Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ปัญญาที่สำคัญก่อนเกิดอริยมรรค และความเป็นกลางแบบต่างๆ

mp3 (for download) : ปัญญาที่สำคัญก่อนเกิดอริยมรรค และความเป็นกลางแบบต่างๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญาน

สังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราว

มีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา

เป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบ

เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้

เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติ

เป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญา

เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย

เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ

แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย

ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา

ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย ….

ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก

พวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น

อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะ

ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้

อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ

วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

เสถียรธรรมสถาน วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๒

File: 520906

นาทีที่ ๒๒ – ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตใจของเรา ถ้าไม่ไปแทรกแซงและตามรู้ไปเรื่อยๆ มีแนวโน้มที่จะไปสู่มรรคผลนิพพานโดยตัวของมันเอง

mp3 (for download): จิตใจของเรา ถ้าไม่ไปแทรกแซง และตามรู้ไปเรื่อยๆ มีแนวโน้มที่จะไปสู่มรรคผลนิพพานโดยตัวของมันเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ :

ธรรมะอยู่ที่กายที่ใจของเรานี้เอง
เราอยู่กับธรรมะมาตั้งแต่เกิด แต่ใจเราไม่ยอมรับธรรมะ
ใจเราไม่ยอมรับความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวเรา
เราอยากได้สิ่งซึ่งไม่ใช่ความจริง อยากให้เที่ยง อยากให้สุข อยากบังคับให้ได้
เพราะฉะนั้นภาวนาแทบเป็นแทบตาย ธรรมะก็ไม่เข้ามาสู่ใจของเรา
เพราะใจของเราปฏิเสธธรรมะ
ไม่มีใครปฏิเสธธรรมะ เราปฏิเสธเองนะ

จิตใจของเรานี่ ถ้าไม่ไปยุ่งกับมันนะ
มันมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงธรรมโดยตัวของมันได้นะ
ถ้าเราไม่ไปแทรกแซงมัน มีแนวโน้มที่จะดี

ในแง่ของสมถะ ตัวจิตเป็นประภัสสรอยู่แล้ว ผ่องใส
แต่มันถูกกิเลสมอมเมาเอา จิตใจก็เลยไม่สงบ ไม่สบาย นี่ในแง่สมถะนะ
ในแง่วิปัสสนานี่ ถ้าเราตามรู้กายตามรู้ใจไปเรื่อยๆ นะ
จะเห็นความจริงของเขา เราก็เข้าถึงธรรมะ ไม่ได้มีอะไรยากเลย เราชอบทำเกิน

มีครั้งนึงพระพุทธเจ้าอยู่ริมแม่น้ำคงคา กับพระกลุ่มใหญ่
แล้วท่านก็ชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำมา
ชี้บอก ภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้นี้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา
ถ้าท่อนไม้นี้ไม่ติดฝั่งซ้ายไม่ติดฝั่งขวา
ไม่ไปเกยตื้น เกยตื้นอยู่ตามเกาะตามแก่งอะไรอย่างนี้
ไม่ติดฝั่งซ้าย ไม่ติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น
ไม่ถูกคนหรืออมนุษย์จับเอาไว้
ไม่ถูกน้ำวนดูดจมลงไปหรือวนอยู่ที่เดิมไปไหนไม่ได้
ไม่ผุพังเน่าเสียก่อน
ท่อนไม้นี้ก็จะลอยไปสู่มหาสมุทร

จิตของเรานี้เหมือนกัน มีแนวโน้มที่จะไปสู่มหาสมุทรคือมรรคผลนิพพาน
ถ้าไม่ติดฝั่งซ้ายไม่ติดฝั่งขวา
ไม่ไปเกยตื้น
ไม่ถูกมนุษย์และอมนุษย์จับไว้
ไม่ถูกน้ำวนดูดไว้
ไม่เน่าในเสียก่อน
ถ้าจิตของเรามีคุณสมบัติอย่างนี้นะ
การจะบรรลุมรรคผลนิพพานมันจะเป็นไปเอง
มันจะเป็นไปเอง มันมีแนวโน้ม โน้มน้อมไปสู่มรรคผลนิพพานโดยตัวของมันเอง
เพราะฉะนั้นคนที่สกัดกั้นมันไว้ส่วนมากก็คือตัวเรานี่เอง

คำว่า ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ก็คือการที่จิตของเราไปหลงติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคู่ๆ
บางคนยึดในความดี เกลียดความชั่วรุนแรงนี่ติดนะ
บางคนยึดชั่วเกลียดดี ก็ติดอีกนะ
บางคนยึดสุขเกลียดทุกข์ ก็ติดอีก
ติดคู่ที่สำคัญมากเลย ก็คือติดในการเผลอไปกับติดในการเพ่งไว้
ติดในกามสุขัลลิกานุโยค คือจิตใจหลงตามกิเลสไป
เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
แล้วก็เพ่งเอาไว้ นั่งปฏิบัติเกือบทั้งหมดคือเพ่งอยู่นะ
เพราะฉะนั้นติดฝั่งอยู่นะ ไปไหนไม่ได้หรอก
นักเพ่งทั้งหลายก็ติดอยู่บนฝั่งข้างหนึ่งนั่นเอง
ท่านไม่ได้บอกนะ ว่าข้างซ้ายหรือข้างขวา
ท่านแค่ว่ามันมีสองฝั่งแล้วติดฝั่ง คือติดในธรรมที่มันเป็นคู่ๆ

เกยตื้น คือไปติดอยู่ในภพอะไรอย่างหนึ่งที่เราสร้างขึ้นมา
หลายคนภาวนาจนจิตว่าง โล่ง สว่างไสวนะ แล้วก็เพลิดเพลินพอใจอยู่ในภพอันนั้น
นี่เกยตื้นแล้ว ชาตินี้ไม่ไปไหนแล้ว
บางคนดูจิตดูใจนะ จิตใจว่างสว่างอยู่ข้างหน้าอย่างนี้
ที่หลวงพ่อพูดว่าจิตไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน คือจิตไปสร้างภพอันนึงอยู่ข้างนอก
แล้วจิตก็ไปเกาะนิ่งๆ อยู่ในภพอันนั้น นี่เกยตื้นแล้ว เดินปัญญาต่อไปไม่ได้

ถูกมนุษย์จับไว้ ก็คือติดหมู่คณะ ติดพรรคติดพวก
ไปไหนก็กะเตงกันไปเป็นกลุ่มเบ้อเร่อเลย
เมื่อก่อนอยู่วัดป่านะ มีรถทัวร์เข้าไปกันเยอะ
พอรถทัวร์เข้ามา คนในวัดจะคุยกันแล้ว โอ้ พวกอรหันต์ทัวร์มาอีกแล้ว
นี่พวกอรหันต์ทัวร์ เพราะชอบไปหาข่าวลือว่าวัดไหนมีพระอรหันต์นะ จัดทัวร์ไป
อรหันต์หนึ่งวัด สองวัด สามวัด นี่วันนี้ไหว้อรหันต์เจ็ดวัดแล้ว ชาตินี้ไม่ตกนรกแล้ว
นี่ติดหมู่ติดคณะนะ
บางคนก็ห่วงคนอื่น ห่วงคนอื่นไม่ห่วงตนเอง
ห่วงหมู่คณะ ห่วงพรรคพวก
เห็นพรรคพวกติดกรรมฐานพยายามไปแก้ ตัวเองเลยติดด้วย อย่างนี้ก็มีนะ

ถูกอมนุษย์จับไว้ อะไรคืออมนุษย์ ชื่อเสียง เกียรติยศทั้งหลาย
ภาวนาไปแล้วดัง เป็นอาจารย์ใหญ่ดัง ขี่หลังเสือลงไม่ได้แล้ว
ชาตินี้ก็เลยอยู่บนหลังเสือตลอดไป มีนะ ไม่ใช่ไม่มี

ถูกน้ำวนคืออะไร น้ำวนคือกามนะ
น้ำวนคือกาม
ถ้าภาวนาดูจิตดูใจเป็นจะเห็นเลย จิตของเราจะหมุนอยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดเวลา
หมุนติ้วๆ เลยนะ
คือเดี๋ยวก็วิ่งหาอารมณ์ทางตา เดี๋ยวก็วิ่งหาอารมณ์ทางหู
เดี๋ยววิ่งหาอารมณ์ทางจมูก ไปดมกลิ่น
เดี๋ยวก็วิ่งหารสที่เพลิดเพลิน หาสัมผัสที่ถูกอกถูกใจ
นี่จิตจะหมุนติ้วๆ หาอารมณ์อยู่อย่างนี้ ไปไหนไม่รอดหรอก
ยังติดอยู่ในกาม คือถูกน้ำวนไว้

จิตเน่าใน คือพวกไม่มีศีลธรรม ก่อกรรมทำชั่ว
บางคนดูถูกศีลนะ เจริญปัญญาได้แล้ว ไม่ต้องถือศีล เข้าใจผิด
ไม่ถือศีลไม่ได้ ถ้าเราไม่ถือศีลนะ ปัญญาของเราจะเป็นปัญญาของมหาโจร
เพราะฉะนั้นเราต้องมีศีล ถ้าเราทุศีลเมื่อไหร่นะ ก็เน่าอยู่ข้างใน
เปลือกนอกดูสวยงาม แต่เน่าอยู่ข้างใน นี่บรรลุมรรคผลไม่ได้

