Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ต้องรักษาศีลให้แน่วแน่

mp 3 (for download) : ต้องรักษาศีลให้แน่วแน่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การปฏิบัติไม่ยากหรอก รักษาศีล ๕ ไว้ก่อน รักษาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ศีล ๕ ไม่ต้องขอคนอื่น ตั้งใจรักษาเอาเอง ตั้งใจว่าเราจะไม่ทำบาปอกุศล ทางกาย ทางวาจา ๕ อย่าง รักษายากมั้ย ยากมากสำหรับฆราวาส

หลวงพ่อก็เคยใช้วิธีของพวกศากยะเหมือนกัน ตอนนั้นเราเป็นข้าราชการผู้น้อยนะ หัวหน้ากองมาสั่ง อยู่ในห้องน่ะ อยู่ห้องติดกัน บอก คุณปราโมทย์ใครโทรศัพท์มาถึงพี่นะ บอกว่าพี่ไปประชุมนะ พี่จะรีบทำงาน ใช้ให้เราโกหก เวรกรรม พอโทรศัพท์มานะ เราก็พูดเบาๆ(คำว่า)หัวหน้ากองสั่งว่า (แล้วพูดดังๆว่า)ไปประชุมครับ เหมือนกับถือต้นอ้อเลย ไม่รู้จะทำยังไง

ไปนั่งกินข้าวผู้ใหญ่ก็กินเหล้า มาชอบเรียกให้เรากินเหล้า เราไม่กิน เราจะกินแต่กับ ใหม่ๆเค้าก็บ่น สุดท้ายเราเอาบ้าง ไม่ได้เอาบ้างกินเหล้านะ หมายถึงผสมเหล้าให้เค้ากินไปเลย มันจะได้หมดเร็วๆ (แล้ว)ไม่มาเรียกเรา เวลาผสมเหล้าเราก็ผสมของเรามาแก้วนึง ใส่น้ำแข็งนะ เติมโซดานะ เอาเป๊ปซี่หยดซักสองสามหยดนะ เหมือนเปี๊ยบเลย คราวนี้ชนแก้วกับใครมาเลย สู้ทั้งประเทศเลย เราก็กินของเรา เราไม่ได้บอกว่าเรากินเหล้าด้วยนะ เค้าเห็นว่าสีเหมือนกันไม่เป็นไร อาสาชงเหล้ามันตลอดเลย

โห ยากนะ กว่าจะรักษาศีล เอาตัวรอดได้นะ ไม่ใช่ง่ายๆหรอก สารพัดวิธีเลยนะ ต้องใช้สติใช้ปัญญารักษาศีล งั้นฆราวาสเนี่ยจะรักษาศีลให้สะอาดหมดจด เหมือนหอยสังข์ที่ขัดดีแล้วเนี่ย ทำได้ยาก พระพุทธเจ้าท่านบอก แต่ต้องพยายาม วิธีที่เราจะรักษาศีลได้ดีขึ้นๆนะ ถ้าคือรักษาให้มั่นแน่วแน่ อย่างหลวงพ่อ เราไม่กินเหล้านี้ใครๆก็รู้ตอนนั้น ต่อไปพอซีเราใหญ่ขึ้นเรื่อยๆนะ ใครมานั่งโต๊ะเราไม่กล้ากินเหล้าเลย กลัวเราว่า กลัวเรามองด้วยสายตาตำหนิติเตียน

งั้นถือศีลถือให้จริงนะ แล้วมันจะมีอานิสงส์ การรักษาศีลให้ดีที่สุด ก็มีสติรักษาจิต เมื่อวานสอนแล้วนะ มีสติรักษาจิต กิเลสอะไรเกิดที่จิตรู้ทัน กิเลสอะไรเกิดที่จิตรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันได้ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ศีลอัตโนมัติจะเกิดขึ้น คราวนี้ก็ใช้สติปัญญารักษาศีลเอาก็แล้วกัน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
File: 550908B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกให้จิตมีสมาธิแบบตั้งมั่น

mp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตมีสมาธิแบบตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้สมาธิชนิดที่ ๒ จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เราต้องรู้หลักนิดนึง คนดูเนี่ยมันต่างกับคนคิด ผู้รู้ ผู้คิด คนละคนกัน ขณะใดที่เป็นผู้รู้ ขณะนั้นไม่ใช่ผู้คิดนึกปรุงแต่ง แต่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขณะใดเป็นผู้คิดนึกปรุงแต่ง ก็ไม่ใช่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตมันจะสลับกัน ถ้าเมื่อไหร่จิตเป็นผู้รู้ ก็ไม่ไปฟุ้งซ่าน ไม่ปรุงแต่งไป ไม่ไหลไป จิตจะตั้งมั่นอยู่กับตัวเอง นี่ถ้าเรารู้หลักตัวนี้นะว่า ถ้าเมื่อไหร่คิด ก็ไม่รู้ เมื่อไหร่รู้ ก็ไม่คิด เราอาศัยหลักตัวนี้แหล่ะมาฝึกให้จิตใจตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ไม่ใช่ผู้คิด

วิธีก็คือใช้สตินั่นแหล่ะ สติที่สอนให้เมื่อเช้าว่า คอยรู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นกับจิต การที่เราคอยรู้ทันกิเลสที่เกิดที่จิต กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ เราจะได้ศีลอัตโนมัติ อินทรียสังวรศีลจะเกิด

ตรงสมาธินี้เราก็ใช้สตินี่แหล่ะ รู้ทันอะไร รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป จิตที่ฟุ้งไปคิด จิตชอบไหลไป จิตชอบไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่เรารู้ทัน ว่าจิตไหลไปคิดนะ จิตรู้จะเกิดโดยอัตโนมัติ แต่ว่าจิตคิดเนี่ยเกิดตลอดเวลา วันนึงคิดตั้งไม่รู้กี่ร้อยกี่พัน กี่หมื่นกี่แสนเรื่อง คิดตลอด งั้นเรามีสติบ่อยๆ จิตไหลไปคิดแล้วรู้แว้บ จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นชั่วขณะ เดี๋ยวก็ไหลไปคิดใหม่ ไหลไปคิดใหม่เรามีสติรู้ทันใหม่ จิตก็ตั้งมั่นขึ้นอีกชั่วขณะ ก็กลายเป็นว่า ไหลแล้วรู้ ไหลแล้วรู้ ไหลแล้วรู้ ฝึกอย่างนี้ให้มากเลยนะ ไม่ต้องสนใจว่าจะฝึกไปถึงเมื่อไหร่ ฝึกให้มากที่สุด จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้

ตรงที่จิตไหลไปแล้วรู้เนี่ย บางคนต้องมีเครื่องอยู่ประกอบ เพราะว่าอยู่ๆจิตไหลไปแล้วจะรู้เนี่ย รู้ช้า หลงนาน รู้สึกตัวแว้บเดียวแล้วหลงยาว หลงตั้งวันก็มี เราก็ต้องมีเครื่องอยู่ของจิต เคยอยู่กับพุทโธ ทำให้จิตสงบอยู่กับพุทโธ เราปรับนิดเดียว เราก็ใช้พุทโธใหม่ แต่ว่าพุทโธแล้วเราแทนที่จะให้จิตไปสงบที่พุทโธนะ เราพุทโธแล้วจิตหนีไปคิด เรารู้ทัน หรือเราเคยรู้ลมหายใจ แล้วน้อมจิตให้ไปสงบอยู่กับลมหายใจ ได้สมถะ เราเปลี่ยนใหม่ เรารู้ลมหายใจไปอย่างเดิม ด้วยความสุข ด้วยความสบาย พอเรารู้ลมหายใจแล้ว พอจิตนี้ไปคิด เรารู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ เรารู้ทัน

การที่เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปคิด หรือเคลื่อนไปเพ่งอยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง จิตมันจะเลิกเคลื่อน มันจะตั้งขึ้นได้เอง จิตที่เคลื่อนไปนะเป็นจิตฟุ้งซ่าน ทันทีที่สติเกิด ความฟุ้งซ่านจะดับอัตโนมัติเลย เราไม่ต้องทำให้จิตตั้งมั่น จิตจะตั้งของจิตเอง ถ้าเรารู้ทันว่าจิตเคลื่อนไปแล้ว จิตจะเคลื่อนไปคิดเนี่ยประจำ เคลื่อนไปดูเคลื่อนไปฟังอะไรพวกนี้ รองลงมา เคลื่อนไปดมกลิ่น เคลื่อนไปรู้รสอะไรนี้ น้อยลงมา  เคลื่อนไปคิดนะเคลื่อนบ่อย

