวเรา นั่งคิดอย่างนี้ยังไม่รู้จริง

แต่ถ้าเราฝึกสติไปเรื่อย แล้วใจมันตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกให้ใจตั้งมั่นก็มีเหมือนกัน เราคอยสังเกตใจของเรา ใจของเราชอบไหลไปไหลมา เดี๋ยวไหลไปดู เดี๋ยวไหลไปฟัง เดี๋ยวไหลไปคิด ใจที่ไหลไปไหลมาเรียกว่า “ใจไม่ตั้งมั่น” แต่ใจที่ไม่ไหล แต่เข้าไปจ่อนิ่งๆอ ยู่กับอารมณ์อันเดียวก็ไม่เรียกว่าใจตั่งมั่น เรียกว่าเพ่งเอาไว้ ใจที่ตั้งมั่นนี่มันรู้เนื้อรู้ตัว ใจมันเบิกบาน ใจมันเบา ใจมันสบาย ใจมันทำตัวเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูเท่านั้นเอง

ใจมันจะเกิดสภาวะอย่างนี้ได้ เราหัดรู้ไป เวลาใจเราหลงไปคิด หลงไปดู หลงไปฟัง โดยเฉพาะหลงไปคิด ใจชอบหลงคิดทั้งวัน ใจหลงไปคิดเรารู้ ใจหลงไปคิดเรารู้ อันนี้จะฝึกได้ทั้งสติ ฝึกได้ทั้งสมาธิคือ ความตั้งมั่น ใจหลงไปคิดเราก็รู้สึกนะ เราก็เห็นเลย เมื่อกี้หลงไปคิดตอนนี้รู้ขึ้นมา คนละอันกัน รู้กับคิดนี่คนละอันกันนะ และตรงที่รู้ว่าหลงไปคิด ความหลงไปคิดดับไป ความหลงความไหลออกไปดับ ใจก็ตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นชั่วขณะ เราค่อยๆ ฝึกไป การที่รู้ว่าใจหลงไปคิดๆ ฝึกบ่อยๆ สติและสมาธิจะมีขึ้นมาเป็นวิธีเรียนแบบรวบยอดเลย เรียนง่ายที่สุดเลยมีทั้งสติทั้งสมาธิรวบขึ้นมาในที่เดียวกันเลย

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

12.49 – 16.09

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อิทธิบาทสี่ กับการดูจิต

mp 3 (for download) : อิทธิบาทสี่ กับการดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พอหลวงพ่อได้ยินคำว่าดูจิตนะ หลวงพ่อมาคอยหัดดูจิต สนุกน่าดูเลย ทำไมจิตเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน สนุกที่ได้เรียนรู้ธรรมะนะ สนุกที่ได้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้รู้สึกลำบากที่ได้เรียนรู้กายรู้ใจนะ การที่เรามีความสุข มีความสนุกในการรู้กายรู้ใจก็คือมีฉันทะที่จะรู้ มันมีความสุขมีความพอใจที่ได้รู้ วิริยะเกิดเอง ขยันดู เพราะว่าอยากดู ชอบดู ดูแล้วมีความสุข ชอบดู ดูทุกวัน ไม่มีใครสั่ง ดูไม่เลิกเลย จิตใจก็คอยจดจ่อกับการรู้การดูนี่เรียกว่าจิตตะ วันๆ นะไม่คิดเรื่องอื่นแล้ว ใครจะยังไง ไม่สนใจ ถ้าพูดหยาบๆ ก็ช่างแม่มันนะ ใครจะทำอะไร สนใจอย่างเดียว เรียนรู้ตัวเอง จิตใจนี่ อ่านหนังสือนะ ก็ไม่ได้อ่านเรื่องอื่น ไปอ่านพระไตรปิฎก นั่งอ่านอยู่ในทำเนียบ มีห้องสมุด ของสำนักเลขานายกนะ เอาพระไตรปิฎกมาครั้งละสองเล่ม บาลีเล่มนึง ไทยเล่มนึง มานั่งดูไป บางทีก็เห็น อ้อมันแปลไม่ตรงกัน ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี บางทีมีคำเกินๆ มา ภาษาไทย อย่างทุกข์ให้กำหนดรู้นี่ บาลีไม่มี นี่เวลาอ่านหนังสือก็อ่านหนังสือธรรมะ อ้าวถึงเวลาวันหยุดแล้ว ต้องไปเที่ยวสักหน่อย ไปเที่ยววัดไหนดี ๆ ไปหาอาจารย์องค์ไหนดี คราวนี้ เห็นมั้ย ใจมันเคล้าเคลียอยู่กับธรรมะ นี่เรียกว่าวิมังสานะ เคล้าเคลียอยู่ ไม่ไปไหนหรอก ถ้าใครนะ มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เค้าเรียกว่าอิทธิบาทสี่ ธรรมนี้แหละทำให้ประสบความสำเร็จเร็ว เร็วมาก ไม่มีฉันทะ ต้องเคี่ยวเข็ญ ต้องอ้อนวอนให้ภาวนานะ ไม่ไหวนะ สู้ไม่ไหว อินทรีย์อ่อนไป ต้องขยันดูของเราเอง

