Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จิตที่ไม่ตั้งมั่นจะไม่เกิดอริยมรรค

mp3 (for download): จิตที่ไม่ตั้งมั่นนั้นจะไม่เกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

เมื่อสองสามวันก่อนมีพระองค์หนึ่ง ท่านเป็นพระผู้ใหญ่นะ ท่านเข้าไปเยี่ยมหลวงพ่อที่วัด ที่เมืองชล ท่านก็ไปเล่าว่า ท่านอยู่ในป่า แล้วท่านก็รู้อะไรต่ออะไรเยอะแยะไปหมดเลยนะ กระทั่งเสียงของสัตว์นี้ ท่านฟังได้ ของเราก็ฟังเสียงสัตว์ได้ ใช่ไหม แต่ท่านแปลได้ ของเราก็ฟังได้นะ เสียงสัตว์ ตุ๊กแกร้องเราก็รู้นะ แต่เราไม่รู้ว่ามันร้องว่าอะไร

ท่านทำสมาธิเยอะ ท่านรู้ ท่านบอกท่านรู้อะไรต่ออะไร รู้เยอะแยะเลย วันหนึ่งไม่สบายมาก เป็นมาลาเรีย ท่านก็นอนดูร่างกายนี้ มีใจอยู่ต่างหากด้วยนะ ในขณะมีใจอยู่ต่างหาก ใจก็ไปดู เห็นร่างกายมันเจ็บป่วย ดูกาย ดูเวทนาไป เสร็จแล้วดูไปเรื่อยๆนะ จนกระทั่งความรู้สึกนี้ ทุกขเวทนาดับ หายนะ หายเจ็บ หายป่วยไปได้ แต่ท่านสงสัยว่า ท่านดูลงไปในเวทนาอะไรนี้ ก็ไม่เห็นว่ามันเป็นตัวเป็นตน แต่ทำไมไม่เกิดอริยมรรค

ที่จิตมันไม่ตัดเพราะว่าจิตไม่ตั้งมั่น ในขณะที่รู้กายนี้ จิตไหลไปอยู่ที่กาย ในขณะที่รู้เวทนานั้น จิตถลำลงไปแช่อยู่กับเวทนา จิตที่ถลำลงไปนี้จะไม่มีกำลัง ไม่มีแรงที่จะตัดสินความรู้ เพราะว่าอะไร เพราะว่าสัมมาสมาธิ หรือ จิตที่ตั้งมั่นนี้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าเกิดปัญญาขึ้นมาแท้ๆแล้ว ถึงจะละวางความยึดถือในกายในใจลงไป ถ้าใจไม่ตั้งมั่นจะไม่ตัดหรอก จะไปดูก็เห็นนะ เห็นเกิดดับไปงั้นนะ แต่ใจไม่มีกำลัง มันถลำลงไป งั้นใจที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้สำคัญมาก

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ 9

500218

6.48 – 8.39

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าปราศจากสัมมาสมาธิแล้วปัญญาจะไม่เกิด

mp3 (for download): ถ้าปราศจากสัมมาสมาธิแล้ว ปัญญาจะไม่เกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ส่วนตัวสมาธินี่ จิตที่ตั้งมั่นนี่ ตัวนี้ หลายคนไม่เข้าใจคำว่าจิตที่ตั้งมั่น นึกว่าจิตที่ตั้งแบบแข็งกระด้าง แข็งๆ นึกอย่างนี้นะ อย่างนี้ไม่ใช่จิตตั้งมั่นนะ มันเป็นจิตที่แข็งกระด้าง จิตที่ตั้งมั่นนี่หมายถึงเป็นจิตที่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ มีความอ่อนโยนนะ มีความเบา ถ้าหนักๆ แน่นๆ แข็งๆ ใช้ไม่ได้เลย ไม่ใช่จิตที่มีสัมมาสมาธิจริงๆ จิตที่มีสัมมาสมาธิมันจะเบาๆ นะ ไม่ใช่เบาหวิวนะ แต่มันเบาแบบมันไม่มีภาระ สบาย มันมีความอ่อนโยน มีความนุ่มนวล ไม่มีกิเลส ไม่มีนิวรณ์ครอบงำ กระทั่งความอยากปฏิบัติยังไม่มีเลย ความอยากปฏิบัติก็เป็นกิเลสนะ จิตที่มันมีสัมมาสมาธินี่มันว่องไว ไม่ซึมไม่ทื่อนะ ถ้าไปนั่งแล้วก็ซึมอย่างนี้ไม่ใช่นะ นี่มิจฉาสมาธินะ

สัมมาสมาธินี่ จิตจะเบา จิตจะอ่อน จิตจะนุ่มนวล คล่องแคล่วว่องไว จิตจะสามารถรู้สภาวธรรมทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง รู้ได้อย่างซื่อๆ รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซง จิตจะตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็นอยู่ ถ้าเรามีจิตชนิดนี้แหละ ปัญญามันถึงจะเกิด ถ้าเราไม่มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้เป็นผู้ดูนะ ถึงเอาสติไปจ่อเข้าในกายในใจมันได้แต่สมถะ มันไม่เกิดปัญญา ถ้าจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ต่างหากนะ เห็นร่างกายนี้หายใจเข้า ร่างกายหายใจออก จิตเป็นคนดูอยู่ เห็นร่างกายยืนเดินนั่งนอนจิตเป็นคนดูอยู่ เห็นท้องพองยุบจิตเป็นคนดูอยู่ เห็นยกเท้าย่างเท้าอะไรอย่างนี้จิตเป็นคนดูอยู่ ต้องแยกรูปกับนามออกจากกัน ให้ใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่

หลายคนเข้าใจผิดในการปฏิบัติ อย่างไปรู้ลมหายใจนี่ไปเพ่งใส่ลมหายใจ ตั้งใจให้รู้แต่ลมหายใจอย่างเดียว ไม่ให้รู้อย่างอื่น การตั้งใจให้รู้อันใดอันหนึ่งไม่ให้รู้อย่างอื่น มันเป็นการบิดเบือนความเป็นจริง ในความเป็นจริงก็คือ ในสภาวะแต่ละสภาวะที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ แต่ละขณะที่เกิดขึ้นนั้นมีสภาวธรรมจำนวนมาก ไม่ใช่ไปเลือกเอาอันใดอันหนึ่งนะ เพราะฉะนั้น อย่างเวลาที่เรารู้ลมหายใจเข้าออก ถ้าเราจงใจไปเพ่งใส่ลม รู้แต่ลมอย่างเดียว มันส่งเสริมอัตตานะ ไม่ใช่จะเห็นอนัตตา มันจะรู้สึกว่ากูเก่ง กูเก่ง กูบังคับจิตของกูได้ หรือจะไปเพ่งใส่ท้องอันเดียวนะ ท้องพองยุบรู้หมดเลยนะ แต่ว่าจิตใจของตัวเองนี่ลืมมันไปแล้ว มีแต่รูป ไม่มีนาม เพ่งเอาเพ่งเอา อันนี้จะส่งเสริมอัตตาไม่ใช่เห็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ในแต่ละสภาวธรรม ในแต่ละขณะมีสภาวธรรมจำนวนมากเกิดขึ้น เราก็เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวไป เห็นรูปมันเคลื่อนไหวไป ในขณะเดียวกันก็มีใจเป็นคนดูอยู่ มีใจเป็นคนดู เราจะเห็นเหมือนเห็นคนอื่นกำลังยืนเดินนั่งนอน เห็นคนอื่นหายใจเข้าหายใจออก ไม่ใช่เห็นตัวเรายืนเดินนั่งนอน ใจที่ตั้งมั่นขึ้นมามันจะทำให้เห็นสภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา จิตที่มีสัมมาสมาธินี่เป็นจิตที่สำคัญมาก ถ้าปราศจากสัมมาสมาธิแล้วปัญญาจะไม่เกิด

CD ศาลาลุงชินครั้งที่ 9

500218

3.22 – 6.48

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การสำรวม คืออะไร?

mp 3 (for download) : การสำรวม คืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะฉะนั้นมีธุระ จะยิ้มก็ยิ้มไป จะหัวเราะก็หัวเราะไป เพื่อเอื้อเฟื้อคนที่เราคุยด้วย ถ้าเราทำหน้าอย่างนี้… สอนธรรมะ นานๆพูดคำหนึ่ง นะ เดี๋ยวคนก็ไปหมดเลย

โยม: บางที มันดูเหมือนไม่สำรวม เหมือนๆ เราล่อกแล่กเกินไป

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่ต้องสำรวม สำรวมไม่ใช่แปลว่า ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ สำรวมหมายถึงมีสติ นะ ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์แล้ว เกิดปฏิกริยายินดียินร้ายขึ้นที่จิต มีสติรู้ทัน นี้เรียกว่าสำรวม

สำรวมไม่ใช่แกล้งขรึม การแกล้งขรึมทำไปด้วยทิฎฐิ แกล้งขรึมนี่ทำไปด้วยทิฎฐินะ มีความเห็นว่าต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ รู้สึกมั้ยบางทีครูบาอาจารยท่านหัวเราะนะ บางทีหัวเราะหลอกเรานะ หลวงพ่อเคยเจอทีหนึ่ง เจอท่านอาจารย์บุญจันทร์

ท่านอาจารย์บุญจันทร์นะ โอโห จิตนี้เปรียว สุดๆองค์หนึ่งเลย ไม่รู้จักท่านหรอก จะไปหาอาจารย์ทองอินทร์ที่วัดสันติธรรม พอไปถึงนะ ค่ำละ สักสองทุ่ม มีพระมาดักอยู่หน้าวัด พระหนุ่มๆ บอกวันนี้ อาจารย์บุญจันทร์มาให้ไปหาอาจารย์บุญจันทร์หน่อย เราบอกไม่ไปไม่รู้จัก จะมาหาอาจารย์ทองอินทร์ เสร็จแล้วไปคุยกับอาจารย์ทองอินทร์นะ จนดึกเลย ออกมาหนาวจัด พระยังเฝ้าอยู่อีก ยังเฝ้าอยู่บอก ไปหน่อยน่า.. อ้อนวอนเรานะ เราไม่อยากไปเลย เราไม่รู้จัก เสียอ้อนวอนไม่ได้นะ ก็ไปกับท่าน ขึ้นไป โดนอาจารย์บุญจันทร์ตะคอกเอา

“ภาวนายังไง” แก้กรรมฐานให้เรา ไม่รู้จักเลยนะ อยู่ๆเรียกตัวไป เสร็จแล้วนะพอเราเข้าใจ จิตวางหลุดภพออกมา ท่านหัวเราะนะ ท่านหัวเราะเราก็หัวเราะมั่งสิ พอท่านไม่หัวเราะ ท่านสำรวม เราก็ทำสำรวมบ้าง ท่านหัวเราะเราก็ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ตามท่านไปเลยนะ ท่านหัวเราะดังเลยนะ หัวเราะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า เลย พอเราหัวเราะปั๊บ หันมามองหน้าเลย เราก็หยุดปุ๊บ ใจเราก็เรียบไม่มีอะไรเลย ไม่ได้กระเพื่อมเลย ท่านบอกอย่างนี้ใช้ได้ ไปได้แล้ว แกล้งหัวเราะนะ หัวเราะเพื่ออนุเคราะห์ แล้วไงอีก จะถามแต่เรื่องนี้รึ

โยม: ให้หลวงพ่อแนะนำ หลวงพ่อแนะนำเรื่องอื่น

หลวงพ่อปราโมทย์: ลอกเปลือกตัวเองออกมา ให้ตัวจริงมันโผล่ขึ้นมา ถือศีล ๕ ไว้

โยม: ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: ช่วงหลังๆ พอสึกมาหลายวันเนี่ย เริ่มมีตัวปลอม เป็นผู้นำหมู่ ผู้นำคณะ ต้องสำรวมเรียบร้อย เป็นลิงไปเลย นะ มันเป็นอย่างไรรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น ไม่แกล้งนะ ไม่แกล้ง มันคือวาสนา วาสนาเนี่ยแก้ไม่ได้ ไม่ต้องแก้ พระอรหันต์แต่ละองค์ ก็มีวาสนาของตัวเอง ไม่ต้องแก้

เพราะฉะนั้นไม่ต้องแกล้งทำซึม การแกล้งทำซึม แกล้งทำสำรวม ไม่ได้ช่วยให้บรรลุมรรคผลอะไร แต่การสำรวมอินทรีย์เนี่ย จำเป็นมากเลย ต่อการบรรลุมรรคผล สำรวมอินทรีย์ไม่ใช่การแกล้งสำรวม ไม่ใช่ให้ไม่มอง ไม่ใช่ไม่ฟัง ไม่ใช่ไม่ดมกลิ่น ไม่ใช่ไม่รู้รส สำรวมอินทรีย์ก็คือ เมื่อกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเนี่ย ยินดียินร้ายขึ้นมาให้รู้ทัน ไม่ใช่แกล้งไม่กระทบ

เคยมีพระองค์หนึ่งชื่อหลวงปู่คำพันธ์ มีใครเคยรู้จักมั้ย อยู่วัดธาตุมหาชัย ที่ปลาปาก ลูกศิษย์หลวงปู่เสาร์ ลูกศิษย์ของท่านนะ ไปภาวนากัน พรรษาหนึ่งก็กลับมา บอกว่า พรรษานี้สำรวมในรส เวลาบิณฑบาตได้อาหารมานะ เอาน้ำร้อนเทใส่ ล้างนะ ให้รสชาติจืดชืดหมดเลย แล้วก็ฉันอาหารที่จืดชืดนี้ นี่ปฏิบัติอย่างนี้ ภูมิใจ ได้สำรวม ท่านบอก ทำไมยุ่งยากอย่างนั้น เปลืองน้ำร้อน เอาน้ำร้อนราดลิ้นก็พอแล้ว เอาน้ำร้อนราดลิ้นเข้าไปเลย นี่สำรวมแบบไม่ฉลาด

สำรวมไม่ใช่ว่าไม่รู้รส สำรวมไม่ใช่ไม่รู้สัมผัสทางกาย ถ้าไม่รู้สัมผัสทางกายแล้วบรรลุง่าย พวกเป็นโรคเรื้อนจะบรรลุก่อน สำรวมทางตาด้วยการไม่เห็นแล้วบรรลุง่าย คนตาบอดก็จะบรรลุก่อน สำรวมทางหูพวกหูหนวกก็จะบรรลุก่อน ไม่ใช่

สำรวมหรือไม่สำรวมอยู่ที่ มีสติรู้ทันจิตของตนเองมั้ยเมื่อมีการกระทบอารมณ์ นะ เพราะฉะนั้นไม่แกล้งนะ ปล่อยตัวเองออกมา ปลดปล่อยตัวเองที่แท้จริงออกมาแต่มีศีล ๕ เพราะว่าตัวตนที่แท้จริงของแต่ละคน น่าเกลียดสุดๆเลย ต้องมีศีล ๕ ถ้าไม่มีศีล ๕ นะ มันจะอุบาทว์ นะ มันจะไปรังแกคนอื่น นะ แต่ละคนน่ะร้ายจริงๆ ไม่ได้แกล้งว่า หลวงพ่อก็ร้าย หลวงพ่อแต่ก่อนนะ ขี้โมโห โทสะมาก

โยม: หลวงพ่อครับ บางที พอปลดปล่อยมากแล้ว บางทีเห็นตัวเองน่าเกลียดมากเกินไป

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ นั่นแหละ

โยม: รู้สึก รู้สึกขัดใจมากรับไม่ค่อยได้ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ อยากให้คนนับถือมั้ย ต้องแบบ ไม่นับถือก็อย่านับถือสิ นี่ เราอยากดูว่าจริงๆเป็นอย่างไร ถ้าเราออกแรงกดสักนิดหนึ่ง พอตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์นะ ตัวจริงมันจะไม่โผล่ กิเลสจะไม่แสดงขึ้นมาให้ดู เพราะฉะนั้นตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์แล้วตัวจริงมันแสดงขึ้นมาแล้วเราจะได้รู้ทัน นี่ราคะเกิดขึ้น โทสะเกิดขึ้น ทันทีที่อนุสัยทำงานขึ้นมาเนี่ย พอเราเห็นทัน กิเลสจะขาด

โยม: เพราะฉะนั้นเราก็ต้อง ต้องใจถึงๆยอมเป็นคนเลวให้ตัวเองดู ให้เห็นชัดๆ อย่างนี้ใช่มั้ยครับ

หลวงพ่อ: ใช่ๆ ไม่ใช่ยอมเป็นคนเลว ยอมดูความจริงของตัวเอง นะ ไม่ใช่ยอมเป็นคนเลวนะ

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๒

File: 501006A.mp3

นาทีที่  ๒๙ ถึงนาทีที่ ๓๔ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สภาวะธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์

mp 3 (for download) : สภาวะธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์: ใจเราแต่ละคนมันไม่ยอมรับธรรมะ คือมันไม่ยอมรับความจริง อย่างร่างกายต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นความจริงนะ เราไม่ยอมรับนะ เราไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย จิตใจของเราต้องสุขบ้างทุกข์บ้าง เราก็ไม่ยอมรับเราอยากสุขอย่างเดียว จิตใจของเราเป็นของบังคับไม่ได้ เดี๋ยวก็เป็นกุศล เดี๋ยวก็เป็นอกุศล เราบังคับไม่ได้ เราก็ไม่ยอมรับ เราอยากบังคับให้ได้ อยากให้มันดีถาวร

การที่เรามาหัดเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ เพื่อวันหนึ่งจิตใจมันจะได้ยอมรับความจริง มันยอมรับความจริงมันจะเห็นเลยสภาวธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ความสุขและความทุกข์ก็เสมอภาคกันนะ นี่เป็นเรื่องอัศจรรย์เลย ของเรารู้สึกเลย ความสุขความทุกข์ไม่เสมอกัน กุศลและอกุศลก็เสมอภาคกัน เราก็รู้สึกว่าไม่เสมอ แท้จริงแล้วสภาวธรรมทั้งหลายเสมอภาคกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ ล้วนแต่ไม่เที่ยงเหมือนกันหมดเลย ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว ล้วนแต่เป็นทุกข์ ทั้งกายทั้งใจนี่เป็นทุกข์นะ แล้วก็บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีอะไรบังคับได้สักอันเดียว ใจเราไม่ยอมรับตรงนี้

แท้จริงแล้วสภาวธรรมทั้งหลายนั้นเสมอกันหมด ทั้งสุขทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว ธรรมะที่เป็นคู่ๆ ทั้งหลายนั้นเสมอกัน ใจเราต่างหากที่ไม่เสมอกัน ใจเราจะรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง รักสุขเกลียดทุกข์ รักดีเกลียดชั่ว พอใจเราไม่เสมอภาคใจเราจะดิ้นรน ใจเราดิ้นรนปรุงแต่ง ใจเราทำงานขึ้นมา ใจเราก็มีความทุกข์ขึ้นมา แต่ถ้าวันหนึ่งใจเรารู้แจ้งแทงตลอดลงไปนะ ธรรมะที่เป็นคู่ๆ ทั้งหลาย สุขทุกข์ดีชั่วอะไรนี้ เสมอภาคกันหมด คือเกิดแล้วดับทั้งหมดเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราว

พอใจมันมีปัญหาเห็นอย่างนี้นะ ใจมันจะเข้าสู่ความเป็นกลาง พอใจเป็นกลาง ใจก็จะไม่ดิ้นรน ใจไม่ดิ้นรน ใจก็ไม่ทุกข์นะ เมื่อไรปัญญาเกิด เห็นสภาวธรรมทั้งหลายเสมอกันหมด ใจก็จะไม่ดิ้น ใจไม่ดิ้น ใจไม่ทุกข์ ของเราไม่เห็น เรารู้สึกไม่เสมอกันรู้สึกไหม สุขดีกว่าทุกข์ กุศลดีกว่าอกุศล เรายังมีสิ่งที่เป็นคู่ๆ เยอะเลย ละเอียดดีกว่าหยาบ ที่ใกล้ดีกว่าที่ไกล ภายในดีกว่าภายนอก

ธรรมะเราไปหลงธรรมะที่เป็นคู่ๆ ธรรมะภายใน เช่น สงบอยู่ข้างในดี ฟุ้งซ่านออกข้างนอกไม่ดี ธรรมะอยู่ใกล้ๆ อยู่กับกายกับใจแล้วดี ออกไปข้างนอกไม่ดี ยุ่งกับตัวเองดี ยุ่งกับคนอื่นไม่ดี จริงๆ เสมอกันแหละ ยุ่งเมื่อไหร่ก็ทุกข์เมื่อนั้นแหละ

เพราะฉะนั้นเรียนนะ เรียนเพื่อให้เห็นความจริง สภาวะทั้งหลายเสมอภาคกัน ใจของเราต่างหากไม่เสมอ ไม่เสมอภาค รักอันหนึ่งเกลียดอันหนึ่ง แล้วก็ดิ้นรน ดิ้นรนแล้วก็ทุกข์ ถ้าเมื่อไรปัญญาแจ่มแจ้ง ธรรมที่เป็นคู่เสมอภาคกันหมด ใจก็ไม่ดิ้นรน ใจไม่ดิ้นรน ใจก็พ้นทุกข์ นิพพานเป็นความสิ้นราคะ สิ้นตัณหา สิ้นความอยาก นิพพานเป็นวิสังขาร สิ้นความปรุงแต่งดิ้นรน เมื่อไรใจเราหมดความหิวโหยในอารมณ์อันโน้น เกลียดอารมณ์อันนี้ หมดความปรุงแต่งอย่างโน้นอย่างนี้ จิตใจก็จะเข้าสู่สันติสุขเข้าสู่นิพพาน

สังเกตให้ดีใจของเราทำงานทั้งวันทั้งคืน ดูออกไหม จิตใจเราทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดเลยนะ เดี๋ยวคิดโน้น เดี๋ยวคิดนี่ไปเรื่อยๆ เลย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวชั่ว ทั้งวันทั้งคืน เพราะฉะนั้นใจมันหาความสุขไม่ได้ หาความสงบไม่ได้ ฟุ้งไปเรื่อยๆ ค่อยๆ รู้สึกเอา แล้วเฝ้ารู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ จะเห็นเลยสุขทุกข์ดีชั่วอะไรนี่เสมอกันหมดเลย

ใจที่เข้าถึงธรรมนี่จะเห็นสิ่งทั้งหลายเสมอภาคกันนะ กระทั่งกับความตายและการมีชีวิตอยู่ นี่มันก็ของคู่อันหนึ่งเหมือนกัน ความตายและการมีชีวิตอยู่ มีพระสูตรอันหนึ่งหลวงพ่อจำชื่อไม่ได้นะ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ตัวท่านน่ะเป็นพระอรหันต์อยู่แล้วล่ะ แต่ท่านไม่ได้อยากตาย ท่านไม่ได้อยากมีชีวิตอยู่นะ แต่ท่านไม่ได้ร่ำร้องหาความตาย ใจท่านเป็นกลางจริงๆ กับธรรมที่เป็นคู่ ใจท่านไม่ดิ้นเลย ท่านก็สามารถมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันอย่างมีความสุข แต่ว่าไม่ได้ติดว่าจะต้องอยู่อย่างนี้ตลอดไป ท่านก็ไม่ได้รีบร้อนว่าจะต้องตายๆ ไปซะ เพราะชีวิตนี้เป็นทุกข์ ใจของพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า การมีชีวิตอยู่หรือว่าตายไปนั้น ใจท่านเสมอกันด้วย ใจของพระอรหันต์ก็เป็นแบบนั้น ไม่ได้คิดว่า ตายๆ แล้วจะมีความสุขนะ

ของเราเวลาความทุกข์บีบคั้นมากๆ จะรู้สึกว่าตายซะได้จะมีความสุข หรือบางคนก็ตายแล้วคงลำบากนะ มีชีวิตอยู่นี่ล่ะดีกว่า นี่มันไม่เสมอภาคกัน ไม่เสมอภาคทุกเรื่องเลยนะในธรรมะที่เป็นคู่ๆ ไม่มีเสมอภาคหรอก เพราะฉะนั้นใจเรานี่เองที่ดิ้นรนไปเรื่อยๆ

เคยอ่านเว่ยหล่างไหม สูตรของเว่ยหล่าง ที่พระสององค์นั่งเถียงกันนะว่า ลมที่พัดธงแล้วธงสะบัด พระเถียงกันว่า ลมไหวหรือธงไหว ท่านเว่ยหล่างชี้ขาดว่า จิตไหวต่างหาก นั่งเถียงสิ่งที่เป็นคู่มันอะไรแน่ อะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรชั่ว หลงอยู่ในสิ่งที่เป็นคู่ๆๆ ตลอดเวลาเลย พอเราหลงในสิ่งที่เป็นคู่ใจก็ดิ้นรนทำงานไปเรื่อยๆ ในขณะที่ธรรมแท้เป็นหนึ่งนะ จิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ไม่มีธรรมคู่นะ จิตก็เป็นหนึ่ง มีสันติสุขอยู่อย่างนั้นแหละทั้งวันทั้งคืน ไม่กวัดแกว่ง แกว่งขึ้นแกว่งลง ฟูขึ้นแฟบลงไม่มี ไม่มีวิ่งไปวิ่งมาอะไรเลย เป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้นแหละ มีแต่ความสุข มีสันติสุขอยู่ในตัวเอง เรียกว่า จิตหนึ่ง ธรรมที่ไปเห็นนะ ก็ไปเห็นธรรมหนึ่ง

ในขณะที่พวกเราไม่เคยเห็นธรรมหนึ่ง เราเห็นแต่ธรรมคู่ ธรรมที่เป็นคู่ๆ สุขทุกข์ ดีชั่ว กายกับใจ นี่ก็คู่หนึ่ง สุขทุกข์ ดีชั่ว กุศลอกุศล กลางวันกลางคืน หลับตื่น มีชีวิตหรือว่าตาย เป็นคู่ๆๆ ตลอด แล้วก็หลงกับมัน หลงจริงจังกับมัน ถ้าเรียนรู้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่งใจจะเป็นกลางนะ เป็นกลางมีแต่ความสุขล้วนๆ เลย หลวงปู่มั่นท่านเรียกว่า ‘ฐีติจิต’ จิตที่เป็นหนึ่งนี่ ธรรมที่เป็นหนึ่งท่านเรียก ‘ฐีติธรรม’ ฐีติจิต-ฐีติธรรม ไม่ใช่ฐิตินาถนะ  ฐีติจิต-ฐีติธรรม ฐีตินาถจริงๆ ก็ต้องเป็นชื่อของนิพพานเหมือนกัน บางองค์ท่านเรียกว่า ‘จิตเดิมแท้’ บางองค์เรียก ‘จิตหนึ่ง’ บางองค์เรียกว่า ‘ใจ’ บางองค์เรียก ‘จิตเดียว’ แล้วแต่สำนวนนะ ถ้าสำนวนอภิธรรมเรียก ‘มหากิริยาจิต’ เป็นอันเดียวกัน มีหลายชื่อแล้วแต่จะเรียก

มันจะเป็นหนึ่ง ไม่ใช่จิตทีหลงยินดียินร้ายกับอะไร มีแต่ความสุขนะ ประหลาดมากเลย เป็นความสุขที่แปลกประหลาด เวลาเราเห็นโลกนี่จะเห็นโลกนี้ราบ เสมอกันหมดเลย ผู้หญิงผู้ชาย เด็กผู้ใหญ่ คนหรือหมาหรือแมว สิ่งมีชีวิตสิ่งไม่มีชีวิต จะเห็นว่าจริงๆ แล้วมันเป็นอันเดียวกันหมดเลย ราบเป็นอันเดียวกันหมดเลย

คนถ้าหลงในสมมุติบัญญัติก็จะไม่เป็นอันเดียวแล้ว เป็นคู่ๆ มีผู้หญิงมีผู้ชาย มีเด็กมีผู้ใหญ่ มีคนมีสัตว์อะไรขึ้นมา เสร็จแล้วมันก็จะอยากอันหนึ่งเกลียดอันหนึ่งขึ้น มันก็ดิ้น ดิ้นแล้วก็ทุกข์ แค่นี้แหละ ง่ายนะ ง่ายสุดขีดเลย

สวนสันติธรรม

CD: 17
File: 500105.mp3
Time: 4.25-12.57

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อินทรีย์ ๕ กำลังในการปฏิบัติ

mp 3 (for download) : อินทรีย์๕ กำลังในการปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จริงๆ กำลังในการปฏิบัติมี ๕ อัน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องคอยเช็คตัวเองว่า อันใดมากอันใดน้อยไป เช็คตัวเองแล้วก็ปรับสมดุลมันไป ถ้าเราดูของเราออก เราก็แก้ไปเองได้ เอาตัวรอดไปได้ ดูไม่ออกก็อาศัยเพื่อนสหธรรมิก อาศัยครูบาอาจารย์ กัลยาณมิตร อะไรอย่างนี้ บอกให้ แต่ที่ดีที่สุดนะ อาศัยการสังเกต หลวงพ่ออาศัยการสังเกตมากเลยเพราะไม่ได้อยู่กับครูบาอาจารย์ หลวงพ่อสามเดือนสี่เดือนไปทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น เวลาที่เหลือนี่ใช้การสังเกตเอา

บางช่วงศรัทธามากไป ชักจะโง่แล้ว งมงาย คิดว่าทำๆ ไปเดี๋ยวมันก็พ้นเอง นี่ค่อนข้างโง่นะ ทำๆ ไป มันต้องมีเหตุมีผลนะ ไม่ใช่ดุ่ยๆ ไปเรื่อย ทำผิดทำถูกหรือเปล่าไม่รู้นี่ ไม่ใช่ทำไปเรื่อยๆ แล้วก็บรรลุได้นะ ถ้าทำผิดมันไม่บรรลุหรอก มันต้องมีสติปัญญารู้เลย ไม่ใช่เชื่องมงายนะว่าทำๆ ทนๆ ไปแล้ววันหนึ่งรู้ ไม่ใช่

มีความเพียร ความเพียรมากไป หรือความเพียรน้อยไป วัดตัวเองดู บางช่วงขี้เกียจขี้คร้าน ก็เอาข้ออ้างนะ มีข้ออ้างนะ เวลาขี้เกียจขึ้นมาก็บอกว่า โอ จิตมันไม่ใช่เรา ไม่รู้จะขยันไปทำไม ไม่ใช่เรา ถ้าขยันเดี๋ยวจิตเป็นเราขึ้นมาอีก นี่ หาข้ออ้าง บางช่วงขยันเกินไป ภาวนาหามรุ่งหามค่ำจิตใจไม่ได้พักผ่อนเลย ไม่มีความสุข แห้งแล้ง เหน็ดเหนื่อยเกินไป ใช้ไม่ได้เหมือนกัน

สติ สติของเราเกิดเอง หรือว่าสติบังคับให้เกิด สติเกิดเองใจก็โปร่งโล่งเบา สติบังคับให้เกิดนี่ใช้ไม่ได้ หรือสติคมกล้าเกินไป แข็งไป แข็งปึกเลย อะไรไหวแว๊บนี่รู้หมดเลยนะ รู้แบบคมกริบเลย คมเกินไปก็ใช้ไม่ได้อีก ต้องค่อยๆ สังเกตตัวเอง

สมาธิ ใจเราตั้งมั่นจริงไหม หรือใจเราไปซึมเซาอยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง หรือว่าใจเราตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็นอารมณ์ ต้องคอยสังเกตเอา บางช่วงภาวนาไปแล้วเห็นสภาวะนะไม่ขาดสักทีหนึ่ง ดูใหญ่ๆ อยากให้มันขาดนะ เห็นแต่มันเกิดดับๆ ไปเรื่อยนะ ไม่ขาดไป สังเกตให้ดี ขาดสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ขึ้นมา หรือทำสมาธิพักผ่อนนิดเดียวนะ พอถอยออกมาเห็นสภาวะนะขาดสะบั้นเลย นี่สมาธิไม่พอ ต้องสังเกตเอา

ปัญญาก็ต้องสังเกตนะ ปัญญาฟุ้งซ่าน หรือว่าปัญญารู้จริงๆ ปัญญาคิด ปัญญานึก ปัญญาน้อม ปัญญาฟุ้งซ่าน ปัญญารู้ก็ปัญญาตัวจริง แต่บางครั้งก็ต้องอาศัยการคิดการน้อมเหมือนกัน มีศิลปะนะ มันไม่ใช่เป็นศาสตร์อย่างเดียวนะ การปฏิบัติเป็นศิลปะด้วย อีกหน่อยใครมีศิลปะเก่งๆ หลวงพ่อจะออกใบรับรองประกอบโรคศิลป์ มีศิลปะนะ มีศิลปะในการปฏิบัติ มันเป็นชั้นเชิงนะ เราไม่ได้วัวได้ควายมีแต่เรี่ยวแรงแล้วทุ่มเอาๆ หรือว่าชั้นเชิงมากจนไม่ต่อยสักทีนะ ฟุตเวิร์คสวยอยู่อย่างนั้น ก็ไม่ได้กินอีกนะ

นี่มันต้องสังเกตตัวเองเลย ทั้งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี่มันพอเหมาะพอควรไหม อันใดมากอันใดน้อยใช้ไม่ได้ นี่สติ ยกเว้นสตินะ สติยิ่งบ่อยยิ่งดี แต่สติกล้าแข็งไม่ดี ศรัทธามากก็โง่ วิริยะมากก็ฟุ้งซ่าน เหน็ดเหนื่อย สมาธิมากก็ซึมเซา ปัญญามากก็ฟุ้งซ่านอีก หรือไม่เชื่ออะไรเลย เชื่อตัวเอง กูเก่งๆ พวกปัญญากล้า ปัญญาอย่างนี้ไม่ใช่ปัญญาทางศาสนาพุทธหรอก ปัญญาคิดมาก

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500106.mp3
Time: 12.17 – 17.25

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานนั้นเบื้องต้นทำให้เกิดสติ เบื้องปลายทำให้เกิดปัญญา

mp3 (for download) : สติปัฎฐานนั้นเบื้องต้นทำให้เกิดสติ เบื้องปลายทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราต้องฝึกนะ ฝึกจนสติแท้ๆ เกิดขึ้นมา สติแท้ๆ คือความระลึกได้ สติแท้ๆ เกิดจากจิตจำสภาวะได้ จิตจำสภาวะได้เพราะหัดตามรู้สภาวะบ่อยๆ หัดตามรู้กายบ่อยๆ หัดตามรู้เวทนาบ่อยๆ หัดตามรู้จิตบ่อยๆ หัดตามรู้สภาวธรรมทั้งรูปธรรมนามธรรมบ่อยๆ

เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานนี่ จริงๆ แล้วมีสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง รู้กาย เวทนา จิต ธรรม ไปเรื่อยๆ เพื่อให้จิตจำสภาวะได้แล้วสติจะเกิดขึ้นเอง งั้นสติปัฏฐานนี่เบื้องต้นทำให้เกิดสติ เรารู้เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน นะ คอยรู้สึกไป อย่าใจลอย แล้วก็อย่าเพ่งอยู่ที่กาย จะดูจิตดูใจ เราก็ดูจิตใจไป อย่าใจลอย แล้วก็อย่าไปเพ่งอยู่ที่จิต จะรู้เวทนานะ ก็อย่าใจลอยไป แล้วก็อย่าไปเพ่งเวทนา สิ่งที่ผิดมีสองอัน เผลอไปกับเพ่งเอาไว้ เพ่งแล้วมันจะนิ่ง ไม่สามารถรู้สภาวะตรงตามความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานเบื้องต้น รู้กาย เวทนา จิต ธรรมไป แต่แบบไม่เพ่ง แล้วก็ไม่ใจลอยลืมมันไป รู้บ่อยๆ เท่าที่รู้ได้ จนจิตจำสภาวะได้แล้วสติจะเกิดขึ้น นี่สติปัฏฐานขั้นที่หนึ่ง

เมื่อสติเกิดขึ้นแล้ว จิตใจตั้งมั่น สัมมาสมาธิจำเป็น มีจิตใจที่ตั้งมั่น ตรงนี้ต้องเรียนนะ บทเรียนเรื่องสัมมาสมาธิอยู่ในเรื่องจิตสิกขา ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา ต้องเรียนให้ครบนะ เราต้องเรียนจนกระทั่งจิตของเราตั้งมั่นเกิดสัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ สมาธิที่พวกเราฝึกมันเป็นมิจฉาสมาธิเป็นส่วนมาก เป็นสมาธิเพ่ง จ้อง บังคับ สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น สักว่ารู้ สักว่าเห็นสภาวธรรม ตั้งมั่นกับตั้งแช่ลงไปไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าจิตใจเราตั้งมั่น แล้วก็มีสติระลึกรู้รูป สติระลึกรู้นาม มันจะเกิดปัญญาขึ้นมา เห็นความจริงของรูปของนาม เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานเบื้องปลายนี่ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญา มีสติรู้รูป รู้นาม รู้กาย รู้ใจ ไปด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา ต้องมีจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางคือสัมมาสมาธิ ถึงจะเกิดปัญญานะ เพราะสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าขาดสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูล่ะก็ไม่เกิดปัญญาหรอก จะเป็นผู้เพ่ง ผู้จ้อง ผู้บังคับ

ปัญญาที่เกิดขึ้นก็คือการเห็นกาย เห็นใจ เป็นไตรลักษณ์นั่นเอง เบื้องต้นเห็นก่อนไม่ใช่เรา พอเห็นตรงนี้นะ จิตบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ตัวเราไม่มี รู้กายรู้ใจต่อไป เห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆ เลยนะ จิตปล่อยวางความยึดถือกาย เป็นพระอนาคา สุดท้าย จิตมันจะรวมลงมาที่จิต มารู้อยู่ที่จิต เรียนรู้จนกระทั่งปล่อยวางจิต สมมุติเรียกว่าพระอรหันต์ ต้องใช้คำว่า สมมุติ นะ พระอรหันต์ไม่เคยรู้สึกว่ามีพระอรหันต์ เป็นของสมมุติขึ้นมา นี่เส้นทางพันทุกข์ ทางสายเอก ทางสายเดียวที่เราต้องเรียน

CD สวนสันติธรรม 19

500310A

28.16 – 31.27

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัวใจในการภาวนาในทางสายเอกนี้คือคำว่ารู้นั้นเอง

mp3 (for download) : หัวใจในการภาวนาในทางสายเอกนี้คือคำว่า “รู้” นั้นเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราสังเกตไหมในสติปัฏฐานนี่ ในมหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นทางเอกทางสายเดียวนะเพื่อการพ้นทุกข์ ลองดู verb ดูกิริยาในสติปัฏฐานมีกิริยาอยู่คำเดียวเอง คำว่า ‘รู้’ มีอยู่คำเดียวนะ กิริยาจริงๆ เลย คือคำว่า ‘รู้’ นั่นเอง ที่เป็นหลักจริงๆ