งั้นเราหัดตรงที่จิตหนีไปคิดนี้ให้มาก หัดพุทโธไป หายใจไป จิตหนีไปคิดคอยรู้ สวดมนต์ไป จิตหนีไปคิดเรื่องอื่น คอยรู้ การที่เราคอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิดบ่อยๆ จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ พอได้จิตตั้งมั่นก็เป็นคนดูได้ นี่เราได้สมาธิแล้ว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม เมื่อ วันศุกร์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
File: 550907B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๒ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำๆหยุดๆ จิตจะไม่เห็นไตรลักษณ์

mp 3 (for download) : ทำๆหยุดๆ จิตจะไม่เห็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : ช่วงนี้เวลาที่สมาธิมันลดลงก็จะยังพอเห็นได้บ้าง แต่คุณภาพการเห็นมันยังไม่ดีเท่าไหร่

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ๆ ขาดสมาธิไม่ได้หรอก มันจะเดินปัญญาไม่ได้จริง

โยม : แต่ว่าเวลามันวุ่นวายมากๆ สมาธิมันก็ดร็อปลงไปเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..นะ เราก็ต้องฝึก สมาธิเป็นของไม่เที่ยง ต้องซ้อม ซ้อมให้ใจตั้งมั่น ใจไหลไปแล้วคอยรู้ อะไรอย่างนี้ ซ้อมเรื่อยๆนะ สมาธิจะดี

โยม : ต้องปรับอะไรเป็นพิเศษมั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่ทำอยู่ดีแล้วล่ะนะ เพราะฉะนั้นช่วงไหนมันเสื่อมลง ก็ภาวนาของเราไปตามปกตินั่นแหละ ทุกวันทำให้สม่ำเสมอ อย่าทำๆหยุดๆก็แล้วกัน (โยม : ครับ) ถ้าทำๆหยุดๆแล้วเนี่ย จิตจะไม่เห็นไตรลักษณ์ มันจะรู้สึกว่าช่วงนี้ทำแล้วก็เจริญ พอหยุดแล้วก็เสื่อม เนี่ย มันเสื่อมเพราะฉันไม่ได้ทำ ถ้าฉันทำก็เก่ง อะไรอย่างนี้ แต่ถ้าทั้งๆที่เราทำสม่ำเสมอแล้วเสื่อมให้ดูนะ อันนี้ดีมากเลย หายซ่าเลยล่ะ

โยม : คือปัจจุบันนี้ก็ยังทำสม่ำเสมออยู่ แต่มันก็ แต่ผมรู้สึกว่ามันเสื่อมไปตามเหตุการณ์ภายนอกด้วยครับ พอภายนอกวุ่นวาย มันก็จะเสื่อมลงไปล

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..นะ แสดงว่าข้างนอกยังมีอิทธิพล ก็ฝึกไปอีก ทำต่อ จนวันหนึ่งข้างนอกก็ไม่มีอิทธิพล ข้างในก็ไม่มีอิทธิพล จิตเป็นอิสระ ตอนนี้จิตเราไม่มีอิสระ รู้สึกมั้ย มีสิ่งเร้าจิตก็แกว่งตามมัน เอานะ ต้องฝึกอีก ยังไม่พอ ถ้าฝึกพอแล้ว มันเร้าก็เร้า เรื่องของมันนะ ใจเราก็อยู่สบาย สว่างอยู่อย่างนั้น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๓
File: 550630B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการเจริญสติปัฏฐาน (๑) มีสติ

mp 3 (for download) : หลักการเจริญสติปัฏฐาน (๑) มีสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลักของการเจริญสติปัฏฐาน การทำวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ถ้าสรุปง่ายๆ ภาษาไทยนะ “มีสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง” ยาวไปไหม ถ้ายาวไปนะ ก็ไปหาหนังสือ วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๒ อ่านเอานะ เอาเวอร์ชั่น ๒ นะ เวอร์ชั่น ๑ ตอนเขียนความรู้ยังไม่แจ่มแจ้ง ไปอ่านตอนเวอร์ชั่น ๒ ให้มีสติรู้กายรู้ใจนะ รู้ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจที่กำลังมีอยู่จริงๆ แล้วรู้มันตามที่มันเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าฝึกอย่างนี้ได้แล้วก็ไม่นาน ไม่นานนะจะรู้แจ้งในความเป็นจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือมันเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันเป็นของเป็นทุกข์ คือมันถูกบีบคั้น ถูกเสียดแทงตลอดเวลา อย่างร่างกายนี่ถูกเวทนาบีบคั้นตลอดเวลา นั่งอยู่ก็เมื่อย เดินก็เมื่อย นอนก็เมื่อย ใช่ไหม ทำอะไรก็ถูกบีบคั้น หายใจออกก็ทุกข์ หายใจเข้าก็ทุกข์ กินเข้าไปก็ทุกข์ ไม่กินก็ทุกข์นะ ขับถ่ายมากไปก็ทุกข์ ไม่ขับถ่ายก็ทุกข์อีก นี่มันถูกบีบคั้น ร่างกาย จิตใจก็ถูกกิเลสตัณหาบีบคั้นตลอดเวลา มันมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นเลย ในกายในใจ นี่ความจริงของเขา

ความจริงของเขาอีกอย่างหนึ่งคือ เขาไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ตอนนี้คนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริงมีเยอะ แยะเลย มีเยอะแยะนับไม่ถูกแล้วนะ ถ้าแจกปริญญาคงแจกไม่ทันแล้ว ที่นี้ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราอย่างแท้จริง จะเป็นพระโสดาบันวันนั้นล่ะ

ทีนี้ วิธีการนะ บอกแล้ว ให้มีสติรู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง มีสติรู้กาย รู้ใจ ไม่ใช่มีสติไปรู้อย่างอื่น สติ พูดมาทุกวันที่เจอหน้ากันว่า สติ คือความระลึกได้ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติเป็นความระลึกได้ หลวงพ่อจะไม่ลงรายละเอียดเรื่องสติมากนัก สติเป็นความระลึกได้ สติเกิดจากถิรสัญญา คือจิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นถ้าเราหัดดูบ่อยๆ หัดรู้สึกบ่อยๆ ใจโกรธไปก็คอยรู้สึก ใจโลภก็คอยรู้สึก ใจฟุ้งซ่าน ใจหดหู่ คอยรู้สึกไปเรื่อยนะ รู้สึกไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งสติจะเกิด ตรงที่สติเกิดนี่ เวลาใจลอยไปนะ สติก็ระลึกได้เองว่า ใจลอยไปแล้ว เวลาโกรธขึ้นมา สติก็ระลึกได้ว่า โกรธไปแล้ว มันเป็นเอง หรือสติมันระลึกรู้ กำลังอาบน้ำถูสบู่อยู่นะ ระลึกปั๊บลงไป ระลึกถึงตัวรูป แต่เห็นเป็นท่อนๆ นะ เห็นเป็นท่อนๆ เป็นแท่งๆ เป็นแข็งๆ อ่อนๆ เป็นเย็นเป็นร้อน ไม่มีตัวมีตนอะไร


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๑

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๕
File: 511116
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปแนวทางการปฎิบัติธรรม

mp 3 (for download) : สรุปแนวทางปฎิบัติธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือศีล คือสมาธิ คือปัญญา

การจะฝึกให้มีศีล ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศล ทางกายทางวาจาไว้ก่อน เบื้องต้นตั้งใจงดเว้นไว้ก่อนนะ เพื่อจะได้ศีล ศีล ๕ ศีล ๘ อะไรพวกนี้ ต่อมามีสติให้มาก รู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นกับจิต ถ้าเรามีสติรู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นกับจิตได้นะ ศีล ๑ จะเกิดขึ้น คือศีลอัตโนมัติจะเกิดขึ้นเลย เพราะถ้าคนทำผิดศีลได้ เพราะกิเลสมันครอบงำจิต แต่ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทัน กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ เราจะทำผิดศีลไม่ได้โดยอัตโนมัติเลย การรักษาศีลจะเป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่ศีล ๕ อีกต่อไปแล้ว จะรักษาจิตอันเดียวนั่นเอง ไม่ให้กิเลสย้อมได้นะ ไม่ผิดศีลหรอกกี่สิบข้อ มันก็ไม่ผิดหรอก

ถัดไปก็มาเรียนเรื่องจิตของตนเองนะ ถ้าจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข จะได้ความสงบ ถ้าจิตรู้ทันจิตที่ไหลไป จะได้จิตที่ตั้งมั่น นี่ ฝึกมาจนกระทั่งเราถึงเวลาเค้าให้มีจิตตั้งมั่น วันไหนไม่มีเรี่ยวมีแรง ก็ฝึกให้จิตสงบ แต่ทางที่ดีทุกวันก็แบ่งเวลาชาร์ตแบ็ตนิดนึง หรือทำจิตให้สงบบ้าง แล้วก็มาฝึกให้จิตตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่นแล้วเจริญปัญญา

