Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ความเป็นกลางเกิดขึ้นได้หลายแบบ

mp 3 (for download) : ความเป็นกลางเกิดขึ้นได้หลายแบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์ ก็เกิดสุขเกิดทุกข์ เกิดกุศลอกุศลขึ้นได้

นี้พอมันมีสุขมีทุกข์ มีกุศลอกุศลแล้ว ถ้าจิตยินดีให้รู้ทัน ถ้าจิตยินร้ายให้รู้ทัน ความยินดียินร้ายจะดับไป เพราะอำนาจของสติ

ความยินดียินร้ายดับไปด้วยอำนาจของสมาธิก็ได้ เช่นเราเห็นผู้หญิงสวย ใจมันชอบ เราก็ไปพิจารณาให้เป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ พิจารณามรณสติ อันนี้ใช้สมาธิเอา ใช้สมถะ ความยินดีในรูปของผู้หญิงนั้นก็หายไป

เพราะงั้นตัวเป็นกลางเนี่ยเกิดขึ้นได้หลายแบบนะ เกิดเพราะสติรู้ทันความยินดี ยินร้ายก็ได้ เกิดเพราะอาศัยสมาธิพิจารณา อย่างเวลาโกรธเกิดขึ้น ก็เจริญเมตตาไป ทำสิ่งตรงข้าม มันโกรธมันไม่เป็นมิตร ก็มาเจริญเมตตา คือความเป็นมิตร คำว่าเมตตากับคำว่ามิตรนะคำเดียวกันแหล่ะ คำว่าไมตรี เมตตา มิตร คำว่าเมตไตร พระศรีอาริยเมตไตร พอเราเจริญเมตตาไปแล้วนะ โทสะก็หาย ใจก็ค่อยเป็นกลาง ไม่ฟุ้งไปด้วยอำนาจโทสะ ไปแก้กันเป็นคราวๆไป อันนี้เป็นกลางเพราะสมาธิก็ยังไม่ใช่วิธีการ ไม่ใช่เป้าหมายที่เราต้องการ

สิ่งที่เราต้องการนั้นคือเป็นกลางด้วยปัญญา เราก็ฝึกจนเป็นกลางด้วยปัญญา ตอนแรกเลยถ้ามีสติรู้ทันความยินดียินร้าย ความยินดียินร้ายดับไป ก็โอเคแล้ว ใช้ได้ รู้สภาวะต่อไป ถ้าไปรู้สภาวะแล้วมันยังไม่หาย ยังยินดียินร้ายไม่หาย ทำความสงบทำสมถะ มันก็หายเหมือนกัน มีเครื่องมือหลายตัว

แต่การที่เราคอยเห็นความยินดียินร้ายเกิดขึ้นเนืองๆ เห็นความสุขความทุกข์เกิดขึ้นเนืองๆ เห็นกุศลอกุศลเกิดขึ้นเนืองๆนี้ ถึงจุดหนึ่งจิตจะเริ่มฉลาด จิตจะเริ่มเห็นความจริง ว่าความสุขก็เป็นของชั่วคราว ความทุกข์ก็เป็นของชั่วคราว กุศลก็เป็นของชั่วคราว อกุศลก็เป็นของชั่วคราว ความยินดีก็เป็นของชั่วคราว ความยินร้ายก็เป็นของชั่วคราว

การที่จิตได้เห็นสภาวะทั้งหลาย เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับเนืองๆ เช่นความสุขเกิดแล้วดับ ความทุกข์เกิดแล้วดับ กุศลอกุศลเกิดแล้วดับ ความยินดียินร้ายเกิดแล้วดับ เห็นเนืองๆ ในที่สุดจิตจะสรุปได้ จิตจะเกิดปัญญาปิ๊งขึ้นมา จิตมันรู้ขึ้นมา ว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลอกุศลนะ ความยินดียินร้ายทั้งหลายนี้ เป็นแค่ของชั่วคราวทั้งหมดเลย พอจิตมันรู้ความจริงอย่างนี้ มันจะเกิดความเป็นกลาง พ้นจากความยินดียินร้ายด้วยปัญญา

ปัญญานั้นน่ะไปเห็น ความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ถ้าเราดูจิตดูใจ เราก็จะเห็นเลย ความสุขความทุกข์ กุศลอกุศล ความยินดีความยินร้ายทั้งหลายเนี่ย เป็นของชั่วคราว เกิดแล้วดับทั้งสิ้น แล้วบังคับไม่ได้สั่งไม่ได้ เช่นสั่งให้มีความสุข สั่งไม่ได้ ความสุขจงเกิด นี่ ความสุขไม่เกิดหรอก ความสุขที่เกิดแล้วจงอยู่นิรันดร มันไม่อยู่หรอก ความทุกข์อยากเกิด มันก็จะเกิด ความทุกข์ที่เกิดแล้วจงหายไปเร็วๆ ก็ไม่หายหรอก ไม่เป็นในอำนาจ ไม่อยู่ในอำนาจ เป็นอนัตตา

การที่เราเห็นสภาวะเนืองๆนะว่ามันไม่เที่ยงบ้าง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาบ้าง จิตมันจะค่อยๆยอมรับความจริง (ว่า)เอ้อ มันเป็นของมันอย่างนี้แหล่ะ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา พอจิตมีปัญญาอย่างนี้ จิตจะเป็นกลางเพราะปัญญา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
Track: ๒๒
File: 550204.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

mp 3 (for download) : ธรรมะที่ไม่เนิ่นช้า (๔) เจริญสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ชีวิตอย่าปล่อยให้ล่วงเปล่าๆ ต้องปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ ปฎิบัติอะไร ก่อนจะลงมือปฏิบัติ ฝึกสติเสียก่อน ถ้ามีสติก็จะมีศีล มีสติก็จะมีสมาธิ มีสติก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญญา มีสติ ต้องฝึกสติ ถ้าขาดสติซะตัวเดียวเนี่ย ศีลสมาธิปัญญาหายหมดเลย งั้นต้องมาให้มีสติ

นี้ท่านสอนมาเป็นลำดับเลยนะ ที่จะไม่เนิ่นช้า มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เจริญสติ วิธีเจริญสติ สติเป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกาย เป็นเครื่องระลึกรู้ ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ สติเกิดจากถิรสัญญา “ถิร” คนไทยใช้คำว่า เสถียร คือมันมั่นคง มันหนักแน่น แน่วแน่นะ คือรู้อย่างถิรสัญญาหมายถึงว่า มันรู้อยู่ถี่ๆ รู้อยู่บ่อยๆนะ รู้จนรู้อัตโนมัติ รู้จนจิตจำสภาวะได้แม่น เรียกว่ามีถิรสัญญา

สัญญาเป็นตัวความจำ ถิรสัญญาคือจำได้แม่นยำ จำได้แม่นยำในสภาวะของกาย จำได้แม่นยำในสภาวะของใจ พอสภาวะทางกายเกิดขึ้น สติจะเกิดขึ้น พอจำสภาวะทางจิตได้แม่น เช่นจำได้ว่าโลภเป็นยังไง โกรธเป็นไง หลงเป็นไง พอความโลภเกิดขึ้น สติจะเกิดเอง จะระลึกขึ้นได้แล้วว่า ความโลภเกิดแล้ว ถ้าจิตจำความโกรธได้แม่น พอความโกรธเกิด สติก็จะเกิดเอง อ้อ ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว

พวกเราหัดรู้สภาวะให้มาก ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้สึกไป ร่างกายหายใจออก รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า รู้สึก ร่างกายคู้ ร่างกายเหยียด รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก ความสุขความทุกข์ในกายหายไป ก็คอยรู้สึก มีความสุขความทุกข์ความเฉยๆเกิดขึ้นในใจ ก็รู้สึก ความสุขความทุกข์ความเฉยๆดับไปจากจิตใจของเรา ก็รู้สึก มีกุศลเกิดในใจ ก็คอยรู้สึกนะ มีอกุศลเกิด โลภโกรธหลงเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ก็คอยรู้สึก แล้วจิตวิ่งไปที่ตา คอยรู้สึก จิตวิ่งไปที่หู คอยรู้สึก จิตวิ่งไปคิด คอยรู้สึก จิตวิ่งไปเพ่ง คอยรู้สึก