เพราะฉะนั้นพวกเรานะ สำรวจตัวเอง
เราติดฝั่งซ้ายฝั่งขวาไหม
เราไปเกยตื้น คือเราไปติดอยู่ในภพใดภพหนึ่งที่เราสร้างขึ้นเองหรือเปล่า
เราพัวพันในหมู่คณะ ปล่อยวางไม่ได้ จะหอบกระเตงกระเตงกันไป
หรือเราติดในชื่อเสียง
บางคนไปพูดธรรมะแล้วสนุกนะ
นี่ ได้แสดงธรรมะแล้วสนุก เพลิดเพลิน มีความสุข ติดอยู่ในความสุข
นี่ถูกอมนุษย์จับไว้
หรือใจของเราวันๆ หมกมุ่นในกามไหม
หมกมุ่นอยู่ในกามไปไม่รอดหรอก
ใจของเรามีศีลมีธรรมไหม
สำรวจนะ ลองไปสำรวจตัวเองเป็นการบ้าน
ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วนี่ ให้รู้กายแบบสบายๆ รู้จิตใจไปอย่างสบายๆ
ถึงวันนึงท่อนไม้นี้จะลอยไปถึงแม่น้ำ ถึงมหาสมุทรนะ
ออกจากแม่น้ำคงคา ถึงมหาสมุทร
ใจเราก็จะออกจากที่คับแคบไปสู่ที่กว้างไร้ขอบไร้เขต
จิตใจของเราแต่ละคนอยู่ในที่ขังนะ มีกรอบมีขัง มีจุดมีดวง มีกรอบขังอยู่แคบๆ
ถ้าภาวนาไปถึงช่วงนึงจะเห็นใจเราอยู่ในแคปซูล ใจเหมือนมีเปลือกหุ้มอยู่ ใจไม่มีอิสระ
วันใดที่เราออกสู่ทะเลได้ คือเข้าถึงธรรมแท้ๆ นะ ใจจะโล่งว่างเลยนะ
กว้างขวางไร้ขอบไร้เขต ไม่มีจุดไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง
เพราะฉะนั้นใจไม่ต้องวิ่งไปวิ่งมาเหมือนที่เคยเป็น
ใจอยู่ในที่ทุกสถานเลย เต็มไปหมดเลย
เพราะฉะนั้นอย่างเวลาพวกเราภาวนา
เรามีปัญหาติดขัดหรือเกิดอะไรขึ้นนะ
เราระลึกถึงพระพุทธเจ้านะ เราจะสัมผัสท่านได้ทันทีเลย
พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่อินเดีย คุณธรรมของท่านยังครอบโลกเต็มโลกอยู่อย่างนี้
ใจเรานึกถึงขึ้นมาจิตใจเราก็สงบ ตั้งมั่น มีความสุขขึ้นมาฉับพลันเลยนะ
หรือบางครั้งภาวนาติดขัด ไม่รู้จะทำยังไงดี
ครูบาอาจารย์ก็อยู่ไกล เราไหว้พระสวดมนต์ เราตามรู้ตามดูของเราไป
บางทีธรรมะจะถ่ายทอดออกจากใจของเราเอง
หรือบางคนมีภาพประกอบ บางคนมีเสียง
เห็นพระพุทธเจ้าไปบอกบ้าง
เลยคิดว่าพระพุทธเจ้ามาจริงๆ นะ
จริงๆ จิตนั่นเองมันถ่ายทอดธรรมะออกมา
จิตใจโน้มเอียงที่จะอยู่กับธรรมะ
เวลาติดขัดขึ้นมาจิตจะสอนธรรมะได้ เป็นเรื่องแปลกนะ
ค่อยๆ ดู ท้าให้พิสูจน์นะ ไม่ได้ชวนให้เชื่อ
ลองภาวนาดู เอาซีดี เอาหนังสือหลวงพ่อไป ไปฟังไปอ่าน
แจกให้ฟรีนะ ไปฟังไปอ่านแล้วค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราไป

สวนสันติธรรม แผ่นที่ 19

File: 500310B

Time: 30m44 – 39m45

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตที่ถูกต้องได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

mp3 (for download): การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อขอยกตัวอย่างกรรมฐานอันหนึ่งก็คือการดูจิต ถ้าเราดูจิตเป็นนะเราจะมีทั้งศีลทั้งสมาธิทั้งปัญญา นะ ทำอันเดียวนี้แหละ ได้หมดเลย นะ แต่ต้องทำให้เป็นนะ ทำยากเหมือนกันแหละ

ขั้นแรกเลยเราหัดรู้จักจิตใจของตนเองก่อน นะ ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เกิดลอยๆอยู่ในอากาศหรอกนะ มันอยู่ที่จิตที่ใจเราเนี่ยเราต้องให้พัฒนาขึ้นมาที่จิตที่ใจของเรา คุณงามความดี กุศลทั้งหลาย เกิดที่จิตเรานี่แหละ ไม่ได้ไปเกิดที่ร่างกายหรือเกิดที่อื่น นะ เพราะฉะนั้นเราเรียน ถ้าเรียนเอาให้เร็วๆนะ เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตนเอง ขั้นแรกเลยหัดสังเกตสภาวะไปเรื่อยๆ จิตมันโลภขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันหลงไปละ คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ไป ก็รู้ว่ามันหลงไปคิด จิตฟุ้งซ่านรู้ว่ามันกำลังฟุ้งซ่านอยู่ จิตหดหู่รู้ว่ามันหดหู่อยู่ จิตเป็นสุขรู้ว่ามันเป็นสุขอยู่นะ จิตเป็นทุกข์รู้ว่ามันเป็นทุกข์อยู่ จิตเฉยๆรู้ว่าจิตเฉยๆ นะ หัดรู้ทันสภาวะของจิตใจไปเรื่อยๆ อย่าไปคาดหวังว่าจะรู้ไปถึงเมื่อไร รู้แล้วจะได้อะไร หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆนะ

ตอนนี้มีคนที่ฟังหลวงพ่อ ฟังด้วยต่อหน้าต่อตาแบบนี้บ้าง ฟังจากซีดีบ้าง คนฟังจากซีดีก็เยอะ นะ เมื่อวันจันทร์หลวงพ่อไปเทศน์ที่สระบุรี มีคนที่อยู่ทางโน้นนะ บางคนไม่เคยมาฟังที่นี่ นะ ไม่เคยเจอหลวงพ่อด้วย ฟังแต่ซีดีนะ เขาฟังแล้ว ได้ยินว่าให้หัดรู้สภาวะ รู้สภาวะ เขาก็หัดดูสภาวะไป นะ อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้เรื่อยๆนะ คอยรู้ไป โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่านหดหู่ สุขทุกข์ อะไรอย่างนี้ ดีใจ เสียใจ ยินดียินร้าย อะไรๆเกิดขึ้นในจิตในใจเขาคอยดูเรื่อยๆ ปรากฎว่าจิตของเขาตื่นขึ้นมา นะ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขึ้นมา นะ อันนี้เขาได้สมาธิแล้วนะ ได้สมาธิแล้ว

ถัดจากนั้นคือขั้นเจริญปัญญา นะ ทีนี้เราหัดดูสภาวะบ่อยๆ ต่อไปเนี่ยไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในจิตของเรา แม้แต่นิดเดียว สติจะระลึกได้เอง เราต้องฝึกจนสติเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติถึงจะเรียกว่าใช้ได้ ถ้าสติยังไม่อัตโนมัตินะ หัดดูสภาวะไปเรื่อย มันโลภแล้วก็รู้ รู้บ้างหลงบ้างนะ มันไม่ได้รู้ตลอดเวลาหรอก นะ เราเคยชินที่จะหลง มันหลงตลอดวันน่ะ ส่วนใหญ่นานๆรู้ทีหนึ่ง นะ

วิธีที่จะช่วยให้เรารู้ได้บ่อยๆนะ คือ หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง เรียกว่า วิหารธรรม นะ หาวิหารธรรมมาสักอันหนึ่ง อาจจะอยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ อยู่กับท้องพองยุบก็ได้ ขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ เดินจงกรมแล้วเห็นร่างกายเดินก็ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ไปเรื่อยๆก็ได้ หัดรู้สภาวะอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไว้ นะ คอยรู้ทันจิตเป็นตัวหลัก นะ เอาวิหารธรรม เอาเครื่องอยู่นี้เป็น Background เป็นพื้นหลังเท่านั้นเอง เป็นฉากหลัง นะ

เช่น เราคอย พุทโธ พุทโธ ไปนะ แล้วจิตมันหนีไปคิด เราก็รู้ทันว่าจิตหลงไปคิดแล้ว นี่คือการหัดรู้สภาวะ นะ อ้อ..จิตหลงไปคิดหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง มาพุทโธ พุทโธ อีก หลงไปคิด คราวนี้ไม่ทันรู้ทัน หลงไปคิดเรื่องนี้แล้วเกิดความโลภ มีสติแล้วไปรู้ทันอีก โอ้..นี่โลภเกิดขึ้นแล้ว เนี่ยจิตจำสภาวะของความโลภได้ ต่อไปความโลภเกิดนะ สติก็เกิดเอง

บางทีหลงไปคิด แล้วก็รู้ไม่ทันความโกรธเกิดขึ้น เกิดรู้ทันว่าจิตกำลังโกรธอยู่ อ๋อ..ความโกรธหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง นะ จิตจำสภาวะของความโกรธได้แม่น ต่อไปพอจิตมันโกรธขึ้นมานะ สติระลึกได้เองว่า อ้อ..โกรธไปแล้ว ไม่ได้เจตนารู้เลยนะ มันรู้เอง อ้าวโกรธไปแล้วนี่ โลภไปแล้วนี่ หลงไปแล้วนี่ ฟุ้งซ่านไปแล้ว หดหู่ไปแล้ว ดีใจเสียใจ สุขทุกข์ เฉยๆ ไปแล้ว นะ เฝ้ารู้อย่างนี้เรื่อยๆ

หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งเป็นเครื่องอยู่ของจิต แล้วคอยรู้ทันจิต เหมือนเป็นบ้าน เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับบ้านมากกว่าเจ้าของบ้าน จิตคือเจ้าของบ้าน นะ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจอะไรก็ได้ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วจิตมีปีติ รู้ทัน หายใจแล้วจิตเป็นสุข รู้ทัน หายใจแล้วจิตสงบ มีอุเบกขา รู้ทัน หายใจแล้วไม่ยอมสงบเลย ฟุ้งลูกเดียวเลย ก็รู้ทัน หัดรู้อย่างนี้เรียกว่าหัดรู้สภาวะนะ ต่อไปสติเกิดขึ้นมา

ทีนี้พอสติเกิดเอง แล้วต่อไป กิเลสมันเกิดอีก สติเห็นได้เอง ทันทีที่สติมันไปเห็นเองนะ กิเลสมันจะหายไปละ มันจะครอบงำจิตไม่ได้ นะ ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านเลยสอน สอนดีมาก หลวงปู่ทา อยู่วัดถ้ำซับมืด นี่ ท่านสิ้นไปแล้ว หลวงปู่ทานะ เจอท่านทีไรท่านพูดนิดเดียว บอก “มีสติรักษาจิต” มีสติรักษาจิตนะ ท่านไม่ได้บอกให้เรารักษาจิตนะ ท่านให้มีสติ แล้วสตินั่นแหละรักษาจิต หมายถึงว่า พอกิเลสใดๆเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทันนะ กิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ เมื่อกิเลสครอบงำจิตไม่ได้ เราจะผิดศีลได้มั้ย เราจะผิดศีลไม่ได้ จำไว้นะ

คนทั่วๆไปถือศีลอย่างยากลำบาก รู้สึกศีลเป็นของถือยาก เพราะอะไร เพราะไม่มีสติ แต่ถ้าเราฝึกนะ ตามรู้จิตรู้ใจตัวเองไป รู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นจนมันรู้อัตโนมัติขึ้นมาเนี่ย การรักษาศีลไม่ใช่ของยากอีกต่อไปแล้ว นะ เช่น ใจอยากคุยฟุ้งซ่าน สังเกตมั้ยพูดมากเนี่ย เป็นศีลที่ด่างพร้อยง่ายที่สุด รู้สึกมั้ย พูดเพ้อเจ้อ ศีลด่างพร้อยง่ายที่สุดเลย เพราะเรารู้สึกไม่มีโทษเท่าไหร่ พูดได้ สนุกดี นะ แต่พอต่อไปเรา สติเราเร็วนะ เราเห็นจิตอยากพูดเพ้อเจ้อ เราเห็นละ ความอยากนั้นดับไปนะ เราก็ไม่พูดเพ้อเจ้อแล้ว นี่เป็นตัวอย่างนะ ความโกรธเกิดขึ้นมา เรามีสติรู้ทัน ความโกรธครอบงำจิตไม่ได้เราก็ไม่ด่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ ไม่ไปส่อเสียดใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่ฆ่าใคร เห็นมั้ย เราคอยรู้ทันนะ มีสตินี้แหละ สติรักษาจิตให้มีศีลขึ้นมา นะ

ทีนี้พอเราคอยรู้ทันบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ยจิตจะค่อยๆตั้งมั่น กิเลสนั้นล่ะเป็นตัวลากให้จิตมันไหลไป นะ กิเลสหยาบๆนะมันจะขึ้นมาครอบงำจิตแล้วจะทำให้ผิดศีล ถ้ากิเลสยังไม่หยาบ กิเลสมันละเอียดขึ้นมาเรียกว่านิวรณ์ เช่น กามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น จิตมันอาลัยอาวรณ์ในความสุขทางโลกๆขึ้นมา หรือพยาบาทเกิดขึ้น จิตมันคอยคิดคอยปรุงแต่เรื่องไม่ดี เขาว่าเราเมื่อ ๒๐ ปีก่อน เรายังเจ็บไม่หายเนี่ย เพราะใจมีพยาบาท ถ้าเรามีสติรู้ทันนิวรณ์ที่กำลังปรากฎอยู่ นิวรณ์จะดับไปนะ เมื่อไรนิวรณ์ดับไป เมื่อนั้นจิตตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ สมาธิเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติรู้ทันจิตเรื่อยๆนะ จะเกิดศีลอัตโนมัติ แล้วก็รู้ทันลงไปอีกนะ ถ้านิวรณ์กิเลสละเอียดๆผุดขึ้นมาเรารู้ทัน รู้ทัน รู้ทัน ไปเรื่อยนะ กิเลสพวกนี้ลากจิตให้วิ่งไปไม่ได้ กิเลสนิวรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยมายั่ว ยั่วยวน นะ จนกระทั่งกลายเป็นกิเลสหยาบๆ ลากเอาจิตกระเจิดกระเจิงลงไป แต่ถ้าเรารู้ตั้งแต่มันยังตัวเล็กๆนี่มันลากเอาไปไม่ได้ จิตใจก็สงบสิ ใช่มั้ย จิตไม่ถูกมันลากให้ไปคิดในเรื่องกาม ไม่ถูกให้มันลากไปคิดในเรื่องที่พยาบาท ไม่ลากไปคิดฟุ้งซ่าน ไม่ลากไปคิดหดหู่ ไม่ลากไปคิดเรื่องธรรมะแล้วก็สงสัยอยู่นั้นแหละ ไม่ยอมดู นะ เมื่อจิตไม่ถูกกิเลสลากเอาไป ไม่ถูกนิวรณ์ลากเอาไป จิตก็สงบสิ จิตก็ตั้งมั่นเห็นมั้ย ดูจิตแล้วมีสมาธิขึ้นมา

เมื่อปี ๒๕ นะ ปลายๆปี หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์เป็นครั้งที่ ๓ นะ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๑ เนี่ย ไปช่วงเดือนมาฆะ ช่วงมาฆบูชา ใกล้ๆมาฆบูชา ครั้งที่ ๒ ไปช่วงใกล้ๆวิสาขะ นะ แล้วครั้งที่ ๓ เนี่ย หลังจากออกพรรษาแล้วไป ไปส่งการบ้านท่าน ไปส่งรายงานท่านว่าดูจิตแล้วอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ ท่านก็บอกว่า อ้อ..จิตตรงนี้เข้าสมาธิ นะ จิตเป็นสมาธิ ตอนนั้นหลวงพ่อก็ไปบอกท่านนะ เอ๊..หลวงปู่ผมไม่ได้นั่งสมาธินะ ผมดูจิตอยู่เฉยๆน่ะ ทำไมหลวงปู่ว่าเข้าสมาธิ เราลูกศิษย์ชั้นดีนะ ครูบาอาจารย์บอกอะไร เรายังสงสัยเรายังไม่เชื่อทีเดียว เราฟังแต่ไม่เชื่อ ชาวพุทธต้องหัดนิสัยใหม่นะ ทุกวันนี้เราเน้นเรื่องเชื่อฟัง อย่าเชื่อง่าย เชื่อง่ายไม่ใช่ชาวพุทธแต่ต้องฟังนะ ฟังแล้วพิจารณา ฟังแล้วใคร่ครวญ ฟังแล้วตรวจสอบ นะ เห็นจริงแล้วถึงจะเชื่อ

เพราะฉะนั้นหลวงปู่สอนหลวงพ่อนะ บอกว่าจิตมันทำสมาธิ หลวงพ่อก็ยังสงสัยอยู่ กราบเรียนถามท่าน หลวงปู่ ผมไม่ได้นั่งสมาธินะผมดูจิตอยู่ หลวงปู่บอกว่าการดูจิตนั้นจะได้สมาธิอัตโนมัติ นะ โอ้.. ท่านว่าอย่างนี้นะ น้อมรับมา เดี๋ยวมาดูว่าจริงหรือไม่จริง นะ เนี่ยท่านว่าอย่างนี้เราก็ฟัง นะ ไม่เถียงนะ ไม่ใช่เถียงไม่จริงหรอกครับ ยังไม่ได้พิสูจน์เลยดันไปบอกว่าไม่จริง โง่ อย่างนั้นโง่ นะ ก่อนจะบอกว่าจริงหรือไม่จริงนะต้องพิสูจน์ก่อน

อย่างทุกวันนี้ข่าวลือเยอะนะ ชอบลือว่าคนนั้นเป็นพระอรหันต์ นี่ คนนี้อรหันต์ หลวงพ่อปราโมทย์ก็อรหันต์ หันไปหันมา เชื่อก็โง่แล้ว นะ ถ้าเชื่อก็โง่แล้ว ถ้าไม่เชื่อแล้วก็ไม่จริงหรอก ไม่จริงหรอก อันนี้ก็โง่อีกแบบหนึ่ง ใช่มั้ย ต้อง ต้องดู ใช่มั้ย ต้องตรวจสอบ ต้องพิสูจน์ เนี่ย เราแต่ละคนอย่าเชื่อง่าย