วิธีเจริญปัญญาก็คือ อาศัยสตินี่แหล่ะ รู้รูป รู้นาม รู้กาย รู้ใจ รู้สภาวะแต่ละตัวๆนั่นแหล่ะ รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง ทีแรกจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วนะ เราไปเห็นสภาวะเช่น เห็นความโลภเกิดขึ้น จิตยังไม่เป็นกลาง ตั้งมั่นนะ เห็นความโลภอยู่ห่างๆ จิตอยู่ส่วนจิต แต่จิตยังเกลียดความโลภ จิตไม่เป็นกลาง ให้รู้ทันจิตที่ไม่เป็นกลาง จิตจะเป็นกลางขึ้นมา พอความดีเกิดขึ้น เห็นความดีอยู่ห่างๆ จิตอยู่ต่างหาก จิตกับความดีแยกออกจากกัน

แล้วจิตมันเกิดยินดีในความดี ให้รู้ทันความยินดีที่เกิดขึ้น ความยินดีจะดับ จิตจะเป็นกลาง เวลาสุขเกิดขึ้นนะ ให้รู้ทัน เห็นสุขอยู่ห่างๆ สุขกับจิตนั้นเป็นคนละอันกัน พอมีความสุขเกิดขึ้น จิตมันยินดีขึ้นมาให้รู้ทัน พอมีความทุกข์เกิดขึ้น จิตยินร้ายขึ้นมาให้รู้ทัน การที่เรารู้ทันสภาวะ นี่เป็นจุดที่หนึ่ง อันที่สองเมื่อรู้ทันสภาวะแล้ว รู้ทันจิต ถ้าจิตมีความยินดีให้รู้ทัน จิตมีความยินร้ายให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วจิตจะเข้าสู่ความเป็นกลาง

มันจะเข้ามาสู่ประโยคที่หลวงพ่อบอก ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะไม่เห็นความจริงของกายของใจ คือไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะงั้นถ้าพูดสั้นที่สุดเลยก็คือ ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง แค่นี้แหล่ะคือคำว่าวิปัสสนา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดรา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่  ๑๒ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๐๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ให้เรียนรู้ของที่แปรปรวน เพื่อวันหนึ่งจะพบสิ่งที่ไม่แปรปรวน

mp 3 (for download) : ให้เรียนรู้ของที่แปรปรวน เพื่อวันหนึ่งจะพบสิ่งที่ไม่แปรปรวน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ ตากล้อง ข้างธรรมาสน์

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นเฝ้ารู้นะ การเจริญปัญญาเนี่ย ก็คือการที่คอยรู้สภาวะทั้งหลาย ที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จะเป็นร่างกายนี้ เห็นร่างกายหายใจออก เห็นร่างกายหายใจเข้า เห็นร่างกายยืน ร่างกายเดิน ร่างกายนอน ร่างกายคู้ ร่างกายเหยียด ร่างกายกินอาหาร ร่างกายขับถ่าย เห็นร่างกายมันทำงานไป มีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่ความทุกข์บีบคั้น ร่างกายเป็นแค่วัตถุธาตุ ไม่ใช่ตัวใช่ตน ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา นี่เดินปัญญาดูกาย

เดินปัญญาดูจิตดูใจ ก็เห็นเลยสุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง กุศลก็ไม่เที่ยงอกุศลก็ไม่เที่ยง ตัวจิตเองก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวเป็นจิตดู เดี๋ยวเป็นจิตฟัง เดี๋ยวเป็นจิตคิด เห็นแต่ของที่แปรปรวนตลอดเวลา ให้เราเรียนรู้ของที่แปรปรวนนะ แล้ววันนึงเราจะพบสิ่งซึ่งไม่แปรปรวน คือพระนิพพาน

วันใดที่จิตปล่อยวางความยึดถือในรูปธรรมนามธรรมนะ นิพพานจะปรากฎขึ้นต่อหน้าต่อตา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่  ๒๑ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ เพราะสุขและทุกข์ต่างก็แสดงไตรลักษณ์เหมือนๆ กัน

mp 3 (for download) : สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ เพราะสุขและทุกข์ต่างก็แสดงไตรลักษณ์เหมือนๆ กัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เอื้อเฟื้อภาพโดย ชมรมสารธรรมล้านนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นจะเป็นพระโสดาฯก็ดี เป็นพระอรหันต์ก็ดี อยู่ที่การเจริญปัญญา มาเรียนรู้สภาวะที่เกิดดับ จะเป็นสภาวะของรูปธรรมก็ได้ สภาวะของนามธรรมก็ได้ เพราะทั้งรูปธรรมและนามธรรมก็แสดงสิ่งเดียวกัน จะเป็นสภาวะของความสุขก็ได้ จะเป็นสภาวะของความทุกข์ก็ได้ เพราะความสุขและความทุกข์ก็แสดงลักษณะอันเดียวกัน คือ แสดงสามัญลักษณะเหมือนๆกัน จะเป็นกุศลก็ได้ จะเป็นอกุศลก็ได้ เพราะกุศลและอกุศลก็แสดงไตรลักษณ์เหมือนกัน สามัญลักษณะเหมือนกัน

ใจมันจะเกิดความเป็นกลางขึ้น มันจะเห็นเลย สุขก็เท่านั้นแหละ ทุกข์ก็เท่านั้นแหละ กุศลก็เท่านั้นแหละ อกุศลก็เท่านั้นแหละ ร่างกายนี้ก็เท่านั้นแหละ ใจจะหมดความยินดี หมดความยินร้าย ถ้าจิตเราไม่ได้ฝึกสติปัญญาให้พอนะ มีความสุขขึ้นมาก็ยินดี มีความทุกข์ขึ้นมาก็ยินร้าย มีกุศลขึ้นมาก็ยินดี มีอกุศลขึ้นมาก็ยินร้าย

แต่ถ้าเห็นว่าความสุขก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็หมดความยินดีในความสุข เห็นความทุกข์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็หมดความยินร้ายในความทุกข์ เห็นกุศลไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นะ ก็หมดความยินดีในกุศล เห็นอกุศลไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หมดความยินร้ายในอกุศล จิตเข้าไปสู่ความเป็นกลาง กลางระหว่างสุขกับทุกข์ กลางระหว่างกุศลกับอกุศล

แต่เราจะทำชั่วไม่ได้เด็ดขาดเลยนะ บางคนได้ยินแค่นี้ก็คิดเอาเอง เมื่อมันเป็นกลางแล้วดีกับชั่วเท่าเทียมกัน ก็ทำชั่วได้ ที่จริงทำชั่วไม่ได้มาตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเราฝึกมา มีศีลมาก่อน เรามีศีลมาก่อนแล้ว เรามีสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่น แค่จิตมีสมาธิมันก็ข่มกิเลสยับเยินไปแล้ว นะ จนมาเห็น มีปัญญาแล้วเห็นทุกสิ่งทุกอย่างไร้สาระ คนเรามีกิเลส กิเลสย้อมตัวเองได้ ฮึ..มันมีตัวมีตนนะ มันยึดถือในตัวในตน ตัวตนไม่มี กิเลสจะไปย้อมแมวที่ไหน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่  ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ที่ดูจิต ก็เพื่อให้จิตเห็นว่าทุกอย่างล้วนตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์

mp 3 (for download) : ที่ดูจิต ก็เพื่อให้จิตเห็นว่าทุกอย่างล้วนตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือกุศล หรือความสุข หรือความทุกข์ หรือร่างกาย ล้วนแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นตัวร่วมของทุกส่ิงทุกอย่าง การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เราจะเรียนสภาวะแต่ละตัวๆ

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้จักลักษณะเฉพาะก่อน จนกระทั่งเราเห็นเลยว่า ความโลภเกิดขึ้นแล้ว แล้วก็จะเห็นว่าความโลภที่เกิดขึ้น มีอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ ต่อมีความไม่โลภเกิดขึ้น ความไม่โลภมีอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ ความโกรธเกิดขึ้น ความโกรธมีอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ จิตกลายเป็นจิตไม่โกรธ จิตไม่โกรธอยู่ชั่วคราวแล้วก็ดับ อาจจะกลายเป็นจิตหลง หรือเป็นจิตโลภ หรืออาจเป็นจิตโกรธครั้งใหม่ก็ได้