เนี่ยเราคอยรู้สึกอยู่ในกาย คอยรู้สึกอยู่ในใจอย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอร่างกายขยับ อย่างเรากำลังเผลออยู่ ขยับตัวปั๊บ ไม่ได้เจตนาขยับ เพราะร่างกายเราขยับอยู่ทั้งวันอยู่แล้ว กำลังเผลอๆอยู่ เกิดขยับตัวกริ๊กเดียวเท่านั้นเอง สติมาแล้ว รู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว รู้เลยเห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวอยู่ จิตมันเป็นคนดูขึ้นมา ตรงที่เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู ได้สมาธิมาแล้ว การมีสติฝึกให้มาก จำสภาวะให้แม่น แล้วสติจะเกิดเอง สตินั้นเป็นอนัตตา เช่นเดียวกับสภาวะธรรมทั้งหลายทั้งปวง จิตก็เป็นอนัตตา สั่งให้มีสติไม่ได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด สติไม่มีเหตุ สติไม่เกิด

เพราะงั้นเราต้องทำเหตุของสติ คือการหัดรู้สภาวะเนืองๆ จะจำสภาวะได้แม่น เช่นความสุขเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความทุกข์เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความโลภความโกรธความหลง เกิดขึ้นในใจ คอยรู้ ความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย คอยรู้ ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหายใจ คอยรู้ คอยรู้สึกอยู่เรื่อยๆ แล้วสติจะเกิดเอง

ทันทีที่สติเกิดจิตจะเป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศล อย่างเรารู้ว่าความโกรธมา พอสติระลึกได้ปุ๊บนะ ความโกรธจะดับทันทีเลย ความโกรธหรือกิเลสทั้งหลายเนี่ย จะเกิดร่วมกับสติไม่ได้ กุศลกับอกุศลไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน เหมือนแสงสว่างกับความมืดนั้น ไม่เกิดด้วยกัน แสงสว่างดับไป ความมืดก็ปรากฎขึ้น แสงสว่างปรากฎขึ้น ความมืดก็ดับไป อันนี้ก็เหมือนกุศลอกุศลทั้งหลาย กิเลสเหมือนความมืดนะ สติเหมือนแสงสว่าง ทันทีที่แสงสว่างเกิด ความมืดก็ดับไป มันจะไม่เกิดร่วมกัน

งั้นพอเราฝึกสติบ่อยๆเนี่ย กิเลสเกิดอะไรขึ้นที่จิต สติจะรู้ทันอัตโนมัติเลย โกรธแล้วนะ รู้ทันเลย โกรธ ความโกรธจะดับ เมื่อความโกรธดับ ศีลจะเกิดขึ้น เราจะไม่ทำผิดศีลเพราะความโกรธ ผิดศีลเพราะความโกรธทำอะไรได้บ้าง ไปฆ่าเค้าไปตีเค้าใช่มั้ย ไปทำลายทรัพย์สินเค้า ไปแกล้งขโมยของเค้า ไปลักขโมยเค้าเนี่ยไม่ใช่เกิดจากโลภอย่างเดียวนะ เกิดจากโกรธก็ได้ ทำลายทรัพย์สินเค้า ขโมยเค้า ไปเป็นชู้กับเค้าเพราะความโกรธก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเพราะราคะ เกลียดไอ้คนนี้มาก ไปหลอกจีบลูกสาวมันจีบเมียมันอะไรงี้ เนี่ยทำผิดศีลได้ โกรธขึ้นมาก็ไปด่าเค้า หรืิอไม่ก็ไปพูดเพราะๆ หลอกให้เค้าเหลิง เสียผู้เสียคนไปเลยอย่างนั้นก็ได้ พูจเท็จด้วยความโกรธก็ได้ โกรธขึ้นมาไปกินเหล้าได้มั้ย กินเหล้าเนี่ยเป็นตัวรองแล้วนะ ตัวนี้เป็นตัวกระตุ้นให้ขาดสติมากขึ้น

เพราะงั้นถ้าโกรธจริงๆ มันจะไปผิดศีล ๔ ข้อแรกนะ โลภขึ้นมาก็ผิดศีล ๔ ข้อได้ หรือโลภขึ้นมาไปกินเหล้าได้ ก็ผิดศีล ๕ ได้ หลงขึ้นมาก็ผิดศีลได้ทุกข้ออีกแหล่ะ เพราะงั้นถ้าเมื่อไหร่ กิเลสเกิดที่จิต เรารู้ไม่ทัน กิเลสครอบงำจิตได้ โอกาสทำผิดศีลเนี่ยจะมี ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทัน กิเลสดับไป โอกาสทำผิดศีลนั้นไม่มี เพราะงั้นถ้ามีสติ จะมีศีล


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๔
File: 550422.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับทำสมาธิให้สงบง่าย

mp3 for download: เคล็ดลับทำสมาธิให้สงบง่าย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธินี่ เคล็ดลับมันมี วิธีที่จะสงบง่าย (คือ)อย่าอยากสงบ ทำอย่างสบายใจ ทำแบบพักผ่อน แต่ไม่ใช่ทำใจอ่อนๆนะ อย่างใจอ่อนๆอย่างนี้เดี๋ยวก็หลับ ทำไปด้วยความรู้สึกตัว หายใจไปด้วยความมีความสุข หายใจไปอย่างมีความสุขเรื่อยๆ ทำใจให้มีความสุขไว้ แล้วหายใจไป ไม่นานก็สงบ แต่ถ้าทำหวังผลนะ ไม่สงบ ใจจะฟุ้งไปบังคับมัน ไปกดขี่จิตใจจะให้สงบ ไม่สงบหรอก สมาธิจำเป็นนะ ถ้าสมาธิไม่พอ ใจไม่ตั้งมั่น ใจไม่เข้าฐาน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๘
File: 531225B
ระหว่างนาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๔๙วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เนื้อแท้ของพุทธศาสนา คือ สัมมาทิฏฐิ

mp 3 (for download) : เนื้อแท้ของพุทธศาสนา คือ สัมมาทิฏฐิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาเรียนเรื่องรูปธรรมนามธรรมของตัวเอง เรียนจนมันเห็นความจริง มันไม่มีตัวเรา จริงๆมันไม่มีตัวเรามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่อาศัยจิตวิปลาส จิตวิปลาสคือคิดผิด สัญญาวิปลาสคือหมายผิด ทิฎฐิวิปลาสคือ(ความ)เห็นผิด ค่อยๆสะสมสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เกิดความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนขึ้นมา มันมาจากคิดผิดก่อน หมายรู้ผิดๆ คิดผิด ก็เลยรู้สึกสำนึกผิดๆ เห็นผิด มันสะสมความเห็นผิดมาตลอดในสังสารวัฏฏ์นี้ เพราะฉะนั้นความเห็นผิดนี้แหละ เป็นกิเลสที่ร้ายที่สุดเลย ความเห็นผิดนี้ชื่อว่า “อวิชา”

ค่อยๆฝึก มีศีลขึ้นมานะ สู้กิเลสหยาบๆได้ ที่ทำให้พฤติกรรมทางกายทางวาจาไม่เรียบร้อย มีสมาธิขึ้นมานะ สู้กิเลสอย่างกลาง คือพวกนิวรณ์ทั้งหลายที่ทำให้จิตไม่เรียบร้อย มีปัญญาสู้กับความโง่ ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด เป็นกิเลสที่ละเอียดที่สุด เพราะฉะนั้นที่เราฝึก สิ่งที่ได้คือหายโง่

ไม่ใช่ว่าฝึกแล้วได้อะไรมา ไม่ได้ฝึกแล้วเสียอะไรไป ไม่ใช่ว่าฝึกไปสำเร็จนะ แล้วเสียขันธ์ ๕ ไป เราไม่ได้เสียขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเรามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ไม่ได้ฝึกแล้วได้มรรคผลนิพพานมา ได้ครอบครองพระนิพพาน เป็นเจ้าของพระนิพพาน ฝึกแล้วไม่ได้อะไรมาไม่เสียอะไรไป ได้ความรู้ความเข้าใจ เสียความโง่ไป

เพราะฉะนั้นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาจริงๆคือตัวสัมมาทิฎฐิเท่านั้นเอง ความเห็นถูก ถ้ามีความเห็นถูกนะ ก็คิดถูก หมายถูก มันไม่ยากอะไรหรอกนะ ทุกวันนี้จมอยู่ในความทุกข์ก็เพราะคิดผิด หมายผิด เห็นผิด มาเรียนรู้ความจริงของธาตุของขันธ์ให้มาก ถ้าไม่มีการเรียนรู้ความจริงของธาตุของขันธ์ ของอายตนะ ของกายของใจ ของรูปของนาม อะไรพวกนี้นะ ยังไม่ได้ชื่อว่าเจริญปัญญาเลย