ท่านบอกหายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้ ท่านไม่ได้บอกว่าหายใจออกให้กำหนดไว้เจ็ดฐาน หกฐาน ห้าฐาน สิบฐาน ไม่มีนะ ท่านบอกหายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้ ยืนอยู่ก็รู้ เดินอยู่ก็รู้ บางทีใช้คำว่ารู้ชัดก็มี เดินอยู่ก็รู้ชัด นั่งอยู่ก็รู้ชัด คำว่ารู้คืออะไร รู้ที่ท่านพูดมีความหมายนะ มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ นะสอน จิตใจเป็นกุศลก็รู้ จิตใจมีความโลภก็รู้ มีความโกรธก็รู้ มีความหลงก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ สังเกตให้ดีนะ มีแต่คำว่า ‘รู้’ เต็มไปหมดเลยในสติปัฏฐาน จิตมีนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์ก็รู้ รู้ชัด มีพยาบาทนิวรณ์ก็รู้ เห็นไหม จิตมีอะไรต่ออะไรขึ้นมา ‘รู้’ ท่านสอน

เพราะฉะนั้น กิริยาที่เป็นหัวใจของการภาวนาในทางสายเอกทางสายเดียวคือคำว่า ‘รู้’ นี่เอง คำว่า ‘รู้’ มีสองนัยนะ อันแรก มีสติรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏ คือรูปธรรมและนามธรรมที่กำลังปรากฏ อันที่สอง มีปัญญารู้ความจริงของสภาวะรูปและนามอันนั้น ความจริงของสภาวะรูปและนามก็คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เพราะฉะนั้น คำว่า ‘รู้’ นี่ครอบคลุมนัยสองประการนี้ อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวเรา ถ้ารู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสายเอกทางสายเดียวเพื่อความพ้นทุกข์

CD สวนสันติธรรม 19

500310A

26.14 – 28.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนไม่มีศีลนั้นเปลือกนอกดูสวยงามแต่เน่าอยู่ข้างใน

mp3 (for download) : คนไม่มีศีลนั้นเปลือกนอกดูสวยงามแต่เน่าอยู่ข้างใน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตเน่าในคือพวกไม่มีศีลธรรม ก่อกรรมทำชั่ว บางคนดูถูกศีลนะ เจริญปัญญาได้แล้วไม่ต้องถือศีล เข้าใจผิด ไม่ถือศีลไม่ได้ ถ้าเราไม่ถือศีลนะปัญญาของเราจะเป็นปัญญาของมหาโจร งั้นเราต้องมีศ๊ล ถ้าเราทุศีลเมื่อไหร่นะก็เน่าอยู่ข้างใน เปลือกนอกดูสวยงามแต่เน่าอยู่ข้างใน นี่บรรลุมรรคผลไม่ได้

CD สวนสันติธรรม 19

500310B

36.15 – 36.44

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติธรรมคล้ายขับรถ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก

mp 3 (for download) : การปฏิบัติธรรมคล้ายขับรถ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านสอนสมาธินะ พอจิตใจเราสงบ เช่น เราพุทธโธ หรือ หายใจ จิตใจสงบแล้วมักจะขี้เกียจขี้คร้าน เพราะมีความสุข ท่านจะไล่ให้ออกมาพิจารณากาย หรือ ออกมาเจริญสติข้างนอกนี้ คนที่ติดในความสุข ความสงบ พอตัวเองออกมาทำงาน ไม่ชอบนะ มันเหนื่อย เหนื่อย มันคล้ายๆเรานอนมานานแล้วเลยขี้เกียจออกจากบ้าน พอออกมาแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก รู้สึกร้อนมาก แต่พอเราออกมาทำงานไปเรื่อยๆ บางทีทำงานไปช่วงหนึ่ง เพลินกับงาน ไม่ยอมพักแล้ว คราวนี้เพลินกับงาน ครูบาอาจารย์ก็จะบอกว่า “ไปเพิ่มสมถะหน่อยช่วงนี้ ทำความสงบบ้าง พักบ้าง ให้จิตทำงานทั้งวันทั้งคืนไม่ดี ไม่มีแรง”

การปฏิบัติธรรมคล้ายๆขับรถนะ บางเวลาก็ต้องเหยียบคันเร่ง บางเวลาก็เหยียบเบรก ขาที่เหยียบคันเร่งกับขาที่เหยียบเบรกขาเดียวกัน ใช่ไหม ไม่ใช่เหยียบคันเร่งพร้อมกับเหยียบเบรก บางเวลาเราก็ต้องทำความสงบเข้ามา บางวันสงบมากแล้วนะ ก็ต้องออกมารู้กายรู้ใจ ฝืนๆมัน มันไม่อยากดู ไม่อยากรู้ เพราะว่ามันไม่สบาย

เคยอ่านประวัติท่านอาจารย์มหาบัว ท่านเล่า เคยอ่านไหม ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น บอกว่า ช่วงแรกๆไปอยู่กับหลวงปู่มั่นนะ เช้าๆหลวงปู่มั่นจะถามว่า “ท่านมหาท่านภาวนาเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า มีความสุข ความสงบ” ทุกวันรายงานอย่างนี้ นานๆไป หลวงปู่มั่นท่านก็ดุเอานะว่า เอาแต่ความสุข ความสงบไม่ได้ ให้ออกมาพิจารณา ออกมารู้กายรู้ใจ ก็รู้ไปเถอะ พอท่านออกมาพิจารณา ท่านเริ่มต้นด้วยพิจารณากาย พิจารณาไปเรื่อย แล้วก็เพลิดเพลิน เช้าๆหลวงปู่มั่นมาถามอีก ท่านก็บอก หมู่นี้มีปัญญาดี เจริญปัญญา ทุกวันพูดแต่เจริญปัญญานะ ลืมสมถะอีก ท่านบอกจิตของท่านมันโลดโผน

เพราะฉะนั้น เราต้องดูตัวเองนะ ช่วงไหนควรเจริญปัญญา ช่วงไหนควรทำสมถะ สมถะเป็นที่พักผ่อนนะ ที่ดีไม่ใช่ไม่ดีนะ บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด เจริญสติในชีวิตประจำวัน นึกว่าหลวงพ่อบอกไม่ต้องทำสมถะ เราทำเท่าที่เราทำได้ บางคนทำอย่างไรมันก็ทำไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้เลย ก็ไหว้พระสวดมนต์ไว้ก็ยังดีนะ ได้สมถะนิดๆหน่อยๆ

สวนสันติธรรม CD: 16
File: 25491104.mp3
Time: 25.55-28.33

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใจเราที่มีความทุกข์เพราะเรายอมรับความจริงไม่ได้

mp3 (for download): ใจเราที่มีความทุกข์เพราะเรายอมรับความจริงไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นรู้สึกกายรู้สึกใจนะ กระทั่งเวลาเราจะตายขึ้นมา ดูร่างกายมันตาย แต่ใจของเราเป็นแค่คนดู ดูไปสบายๆ อะไรเกิดขึ้นในชีวิตนะรู้มันไป รู้ไปสบายๆ อย่างสมมุติว่าอยู่ๆ ตรวจร่างกาย หมอบอกเป็นมะเร็ง ทุกวันนี้คนเป็นมะเร็งเยอะมากเลย นะ หมอบอกว่าเป็นมะเร็ง เราก็ดูไปร่างกายมันเป็นมะเร็งนะ รักษาได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้เดี๋ยวก็ตาย ตอนจะตายก็นอนดูมันตายไป นะ ดูร่างกายมันตาย อย่าไปทุรนทุรายว่าอยากให้หาย อยากให้มันอายุยืนอะไรอย่างนี้

ถ้ามันอยู่ไม่ได้ก็ยอมรับสภาพ ถ้าเมื่อไหร่เรายอมรับสภาพนะ ใจเราจะสงบสุข ใจเราที่มีความทุกข์เพราะใจเรายอมรับความจริงไม่ได้ อย่างเราจะต้องแก่เรายอมรับไม่ได้เราก็กลุ้มใจใช่มั้ย ต้องไปหาอะไรมาทา สาวๆเนี่ยพอเริ่มใกล้วัยสามสิบชักกลุ้มใจละ ส่องกระจก อื้อตายละ ตีนกาขึ้น มีเงารางๆขึ้นมาละ นะ เป็นลางร้ายในชีวิต หาอะไรต่ออะไรมาทานะ ทาไปจนอายุสี่สิบ อื๊อ..มันเยอะกว่าเก่า ยังพากเพียรไม่เลิกยังสู้อีกนะ พออายุหกสิบแล้ว ป่วยการทาช่างมันเถอะ

ถ้าจะแก่แล้วยอมรับว่าแก่นะ ไม่กลุ้มหรอก ถ้าเจ็บยอมรับว่าเจ็บนะไม่กลุ้มหรอกนะ ถ้าจะตายต้องยอมรับว่า เออ..ร่างกายมันถึงเวลามันต้องตายก็ไม่กลุ้มหรอก เวลาเราจะต้องเจอสิ่งที่ไม่รัก เรายอมรับสภาพความจริง มันต้องเจอน่ะ คนเราต้องเจออะไรที่มันไม่ดีในชีวิตบ้าง เจอเสื่อมลาภเสื่อมยศ เจอนินทา เจอทุกข์อะไรอย่างนี้ ถ้ายอมรับได้มันก็ไม่ทุกข์นะ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็ตัดพ้อต่อว่า ตีโพยตีพาย โทษใครไม่ได้ก็โทษดวง เอาดวงเอาอะไรมาอ้าง โทษคนอื่น ว่าคนอื่นมาทำเรา โทษโน่นโทษนี่ไป ยกเว้นโทษกิเลสตัวเองน่ะไม่โทษเลย สงวนรักษาที่สุดเลย นะ ตีโพยตีพายไป

หรือเราต้องเจอ ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เนี่ย นี่เป็นธรรมดาของโลก ไม่มีใครหรอกได้อยู่กับคนที่เรารักตลอดเวลา ถึงวันหนึ่งก็ต้องพลัดพรากใช่มั้ย มาคนเดียวไปคนเดียว ถึงเวลาก็พลัดพราก นะ ถ้าใจยอมรับไม่ได้ใช่มั้ย โอย..เสียดาย ต้องจากคนนี้ไปแล้ว จากภรรยาจากสามีไป จากลูก นะ นี่ห่วงมากเลย ตายแล้วไปเป็นเปรต เป็นเปรต ทำไมเปรตต้องคอยาว เพราะชะเง้อดูคนอื่นเขาเรื่อยๆ ชะเง้อ.. นะ  น่าสงสารนะ

แต่เปรตบางตัวสวยนะ … มีคนเล่าให้ฟัง มีคนใกล้ชิดเล่าให้ฟัง ว่าเคยเห็นเปรตพระนะ โอ้เปรตพระงดงาม พระเป็นเปรตเยอะนะ ไม่ใช่ไม่มี แต่ว่าถือศีลอยู่ ถือศีลอยู่แล้วก็สวยสดงดงาม แต่พลาดพลั้ง นะ เปรตพระนั้นหลงป่า หิวข้าว เที่ยวหาอาหาร หิวน่ะ ตายไปในขณะที่โลภะเกิด นะ ก็เป็นเปรต ยังเที่ยวเดินว่าจะหาทางออกจากป่ามาบิณฑบาตได้อย่างไร แต่ถือศีลมาดีนะ ก็เลยผ่องใสงดงาม ไม่ ไม่เกี่ยวกัน เพราะฉะนั้นเปรตสวยๆก็มีนะ เปรตน่าเกลียดก็มี คนสวยๆก็มี คนน่าเกลียดก็มี ใช่มั้ย ธรรมดา

ถ้าเมื่อไหร่ใจเรายอมรับทุกสิ่งที่มันกำลังปรากฎขึ้นในชีวิตเราได้เราจะไม่ทุกข์ อย่างคนกรุงเทพฯ ไปไหนมาไหนรถติด อยากให้ไม่ติดนะ จะทุกข์มากเลย ถ้ายอมรับสภาพว่า เออ..รถมันติดน่ะ เราก็เป็นคนหนึ่งที่ทำให้รถติดนะเพราะเพิ่มรถมาอีกคันหนึ่ง นะ ถ้ายอมรับสภาพได้ รถมันต้องติด มันก็ไม่กลุ้มนะ ยอมรับได้ว่าต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย มันก็ไม่กลุ้ม ยอมรับว่าจะต้องพบกับสิ่งที่ไม่รัก ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็ไม่กลุ้มใจ มันอยู่ที่ว่าใจเรายอมรับความจริงได้มั้ยที่กำลังปรากฎขึ้นมา ถ้าใจเรายอมรับสภาวธรรม ยอมรับความจริงที่กำลังปรากฎได้เราก็ไม่ทุกข์ ถ้ายอมรับไม่ได้ก็มีความทุกข์เกิดขึ้น

ทีนี้ทำอย่างไรจะยอมรับได้ ต้องไม่หนีความจริง นะ คอยดูกายคอยดูใจ ความทุกข์มันอยู่ที่กายที่ใจนี้แหละ คอยดูกายดูใจของตัวเองนะ อย่าดูของคนอื่น

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗
FILE: 511204
นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๓ ถึงนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิจจสมุปบาทและอริยสัจจ์

mp 3 (for download) : ปฎิจจสมุปบาท และอริยสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเราเห็นจิตใจตัวเองอยู่นะ เราจะเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจที่จะปรุงแต่งความทุกข์ขึ้นมา ไปเห็นปฏิจจสมุปบาท แต่โดยธรรมชาติของปุถุชนจะเห็นได้ไม่ตลอดสาย จะเห็นท่อนปลายๆก่อน เช่นว่าเห็นว่ามีผัสสะ แล้วก็เลยเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมาเพราะการกระทบอารมณ์ ถ้ากระทบทางตาหูจมูกลิ้น สี่ทวารนี้ กระทบแล้วเฉยๆ  ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ตรงที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์เนี่ย โมหะแทรกง่าย ตรงกระทบทางกายกับทางใจเนี่ย มีสุขมีทุกข์ขึ้นมา นะ พอมีความสุขเกิดขึ้นราคะก็แทรก มีความทุกข์เกิดขึ้นโทสะก็แทรก มันจะแทรกเข้ามา

พอราคะ โทสะ โมหะ มันแทรกตัวเข้ามาในจิตแล้วเนี่ย มันจะผลักดันให้จิตทำงาน นะ เช่น โทสะเกิดขึ้น มันก็อยากให้สภาวะอันนี้หายไป เกิดตัณหาขึ้นมา โลภะเกิดขึ้นก็อยากให้สภาวะนี้คงอยู่นานๆ โมหะเกิดขึ้นนะมันก็อยากรู้ให้ชัดๆ หรือถ้าจิตฟุ้งซ่านก็อยากให้สงบ ความอยากเกิดขึ้น ทันทีที่ความอยากเกิดขึ้นนะ ใจเกิดการดิ้นรน มันจะเข้าไปจับอารมณ์ให้มั่นๆ เข้าไปเกาะ

เพราะฉะนั้นเวลาใจเกิดความอยากขึ้นมานะ ใจจะทะยานเข้าไปเกาะอารมณ์ ไปเกาะอย่างแรงๆเลย ตรงที่จิตไปเกาะอารมณ์อย่างรุนแรงเรียกว่ามีตัณหา มีตัณหาอย่าแรงเนี่ย ตัณหาอย่างแรงนี่ล่ะเรียกว่าอุปาทาน เพราะฉะนั้นองค์ธรรมของอุปาทาน องค์ธรรมของตัณหาเป็นอันเดียวกัน คือโลภะ คือตัณหานั่นเอง แต่อุปาทานเป็นตัณหาที่มีกำลังแรงกล้า ไม่ใช่อยากเฉยๆหรอก แต่อยากแล้วกระโดดใส่เลย พอมันกระโดดเข้าไป จิตก็เกิดการทำงานขึ้นมา การทำงาน เช่น ไปดึงอันนี้ไว้ ไปผลักอันนี้ไว้ ไปค้นคว้าหาทางทำอย่างไรจะรู้ชัด ทำอย่างไรจิตจะตั้งมั่น นี่เรียกว่าการทำงานของจิต การทำงานของจิตนี่แหละเรียกว่าภพ ชื่อเต็มๆคือคำว่า “กรรมภพ”

เมื่อจิตมันทำกรรมขึ้นนะ มันจะรู้สึกว่า “เรามีอยู่” จะรู้สึกว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ นะ เพราะฉะนั้นอาศัยการทำกรรมนี้ก็เลยรู้สึกว่าเรามีอยู่ ตัวเรา เป็นความรู้สึก ตัวเราจริงๆไม่มี พอมันมีอยู่นะ มันก็รู้สึกว่า “กายนี้เป็นตัวเรา ใจนี้เป็นตัวเรา” ขึ้นมา มันก็เลยมีที่รองรับความทุกข์ขึ้นมา ความทุกข์มีที่ตั้งแล้ว เนี่ยเราจะเห็นอย่างเก่งที่สุดเห็นได้เท่านี้แหละ เราจะไม่สามารถทวนลงไปเห็น เช่นว่า วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป เริ่มดูยากแล้ว หลวงพ่อยังไม่เจอ ว่าปุถุชนเห็นตรงนี้ วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป เราจะคิดเรื่องแต่ว่า เกิดปฏิสนธิจิต ลงในภพใหม่ อันนี้ปุถุชนเห็นได้ แต่ว่าจิตที่หยั่งลงไป แล้วก็เกิดกายเกิดใจขึ้นมา มองไม่เห็น ตัวนี้ไม่เห็น จะเห็นตรงนี้ได้ต้องทำจิตเข้าไปอัปนาเลยนะ แล้วดับลงไปเลย ดับความรู้สึกลงไปให้ได้

หรืออย่างน้อยๆนะ เข้าไปถึงเนวสัญญา แล้วตอนที่จิตที่หยาบผุดขึ้นมานะ มันจะเห็น มันจะ ความปรุงแต่งผุดขึ้นมาก่อน พอความปรุงแต่งผุดขึ้นมาแล้ว ก็เกิดจิตขึ้นมา มีจิตขึ้นมา ที่ไปรับรู้ความปรุงแต่งนั้น ทีนี้ความปรุงแต่งนี้ พอปรุง ปรุงจิตขึ้นมา จริงๆมันเกิดร่วมกันแหละ พอจิตนี้หยั่งลงไปรู้กาย กายก็ปรากฏ หยั่งลงไปรู้จิต จิตก็ปรากฏ รู้นามธรรมที่ปรากฏขึ้นมา ตรงนี้เห็นยากมากแล้ว ตรงที่ยากสุดๆเลย อวิชา อวิชาเนี่ยสุดยอดแล้ว อย่าว่าแต่ปุถุชนไม่เห็นเลย พระอนาคามีก็ไม่เห็น เพราะถ้าเห็นถึงอวิชานะ วิชาก็เกิดขึ้นมา ก็ทำลายความปรุงแต่ง จิตจะไม่หยั่งลงในภพใดๆ จิตจะไม่ทำงานขึ้นมา