การที่เราเห็นสภาวะแต่ละตัวๆ เกิดแล้วดับไป เกิดแล้วดับไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่านะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ทำไป ถึงวันหนึ่งจิตมันจะสรุปขึ้นมาได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
เราเรียนทีละอันๆ ทุกปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น สอนไตรลักษณ์ สอนเรื่องเดียวกันทั้งสิ้นเลย
วันหนึ่งจิตเข้าใจแล้วว่าทุกอย่างตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตจะหมดความเห็นผิดว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนถาวร ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตนถาวรเลย สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับ นี่คือภูมิธรรมของพระโสดาบันที่เห็นว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับเป็นธรรมดา

ต่อไปก็ดูสภาวะแต่ละตัวๆต่อไปอีก ต้องดูเป็นตัวๆไป จะมาดูทั้งกลุ่ม ดูขันธ์ ๕ ดูทั้งก้อนนี้ จะไม่เห็นเกิดดับ เพราะมันรวมกันอยู่ มันช่วยกันอยู่ มันหนุน มันเสริม มันหลอกลวงกันอยู่ สัญญามันเข้าไปหลอกอยู่ แต่ถ้าสภาวะแยกออกเป็นตัวๆไปแล้วนี่นะ แต่ละตัวแสดงไตรลักษณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ดูไปนาน.. จิตสรุปได้เลยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย

ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ในเบื้องต้นก็จะรู้ว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับหมด ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร เป็นพระโสดาบัน ก็ดูทุกสิ่งทุกอย่างแสดงไตรลักษณ์ต่อไป

ในที่สุดก็จะรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างหาสาระแก่นสารไม่ได้ บางท่านเห็นว่ามันเป็นทุกข์คือมันไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย มันเป็นทุกข์เพราะมันไม่เที่ยง บางท่านมองเห็นว่ามันเป็นทุกข์เพราะมันถูกบีบคั้น บางท่านมองเห็นว่ามันเป็นทุกข์เพราะว่ามันบังคับไม่ได้ เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้

การที่จะเห็นความจริงของธาตุของขันธ์นะว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถึงจุดหนึ่งแล้วจิตจะปล่อยวางความยึดถือในธาตุในขันธ์ ก็บรรลุพระอรหันต์กันตรงนี้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่  ๓๔ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความสุขมีหลายระดับ

mp 3 (for download) : ความสุขมีหลายระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความสุขมันมีหลายระดับ กินของอร่อยก็มีความสุข ดูของสวยของงามก็มีความสุข อันนี้เรียกว่ากามสุข กามสุขเนี่ยคนในโลกเค้าแสวงหากัน

ทีนี้นักปฏิบัติถ้าทำความสงบจิตได้เนี่ย เรียกฌานสุข มีความสุขของการทำสมาธิ เรียกฌานสุข คนที่ได้ฌานสุขแล้วจะรู้เลยว่า กามสุขเนี่ยเป็นเรื่องเด็ก เหมือนหนอนกินอุจจาระ หนอนเค้าก็อร่อยของเค้านะ แต่ให้คนไปกิน ไม่กินหรอก จิตของคนที่เข้าฌานได้ จะรู้เลยว่าความสุขของกาม ของรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสอะไรนี่ กระจอกมากเลย

แล้วมีความสุขอีกชนิดนึง เรียกว่าโลกุตรสุข เลยฌานสุขไปอีกนะ คนที่เข้าถึงโลกุตรสุขจะรู้เลยว่า ฌานสุขเป็นทุกข์ ที่ว่าจิตเข้าฌานมีความสุขมากๆนะ ในความเป็นจริงแล้วเป็นภพๆนึง เป็นทุกข์

งั้นความสุขมีเป็นขั้นๆไป ถ้าเรายังหลงโลกอยู่ เราก็มาทำใจให้สงบบ้างนะ แล้วมาเจริญปัญญา เราก็มีความสุขที่ปราณีตขึ้นไปเรื่อยๆ จนมันแจ้งความจริงของกายของใจ ปล่อยวางกายวางใจได้ ก็สัมผัสความสุขที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีอะไรเหมือนเลย ความสุขที่มันเต็ม มันอิ่มอยู่ในตัวเองทั้งวันทั้งคืน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านเนินแสนสุข จ.ชลุบรี
เมื่อวันพุธที่ ๘ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านเนินแสนสุข จ.ชลบุรี วันพุธที่ ๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550808
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปัญญากับฟุ้งซ่าน คาบเส้นกันนิดเดียว

mp 3 (for download) : ปัญญากับฟุ้งซ่าน คาบเส้นกันนิดเดียว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้รู้ทันตอนที่จิตไหลไปนะ จิตไหลไปคิดนึกปรุงแต่งเนี่ย ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดนึกปรุงแต่ง จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาได้ คราวนี้เราถึงจะเจริญปัญญาได้ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะเจริญปัญญาไม่ได้ นี่เป็นสูตรเลยนะ เพราะว่าสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะไม่สามารถเจริญปัญญาได้ แต่เราอย่าไปแปลสมาธิว่าสงบ บางคนบอกว่า ต้องจิตสงบถึงจะเจริญปัญญาได้ จิตสงบจิตจะไม่เจริญปัญญา จิตจะพักผ่อนเฉยๆ ต้องจิตฟุ้งซ่าน จิตทำงานไป แต่จิตตั้งมั่น แล้วปล่อยให้มันเกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ให้มันทำงานไป

ใครเคยรู้จักหลวงพ่อพุธ ฐานิโยบ้าง มีมั้ย ใครเคยเจอ ใครเคยได้ยินชื่อ อ่อ ได้ยินชื่อเยอะอยู่ ก็ยังดี หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะ บอกว่า ความฟุ้งซ่านกับการเจริญปัญญานั้นคาบเส้นกันนิดเดียว ความฟุ้งซ่านก็คือจิตมันคิดนึกปรุงแต่งไป โดยที่เราไม่มีสติไม่มีสมาธิ ไม่มีความตั้งมั่น จิตมันหลงตามความปรุงแต่งไป อันนี้เรียกว่าความฟุ้งซ่าน ส่วนการเจริญปัญญา จิตก็ทำงานไปตามปกติเหมือนที่จิตฟุ้งซ่านนั่นแหละ แต่เรามีสติ รู้ทันความปรุงแต่งของจิต มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่ มีสติ กับมีสมาธิอยู่ ปัญญาก็เกิด

เพราะฉะนั้นการที่จะมีปัญญาขึ้นมานั้น ไม่ใช่ไปทำจิตให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่งจะไม่มีปัญญา จิตมันจะขี้เกียจ จิตจะพักผ่อนอยู่เฉยๆ


CD: บ้านเนินแสนสุข จ.ชลบุรี วันพุธที่ ๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550808
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๕/๖) : มีจิตผู้รู้แล้วต้องเดินปัญญา

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๕/๖) : มีจิตผู้รู้แล้วต้องเดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเรามีจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ก็ถึงขั้นของการเจริญปัญญา

บางคนก็มาโง่อยู่ตรงนี้อีก บอกว่าพอได้จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้วรักษามันไว้เฉยๆ ประคองจิตให้นิ่งให้ว่าง รู้สึกตัวอยู่เฉยๆนะ รักษาความคิดเกิดขึ้นให้ปัดทิ้ง ความปรุงแต่งเกิดขึ้นให้ปัดทิ้ง ไอ้นั่นคือการทำสมถะอีกแหล่ะ ไม่ได้เดินปัญญาจริง

การเดินปัญญานั้น จิตเป็นหนึ่งนะ อารมณ์เป็นหมื่นเป็นแสน แต่อารมณ์จะมีกี่หมื่นกี่แสน ทุกๆอารมณ์แสดงไตรลักษณ์อันเดียวกัน การเรียนวิปัสสนานั้นนะ เรียนเพื่อให้เห็นตัวร่วม ลักษณะร่วมของทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นมาในรูปธรรมนามธรรมนี้ สิ่งที่เป็นตัวร่วมเรียกว่าสามัญญลักษณะ “สามัญ”เห็นมั้ย ไม่ใช่วิสามัญ