ถ้าไม่ได้เจริญปัญญาจะล้างความเห็นผิดไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวล้างความเห็นผิด ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย สมาธิทำให้จิตใจเรียบร้อย ปัญญาทำลายความเห็นผิด ทำให้เกิดความเห็นถูก

เพราะฉะนั้นถ้าใครเขาถามเรานะ อะไรเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานะ ตอบไปอย่างองอาจกล้าหาญเลยนะ สัมมาทิฎฐิ สัมมาทิฎฐินั้นแหละคือพระพุทธศาสนา เนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
Track: ๒๐
File: 550127.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความปรุงแต่งมี ๓ อย่าง

mp 3 (for download) : ความปรุงแต่งมี ๓ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ความปรุงแต่งมี ๓ อันเคยเรียนมั้ย อวิชชาปัจจยาสังขารา สังขารคือความปรุงแต่งมี ๓ อย่าง ปรุงแต่งฝ่ายชั่วปรุงแต่งอกุศลนะ ปรุงแต่งฝ่ายดีเช่นปรุงแต่งการปฏิบัติธรรมขึ้นมา ทำโน้นทำนี้ขึ้นมา เพื่อให้จิตมันดีให้จิตมันสุขมันสงบ เนี่ยปรุงแต่งฝ่ายดี รากเหง้าของมันก็คืออวิชชานั่นแหล่ะ

ถามว่าปรุงแต่งฝ่ายดีแล้วได้อะไร ได้เป็นคนดีได้เป็นเทวดาได้เป็นพรหม ได้มรรคผลมั้ย ไม่ได้ เพราะอวิชชาไม่กระเทือนเลย อวิชชาสอนให้เราปรุงแต่ง อวิชชาคือความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ไม่ใช่ตัวเรา เราคิดว่าเป็นตัวเราเป็นตัวสุขเป็นตัวดี งั้นเราก็เลยปรุงแต่งต่างๆขึ้นมาเพื่อหาความสุขมาให้ตัวเอง

คนชั่วก็ไปเที่ยวหาแสวงหาอารมณ์ต่างๆ วิ่งแย่งอันโน้นแย่งอันนี้ อยากโน้นอยากนี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าได้อารมณ์ที่ดีมาละก็จะมีความสุข อย่างหมากัดกันแย่งตัวเมีย คิดว่าได้ตัวเมียมามีความสุขอะไรนี้ หรือคนแย่งกัน ตีกันแย่งผลประโยชน์กันกะว่าได้มาแล้วมีความสุข นี่ปรุงแต่งอย่างโลกๆเลย

พวกเข้าวัดพวกนี้จะปรุงแต่งการปฏิบัติ คือเห็นว่าลำพังการเที่ยวหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจเนี่ยยังไม่ให้ความสุขที่แท้จริง ถ้าเราบังคับกายบังคับใจควบคุมมันไว้ได้แล้วเราจะมีความสุข เพราะงั้นพวกเราจะเริ่มมาปฏิบัติธรรมด้วยการเริ่มบังคับตัวเอง จิตไม่สงบบังคับให้สงบ จิตไม่ดีจะทำให้มันดีให้ได้ นี่ปรุงแต่งฝ่ายดีจะได้เป็นคนดี ไม่นิพพานหรอก

อีกพวกนึงฉลาดไปอีกเห็นว่าตราบใดที่ยังต้องรู้อารมณ์อยู่นะจิตยังกระเทือนอยู่ ถ้ายังกระทบแล้วต้องกระเทือน พวกนี้ฝึกเข้าอรูปเรียกอาเนญชาภิสังขาร ฝึกหลีกเลี่ยงการกระทบอารมณ์

เพราะนั้นเนี่ยวิธีหาความสุขมันเลยมี ๓ แบบ อันนึงกระโจนเข้าไปคลุกกับโลกเลย อันที่สองรักษาจิตใจของเราไว้ อันที่สามหลีกเลี่ยงการกระทบไม่รับรู้อะไรซักอย่างเลย เนี่ยเป็นวิธีหาความสุขของคนในโลก รากเหง้าของมันคืออวิชชา คิดว่าตัวเรามีจริงๆจะหาความสุขมาให้ตัวเรา

ถ้าเราเจริญสติเจริญปัญญารู้ลงที่กายรู้ลงที่ใจ กายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราเนี่ย ล้างความเห็นผิดไป ล้างอวิชชาไป มันก็หมดความปรุงแต่ง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๔๘ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๙
Track: ๘
File: 480709B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๘ ถึง ชั่วโมงที่ ๑ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาเอาแต่เจริญปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ ศีลสมาธิต้องถึงพร้อมด้วย

mp3 (for download) : ภาวนาเอาแต่เจริญปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ ศีลสมาธิต้องถึงพร้อมด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระพุทธเจ้าให้แนวทางพวกเราไว้แล้ว การปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ครบ จะเอาแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ เอาศีลอย่างเดียวไม่ได้ เอาสมาธิอย่างเดียวไม่ได้ เอาสองอย่างก็ไม่ได้ เอาศีลกับสมาธิแล้วหวังว่าจะบรรลุมรรคผลก็ไม่ได้ จะเอาสมาธิกับปัญญา ๒ อย่างแล้วจะบรรลุมรรคผลก็ไม่ได้ ต้องถึงพร้อม พระพุทธเจ้าถึงสอนว่าต้องให้ถึงพร้อม ทำกุศลให้ถึงพร้อม

พวกเราจำโอวาทปาฏิโมกข์ได้มั้ย ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ผ่องแผ้ว ฟังแล้วมีงาน ๓ อย่าง แต่ทั้ง ๓ อย่างนะมันงานเดียวกัน อะไรที่เป็นตัวบาปตัวอกุศล ราคะโทสะโมหะ ให้ขจัดพวกนี้ไปให้หมด ทำกุศลให้ถึงพร้อม อะไรเป็นตัวกุศล อโลภะอโทสะอโมหะเป็นตัวกุศล ตัวอกุศลก็โลภะโทสะโมหะ ตัวกุศล อโลภะอโทสะอโมหะ คำว่ากุศล

เพราะงั้นถ้าเมื่อไหร่ละชั่วนะ มันก็ดีของมันเองแหล่ะ อัตโนมัติเลย มันเป็นงานเดียวกันนั่นแหล่ะ แล้วถ้าเราสามารถเข้าถึงอโลภะอโทสะอโมหะได้ จิตก็ผ่องแผ้วแล้ว เพราะนั้นที่ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำจิตให้ผ่องแผ้ว เอาเข้าจริงก็งานเดียวกัน งานล้างกิเลสออกจากใจเรา กิเลสออกจากใจเรามันก็ดีแล้ว ดีแล้วมันก็ผ่องแผ้วขึ้นมา นี่เครื่องมือในการล้างกิเลสนะ คือศีลสมาธิปัญญา ไม่ใช่อันใดอันหนึ่งหรอก

เหมือนอย่างเป็นหมอนะ ไม่ใช่มีแต่เข็มฉีดยาอันเดียวแล้วรักษาได้ทุกโรค ทำไม่ได้ มีมีดผ่าตัดอยู่เล่มเดียวรักษาทุกโรคก็ทำไม่ได้ ต้องมีเครื่องมือนานาชนิดรักษาโรค เป็นหมอมีเครื่องมือหลายอย่าง คนไข้อาการแบบนี้ก็ใช้เครื่องมืออย่างนี้ อาการหนักมากแล้วรถชนมากะรุ่งกะริ่ง ตัด เอาเลื่อยตัดเอาอะไรตัด

กิเลสเนี่ยเหมือนกันนะ กิเลสอย่างหยาบสู้ด้วยศีล กิเลสอย่างกลางใช้สมาธิเอา กิเลสอย่างละเอียดต้องใช้ปัญญาสู้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 550122
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เรื่องของศีลข้อหนึ่ง

 เรื่องของศีลข้อหนึ่ง

ถาม : การฆ่าสัตว์ เช่น ตบยุง บี้มด ซึ่งดูเหมือนมันจะเป็นการฆ่าแบบอัตโนมัติ จะแก้ไขอย่างไร

ตอบ : เวลาที่เผลอทำผิดศีลไปแล้ว จะข้อไหนก็ตาม
ก็ให้ตั้งใจกับตัวเองว่า ต่อไปจะพยายามรักษาศีลให้ได้ดีขึ้น
ทำแบบนี้ทุกครั้งที่เผลอทำผิดไป แล้วไม่นานหรอกครับ
พอเราจะทำผิดศีล จิตจะนึกได้อัตโนมัติว่าจะทำผิดศีล แล้วเราจะยับยั้งการทำผิดได้ครับ