นี่หลวงพ่อก็มาดูๆ ผ่านมา ฝึกมาเรื่อยๆ อ๋อ เราดูจิตดูใจเนี่ย มันพลิกไปพลิกมานะ ระหว่างการเดินปัญญากับการทำสมาธิ ถ้าเมื่อไรจิตไปจับอารมณ์อันเดียวไว้ล่ะก็นิ่ง..หยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้น ในความสงบ ในความว่าง ในความไม่มีอะไร อันนั้นคือการทำสมาธิด้วยการดูจิต นะ หรืออย่างเรารู้ทันกิเลส รู้ทันนิวรณ์ที่จะมาย้อมจิต พอรู้ทันนะ กิเลสนิวรณ์ดับไปเนี่ย จิตสงบ จิตตั้งมั่น มีสมาธิขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นี่ดูจิตก็ได้สมาธิจริงๆอย่างที่ครูบาอาจารย์บอก เห็นมั้ยท่านบอกไม่ผิด ท่านบอกถูก แต่ตอนที่ท่านบอกเรายังรู้ไม่ถึง นะ เราก็มาฝึกเอา ไม่ใช่รู้ไม่ถึงแล้วเถียงไว้ก่อน แล้วก็ไม่ลองทำ อันนั้นใช้ไม่ได้ นะ

ทีนี้ ดูจิตนะ กิเลสหยาบครอบงำจิตไม่ได้ ต่อไปก็มีศีล ดูจิตนะ นิวรณ์เกิดขึ้น รู้ทันนิวรณ์ นิวรณ์สลายไป จิตก็ตั้งมั่น มีสมาธิ เรามาดูจิตต่อไปให้เกิดปัญญาทำได้มั้ย ทำได้ เราจะเห็นว่าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น จิตดวงหนึ่งดับไป อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน นะ จิตนี้ไม่คงที่เลย จิตนี้แต่ละดวง แต่ละดวงเนี่ย เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ จิตไม่ได้มีดวงเดียว มิจฉาทิฎฐิจะเห็นว่าจิตมีดวงเดียวแล้วก็เที่ยง คงที่ถาวร จิตนี้คือตัวเรา เป็นอัตตาตัวตนถาวร

แต่ถ้าเราหัด มีสติ รู้ทันจิตเรื่อยๆ เราจะเห็นว่าจิตไม่เที่ยงหรอก จิตบางดวงมีความสุข จิตบางดวงมีความทุกข์ จิตบางดวงเฉยๆ จิตบางดวงเป็นกุศล จิตบางดวงมีกิเลส นะ คนละดวงกัน จิตที่เป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีกิเลสก็อย่างหนึ่ง จิตที่เป็นกุศลก็ยังมีหลายแบบ เป็นกุศลเฉยๆ เป็นกุศลธรรมดา หรือเป็นกุศลที่ประกอบด้วยสติปัญญา นะ มีสติอย่างเดียว หรือมีสติและปัญญา เนี่ย จิตที่เป็นกุศลก็จะมีสองแบบ นะ

จิตที่เป็นอกุศลก็มีหลายแบบ จิตที่โลภก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่โกรธก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่หลงก็เป็นแบบหนึ่ง นะ แล้วจิตที่หลงมีความพิเศษ จิตอกุศลทั้งหมดจะเป็นจิตที่หลง จิตจะโกรธได้ก็ต้องหลงด้วย จิตจะโลภได้ก็ต้องหลงด้วย เพราะฉะนั้นความโกรธและความโลภไม่เกิดเดี่ยวๆ จะต้องเกิดร่วมกับความหลง เกิดร่วมกับโมหะเสมอ ทีนี้บางทีจิตมีโมหะเฉยๆ ฟุ้งซ่านเฉยๆ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีลังเลสงสัยอยู่ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีมีโมหะขึ้นมา นะ แล้วก็โลภ แล้วก็โกรธ นะ ไม่แน่ แต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยเราค่อยเฝ้ารู้ลงไปนะ จิตที่มีความสุขมันก็แบบหนึ่ง จิตที่มีความทุกข์มันก็แบบหนึ่ง จิตที่เฉยๆก็แบบหนึ่ง จิตที่มีปัญญาก็แบบหนึ่ง จิตที่ไม่มีปัญญานะ มีแต่ความรู้สึกตัวอยู่เฉยๆก็แบบหนึ่ง นะ จิตที่โลภ จิตที่โกรธ จิตที่หลง จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่หดหู่ จิตที่ลังเลสงสัย แต่ละอัน แต่ละอัน คนละแบบกันทั้งนั้นเลย จิตที่กลัวกับจิตที่อิจฉาเหมือนกันมั้ย เอ้อ.. กลัวก็เป็นโทสะเหมือนกันนะ อิจฉาก็เป็นโทสะ แต่เห็นมั้ย ไม่เหมือนกัน ยังมีสไตล์ที่แยกออกไป มีรูปแบบย่อยๆออกไปอีก เพราะฉะนั้นกิเลสนานาชนิด ก็อยู่กับจิตนานาชนิด

เราเห็นลงไป ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ จิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล แต่ละดวงไม่เหมือนกัน ดูจากอายตนะก็ได้ จิตที่ไปดูกับจิตที่ไปฟังก็ไม่เหมือนกัน จิตที่ไปดู จิตที่ไปฟัง กับจิตที่ไปคิด ก็ไม่เหมือนกัน เนี่ยดูอย่างนี้นะ เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยวิธีดูจิตที่จะทำให้เกิดปัญญา คือ ดูให้เห็นเลยว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกันหรอก พอเราเห็นว่าจิตแต่ละดวงไม่เหมือนกันแล้วเนี่ย ต่อไปปัญญามันจะเกิดละ มันจะเห็นว่า อ้อ..จิตที่โลภอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปนะ กลายเป็นจิตเฉยๆ จิตเฉยๆอยู่ชั่วคราวแล้วก็กลายเป็นจิตที่โกรธนะ จิตที่โกรธอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป เกิดเฉยๆอีกละ อะไรอย่างนี้ เนี่ยมันจะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย แล้วจะเห็นเลยจิตนี้เกิดดับอยู่เรื่อยๆ

หรือบางทีจิตก็เกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่ใจ เกิดแล้วก็ดับทั้งสิ้น นะ เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อย เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ จิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ดวงเดียวกัน นะ เห็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เราจะรู้เลยว่า จิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล เกิดแล้วดับทั้งสิ้น การที่เห็นจิตที่เป็นกุศลอกุศลเกิดแล้วดับทั้งสิ้น มันจะไม่ได้รู้แค่จิต เราจะรู้สิ่งที่ประกอบจิตด้วย นะ คือ เจตสิก นะ ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล เราก็จะเห็นด้วยว่ามันเกิดดับไปพร้อมๆกับจิตนั่นแหละ นะ นี่เราจะเห็นทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ นะ ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว นะ ทั้งรู้ ทั้งไม่รู้ นี่ เกิดแล้วดับหมดเลย

การที่เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก วันหนึ่งจิตเกิดปัญญาขึ้นมา มันรู้เลยว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา โดยการที่เราเรียนรู้จิตนี่แหละเป็นตัวหลัก นะ ความจริงเรียนอย่างอื่นก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา อะไรอย่างนี้ก็ใช้ได้นะ แต่วันนี้พูดเรื่องการดูจิตมาตั้งแต่เรื่อง ดูจิตให้เกิดศีล ดูจิตจนเกิดสมาธิ นี่ดูจิตจนเกิดปัญญา เราเห็นจิตเขาเกิดดับ เกิดดับ ไปเรื่อย ในที่สุดปัญญามันเกิด สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร ละสักกายทิฎฐิ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ พอละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ มันจะละมิจฉาทิฎฐิอื่นๆขาดไปด้วย

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๕ (วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒)

File: 521220

ระหว่างนาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อุเบกขา โมหะ ปัญญา ต่างกันอย่างไร

mp3 (for download): อุเบกขา โมหะ ปัญญา ต่างกันอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ครับ มีปัญหาจะเรียนถามหลวงพ่อนิดหนึ่งครับว่า ระหว่างโมหะกับอุเบกขา ถ้าเราจะดู เราจะดูยังไง เพราะว่า อุเบกขาก็คือการที่เราไม่สุขไม่ทุกข์น่ะครับ ก็คืออยู่เฉยๆ โมหะก็คือ การที่เราไม่โกรธ ไม่หลง

หลวงพ่อ: ไม่ใช่ ในขณะที่มีโมหะ อาจจะโกรธก็ได้ หลงก็ได้ โมหะเป็นภาวะที่เราไม่รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฎอยู่ เรียกว่าโมหะทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นในขณะที่เรามีอุเบกขา เรารู้ว่ามีอุเบกขา เรียกว่าไม่มีโมหะ ในขณะที่เราโกรธอยู่ เรารู้ทันว่าโกรธขึ้นมาปั๊บเนี่ย เรียกว่าไม่มีโมหะแล้ว โมหะดับ ความโกรธก็จะดับไปด้วย

ในขณะที่กำลังโมโหอยู่นะ ใจเรากำลังพุ่งใส่คนอื่นเขาอยู่ จ้องคนที่ทำให้เราโกรธอยู่ อย่างเราขับรถอยู่แล้วมันปาดหน้าเราไปจ้องใส่มันอยู่นะ กำลังโกรธอยู่ ไม่รู้ว่าโกรธอยู่ เรียกว่ามีโมหะ

เพราะฉะนั้น โมหะคือการที่จิตไม่สามารถจะรู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้ ถ้าจิตรู้สภาวธรรมที่ปรากฎตามความเป็นจริงได้ เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตรงข้ามกับโมหะคือปัญญา