การภาวนาไม่ใช่ อย่างเราอ่านพุทธประวัตินะ ว่าพระพุทธเจ้าพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท ก็นึกว่าท่านคิดๆเอา หลายคนคิดว่า คนอื่นคิดไม่ได้ ต้องพระพุทธเจ้าแล้วคิดแล้วบรรลุพระอรหันต์ได้ เข้าใจผิด ถ้าหากคิดเอาเองแล้วบรรลุพระอรหันต์ได้นะ ทางสายเอก ทางสายเดียวก็จะไม่มี มันจะมีทางสองสาย เป็นทางสำหรับคนทั่วๆไป สายหนึ่งคือการเจริญสติปัฏฐานกับทางเฉพาะพระพุทธเจ้า คือ คิดๆเอาเอง แท้จริงไม่ได้มีอย่างนั้นนะ ทางแห่งความบริสุทธิ์หลุดพ้นมีอยู่ทางเดียวเท่านั้น คือ สติปัฏฐาน

พระพุทธเจ้าบารมีแก่กล้า ท่านทำสติปัฏฐานในหมวดสุดท้าย ในบรรพสุดท้าย หมวดสุดท้ายเลยก็คือ ธรรมานุปัสสนา บรรพสุดท้ายเลยคือเรื่องอริยสัจจ์ ท่านเห็นอริยสัจจ์นั่นเอง ทีนี้กระบวนการเห็นอริยสัจจ์ของท่านนะ ท่านเห็นละเอียดละออ ท่านเห็นมาไล่มา มีสภาวะรองรับมาตั้งแต่ มีทุกข์ขึ้นมา มีทุกข์เพราะมีชาติ มีชาติเพราะมีภพ มีภพเพราะมีอุปาทาน มีอุปาทานเพราะมีตัณหา มีตัณหาเพราะมีเวทนา ความจริงนี่อย่างย่อนะ อย่างละเอียดอย่างที่หลวงพ่อกระจายให้ฟังตะกี้นี้  อย่างก่อนที่เวทนาจะแปรสภาพเป็นตัณหา มีกระบวนการทำงานตั้งเยอะแยะ มันจะมีกิเลสแทรกเข้าในเวทนาก่อน มีกิเลสแทรกเข้ามา  แล้วก็จิตนั้นแหละมันเลยเกิดความอยากไปด้วยอำนาจของกิเลส

นี้เราค่อยภาวนาไปนะ เท่าที่เห็นได้ก่อน ไม่จำเป็นต้องเห็นปฏิจจสมุปบาททั้งสาย พระโสดาบันเหมือนๆจะเห็นทั้งสายนะ พระโสดาบันรู้สึกว่าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทจริงๆไม่เข้าใจหรอก อย่างพระอานนท์นะเคยไปทูลพระพุทธเจ้า บอกว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุปบาทปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นของตื้น เหมือนเป็นของตื้น ตรงนี้ก็เกิดตีความกันใหญ่ว่าทำไมพระอานนท์ว่าตื้น ก็บอกว่าพระอานนท์ Genious มาก ฉลาด ก็เลยรู้สึกตื้นๆ ถ้าพระอานนท์ท่านเห็นแจ่มแจ้งจริงๆ ท่านจะเป็นพระอรหันต์น่ะสิ พระพุทธเจ้าถึงห้ามบอกว่าอย่าพูดอย่างนั้นนะพระอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ลึกนัก ตราบใดที่ไม่เห็นแจ้งปฎิจจสมุปบาทนี้ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก คำว่าเห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาทก็คือ เห็นลงมาถึงอวิชาเลย ไม่ใช่เห็นอยู่ผิวๆบนๆหรอก

พวกเราจะเห็นผิวๆ เห็นท่อนปลายๆ เห็นที่เป็นผลๆมาแล้วนะ เราไม่เห็นรากเห็นเหง้ามัน เพราะฉะนั้นอาศัยความพากเพียรรู้กาย พากเพียรรู้ใจไปเรื่อยนะ ไม่ท้อถอย รู้ทุกวี่ทุกวัน รู้ไปเรื่อยๆ เมื่อไรเข้าใจความเป็นจริงของกายแจ่มแจ้ง เข้าใจความเป็นจริงของจิตใจแจ่มแจ้ง นั่นแหละเรียกว่าวิชา จะละอวิชาลงไป

อวิชาคือความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ไม่รู้ทุกข์เนี่ยตัวต้นตอ ไม่รู้ทุกข์คือ ไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษ พอไม่รู้ทุกข์อย่างนี้ก็เกิดสมุทัย เห็นมั้ย เนี่ย เพราะไม่รู้ทุกข์จึงเกิดสมุทัย ส่วนที่พวกเราเรียนกันได้เนี่ย เห็นภาวนาเบื้องต้นเราจะเห็นว่า ถ้ามีสมุทัยแล้วจะเกิดทุกข์ มีตัณหาขึ้นมาแล้วใจถึงจะมีความทุกข์ รู้สึกมั้ย เกิดความอยาก คนทั่วๆไปยังไม่เห็นด้วยนะ แค่นี้ยังไม่เห็นแล้ว คนทั่วๆไปเห็นว่า ไม่สมอยากถึงจะทุกข์ ส่วนนักภาวนาเนี่ยจะเห็นเลย แค่มีความอยากเกิดขึ้น จะสมอยากหรือไม่สมอยาก จิตก็ทุกข์แล้วเพราะจิตต้องทำงาน เนี่ยนึกว่าเข้าใจอริยสัจจ์ ไม่เข้าใจหรอก

ลำพังเห็นว่าเพราะมีสมุทัยจึงเกิดทุกข์นี้ยังตื้น ต้องเห็นว่า เพราะไม่รู้ทุกข์จึงเกิดสมุทัย นี่ถึงจะลึกซึ้งจริง ไม่รู้ทุกข์คือไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นก้อนทุกข์นะ เป็นตัวทุกข์ เป็นธาตุ ธาตุที่มันเป็นทุกข์ พอไม่รู้ว่าเป็นตัวทุกข์ เป็นตัวดีตัววิเศษ คิดว่ามันเป็นตัวเรา เนี่ย เพราะความไม่รู้แท้ๆเลย มันก็เกิดความอยาก ที่จะให้กายนี้ใจนี้มีความสุข อยากให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มีความอยากขึ้นมา

พอเกิดความอยากใจก็เกิดการดิ้นรน พอใจดิ้นรนเกิดความทุกข์อีกชนิดหนึ่งขึ้นมา ความทุกข์เพราะตัณหาไม่ใช่ความทุกข์เพราะขันธ์ ในขณะที่ตัวอริยสัจจ์นี้นะ ความทุกข์คือทุกข์ของขันธ์นะ ขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ ท่านถึงสอนว่า ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ทำไมต้องมีคำว่า อุปาทาน ทำไม่บอกว่า ว่าโดยย่อขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ เพราะขันธ์ ๕ บางตัวไม่ใช่ตัวทุกข์ ขันธ์ ๕ ยังมีสองส่วนนะ ส่วนที่เป็นตัวทุกข์กับส่วนที่ไม่ใช่ตัวทุกข์ ส่วนที่ไม่ใช่ตัวทุกข์คือบรรดาโลกุตรจิตทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจะไม่เอาโลกุตรจิตมาทำวิปัสสนานะ แล้วก็ไม่มีจะทำด้วย

ให้เราใช้จิตธรรมดนี่แหละ จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล จิตที่เป็นวิบากพื้นๆนี่แหละ ให้คอยรู้คอยดูมันเรื่อยๆไป แต่ถ้าภาวนาไปจนถึง เห็นมหากริยาจิต จิตของพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องทำวิปัสสนาอีก เพราะฉะนั้นวิปัสสนาเราใช้จิตพื้นๆนี่ล่ะ จิตมนุษย์ธรรมดานี่ล่ะ เพราะฉะนั้นการที่เป็นมนุษย์ถึงดีที่สุด วิเศษที่สุดเลย เพราะเรามีจิตที่เหมาะแก่การทำวิปัสสนามากเลย

จิตของพรหมไม่ค่อยเหมาะนะ มันนิ่งเกินไป มันคงที่มากไป แต่จิตมนุษย์เนี่ยกลับกลอกรวดเร็ว เปลี่ยนไปเปลี่ยนมารวดเร็วมากเลย แสดงไตรลักษณ์อย่างรวดเร็วเลย พอเราเห็นไตรลักษณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกนะ ตลอดเวลาอยู่นั้น ไม่นานใจก็ยอมรับความจริงได้ ว่าจิตนี้ก็ไม่ใช่เราหรอก ได้โสดาฯ แล้วก็ดูกายดูใจไปเรื่อยนะ ถึงวันหนึ่งแจ่มแจ้งเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆนะ ไม่ยึดกาย ได้พระอนาคาฯ ดูลงไปอีกนะ ถึงจิตถึงใจแล้วปล่อยวางจิตได้ ไม่ยึดจิตน่ะ ถึงจะจบกิจทางศาสนาแล้วยังไม่ยึดถืออะไรในโลกอีกแล้ว ใจจะร่อนอยู่ตลอดเวลาเลยนะ ใจจะไม่เข้าไปเกาะไปเกี่ยวอะไรโดยที่ไม่ต้องระวังรักษาเลย ทั้งหลับทั้งตื่นเลยนะ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน มันจะมีแต่ความเป็นอิสระ เบิกบาน อยู่ล้วนๆอยู่อย่างนั้นเอง

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ลงมานะ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ จนรู้แล้ว กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ มันจะสลัดคืน ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจ คืนกายคืนใจให้โลกเขาไป ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจเนี่ย สมุทัยจะดับอัตโนมัติ เพราะสมุทัยมันคือความอยากให้กายให้ใจมีความสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ ทำไมต้องอยาก อยากเพราะว่ามันเป็นตัวเรา พอมันไม่เป็นตัวเราแล้ว สลัดคืนสลัดทิ้งไปแล้วจะอยากทำไม เห็นมั้ย สมุทัยดับเองนะ เพราะว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยจะดับอัตโนมัติเลย

ทันทีที่สมุทัยดับเนี่ย นิโรธจะปรากฎในขณะนั้นเลย คือนิพพานจะปรากฎขึ้นต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่มีสภาวะที่ต้องเข้าๆออกๆ นิพพานที่ต้องเข้าๆออกๆไม่ใช่นิพพานตัวจริง อย่างต้องนั่งสมาธิแล้วก็เคลิ้มๆดับลงไป หมดความรู้สึก บอกว่าเข้านิพพาน ไม่ใช่ นิพพานไม่อนาถาอย่างนั้นนะ นิพพานไม่ได้เกิดไม่ได้ดับ นิพพานเต็มบริบูรณ์อยู่อย่างนี้เอง ครอบโลกธาตุทั้งหมดอยู่อย่างนี้เอง ไม่มีความเกิดไม่มีความดับ เที่ยง มีแต่สันติสุข มีความสุขมหาศาลนะ จิตที่ไปรู้นิพพาน ก็ได้รับความสุขของนิพพานนั้นมหาศาลเลย

เพราะฉะนั้นนิพพานไม่ใช่ว่าแปลว่าไม่มีอะไรเลย ไม่มีอะไรเลยเป็นมิจฉาทิฎฐิ เรียก นัฏฐิกทิฎฐิ ไม่มีอะไรเลย หรือสูญไปหมดเลย เรียก อุจเฉทิกทิฎฐิ แต่นิพพานไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่าเป็นภพอันใดอันหนึ่ง ที่มีขันธ์อยู่ อันนั้นเป็นสัสสตทิฎฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกชนิดหนึ่ง

นิพพานเป็นอะไร นิพพานก็เป็นนิพพานน่ะสิ ถามว่านิพพานเที่ยงมั้ย เที่ยง นิพพานเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ นิพพานมีความสุข นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา เป็นอนัตตานะ ไม่มีเจ้าของ ไม่มีใครจะเป็นเจ้าของครอบครองนิพพาน
นิพพานไม่เคยเต็มนะ หมายถึงว่าไม่เคยมีเจ้าของไปจับจองพื้นที่จนเต็มพื้นที่ได้ จริงๆนรกก็ไม่เต็มเหมือนกัน เพราะทุกคนสร้าง(นรก)ของตัวเองได้ พอนรกตรงนี้คับแคบแล้วนะ เราทำชั่วมากๆมันก็สร้างขึ้นมาอีก สร้างของตัวเองได้

การที่เรา รู้กายรู้ใจ จนเราเห็นความจริงของกายของใจ แล้วก็หมดความอยากให้กายให้ใจมีความสุข หมดความดิ้นรน เข้าถึงสันติสุขคือนิพพาน การรู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจชนิดนี้เรียกว่า การดำเนินอริยมรรค คืออริยมรรคนะ เพราะฉะนั้นอริยมรรค บอก พวกเราเจริญมรรค เจริญมรรค มรรคที่พวกเราเจริญ ยังมิใช่อริยมรรค มรรคที่พวกเราเจริญเรียกว่า บุพภาคมรรค มรรคเบื้องต้น ไม่ถือว่าเป็นอริยมรรค แต่อาศัยบุพภาคมรรค รู้กายรู้ใจมากเข้าๆเนี่ย วันหนึ่งอริยมรรคจะเกิดขึ้น เวลาที่อริยมรรคจะเกิดเนี่ย รู้อริยสัจจ์ อริยสัจจ์ แต่รู้ตามชั้นตามภูมิ โสดาฯก็รู้เหมือนกัน รู้สิ่งเดียวกันนั่นเอง เสร็จแล้วก็ไปเห็นนิพพานอย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ความเข้าใจไม่เท่ากัน นี้ครูบาอาจารย์เคยสอนหลวงพ่อมานะ หลวงปู่สุวัจน์น่ะ เราภาวนาแล้วไปถามท่านนะ ท่านก็บอก สงสัยอะไร พระสกิทาคาฯ พระอนาคาฯ พระอรหันต์ นะ ก็เห็นของเดียวกัน เห็นสิ่งเดียวกัน แต่ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ไม่มีอะไรยิ่งกว่านี้แล้ว นะ ไม่มีอะไรยิ่งกว่านี้แล้ว

เพราะฉะนั้นสิ่งที่แตกต่างกันของพระอริยเจ้าแต่ละชั้นก็คือ ความเข้าใจ ไม่เท่ากัน แต่พระอริยเจ้าชั้นเดียวกันก็เข้าใจไม่เท่ากันนะ ถึงความบริสุทธิ์อย่างเดียวกัน แต่ความรู้ความเข้าใจความแตกฉานจะไม่เท่ากันแล้วแต่ว่าจะสร้างบารมีมาทางไหน

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
File:  500615A.mp3
ระหว่างนาที่ ๓ วินาทีที่ ๓ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานเป็นเรื่องของคนใจถึง

mp3 (for download) : กรรมฐานเป็นเรื่องของคนใจถึง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใจถึงๆ นะ กรรมฐานนี่เรื่องของคนใจถึงจริงๆ ต้องกล้าหาญจริงๆ นะ ต้องอดทนจริงๆ นะ แต่ไม่ใช่ทนแบบวัวแบบควายนะ วัวควายมันทนกว่าเราอีก แต่มันไม่บรรลุ เราต้องอดทน แต่เราต้องมีสติ ต้องมีปัญญา ศีลสมาธิปัญญาต้องมี ต้องพัฒนาขึ้นมา

CD สวนสันติธรรม 19

500302

15.32 – 15.53

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา คือทางรอดจากสังสารวัฎ

mp3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา หนทางสู่พระโสดาบัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศีลก็สำคัญนะ คนที่ไม่มีศีลจิตจะไม่ตั้งมั่น สมาธิจะไม่เกิดหรอก หรือสมาธิเกิดมาแล้วนะ แล้วเสียศีลไปนะ สมาธิก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็วเลย เพราะฉะนั้น ศีลนี่เป็นเครื่องอบรมขัดเกลาให้จิตตั้งมั่นมีสมาธิ สมาธิเมื่อจิตตั้งมั่นแล้วนี่ขัดเกลาให้เกิดปัญญา เพราะฉะนั้นแต่ละตัวมีความสำคัญทั้งนั้นนะ ต้องค่อยๆ ฝึก

เบื้องต้นเลยรักษาศีลให้ดีไว้ก่อน อันที่สอง ฝึกจิตใจของเราให้มันตั้งมั่น ให้มันตื่นขึ้นมาก่อน ขยับมือไป จิตหนีไปก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตเป็นอย่างไรก็รู้ จิตมันจะตื่นขึ้นมา มันจะเกิดสัมมาสมาธิขึ้น จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู พอจิตมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิแล้ว จะเกิดปัญญา จะเห็นว่าตัวที่กำลังขยับมืออยู่นี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก เหมือนหุ่นยนต์ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ เราจะเห็นเลยว่าจิตใจที่กำลังเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ทำงานของมันได้เอง ไม่ใช้ตัวเรา นี่รู้ลงไปอย่างนี้นะ ลงในกายในใจ เห็นไม่ใช่ตัวเรา จะได้พระโสดาบันนะ จะได้พระโสดาบัน

พระโสดาบัน คือผู้ละความเห็นผิดว่ามีตัวเรา คนทั้งหลายจะรู้สึกว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา รู้สึกไหมว่ามีเราอยู่คนหนึ่ง มีเรา แต่พอมาเจริญสติดูออกไหม กายไม่ใช่เรา เห็นแล้ว พอมีสติขึ้นมาเห็นแล้วว่ากายไม่ใช่เรา เห็นไหมเวทนาไม่ใช่เรา สุข ทุกข์ ไม่ใช่เรา เห็นไหมกุศล อกุศลไม่ใช่เรา รู้สึกไหม พอมีสติ พอตื่นขึ้นมาจะเห็น ไม่มีเราหรอก แต่ใจยังไม่ยอมรับนะ ยังอยากให้มีอยู่ ต้องดูกันไปนานๆ นะ สามวัน สามเดือนอะไรก็ดูไป ดูไปเรื่อยๆ จนกว่าใจจะหายโง่ มันจะยอมรับความจริงว่าไม่มีเราหรอก นี่ทางรอดอยู่ตรงนี้นะ ทางรอด

CD สวนสันติธรรม 19

500302

15.53 – 17.50

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้ามทะเลทั้งสี่ (โอฆะ) แล้วจะถึงจิตหนึ่ง

mp3 (for download) : ข้ามทะเลทั้งสี่ (โอฆะ) แล้วจะถึงจิตหนึ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: วันก่อนโน้น หลวงพ่อ ไม่ค่อยได้ฟังธรรมะที่สะใจมานานแล้ว ธรรมะที่สะใจครั้งสุดท้ายที่ได้ยินนะ คือ หลวงพ่อคำเขียน ไปหาท่าน ไปเยี่ยม ท่านไม่สบาย เมื่อเดือนพฤศจิกาฯ

ท่านบอกว่า โอ๊ย.. ผมไม่มีอะไรแล้ว ผมอยู่กับความไม่มีไม่เป็นอะไรหรอก อู๊ยสะใจ สะใจจริงๆ จริงๆเราอยู่กับความไม่มีไม่เป็น แต่ความสำคัญมั่นหมายของเราเพราะความเห็นผิดนั่นนะ ไปสำคัญว่ามันมีมันเป็นขึ้นมา มันมีเรามีเขาขึ้นมา