ถาม : ดิฉันเป็นแม่พิมพ์ บ่อยครั้งจะลงโทษเด็กดื้อด้วยการตี ดุด่า ควรลงโทษอย่างไรศีลจะได้ไม่ด่างพร้อยคะ

ตอบ : ต้องวางใจลงโทษไปตามหน้าที่ อย่าเติมแต่งโทสะลงไปครับ

ถาม : ข้อนี้เด็กๆถามดิฉันมาค่ะ เขาถามว่าปู่ของเขามีอาชีพเชือดไก่ขาย บาปไหมคะ แล้วคนที่ฆ่าสัตว์เป็นอาหารกับคนกินเนื้อสัตว์ใครจะบาปกว่ากัน

ตอบ : ถ้าเทียบกันคนฆ่าครับที่ทำบาป
ส่วนคนกินถ้าเราไม่ได้เจาะจงให้เขาฆ่าเพื่อเราก็ไม่ต้องกังวบเรื่องบาปเลย
อีกทั้งพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ห้ามทานเนื้อสัตว์ (แม้เทวทัตจะเคยทูลขอก็ตาม)
แต่ท่านจะห้ามทานเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มีส่วนรู้เห็นในการฆ่า หรือที่เขาเจาะจงฆ่ามาให้ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิมี ๒ ชนิด ความตั้งมั่นมี ๓ ระดับ

mp 3 (for download) : สมาธิมี ๒ ชนิด ความตั้งมั่นมี ๓ ระดับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จุดที่แตกหักจุดแรกเลย ว่าชาตินี้จะมีโอกาสได้มรรคผลนิพพานหรือไม่ ถ้าจิตมีแต่ความสงบนะ ไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่สามารถเจริญปัญญาได้จริง มรรคผลนิพพานนะเป็นเรื่องฝันเอาเลย ไม่มีทาง อันนี้ครูบาอาจารย์แต่ก่อนก็สอนไว้ แต่คนลืมไป

หลวงปู่เทศก์ท่านสอนสมาธิ ๒ ชนิด หลวงปู่เทศก์สมัยที่ท่านภาวนา ท่านเคยติดสมาธิอยู่สิบกว่าปี สิบสองสิบสามปี ใครก็แก้ให้ท่านไม่ได้ ขนาดท่านอาจารย์สิงห์ก็แก้ให้ท่านไม่ได้ ต้องไปหาหลวงปู่มั่น ตามไปทางเหนือ หลวงปู่มั่นแก้ให้ได้ การที่ท่านติดสมาธิอยู่นาน ทำให้ท่านแตกฉานเรื่องสมาธิมากเลย ท่านสามารถแยกสมาธิออกเป็น ๒ ส่วนได้ สมมติบัญญัติของท่าน ท่านเรียกว่าฌานอันนึง เรียกว่าสมาธิอันนึง

ฌานเนี่ยเป็นการเพ่งอารมณ์ ให้จิตนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว นิ่งๆ สมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิต ให้้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา ถ้าตั้งมั่นก็มี ๓ ระดับ ระดับตั้งมั่นชั่วขณะเป็น”ขณิกสมาธิ” ตั้งมั่นยาวหน่อยเป็น”อุปจารสมาธิ” ตั้งมั่นลึกเลยก็ยังตั้งมั่นอยู่ในฌานเป็น”อัปปนาสมาธิ” ท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิตัวสมาธิที่ถูกต้องเนี่ย ท่านแยกเป็น “ขณิกสมาธิ” “อุปจารสมาธิ” “อัปปนาสมาธิ” ส่วนการเพ่งให้จิตหลบในนิ่งๆอยู่ท่านแยก ๓ ส่วน มีอย่างละ ๓ เหมือนกัน

ไม่มีใครสอนนะเรื่องเหล่านี้ แต่ท่านไปยืมศัพท์ของทางอภิธรรมมาใช้ ว่าการเพ่งแบบนึงเนี่ย ท่านเรียกภวังคุบาท จิตรวมลงไปวูบเดียวแล้วก็ถอนขึ้นมาเลย วูบนึงหมดสติไปงั้น วูบลงไปแล้วถอนขึ้นมา อันนึงท่านเรียกภวังคจารณะ มันไหลลงไปแล้วมันไปเคลื่อนๆอยู่ข้างใน สติอ่อนจิตอ่อน มันเคลื่อนอยู่ข้างในจิตไม่ตั้งมั่น ท่านเรียกภวังคจารณะ อีกอันนึงท่านเรียกภวังคุบาท ดับไปเลย อันนี้ท่านไปยืมศัพท์ทางอภิธรรมมาใช้นะ คือเจ้าของศัพท์เค้าจะยอมรับไม่ได้เพราะว่าเค้าแปลไม่ตรงกับท่าน แต่ว่ามันเห็นเลยว่า ความแตกฉานของท่านมีมากในเรื่องสมาธิเนี่ย เก่งจริงๆ

แล้วท่านก็พบว่าจิตก็มี ๒ แบบ จิตอันนึงเป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง จิตอันนึงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ท่านก็มีศัพท์เฉพาะ ยืมศัพท์มาใช้อีกแล้ว จิตที่เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ท่านเรียกว่า”จิต” อันนี้เอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้ จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ท่านเรียกว่า”ใจ” ท่านบอกว่าจิตอันใดใจอันนั้น ก็เป็นตัวรู้เหมือนกัน แต่ตัวรู้นึงมันเข้าไปคลุกอารมณ์ ไปหลงอารมณ์ ตัวรู้อันนึงที่เป็นใจ ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทรงสมาธิอยู่

นี่ท่านสอนมาก่อนหลวงพ่อนะ แต่ว่าภาษาท่านคนรุ่นโน้นก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอก เพราะท่านพูดเรื่องนี้ขึ้นมาในท่ามกลางวงกรรมฐาน ซึ่งมีแต่เรื่องพุทโธพิจารณากาย คนก็นึกว่าท่านภาวนาไม่เป็นซะด้วยซ้ำไป ที่จริงท่านก็ภาวนาเก่ง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
Track: ๑๗
File: 550317.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : เรื่องของสมาธิและสมถะ

เรื่องของสมาธิและสมถะ

ต้องเข้าใจคำว่าสมาธิก่อนนะครับว่า
สมาธิที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญาคือ จิตตั้งมั่น ไม่ใช่จิตสงบนิ่งเฉย
และที่ว่าให้จิตมีกำลังนั้น หมายถึงมีกำลังตั้งมั่น
ซึ่งจิตที่มีกำลังตั้งมั่นสามรถเกิดได้จากการเจริญสติ (สำหรับผู้ที่ทำสมถะไม่ถึงขั้นฌาน)
หรือเกิดจากการทำสมถะจนถึงฌานที่ 2
ดังนั้นถ้าทำสมถะไม่ได้ถึงฌาน ก็ให้ใช้การทำตามรูปแบบที่เป็นการเจริญสติก็ได้ครับ
เช่น นั่งรู้ลมหายใจแล้วคอยรู้ทันจิตไป นั่งแล้วจิตหลงไปคิดก็รู้
หรือถ้าจะเดินจงกรม ก็เดินรู้สึกกายเคลื่อนไหว
แล้วคอยรู้ทันจิตไป เดินแล้วจิตหลงไปคิดก็รู้
เท่านี้ก็เพียงพอที่จิตจะมีกำลังตั้งมั่นได้แล้วครับ

 

สมถะ ใช้ทำได้ทั้งทำความสงบให้จิตได้พัก และถ้าทำจนถึงฌานที่2 ก็จะเกิดจิตตั้งมั่นด้วยครับ
ส่วนการทำรูปแบบแล้วคอยรู้ทันจิต จะทำให้เกิดจิตตั้งมั่นได้
แต่จะไม่เด่นและทรงอยู่ได้ไม่นานเหมือนทำสมถะจนเกิดจิตตั้งมั่น
และการทำรูปแบบก็สามารถใช้พักจิตได้บ้างตามสมควร
แต่จะไม่ได้กำลังมากเหมือนการทำสมถะครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รักษาศีลให้ดี ให้รักษาที่จิต

mp3 (for download) : รักษาศีลให้ดี ให้รักษาที่จิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์​ : วิธีที่จะทำใจของเราให้เป็นพระนะ พัฒนาศีลสมาธิปัญญาขึ้นมาให้ได้ การจะรักษาศีลได้ดีต้องรักษาที่จิต รักษาที่ปากที่มือที่เท้ารักษายาก ที่มือที่เท้ายังง่ายนะ รักษาที่ปากนี่ยากที่สุดเลย เราผิดศีลง่ายที่สุดเลยเรื่องข้อ ๔ โดยเฉพาะพูดเพ้อเจ้อ มันไม่ถึงกับศีลขาดทีเดียวนะ แต่มันด่างพร้อย ศีลไม่งามไม่หมดจด พูดเพ้อเจ้อคือพูดโดยไม่จำเป็นต้องพูด ในความเป็นจริงทุกคราวที่เราพูดนะเราใช้พลังงานนะ ใช้พลังของจิต งั้นถ้าใครจะฝึกจิตให้เข้มแข็งนะก็พูดน้อยๆ ฝึกจิตให้มีพลัง