วิสามัญนี่เป็นลักษณะเฉพาะ สภาวะธรรมแต่ละชนิดๆ ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมนี่ มีลักษณะ ๒ ชนิด ลักษณะชนิดที่ ๑ ชื่อวิเสสลักษณะ ลักษณะเฉพาะ คำว่าวิเสสก็คือคำว่าพิเศษนั่นเอง คนไทยใช้คำว่าพิเศษ ลักษณะพิเศษ เช่นความโลภมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ไม่เหมือนความโกรธ ความโกรธก็มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่เหมือนความโลภ อย่างความโกรธเกิดขึ้น มันมีอาการที่จิตจะผลักอารมณ์ทิ้ง อาการมันไม่เหมือนกัน ความโลภมีอาการที่จิตจะดึงอารมณ์เข้ามาหาตัวเอง หวงแหนรักใคร่ ดึงเข้ามา ความโกรธนี้จะผลักออกไป โมหะเป็นความหมุนมน จับอะไรไม่ค่อยจะถูก วนไปวนมา รีๆรอๆ แต่ละตัวมีอาการไม่เหมือนกัน กุศลก็มีอาการไม่เหมือนอกุศล สติมีอาการไม่เหมือนสมาธิ สติก็มีอาการไม่เหมือนปัญญา สมาธิกับปัญญาก็ไม่เหมือนกัน แต่ละตัวๆที่เราเรียกชื่อแยกจากกันได้ เพราะมันมีลักษณะเฉพาะตัว ทำให้เราแยกได้ ไอ้นี้คือความโลภ พวกเรารู้จักความโลภมั้ย มันไม่เหมือนความโกรธนึกออกมั้ย เนี่ยแต่ละตัวของสภาวะนะ จะมีลักษณะเฉพาะชื่อวิเสสลักษณะ ลักษณะพิเศษ

แต่ทุกๆตัวนั้นมีลักษณะร่วมกัน ลักษณะร่วมนั้นเรียกว่าสามัญญลักษณะ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่  ๐๐ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๔/๖) : เจริญปัญญาได้ต้องเรียนเรื่องจิตมาก่อน

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๔/๖) : เจริญปัญญาได้ต้องเรียนเรื่องจิตมาก่อน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนบอก แอนตี้การดูจิต นี้โง่ที่สุดเลย เพราะบทเรียนของพระพุทธเจ้านะ บทเรียนที่ ๑ ชื่อ สีลสิกขา บทเรียนที่ ๒ ชื่อ จิตตสิกขา ถ้าเรียนเรื่องจิตแล้วเราจะได้จิตที่ตั้งมั่น เพื่อจะเอาไปใช้ในบทเรียนที่ ๓ คือปัญญาสิกขา

บางทีพูดมักง่ายว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (ความจริงแล้ว)ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นเป็นผล เหตุของศีลคือ สีลสิกขา เหตุของสมาธิคือ จิตตสิกขา เรียนเรื่องจิต เหตุของปัญญาก็มี ปัญญาสิกขา เจริญปัญญา รู้วิธีเจริญปัญญาแล้วลงมือเจริญปัญญา ก็จะได้ปัญญามา

บางทีไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผล พูดแล้วก็มั่วๆ ไปคิดว่าต้องไปนั่งสมาธิ เพื่อจะได้มี ศีล สมาธิ ปัญญา หารู้ไม่ว่า สมาธิได้มาจากการเรียนเรื่องจิต จิตตสิกขานั่นแหละทำให้เราได้สมาธิสองชนิด เรารู้เลยว่าถ้าจิตเราสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราได้สมาธิชนิดพักผ่อน เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ถ้าจิตของเราตั้งมั่น รู้ตื่นเบิกบานอันเนื่องมาจากเรารู้ทันจิตที่ไหลไป เราจะได้สมาธิอีกชนิดหนึ่งที่เอาไว้เดินปัญญาชื่อ ลักขณูปนิชฌาน

เพราะฉะนั้นการเรียนเรื่องจิตนี่แหละ จะทำให้เราได้สมาธิ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่  ๓๕ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๐๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๓/๖) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๓/๖) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เบื้องต้น ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นกรรมฐานอย่างเดิมที่เคยทำเพื่อให้เกิดความสงบก็ได้

ยกตัวอย่างหลวงพ่อ หายใจนะ หายใจแล้วจิตมีความสุขอยู่กับลมหายใจ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่งก็คือลมหายใจ รู้ลมหายใจอันเดียวจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง นี่คือทำสมถะ ทีนี้ต่อมาเรามาฝึก หายใจแล้วจิตเคลื่อนไป เรารู้ทัน เราไม่ได้รู้ที่ลมหายใจ แต่หายใจแล้วรู้จิต นี่มันต่างกันตรงนี้ ถ้าเราทำกรรมฐานแล้วเรารู้อยู่ในอารมณ์ของกรรมฐานนั้นๆนะ จะได้สมถะ จะได้ความสงบ ถ้าเราทำกรรมฐานแล้วเรารู้ทันจิต จะได้จิตที่ตั้งมั่น

เพราะฉะนั้น พุทโธเหมือนเดิม ใครเคยพุทโธแล้วสงบนะ จิตอยู่กับพุทโธ ก็ปรับนิดเดียว พุทโธต่อไป แต่พุทโธไม่ใช่เพื่อให้จิตไปอยู่กับพุทโธ ไม่ใช่พุทโธให้จิตสงบ แต่พุทโธแล้วรู้ทันว่าจิตไหลไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไปเพ่งพุทโธไปเพ่งจิตเอาไว้ ก็รู้ทัน

คนไหนเคยฝึกอานาปานสติ จิตไปรวมกับลมหายใจแล้วมีความสงบขึ้นมา ก็ปรับนิดนึง ก็หายใจเหมือนเดิมแหละ แต่แทนที่จะรู้ลมหายใจ ก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจก็รู้ทัน อย่างนี้จะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา เพราะจิตผู้รู้ กับจิตผู้ไหลไปผู้หลงไปผู้ส่งออกไป จะตรงข้ามกัน จิตผู้รู้นั้นไม่ส่งไป ตั้งมั่น เด่นดวง อยู่

ใครเคยดูท้องพองยุบก็ดูไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน ใช้หลักเดียวกัน แต่ถ้าจิตเราไหลไปเกาะนิ่งอยู่ที่ท้อง สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะ เอาไว้พักผ่อน

เพราะฉะนั้นปรับนิดเดียวเท่านั้นเอง คือเปลี่ยนการรู้อารมณ์มาเป็นการรู้จิต


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่  ๒๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๒/๖) : สมาธิชนิดที่ ๒: สมาธิเพื่อความตั้งมั่นของจิต

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๒/๖) : สมาธิชนิดที่ ๒: สมาธิเพื่อความตั้งมั่นของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิชนิดที่ ๒ คือความตั้งมั่นของจิต อันนี้แหล่ะเอาไว้เดินปัญญา เคล็ดลับมีนิดเดียว ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ง่ายๆแค่นี้เอง

เห็นมั้ยหลักปฏิบัติแต่ละข้อๆนะ หลวงพ่อสรุปออกมาให้เหลือนิดเดียวแหล่ะ ง่ายๆ ถ้าเรารู้จิตที่เคลื่อนไป จิตที่ไหลไป จิตที่ส่งออก หลวงปู่ดูลย์เรียกจิตส่งออกนอก ถ้าเรารู้ทันจิตที่ส่งออกไป จิตที่เคลื่อนไป จิตที่ไหลไป จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่ได้บังคับ

งั้นความตั้งมั่นของจิต ไม่ใช่ตั้งอยู่โดยการบังคับเอาไว้ ถ้าเราบังคับจิตไม่ให้ไหล จิตจะเครียด จิตไม่มีความสุข จิตก็ไม่สงบหรอก (ถ้า)ตั้งไว้แข็งๆ สมถะก็ไม่ได้ เดินปัญญาก็ไม่ได้ ไม่ได้ทั้งสมถะ ไม่ได้ทั้งวิปัสสนา

ให้เรารู้ทันจิตที่ไหลไป อย่าบังคับว่าห้ามไหล ถ้าห้ามมันไปบังคับมัน สมถะก็ไม่ได้เพราะไม่มีความสุข วิปัสสนาก็ไม่ได้(เพราะ)จิตมันเครียด จิตไม่ใช่ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ง่ายมากนะ แค่รู้ทันว่าจิตเคลื่อนไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่  ๔๑ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๑/๖) : สมาธิชนิดที่ ๑: สมาธิเพื่อการพักผ่อน

mp 3 (for download) : สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา (๑/๖) : สมาธิชนิดที่ ๑: สมาธิเพื่อการพักผ่อน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อปราโมทย์ : นี่ต้องแยกให้ออกนะ ระหว่างสมถะกับวิปัสสนา เมื่อวานหลวงพ่อสอนหลักของสมถะให้แล้ว เราต้องทำ การทำสมถะเป็นการชาร์จพลังของจิต ถ้าจิตไม่มีพลัง เดินปัญญาลำบาก

สมถะมี ๒ ชนิด ชนิดที่ ๑ เอาไว้พักผ่อน ชนิดที่ ๒ ฝึกให้จิตตั้งมั่น เพื่อจะได้เดินปัญญา จะเอาสมาธิชนิดพักผ่อนไปเดินปัญญา(จะทำ)ไม่ได้ เพราะถ้าเดินปัญญามันก็ไม่ได้พักผ่อน