กว่าเราจะข้ามทิฎฐิ ที่ว่ามันมีเรามีเขาขึ้นมาได้นี้นะ ข้ามยาก อันนี้เป็นทะเลหรือเป็นมหาสมุทรอันแรกนะ ของผู้ปฎิบัติ เรียกว่าโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำห้วงมหาสมุทรอะไรอย่างนี้ มหาสมุทรในโลกมันมีกี่อัน จำไม่ได้แล้ว เคยเรียน แต่มหาสมุทรในการปฏิบัตินี้มันมี ๔ อันนะ ต้องข้ามให้ได้ให้หมดเลย มีทะเลอยู่ ๔ ทะเล ถ้าข้ามได้หมดก็จะเอาตัวรอดได้

มหาสมุทรอันแรกเลย คือ ทิฎฐิ ทะเลคือทิฎฐิ คือความเห็นผิดของเรานี้แหละ เราไปเห็นผิดในของที่ไม่มีตัวมีตน ว่ามีตัวมีตนขึ้นมา เวลาเรามองโลกแล้วสะดุดปั๊บขึ้นมาเลย เกิดเราเกิดเขา เกิดสัตว์เกิดคน เกิดต้นไม้ เกิดสิ่งโน้น เกิดสิ่งนี้ โลกนี้ลุ่มๆดอนๆ

ในทางมหายานนะเคยมีสูตรอยู่สูตรหนึ่ง พระสารีบุตร ไปบอกพระพุทธเจ้าบอกว่า พระองค์ สร้างบารมีไม่ค่อยดีเท่าไร พุทธเกษตรของ.. หรือโลกของพระองค์ดูลุ่มๆดอนๆ พวกพระโพธิสัตว์ก็เถียง บอกว่าไม่จริงหรอก พุทธเกษตรของพระพุทธเจ้าเนี่ยเรียบเลย ราบเรียบไปหมดเลย ไม่มีความเป็นลุ่มเป็นดอน ไม่มีอะไรสะดุดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนได้เลย มันว่างเปล่า แต่ไม่ใช่ว่างแบบไม่มีอะไร

จริงๆนี่ก็แต่งเกินไป พระสารีบุตรไม่ได้โง่ขนาดนั้นหรอก สาวกรุ่นหลังๆ ภาวนาไปยังเห็นโลกว่างได้เลย ทำไมพระสารีบุตรท่านจะไม่เห็น

มิจฉาทิฎฐิ เป็นสิ่งแรกที่พวกเราต้องภาวนา แล้วก็ข้ามมันให้ได้ คือเราสำคัญมั่นหมายว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา เราไปแบ่งแยกสมบัติของโลกส่วนหนึ่งออกมาเป็นตัวเราขึ้นมา ส่วนที่เหลือมันก็เป็นคนอื่น เป็นสิ่งอื่นๆ เป็นสิ่งที่แวดล้อมอยู่ ไปแบ่งตัวเองออกมา สำคัญมั่นหมายว่ามี ว่าเป็น เป็นโน่นเป็นนี่ด้วยนะ เป็นใหญ่เป็นโต เป็นคนดีเป็นคนเลว เป็นพวกทุศีลเป็นพวกมีศีล แบ่งตัวเองออกไปจากธรรมชาติ ซึ่งไม่มีอะไรอยู่แล้ว เสมอภาคกันทั้งหมด

พอมีตัวเราขึ้นมาก็มีมิจฉาทิฎฐิต่อไปอีก ถ้าตัวเราตายไป เราไปเกิดอีก ตัวเราเที่ยง จิตเรานี้เที่ยง ร่างกายแตกสลายไป จิตนี้ยังไม่เกิดได้อีก นี่ก็มิจฉาทิฎฐิแขนงหนึ่ง เรียกว่า สัสตทิฎฐิ อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตัวเรามีอยู่ แล้วตายไปก็หายไปเลย นี่ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอีก เรียกว่า อุจเฉทิกทิฎฐิ รากเหง้าของมันก็เริ่มมาจากความมีตัวเรานี่แหละ มีตัวเราแล้วก็มีตัวเราอย่างเที่ยงแท้ถาวร หรือมีตัวเราชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็หายสาบสูญไป

ทะเลทิฎฐินี้จะข้ามได้ต้องเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ๔ ทะเลนี้ พวกเรายังข้ามไม่ได้สักทะเลหนึ่งเลยนะ ข้ามได้แค่ริมทะเลอะไรอย่างนี้ เที่ยวๆไปอย่างนี้ จะข้ามทิฎฐิตัวนี้ได้ต้องมีสติ มีปัญญา มีสัมมาสมาธิ มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี่ มีใจที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ สักว่ารู้ สักว่าดู เวลาดูกายจะรู้สึกเหมือนว่ากายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เวลาดูเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ มันจะรู้สึกว่าเวทนาอยู่ส่วนหนึ่งจิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างนะ ไม่ ไม่เป็นอันเดียวกัน มีช่องว่างมาคั่น

เวลาดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล จะเห็นเลย อกุศลหรือกุศลทั้งหลายนะ กับจิตเนี่ยคนละอันกัน มีช่องว่างมาคั่น พวกเราดูออกแล้วใช่มั้ย เนี่ยเราดูไปเรื่อยนะ ใจเราตั้งมั่นจะสักว่ารู้สักว่าดูได้ เสร็จแล้วปัญญามันถึงจะเกิด มันจะเห็นเลย ทุกสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้าล้วนแต่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับไป บังคับไม่ได้สักอันเดียว ดูมาจนกระทั่งถึงจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูนี่เอง ก็เห็นมันเกิดดับ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เป็นผู้รู้บ้าง เป็นผู้หลงบ้าง ดูไปดูมาในขันธ์ ๕ นี้ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่มีตัวเราที่แท้จริง ให้มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี้นะ ถึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้

ข้ามทะเลตัวแรกได้ เหลืออีก ๓ ทะเล ข้ามยากนะ ทะเลหรือโอฆะตัวต่อไปคือกาม ข้ามยาก พวกเรา เห็นแต่กามคุณ เราไม่เห็นกามโทษ ทำให้เราข้ามไม่ได้ กามคืออะไร กามก็คืออารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ อย่างเราเห็นรูปที่สวยๆอย่างนี้ รูปนั้นเรียกว่ากาม หูเราได้ยินเสียงที่เพราะๆ ถูกอกถูกใจ เรียกว่ากาม กลิ่นหอมๆ ถูกอกถูกใจ นี่เขาเรียกว่ากาม รสอร่อยๆก็เรียกว่ากาม สัมผัสที่นุ่มนวล อบอุ่น สบาย อะไรอย่างนี้ ก็เรียกว่ากาม การคิดคำนึงถึงอารมณ์เหล่านี้ เป็นกามทางใจ เรียกว่า กามธรรม

พวกเราเกิดมา เราก็แสวงหาแต่อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจมาตลอดชีวิต เราเห็นว่าถ้าได้อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจได้แล้วเราจะมีความสุข งั้นเราเห็นว่ากามเนี่ยนำความสุขมาให้  ยากนักยากหนานะจะกล้าข้ามพ้นอำนาจของกามได้ ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีข้ามไม่ได้ ทีนี้ทำอย่างไรถึงจะข้ามพ้นทะเลอันที่สองคือทะเลกาม เคยได้ยินใช่มั้ย คนชอบพูดทะเลกาม แต่ไม่มีคนพูดทะเลทิฎฐิใช่มั้ย เพราะอะไร เพราะคนพูดเนี่ยยังมีทิฎฐิอยู่ ก็พูดไปอย่างนั้นแหละ ทะเลกาม ข้ามยาก ข้ามยาก

ต้องรู้ลงมาอีก รู้ลงมาในกายในใจนี้น่ะนะมากๆ จนวันใดเห็นนะว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ มันจะหมดความเพลิดเพลินยินดีพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลาย หมดความติดอกติดใจในกามคุณทั้งหลาย มันหมดของมันเองนะ ถ้ามันเห็นตัวนี้.. อย่างสังเกตมั้ย คนไหนเจ้าชู้มากๆนะ เกิดเจ็บหนักใกล้จะตายนะ หรือตัวเป็นแผลทั้งตัวแล้ว อะไรมาถูกนิดนึงก็แสบก็ปวดเนี่ย ให้มันไปกอดนางงามจักรวาลมันก็ไม่เอานะ เพราะมันไม่มีความสุขแล้ว

ถ้าเมื่อไรเราเห็นกายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆนะ มันจะไม่สนใจกามแล้ว จะไม่สนใจกามแล้ว ตาเห็นรูปจะสักว่าเห็นเลย ไม่ยินดีไม่ยินร้ายกับมันแล้ว หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส นะ จิตใจจะไม่ยินดียินร้าย มันไม่รักกายก็จะไม่รักกาม

ทะเลทิฏฐิเหมือนทะเลที่กว้างนะ ถ้าเทียบ เหมือนทะเลที่กว้างขวางไร้ขอบไร้เขต หลงเข้าไปแล้วไม่รู้จะไปทางไหนเลย ไม่รู้เหนือรู้ใต้ เพราะฉะนั้นปุถุชนทั้งหลาย หลงอยู่ในทะเลที่ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน มีพระพุทธเจ้ามาบอกทาง ทางนี้.. ทางนี้.. นะ คนที่รู้ทางเรียกว่าพระโสดาบัน รู้แล้ว ไปทางนี้แหละ ปลอดภัย งั้นจะข้ามทะเลทิฏฐิได้นะ ยาก เป็นทะเลที่กว้าง ไร้ขอบไร้เขต ดูอะไรดูไม่ออกหรอก ดูยาก แต่ข้ามได้ด้วยการที่เห็นลงมาในกายในใจว่าไม่ใช่เรา ทะเลกามนี้จะข้ามได้ เมื่อหมดความยึดถือกาย หมดความยึดถือในกาย

ถัดจากนั้นเหลืออีกสองทะเลนะ คือทะเลของภพ และทะเลของอวิชา เรียกว่า ภวะโอฆะ กับ อวิชาโอฆะ โอฆะคือภพ โอฆะคืออวิชา ห้วงน้ำ

ภพคืออะไร ภพคือการทำงานของจิต สังเกตมั้ยพวกเราภาวนา เห็นมั้ย จิตทำงานทั้งวันทั้งคืน หมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืน เห็นมั้ยจิตเดี๋ยวก็วิ่งพล่านๆไปทางตา เดี๋ยววิ่งพล่านๆไปทางหู วิ่งพล่าน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักนะ

จิตนี้สร้างภพสร้างชาติหมุนติ้วๆอยู่ภายในตลอดวันตลอดคืน จะข้ามมันไม่ใช่ง่ายนะ แค่เห็นมันยังยากเลย ภาวนากว่าจะเห็นจิตเข้าไปทำงานตรงนี้ยังยากแสนเข็ญเลย รู้สึกมั้ย นะ จะข้ามทะเลของภพได้นะ ภพนี้เหมือนทะเลที่น้ำเชี่ยว เพราะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืนนะ เดี๋ยวซัดไปทางโน้นซัดไปทางนี้ นะ กระแสน้ำนี้รุนแรง กระแสน้ำที่ซัดจิตใจเราวิ่งไปวิ่งมา พล่านๆทำงานไปในภพก็คือ ตัณหา นั่นเอง ตัณหาเป็นเหมือนคลื่นลูกใหญ่เลย เหมือนกระแสน้ำเชี่ยวที่ซัดเราไป ซัดไปไม่รู้ทิศทางเลยนะ สร้างภพไปเรื่อย เดี๋ยวไปเกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ จะข้ามภพข้ามชาติได้ ก็ต้องละตัณหาได้

ทีนี้ตัณหาเกิดจากอะไร ตัณหาเกิดจากอวิชา นี้ ทะเลตัวสุดท้ายนี้ ข้ามยากที่สุด ถ้าข้ามตัวนี้ได้นะ จะหลุดจากน้ำเชี่ยวนี้ได้ด้วย อวิชาเหมือนทะเลหมอก น้ำสงบนะ ไม่มีคลื่น ไม่มีลม สบายๆ แต่เหมือนมีหมอกปกคลุมจนไม่รู้อะไรเลย บางทีเราอยู่ห่างฝั่งใช่มั้ย ถูกคลื่นซัดตูมตาม ตูมตาม กระเสือกกระสนเข้ามา จนจะถึงฝั่งอยู่แล้ว เกือบถึงฝั่งแล้วนะ มันมีหมอกลง มันมองไม่เห็น ว่ายไปว่ายมา ว่ายออกทะเลลึกไปอีกแล้ว เพราะฉะนั้นข้ามอวิชานี้ยากที่สุดเลย ทะเลตัวนี้จะข้ามได้ต้องเห็นอริยสัจจ์ เห็นไม่เหมือนกันนะ เห็นมั้ย เห็นอริยสัจจ์ เห็นแจ้งอริยสัจจ์

อริยสัจจ์ที่ตัวลึกซึ้งที่สุดเลย คือการเห็นว่าจิตเป็นทุกข์นี่เอง นะ เราภาวนาไปนาน เราเห็นแต่จิตเป็นสุข เพราะจิตเริ่มสงบแล้ว ใช่มั้ย ข้ามทะเลโน้นทะเลนี้มาถึงภพที่สงบ ภพที่ไม่มีคลื่นมีลมแล้ว จิตใจก็พอใจ รักใคร่พอใจอยู่แค่นี้แหละ สบายใจแล้ว เสร็จแล้วก็ว่ายกลับไปกลับมาแล้ว ถูกคลื่นซัดออกไปอีกแล้ว

ถ้าเป็นปุถุชนเนี่ย ซัดไปหาทิฎฐิเลย เกิดมิจฉาทิฎฐิได้เรื่อยๆนะ ถ้าไม่ใช่พระอนาคาฯ ก็หลงไปในกามได้อีก เพราะฉะนั้นมันพร้อมจะถอยหลังได้ ทีนี้จะละอวิชาได้นะ ต้องรู้อริยสัจจ์ รู้ลงมานะ กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆเลย พวกเรามีแต่อวิชา เราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง นี่อวิชานะ อวิชาพาให้เห็น

ไหนสารภาพมา มีใครรู้สึกมั้ย กายนี้ เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง มีมั้ย สารภาพ มีผู้ร้ายปากแข็งครึ่งห้อง นะ ไม่ยอมสารภาพ นะ พวกเรารู้สึกมั้ย จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นอย่างนี้แหละ อวิชา

ถ้าเห็นอย่างมีวิชา ก็จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง เห็นยากนะ ถ้าสติ สมาธิ ปัญญา ไม่แก่กล้าพอ มันไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ โดยเฉพาะจิตเนี่ย จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้สงบ สะอาด สว่าง แหมฟังแล้วดีทั้งนั้นเลย ใช่มั้ย จะให้เห็นว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ง่ายนะ ปฎิบัติกันปางตายเลยล่ะ เหมือนเอาชีวิตเข้าแลกเลยนะ ถึงจะเห็น เพราะฉะนั้นทะเลตัวนี้ ทะเลอวิชา เป็นทะเลที่เรียบๆนะ แต่ยากสุดๆเลย ยากมากเลย จับต้นจับปลายไม่ถูก นะ มีแต่เรียนรู้นะ มาตามลำดับๆ รู้กาย รู้ใจมาตามลำดับ

พอรู้กายถูกต้องแจ่มแจ้งได้พระอนาคาฯ จิตใจก็จะสบายขึ้นเยอะเลย จะไม่แส่ส่ายไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเหลือแต่ความสงบสุขอยู่ภายใน เพลิดเพลินอยู่กับความสงบสุขภายในจิตในใจของเราเอง นี่เอง

ต่อมาสติปัญญาแก่รอบลงมาอีก เห็นเลย ตัวจิตตัวใจที่ว่าสุขว่าสงบเนี่ย เอาเข้าจริงก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ตัวนี้ไม่รู้ว่าจะพูดภาษามนุษย์ยังไงนะ ฟังเอาไว้ก็แล้วกัน มันเห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่นะ มันจะทิ้งแล้ว จะวาง แต่ถ้ายังเห็นทุกข์บ้างสุขบ้าง มันไม่วางหรอก มันทุกข์ล้วนๆ โอ้ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ตัณหาจะดับทันทีเลย เมื่อมันเป็นทุกข์ล้วนๆแล้วจะอยากให้มันสุขได้อย่างไร นะ ของเรามีตัณหาขึ้นมาเพราะอยากให้ขันธ์ ๕ มีความสุข รู้สึกมั้ย อยากให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์

แต่วันหนึ่งเรียนจนกระทั่งรู้ชัดเลย ขันธ์ ๕ นี่ทุกข์ล้วนๆน่ะ ไม่มีทางอยากให้มันมีความสุข ไม่มีทางอยากให้มันพ้นทุกข์อีกต่อไปแล้ว มันไม่สมหวัง มันทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ใจเข้าถึงตรงนี้ ใจยอมรับตรงนี้จริงๆแล้วจะสลัดคืนเลย จะหมดตัณหาแล้วก็สลัดคืนความยึดถือกายความยึดถือใจให้โลก คืนเจ้าของเดิมนั้นเอง จิตใจก็จะเข้าถึงความสงบ สันติ ที่แท้จริง คือ นิโรธ หรือ นิพพาน บางทีก็มีหลายชื่อนะ อุปสมะ ก็ได้ นะ มีหลายชื่อเยอะแยะเลย ชื่อ ความจริงก็คือ ความสงบ สันติ ซึ่งมันพ้นทุกข์ พ้นกิเลส พ้นความยึดถือในธาตุในขันธ์ ในกาย ในใจ นี้เอง

พอพ้นปั๊บเราจะเห็นโลกนี้ มี แต่ไม่มีอะไร โลกนี้มีอยู่ แต่ไม่มีอะไรเลย ว่างเปล่า ว่างเปล่าไม่ใช่แปลว่า ไม่มีอะไรเลย มันว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ว่างเปล่าจากกิเลส ว่างเปล่าจากขันธ์ ว่างเปล่าจากทุกข์ มันมีอยู่ของมันตามสภาพของมัน มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน แต่จิตใจที่ฝึกฝนอบรมจนกระทั่งไม่ยึดถือในจิตแล้วเนี่ย จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีก เห็นโลกนี้มีแต่ไม่มี ว่างเปล่าอยู่อย่างนั้นเอง จิตใจมีแต่ความสุขล้วนๆ สุขแบบนึกไม่ถึงนะ สุข สุขที่สุดเลย มีความสุขมาก ไม่รู้จะใช้ภาษาอะไร พระพุทธเจ้าท่านก็เลยใช้เอาง่ายๆ “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย ไม่รู้จะใช้คำอะไรแล้ว ท่านใช้คำว่า “ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย

ความสุขของโลกๆที่พวกเรารู้สึกน่ะนะ รู้จักกันนะ ความสุขลุ่มๆดอนๆ สุกๆดิบๆ เป็นความสุขร้อนๆ สุกๆ เผ็ดๆ นะ เผ็ดร้อนรุนแรง สุขชั่วครั้งชั่วคราวได้มาแล้วก็เสียไป ตะกายหาอีก จับได้ปั๊บหลุดมือไปอีกแล้ว อย่างนี้ตลอดชีวิตเลย เดินทางในสังสารวัฏฏ์นะ ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ ข้ามมหาสมุทรสี่อันนี้ไม่ได้ ก็ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ เพราะฉะนั้นตั้งอกตั้งใจนะ

