Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จิตที่เดินปัญญาได้จริงต้องตั้งมั่น เป็นกลาง และมีกำลังกล้า

mp3 (for download) : จิตที่เดินปัญญาได้จริงต้องตั้งมั่น เป็นกลาง และมีกำลังกล้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


จิตที่เดินปัญญาได้จริงต้องตั้งมั่น เป็นกลาง และมีกำลังกล้า

จิตที่เดินปัญญาได้จริงต้องตั้งมั่น เป็นกลาง และมีกำลังกล้า

หลวงพ่อปราโมทย์ : บทเรียนเกี่ยวกับจิตตสิกขาไม่ได้จบแค่ว่า อันไหนเป็นกุศล อันไหนเป็นอกุศล ยังลึกลงไปอีกชั้นนึง ในบรรดาจิตที่เป็นกุศลนั้นยังมี 2 ชนิด กุศลที่สงบพักผ่อนอยู่เฉยๆ กับกุศลที่ใช้เจริญปัญญา ไม่เหมือนกัน

จิตที่มีกุศลแบบสงบพักผ่อนสบาย จิตเป็นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นบุญเป็นกุศลเนี่ยอย่างหนึ่ง อย่างเวลาเราทำบุญใส่บาตร รู้สึกมั้ย มีความสุข รู้สึกมั้ย และจิตเป็นกุศลนะแต่กุศลอย่างนี้ไม่เจริญปัญญา เป็นกุศลเฉยๆ ทำบุญทำความดีอะไรนี้ เสียสละปลื้มใจ แต่ยังไม่ถึงขั้นเจริญปัญญา

กุศลที่เจริญปัญญาได้นะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องตั้งมั่น ตั้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถอนตัวออกจากปรากฎการณ์ทั้งหลายทางรูปธรรมนามธรรม เห็นรูปธรรมแสดงละคร เห็นนามธรรมแสดงละคร จิตถอนตัวออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู เห็นมันแสดงทั้งวันเลย

ในร่างกายเรามีตัวละครอยู่ 28 ตัวนะ มีรูปมันมี 28 รูปแต่รูปจริงๆมี 18 รูป รูปเทียมๆ รูปไม่จริงมีอีก 10 รูป นามธรรมทั้งหลายเนี่ยมีจิตหนึ่ง จิตมีหนึ่ง จิตคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ เจตสิกอีก 52 เจตสิก 52 อย่างเนี่ยแยกเป็นเวทนาซะหนึ่ง สัญญาอีกหนึ่ง อีก 50 เป็นตัวสังขาร เนี่ยตัวละครนะ ตัวละครโรงใหญ่เลยนะ มีจิต มีเจตสิก มีรูปนะ

จิต ถ้าแยกออกไปอีกมีจิตอีกเยอะแยะเลย มีอีก 81 ดวง พวกเราไม่มี 89 ดวง เราไม่เคยมี เราไม่มีโลกุตตรจิต(อ่าน โล-กุต-ตะ-ระ-จิต)อีก 8 ดวง ถ้าคนใหนเป็นพระอริยะก็เคยมีโลกุตตรจิต ถ้าเป็นพระอรหันต์ผลจิตเกิดขึ้นนะก็เป็นโลกุตตระได้นะแต่อย่างปุถุชนนี่ไม่มี ไม่เคยเห็น ถ้าคนทำฌานไม่ได้นะจำนวนจิตที่มียิ่งลดลงอีก

อย่างพวกเรานี้เป็นจิตอยู่ในกาม จิตวนเวียนอยู่ในกามาวจรภูมิ เราดูจิตเท่าที่เรามี จิตที่เรามีนะเดี๋ยวก็เป็นกุศล เดี๋ยวก็เป็นอกุศลเนี่ยหัดดูไปเท่าที่มีนะ ไม่ต้องอุตริไปดูว่าจิตของพรหมเป็นแบบใหนเราต้องเลียนแบบไม่จำเป็นเลย ไม่จำเป็น เราดูของจริงในตัวเอง รวมๆแล้วสภาวะธรรมทั้งหมดนะที่จะเรียนจริงๆมี 72 ตัว เป็นนิพพานซะตัวนึง เป็นจิตซะตัวนึง อีก70 ตัวเนี่ยเป็นทั้งรูปทั้งนาม รูปนามแท้ๆนะ เราไม่ต้องเรียนเยอะขนาดนั้น

เราเรียนเท่าที่เรามี เรียนเท่าที่เรามี หัดดูของจริงนะ หัดดูไปเรื่อย ดูด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตที่เป็นกลาง เนี่ยจิตที่เป็นกุศลชนิดที่มันตั้งมั่น มันเป็นกลาง แล้วจิตที่เป็นกุศลที่ใช้เดินปัญญาได้จริงเนี่ยต้องเป็นกุศลที่มีกำลังกล้า