นี้การที่เราจะรักษาศีลได้ดีเราต้องรักษาที่จิต คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต มีเท่านี้เอง ถ้ากิเลสไม่ครอบงำจิตเนี่ยไม่ทำผิดศีล ราคะโทสะโมหะครอบงำขึ้นมาก็ผิดศีล ๕ ได้ เรามีสติ เวลากิเลสอะไรเกิดที่จิตเรารู้ทัน กิเลสเกิดขึ้นที่จิตเรารู้ทันบ่อยๆ กิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ เป็นกฎของธรรมะเลย เมื่อไรมีสติเมื่อนั้นไม่มีกิเลส เมื่อไรมีกิเลสเมื่อนั้นไม่มีสติ นี่เป็นกฎของธรรมะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรม ณ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕

CD: พระธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550331
ระหว่างนาทีที่  ๔ วินาทีที่ ๔๗ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติสำคัญมาก ขาดสติก็ขาดศีล ขาดสมาธิ ขาดปัญญา

mp3 (for download) : สติสำคัญมาก ขาดสติก็ขาดศีล ขาดสมาธิ ขาดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ทั้งหมดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา รากเหง้าตัวสำคัญเลยที่ขาดไม่ได้เลยก็คือสติ เมื่อไหร่ขาดสติเมื่อนั้นขาดศีล เมื่อไหร่ขาดสติก็ขาดสมาธิ ขาดสติก็ขาดปัญญา งั้นเราต้องมาพัฒนาสติให้ดี

หลังๆคนลืมเรื่องสติไปพูดแต่เรื่องสมาธิ คิดว่าต้องทำสมาธิมากๆ ทำสมาธิแล้วขาดสติเป็นมิจฉาสมาธิ รักษาศีลไม่มีสติศีลก็กะพร่องกะแพร่งรักษาไม่ได้จริง ไปรักษาศีลด้วยกายด้วยวาจาไม่ได้รักษาที่ใจ สติเป็นเครื่องมือรักษา หน้าที่ของสติคืออารักขา ในตำราบอกไว้ชัดเลย สติมีหน้าที่อารักขาคุ้มครอง คุ้มครองจิตนั่นเองไม่ให้ตกไปสู่ที่ชั่ว คุ้มครองรักษาให้มันพัฒนาไปสู่คุณงามความดี งั้นตัวสำคัญมากนะที่จะเป็นแกนกลางของการปฏิบัติคือความมีสตินั่นเอง

เราต้องมีสติฝึกให้มาก สติเป็นเครื่องระลึกรู้กายระลึกรู้ใจ ระลึกรู้ธาตุ ระลึกรู้ขันธ์ ระลึกรู้อายตนะ ระลึกรู้ธาตุอย่างเมื่อวานหลวงพ่อสอนเรื่องธาตุ รู้อินทรีย์ รู้ปฏิจจสมุปบาท รู้อริยสัจ ฟังว่ารู้เยอะแยะแต่ย่อลงมาแล้วก็คือรู้รูปกับนาม สติเป็นเครื่องมือรู้ทันรูปนามที่มีอยู่ที่ปรากฎอยู่ งั้นเรามาฝึกสติอยู่เฉยๆสติไม่เกิดหรอก สติเกิดจากจิตจำสภาวะได้แม่น มาหัดดูสภาวะบ่อยๆแล้วสติจะเกิด ไม่ใช่นั่งสมาธิมากๆแล้วสติเกิดนะ คนละเรื่องกันเลย สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ การที่จิตจำสภาวะได้แม่นเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ เหตุกับผลต้องตรงกัน

เบื้องต้นก่อนที่เราจะไปพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา เราต้องพัฒนาสติก่อน ขาดสติก็ขาดศีล ขาดสติก็ขาดสมาธิ ขาดสติก็ขาดปัญญา สติจะเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก จิตทุกดวงที่เป็นกุศลต้องประกอบด้วยสติเสมอเลย จิตที่ปราศจากสติไม่เป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลไม่ว่าจะเป็นกุศลอยู่ในโลกธรรมดาอย่างของเรานี่ หรือกุศลในรูปภพอรูปภพก็ตาม ต้องมีสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File: 550122
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๓๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฝึกใจให้เป็นพระ ไม่ใช่แค่ใจเทพ ใจพรหม

mp3 (for download) : ฝึกใจให้เป็นพระ ไม่ใช่แค่ใจเทพ ใจพรหม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ฝึกใจให้เป็นพระ ไม่ใช่แค่ใจเทพ ใจพรหม

ฝึกใจให้เป็นพระ ไม่ใช่แค่ใจเทพ ใจพรหม

หลวงพ่อปราโมทย์​ :ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของดีของวิเศษจริงๆ เรียนแล้วเข้าไปเปลี่ยนใจได้ สมัยพุทธกาลเนี่ย พวกเดียรถีย์เวลาใครจะมาเจอพระพุทธเจ้านะ เขาจะบอกกันว่า อย่ามาดีกว่า เพราะสมณโคดมนี้มีมนต์เปลี่ยนใจ คิดว่าท่านมีคาถาเปลี่ยนใจ จริงๆแล้วธรรมะของท่านนั่นแหละ เปลี่ยนใจคนได้

ทีนี้เราก็มาเรียนธรรมะของท่านนะ เพื่อจะมาเปลี่ยนใจของเรา จากใจของสัตว์นรก ใจของอสุรกาย ใจของเดรัจฉาน ใจของเปรต มาเป็นใจคน ใจที่สูงขึ้นๆ ไม่ใช่เป็นแค่ใจเทพ ใจพรหม ขึ้นไปเป็นใจพระ ขึ้นสู่โลกุตตรภูมิเป็นลำดับไป

ลำพังฝึกจิตให้เป็นพรหมนะ อยู่ได้ช่วงหนึ่งก็ต้องเสื่อม พรหมก็ตกสวรรค์เหมือนกัน เสื่อมได้เหมือนกัน ยังเอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ ยังเป็นความแปรปรวนอยู่ ต้องฝึกใหัจนเป็นใจพระนะ จิตใจของเราจะเป็นพระขึ้นมาได้เนี่ย ไม่ใช่ว่าต้องไปทำอะไรแปลกๆหรอก เป็นพระนั้นสะอาด บริสุทธิ์ ขึ้นมา สิ่งที่ทำให้เราเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ก็คือ ตัวปัญญา

ปัญญาเกิดลอยๆไม่ได้ ต้องมีศีล มีสมาธิ เป็นฐาน รวมแล้วเป็นมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา สามอัน เป็นเครื่องหนุนกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรม ณ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
อ. ศรีราชา จ.ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕

CD: พระธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๔
File: 550331
ระหว่างนาทีที่  ๒ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อยตามธรรมชาติของแต่ละคน

mp 3 (for download) : ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อยตามธรรมชาติของแต่ละคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คอยรู้ทันกิเลสไปเรื่อยๆ ทีแรกก็จะได้ศีลได้สมาธินะ แล้วค่อยได้ปัญญา ต่อไปค่อยๆฝึกนะ ปัญญาเป็นตัวความเข้าใจ ถ้าเรามีศีลนะ กายวาจาของเราจะเรียบร้อย ยกเว้นแต่จะมีวาสนาในทางกระโดกกระเดก ถ้ามีวาสนาทางกระโดกกระเดกนะ ถึงมีศีล กายวาจามันก็กระโดกกระเดก เป็นธรรมชาติอย่างนั้นนะ

อย่างพระอรหันต์บางองค์ไม่เรียบร้อยหรอก ไม่ได้เรียบร้อยเป็นผ้าพับไว้ องค์หนึ่งที่เป็นตัวอย่างก็คือพระสารีบุตร พระอรหันต์เบอร์หนึ่งเลย นัมเบอร์วัน นัมเบอร์วันเองเป็นคนวึบวับๆ คล่องแคล่วว่องไวมากเลย ยกตัวอย่างเดินไปเจอท้องร่อง กระโดด ไม่ไปยืนพิจารณา “ท้องร่องหนอ” “ท้องร่องหนอ” สามทีแล้วก็ “อยากข้ามหนอ” “อยากข้ามหนอ” แล้วโอ้ย.. ไปฉันเพลไม่ทันหรอก อย่างนั้นน่ะ นิมนต์ไปฉัน ฉันไม่ทันหรอกนะ เจอท้องร่อง ท่านกระโดดข้ามเลยนะ