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 29.16 – 31.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินตามรอยเท้าพระพุทธเจ้า ตามทางที่พระพุทธองค์ทรงบอกทาง

mp 3 (for download) : เดินตามรอยเท้าพระพุทธเจ้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราต้องอดทนนะอดทน พากเพียรเข้า อดทน เริ่มตั้งแต่อดทนฟัง พอฟังรู้เรื่อง รู้วิธีแล้วว่าเราจะต้องเจริญสติ รู้กายรู้ใจ ไม่เผลอลืมกายลืมใจ ไม่เพ่งกายเพ่งใจให้หยุดนิ่ง ปล่อยให้กายให้ใจมันทำงานไปแล้วเรามีสติตามดูมันไปเรื่อย ๆ นี่วิธีปฎิบัติ พอรู้แล้วเราก็ตามดูไปเรื่อย ตอนไหนจิตฟุ้งซ่านมากไป ตามดูกายดูใจไม่ออกก็ทำความสงบเข้ามา กรรมฐานที่ทำให้จิตสงบมีเยอะแยะ อะไรก็ได้ คิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรมนะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงทาน คิดถึงศีล คิดถึงอะไรดี ๆ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงร่างกายของเราเอง คิดถึงความตาย สิ่งเหล่านี้ทำให้จิตใจสงบทั้งนั้น พอจิตใจเรามีกำลัง มีความสงบ มีความสบายแล้วนะ ก็มารู้สึกกาย มารู้สึกใจต่อ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก รู้สึกไปเรื่อย ๆ พอเรารู้สึกซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ต่อไปเราจะเห็นความจริง ทีแรกต้องรู้กายรู้ใจก่อน พอรู้กายรู้ใจไปนาน ๆ ก็จะเห็นความจริงของกายของใจ ตรงที่มีสติรู้กายรู้ใจนี่ถือว่าดีนะ มีสติแล้ว รู้กายรู้ใจ แต่ยังไม่มีปัญญา ตรงที่เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาถึงจะเรียกว่ามีปัญญา พอมีปัญญาเห็นความจริง จิตจะค่อย ๆ ลดกิเลส ๆ เป็นลำดับไป พากเพียรเอานะ ที่เหลือคือพวกเราต้องช่วยตัวเองแล้ว หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้วนะ ขนาดพระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่า “ท่านเป็นแค่ผู้บอกทาง” แล้วหลวงพ่อจะเป็นแค่อะไรละ หลวงพ่อก็เป็นแค่ผู้จำทางมาบอก

“พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้บอกทาง หลวงพ่อเป็นเพียงผู้จำทางมาบอก พวกเรามีหน้าที่เดินทาง เส้นทางสายนี้ยังมีคนเดินอยู่ ยังไม่ขาดสาย ยังไม่ขาดระยะ ต้องรีบเดิน ถ้าขาดช่วงเมื่อไหร่จะหาเส้นทางนี้ได้อีกยากแสนยาก นานหนักหนากว่าจะมีผู้รู้เส้นทางนี้ขึ้นมา กว่าพระพุทธเจ้าจะค้นพบเส้นทางเส้นนี้ มีโอกาสแล้ว รู้ทางแล้ว ต้องรีบเดิน พระพุทธเจ้าเดินนำหายไปก่อนแล้ว ครูบาอาจารย์เดินตามหลังมา ยังเห็นรอยเท้าอยู่ นานไปรอยเท้านี้หายไป เพราะฉะนั้น เราต้องรีบเดินตาม  ก่อนที่รอยเท้าของท่านจะหายไปหมด”

ไม่มีอะไรมากหรอกนะ รู้สึกตัว รู้สึกตัวแล้วค่อย ๆ รู้สึกกายอย่างที่เขาเป็น รู้ใจอย่างที่เขาเป็น อย่าเเพ่งกาย อย่าเพ่งใจ อย่าไปกำหนดจดจ้อง ที่กำหนด ๆ นั้นนะ มันไม่ใช่นะ มันเป็นสมถะ  กำหนด แปลว่า กด กำหนดเป็นภาษาเขมรนะ มาจากคำว่ากดนั่นเอง กด กดไว้ ข่มไว้ ให้เรารู้ ไม่ใช่ให้เราบังคับ รู้ไปเรื่อยจนเห็นความจริง เห็นความจริงแล้วก็หลุดพ้นไป

พระพุทธเจ้าบอกว่า “เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก” งานนี้เสร็จ จบแล้วนิ เสร็จกิจแล้วนี่ ก็หมดแค่นี้แหละ ที่เหลือไปทำเอาเอง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๒๑

510615

2045 – 2401

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การหัดดูสภาวะธรรมเป็นจุดตั้งต้นที่จะทำให้เราเจริญวิปัสสนาได้

mp3 (for download) : กรอบของการปฎิบัติธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การหัดดูสภาวธรรมนี่เป็นจุดตั้งต้นที่จะทำให้เราไปเจริญวิปัสสนาได้ เพราะ การเจริญวิปัสสนาจริงๆ นี่ คือการที่เรามีสติขึ้นมา รู้กายตามความเป็นจริง รู้ใจตามความเป็นจริงได้ ถ้าเราสามารถรู้กายตามความเป็นจริง รู้ใจตามความเป็นจริง รู้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงจุดหนึ่งมันจะเกิดปัญญา มันจะเห็นความจริง ปัญญาเป็นความเข้าใจ จิตใจมันจะเข้าใจสภาวธรรมทั้งหลายนะ ทั้งกายทั้งใจ ทั้งรูปทั้งนาม ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจอย่างนี้ได้ ก็ปล่อยวางได้ ปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ จิตใจจะมีแต่ความสุขถาวรแล้วคราวนี้ การปฏิบัติจริงๆ กรอบของมันมีเท่านี้เอง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๗

491217

0.39 – 1.32

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทุกข์ทางกายนั้นห้ามไม่ได้ แต่ความทุกข์ทางจิตใจเป็นสิ่งที่เราหามาเอง

mp3 (for download) : ความทุกข์ทางกายนั้นห้ามไม่ได้ แต่ความทุกข์ทางใจนั้นเป็นสิ่งที่เราหามาเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การศึกษาธรรมะนี่คือการเรียนรู้ตัวเองจนเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ความทุกข์มันอยู่ที่ตัวเราเองนี่เอง ความทุกข์อยู่ที่กาย ความทุกข์อยู่ที่ใจ ถ้าเราเรียนรู้ลงมาอย่างถ่องแท้นี่นะ เราจะรู้เลย ความทุกข์ทางกายนี่ห้ามไม่ได้ เป็นผลพลอยได้จากการมีร่างกาย แต่ความทุกข์ทางจิตใจนี่เป็นเรื่องที่หามาเอง หาเอาใหม่ในปัจจุบันนี่เอง เพราะฉะนั้น ความทุกข์ทางกายเป็นผลของกรรมเก่านะ ผลของกรรมเก่า ได้ร่างกายมาแล้ว แข็งแรงบ้าง ไม่แข็งแรงบ้าง แล้วแต่กรรมหล่อเลี้ยงไว้