อันแรก ต่อสู้กับมิจฉาทิฎฐิของตัวเองก่อน ทะเลอันที่หนึ่ง มิจฉาทิฎฐิ คือ ความเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ วิธีจะดูให้เห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ไม่ใช่ไปนั่งคิดเอาว่าตัวเราไม่มี คิดยังไงมันก็เชื่อว่า “ฉันมี” แต่ฉันแกล้งไม่มี นะ มันจะแกล้งทำ

ให้เรารู้ลงในกาย รู้ลงในใจ อะไรก็ได้ เริ่มจากกายก็ได้ ถ้าเริ่มจากกายถูกต้องก็จะรู้ใจ หรือจะเริ่มจากใจก่อนก็ได้ ถ้าเริ่มรู้ใจถูกต้องก็จะรู้กายด้วย นะ จะรู้สองอัน ไม่รู้อันเดียว ถ้าคนไหนภาวนาแล้วรู้อันเดียว ทำผิดแน่นอนนะ เพราะจริงๆมันมีสองอัน จะมารู้อันเดียว เลือกรู้อันเดียว ทำผิดแล้ว

เช่นบางคนจะดูแต่ลมหายใจอย่างเดียว ให้ลืมโลกไปเลย โลกนี้เหลือแต่ลมหายใจ เนี่ยสะสมมิจฉาทิฎฐินะ แทนที่จะละมิจฉาทิฎฐิ จะรู้สึก “กูเก่งๆ” “กูบังคับจิตให้อยู่กับลมได้” หรือ “กูบังคับจิตให้อยู่กับท้องพองยุบได้” จิตไม่หนีไปที่อื่นเลย “กูเก่งๆ”

ความจริงต้องรู้ ตามที่เขาเป็น ตามความเป็นจริง ของเราก็คือมันมีทั้งกายมีทั้งใจนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้ใจไป ถ้าจะรู้กาย เราก็เห็นร่างกายนี้ มันยืน มันเดิน มันนั่ง มันนอนไป ใจเป็นแค่คนรู้มัน ถ้าจะรู้จิตใจเราก็เห็นจิตใจเคลื่อนไหว ทำงานไป พอมีการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น ตามองเห็น จิตใจก็เคลื่อนไหวตาม หู ได้ยินเสียง เช่น เขาด่ามา ใจก็เคลื่อนไหว คือ โทสะเกิดขึ้น นะ มันเนื่องกัน ทั้งกายทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียวนะ ถ้าจงใจไปรู้อันเดียวเป็นสมถะ เป็นสมถกรรมฐาน ถ้ารู้ถูกต้อง มันรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ เห็นกายนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดูไป ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็จะเห็นเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้าเท่านั้นเอง เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ มันไม่บรรยายอย่างที่หลวงพ่อพูดนะ มันจะรู้สึกแค่ว่ามันไม่ใช่เราหรอก

ไม่ใช่ว่าต้องมาพร่ำรำพัน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นธาตุ เป็นขันธ์ มันไม่พูดนะ เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ รู้สึกถึงความไม่ใช่ตัวเรา ดูลงมาในเวทนา ในความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เราจะเห็นเลย ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จะเห็นอย่างนี้ นะ กุศล อกุศลทั้งหลาย นะ ที่เรียกว่าสังขาร กุศล อกุศลทั้งหลาย โลภ โกรธ หลง ทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ไม่ใช่เราอีก ดูไปอย่างนี้

ตัวจิตเองล่ะ จิตเดี๋ยวก็เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจ จิตเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น นะ ไม่ใช่มีจิตดวงเดียววิ่งไปวิ่งมา ถ้าเห็นว่าจิตมีดวงเดียววิ่งไปวิ่งมาเป็นมิจฉาทิฏฐินะ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ ท่านสอนดี ท่านบอกว่า ถ้าใครเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ ตัวผู้รู้เองก็ไม่เที่ยง เป็นผู้รู้แล้วก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็หลงไปทางตา หลงไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เนี่ยดูลงมาในกายในใจบ่อยๆ ดูจนเห็นความจริงเลย มันไม่ใช่ตัวเราสักอันเดียวเลยนะ ร่างกายมันก็เป็นแค่วัตถุ

พวกเราลองทดสอบนะ เอ้า แก้ง่วงไปด้วย เอามือของตัวเองมา แล้วลองลูบดู ลองสัมผัสดูไปรู้สึกมั้ย มันเป็นท่อนๆแข็งๆรู้สึกมั้ย เนี่ย รู้สึกนะ รู้สึกไว้ แล้วลองตั้งใจฟังมันบอกมั้ยว่ามันเป็นตัวเรา มันเงียบๆ รู้สึกมั้ย มันไม่พูดหรอก จริงๆเราไปขี้ตู่ว่ามันเป็นตัวเรานะ จริงๆ เนี่ย ลองจับลงไปสิ เป็นก้อนแข็งๆอะไรก้อนหนึ่ง

ถ้าเราจับไปนะเราจะรู้สึก มันไม่มีตัวเราในก้อนนี้แล้ว เวลาความสุขความทุกข์เกิดขึ้นเราก็รู้ไปตรงๆ เหมือนที่เรารู้สัมผัสมืออย่างนี้ กุศล อกุศล เกิดขึ้นก็รู้มันเข้าไปตรงๆนั้นแหละ แล้วมันจะบอกเรามั้ยว่าเป็นตัวเรา ไม่มีพูดสักคำหนึ่ง ความเป็นตัวเราจริงๆไม่มี ความเป็นตัวเราเกิดจากความคิดล้วนๆเลย คิดเอาเองว่าเป็นเรา

ถ้าไม่ไปหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา เนี่ย พอเราเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ นะ ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะรวมเข้ามา มันจะเข้าสมาธิ รวมเอง ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จิตมี ปีติ  สุข เอกัคคตา มีวิตกวิจารณ์คือการตรึกถึงอารมณ์ การตรองเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์นั้น อารมณ์อะไร อารมณ์นิพพาน จิตจะรวมเข้ามานะ ขั้นแรกพอรวมเข้ามาปั๊บ มันจะเห็นสภาวธรรม อะไรก็ไม่รู้ นะ ไม่รู้ว่าคืออะไร นะ ถ้ายังรู้ว่าคืออะไรนี่ยังเจือด้วยสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ของจริง จิตจะเห็นสภาวธรรมบางอย่าง เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ ขึ้นมา บางคนเห็นสองครั้ง บางคนเห็นสามครั้ง

เห็นสองทีเนี่ย จิตก็วางการรับรู้อารมณ์นั้นแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ทวนกระแสเข้ากลับมาหาธาตุรู้ จากนั้นสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังธาตุรู้ไว้ จะถูกแหวกถูกทำลายออกชั่วขณะ จะแหวกออก จิตที่เป็นอิสระล้วนๆเลยที่สัมผัสกับธรรมะคือนิพพานล้วนๆเลยจะปรากฎขึ้นมา

เสร็จแล้วจิตจะถอยออกมานะ ตรงนี้ไม่มีคำพูดนะ แว้บเดียวเอง แต่มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา  พร้อมอยู่ตรงนี้เลย พอถอยออกมากลับมาสู่โลกภายนอก จิตจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่า อ้อ..เมื่อตะกี้นี้เกิดอริยมรรคขึ้นแล้ว สังโยชน์เบื้องต้นถูกละไปแล้ว ความเห็นผิดถูกละไปแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ดูยังไงก็ไม่เป็นเราอีกต่อไปแล้ว จะละความเห็นผิดได้ จะหมดความลังเลสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรายังลังเล รู้สึกมั้ย ฝึกๆไปช่วงหนึ่งก็รู้สึก เอ้อ.. จริง ไม่จริงว้า.. จริง ไม่จริงว้า.. อั้นนั้นเป็นธรรมชาตินะ ต้องมี ไม่ต้องแกล้งทำเป็นไม่มี

หรือเราเคยงมงาย เห็นว่าต้องปฎิบัติอย่างนี้แล้วจะดี ปฏิบัติแล้วจะดี ต้องทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี จะหมดความงมงายอย่างนี้เลย รู้แต่ว่ามีแต่การเจริญสติรู้กายรู้ใจทางสายเดียว ทางสายเอก มีอันนี้อันเดียว ไม่มีอันอื่นอีกแล้ว เนี่ย พระโสดาบันละสิ่งเหล่านี้ได้ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ละความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยได้ ละการถือศีลบำเพ็ญพรตแบบงมงาย ลูบๆคลำๆ ว่าทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี รู้แล้วว่าไม่มีทางอื่นเลยนอกจากการมีสติรู้กายรู้ใจ หรือสติปัฏฐานนั่นเอง

เพราะฉะนั้นเวลาที่บรรลุพระโสดาบันไม่ใช่จิตดับนะ ทุกวันนี้มีคำสอนเรื่องจิตดับมากมาย คิดว่าภาวนาไปเรื่อย กำหนดไปเรื่อยนะ อย่างจะหยิบอะไรสักอันหนึ่ง กำหนดไปเรื่อยให้จิตมันแนบอยู่ที่มือเนี่ย เพ่งมากๆนะ จิตจะดับลงไป จิตดับแล้วสำคัญมั่นหมายว่าบรรลุธรรมแล้ว ดับ ๔ หน ก็เป็นพระอรหันต์นะ ออกมาจากพระอรหันต์ก็มาทะเลาะกับเมียเหมือนเดิมแหละ นะ ละกิเลสไม่ได้จริง

ในขณะที่บรรลุ มรรค ผล นิพพาน มีจิตนะ ไม่ใช่ไม่มีจิต ขณะที่บรรลุอริยมรรค นะ ก็มี มรรคจิต ขณะที่บรรลุอริยผล มีผลจิต มรรคจิตมี ๔ ดวง ผลจิตอีก ๔ ดวง นี่เรียก มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ คนโบราณชอบพูด

ถ้าพูดอย่างละเอียด ก็มี ๒๐ อย่างละ ๒๐ เพราะว่ามันเจือด้วยฌานเข้าไปในแต่ละชนิด ฌานมันไม่เท่ากัน มีฌาน ๕ อย่าง เพราะฉะนั้นจิตที่บรรลุมรรคผลเนี่ย รวมแล้วมีจิตตั้ง ๔๐ ดวงแหน่ะ ทีนี้พวกเรารุ่นหลังๆนะ เชื่อคำสอนของอาจารย์มากไป เลยคิดว่าเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน จิตดับวูบลงไปหมดสติ พอรู้สึกตัวขึ้นใหม่ บอกบรรลุไปแล้ว ตรงที่จิตดับลงไปนั้น คือ อสัญญสัตตาภูมิ คือ พรหมลูกฟักนะ

มีองค์หนึ่งท่านเล่น เมื่อไม่กี่วันมานี้ ท่านอนุสรณ์ เนี่ย ท่านลองเล่นๆของท่านนะ ดับปั๊บเลย และท่านรู้ว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ เพราะมันขาดสติ ออกมาแล้วไม่เห็นจะละกิเลสอะไรเลย ดับไปเฉยๆ ฝึกไม่กี่วันก็เป็นแล้ว นี่คือการเพ่งกาย เพ่งกายแล้วลืมจิต จนจิตดับลงไป เหลือแต่กายอันเดียวล้วนๆ

เพราะฉะนั้นเวลาบรรลุมรรคผลนิพพานมีจิต ไม่ใช่ไม่มี ถ้าไม่มีจิตแล้วใครจะรู้นิพพาน นิพพานเป็นอารมณ์นะ มีอารมณ์ต้องมีจิต เป็นกฎนะ กฏของธรรมะ ชื่อภาษาแขกเพราะๆเรียกว่า “ธรรมนิยาม” กฎของธรรมะ

ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด

เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง

เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย

ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ

ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ  สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
File:  500408B.mp3
Time: นาทีที่ ๓ วินาทีที่ -๙ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสติช่วยให้อินทรีย์ ๕ สมบูรณ์

mp3 (for download) : มีสติทำให้อินทรีย์ ๕ สมบูรณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติยิ่งเกิดบ่อยยิ่งดี แล้วการที่เรามีสติรู้กายมีสติรู้ใจนี่มันจะเพิ่มอินทรีย์ตัวอื่นขึ้นมา เพิ่มอัตโนมัติแล้วเพิ่มได้อย่างสมบูรณ์ด้วย

พอเรามีสติรู้กายรู้ใจเนืองๆ สติเกิดเรามีความสุขละ มีสติไปสมาธิก็เกิด มีสติไปปัญญาก็เกิด พอสติ สมาธิ ปัญญาเกิดนี่ เรียกว่าทำความเพียรอยู่ จิตใจได้รับความสุข ได้รับความสงบ ได้รับความรู้ความเข้าใจเป็นระยะๆ ไป ศรัทธาของเราจะยิ่งแน่นแฟ้นขึ้น

CD สวนสันติธรรม 19

File 500331A

9.20 – 9.58

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าประมาท ชีวิตเราเหมือนไต่ลวดอยู่บนขอบเหว

mp 3 (for download) : อย่าประมาท ชีวิตเราเหมือนไต่ลวดอยู่บนขอบเหว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : กิเลสก็คือสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมา เหมือนแมงมุมชักใยขึ้นมา แล้วกิเลสนั่นแหละกลับมาครอบงำจิต แมงมุมไปติดใยตายแล้ว จิตมันแอบไปปรุงขึ้นมา ปรุงกิเลสขึ้นมานะ แล้วกิเลสก็กลับมามีอิทธิพลครอบงำจิต ต่อไปกิเลสก็มีกำลังกล้ามากขึ้นๆ คราวนี้บงการจิตได้ทั้งวันแล้ว เพราะฉะนั้นสู้แต่กิเลส ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้ตายนะ สู้กันด้วยถึงเลือดถึงเนื้อเลย

ถ้าอ่อนแอท้อแท้ถดถอยเมื่อไหร่นะ ถอยไกลนะ ถอยไกล ไม่ใช่ถอยทีหนึ่งก้าวสองก้าวนะ มันถอยกันเป็นชาติๆ นะ ถ้าในคัมภีร์เขาจะถอยครั้งละห้าร้อยชาติ ห้าร้อยชาติ บางทีถอยนานมากเลย อย่างพระอานนท์ สมัยก่อนจะเป็นพระอานนท์ ไปทำบุญมา แล้วขอให้มีรูปงาม ขอให้หล่อ อีกชาติหนึ่งเกิดมาหล่อเฟี้ยวเลย คราวนี้ก็ไปทำผิดศีล ประพฤติผิดในกาม ท่านบอกท่านตายจากชาตินั้นท่านเวียนอยู่ในนรกเนิ่นนาน นี่มีความสุขชั่วครั้งชั่วคราวแล้วท่านไปเวียนอยู่ในนรกนาน พ้นจากนรกขึ้นมานะ ท่านมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นวัว บุญที่ทำความดีไว้นะ และก็อธิษฐานไว้ก็ส่งผลให้เป็นวัวรูปหล่อ (หัวเราะ) เป็นวัวสุดหล่อนะ ถ้าเข้าประกวดทีไรต้องชนะ สมัยโบราณเขาคงไม่ประกวดกัน งี้เวลาเจ้าของเทียมเกวียนไปไหนมาไหนวัวสาวๆ ชอบมาวิ่งตาม เจ้าของรำคาญนะเลยจับตอนไปอีก นี่ท่านบอกว่าท่านถูกตอนอยู่ห้าร้อยชาติ ห้าร้อยชาติหมายถึงถูกตอนแล้วตอนอีกอย่างงั้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก เสร็จแล้วมาเกิดเป็นคนนะ เป็นคนที่ไม่สมประกอบละ ผิดปกติทางเพศ ท่านบอกเป็นอยู่อย่างนี้อีกนาน กว่าจะสมประกอบคืนขึ้นมาได้ ดูสิทำผิดชั่ววูบเท่านั้นนะ เวียนอยู่นับเวลาเนี่ยนับไม่ถูกเลย

หรืออย่างบางคนโกรธเศรษฐี เศรษฐีเขาไปสร้างวัด อยากไปแกล้งเศรษฐีคนนี้ ไปเผาวัดเผากุฏิของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าในอดีต เพื่อจะแก้แค้นเขานิดเดียวเท่านั้นนะไปเผาวัด ไปเผากุฏิพระพุทธเจ้า จะให้เศรษฐีนั้นเจ็บใจเพราะเป็นคนสร้างวัด เศรษฐีนั้นใจถึงนะ ดีใจใหญ่ อุ๊ย ปลื้ม จะได้สร้างอีกแล้ว ได้ถวายวัดกับพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่งแล้ว เศรษฐีนั้นก็ได้ผลดีไปนะ ตานั้นเป็นเปรตอยู่ช้านาน ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ช่วงที่เว้นว่างจากพระพุทธเจ้าน่ะ ตกนรกอยู่นานนะ แล้วก็ขึ้นมาเป็นเปรตอีกเป็นพุทธันดร ความผิดชั่ววูบให้ผลยาวนะ

เราอย่าประมาท เราเดินอยู่บนขอบเหวแท้ๆ เลย เหมือนเราไต่ลวดอยู่บนขอบเหวนะไม่ใช่เดินอยู่บนพื้นเรียบๆ นะ เหมือนไต่เชือกไต่อะไรอยู่ พลาดพลั้งไม่ได้นะ ต้องสู้นะ มีคนหนึ่งรู้จักกัน ก็เคยพลาดพลั้ง เคยบวชเป็นพระ เป็นพระแล้วก็ถือศีลธรรมดานี่แหละ แต่ว่าไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร เพราะว่าสมัยโน้น ไม่มีการเรียนปริยัติหรือปฏิบัติอะไรเลย บวชกันตามประเพณีไปงั้น วันๆ อยู่ไปเรื่อยๆ นะ ตายจากชาตินั้นก็ไปเกิดเป็นวัว ไปใช้หนี้ชาวบ้านเขานะ แต่ว่าไม่ได้ทำกรรมชั่วอะไรนะ พอเป็นลูกวัวชาวบ้านก็เอามาปล่อยไว้ในวัด มาถวายวัดอีก กลับมาอยู่วัดเก่านี่แหละที่เคยเป็นพระนะ

ประมาทไม่ได้เลยนะสังสารวัฏเนี่ย พลาดแวบเดียวเนี่ยไปยาวมากเลย เหมือนเราไต่ภูเขา เราพลัดตกเหวลงมานะ ไม่ใช่ง่ายที่จะขึ้นไป ทุลักทุเลนะ ต้องเข้มแข็งนะ สู้กับกิเลสถอยไม่ได้ แต่สู้ต้องมีสติปัญญา เหมือนเราไต่เขาต้องมีสติปัญญา ไม่ใช่ไต่โง่ๆ ขึ้นไปนะ ตอนนี้เหนื่อยแล้วหยุดพัก หาชะง่อนหินพักก่อน มีเรี่ยวมีแรงค่อยไต่ใหม่ เราภาวนาไปแล้วช่วงนี้เหน็ดเหนื่อยแล้วทำสมถะ ทำความสงบ สงบแล้วจิตใจมีเรี่ยวมีแรงแล้วมาเจริญปัญญารู้กายรู้ใจอีก กระดึ๊บ ๆ ๆ ไปเรื่อยไม่ท้อถอยนะ จะยากลำบากแค่ไหนก็ถอยไม่ได้นะ เป็นโอกาสดีมากๆ ของพวกเราแล้วที่ได้เจอศาสนาพุทธนะ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 25491116A.mp3
Time: 17m40 – 22m34