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
File: ๕๑๐๔๑๕b
Time: ระหว่างนาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๕๑ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาสมาธิเป็นเช่นไร?

mp3 (for download) : จิตที่มีสัมมาสมาธิเป็นเช่นไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ถ้าจิตมีสัมมาสมาธิจิตจะอยู่ต่างหาก เห็นร่างกายอยู่ส่วยหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง มันจะแยกกัน เห็นเวทนา คือ ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งเป็นคนดู เห็นสังขารที่เป็นกุศล และอกุศล เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความปิติ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ อะไรต่างๆอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดูอยู่อีกส่วนหนึ่ง ถ้ามีสัมมาสมาธินะ จิตมันจะแยกตัวออกมาเป็นแค่คนดู ถ้าขาดสัมมาสมาธินะ จิตจะถลำลงไปเพ่งในสิ่งที่สติไปรู้เข้า

นั้นถ้าเรามีสัมมาสมาธินะ เวลาหายใจอยู่ จะเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู เวลาเห็นท้องพองยุบนะก็จะเห็นเลย ร่างกายมันพองมันยุบนะ จิตเป็นคนดู เวลาเดินจงกรมก็เห็นร่างกายมันเดินนะ จิตเป็นคนดู ไม่ต้องไปคิดมากนะ ยกเท้าย่างเท้า กำหนดอะไรเยอะแยะนะ เรื่องของสมถะกรรมฐานทั้งสิ้นเลย ภาวนาแล้วกำหนดมากๆนี่ กลายเป็นสมถะแน่นอนเลย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร?

MP3 (for download): มิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: ส่วนมิจฉาสมาธิ ที่เกิดร่วมกับจิต เกือบทั้งหมดนะ จิตเนี่ยมันไหลเข้าไปเกาะนิ่งๆอยู่กับตัวอารมณ์ ไปจับตัวอารมณ์ แน่นๆอยู่ที่ตัวอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเราเดินจงกรม จิตมันไปเกาะอยู่ที่เท้า เท้าขยับ เท้ายก เท้าย่าง อะไรนี่รู้หมดเลย จิตมันเกาะอยู่ที่เท้า อันนั้นไม่เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ แต่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันไหลไปเกาะอยู่ที่เท้า จิตไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ การที่จิตไปแช่อยู่กับตัวอารมณ์นะ ภาษาแขกมีชื่อว่า ‘อารัมมณูปนิชฌาน’ การเพ่งตัวอารมณ์ การเพ่งตัวอารมณ์เป็นการทำสมถกรรมฐาน ฉะนั้นบางคนเพ่งเท้าไปเรื่อยนะแล้วตัวลอย ตัวเบา ตัวโคลง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัดตัวนะ บางทีก็มีตัวอะไรมาไต่ รู้สึกวูบๆวาบๆ รู้สึกขนลุกขนพอง นี้เป็นอาการของสมถะ อาการของปีติทั้งสิ้นเลย ทำไมเกิดปีติ เกิดขึ้นมาได้ เพราะว่าไปเพ่งเท้าไว้ เพ่งตัวอารมณ์นะ เป็นสมถะ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนูปกิเลส

mp3: (for download) วิปัสสนูปกิเลส

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สวนสันติธรรม วันที่ 10 พ.ค. 2551

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะควรทำเมื่อไหร่

mp3: (for download) สมถะควรทำเมื่อไหร่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: แล้วทำสมถะจะทำตอนไหนครับ

หลวงพ่อปราโมทย์: สมถะทำตอนที่ดูกายก็ไม่ได้ ดูใจก็ไม่ได้ ถ้าทำสมถะก็ต้องทำเบาๆ ทำสบายๆ อย่าทำอย่างเคร่งเครียด ทำแบบเคร่งเครียดไม่มีความสุข ต้องทำให้สบายๆ ให้มีความสุข จิตถึงจะสงบ พอจิตสงบแล้ว เราก็รู้ทันว่าจิตสงบ เรามีแรงละ เรากลับมาดูจิตได้ละ เราก็ดูจิตเรื่อย จิตตอนนี้สงบ พอเราออกจากสมาธิมาจิตเริ่มฟุ้งซ่าเรารู้ว่าฟุ้งซ่าน นะ เราก็ดูจิตไปเรื่อยๆ ตอนไหนไปรู้กายก็ไม่ว่ามัน เพราะรู้ไปทั้งกายรู้ทั้งจิต ดูจิตไม่ได้ก็ดูกาย ดูกายไม่ได้ก็รู้จิต รู้ไปเรื่อยๆ ถ้ารู้กายรู้จิตไม่ได้ก็ทำความสงบเข้ามา ทำความสงบก็ยังไม่ไหวอีก ก็พักผ่อน สมมุติว่าเครียดจัดแล้วก็พักผ่อน เพราะฉะนั้นการพักผ่อนก็จำเป็นนะ

โยม: พักผ่อนกับนอน หรืออ่านหนังสือ

หลวงพ่อปราโมทย์: ผ่อนคลายก็ได้นะ อ่านหนังสือก็ได้นะ ทำอะไรก็ได้นะ อย่าหมกมุ่นในการปฎิบัติ เราต้องจริงจังในการปฏิบัติ แต่ไม่หมกมุ่นในการปฎิบัติ จริงจังหมายถึงว่า ฝึกของเราทุกวันเลย ไม่ท้อถอย ดูมากที่สุดเท่าที่จะดูได้ รู้สึกไปเรื่อยๆ แต่ว่าไม่ใช่ดูแบบ เมื่อไหร่จะได้ เมื่อไหร่จะได้ เมื่อไหร่จะได้ ดูแบบนั้นแล้วเครียด เพราะดูด้วยโลภะ ด้วยตัณหา ใช้ไม่ได้ ใจจะเครียดๆ เพราะฉะนั้นดูเล่นๆไป ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ช่างมัน ชาตินี้ไม่ได้ ชาติต่อไปมันคงได้สักชาติหนึ่ง ต้องทำใจขนาดนี้นะ ถ้าทำใจขนาดได้ขนาดนี้แล้วจะได้ในชาตินี้แหละ ถ้าชาตินี้ต้องเอาให้ได้ ต้องเอาให้ได้ กูจะต้องเอาให้ได้…

หลวงพ่อรู้จักพี่คนหนึ่งนะ เพื่อน เพื่อนพี่ไวยนี่แหละ แกบอกนะว่า แกจะทำสามเดือน นี่ผ่านมาเนิ่นนาน… เพราะฉะนั้นอย่างตั้งเป้า หน้าที่ของเราทำเหตุ ส่วนผลจะได้เมื่อไหร่นั้น มันได้สมควรแก่เหตุ หน้าที่เราทำเหตุอย่างเดียว หวังผลไม่มีประโยชน์อะไร หวังผลเนี่ยเลื่อนลอยแล้ว อย่างเราหวังผลว่าเราจะต้องเป็นพระโสดาในวันนี้ เลื่อนลอยไปแล้ว หน้าที่เราทำเหตุให้มากๆ รู้สึกกายรู้สึกใจให้มาก ส่วนว่ามันพอสมควรมันก็ได้ของมันเอง อย่าอยากนะ ภาวนาด้วยความอยากไปไม่รอด

CD: สวนสันติธรรม ๒๕
File: 510420.mp3
Time: นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำสมาธิแล้วฟุ้งและดูจิตจะทำให้มีสมาธิได้ไหม?

MP3 (for download): ทำสมาธิแล้วฟุ้งและดูจิตจะทำให้มีสมาธิได้ไหม?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: รู้สึกนั่งสมาธิมันจะฟุ้งครับ มันจะกระวนกระวาย

หลวงพ่อปราโมทย์: ให้รู้ว่ากระวนกระวาย ไม่ใช่นั่งเพื่อให้สงบ เรานั่งเพื่อรู้ความจริง การปฎิบัติมีสองแบบนะ ถ้าทำสมถะเนี่ยเราทำไปเพื่อความสงบ ถ้าจะเจริญปัญญาทำไปเพื่อเห็นความจริง

เพราะฉะนั้นตอนไหนที่จิตมันไม่สงบนะ รู้มันไปซื่อๆ รู้ว่าจิตไม่สงบ ความไม่สงบก็ไม่เที่ยง เห็นมั้ย ถ้าเรารู้ด้วยจิตซื่อๆนะ ความไม่สงบจะต้องดับให้ดูแน่นอน จิตจะสงบ นี่ง่ายๆ เพราะฉะนั้นเวลาจะทำสมาธินะ บางคนบอกว่าดูจิตแล้วจะทำสมาธิไม่ได้ ต้องไปรู้ลมหายใจ เข้าใจผิด

จิตจะมีสมาธิหรือไม่ อยู่ที่ว่ามีนิวรณ์หรือไม่ ถ้าไปนั่งสมาธิแล้วหายใจด้วยโลภะ อยากสงบ ไม่มีวันสงบ ถ้านั่งแล้วบีบเค้นใจไปเรื่อยนะ บังคับใจ กดข่มใจไปเรื่อย ไม่มีวันสงบหรอก ถ้านั่งแล้วคิดไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีวันสงบหรอก นั่งแล้วสงสัยไปเรื่อยๆก็ไม่สงบหรอก นั่งแล้วซึมไปเรื่อยๆก็ไม่สงบหรอก

แต่ถ้าเราไม่ได้นั่งนะ จิตเรามีกามฉันทะเราก็รู้ มีพยาบาทเราก็รู้ มีความลังเลสงสัย มีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ มีความหดหู่อะไรขึ้นมาเรารู้ลูกเดียวเลย สิ่งเหล่านี้มันจะดับไปเอง