ความทุกข์ทางจิตใจในปัจจุบันนี่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ ถ้าหากเราภาวนาเป็นนี่ เราจะขจัดต้นเหตุของความทุกข์ทางใจออกไปได้ ให้เราคอยสังเกตลงที่จิตที่ใจ การปฏิบัติ ถ้าหากเอาสั้นๆ แบบโตแล้วเรียนลัดนะ เอาแบบสั้นๆ ให้คอยสังเกตที่ใจของเราไว้ ดูซิ ความทุกข์มันมาได้อย่างไร สังเกตเข้าไปในความทุกข์มันมาได้อย่างไร เราจะเห็นเลยว่า บางทีเรานั่งอยู่เฉยๆ นะ ใจเราก็คิดถึงคนๆ หนึ่งขึ้นมา ไม่ได้เจตนาจะคิดนะ อยู่ๆ หน้าคนๆ นี้ก็โผล่ขึ้นมา พอโผล่ขึ้นมาปุ๊บ นึกได้ นังคนนี้โกงแชร์เราเมื่อสิบปีก่อนนะ สมมติ พอนึกได้ เห็นไหม ไม่ได้เจตนาจะนึกนะ มันนึกขึ้นได้เอง ทีแรก หน้ายายคนนี้โผล่ขึ้นมา ไม่ได้เจตนาที่จะนึกถึง อยู่ๆ ก็โผล่แล้วก็จำเรื่องราวขึ้นมาได้ ไม่ได้เจตนาจะจำ มันจำได้ขึ้นมา พอจำได้ปั๊บ มันโมโหขึ้นมาอีกแล้ว ความโกรธเกิดขึ้น มันก็โกรธของมันเองนะ จิตมันโกรธของมันเอง ตรงนี้ไม่เป็นไรนะ ตั้งแต่จุดเริ่มต้น ตั้งแต่ใจมันนึกขึ้นมา ใจมันคิดขึ้นมานะ จนกระทั่งกิเลสเกิดขึ้นมาก็ยังไม่มีปัญหาอะไร ตรงนี้เป็นเรื่องกระบวนการทำงานปกติของจิตใจนั่นเอง จิตใจมันคุ้นเคยที่จะปรุงกิเลส มันก็ปรุงกิเลส มันคุ้นเคยจะปรุงกุศลมันก็ปรุงกุศล มันปรุงของมันเอง ตรงนี้ยังไม่ใช่ปัญหาของนักปฏิบัติ เพราะฉะนั้นให้คอยดูต่อไป พอจิตใจมีความโกรธเกิดขึ้น ตรงนี้แหละที่เริ่มเป็นปัญหา คือเราจะเริ่มเกิดความยินดียินร้ายนะ เกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา เช่น รู้สึกเกลียดนังคนนี้มากเลย เกลียดมากกว่าเก่าอีก ยิ่งคิดยิ่งแค้น แล้วก็ปรุงแต่งต่อไปว่าทำอย่างไรจะไปแก้แค้นมันได้ นี่ตัวนี้ตัวเริ่มปัญหาแล้ว จิตใจจะเริ่มมีความทุกข์ขึ้นมา

เพราะฉะนั้น ในขณะที่สภาวธรรมใดๆ เกิดขึ้น จะเป็นความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล สภาวธรรมที่เกิดขึ้นนี่ยังไม่ใช่ปัญหา อย่างเช่นเราเดินช้อปปิ้งไป ไปเห็นของสวยๆ อยากได้ขึ้นมา ใจมันมีโลภะขึ้นมา ตัวนี้ยังไม่ใช่ปัญหา แต่พอเกิดโลภะขึ้นมาใจมันจะดิ้น ตรงที่ใจมันเริ่มดิ้นนี่แหละเกิดปัญหา มีกิเลสขึ้นมาแล้วเกิดการกระทำกรรม เกิดการกระทำกรรม คือเกิดการดิ้นรนทางใจ ใจมันจะดิ้นๆๆ ตรงที่ใจมันดิ้นรนนี่แหละเป็นตัวปัญหาในปัจจุบันล่ะ

ทันทีที่จิตใจมันเริ่มดิ้นนะ จิตใจมันจะมีความทุกข์ จิตใจที่ดิ้นนี่เรียกว่า “ภพ” นะ ภาษาบาลีเรียกว่า ภพ (ภ-พ) ชื่อเต็มๆ ว่า กรรมภพ คือการทำงานของจิต เมื่อไรที่จิตทำงานนี่ จิตจะเกิดความทุกข์ขึ้นโดยอัตโนมัติ นักปฏิบัตินี่มีหน้าที่คอยมีสติไว้ พอตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์นะ กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พอกระทบปั๊บ มันจะเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา พอมีความยินดีมีความยินร้ายขึ้นมาแล้ว จิตจะเกิดการทำงาน ตอนนี้ทำงานในปัจจุบันหรือสร้างภพในปัจจุบัน การที่รูป เสียง กลิ่น รส อะไรพวกนี้มากระทบ โผฏฐัพพะมากระทบนะ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เป็นผลของกรรมเก่า กรรมเก่าไม่ดี สิ่งที่มากระทบไม่ดี กรรมเก่าดีสิ่งที่มากระทบก็ดี แต่พอกระทบแล้วจิตเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา พอจิตเกิดความยินดียินร้ายนี่จิตจะทำกรรมใหม่ ตัวนี้ ตัวนี้ตัวสำคัญนะ ต้องคอยรู้ทัน