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อสอนอะไร? หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ

mp3 (for download) : หลวงพ่อสอนอะไร? หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเมื่อไรรู้สภาวะตรงตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน เมื่อนั้นสติก็เกิดแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าอยากให้สติเกิดนะ ไม่มีใครสั่งให้สติเกิดได้ สติเป็นอนัตตา สติเองก็ตกอยู่ใต้อนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิด แต่ถ้ามีเหตุสติถึงจะเกิด เพราะฉะนั้นมาเรียนที่หลวงพ่อนะ ถ้ามาเรียนบ่อยๆ จะรู้เลย หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ เหตุให้เกิดสติก็คือการที่จิตนี้จำสภาวะธรรมได้

เพราะฉะนั้นมาเรียนที่หลวงพ่อ ไม่ได้มาเรียนเรื่องอื่นหรอก เรียนเรื่องสภาวะธรรม เช่น ความโลภเป็นอย่างนี้ ความโกรธ ความหลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ อิจฉา ดีใจ เสียใจ เป็นสุข เป็นทุกข์ หัดรู้สภาวะแต่ละอย่างๆ สภาวะอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจคอยหัดรู้หัดดูไป ต่อไปจิตมันจำสภาวะได้ พอสติมันจำสภาวะได้นี่ พอสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นสติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิดเอง สัมมาสมาธิก็เกิดเอง จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเลย จิตจะรู้ ตื่น เบิกบาน จิตจะสงบ สะอาด สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมา แล้วก็จะเห็นสภาวะธรรมทั้งหลายเกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป นี่เป็นการเจริญปัญญา

เพราะฉะนั้นเราจะเรียนนี่ ต้องเรียนจนสติตัวจริงเกิด ถ้ามาเรียนที่หลวงพ่อ จะเห็นว่าหลวงพ่อไม่ได้เน้นว่าให้นั่งท่าไหน ให้เดินท่าไหน หรือว่าห้ามกินข้าว หรือว่าห้ามนอนอะไรอย่างนี้ ไม่ได้เน้นตรงนั้น เพราะจริตนิสัยคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ใครเคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำอย่างนั้นแหละ ถนัดอะไรก็ใช้กรรมฐานอันนั้นแหละ เพียงแต่ว่าทำให้สติตัวจริงมันเกิด

ส่วนใหญ่ที่เราทำกรรมฐานแล้วสติไม่ค่อยเกิดเพราะอะไร เพราะเราชอบไปเพ่ง เราไปเพ่งใส่ตัวอารมณ์กรรมฐาน เช่น เราดูท้อง เราก็ไปเพ่งท้อง เราดูลมหายใจ เราก็ไปเพ่งลมหายใจ เราขยับมือทำจังหวะ เราก็ไปเพ่งใส่มือ เราเดินจงกรม เราก็ไปเพ่งใส่เท้า พอไปเพ่งใจมันก็แข็งๆ ทื่อๆ นะ มันจงใจปฏิบัติ สติตัวจริงไม่ได้เกิดขึ้นมา สติตัวจริงไม่เกิด จิตใจก็ไม่ตั้งมั่นมีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น ไม่อ่อนโยน ไม่นุ่มนวล ไม่คล่องแคล่วว่องไว ไม่ควรแก่การงาน

เพราะฉะนั้นเรียนกับหลวงพ่อ บางคนฟังแล้วจะงง มาใหม่ๆ จะงงนะ ว่าหลวงพ่อพูดอะไร ฟังไม่รู้เรื่อง บอกให้ก็ได้ หลวงพ่อสอนให้พวกเราหัดดูสภาวะธรรมนั่นเอง ต้องหัดรู้สภาวะธรรม สภาวะธรรมก็คือตัวรูปธรรม นามธรรม ถ้ามาเรียนที่หลวงพ่อบางคนหลวงพ่อก็สอนให้ดูกาย ทำสมาธิก่อนแล้วก็ดูกาย แต่ส่วนมากจะสอนให้ดูจิตใจตัวเอง เพราะอะไร เพราะคนที่มาที่นี่ส่วนมากเป็นพวกคิดมาก พวกทิฏฐิจริต พวกคิดมาก วันๆ นะนั่งคิดทั้งวัน พวกคิดมากเหมาะกับการดูจิต

การดูจิตนี้ให้ตามรู้ตามดูไปเลย จิตใจเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คอยรู้คอยดูไปเรื่อย ในที่สุดจิตจะจำสภาวะธรรมได้ เมื่อจิตจำสภาวะธรรมได้แล้ว พอสภาวะธรรมใดๆ ปรากฏขึ้นมานี่สติจะเกิดเอง ไม่ต้องแกล้งให้เกิดนะ เกิดเอง สติที่เกิดเองเพราะมีเหตุคือจิตจำสภาวะได้นี่อัศจรรย์ อกุศลจะดับทันทีเลย กุศลจะเกิดขึ้นทันทีเลย อย่างเรากำลังเผลอๆ อยู่ จิตมันรู้จักว่าเผลอเป็นอย่างไร มาเรียนที่หลวงพ่อๆ ชอบไล่นะว่า เผลอไปแล้วๆ นี่เพราะอะไร เพราะเผลอนี่เป็นกิเลสที่เกิดบ่อยที่สุด ความหลง โมหะ เกิดบ่อยที่สุด ถ้าเรารู้ว่าเผลอคืออะไร เราจะปฏิบัติได้แทบทั้งวันแล้ว เพราะเราเผลอทั้งวัน

ทีนี้พอเราจำสภาวะได้ เช่น จำว่าเผลอเป็นแบบนี้ ใจเราเผลอ เราหลงไปคิดเป็นแบบนี้ พอมันเผลอไปคิดปั๊บ สติจะเกิดเลย จะระลึกได้นะว่าเผลอไปแล้ว อ้อ เผลอไปแล้วๆ นี่จิตจะตื่นขึ้นในฉับพลันโดยที่ไม่ต้องเจตนาจะตื่นเลยนะ จิตจะตื่นในฉับพลัน จะรู้สึกตัวขึ้นมาเลย ใจก็จะตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว สัมมาสมาธิก็เกิดขึ้น เราก็จะเห็นเลยทุกสิ่งล้วนแต่ไหลมาแล้วไหลไป ผ่านมาแล้วผ่านไป นี่เป็นขั้นเจริญปัญญา เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี่ขั้นต้นทำให้มีสติ ขั้นกลาง ขั้นปลายนี่ทำให้มีปัญญา คอยรู้ไปเรื่อย

สวนสันติธรรม 12

490505A

15.04 – 19.38

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความเป็นกลางของจิตมีหลายแบบ

mp 3 (for download) : ความเป็นกลางของจิตมีหลายแบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความเป็นกลางของจิตนี่มีหลายแบบ เป็นกลางแบบซื่อบื้อ อย่างเช่นคนๆ หนึ่งถูกเขาด่าทั้งวันเลย ถูกด่าทุกวัน ตอนแรกก็โมโหนะ ถูกด่าไปเรื่อยๆ ใจเป็นกลาง เรียกว่ามันดื้อด้านไปแล้ว อย่างนี้ก็มีนะ ใช้ไม่ได้ อย่างนี้เป็นกลางแบบที่หนึ่งใช้ไม่ได้เลย กลางแบบเคยชินกับกิเลสแล้วบอกเป็นกลาง

อันที่สอง เป็นกลางเพราะสมถะ เป็นกลางเพราะเราประคองไว้ เป็นกลางเพราะเราควบคุมบังคับไว้ เช่น พอความโกรธเกิดขึ้น เราก็พุทโธ พุทโธ พุทโธ ให้หายโกรธ หรือ โกรธหนอ โกรธหนอ ให้หายโกรธ พอหายโกรธไปนี่ เราก็บอกเป็นกลาง กลางอันนี้เพราะไปรักษาไว้ ไปประคองไว้ กลางเพราะสมถะ กลางเพราะสมถะอยู่ได้นานๆ นะ อยู่ได้นาน

อันที่สาม เป็นกลางเพราะปัญญา มีศัพท์อยู่คำหนึ่งในอภิธรรม ชื่อ  ‘ตัตรมัชฌัตตตา’ หลวงพ่อเรียกไม่ค่อยถูกนะ ชื่อมันยาว ตัวนี้เป็นกลางเพราะมีปัญญา มันเกิดจากการที่เรามีสตินั่นเอง เช่นเราเห็นว่าความโกรธเกิดขึ้นมาก็ชั่วคราว ความโลภ ความหลงก็ชั่วคราว เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล ล้วนแต่ของชั่วคราว นี่มันเกิดจากการที่เรามีสติคอยรู้สภาวะบ่อยๆ ในที่สุดเราจะเห็นเลยว่าสภาวะทั้งหมดเป็นของชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว ในที่สุดใจก็เลยเป็นกลางกับสภาวะธรรม กลางชนิดนี้เป็นกลางชั้นเลิศเลยนะ กลางชนิดนี้เป็นกลางที่ใกล้กับมรรค ผล นิพพานแล้ว เป็นกลางเพราะปัญญา

ค่อยๆ ฝึกไป เป็นกลางเพราะปัญญาไม่อยู่นานนะ อยู่ทีละขณะๆ หรอก เดี๋ยวก็กลาง เดี๋ยวก็ไม่กลาง เดี๋ยวก็กลาง เดี๋ยวไม่กลางนะ ดูไปเรื่อย ในที่สุดเข้าไปสู่ความเป็นกลาง ทำไมมันไม่กลางถาวร กระทั่งภาวนาเก่งมากๆ เลยนะ จิตเข้าไปถึงสังขารุเบกขาญาณ เป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางต่อสังขาร มีปัญญาเลยเป็นกลางต่อสังขาร สังขารุเบกขาญาณเองยังเป็นโลกียญาณ เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานี่ เราสปีดตัวเองมาเรื่อย จนถึงสังขารุเบกขา บางคนก้าวกระโดดข้ามไปเลย อันนี้พ้นไปเลย เกิดมรรคเกิดผลไปเลย บางคนยังไม่เกิด ไปทรงตัวอยู่ที่สังขารุเบกขา ช่วงหนึ่งก็เสื่อม เสื่อมลงมาอีก เสื่อมมาอีกทำอีก ขึ้นไปอีก

เพราะฉะนั้นหน้าที่เราคอยฝึกรู้สภาวะไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดจิตเป็นกลางต่อสภาวะ ความเป็นกลางต่อสภาวะนี้ไม่ใช่กลางแบบทื่อๆ เป็นกลางด้วย มีความสุขด้วย เป็นกลางแล้วก็อิ่มเอิบไปด้วย เป็นกลางไปด้วย อิ่มเอิบไปด้วย เป็นกลางต่อสังขารแต่จิตใจนั้นอิ่มเอิบเบิกบาน เป็นสภาวะธรรมที่แปลก แต่ถ้าเป็นกลางแบบจิตใจแห้งแล้งแข็งกระด้าง อันนี้กลางจอมปลอม เช่นหลวงพ่อทำหน้าให้ดูนะ ต้องทำหน้า เราดูจิตไม่เป็นต้องทำหน้าเอา เป็นกลาง กลางนะกลาง กลางอย่างนี้กลางปลอมนะ กลางปลอม กลางแกล้งทำ

เป็นกลางจริงๆ กลางเพราะปัญญา ปัญญาเกิดจากการที่เรามีสตินั่นเอง มีสติรู้กายรู้ใจเห็นสภาวะธรรมทั้งหลายล้วนแต่ผ่านมาผ่านไป ล้วนแต่เป็นของชั่วคราว ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว ใจก็เป็นกลาง แต่เดิมไม่ชั่วคราว เช่น ความสุขเกิดขึ้นก็ยินดี ความทุกข์เกิดขึ้นก็ยินร้าย ไม่เป็นกลาง พอไม่เป็นกลางทำอย่างไร ให้รู้ทันอีก ความสุขเกิดขึ้นใจเรายินดี รู้ทันว่ายินดี ความยินดีก็จะดับไป อันนี้ดับเพราะการที่มีสติไปรู้เข้า ยังไม่ใช่ดับเพราะปัญญาจริงๆ โอ ธรรมะสนุกนะ มีหลายขั้นหลายตอน ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ ฟังไป

สวนสันติธรรม 12

490505A

21.08 – 25.18

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

mp 3 (for download) : สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลักของการเจริญสติปัฏฐาน การทำวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ถ้าสรุปง่ายๆ ภาษาไทยนะ มีสติรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏในปัจจุบันด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ยาวไปไหม ถ้ายาวไปนะ ก็ไปหาหนังสือ วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๒ อ่านเอานะ เอาเวอร์ชั่น ๒ นะ เวอร์ชั่น ๑ ตอนเขียนความรู้ยังไม่แจ่มแจ้ง ไปอ่านตอนเวอร์ชั่น ๒ ให้มีสติรู้กายรู้ใจนะ รู้ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจที่กำลังมีอยู่จริงๆ แล้วรู้มันตามที่มันเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าฝึกอย่างนี้ได้แล้วก็ไม่นาน ไม่นานนะจะรู้แจ้งในความเป็นจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือมันเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันเป็นของเป็นทุกข์ คือมันถูกบีบคั้น ถูกเสียดแทงตลอดเวลา อย่างร่างกายนี่ถูกเวทนาบีบคั้นตลอดเวลา นั่งอยู่ก็เมื่อย เดินก็เมื่อย นอนก็เมื่อย ใช่ไหม ทำอะไรก็ถูกบีบคั้น หายใจออกก็ทุกข์ หายใจเข้าก็ทุกข์ กินเข้าไปก็ทุกข์ ไม่กินก็ทุกข์นะ ขับถ่ายมากไปก็ทุกข์ ไม่ขับถ่ายก็ทุกข์อีก นี่มันถูกบีบคั้น ร่างกาย จิตใจก็ถูกกิเลสตัณหาบีบคั้นตลอดเวลา มันมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นเลย ในกายในใจ นี่ความจริงของเขา

ความจริงของเขาอีกอย่างหนึ่งคือ เขาไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ตอนนี้คนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริงมีเยอะแยะเลย มีเยอะแยะนับไม่ถูกแล้วนะ ถ้าแจกปริญญาคงแจกไม่ทันแล้ว ที่นี้ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราอย่างแท้จริง จะเป็นพระโสดาบันวันนั้นล่ะ

ทีนี้ วิธีการนะ บอกแล้ว ให้มีสติรู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง มีสติรู้กาย รู้ใจ ไม่ใช่มีสติไปรู้อย่างอื่น สติ พูดมาทุกวันที่เจอหน้ากันว่า สติ คือความระลึกได้ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติเป็นความระลึกได้ หลวงพ่อจะไม่ลงรายละเอียดเรื่องสติมากนัก สติเป็นความระลึกได้ สติเกิดจากถิรสัญญา คือจิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นถ้าเราหัดดูบ่อยๆ หัดรู้สึกบ่อยๆ ใจโกรธไปก็คอยรู้สึก ใจโลภก็คอยรู้สึก ใจฟุ้งซ่าน ใจหดหู่ คอยรู้สึกไปเรื่อยนะ รู้สึกไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งสติจะเกิด ตรงที่สติเกิดนี่ เวลาใจลอยไปนะ สติก็ระลึกได้เองว่า ใจลอยไปแล้ว เวลาโกรธขึ้นมา สติก็ระลึกได้ว่า โกรธไปแล้ว มันเป็นเอง หรือสติมันระลึกรู้ กำลังอาบน้ำถูสบู่อยู่นะ ระลึกปั๊บลงไป ระลึกถึงตัวรูป แต่เห็นเป็นท่อนๆ นะ เห็นเป็นท่อนๆ เป็นแท่งๆ เป็นแข็งๆ อ่อนๆ เป็นเย็นเป็นร้อน ไม่มีตัวมีตนอะไร

สติต้องเกิดเองจากการที่จิตจำสภาวะได้แม่น สติที่เจริญวิปัสสนาต้องเป็นสติที่รู้กายรู้ใจตัวเอง ถ้าไปรู้ของอื่นทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะวิปัสสนาทำไปเพื่อถอดถอนความเห็นผิดว่า กายนี้ใจนี้คือตัวเรา วิปัสสนาทำไปเพื่อให้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรม มีแต่นามธรรม ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ถาวรนั้นไม่มี วิปัสสนามุ่งมาตรงนี้ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาต้องคอยรู้กายรู้ใจ อย่างบางคนไปเดินจงกรม เท้ากระทบพื้นนะ พื้นเย็นพื้นร้อน พื้นอ่อนพื้นแข็ง รู้หมดเลย รู้เรื่องพื้น ไม่มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเราอยู่แล้ว มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเรา ที่กำลังนั่งทับนี่ เรากำลังโดนนั่งทับ มีใครรู้สึกไหม มีแต่เราไปนั่งทับมันใช่ไหม

เรารู้สึกกายนี้ใจนี้คือตัวเรา เพราะฉะนั้นดูลงมาในกายในใจนี้ ตัวเราอยู่ที่ไหน ดูลงไปที่นั่น ความรู้สึกว่าตัวเราอยู่ที่ไหน รู้ลงไป ตัวเราอยู่ที่กาย รู้ลงที่กาย ตัวเราอยู่ในใจ นี่ รู้ลงไปที่ใจ ดูลงไปซิ จริงๆ มีตัวเราไหม กายกับใจที่เราจะใช้รู้ ก็ต้องกายกับใจในปัจจุบันด้วย ไม่ใช่กายกับใจในอดีต เพราะกายกับใจในอดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความจำ และก็ไม่ใช่กายกับใจในอนาคต กายในอนาคต ใจในอนาคตยังไม่มี เป็นแค่ความคิด ในอดีตก็เป็นแค่ความจำ อนาคตก็เป็นแค่ความคิด ไม่ใช่ความจริง ความจริงอยู่กับปัจจุบันต่อหน้าต่อตานี่

เพราะฉะนั้น พยายามอยู่กับปัจจุบันนะ รู้สึกกาย รู้สึกใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน รู้ต้องรู้ตามความเป็นจริงของเขา ไม่ใช่รู้แล้วเข้าไปแทรกแซง พวกเราเวลารู้กายก็แทรกแซง รู้ใจก็แทรกแซง เช่น เวลาจะเดินตงกรม เราเคยเดินสบายๆ เดินทั้งวัน เดินทุกวันอยู่แล้ว เดินมาตั้งแต่เดินได้ จะว่าเดินแต่เกิดไม่ได้ใช่ไหม เพราะคนเกิดมามันยังไม่เดิน ไม่ใช่ลูกวัวลูกควาย ลูกวัวควายนะ ชั่วโมงสองชั่วโมงมันเดินได้แล้ว ลูกคนนี่นอน เอาตั้งแต่เดินได้นี่ เราก็เดินอยู่ทุกวันๆ แต่เราเดินไม่เป็น เดินแล้วไม่มีสติ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติ รู้ลงปัจจุบันไป ยืน เดิน นั่ง นอน รู้ลงปัจจุบัน เห็นกายเห็นใจที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน รู้ไปเรื่อยๆ ของจริงมันอยู่ตรงนี้ก็ดูจากของจริง ไม่ได้ดูจากความคิดความฝันในอนาคต หรือความจำในอดีต เอาของจริงมาดู ดูซิ เป็นตัวเราจริงไหมนี่ ถ้าไปคิดถึงตัวตนในอดีต นั่งนึกถึงหน้าตาของเราตอน ๓ ขวบ เห็นไหมคนนั้นไม่มีแล้ว นี่ ไม่เที่ยง อย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนาต้องเห็นตัวนี้อยู่ทนโท่ อยู่นี่เลยนี่ เห็นตัวนี้ล่ะ มันไม่ใช่ตัวเรา ถึงจะเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นต้องดูลงปัจจุบัน