สมาธิพักผ่อนนั้นจิตเป็น ๑ อารมณ์เป็น ๑ อยู่กับพุทโธอยู่กับลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น ไม่ไปแสวงหาอารมณ์อันอื่น จิตก็จะสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เคล็ดลับอยู่ที่การเลือกอารมณ์ ที่เหมาะกับนิสัยของเรา (เหมาะกับ)จิตใจของเรา

อารมณ์ใดที่เป็นกุศล อยู่แล้วมีความสุข ก็เอาอันนั้น อารมณ์บางอย่างอยู่ด้วยมีความสุขแต่เป็นอกุศล (ก็)ไม่เอา มันดูมีสมาธิแต่สมาธิจะเป็นมิจฉาสมาธิไป ไม่ดี

ยกตัวอย่าง ดูบอล มีความสุขไปดูบอล มีสมาธิจดจ่อในการดูบอลนะ ดูได้ทั้งคืนเลย เป็นสมาธิออกนอกไปหมด เป็นมิจฉาสมาธิ เลือกอารมณ์ที่เป็นกุศลไว้ หรือไม่ยั่วกิเลส คนไหนอยู่กับพุทโธมีความสุข(ก็ให้)อยู่กับพุทโธไป คนไหนอยู่กับลมหายใจมีความสุข ก็อยู่กับลมหายใจไป คนไหนดูท้องพองยุบมีความสุข ก็อยู่กับท้องพองยุบ ใครขยับมือทำจังหวะแล้วมีความสุข (ก็)ขยับมือไป อย่าบังคับจิตให้สงบ

มันมีเคล็ดลับหลายตัว อันแรกเลือกอารมณ์ที่มีความสุข แล้วก็มนสิการถึงอารมณ์อันนั้น คำนึงถึงอารมณ์นั้นเรื่อยๆ สบายๆ ไม่ไปบังคับจิตให้ไปจ่อเครียดๆอยู่กับอารมณ์ ถ้าบังคับจิต จิตจะไม่มีความสุข ไม่สงบหรอก เคล็ดลับของสมาธิคือ มีความสุขมันถึงจะสงบ

ท่านถึงสอนบอกว่า ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ นี่คือสมาธิชนิดแรก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550212A
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่  ๐๑ ถึง นาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บุญใดประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญใหญ่

mp 3 (for download) : บุญใดประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญใหญ่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนมาชวนหลวงพ่อไปอินเดียนะ เราก็ขี้เกียจไป เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่อินเดีย แต่ไปได้ก็ดี ถ้าอินทรีย์เราไม่แข็งนะ การได้ไปไหว้สังเวชนียสถาน ที่ๆควรสังเวชที่ๆพึงสังเวช สังเวชนียสถานไม่ไช่แปลว่าที่ๆต้องไปกราบไหว้นะ เป็นที่ๆพึงสังเวช สังเวชใจ

เมื่อเราไปถึงที่นี้พระพุทธเจ้าเคยประสูติ ที่นี้ตรัสรู้ ที่นี้แสดงปฐมเทศนา ที่นี้ปรินิพพาน แล้วไปสังเวชยังไง สังเวชว่าครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ เสร็จแล้วท่านก็แสดงธรรมะให้เราดู คือมีแล้วก็หายไป ธาตุขันธ์ของท่านหายไปแล้ว ใจเราก็จะต้องระลึกดู ขนาดพระพุทธเจ้ามีคุณธรรมสูงขนาดนั้น บริสุทธิ์หมดจดขนาดนั้น ท่านยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เลย เราเองวันนึงก็ต้องเป็นอย่างนั้น ใจก็น้อมกลับเข้ามาพิจารณาธรรมะ ไปเพื่อให้เห็นธรรมะ ไม่ใช่ไปไหว้เอาบุญ

ถ้าอยากได้บุญก็ต้องประกอบด้วยปัญญา เดินทางไปไหว้สังเวชนียสถานลำบาก ถามว่าได้บุญมั้ย ได้บุญที่ขวนขวายไป แต่ถ้าได้ปัญญาด้วย ไปแล้วมีความสังเวชใจ เพราะได้เห็นความจริงของชีวิต ชีวิตทั้งหลายเมื่อมีขึ้นมาแล้วก็แตกดับไป แม้เราเองวันหนึ่งข้างหน้าก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้าใจสังเวชในธรรมะนี้ขึ้นมาด้วยปัญญา บุญใดประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญใหญ่ บุญใดไม่ประกอบด้วยปัญญาเป็นบุญเล็กน้อย

งั้นถ้าไปไหว้ๆแล้วกะว่าจะขึ้นสวรรค์ ก็ขึ้นเหมือนกันนะแต่สวรรค์ต้นๆหน่อย ถ้าไปไหว้แล้วเกิดปัญญา อาจจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์เพราะนิพพานไปก่อน นี้ถ้าเรายังไม่มีโอกาสไปนะ เราก็มาปฏิบัติเอา เราก็อยู่ใกล้พระพุทธเจ้าเหมือนกัน สิ่งใดที่ท่านห้ามเราก็ไม่ทำ สิ่งใดที่ท่านแนะนำเราก็ทำ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๐
File: 550505.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เวลาเจริญปัญญา ดูกายเป็นปัจจุบันขณะ ดูจิตเป็นปัจจุบันสันตติ

mp 3 (for download) : เวลาเจริญปัญญา ดูกายเป็นปัจจุบันขณะ ดูจิตเป็นปัจจุบันสันตติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งแรกนะ ที่ฝากให้พวกเราไปก็คือ ไปฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ให้ได้ ผู้รู้นะไม่เผลอไปตามกิเลส ไม่เพ่งบังคับไว้ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีเบิกบานด้วยนะ เบิกบานอยู่ในตัวเอง

ถัดจากนั้นเจริญปัญญา อย่าเป็นผู้รู้แล้วก็จบอยู่ที่เป็นผู้รู้ ยังไม่ได้เริ่มเจริญปัญญาเลย เป็นผู้รู้เพื่อจะเป็นจุดตั้งต้นในการเจริญปัญญา เวลาเจริญปัญญานั้นดูกายลงปัจจุบัน ถ้าดูจิต ดูจิตที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ ดูไม่เหมือนกันนะ

ดูจิตลงปัจจุบันไม่ได้ เช่นจิตมันกำลังไปดูรูป ในขณะที่จิตไปดูรูปนั้น เราจะรู้ว่าจิตไปดูรูปไม่ได้ เพราะขณะนั้นอารมณ์ของจิตคือรูป ไม่ใช่อารมณ์ของจิตคือจิตดวงก่อน การดูจิตนี้จะดูตามหลังตลอดเลย แต่ตามกระชั้นชิด เช่นจิตดวงนั้นโกรธ เกิดจิตอีกดวงนึงรู้ว่าดวงตะกี๊โกรธ คนละดวงกัน งั้นดูจิตเนี่ยเป็นปัจจุบันสันตติ คือสืบเนื่องกับปัจจุบัน ถ้าดูกายนะเป็นปัจจุบันขณะ ขณะนี้เลย คนละแบบกันนะ สิ่งเหล่านี้ต้องศึกษานะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๒
File: 550512.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๓๔

ตติ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อริยกันตศีล ศีลที่พระอริยะชมเชย

mp 3 (for download) : อริยกันตศีล ศีลที่พระอริยะชมเชย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอย่างไรจะมีศีล ศีลทำไปเพื่ออะไร ศีลไม่ได้ทำไปเพื่อจะนับว่ามีศีล ๘ มากกว่าศีล ๕ มีศีล ๑๐ นั้นเหนือกว่าศีล ๘ มีศีล ๒๒๗ ดีกว่าทุกคนเลย วิเศษวิโส นั่นศีลกิเลสแล้ว เป็นเรื่องของกิเลสแล้ว ศีลไม่ได้เอาไว้อวดกัน แต่ศีลเนี่ยเป็นเครื่องข่ม ข่มจิต เป็นเครื่องข่มจิตใจไม่ให้ทำชั่ว ตามแรงผลักดันของกิเลส