ทันทีที่สติเกิดนะอกุศลทั้งหลายมันจะดับเอง เมื่อนิวรณ์ทั้งหลายดับไปจิตจะมีสมาธิขึ้นมาเอง เห็นมั้ย เป็นวิธีที่ง่ายๆ วิธีนี้พระพุทธเจ้าสอนพระเจ้าอชาตศัตรู อยู่ในพระสูตรที่สอง ชื่อ สามัญผลสูตร สูตรที่สอง

ทำไมท่านแทนที่จะสอนหายใจไปก่อน แล้วค่อยมีสมาธิ แล้วมาเจริญปัญญา เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะให้นั่งสมาธิจนเข้าฌานก็คงไม่ได้ภาวนาหรอก ท่านเลยสอนให้รู้ทันเลย จิตมีนิวรณ์ขึ้นมารู้ทัน สมาธิมันจะเกิด นี่ใช้ปัญญานำสมาธินะ ท่านบอกน่าเสียดายอชาตศัตรูไปฆ่าพ่อเสียก่อน ถ้าไม่งั้นฟังธรรมวันนี้จะได้เป็นพระโสดาบันละ เลยไม่ได้เป็น

อ้างอิง: สามัญญผลสูตร[๑๒๕]

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีภาวนาแบบสมาธินำปัญญาและสมาธิควบปัญญา

MP3: วิธีภาวนาแบบสมาธินำปัญญาและสมาธิควบปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะทำอย่างไรให้ถูกต้อง?

MP3: สมถะทำอย่างไรให้ถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ผิดศีลไปแล้วทำอย่างไร

mp3: (for download) ผิดศีลไปแล้วทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ : จำหลักไว้ว่ากุศลใดที่ทำแล้วให้นึกถึงบ่อยๆ อกุศลใดที่ทำแล้ว ลืมมันไปซะ การที่เรานึกถึงอกุศลซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็คือจิตมันจะขึ้นวิถีของอกุศลใหม่ เท่ากับเราทำอกุศลซ้ำแล้วซ้ำอีก

แต่ถ้าเราทำบุญมา ทำดีมา เราคิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จิตก็ขึ้นวิถีที่เป็นกุศลใหม่ เหมือนทำดีซ้ำแล้วซ้ำอีก

เพราะฉะนั้นถ้าทำผิดศีลนะ ลืมมันซะ แค่ตั้งใจว่าต่อไปจะสำรวมระวัง ไม่ทำอีก

CD: 27

File 511101

Minutes: 7m50 – 8m23

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนไม่มีฌานทำให้จิตตั้งมั่น(มีสมาธิ)ได้อย่างไร?

MP3: คนไม่มีฌานทำให้จิตตั้งมั่น(มีสมาธิ)ได้อย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: ให้เราสังเกตจิตของเราไป   ทำฌานไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

ให้มีสติรู้ทัว่าตอนนี้กำลังหลงไปหาแล้วว่าจะดูอะไรดี ตอนนี้ถลำลงไปเพ่งแล้ว ตอนนี้เข้าไปแทรกแทรงด้วยความยินดียินร้ายแล้ว

ถ้ารู้ทันอย่างนี้นะจิตจะตั้งมั่นขึ้นมาได้ นี่เป็นวิธีที่สำหรับคนที่ทำฌานไม่ได้นะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา

รู้ว่ามันไหลไปมันจะตั้งมั่นขึ้นมาเริ่มต้นไหลอยากเห็นอยากปฏิบัติ   จิตไหลไปค้นคว้าแสวงหาว่าจะดูอะไรดี จิตไม่ตั้งมั่น พอไปเจออะไรจิตก็ไปถลำลงไปจ้อง จิตไม่ตั้งมั่น

ถ้าเรามีสติรู้ทันว่ากำลังหาอยู่ จิตก็จะตั้งมั่น

รู้ว่ากำลังถลำไปแช่ไปจ้องอยู่ รู้ทันจิตก็จะตั้งมั่น

รู้ว่ากำลังหลงไปแทรกแทรงอยู่ จิตก็จะตั้งมั่น

ถ้าเรามี ที่หลวงพ่อบอก หลวงพ่อสอนสองอัน (๑)รู้สภาวะ (๒)รู้สภาวะให้เป็น

การรู้สภาวะ คือ มีสติ   การรู้สภาวะเป็น คือ มีสัมมาสมาธิ มีความจิตตั้งมั่น

ที่รู้ผิดคือจิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไป บางคนดูพองยุบจิตก็ไหลไปอยู่ที่ท้อง เดินจงกรมจิตก็ไหลไปอยู่ที่เท้า รู้ลมหายใจจิตไหลไปอยู่ที่ลมจิตไม่ตั้งมั่น

อันนี้เป็นวิธีสำหรับคนทำฌานไม่ได้นะ

พวกเรายุคนี้หาคนที่ทำฌานได้จริงมีน้อย มีแต่ชานที่แปลว่าพื้น ลงไปแล้วลงไปเลี้อยไปคานนั่งแล้วขาดสติ

ฌานจริงๆไม่ค่อยมี ลูกศิษย์หลวงพ่อที่ทำฌานได้มีอยู่คนสองคนเอง นอกนั้นก็โม้ไปอย่างนั้นเอง ผมทำฌานได้ ไม่ได้เรื่อง!

ทำฌานไม่ได้ไม่เป็นไรนะ ให้รู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเอง

เรามีสองตัวแล้วเราจะได้สติ หัดรู้หัดดูสภาวะไปเรื่อยแล้วสติจะเกิดนะ รู้จิตที่ไม่ตั้งมั่น รู้ให้เป็น ถ้ารู้ไม่เป็นจิตไม่ตั้งมั่น ถ้ารู้เป็นจิตจะตั้งมั่นขึ้น ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วจะตั้งมั่นยิ่งกว่า

คราวนี้รู้แล้วจะเกิดปัญญาถ้าจิตตั้งมั่น จะเห็นเลยร่างกายที่กำลังปรากฏอยู่ไม่ใช่เรา รูปที่ปรากฎอยู่ไม่ใช่เรา นามธรรมทั้งหลายที่ปรากฎอยู่ไม่ใช่เรา ไม่ยากอะไรหรอก

ง่ายๆ หลวงพ่อไม่เห็นว่ามันจะยากเลย

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จะปฎิบัติธรรมทำยังไง?

MP3: จะปฎิบัติธรรมทำยังไง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะปฏิบัติจะทำยังไง มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลาง

มีสติ ทำอะไร รู้กายรู้ใจ

รู้ยังไง รู้ลงความเป็นจริง เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ

รู้ด้วยจิตชนิดไหน รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง

รู้อย่างนี้มรรคผลนิพพานไม่ไปไหน ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้กินหรอก

ถ้าขาดสติจิตเป็นอกุศลเลย ถ้ามีสติแต่ไม่ได้รู้กายรู้ใจ ไม่ใช่วิปัสสนา

ถ้ารู้กายรู้ใจไปเพ่งอยู่เฉยๆ ไม่เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจก็ไม่ใช่วิปัสสนาเป็นสมถะ

ถ้ารู้ด้วยจิตที่ไม่เป็นกลาง เรียกว่าขาดสัมมาสมาธิ ขาดความตั้งมั่น ขาดความเป็นกลาง อริยมรรคก็จะไม่เกิด

เพราะฉะนั้นเราต้องมีสติ รู้กายรู้ใจ จับหลักให้แม่น

*หมายเหตุ*

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จากธรรมคู่สู่ธรรมเดี่ยว

MP3: จากธรรมคู่สู่ธรรมเดี่ยว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ว่านี่ความเป็นตัวเป็นตนความเป็นเราขึ้นมา ผุดขึ้นมา มีเราผุดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็มีเขาผุดขึ้นมาเมื่อนั้น ต้องมีคู่กัน มีเราคนเดียวไม่ได้มันต้องมีคนอื่นด้วย มีเรามีเขามีภายในมีภายนอก มีหยาบมีละเอียด มีสิ่งที่เป็นคู่ๆเกิดขึ้นมา

เพราะฉะนั้นเรารู้สึกเอานะ เวลาความรู้สึกมีตัวมีตนอะไรผุดขึ้นมาเราก็รู้ทันเอา ร่างกายมันเดินเราก็เห็นกายมันเดินไม่ใช่เราเดินล่ะ ถ้ามันมีความรู้สึกฉันเดินเมื่อใดหลงแน่นอนตอนนั้นหลงแน่ ถ้าไม่หลงมันไม่มีชั้นเดินหรอกนะ หรือชั้นโกรธเนี่ย ต้องหลงแล้วนะ ถ้าไม่หลงจะเห็นจิตมันโกรธไม่ใช่ชั้นโกรธ ต้องหลง เพราะฉะนั้นโมหะเนี่ยตัวต้นตอเลย ตัวหลง

พอหลงแล้วมันก็มีตัวเราขึ้นมา ปรุงเราปรุงเขา ปรุงดีปรุงชั่ว ปรุงสุขปรุงทุกข์ ปรุงธรรมที่เป็นคู่ๆขึ้นมา ทั้งๆที่ธรรมทั้งหลายเป็นธรรมเดี่ยวๆนะ คือธรรมทั้งหลายไม่ว่าอะไร เกิดแล้วดับทั้งสิ้นเลย มันไม่ได้เป็นคู่กับใครหรอก แต่เราชอบไปเข้าคู่ให้มัน