หรือวันหนึ่งท่านจะไปลาพระพุทธเจ้า จะออกไป จาริกไปต่างเมือง เป็นธรรมเนียมเวลาพระโมคคลา-สารีบุตร จะออกเดินทางไกล พระพุทธเจ้าท่านจะให้พระไปส่ง ไปลา เผื่อท่านจะให้ธรรมะเด็ดๆ ท่านมักจะแจกการบ้านก่อนที่ท่านจะไป อะไรอย่างนี้

พระสารีบุตรนะ เห็นว่ามีพระมาหลายองค์ เยอะแยะนะ ท่านก็ทักองค์นั้นองค์นี้นะ พาดสังฆาฏิไว้นะ หมุนตัวไป หมุนตัวมา ชายสังฆาฏิของท่านไปกระทบเอาพระองค์หนึ่งเข้า พระองค์นั้นเป็นพระเซลฟ์จัด ท่านคิดว่าพระสารีบุตรต้องคุยกับท่านบ้าง ปรากฎว่าพระสารีบุตรไม่ได้คุยด้วย เพราะพระที่ท่านต้องคุยด้วยนี้เยอะ แต่องค์นี้ท่านก็ถือว่าท่านมีชื่อเสียง แต่ว่าจริงๆมีกิเลส ชายสังฆาฎิไปถูกท่านนะ ท่านรีบกลับมาฟ้องพระพุทธเจ้าเลย “พระสารีบุตรประหารข้าพระองค์” ประหารเนี่ย ภาษาแขกแปลว่า “ตี” ถือตัวว่าเป็นอัครสาวก ข้าพระองค์ไปส่งดีๆกลับมาตีข้าพระองค์ ประหารข้าพระองค์

พระพุทธเจ้ารู้ว่าไม่จริงหรอก แต่ว่าสอบสวนให้เสียหน่อย จะได้ให้สังคมรู้นะ ไม่งั้นจะเที่ยวพูดไปเรื่อยว่าพระสารีบุตรตีเอา เรียกพระสารีบุตรกลับมาสอบสวนนะ พระสารีบุตรท่านบอกเลย จิตท่านมันเหมือนแผ่นดินนะ จิตเหมือนน้ำ เหมือนลม เหมือนไฟ นะ เป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ได้มีราคะ ไม่ได้มีโทสะ ไม่มีเจตนาจะทำร้ายอะไร ตัวท่านก็ไม่ได้ถือว่าท่านเป็น เอตทัคคะ เป็นอัครสาวก อะไรอย่างนี้ ไม่ได้ถือตัวอย่างนั้น มีความรู้สึกนะ ไปไหนมาไหนมีความรู้สึกอ่อนน้อม อ่อนโยน เหมือนตนเองเป็นจัณฑาลคนหนึ่งเท่านั้นเอง ไปไหนก็อ่อนน้อมไปเรื่อยๆ ไม่เคยคิดจะทำร้ายใครเลย

นี่ขนาดว่าท่านเป็นคนอ่อนน้อมนะ เป็นคนกตัญญูนะ แต่ท่านกระโดกกระเดกน่ะ อันนี้น่ะห้ามไม่ได้หรอก แต่ถ้าเรามีศีลนะ กิเลสชั่วหยาบไม่กระทบ กายวาจาเรียบร้อย แต่เรียบร้อยตามสไตล์ของแต่ละคน เราเรียบร้อยได้แค่นี้แหละ มันก็ได้แค่นี้แหละ

เพราะฉะนั้น ยกตัวอย่างเรามีสติรู้ทันนะ กิเลสหยาบครอบงำจิตไม่ได้ ราคะ โทสะ ไม่เกิดนะ แต่วาสนามันเป็นมาอย่างไร มันก็เป็นไปอย่างนั้นล่ะ แก้ไม่ได้หรอก และถ้าเรามีกิเลสแล้วมีสติเร็วขึ้นนะ เรารู้ทันกิเลสระดับกลางได้ สมาธิจะเกิด ใจจะเรียบร้อย ถ้าศีลเกิดเนี่ย กายวาจาเรียบร้อย แต่เรียบร้อยตามสไตล์ของแต่ละคน ถ้าสมาธิเกิดนะ มีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้ง จิตที่ฟุ้งไปนะ รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา ใจจะเรียบร้อย ใจจะสบาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา

เพราะฉะนั้นศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย สมาธิทำให้ใจเรียบร้อย ปัญญานั้นทำให้ใจฉลาด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
Track: ๒
File: 541205.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๔๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒๓) ถ้ามีเหตุขันธ์ก็เกิดสืบทอดไป ถ้าไม่มีเหตุขันธ์ก็ไม่เกิดสืบทอดไป

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๒๓) ถ้ามีเหตุขันธ์ก็เกิดสืบทอดไป ถ้าไม่มีเหตุขันธ์ก็ไม่เกิดสืบทอดไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

โยม : นมัสการหลวงพ่อครับ ผมส่งการบ้านมาหลายครั้ง ก็ยังตื่นเต้นอยู่เหมือนเดิม ความตื่นเต้นมานี่ มันยังไม่หายเลยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ห้ามมันไม่ได้หรอก จิตมันเป็นอนัตตา

โยม : ทีนี้ การปฏิบัติที่จะมาส่งก็คือ เวลาผมทำสมาธิ แล้วผมก็สังเกตไปเรื่อยๆ ว่าอะไรปรากฎก็รู้มันๆ ทีนี้สักพักหนึ่ง มันไม่มีอะไรปรากฎ มันเงียบๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เงียบปรากฎล่ะ

โยม : ใช่ๆครับ ความเงียบปรากฎ ตรงนี้ ผมเคยถกกับคุณหมอท่านหนึ่ง คุณหมอบอกว่าจิตสงบแล้ว ผมบอกว่า คิดเรื่องเงียบ ผมมีความรู้สึกว่าคิดเรื่องเงียบอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ : เงียบปรากฎนะ

โยม : แล้วความเงียบ ผมก็ดูต่อไป ดูไปแล้วก็ไม่เงียบอีกแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ มันก็ไม่เที่ยง

โยม : แต่มันก็นานพอสมควร คือ ถ้ามันเป็นอย่างนี้บ่อยๆ เวลาที่มันเงียบ มันจะยิ่งนานขึ้นๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็ออกจากสมาธิแล้ว อยู่ในโลก ก็เจริญสติในชีวิตประจำวันให้มาก เท่านั้นแหละ

โยม : คราวนี้เวลาออกจากสมาธิน่ะครับ แล้วมีสติอัตโนมัติขึ้นมา เวลาที่สติอัตโนมัติค้างอยู่ มันรู้สึกได้ว่านานกว่าเดิม

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าจิตทำสมาธินะ จิตที่ทรงฌานเนี่ย สติอัตโนมัติจะอยู่นาน

โยม : อย่างนั้นเรียกว่าฌานหรือครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าจิตเข้าไปอยู่ในความนิ่ง ความว่าง ความไม่มีอะไร รู้เนื้อรู้ตัวอยู่ ก็เข้าสมาธิที่ละเอียดเข้าไปแล้วล่ะ

โยม : อีก ๒ ประเด็นนะครับ คือเวลา อย่างเหตุการณ์เมื่อคืนนี้เอง ขณะที่กำลังทำงานอยู่แล้วมันหงุดหงิดขึ้นมา ก็ดูมันไป สังเกตไปเรื่อยๆ ปรากฎว่า ความหงุดหงิดหายไปแล้ว แต่มันยังร้อนอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้อ.. วิบาก กิเลส กิเลสเกิดนะ จิตก็กระทำกรรม จิตกระทำกรรมก็ต้องมีวิบาก ตรงหงุดหงิดนะก็เป็นกิเลส แล้วผลักดันให้จิตเราดิ้นรน ก็ต้องรับวิบากอีกช่วงแหละ

โยม : สภาพที่แยกธาตุแยกขันธ์อย่างนั้น ใช่มั้ยครับ แต่มัน มันไม่ได้แยกได้ตลอดเวลา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เป็นไร เวลาเราทำความสงบเนี่ย ไม่ต้องแยกธาตุแยกขันธ์ เวลาเผลอ ไม่ได้แยกธาตุแยกขันธ์ เวลาที่จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ ก็แยกธาตุแยกขันธ์ได้ มันไม่ได้เป็นตลอดนะ

โยม : ในระหว่างที่ผมกำลังสังเกต ความหงุดหงิด ผมรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่าง รู้สึกว่า มีเรา(หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้อ..)กำลังดูมันอยู่(หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้อ..)