ดูตามความเป็นจริงด้วย มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันถูกบีบคั้นตลอดเวลา มันบังคับไม่ได้ หรือมันเป็นวัตถุ มันเป็นก้อนธาตุ ดูลงเป็นไตรลักษณ์ เรื่องนี้ก็พูดทุกครั้งที่เจอกัน ไปดูเอาเอง ไปฟังเอาเอง ถ้าเรารู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบันนี่ ตามความเป็นจริงคือเป็นไตรลักษณ์ ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่ใช่จะเดินจงกรมก็บังคับจิตให้นิ่ง จะนั่งสมาธิก็บังคับจิตให้นิ่ง หรือเดินจงกรมก็ต้องวางมาดใช่ไหม ต้องเดินท่านี้ จะนั่งก็ต้องวางมาด ต้องนั่งในสง่างาม ถึงจะเป็นนักปฏิบัติ นั่งท่านี้ปฏิบัติไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ อย่าเข้าใจผิด มันไม่ได้สำคัญอยู่ที่อิริยาบถอะไร กิริยาท่าทางอะไร มันสำคัญอยู่ที่คุณภาพของจิต ในการที่ไปรู้กายรู้ใจต่างหาก ถ้าเรารู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงนะ ตีลังกาอยู่ก็ได้

ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งคือ หลวงพ่อพุธ เมื่อก่อนท่านเคยมาสอนที่นี่ หลวงพ่อพุธนี่แหละท่านสั่งไว้นะ ว่าอย่าทิ้งศาลาลุงชินนะ เราเลยต้องอดทนมาที่นี่นะ เพราะครูบาอาจารย์ท่านสั่งไว้ แต่ท่านไม่ได้บอกนะว่า ให้ไม่ทิ้งนานแค่ไหน (โยมหัวเราะ) นี่ดูไปนะ ดูลงความจริง ความจริงคือไตรลักษณ์ ดูกายดูใจ ดูเป็นไตรลักษณ์ ไม่ไปแทรกแซง ไม่ใช่เวลาจะเดินจงกรมก็ต้องวางมาด ค่อยๆ เดิน อะไรอย่างนี้ หรือจะนั่งสมาธิต้องวางฟอร์ม วางฟอร์มทางกายไม่พอ ต้องวางฟอร์มทางใจด้วย รู้สึกไหม ต้องทำใจให้ซึมก่อนถึงจะดี นึกออกไหม มันแกล้งทำทั้งหมดเลยนะ มันไม่ใช่การรู้ตามความเป็นจริง แต่มันเป็นการแกล้งทำ เพราะฉะนั้น อย่าไปดัดแปลงกาย อย่าไปดัดแปลงใจ เราต้องการรู้กายที่เป็นจริง รู้จิตใจที่เป็นจริง เราอย่าไปดัดแปลงเขา อย่าไปบังคับเขา อย่าไปแทรกแซง รู้กายรู้ใจอย่างที่มันกำลังเป็นอยู่จริงๆ นะ รู้ไป

ที่นี้การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ลงปัจจุบันนี่ แค่นี้ยังไม่พอ จิตที่เป็นคนไปรู้ ต้องมีความตั่งมั่น และต้องมีความเป็นกลาง มี ๒ เงื่อนไข ต้องมีความตั้งมั่น ตั้งมันคือมีสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นไม่ใช่จิตที่ไหลไปหาอารมณ์ พวกเราที่ภาวนาล้มลุกคลุกคลานไม่เกิดมรรคผลนิพพานสักที เพราะอะไร เพราะว่าจิตไม่ตั้งมั่น ถึงมารู้กาย มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น มันจะเป็นการเพ่งกายเพ่งใจ จิตมันจะไหลไปเพ่งนิ่งๆ อยู่ที่กาย ไหลไปเพ่งอยู่ที่ใจ อย่างคนที่หัดอานาปานสติรู้ลมหายใจ สังเกตให้ดีเถอะ  เกือบร้อยละร้อยนะ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมที่แท้จริง เกือบร้อยละร้อยเลย จะไปเพ่งลมหายใจ จิตจะไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ คนที่ดูท้องพองยุบนะ เกือบร้อยละร้อย นี่พูดแบบเกรงใจที่สุดแล้วนะ เกือบร้อยละร้อย จิตจะไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาไปเดินจงกรมยกเท้า ย่างเท้า จิตก็ไหลไปอยู่ที่เท้า ไปรู้อิริยาบถ ๔ นะ ไปเพ่งมันทั้งตัวเลย ขยับมือ จิตก็ไปเพ่งอยู่ในมือ มันมีแต่เข้าไปเพ่ง จิตที่ไหลเข้าไปเพ่งตัวอารมณ์นี่ เป็นจิตที่ใช้ทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน จิตที่เพ่งอารมณ์นี่ มีภาษาแขก ชื่อว่า อารัมณูปนิชฌาน การเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐาน เพราะฉะนั้นที่พวกเราส่วนใหญ่ทำอยู่เป็นแค่สมถกรรมฐาน ใจไม่ตื่นจริงๆ หรอก

มีแม่ชีคนหนึ่ง โทรศัพท์มาหากรรมการวัดคนหนึ่ง คือ ชมพู เขามีเบอร์ของชมพูอยู่ เบอร์วัด เขามาเล่าให้ฟังบอกว่า แกเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานอยู่ที่สำนักแห่งหนึ่ง แต่สำนักนี้ไม่ยอมให้ไปไหนมาไหนง่ายๆ ก็เลยต้องใช้วิธีแอบโทรมา แกเล่าว่า แต่เดิมแกก็สอนกรรมฐาน แกก็ภาวนาของแกไปด้วย แกเครียดมากเลย หลังแกแข็งเป็นก้อนหินอย่างนั้นเลย ทรมานมาก ต่อมาคนซึ่งไปเข้าคอร์สกับแกเอาหนังสือหลวงพ่อไป แกก็ไปขอดูนะ แล้วก็สนใจเขียนจดหมายมาขอหนังสือไป เอาไปอ่าน คงต้องแอบอ่าน ซีดีฟังไม่ได้ เดี๋ยวคนอื่นได้ยิน เป็นอาจารย์นะ อ่านๆ ไป รู้สึก โอ้ เราทำผิด เราไปเพ่งอารมณ์ เราไม่ได้รู้ลักษณะความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ แกบอกพอแกรู้ตรงนี้ แกเห็นว่าจิตไปเพ่ง จิตก็คลายออก แกบอกว่าตอนนี้นะ แกมีความสุขขึ้นเยอะเลย การภาวนาของแกง่าย หลังแกก็ไม่แข็งเป็นก้อนแล้วนะ หน้าตาแกนี่คนมาบอกเลย แกหน้าใส หน้าตาแกผ่องใสผิดจากเดิม แต่เดิมเครียด ที่สำคัญนะ นี่เขียนเล่ามาอย่างละเอียดอีก แต่เดิมนะ ปีหนึ่ง ประจำเดือนมา ๒ ครั้งเอง เพราะเครียด ตั้งแต่มาภาวนาแนวหลวงพ่อปราโมทย์นะ ประจำเดือนมาตามกำหนด (โยมหัวเราะ) เออแน่ะ เราก็เพิ่งรู้นะ ว่าภาวนาแล้วประจำเดือนมาตามกำหนด เพราะอะไร เพราะไม่เครียด

พวกเราล่ะ ภาวนาจนกระทั่งเครียดนะ พิกลพิการไปเยอะแยะเลยนะ เพราะทำผิด ถ้าเข้าใจที่พระพุทธเจ้าสอนแล้วจะไม่เครียดหรอก เราจะรู้กาย เห็นกายมันเป็นทุกข์ แต่ร่าเริงนะ เห็นจิตดีบ้าง ร้ายบ้าง เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวสงสัย เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ แต่เราร่าเริงที่ได้เห็นความแปรปรวนของมัน นี่ความประหลาดอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นเราจะมีความสุขนะ มีความสงบแต่ร่าเริง ไม่ใช่สงบแบบเซื่องๆ ซึมๆ ซังกะตาย หรือเครียดๆ แข็งๆ อันนั้นเป็นเพราะการเพ่งตัวอารมณ์ทั้งสิ้น ไม่ใช่การรู้ลักษณะของอารมณ์

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้นะ เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นมันเป็นแค่คนดู เราจะเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นกุศล อกุศล โลภ โกรธ หลง ทั้งหลาย อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นจิตเกิดดับไปทางตา เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจ ดับที่ใจ นี่เห็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ อย่างนี้เรียกว่าเราเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่นนะ มันจะเห็นความจริงอย่างนี้

การที่มันเห็นว่ากายก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง มันได้แสดงปัญญาให้เราเห็นแล้วว่า มันไม่ใช่ตัวเรา กายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา สังขารทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศลทั้งหลายไม่ใช่เรา จิตก็เกิดดับไปทางทวารต่างๆ จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา เห็นไหม มันจะมีปัญญาขึ้นมา ถ้าใจเราตั้งมั่นได้ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขสำคัญว่าจะเกิดปัญญาหรือไม่นี่ อยู่ที่ว่าจิตตั้งมั่นหรือจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ถ้าจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์จะเป็นสมถะ อย่างบางคนเดินจงกรมแล้วเพ่งอยู่ที่เท้า ยกเท้า ย่างเท้า รู้หมดเลย แล้วก็ตัวลอย ตัวเบา ตัวโคลง ตัวเล็ก ตัวใหญ่ บางคนตัวลอย บางคนรู้สึกวูบวาบเหมือนฟ้าแลบ บางคนรู้สึกขนลุกขนพอง บางคนรู้สึกเหมือนแมลงมาไต่ร่างกาย นี่เป็นอาการของปิติทั้งสิ้นเลย เป็นเรื่องของสมถะ

ทำไมคิดว่าทำวิปัสสนาแล้วกลายเป็นสมถะ ก็เพราะจิตไม่ตั้งมั่น ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะเจริญปัญญาไม่ได้ เพราะว่าสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะไหลไปอยู่ในอารมณ์แล้วไปแช่ ไปเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะเพ่งอะไรก็เป็นสมถะทั้งหมด ถ้าจิตตั้งมั่นก็จะเดินวิปัสสนาได้ เห็นความเป็นจริง ทีนี้พอเห็นความจริงแล้วมาถึงตัวสุดท้ายใช่ไหม ทีแรกหลวงพ่อบอก “ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น” ประโยคสุดท้าย “และเป็นกลาง”

เวลาที่เราไปเห็นสภาวะแล้วบางทีจิตก็ยินดีขึ้นมา บางทีจิตก็ยินร้ายขึ้นมา เช่น เราเห็นจิตใจของเรามีความสุข เราก็พอใจ หลายคนภาวนานะ ดูจิตดูใจ ดูไปเรื่อยๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ ดับไป เกิดความปรุงแต่งละเอียด ที่เรียกว่า ความว่าง ขึ้นมา ความว่างๆ ที่เราภาวนาแล้วไปเห็นเข้านี่ เป็นแค่ความปรุงแต่งละเอียด ไม่ใช่นิพพานนะ นิพพานไม่ได้ว่างอนาถาแบบนั้น นิพพานไม่ได้ว่างแบบมีขอบ มีเขต มีจุด มีดวง มีวงแคบๆ อยู่ และว่างอยู่นิดๆ หน่อยๆ อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าช่องว่าง

เพราะฉะนั้นบางคนภาวนาจนใจว่างขึ้นมา พอใจว่างแล้ว ราคะเกิด พอใจในความว่าง พอใจในความนิ่ง ไม่ยอมเจริญปัญญาต่อ มีเยอะนะ ตอนนี้เริ่มมีเยอะขึ้น ภาวนาแล้วก็ใจสบาย มีความสุข พอมีความสุขแล้วพอใจแค่นี้แล้ว ไม่มารู้กาย ไม่มารู้ใจ จิตไม่สามารถทวนกระแสเข้ามารู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ที่หลวงพ่อพูดบ่อยๆ ว่า จิตไม่ถึงฐาน น่ะ จิตมันไหลตามอารมณ์ไปเพลินๆ ว่างๆ อยู่ข้างนอก นี่ รู้อย่างไม่เป็นกลาง รู้แล้วหลงยินดี บางทีเห็นกิเลสเกิดขึ้นก็เกลียดมันนะ หาทางต่อสู้ใหญ่เลย ทำอย่างไรจะเอาชนะกิเลส หรือเรานั่งสมาธิอยู่มันปวดมันเมื่อย ทำอย่างไรจะชนะความปวดความเมื่อย นี่คิดภาวนาเอาชนะนะ คิดภาวนาเอาชนะหรือคิดภาวนาแล้วท้อแท้ตามกิเลสไป นี่ก็คือความไม่เป็นกลางทั้งสิ้น ถ้าหากเรารู้ทันความไม่เป็นกลาง ให้รู้ทันนะ เช่น เราไปเห็นคนนี้ ใจเราชอบขึ้นมา เรารู้ทันว่าใจชอบ นี่ใจไม่เป็นกลางแล้ว ชอบขึ้นมา ต่อมาเรามีสติ รู้ทันว่าใจไปชอบเขา เราเกิดความไม่ชอบความชอบนี่ขึ้นมาอีกแล้ว นี่ไม่เป็นกลางอีกแล้ว เรารู้ทันว่าใจไม่ชอบ นี่รู้ความไม่เป็นกลาง แล้วมันจะเป็นกลางของมันเอง

ความเป็นกลางมีหลายระดับ อันนี้ก็เทศน์เรื่อยๆ นะ ความเป็นกลางด้วยสมถะก็มี ไปเพ่งเอาไว้แล้วมันก็เป็นกลาง เป็นกลางด้วยสติก็มี เป็นกลางด้วยปัญญาก็มี เป็นกลางด้วยสติคือพอไปรู้ทันความไม่เป็นกลาง ความไม่เป็นกลางดับไป อันนี้ก็ยังใช้ได้นะ แต่ว่าเป็นกลางที่แท้จริงจะเป็นกลางด้วยปัญญา คือเห็นความจริงซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา เห็นซ้ำไปซ้ำมานะ สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว กุศลทั้งหลายก็ชั่วคราว พอเห็นอย่างนี้ใจจะเป็นกลางเอง อันนี้เป็นกลางด้วยปัญญา ความเป็นกลางด้วยปัญญานี่แหละ คือประตูของการบรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อจิตเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว จิตจะหมดความดิ้นรน ถ้าจิตเป็นกลางด้วยวิธีอื่น จิตยังดิ้นรนเพื่อเข้าไปสู่วิธีนี้ จิตยังต้องดิ้นรนอีก เช่น เป็นกลางเพราะสมถะ วันไหนไม่เป็นกลาง ก็ต้องกลับไปทำสมถะเพื่อให้มันมาเป็นกลางอีก ถ้าเป็นกลางเพราะปัญญามันจะเลิกดิ้น มันจะรู้เลยว่าทุกอย่างในโลกนี้ของชั่วคราว ทุกอย่างเป็นภาพลวงตา ใจมันเห็นอย่างนี้นะ ใจมันไม่ดิ้นแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในกายในใจ ร่างกายจะแก่ จะเจ็บ จะตาย ใจก็ไม่ดิ้นรน จิตจะสุขหรือจิตจะทุกข์ จิตใจก็ไม่ดิ้นรน กระทั่งอกุศลเกิดขึ้น เช่น บางทีภาวนาแล้วมันมืดๆ มัวๆ ภาวนาแล้วมัว ดูไม่รู้เรื่องแล้ว นี่ ส่วนมากจะมาตายตอนนี้ก็มี พอดูไม่รู้เรื่องแล้วทุรนทุรายแล้วเห็นไหม อยากดูให้ชัด อยากรู้ให้ชัด นี่ใจไม่เป็นกลาง ถ้าดูไปแล้ววันนี้มันมัวๆ จิตมีแต่โมหะ มัวๆ รู้ว่ามีโมหะนะ อย่าไปเกลียดมัน รู้ด้วยความเป็นกลางซิ มันจะขาดสะบั้นต่อหน้าต่อตาเลย

เพราะฉะนั้นจำไว้นะ คีย์เวิร์ด (keyword) ทั้งหลาย ให้รู้กายรู้ใจ มีสติ สติที่แท้จริง รู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันด้วย ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต รู้ตามความเป็นจริง คืออย่าไปแทรกแซง อย่าไปบังคับเขา รู้ตามความเป็นจริง คือเป็นไตรลักษณ์ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ตั้งมั่นและก็เป็นกลาง ถ้าจิตไม่เป็นกลางให้รู้ทันว่าไม่เป็นกลาง นี่เป็นทางเดินที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกันมา เป็นหลักในสติปัฏฐาน ในวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง หลวงพ่อเอามาพูดใหม่ ด้วยภาษาใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่ๆ ฟัง

CD ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 25

File: 511116.mp3

Time: 13m38 – 32m06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การถือศีล ๕ ต้องถือเป็น

mp3 (for download) : sil3

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ถ้าถือศีล ๕ ไม่ครบทุกข้อจะทำให้การภาวนาไม่ก้าวหน้าหรือเปล่าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่ แต่ว่าการถือศีล ๕ ต้องถือเป็นนะ อย่างบางคนนี่เขามีอาชีพทำบ่อกุ้ง ถ้าเขาคิดตลอดเวลาเลยว่าเขาต้องเลี้ยงกุ้ง ศีลเขาไม่บริสุทธิ์ เวลาจะภาวนาเขาคิดถึงแต่ว่าศีลไม่บริสุทธิ์ อย่างนี้ไม่ฉลาด เขามาเรียนที่หลวงพ่อ หลวงพ่อก็ถามว่า ปีหนึ่งจับกุ้งกี่ครั้ง ไม่กี่ครั้งนะ อ้าว แล้วเวลาที่เหลือไม่ได้ฆ่ากุ้งไปคิดทำไม เวลาที่เหลือทำคุณงามความดีไปสิ ถ้าวันหนึ่งมีโอกาสเปลี่ยนอาชีพได้ก็เปลี่ยนไป มันยังเปลี่ยนไม่ได้อยู่ มันเป็นอาชีพในบ้าน พ่อแม่ทำมาอย่างนี้ยังไม่รู้จะหนีไปไหน ก็ต้องรู้จักเลือกนะ ชีวิตของเรานี่ซอยมันเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เวลานี้อกุศลเอาไปกินแล้วก็แล้วกันไป พยายามสำรวมระวัง หลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยงซะทีหลัง เวลาที่เหลือนี่ไม่ใช่เวลาของอกุศลแล้ว เพราะฉะนั้นก็รู้สึกตัวขึ้นมาดูกายดูใจไป ศีล ๕ ของเราก็จะขาดเป็นช่วงๆ ไม่ใช่ขาดทั้งวันทั้งคืน ขาดตอนที่ทำผิดศีลนั่นแหละ ตอนที่ไม่ได้ทำผิดศีลเราก็มีศีล ๕ ตอนนั้นเราก็ภาวนาไป อาจจะบรรลุมรรคผลตอนนั้นเลยก็ได้นะ

CD: ศาลาลุงชิน ๑๙
๕๑๐๓๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 15 of 17« First...10...1314151617