อย่างพอมันนึกถึงคนนี้ มันเกลียด อยากฆ่าเขา วางแผนฆ่าเขา นี่ใจปรุงแต่งแล้ว ใจปรุงแต่งหรือว่าโทสะเกิดขึ้นมา พอจิตไปเห็นโทสะ เสร็จแล้วไม่ชอบโทสะ อยากให้โทสะหาย รีบพิจารณาอะไรต่ออะไรใหญ่เลยนะ รีบเจริญเมตตาอะไร นี่คือการปรุงแต่งใหม่ คือกรรมใหม่ หรือว่าราคะเกิด จิตใจก็ทำงานปรุงแต่ง อะไรๆ เกิดขึ้นในใจมันจะคอยปรุงแต่งต่อ เพราะฉะนั้น ถ้าตัวสภาวธรรมเกิดขึ้นแล้ว นี่ยังไม่ใช่ตัวปัญหา ห้ามมันไม่ได้ สภาวธรรมจะเกิดนี่ ห้ามมันไม่ได้ แต่ถ้าสภาวธรรมเกิด พอจิตไปรู้เข้าแล้วนะ ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ พอจิตไปรู้เข้าแล้ว จิตจะเกิดความยินดียินร้ายแล้วจิตทำงาน ทันทีที่จิตทำงาน จิตจะมีความทุกข์ ให้เรามีสติรู้ทันความยินดียินร้าย พอตามองเห็นเกิดความยินดียินร้ายมีสติรู้ทัน หูได้ยินเสียงนะ เช่น เค้าชมเรานี่ เรายินดี ให้รู้ท้นนะ ถ้ารู้ไม่ทัน เราจะปรุงแต่งทางใจของเราเอง ปรุงใหม่ ถ้าได้ยินคำด่า เราก็เกิดโมโหขึ้นมา มันก็ปรุงแต่งอีก ให้รู้ทันที่ความปรุงแต่งอันใหม่ ความยินดียินร้ายแล้วก็เกิดความปรุงแต่ง นี่คอยรู้ไปอย่างนี้เรื่อย มีสติรู้ไปเรื่อย จิตใจมันจะไม่ดิ้นรน จิตใจมันจะไม่ทำงาน จิตใจมันจะมีความสงบสุขในปัจจุบัน อันนี้เราสงบสุขด้วยการมีสตินะ นี่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น

ทีนี้พอสภาวธรรมเกิดแล้วจิตยินดียินร้ายเรารู้ทัน จิตมันจะเป็นกลาง พอจิตมันเป็นกลางมันจะสามารถรู้สภาวธรรม ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดี ทั้งชั่ว มันจะรู้ได้อย่างเป็นกลางจริงๆ มันจะเห็นความจริงของสภาวธรรมเลย สุขก็เกิดชั่วคราว แล้วก็หายไป ความทุกข์เกิดชั่วคราวแล้วก็หายไป แต่เดิมความสุขเกิดขึ้นมาก็หลงยินดี เกิดการทำงานอยากรักษาเอาไว้ หรือดิ้นรนค้นคว้าอยากให้ได้ความสุขมาอีก แต่เดิมความทุกข์เกิดขึ้นก็ยินร้าย หาทางขจัดหาทางทำลายมัน หรือหาทางป้องกันไม่ให้มันเกิดอีก มันจะเกิดการทำงานอย่างนี้ เพราะว่ายินดียินร้าย แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันนะ จิตกระทบไปรู้ว่าความสุขเกิดขึ้น ความยินดีเกิดขึ้นรู้ทันมัน ความยินดีจะดับไป จิตจะเป็นกลางต่อความสุข มีปัญญาเห็นว่าความสุขก็เป็นของชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมา จิตยินร้าย ไม่ชอบมัน มีสติรู้ทัน จิตใจที่ไม่ชอบความทุกข์ ปฏิเสธความทุกข์นี่ ความไม่ชอบนี่มันจะดับไป เราก็รู้ความทุกข์ตามที่มันเป็น สักพักหนึ่งก็จะเห็นเลย ความทุกข์เกิดขึ้นได้ก็ดับได้

กุศล อกุศลทั้งหลายก็เหมือนกันนะ เกิดขึ้นมาได้ ก็ดับได้ นักปฏิบัตินี่ รักกุศล พอสติระลึกได้ว่ากุศลเกิดขึ้นมาก็ยินดี อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้เกิดนานๆ หาทางรักษาเอาไว้ เกิดการทำงานทางใจ จะรักษาความดีก็ทุกข์นะ ทุกข์แบบคนดี หรืออกุศลเกิดขึ้นมานี่ใจไม่ชอบนี่ นักปฏิบัติไม่ชอบก็หาทางขจัดมัน จิตใจเราก็ต้องทำงานมากขึ้นกว่าเก่าอีก แทนที่เราจะรู้ตามความเป็นจริงแล้วไม่ปรุงแต่งไม่ทำงานนะ กลายเป็นว่าเราทำงานมากกว่าเก่า ความทุกข์ก็มากกว่าเก่า คนชั่วก็ทุกข์อย่างคนชั่ว คนดีก็ทุกข์อย่างคนดี เพราะว่ายึดถือในสภาวธรรมทั้งหลายนั้น แต่ถ้าเรามีสตินะ ความเป็นกลางเกิดขึ้นกับใจเรา จิตใจเป็นกลาง เห็นความสุขก็เป็นกลาง ความทุกข์ก็เป็นกลาง กุศล อกุศลก็เป็นกลาง ในที่สุดมันจะมีปัญญาขึ้นมา เห็นว่าความสุขก็ของชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศล อกุศลก็ชั่วคราว คือพอมีปัญญาเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาในชีวิตของเราล้วนแต่ของชั่วคราวทั้งหมดเลย ต่อไปจิตมันจะไม่มีความยินดียินร้าย พอสภาวธรรมอันนั้นเกิดขึ้นมา จิตจะเป็นกลาง จิตไม่ยินดียินร้ายแล้ว แต่เดิมนี่จิตไม่มีปัญญา พอเห็นสภาวธรรมแล้วจิตจะเกิดความยินดียินร้าย เราต้องมีสติไว้สู้ มีสติไว้รู้ทัน จิตจะเป็นกลาง พอจิตเป็นกลางเราก็รู้สภาวธรรมต่อไปจนเกิดปัญญา เห็นว่าสภาวธรรมทั้งหลายเป็นของชั่วคราว ต่อไปพอสภาวธรรมเกิดขึ้นมานะ จิตเป็นกลางเองเลย ไม่มีความยินดียินร้ายเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเราเข้าใจสภาวธรรมแจ่มแจ้งนะ จิตจะเป็นกลางมากขึ้นๆ นะ จนกระทั่งหมดความปรุงแต่งอย่างแท้จริง