ยกตัวอย่างความโกรธกับความไม่โกรธ เราบอกว่ามันเป็นคู่กัน คู่กันตรงไหนล่ะ ความโกรธเกิดแล้วก็ดับไป ก็จบตรงนั้นเอง ความไม่โกรธมันเกิดขึ้นมาใหม่ ความไม่โกรธเกิดขึ้นมาแล้วมันก็ดับไป มันเกิดความโลภขึ้นมาใหม่ ความโลภเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป มันเกิดความไม่โลภขึ้นมาใหม่ ใช่มั้ย

แต่ละตัวๆเราไปจับมันคู่กันเองล่ะ จริงๆมันเกิดแล้วมันดับโดยตัวของมันเอง มีแต่เดี่ยวๆทั้งนั้นเลย สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ ใช่มั้ย ไม่ใช่สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นมีคู่ๆ มีคู่ๆเพราะว่ามีสมมติบัญญัติ มีความคิดเจือปนเข้าไป

หมายเหตุ

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา: บทเรียนในศาสนาพุทธและการภาวนา

MP3: ไตรสิกขา: บทเรียนในศาสนาพุทธและการภาวนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : รูปเคลื่อนไหวก็รู้สึกไป ไม่ใช่ว่าต้องเคลื่อนไหวแบบไหน ตัวที่สำคัญไม่ใช่อยู่ที่ตัวกริยาอาการ ตัวที่สำคัญอยู่ที่ว่ามีสติมีปัญญาที่จะไปรู้มั้ย เพราะฉะนั้นเราอย่าไปให้ความสำคัญกับเปลือก ต้องให้ความสำคัญกับสติปัญญาที่เป็นเนื้อหา เป็นสาระแก่นสารจริงๆ

มีสติจริงหรือเปล่า หรือว่ามีสติจอมปลอม กำหนดไว้ เพ่งไว้ บังคับไว้ มีปัญญาเห็นความจริงคือไตรลักษณ์หรือเปล่า หรือว่าคิดๆเอาเอง ถ้าคิดเอาเองไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง เพราะฉะนั้นตัวสำคัญอยู่ที่ว่าเรามีสติมีปัญญามั้ย ปัญญาจะเกิดจากอะไร เกิดจากจิตมีสัมมาสมาธิ จิตที่มีสัมมาสมาธิเป็นจิตที่ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ไม่ไหลเข้าไปอยู่ที่ตัวอารมณ์ ตัวนี้ก็ต้องเรียน

พวกนักปฏิบัติทั้งหลายที่ล้มลุกคลุกคลานไม่เลิกนะ ทำมานานแล้วไม่บรรลุมรรคผล หรือบางคนบรรลุมรรคผลเหมือนกันแต่คิดเอาเอง ไม่บรรลุจริงหรอก ชอบคิดว่าบรรลุทั้งๆที่ไม่บรรลุหรอก ส่วนใหญ่ที่ทำแล้วไม่สำเร็จเพราะขาดสัมมาสมาธิ ตัวที่ทำให้เรามีสัมมาสมาธินะ คือบทเรียนในศาสนาพุทธที่ชื่อว่าจิตตสิกขา การเรียนเรื่องจิต

บทเรียนในศาสนาพุทธจึงมี ๓ บท มีเรื่องศีลสิกขา ทำอย่างไรกายวาจาของเราจะเป็นธรรมชาติธรรมดา ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่เบียดเบียนตนเอง มีจิตตสิกขา เรียนไปจนรู้ว่าจิตชนิดไหนเป็นจิตที่เป็นกุศลชนิดไหนเป็นอกุศล ชนิดไหนใช้ทำสมถะชนิดไหนใช้ทำวิปัสสนา ตัวที่ใช้ทำสมถะนั้นจิตจะไหลเข้าไป เช่นไปดูท้องพองยุบจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกรมจิตจะไหลไปอยู่ที่เท้า ไปรู้ลมหายใจจิตจะไหลไปอยู่ที่ลม

แต่ถ้าเป็นตัวที่เป็นสัมมาสมาธิจะตั้งมั่นอยู่ เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวใจเป็นคนดู เห็นร่างกายมันนั่ง ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู มันจะแยกกันอยู่ ใจจะตั้งมั่น ใจจะไม่ไหลเข้าไปในอารมณ์ เรียกว่าจิตตั้งมั่นคือไม่ไหลเข้าไป ตัวนี้พวกเราอาภัพมากเลย พวกเราไม่เรียนกัน เวลาเราเรียนจิตตสิกขาก็คิดว่าเป็นการเข้าฌาน ไม่ตื้นขนาดนั้นหรอกนะ ถ้าเข้าฌานแล้วเป็นจิตตสิกขานะ พวกฤๅษีชีไพรก็เกิดปัญญาหมดแล้ว เพราะถ้ามีสัมมาสมาธิปัญญจะเกิด ฤๅษีชีไพรจะบรรลุพระอรหันต์ก่อนพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นจิตตสิกขาไม่ได้ตื้นแค่ว่าเข้าฌาน จิตตสิกขาเราเรียนจนกระทั่งเราเข้าใจลักษณะของจิตที่เป็นกุศลและอกุศล ที่จะใช้ทำสมถะและใช้ทำวิปัสสนา ไม่เหมือนกัน

พอจิตตั้งมั่นขึ้นอย่างแท้จริงเนี่ย ถึงจะไปเจริญปัญญาสิกขา เห็นมั้ยบทเรียนที่ ๓ ศีลสิกขา จิตตสิกขา บทสุดท้ายคือปัญญาสิกขา มีสติ รู้รูปนาม รูปที่กำลังปรากฎ นามที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ นี่ รู้ก็ไม่เหมือนกัน เวลารู้รูปนะ มีสติรู้รูปที่กำลังปรากฎ แต่รู้นามที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆด้วยจิตที่ตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิจิตจะไม่ไหลเข้าไป จิตจะตั้งมั่นอยู่ต่างหากโดยที่ไม่ได้ประคองไว้ จิตจะตั้งมั่น จิตจะเบา จิตจะอ่อน จิตจะนุ่มนวล จิตจะคล่องแคล่วว่องไว ควรแก่การงาน จิตชนิดนี้แหละคือจิตที่จะใช้เดินปัญญา

ในพระไตรปิฎกก็พูดเรื่อยๆนะ พระทั้งหลายท่านทำสมาบัติทำสมาธิ เข้าอัปนา พอถอยออกมาแล้วมีจิตที่เบา จิตที่อ่อน จิตที่นุ่มนวล คล่องแคล่วว่องไว ควรแก่การงาน และโน้มน้อมจิตนี้ให้เกิดญาณทัสนะ คือมีสติ ไปรู้กายรู้ใจ ก็จะเกิดญาณทัสนะคือเกิดปัญญา

เพราะฉะนั้นพอจิตตั้งมั่นนะ สติระลึกรู้กาย จะเห็นกายไม่ใช่เรา เมื่อมีจิตตั้งมั่นอยู่และมีสติรู้เวทนา ก็เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่ สติไประลึกรู้กุศล-อกุศลนะ ก็เห็นกุศล-อกุศลไม่ใช่เรา เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่แล้วสติระลึกรู้จิตดวงก่อน ก็จะเห็นว่าตัวจิตก็ไม่ใช่เรานะ ตัวจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา

เนี่ยภาวนาอย่างนี้นะ มีสติ มีสัมมาสมาธิคือมีใจที่ตั้งมั่น ก็จะเกิดปัญญา เห็นทั้งกายทั้งใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ผู้ใดเห็นกายเห็นใจไม่ใช่เรา เรียกว่าพระโสดาบัน ดูต่อไปอีกจนปัญญาแจ้ง กายนี้ทุกข์ล้วนๆจิตนี้ทุกข์ล้วนๆ สลัดคืนกายคืนจิตให้โลก เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เครื่องมือสร้างปัญญา

mp3: เครื่องมือสร้างปัญญา

Media Player:

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หมายเหตุ

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาคืออะไร?

mp3 for download : วิปัสสนาคือ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าใครเขาถามเราวิปัสสนากรรมฐานคืออะไร   บอกเขาง่ายๆนะ   คือการที่เราคอยตามเห็นกายเห็นใจตามความเป็นจริง นี่แหละ คือวิปัสสนากรรมฐาน

ตามรู้ตามเห็นมันไปเรื่อย   รู้กายตามความเป็นจริง   รู้ใจตามความเป็นจริง   รู้อย่างนี้แหละเรียกว่าเราเจริญวิปัสสนาอยู่

ถ้าไปรู้อย่างอื่นไม่เรียกว่าวิปัสสนา   เช่น รู้ความนิ่ง ความว่างความสว่าง ดวงกสิณต่างๆ ดวงแก้ว ดวงเทียน ไฟ พระพุทธรูป หรือนิมิตหมายใดๆทั้งสิ้น อันนั้นไม่ใช่วิปัสสนา

วิปัสสนาต้องรู้กายรู้ใจ   เพื่ออะไร   เพื่อวันหนึ่งจะได้เห็นความจริงของกายของใจ ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกเป็นอนัตตาไม่มีตัวเราในกายในใจนี้ กายก็ไม่ใช่เรา ใจก็ไม่ใช่เรา

ดูเท่านี้ยังไม่พอ ดูไปอีก ดูกายดูใจตามความเป็นจริงเรื่อยไป จนวันหนึ่งแจ้งนะ   กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ  พอเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ   จิตมันจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลก   ไม่ยึดถือ   เห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดแล้วหลุดผล คำว่าหลุดพ้นๆ เราได้ยินบ่อยๆ อะไรมันหลุดจากอะไร จิตมันหลุดจากความยึดถือในขันธ์    ขันธ์คือกายกับใจเรานี่เอง พูดง่ายๆ ถ้ามันไม่ยึดกายยึดใจมันก็ไม่ทุกข์อีกแล้ว