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดีที่เห็นนะ แสดงว่ายังไม่ใช่พระโสดาบัน ถ้าเป็นพระโสดาบันจะเห็นว่า ธรรมชาติรู้เป็นคนดูอยู่ ไม่ใช่เราดูละ

โยม : แต่ว่าเราไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อปาโมทย์ : ไม่อยู่ตลอด

โยม : เวลาผมเผลอ เราหายไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ.. สักกายทิฎฐิก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน ความเห็นว่าเป็นเรา เป็นชั่วคราว เกิดเป็นคราวๆ

โยม : ผมขออีกนิดนะครับ คือ เวลาที่เรานอนหลับสนิท แล้วตื่นขึ้นมา ก็รู้สึกว่าโลกปรากฎ ทีนี้ตอนหลับสนิท สนิทจริงๆครับ ไม่มี ตรงนี้ ตรงกับที่ผมศึกษา คือว่า ตรงนี้ขออนุญาตนิดนึงครับ คือ ผมเคยอ่านเจอในพระอภิธรรมว่า เทวดาถามพระพุทธเจ้าว่า โลกมีอะไรนำไป โลกปรากฎได้อย่างไร ผมเข้าใจความหมายทำนองนี้ ใช่มั้ยครับ ผมเข้าใจถูกแล้ว? อีกอันหนึ่งนะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : หา ทำไมเยอะนักล่ะ คนอื่นเขาจะประท้วงหรือเปล่า หือ..

โยม : ครับ ต้องขอโทษด้วยครับว่า ผม.. ต้อง.. ให้ความรู้กับเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ป้องกันไม่ให้เกิดมิจฉาทิฎฐิ คือเมื่อกี๊ผมฟังที่หลวงพ่อพูดตอนเริ่มต้น บอกว่า ถ้าเราไปมั่นใจว่าตายแล้วเกิด เป็นมิจฉาทิฎฐิ ตรงนี้หมายความว่า เราต้องมั่นใจว่า ไม่มีพระอรหันต์ใช่มั้ยครับ ถึงจะเรียกว่าไม่เป็นมิฉาทิฎฐิ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ใช่ พวกเราตอนนี้ต้องคิดว่ามีพระอรหันต์ไว้ก่อน แต่พระอรหันต์ท่านไม่ได้คิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์หรอก ของเรามันยังมี

โยม : อย่างนี้แสดงว่า ที่ผมกำลัง ตอนนี้อย่างที่ผมกำลังพูดกับลูก ผมบอกว่า ผมมั่นใจว่าตายแล้วเกิด อย่างตัวผม ผมมั่นใจว่าตายแล้วเกิด อย่างนี้เป็นมิจฉาทิฎฐิมั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าพูดกับลูกก็พูดโดยอนุโลมเอา เอาแบบนั้นก่อนนะ คือ มันจะเห็นแจ้งต่อเมื่อเห็นว่า ปัจจุบันนี้ ไม่มี ปัจจุบันนี้ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีเรา ไม่มีเขา ก็ปัจจุบันยังไม่มีเลย ตายแล้วจะมีหรือไม่มีอย่างนี้ ถ้ามีเหตุก็เกิด ถ้าไม่มีเหตุก็ไม่มี ถ้ามีเหตุขันธ์ก็เกิดสืบทอดไป ถ้าไม่มีเหตุขันธ์ก็ไม่เกิดสืบทอดไป ถ้าพูดให้ถูกก็ต้องพูดอย่างนั้น แต่ว่าสอนเด็กไม่ได้ มันยากไป ถ้าสอนลูกก็บอกว่า ตายแล้วเกิด สอนอย่างนี้ไปก่อน

โยม : ขอบคุณมากครับ

550409.44m08-49m47

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๔๔ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๔๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๕) สิ่งที่พระอรหันต์เห็น

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๕) สิ่งที่พระอรหันต์เห็น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : พระอรหันต์ท่านไม่คิดนะ ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ท่านมีปัญญาแจ่มแจ้งว่า พระอรหันต์ไม่มี คนไม่มีน่ะ คนไม่มี สัตว์ไม่มี เราไม่มี เขาไม่มี มีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ นั้น ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้น นี่ล่ะที่พระอรหันต์ท่านเห็นกัน ท่านก็เห็นกันอย่างนี้นะ

550409.30m-56-31m18

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๓๐ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๓๑ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๔) เมื่อหมดความยึดถือในกายในใจได้ คือ พระอรหันต์

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๔) เมื่อหมดความยึดถือในกายในใจได้ คือ พระอรหันต์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าภาวนาต่อไปอีกนะ เราก็ดูแต่ละส่วนนั้นต่อไปอีก (หากเพิ่งได้ฟังตอนนี้เป็นตอนแรก ขอให้ท่านฟังเรื่อง ทางวิปัสสนา ตั้งแต่ตอนแรกตามลำดับ ที่นี่) เห็นแต่ละส่วนนั้นมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป

ยกตัวอย่างร่างกายเราบังคับไม่ได้จริงนะ สั่งไม่ให้แก่มันก็แก่ใช่มั้ย สั่งไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ สั่งไม่ให้ตายมันก็ตาย จิตใจเราก็บังคับไม่ได้นะ สั่งมันให้สุขมันก็ไม่ยอมจะสุข ห้ามทุกข์มันก็จะทุกข์ อะไรอย่างนี้ สั่งให้ดีมันก็ไม่ค่อยจะดีนะ ห้ามชั่วมันก็ขยันชั่ว ไม่อยู่ในอำนาจจริง เฝ้ารู้เฝ้าดูลงในกายในใจนะ ไม่เห็นมีสาระแก่นสาร

พอเห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ หาสาระแก่นสารที่แท้จริงไม่ได้ มันจะหมดความยึดถือในกายในใจ ถ้าหมดความยึดถือในกายในใจเมื่อไหร่นะ จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลก รู้เลยว่านี่คือสมบัติของโลก ขันธ์ ๕ นี้ กายใจนี้ เป็นสมบัติของโลก เรามาอาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นเอง จิตหมดความยึดถือในรูปในนาม นั่นแหละคือสิ่งที่เขาสมมุติเรียกกันว่า “พระอรหันต์”

550409.29m56-30m-56

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๓) เมื่อล้างความเห็นว่ามีตัวมีตนได้ จะเป็นพระโสดาบัน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๓) เมื่อล้างความเห็นว่ามีตัวมีตนได้ จะเป็นพระโสดาบัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราไม่มีตัวเรานะ ลองเห็นขันธ์ ๕ มัน.. สิ่งที่เรียกว่าเรา.. เคยรู้สึกว่าเป็นตัวเรานั้น เอาเข้าจริงเป็นแค่ “ขันธ์” ที่มารวมกลุ่มกันอยู่แค่นั้นเอง แล้วเราก็ไปรู้สึกผิดว่าเป็นตัวเรา แต่พอขันธ์กระจายออกไปนะ ก็พบว่าไม่มีตัวเราแล้ว เหมือนจับรถยนต์ถอดเป็นชิ้นๆแล้วก็พบว่ารถยนต์หายไปแล้ว นี่เป็นวิธีการที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นวิธีที่แปลกมั้ย ไม่น่าเชื่อนะ คนตั้งสองสามพันปีก่อนสอนเรื่องอย่างนี้ ๒๖๐๐ ปีก่อน สอนเรื่องอย่างนี้ได้

เพราะฉะนั้นเรามาเรียนนะ มาเรียน ค่อยๆสังเกตลงไป ตัวเราเอง ถ้าหากเราเห็นความจริงถ่องแท้ ว่าร่างกายไม่ใช่เรา ความสุขความทุกข์ไม่ใช่เรา ความจำไม่ใช่เรา ความปรุงดีปรุงชั่ว เช่น โลภ โกรธ หลง อะไรอย่างนี้ ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นคนรู้ก็ไม่ใช่เรา ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้นะ ตัวเราจะหายไป เมื่อไรเห็นว่าตัวเราไม่มี จะได้พระโสดาบัน