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ ๗

491217

3.20 – 12.19

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ชาวพุทธไม่กังวลถึงกรรมเก่า แต่อยู่กับปัจจุบันด้วยสติและปัญญา

mp 3 (for download) : ชาวพุทธไม่กังวลถึงกรรมเก่า แต่อยู่กับปัจจุบันด้วยสติและปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

โยม : กราบนมัสการเจ้าคะ ลูกแก้วมีวิบากกรรมมาก แล้วก็มาที่นี่เป็นครั้งแรกเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไมรู้ละวิบากกรรมมาก อย่าไปเชื่อมันนะ กรรมเก่าเนี่ยมันผ่านไปแล้ว ไม่ว่ากรรมเก่าจะส่งผลมาให้เราต้องเผชิญอะไร เราทำกรรมใหม่ที่ดีไว้ ชาวพุทธเราไม่ไปกังวลถึงกรรมเก่านะ พระพุทธเจ้าบอกอดีตก็ผ่านไปแล้ว เราไม่เอาแล้ว ไม่ต้องไปคิดถึงมัน กรรมเก่าส่งผลให้เราต้องมาเผชิญกับสถานะการณ์ปัจจุบัน เราเผชิญกับสถานะการณ์ปัจจุบันด้วยสติด้วยปัญญา นี่เรากำลังทำกรรมใหม่ที่ดี แล้วอนาคตเราจะดีขึ้น เราจะมีความสุขมากขึ้นนะ แต่ถ้าเราไปภะวงถึงกรรมเก่าเรื่อย ใจเราจะท้อแท้ หดหู่ เราไม่สามารถสู้พัฒนาชีวิตตัวเองให้ดีขึ้นได้ ลืมกรรมเก่าไปสะนะ แล้วก็มีสติอยู่ คอยรู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน การมีสติรู้กายรู้ใจลงปัจจุบันเป็นการทำกรรมใหม่ที่เป็นบุญอย่างยิ่งเลย บุญใดก็ไม่ประเสริฐเท่าบุญที่ประกอบด้วยสติด้วยปัญญา บุญที่ประกอบด้วยสติด้วยปัญญาเนี่ยจะพาให้เราพ้นทุกข์อย่างถาวรได้

งั้นหนูอยู่กับปัจจุบันนะ อย่าไปกังวลถึงอดีต อะไรเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาเราทุกวันนี้ยอมรับไป สิ่งทั้งหลายที่เราเผชิญทุกวันนี้มันมีเหตุมาทั้งสิ้น มันยุติธรรมแล้ว มันสมควรที่เราต้องเจอสิ่งเหล่านี้ แต่ทุกสิ่งที่เราเจอกำลังเป็นบทเรียนสอนธรรมะเราทั้งสิ้น มันอยู่ที่เราวางใจถูกไหม ถ้าเราเจอสิ่งต่าง ๆ แล้วเราก็ท้อแท้ใจ บอกกรรมเก่าไม่ดี ใจเราผ่อนะ ก็เท่ากับเรากำลังทำกรรมใหม่ที่ไม่ดึ คือฝึกใจให้ท้อแท้ งั้นถ้ามีสภาวะที่ไม่ดึเกิดขึ้นในปัจจุบันเนี่ย อะไรไม่ดีเกิดขึ้นนะ ให้เรามีสตินะ ให้เรารู้ทัน จิตใจของเรากังวล รู้ว่ากังวล จิตใจเราอยากให้หาย รู้ว่าอยากให้หาย อยากให้มันพ้นไปเร็ว ๆ รู้ว่าอยาก ความอยากอะไรเกิดขึ้น รู้ให้ทันไปเรื่อยนะ พอความอยากดับเนี่ย เราจะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยที่เราไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับมันอีกแล้ว ทุกอย่างเหมือนความฝันผ่าน ๆ  มาเท่านั้น ไม่มีสาระหรอก ความทุกข์ทั้งหลายมันจะหลุดลอยไปจากใจเรา

เชื่อหลวงพ่อนะ ฝึกนะ คนที่เรียนตามหลวงพ่อสอนเนี่ย ความทุกข์หล่นหายไปเยอะแยะเลย ชีวิตจิตใจเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเลย ในเวลาเดือนเดียวก็เปลี่ยนแล้ว เพราะฉะนั้นมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันนะ

CD สวนสันติธรรม 28

520103B

30.19 – 32.54

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าประมาทในธรรม

mp 3 (for download) : อย่าประมาทในธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สวนสันติธรรม
CD: 18
File: 500210.mp3
Time: 16.08 – 22.47