ทุกวันนี้มีความทุกข์เพราะมีกายมีใจ ทุกข์มันอยู่ที่กายทุกข์ยู่ที่ใจ รู้สึกไหมทุกข์ไม่ได้อยู่ที่โต๊ะ ที่เก้าอี้ ที่ภูเขา ที่ต้นไม้    ทุกข์มันอยู่ที่กายอยู่ที่ใจ   ถ้าจิตมันพ้นจากกายจากใจแล้ว จิตก็พ้นจากทุกข์ ตัวนี้เรียกว่าความหลุดพ้น ไม่ใช่พ้นจากอย่างอื่นนะ พ้นจากขันธ์5 พ้นจากกายจากใจ เห็นไหมง่าย

**หมายเหตุ**

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สัมมาสมาธิ

Media Player:

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

mp3: สัมมาสมาธิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต สัมมาสมาธิไม่ใช่แปลว่าจิตเข้าไปเกาะอารมณ์อันเดียว การที่จิตไปรู้อารมณ์อันเดียวนะ เรียกว่า “เอกัคคตา” เนี่ย เอกัคคตาเป็นเจตสิก คือเป็นธรรมะ (หมายถึงสภาวธรรม – ผู้ถอด) ที่เกิดร่วมกับจิตทุกๆดวง จิตอกุศลก็มีเกัคคตานะ คือจิตมันจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตมันรวมองค์ธรรมฝ่ายอกุศลให้มาทำงานร่วมกัน เรียกว่าเอกัคคตา เพราะสมาธิเนี่ยจะเกิดกับจิตทุกๆดวง เอกัคคตาคือตัวสมาธิ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการรู้อารมณ์ ส่วนมิจฉาสมาธิที่เกิดร่วมกับจิตเกือบทั้งหมดนะ จิตเนี่ยไหลเข้าไปเกาะนิ่งๆอยู่กับตัวอารมณ์ ไปจับตัวอารมณ์ แน่นๆอยู่ที่ตัวอารมณ์

ยกตัวอย่างเวลาเราเดินจงกรม จิตมันไปเกาะอยู่ที่เท้า เท้าขยับเท้ายกเท้าย่างอะไรอย่างนี้รู้หมดเลย จิตมันเกาะอยู่ที่เท้า อันนั้นไม่เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ แต่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันไหลไปเกาะอยู่ที่เท้า จิตไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ การที่จิตไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์นะ ภาษาแขกมีชื่อว่า “อารัมณูปนิชฌาน” การเพ่งตัวอารมณ์

การเพ่งตัวอารมณ์ เป็นการทำ ไสมถกรรมฐาน” เพราะฉะนั้นบางคนเพ่งเท้าไปเรื่อยนะ แล้วตัวลอยตัวเบาตัวโคลงตัวใหญ่ตัวหนัก มีสารพัดตัวนะ บางทีก็มีตัวอะไรมาไต่ อะไรอย่างนี้ รู้สึกวูบๆวาบๆ รู้สึกขนลุกขนพอง นี้เป็นอาการของสมถะ อาการของปีติทั้งสิ้นเลย ทำไมเกิดปีติ ทำไปปีติเกิดขึ้นมาได้ เพราะว่าไปเพ่งเท้าไว้ เพ่งตัวอารมณ์นั้นเป็นสมถะ

แต่ถ้าใจตั้งมั่น เห็นร่างกายมันเดินใจเป็นคนดู (หมายเหตุ ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเห็นเป็นแว้บๆ ไม่ได้เห็นต่อเนื่องยาวนาน – ผู้ถอด) นี่ เรียกว่าใจมันตั้งมั่น ใจมันอยู่ต่างหาก ใจกับกายนี้มันแยกออกจากกันนะ กายมันเดิน-ใจเป็นคนดู เวลานั่งอยู่ กายมันนั่ง-ใจเป็นคนดู เนี่ยใจมันตั้งมั่นอยู่เป็นแค่คนดู เรียกว่าใจมันมีสัมมาสมาธิ ถ้าใจมันเป็นผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ใจมันหลงไป ก็เรียกว่ามันไม่มีสัมมาสมาธิ หรือใจมันเข้าไปเพ่ง ก็เรียกว่าไม่มีสัมมาสมาธิ

เพราะฉะนั้นเราก็ค่อยๆหัดค่อยๆสังเกตสภาวะในใจเรา ใจเราชอบไหลไป เวลาเราดูท้องพองยุบใจก็ไหลไปอยู่ที่ท้อง อันนี้ไปเพ่งตัวอารมณ์ ไปเพ่งท้อง ก็เป็นสมถะ แต่ถ้าใจเราตั้งมั่นอยู่ เห็นท้องพองยุบเห็นร่างกายนี้มันหายใจเป็นแค่คนดู อันนี้เรียกว่าเรามีสัมมาสมาธิ ถ้าใจเราตั้งมั่นเป็นคนดู แล้วสติระลึกรู้กาย สติระลึกรู้ใจ ปัญญาจะเกิดทันที จะเห็นว่ากายนั้นใจนั้นไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันทีเลย ปัญญาจะเกิด

หมายเหตุ

คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรื่องของศีล

mp3: เรื่องของศีล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อ: สอนให้ถือศีล สอนตั้งครึ่งปีไม่สำเร็จนะ ต้องไล่ไปที่อื่น ไม่ไหวละ สอนไม่ได้ละ อย่างนี้ร้ายเกินไป

ถ้าไม่มีศีล ๕ เนี่ย ใจจะไม่มีความสงบ ไม่มีความตั้งมั่นเลย ไม่มีแรงหรอก เพราะว่าคนที่ผิดศีลเนี่ยนะ ใจจะฟุ้งซ่าน คนที่มีศีลใจมันจะสงบ

ฟุ้งอย่างไร คิดจะฆ่าเขาใช่มั้ย กับคิดไม่ฆ่า อันไหนยากกว่ากัน ไม่ต้องฆ่าใครใช่มั้ย ไม่ต้องคิดมาก คิดจะฆ่าเขาก็ต้องคิดมาก คิดจะขโมยเขาก็ต้องคิดมากใช่มั้ย คิดจะเป็นชู้กับเขาก็ต้องคิดมาก เดี๋ยวเมียเราจะเฉือนเราเสีย หรือว่า เดี๋ยวผัวคนโน้นจะฆ่าเราเสีย อย่างนี้ ต้องคิดมากทั้งหมดเลย จะโกหกก็ต้องคิดมาก นึกออกมั้ย ใครไม่เคยโกหก มีใครจะโกหกว่าไม่เคยโกหกมั้ย หลวงพ่อก็โกหกนะ สมัยโน้นนะ พอผู้ใหญ่ถาม “ไปไหนมา” เปล่า เอ๊ะ เพิ่งไปมาหยกๆบอกเปล่าละ มันอัตโนมัตินะ

แต่ว่าคนที่โกหกน่ะ ต้องใช้หน่วยความจำเยอะ เพราะฉะนั้นพวกนี้คิดสร้างสรรอะไรไม่ค่อยได้นะ เอาหน่วยความจำไปใช้ในการจำไว้ว่าโกหกคนนี้อย่างนี้ๆ คนไม่โกหก คนพูดความจริง ไม่ต้องจำมาก คนโกหกต้องจำมาก พูดกับคนนี้ไว้อย่างนี้ พูดกับคนนี้อย่างนี้ ต้องจำให้ได้นะว่า พูดกับเขาว่าอย่างไร

แต่ผู้ชายบางคนนะ มันพูดประโยคเดียวกัน แต่พูดกับผู้หญิงได้ทุกคน ประโยคเดียวกัน อย่างนี้ไม่ต้องใช้ความจำ ไปที่ไหน รักคุณคนเดียวเลย เหมือนกันหมดเลย ไม่ต้องจำ อย่างนี้ โกหกอย่างนี้

โกหกมากๆก็ต้องฟุ้งซ่าน ไอ้คนที่เราหลอกเขาไว้สองคนมาเจอกัน จะทำอย่างไร มันฟุ้งซ่าน

จะกินเหล้าก็ฟุ้งซ่าน ฟุ้งตั้งแต่หาเงินไปกินเหล้าแล้ว ฟุ้งตั้งแต่จะชวนเพื่อนมากินเหล้านะ กินแล้วก็ต้องตีกันบ้าง หรือไม่ตีกันนะ ก็เอะอะโวยวายขาดสติ ภาวนาไม่ไหวหรอก กินเสร็จแล้วตื่นมาอีกวันหนึ่ง ปวดหัว ภาวนาลำบาก

เห็นมั้ย ถ้าเรามีศีลนะ ใจเราสงบ ใจเราสบาย เพราะฉะนั้นมีศีลไว้นะ ศีลไม่ได้ถือไว้เพื่อลำบาก แต่ศีลถือไว้เพื่อสบาย ถ้าเรามีศีลนะใจเราก็สงบลงมา พอใจสงบแล้วนะ เราคอยรู้กาย เราคอยรู้ใจ…

*** หมายเหตุ
คลิปธรรมะคือเสียงเทศน์บางช่วงของลพ.ปราโมทย์ จัดเป็นหมวดหมู่และตอบคำถามเฉพาะเรื่อง จึงไม่ใช่ข้อสรุปของการสอนธรรมะของท่าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 16 of 17« First...10...1314151617