เพราะฉะนั้นเรามาฝึก ศีลที่จำเป็นที่สุดจริงๆ ก็แค่ศีล ๕ เท่านั้นแหละ เป็นพระก็ต้องมีศีล ๕ ถ้าถือศีล ๒๒๗ นะ ตัดออกไปเสีย ๕ ข้อ ไม่มีทางบรรลุมรรคผลเลย เพราะศีลในองค์มรรคจริงๆนะ ข้อหนึ่ง ข้อสอง ข้อสาม ข้อสี่ เท่านั้นเอง (อ่าน: กรรมกิเลส ๔) ข้อห้า เป็นตัวช่วยสัมมาสติ ทำให้มีสติดี ไม่กินเหล้าเมายา สติไม่ดี ตัวศีลจริงๆ ศีลข้อหนึ่ง ข้อสอง ข้อสาม คือสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาก็คือศีลข้อสี่ ๔ ข้อนี้แหละ สำคัญที่สุดเลย

เบื้องต้นต้องตั้งใจไว้ก่อน กิเลสรุนแรงเท่าไร ก็ไม่ยอมให้กิเลสครอบงำพาไปทำผิดศีล เพราะฉะนั้นศีลเบื้องต้นต้องตั้งใจไว้ก่อน นี่คือเจตนางดเว้น เพราะศีลนี่เริ่มต้นที่เจตนางดเว้น ตั้งใจมีเจตนางดเว้นไว้ก่อน มันเคยชินที่จะพูดเท็จ เคยชินที่จะพูดเพ้อเจ้อ ตั้งเจตนางดเว้นไว้ก่อน ตื่นนอนขึ้นมาก็เตือนตนเองว่าวันนี้จะไม่พูดเท็จ วันนี้จะไม่พูดเพ้อเจ้อ อะไรอย่างนี้ ไม่ทำผิดศีล ๕ กลางวันก็คอยนึก วันนี้จะไม่ทำผิดศีล ๕ เย็นๆค่ำๆก็นึก ตลอดคืนนี้จะไม่ทำผิดศีล ๕ เจตนาไว้ก่อน

เมื่อจิตเคยชินที่จะมีศีล ต่อไปการรักษาศีลจะค่อยง่ายขึ้น มีความเคยชินที่จะไม่ทำผิดศีล แล้วถ้าเรามาเจริญสติ มีสติ คอยรู้เท่าทันจิตใจอยู่เรื่อยๆ มีสตินี้เป็นเรื่องของการฝึกจิตแล้ว ถ้ากิเลสเกิดขึ้นกับจิต เรารู้ทัน กิเลสเกิดกับจิต เรารู้ทันเรื่อยๆ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ศีลอัตโนมัติจะเกิดขึ้น จะเกิดศีลอีกชนิดหนึ่ง เป็นศีลที่สูงขึ้นไปอีก เป็นอินทรียสังวรศีลนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ก็ให้มันกระทบ เมื่อกระทบแล้วอกุศลใดๆเกิด มีสติรู้ทัน เกิดที่จิต ไม่เกิดที่ตาที่หูที่จมูกที่ลิ้นที่กาย อกุศลเกิดที่จิตอย่างเดียว มีสติรู้ทันจิตอยู่

อกุศลเกิดแล้วรู้ทัน อกุศลก็ดับไป อกุศลครอบงำจิตไม่ได้ มันจะเกิดศีลอัตโนมัติขึ้นมา เป็นศีลที่เกิดจากการสำรวมอินทรีย์ เมื่อตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์แล้วคอยมีสติไว้ เนี่ยศีลมันค่อยปราณีตขึ้น ไม่ใช่มีแค่ศีล ๕ ศีล ๘ แล้ว ต่อไปนี้ ศีลเป็นศีลหนึ่งเท่านั้นเอง ก็คือ จิตเป็นปกติจากกิเลส กิเลสมาทำให้จิตผิดปกติไม่ได้ เนียศีลก็พัฒนาขึ้นไป สุดท้ายได้ธรรมะแล้วมีศีลอีกชนิดหนึ่งชื่อ อริยกันตศีล

อริยกันตศีล เป็นศีลที่พระอริยะชมเชย เป็นศีลสบายนะ ไม่ใช่ศีลลำบาก ศีลอย่างพวกเราเป็นศีลลำบาก ห้ามโน่นห้ามนี่ ศีลที่พระอริยะชมเชยเป็นศีลที่มีความสุข มีศีลแล้วสบาย มีศีลแล้วปลอดโปร่ง มีศีลแล้วเกื้อกูลคุณงามความดีให้ยิ่งๆขึ้นไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๙
File: 550601.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๙ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิสุทธิ ๗ ประการ

mp 3 (for download) : วิสุทธิ ๗

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมถะดีมั้ย ดี เหมือนบันไดขั้นแรกๆ แต่ทำอยู่แค่สมถะไม่ขึ้นเจริญปัญญา ไม่ได้เรื่องเลย ทำไม่ถูกแล้ว ไม่มีสมถะเลยก็คือ ไม่มีบันไดขั้นแรกๆเลย ก็ไปยาก จะขึ้นบันไดขั้นที่ ๓ เลยทำได้มั้ย ได้ ถ้าขั้นมันไม่ใหญ่มาก แต่ขึ้นสบายมั้ย เสี่ยงมั้ย ขึ้นไม่สบาย เสี่ยง ถ้าเดินไปตามลำดับบันไดที่พระพุทธเจ้าวางไว้ ไม่ยาก มันจะไม่ยากเกินไป

บันไดของท่านนะ ถ้าซอยออกไปหยาบๆก็มี ๓ ขั้น แต่ละขั้นยาวหน่อย ขั้นศีลขั้นสมาธิเท่าๆกันนะ แต่ขั้นหลังๆเนี่ย จะต้องเขย่งอย่างแรงเลย พระสารีบุตรท่านมาแยกเป็นบันได ๗ ขั้น เป็นวิสุทธิ ๗ อย่าง “สีลวิสุทธิ” เรื่องศีล “จิตตวิสุทธิ” คือเรื่องฝึกจิตให้มีสมาธิ ถัดจากนั้นอีก ๕ ขั้นเป็นเรื่องของการเจริญปัญญา ท่านซอยการเจริญปัญญาออกไปอีก ช่วยให้เราภาวนาง่ายขึ้น

เริ่ม(ตั้ง)แต่“ทิฏฐิวิสุทธิ” ทิฏฐิวิสุทธิเป็นตัวเจริญปัญญาตัวแรกเลย ทิฏฐิวิสุทธิคือเรียนรู้มีทิฏฐิมีความเห็นที่ถูกต้อง ว่าตัวเราไม่มี เป็นความเห็นนะยังไม่ใช่การรู้จริง  ตัวเราไม่มี มีแต่รูปกับนาม ถ้าแยกรูปแยกนามได้ เรียกว่ามีทิฏฐิวิสุทธิ งั้นพวกเราที่แยกรูปแยกนามได้เนี่ยนะ บันได ๗ ขั้นเนี่ย เรามาอยู่ในขั้นที่ ๓ แล้ว แยกรูปนามได้เรียกว่าทิฏฐิวิสุทธิ

ต่อมาเรารู้อีกว่า รูปธรรมนามธรรมทั้งหลายเนี่ย มันมีเหตุมันถึงจะเกิด ไม่ใช่ลอยๆมาเกิดหรอก แล้วเกิดแล้วพอหมดเหตุมันก็หายไป ไม่สงสัยในรูปธรรมนามธรรมทั้งหลายเลย รู้ว่ามันมาจากเหตุ ถ้าหมดเหตุมันก็หายไป รู้อย่างนี้นะ รู้ด้วยการศึกษาเปรียบเทียบเอา ว่ารูปแต่ก่อนกับรูปเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน นามแต่ก่อนกับนามเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เหตุมันต่างกัน อันนี้ขึ้นกระไดมาอีกอันนะชื่อ“กังขาวิตรณวิสุทธิ” หมดความสงสัยในการเกิดของรูปนาม มันเป็นไตรลักษณ์ แต่มันจะเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิด

ถัดจากนั้นมันจะถึง“มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” รู้ว่าอะไรเป็นทางอะไรไม่ใช่ทาง ตรงที่รู้ว่าอะไรเป็นทางอะไรไม่ใช่ทางเนี่ย ขึ้นวิปัสสนาไปแล้วนะ แล้วผ่านวิปัสสนูปกิเลสไปแล้ว เนี่ยตรงนี้ถ้าแยกด้วยญาณ ๑๖ นะ พระรุ่นหลังมาแยกด้วยญาณ ๑๖ เลย แยกตรงนี้ละเอียดออกไปอีก เป็นญาณอีกเยอะเลย พระสารีบุตรมาแยกขึ้นมา ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคค มรรคหรืออมรรค มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ อะไรเป็นมรรคอะไรไม่ใช่มรรค