เราต้องกล้าหาญนะ ต้องเสียสละ อย่ามัวแต่เพลินๆ เพลินแป๊บเดียวแก่ละ แก่แล้วไม่มีเรี่ยวมีแรงจะปฏิบัติ  มันต้องพากเพียรเอาตั้งแต่ยังมีแรงอยู่ มีหลายคนเลย ตอนแข็งแรงอยู่นะ ชวนให้ปฏิบัติไม่เอา  พอเจ็บหนักมากๆ ร่อแร่ๆมาถามว่าจะภาวนายังไง  โอ จะภาวนายังไง เตรียมตายได้แล้ว  จิตใจมีแต่ทุรนทุราย ทำอะไรไม่ไหวแล้ว เหมือนไม่หัดว่ายน้ำไปก่อน ตกน้ำไปแล้วมาถามหาวิธีว่ายน้ำ ก็ตายเท่านั้นเอง

การภาวนานี้ อย่าประมาทนะ เราไม่รู้เลยว่าชีวิตเรายาวแค่ไหน ตายเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ใช่ว่าต้องแก่แล้วถึงจะตาย ถ้าเผลอๆแว๊บเดียว แก่ไปละ หรือตายไปละ เสียโอกาส  ชาติไหนจะได้เกิดเป็นมนุษย์อีกยังไม่แน่เลย เกิดเป็นคนยากนะ สัตว์เต็มโลกเต็มจักรวาล มีคนอยู่ไม่กี่พันล้านคน มีอนิดเดียวเอง  สัตว์เยอะแยะไปหมดเลย ในวัดหลวงพ่อนี้ สัตว์คงเยอะกว่ามนุษย์ทั้งโลกรวมกัน เยอะแยะเลย ตัวเล็กตัวน้อย

โอกาสที่จะได้เป็นคน ยากที่สุดเลย  เป็นคนแล้วสติปัญญาสมประกอบอย่างพวกเรา ยิ่งยากหนักเข้าไปอีก  จะมีสติปัญญาสมประกอบ มีกายมีใจสมประกอบแล้ว สนใจศึกษาปฏิับัติธรรม หายากนะ  ศึกษาแล้วไม่หลงไปทำอะไรผิดๆ ถูกๆ ศึกษาแล้วมาได้ศึกษาเรื่องการเจริญสติ รู้กายรู้ใจ ก็ยาก   ลงมือทำก็ยากอีก  มีคนน้อยคนที่จะทำจริงๆ  ฉนั้นจากคนหลายพันล้าน จากสัตว์จำนวนนับไ่ม่ถ้วน บีบมาเป็นคนหลายพันล้าน จนมาถึงคนที่ปฏิบัติเข้าถึงธรรม มีในหลักสิบหลักร้อยเท่านั้นเองนะ มีไม่มากหรอก น้อยเต็มที

พวกเราเป็นกลุ่มที่มีโอกาสแล้ว ให้มันบีบเข้ามาจนเป็นครีม เป็นจุดที่มีคนไม่มากแล้วที่เข้ามาได้อย่างพวกเรา  หลวงพ่อไม่แน่ใจว่าคนทั้งประเทศไทย ที่ตื่นแล้ว ถึงหมื่นคนหรือเปล่า ไม่แน่ใจตรงนี้ด้วยซ้ำไป เดินไปสำนักต่างๆ เที่ยวไปดูเรื่อยๆ นะ ไม่ค่อยมีคนที่ตื่นขึ้นมา  ที่จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน สามารถรู้กายรู้ใจตรงความเป็นจริงได้ แทบไม่มี  พวกเราจำนวนมากตื่นขึ้นมา คือคนกลุ่มน้อยเต็มทีนะ

พวกเราพอมีสติขึ้นมา สิ่งสำคัญคือความต่อเนื่องต่อไปนี้ ทำเนืองๆ ทำบ่อยๆ รู้บ่อยๆ อย่าเลิก รู้เข้าไป ในกลุ่มเล็กนิดเดียวซึ่งมีจำนวนหลักพัน พวกเรามาเรียนที่หลวงพ่อที่ตื่นขึ้นมา ถ้าทำไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้งนะ โอกาสที่จะเข้าถึงธรรมะในชีวิตนี้ก็มี แต่ถ้าจิตไม่ตื่น ไม่มีโอกาสหรอก

เมื่ออาทิตย์ก่อนไปสอน มีเด็กมาเรียนเจ็ดสิบกว่าคน เมื่อวานเขาบอกยอด ลืมไปละ  มีเยอะเหมือนกัน มีคนที่ยังไม่ตื่นห้าหกคนเอง  นอกนั้นตื่นโพลงไปหมดเลยนะ สว่างโพลงไปทั้งห้องเลย  คือสติมันเกิดอัตโนมัติแล้ว  อะไรเกิดขึ้นในกายรู้ อะไรเกิดขึ้นในจิตรู้  ถ้ามีกายเคลื่อนไหวระลึกรู้ มีจิตเคลื่อนไหว สติระลึกรู้เองอัตโนมัติ  ระลึกรู้โดยไม่ได้จงใจจะรู้เนี่ยจิตมันจะตื่น เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสัมมาสมาธิ ตั้งมั่นขึ้นมา

พอจิตใจตั้งมั่น อยู่กับเนื้อกับตัว  จิตอ่อน จิตเบา จิตคล่องแคล่วว่องไว จิตควรแก่การงาน จิตไม่ถูกกิเลสครอบงำ จิตซื่อๆ จิตตรงๆ จิตใจเป็นอย่างนี้แล้วเนีี่ย มีสติรู้กาย ก็เห็นกายตรงตามความเป็นจริง มีสติรู้จิต ก็เห็นจิตตรงตามความเป็นจริง พอเห็นตรงตามความจริง มันค่อยๆ ถอดถอนความเห็นผิดไป  เบื้องต้นเห็นเลยว่าไม่ใช่เรา กายกับจิตไ่ม่ใช่เรา ได้โสดาบัน  มีสติรู้เข้าไปอีก รู้เข้าไปอีกนะ สติมันไวอัตโนมัติเลย กิเลสไหวตัววั๊บ สติเห็นทันที ขาดสะบั้นตรงนั้นเลยนะ   ฝึกไปเรื่อยๆ  ต่อไปเห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย จิตวางกายลงไป  เห็นจิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตวางจิตลงไป

งานนี้ฟังแล้วยากนะ ไม่ยากหรอก อดทนตั้งใจทำ สามปีเจ็ดปี ทำไป ไม่ได้นานอะไร ไม่ได้นาน  เราเรียนหนังสือตั้งสิบปียี่ิสิบปี เราก็เรียนได้ใช่ไหม  ทำไมเราจะเรียนรู้ตัวเอง ขนานไปกับการดำรงชีวิตปกติ ไม่ได้กินเวลาเรา ทำไมเราทำไม่ได้ เพราะเราไม่อยากทำเองน่ะ  เราหาข้ออ้างไม่ปฏิบัติเท่านั้นเอง   ถ้าไม่หาข้ออ้างนะ รู้ลงไป รู้กายรู้ใจ ถึงเวลาทำงานก็ทำไป ถึงเวลาต้องติดต่อกับคนอื่น ก็ติดต่อไป หมดเวลาไม่ต้องติดต่อกับใครก็มาเรียนรู้ตัวเอง ไม่เอาเวลาไปเสียเปล่าๆ

หลวงพ่อเป็นคนที่หวงเวลาที่สุดเลย ภาวนาจะใช้เวลาส่วนใหญ่เรียนรู้ตัวเอง ไม่ยุ่ง กระทั่งไปหาครูบาอาจารย์ ไปประเดี๋ยวประด๋าวหรอก ไปแป๊บๆ พอรู้หลักแล้วก็กลับมาดูของเราเอง ไม่เสียเวลา

วลาของแต่ละคน เป็นทรัพยากรที่หายากนะ  หายาก  แต่ถ้าพูดอย่างหลวงปู่เทกส์นะ ท่านบอกว่าหาง่าย ตราบใดที่มีกิเลส มันก็มีอีก  อันนั้นหมายถึงหาแบบไร้ทิศทางนะ แต่จะมีเวลาที่ได้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เนี่ย อยู่ในวัยที่เหมาะสม มีสติ มีปัญญา มีศรัทธา มีความเพียร มีโอกาสได้ฟังธรรม ตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติ  องค์ประกอบเหล่านี้หายากมาก  หลวงพ่อคิดว่าคนที่ตื่นขึ้นมาเนี่ยนะ มีไม่ถึงหมื่นคนหรอก จริงๆมีน้อยเต็มที ฉนั้นเราฟังธรรมจนกระทั่งจิตเราตื่นขึ้นมาได้นี่ ยากมาก นี่เป็นจุดแรกเลยที่ยากมาก  เราต้องเห็นสภาวะตรงตามความเป็นจริงได้โดยไม่เจตนา  จิตจึงจะตื่น  ถัดจากนั้นก็ต้องตามรู้ตามดู จนเ้ข้าไปแจ่มแจ้ง  ปล่อยวางได้นี่ยากขึ้นไปอีกนะ เหลือน้อยลงน้อยลง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีทำให้ใจของเราตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ

mp3 (for download) : วิธีทำอย่างไรใจของเราจะตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีวิธีทำอย่างไรใจเราจะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ทำได้หลายอย่าง

อันแรกเลย ทำสมถะ เราจะหัดพุทโธก็ได้ หัดหายใจก็ได้ หัดไป หัดอะไรก็ได้ซักอย่างนึง แต่ว่าไม่ใช่ไปหายใจเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ เคลิ้มๆ อย่างที่เคยทำกัน เราหัดหายใจไป แล้วเราก็ค่อยๆ ทำความรู้สึกขึ้นมา ให้เห็นเลย ร่างกายนี้กำลังหายใจอยู่ ใจเป็นคนดู ต้องอย่างนี้นะ  หรือเห็นท้องพองยุบไป ค่อยๆ รู้สึกขึ้นมา ท้องมันพอง ท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดู ค่อยๆ รู้สึกอย่างนี้ ค่อยๆ แยกออกมา แยกตัวผู้รู้ออกมา แต่ถ้าใครทำแบบนี้เป็นวิธีขี้โกงนะ  ถ้าใครเก่งๆ ก็ทำตามสูตรเลย หายใจเข้า หายใจออก ไม่ต้องสนใจตัวผู้รู้ก่อนนะ แต่อย่าให้ขาดสติ  มีสติรู้ลมหายใจไป มีใจเป็นคนดูไปอย่างสบายๆ ดูอย่างสบาย อย่าไปเพ่งใส่มัน ฉนั้นต้องเรียนก่อนว่าเพ่งเป็นอย่างไร  ถ้าใจเราถลำลงไปเพ่งอย่างนี้ ตัวผู้รู้ไม่มีหรอก มีแต่ผู้เพ่ง ไม่ใช่ผู้รู้

ผู้รู้มันเหมือนเรายืนอยู่บนตึกสูงๆ เรามองลงมา ที่ถนนเห็นรถยนต์วิ่งเยอะแยะเลย เราไม่ได้ไปยืนกลางถนน  หรือ เหมือนอย่างเราดูฟุตบอล เราดูอยู่ข้างสนาม ดูอยู่บนอัฒจันทร์ ไม่ได้โดดลงไปอยู่ในกลางสนาม เนี่ยส่วนใหญ่จะโดดลงไปอยู่กลางสนาม เวลาไปรู้อะไร  ฉนั้นเราจะมาพุทโธ เราก็พุทโธไปสบายๆ พุทโธไป  หรือหายใจไปก็ได้นะ  ถ้าหายใจก็จะเข้าถึงสมาิธิที่ปราณีต  พุทโธก็ได้แต่สมถะ แค่อุปจาระ(สมาธิ) ได้แค่สงบนิดหน่อย