เคยได้ยินคำว่า “โสดาบัน” มั้ย เราวาดภาพโสดาบันคืออะไรก็ไม่รู้ที่ abstract มากเลยนะ สัมผัสไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ ฝันเลยว่าอีกแสนชาติก็ไม่ถึง ไม่ถึงแน่นอนเลยถ้าไม่รู้จักรูปไม่รู้จักนาม ไม่รู้จักแยกธาตุแยกขันธ์อย่างนี้ ถ้าแยกเป็นนะ ไม่ยากอะไร พระโสดาบันคือท่านผู้ล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ท่านล้างความเห็นผิดได้ เพราะท่านแยกขันธ์ออกมาเป็นส่วนๆ และเห็นว่าแต่ละส่วนไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา

550409.28m24-29m56

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๘ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๑) เมื่อแยกกายกับจิตได้ ให้อดทนฝึกต่อไปจะแยกเวทนาและสังขารได้

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๑) เมื่อแยกกายกับจิตได้ ให้อดทนฝึกต่อไปจะแยกเวทนาและสังขารได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถัดจากนั้นเรามาฝึกแยกต่อไปอีก เรานั่งต่อไปอย่างเพิ่งกระดุกกระดิก นั่งไปสักพักเราปวดเราเมื่อย ค่อยๆสังเกตอีก ความปวดความเมื่อยเมื่อตะกี้นี้ไม่มี ตอนนี้เกิดมีความปวดความเมื่อยขึ้นมา เพราะฉะนั้นความปวดความเมื่อยเนี่ย ไม่ใช่ร่างกายหรอก ร่างกายมันนั่งอยู่ก่อนนะ ความปวดความเมื่อยมันมาทีหลัง เนี่ยเราค่อยๆดูไปอย่างนี้ เราจะเห็น ความปวดความเมื่อยกับร่างกายนั้นเป็นคนละอันกัน แล้วก็ไม่ใช่จิตใจด้วย จิตใจเป็นคนดู จะเห็นเลยว่าความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า นี่หัดอย่างนี้นะเราแยกได้ ๓ ชิ้นแล้ว มีร่างกาย มีเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ อย่างรู้สึกที่เราฝึกกันก็คือดูความเมื่อย อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นนั่งอยู่เดี๋ยวก็เมื่อย พอเมื่อยแล้วดูไป ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา ความเมื่อยไม่ใช่ร่างกาย ความเมื่อยไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

ทีนี้พอนั่งไป พอมันเมื่อย ก็อย่าเพิ่งขยับ เราจะฝึกต่อ ขั้นต้นอดทนไว้ก่อน อดทนหน่อย อย่าเพิ่งกระดุกกระดิก นั่งไปแล้วพอมันปวดมากๆนะ จิตใจมันจะเริ่มทุรนทุราย กระสับกระส่าย พอนั่งมากๆนั่งปวดมากๆนะ เป็นเหน็บเป็นอะไรนะ ชักกลุ้มใจ เอ๊..นั่งนานจะเป็นอัมพาตหรือเปล่า? จะเดินได้อีกมั้ย อะไรอย่างนี้นะ ความกลุ้มใจเกิดที่ใจเกิดที่จิต ความปวดเมื่อยเกิดที่ร่างกาย ความกลุ้มใจเกิดที่จิต เพราะฉะนั้นความปวดเมื่อยกับความกลุ้มใจเนี่ย คนละอันกัน

ความปวดเมื่อยนั้นเรียกว่า เวทนาขันธ์ เป็นเวทนาขันธ์ ความกลุ้มใจความกังวลใจอะไรอย่างนี้ เรียกว่าสังขารขันธ์ คนละขันธ์ คนละกลุ่มกัน เนี่ย ค่อยๆหัดแยก แล้วความกลุ้มใจก็ไม่ใช่จิต จิตทีแรกไม่กลุ้มใจ แต่จิตตอนนี้กลุ้มใจ เพราะฉะนั้นมันเป็นคนละอันกัน หัดฝึกไปเรื่อยนะ ให้ชำนิชำนาญ

550409.23m13-25m04

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๐) เมื่อมีสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นแล้ว ให้หัดแยกกายกับใจ

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๐) เมื่อมีสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นแล้ว ให้หัดแยกกายกับใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : การจะเจริญปัญญาอย่างแท้จริงนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอะไร การเจริญปัญญานั้นคือการเรียนรู้ความจริงของสิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวเรา สิ่งที่เรียกว่าตัวเราก็คือกายกับใจนี้เอง เราอาศัยจิตที่ตั้งมั่นเป็นคนดูเนี่ย เป็นจุดสตาร์ตในการเดินปัญญา พอจิตเราตั้งมั่นแล้วนะ เราก็นั่งดู

ยกตัวอย่างพวกเราตอนนี้ก็นั่งอยู่ นั่งไปแล้วก็ดูไป ร่างกายที่นั่งอยู่ ร่างกายที่หายใจอยู่ ร่างกายที่พยักหน้าอยู่ ร่างกายที่กระดิกกระดิกอยู่ เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ร่างกายที่กำลังขยับตัวอยู่เนี่ย เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆหัดสังเกตตรงนี้ แล้วหัดไปเรื่อยนะ สุดท้ายเราจะแยกได้ว่า ร่างกายก็อยู่ส่วนหนึ่ง จิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง ถ้าจิตของเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้ จะไม่ยากเลยที่จะเห็นว่า ร่างกายกับจิตนั้น เป็นคนละอันกัน นี่คือการหัดถอดรถยนต์ให้เป็นชิ้นๆล่ะ

เพราะฉะนั้นพวกเรานั่งอย่างนี้แหละ แล้วก็ดูไป ร่างกายที่นั่งอยู่นี้ เป็นของที่ถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนรู้คนดู ดูอย่างนี้ไปเรื่อย ร่างกายที่หายใจอยู่ เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ร่างกายที่เดินอยู่ เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู นี่ฝึกอย่างนี้ให้ชำนาญนะ ขั้นต้นฝึกอย่างนี้กันก่อน ฝึกแยกกายแยกจิตให้ออกจากกันให้ได้

พอแยกได้ นี่ก็คือการถอดรถยนต์ชิ้นที่ ๑ นะ ถอดออกมาปุ๊บ ได้ ๒ ชิ้น ถอดครั้งแรกจะได้ ๒ ชิ้น นึกออกมั้ย ยกตัวอย่างเรามีรถยนต์อยู่คันหนึ่ง ถอดล้อออกมา กลายเป็น ๒ ชิ้น ใช่มั้ย คือรถยนต์ทั้งหมดที่เหลือกับล้อ แยกออกมา เนี่ยเราถอดครั้งแรกเลย ก็จะได้สองชิ้น คือกายกับใจ แยกกายกับใจออกจากกัน

550409.21m28-23m12

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้พวกเราที่ฝึกกันน่ะ ฝึกมั่วๆ ไปฝึกก็จะเอาแต่พุทโธๆจิตสงบไป หรือหายใจไปแล้วจิตสงบไป ดูท้องไปไปจิตสงบไป จิตสงบไปอยู่นิ่งๆเฉยๆอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตชนิดนี้ไม่เดินปัญญาหรอก จิตชนิดนี้จะไปนอนพักผ่อนอยู่เฉยๆ แล้วสดชื่นมีเรี่ยวมีแรงออกมา บางคนติดอยู่ในความสงบนาน ติดอยู่เป็นปีนะ พอหลุดออกจากความสงบแล้วร้ายกว่าเก่าอีกนะ ติดมันติดในความสงบพอออกมากระทบโลกข้างนอกมันทนไม่ได้มันคุ้มคลั่ง เพราะฉะนั้นพวกเข้าวัดบางคน พวกเราสังเกตคนที่เข้าวัดบางคนนะ ถ้าเขาติดสมาธินะอารมณ์เขาจะร้ายกว่าคนปกติอีก

แต่ถ้าฝึกสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นจะไม่เป็น จะไม่คุ้มคลั่งอย่างนั้นหรอก เพราะฉะนั้นเรามาฝึกสมาธิให้ได้สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น พุทโธไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน ใครหายใจก็หายใจไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับลมหายใจรู้ทัน จิตมันเคลื่อนไป จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจก็รู้ทัน ดูท้องพองยุบอยู่จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน การที่รู้ว่าจิตเคลื่อนไปนั้น จิตจะตั้งขึ้นเอง จิตจะไม่เคลื่อน จิตที่ไม่เคลื่อนจะตั้งมั่นเด่นดวงอยู่อย่างนั้น เราต้องฝึกตัวนี้ให้ได้ก่อน พอเรามีจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว คราวนี้ถึงขั้นของการเดินปัญญาที่แท้จริง

550409.20m04-21m28

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 6 of 17« First...45678...Last »