สิ่งที่เป็นมรรคคือการที่มีสติรู้กายรู้ใจ รู้รูปนามตามความเป็นจริง ด้วยจิตตั้งมั่นเป็นกลาง ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่เป็นกลาง วิปัสสนูปกิเลสจะแทรก งั้นถ้าเมื่อไหร่เกิดวิปัสสนูฯ แล้วจิตตั้งมั่นถึงฐานขึ้นเมื่อไหร่นะ วิปัสสนูฯหายเลย วิปัสสนูฯเลยมีชื่ออีกชื่อนึงว่า ธัมมุทธัจจะ ธรรมะ(กับ)อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรมะ ๑๐ ประการ

พวกเราจำนวนมากเลยที่มาถึงตรงนี้ ที่เราภาวนาดูจิตดูใจแล้วมันสว่างว่างไปอยู่ข้างหน้า ใครเคยเป็นที่มันไปว่างสว่างอยู่ข้างหน้า แล้วหลวงพ่อบอก รู้มั้ยจิตเคลื่อนออกไปอยู่กับแสงสว่าง ไปอยู่กับความว่าง ไปอยู่กับความสุขความสบายข้างหน้า ตรงที่พวกเรารู้ทันตัวนี้นะ ตัวนี้เราได้มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ รู้แล้วถ้าไหลออกนอกอย่างนี้ไม่ใช่ทาง ถ้าตั้งมั่นอยู่รู้รูปนามอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นอยู่นี้เป็นทาง

ถัดจากนั้นก็เป็น “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ” ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิคือการทำวิปัสสนานั่นเอง โดยที่พ้นวิปัสสนูมาแล้ว ก็มีสติรู้รูปนามตามความเป็นจริง ด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง เนี่ยรู้ไปเรื่อย ในโสฬสญาณท่านก็ซอยไปถี่ยิบเลย พอเห็นความจริงแรกๆก็จะเกิดความรู้สึกมันน่ากลัว เกิดน่ากลัว เกิดรู้สึกว่าไร้สาระ เกิดความรู้สึกเบื่อ พวกเราหลายคนที่ภาวนาแล้วรู้สึกมั้ย ธาตุขันธ์ชีวิตนี้น่ากลัว ธาตุขันธ์ชีวิตนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ ธาตุขันธ์ชีวิตนี้น่าเบื่อ นี่เรากระเถิบขึ้นมาตั้งเยอะแล้วนะ ไม่่ใช่กระไดขั้นแรกๆแล้วนะ

เนี่ยฝึกมาเรื่อยนะ สุดท้ายก็เกิด”ญาณทัสสนวิสุทธิ” เกิดมรรคเกิดผลขึ้นมา เนี่ยเดินทางเดินถ้าย่อๆนะ ก็เป็นศีลสมาธิปัญญา ถ้าขยายปัญญาออกไป ๕ ส่วน ศีลสมาธิแล้วอีกปัญญาเป็น ๕ (รวม)เป็น ๗ ก็เป็นวิสุทธิ ธรรมะชื่อวิสุทธิ ๗ ประการ เนี่ยพระสารีบุตรท่านขยายขึ้นมา แล้วพระรุ่นหลังมาขยายออกไปอีกเป็นญาณ ๑๖ โสฬสญาณ โสฬสญาณเนี่ยเป็นส่วนของการเจริญปัญญา

งั้นศีลสมาธิต้องมีก่อน บางคนไปเรียนโสฬสญาณแล้วเมาเลย ลืมเรื่องศีลกับการฝึกจิต ลืมศีลสิกขาจิตตสิกขา ลืมสีลวิสุทธิจิตตวิสุทธิ คิดว่าการปฏิบัติไม่มีอะไร หาทางแยกรูปนามอะไรต่ออะไร คิดเอาเองเลย จิตไม่ตั้งมั่นมันไม่แยกหรอก งั้นสีลวิสุทธิก็คือการศึกษาเรื่องศีล ศีลสิกขา จิตตวิสุทธิก็คือจิตตสิกขา อีก ๕ ตัวของวิสุทธิคือปัญญาสิกขา ๕ ตัวนี้มาขยายออกไปเป็น ๑๖ ตัวเรียกโสฬสญาณ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๙
File: 550601.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๔ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตสิกขา เป็นบทเรียนที่สำคัญในพุทธศาสนา

mp 3 (for download) : จิตตสิกขา เป็นบทเรียนที่สำคัญในพุทธศาสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตที่เดินปัญญาได้จริงต้องตั้งมั่น เป็นกลาง และมีกำลังกล้า

จิตที่เดินปัญญาได้จริงต้องตั้งมั่น เป็นกลาง และมีกำลังกล้า

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำยังไงจะมีสมาธิ ต้องมาเรียนเรื่องจิต ใครบอกไม่อยากเรียนเรื่องจิต นี่นอกครู นอกพระพุทธเจ้า ศีลสิกขา จิตตสิกขา เพราะไม่เรียนเรื่องจิตนั่นแหล่ะ ถึงเดินปัญญาแล้วไม่เกิดมรรคเกิดผล เพราะมันไม่มีปัญญาจริง เป็นสัญญาไปหมด นี่คิดๆเอา เป็นวิตก เป็นความจำ นึกเอาจำเอา ว่าล้างกิเลสไม่ได้

ปัญญาจะเกิดได้จิตต้องมีสมาธิที่ถูกต้อง จิตจะมีสมาธิที่ถูกต้องได้ ต้องมีการศึกษาเรื่องจิตให้ดี จิตที่มันฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ นี่มันไม่มีสมาธิ ฟุ้ง จับจรดในอารมณ์ต่างๆ ทำไงจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตที่ทรงสมาธิ ที่จะใช้เดินปัญญาจริงๆ ในพระไตรปิฎกก็พูดถึง เป็นจิตที่เบา จิตที่อ่อน จิตที่นุ่มนวล คล่องแคล่วว่องไว ควรแก่การงาน ท่านจะพูดอย่างนี้ พอมีจิตชนิดนี้แล้ว ถึงโน้มน้อมจิตชนิดนี้ไปเพื่อญาณทัศนะ ต้องมีจิตที่ดีก่อน ถึงจะโน้มน้อมไปเพื่อญาณทัศนะ ไม่งั้นก็โน้มไปหากิเลส ไปหาโมหะ ไม่ใช่เพื่อญาณทัศนะ

งั้นต้องเรียนเรื่องจิต ยังไงก็ต้องเรียน ถ้าไม่เรียนก็ช่วยไม่ได้ ถ้าเราเรียนเรื่องจิต เราจะรู้เลยว่าจิตชนิดไหนเป็นกุศล ชนิดไหนเป็นอกุศล อันนี้เบื้องต้นเลย ต้องรู้ จิตชนิดไหนเป็นกุศลที่ใช้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเป็นกุศลที่พร้อมกับการเจริญปัญญา พร้อมสำหรับการเจริญปัญญา ต้องรู้

งั้นอย่างในขณะนี้เรามีจิตที่ควรเจริญปัญญานะ ดันไปทำสมถะ อันนี้โง่แล้ว หรือในขณะนี้จิตไม่พร้อมที่จะเจริญปัญญานะ ควรจะทำสมถะได้แล้ว ก็ไม่ทำ จะเจริญปัญญารวดไปเลย ไอ้นี่ก็โง่อีกแล้ว งั้นต้องเรียนเรื่องจิตให้แตกฉานนะ ยังไงก็ละเว้นไม่ได้ เพราะมันเป็นบทเรียนสำคัญในทางพระพุทธศาสนา

หลวงพ่อสังเกตมาตั้งแต่เป็นโยมนะ ว่าทำไมบางคนภาวนาได้ บางคนภาวนาไม่ได้ จิตมันผิด ถ้าจิตมันผิดซะอย่างเดียว ทำอะไรมันก็ผิดไปหมดแหล่ะ ถ้าจิตมันถูกนะ จะทำกรรมฐานอะไร มันก็ถูกทั้งหมดแหล่ะ เหมือนกันหมดเลย

เพราะงั้นมันไม่ใช่ว่าสายไหนดีกว่าสายไหนนะ อยู่ที่ว่ามีจิตที่มีคุณภาพพอหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าพุทโธดีกว่า หรือลมหายใจดีกว่า หรือพองยุบดีกว่า ไม่ใช่ว่าพุทโธผิด หายใจผิด พองยุบผิด หรือขยับมือทำจังหวะผิด ไม่ใช่

ถ้าจิตผิด ทำกรรมฐานอะไรมันก็ผิดหมดเลย ถ้าวางจิตไว้ถูกต้อง จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตเบา จิตอ่อน จิตนุ่มนวล คล่องแคล่วว่องไว ควรแก่การงาน มีจิตชนิดนี้นะก็โน้มน้อมจิตชนิดนี้ไปเพื่อญาณทัศนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
Track: ๑๗
File: 540902.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 5 of 17« First...34567...10...Last »