ถ้าเราหายใจเข้าหายใจออก หายใจสบายๆ หายใจออกก่อน อย่าหายใจเข้าก่อนนะ  ฝึกอานาปาณสติ ให้หายใจออกก่อน ในพระสูตรก็สอนไว้อย่างนั้น บอกภิกษุทั้งหลาย ให้คู้บัลลังก์ คู้บัลลังก์คือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกยาว รู้ว่าหายใจออกยาว  หายใจเข้ายาว รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกก่อนเนี่ย ใจมันจะเบา ใจมันจะอ่อนโยน ใจมันจะุนุ่มนวล  ถ้าหายใจเข้าก่อนเี่นี่ย ใจมันจะแข็งๆ แข็งกระด้าง แข็งแล้วภาวนาต่อยากละ  ฉนั้นหายใจออกให้สบายนะ ให้ผ่อนคลาย พอใจผ่อนคลาย  ใจมันจะสงบ ใจมันสบาย  พอจิตใจสบาย เรารู้ลมหายใจ ตัวลมหายใจเรียกว่า ‘บริกรรมนิมิต’

รู้ลมหายใจไปนานไปนะ ใจจ่ออยู่ที่ลมอย่างสบายๆ เคล็ดลับอยู่ที่สบายนะ  พอรู้อย่างสบายๆ บริกรรมนิมิตคือลมหายใจ มันจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นแสงสว่าง จะรู้สึกเหมือนเป็นแสงสว่างเป็นเส้นเป็นเกลียว  แสงสว่างของลมเรียกว่า ‘อุคคหนิมิต’

เรารู้อุคคหนิมิต รู้แสงสว่างนี้ไป รู้ไปเรื่อยๆ มันจะรวมขึ้นมาเป็นดวง เป็นดวงแก้ว ดวงกลมๆ ดวงสว่าง แบบนี้่เรียกว่า ‘ปฏิภาคนิมิต’ ถึงจุดนี้ เราก็ทิ้งลมหายใจนะ มาูรู้ปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ หายใจไปน่ะ ไม่ได้หยุดหายใจหรอก แต่ว่ามารู้ปฏิภาคนิมิต รู้ดวงนี้ ดวงนี้ย่อได้ ขยายได้ เล่นไปเล่นมา จิตใจมันสนุก มันมีปิติขึ้นมา มีปิติมีความสุขขึ้นมา จิตจะเข้าฌาณ อันนี้สำหรับคนที่ทำได้เต็มภูมิ

พอเข้าณาณที่หนึ่งก็มีปิติ มีความสุข ใจเป็นหนึ่ง ต่อมาสติปัญญามันแก่กล้าขึ้นไปอีก มันเห็นว่า ปิติก็ของหวือหวานะ มันดับปิติลงไป

จิตที่จะเกิดตัวผู้รู้เนี่ย เป็นจิตในฌาณที่สอง จิตในฌานที่สองนี่ดับวิตกวิจารณ์ ดับการตรึกถึงตัวนิมิตนั่นแล้ว จิตมันทรงตัวอยู่โดยที่ไม่ได้จงใจไปรู้นิมิตอีกต่อไปแล้ว ไม่ไปต้องรู้ดวงสว่างหรือลมหายใจอีกแล้ว แต่มันสงบอยู่ในตัวของมันเองนะ  เนี่ย จิตตรงนี้มันจะเกิดสภาวะธรรมอันนึง เรียกว่า ‘เอโกธิภาวะ’ ภาวะแห่งความเป็นหนึ่งขึ้นมา จะเกิดตัวผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา

ถ้าได้ตรงนี้แล้ว ก็ดูปิติไป ก็เห็นปิติเกิดแล้วก็ดับไปนะ เห็นความสุขขึ้นมาของจิต อยู่ในฌานที่สาม

ดูในความสุขเ้ข้าไปอีก ก็เห็นความสุขเกิดแล้วก็ดับไป จิตเข้าอุเบกขา ได้ฌานที่สี่ ถึงตรงนี้มันจะเหมือนไม่หายใจ เหมือนเราหายใจด้วยผิวหนังแล้ว

ทีนี้พอจิตถอยออกจากตรงนี้นะ กลับมาสู่โลกภายนอก อำนาจของสมาธิมันยังจะหล่อเลี้ยงตัวผู้รู้ไว้อีกพักนึง ใจมันจะเด่นดวงขึ้นมาเป็นตัวผู้รู้ผู้ดู ให้เอาใจที่เด่นดวงเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้มารู้กาย เห็นร่างกายยืนเดินนั่งนอนไป ใจจะเป็นคนดูอยู่ ดูอยู่ได้เป็นวันๆ เลยเพราะกำลังของสมาธิเยอะ

ถ้าคนไหนทำตามรูปแบบเต็มขั้นเต็มภูมิของสมาธิอย่างนี้ไม่ไหว ก็ใช้วิธีขี้โกงเอาอย่างที่หลวงพ่อว่า หัดดูเอา หายใจเข้า หายใจออกเนี่ย ยังไม่ต้องมีนิมิตอะไรหรอก หายใจไปเรื่อยๆ แล้วคอยสังเกตใจของเรา สังเกตดูร่างกายมันหายใจ ใจของเราอยู่ต่างหากนะ ใจของเราเป็นแค่คนดู หรือใจมันคิด เราก็เห็นอีก ความคิดอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นคนดู เห็นความคิดเกิดขึ้นดับไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์เกิดขึ้น หรือความปวดความเื่มื่อยเกิดขึ้น ดูลงไป ความปวดความเมื่อยก็เป็นของถูกรู้ถูกดู  ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้มันก็ได้ตัวผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาเหมือนกัน แต่กำลังมันจะไม่ต่อเนื่องยาวนานเหมือนคนที่เขาเล่นฌาน  แต่พวกเราส่วนมากทำไม่ได้นะ ทำได้แค่นี้ก็บุญถมไปแล้ว

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ 9

500218

8.40 – 14.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 14 of 17« First...1213141516...Last »