จิตที่มีกุศลนะยังมี 2 ชนิดนะ ชนิดที่ 1 มีกำลังอ่อนเอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้จริงหรอก ชนิดที่ 2 มีกำลังกล้าต้องมีปัญญาด้วย จิตที่มีกุศลก็ยังมีอีกสองพวก พวกที่มีปัญญากับพวกไม่มีปัญญา พวกที่มีปัญญากับไม่มีปัญญายังแยกได้อีกนะ แยกเป็นพวกที่มีกำลังแก่กล้ากับพวกกำลังไม่แก่กล้า

อย่างพวกมีปัญญาเนี่ย ปัญญาอ่อนๆก็มีนะแต่ไม่ใช่ปัญญาอ่อนอย่างโลกๆนะหมายถึงกำลังของปัญญาเนี่ยไม่แก่กล้า กับพวกที่กำลังแก่กล้า จิตที่เป็นกุศลที่มีกำลังกล้าเนี่ยเป็นจิตที่เกิดอัตโนมัติเกิดได้เองเรียกว่า อสังขาริกัง เกิดเอง จิตที่ต้องน้อมนำให้เกิดกุศลเนี่ยมีกำลังอ่อนเรียก สสังขาริกัง

สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในตำหรับตำรา ต้องศึกษา รู้เองไม่ได้หรอก กระทั่งพระอรหันต์ก็ไม่รู้หมดหรอก เพราะว่าไม่ใช่ภูมิปัญญาที่จะรู้ได้ทั่วถึงขนาดพระพุทธเจ้าขนาดนั้น นั้นเราอย่าดูถูก ตำหรับตำรานะ เป็นนักปฏิบัติอย่าดูถูกปริยัติ ดูของจริง ดูของจริงลงไป เรามาฝึกจนจิตที่เป็นกุศลเกิดอัตโนมัติ                           

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑๐ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พุทธภูมิหรือสาวกภูมิก็ต้องภาวนาให้เต็มที่เหมือนกัน

mp3 (for download) : พุทธภูมิหรือสาวกภูมิก็ต้องภาวนาให้เต็มที่เหมือนกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พุทธภูมิหรือสาวกภูมิก็ต้องภาวนาให้เต็มที่เหมือนกัน

พุทธภูมิหรือสาวกภูมิก็ต้องภาวนาให้เต็มที่เหมือนกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนกังวลนะ เป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่า ทำไมภาวนาไม่ดีไม่บรรลุสักที เรามองหน้าแว้บหนึ่ง นี่ไม่ใช่โพธิสัตว์หรอก นี่สัตว์เหลวไหล ขี้เกียจน่ะ ภาวนาไม่ได้ก็บอกว่าเป็นโพธิสัตว์ พวกอย่างนี้ก็มีนะ โพธิสัตว์เหลวๆไหลๆไม่มีหรอก โพธิสัตว์จริงๆไปด้วยมหากรุณานะ ใจกรุณาคนอื่นไม่ใช่อยากใหญ่อยากโตอยากเด่นอะไรหรอก ใจสงสารอยากช่วยคนเยอะๆ

เพราะฉะนั้นเวลาภาวนาน่ะไม่ต้องกังวลว่าเราเป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่า ภาวนาให้เต็มที่ ยิ่งเป็นโพธิสัตว์ยิ่งต้องขยันภาวนา โพธิสัตว์โหลยโท่ยแล้วจะเอาอะไรไปสอนคนอื่นเขา ใช่มั้ย รีบทำให้เต็มที่เลยนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้เต็มที่เลย พอถึงจุดหนึ่งแล้วจิตจะแยกเองนะ

ใครจะเดินไปพุทธภูมิ ใครเห็นเอือมระอาในความทุกข์ของสังสารวัฏฏ์ ก็จะพลิกเข้าไปอยู่สาวกภูมิ ใครเกิดมหากรุณาขึ้นมา ก็พลิกไปสู่พุทธภูมิ ไม่ต้องไปกังวลตอนนี้หรอก ตอนนี้ภาวนาให้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสาวกภูมิหรือพุทธภูมิ ก็ต้องทำให้เต็มที่เหมือนกัน ยิ่งจะเป็นพุทธภูมินะ ภาวนาขี้เกียจขี้คร้านจะไปได้กินอะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๐๔ ถึงนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่รวยทรัพย์ไม่เป็นไร รวยด้วยศีลด้วยธรรมดีกว่า

mp3 (for download) : ไม่รวยทรัพย์ไม่เป็นไร รวยด้วยศีลด้วยธรรมดีกว่า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่รวยทรัพย์ไม่เป็นไร รวยด้วยศีลด้วยธรรมดีกว่า

ไม่รวยทรัพย์ไม่เป็นไร รวยด้วยศีลด้วยธรรมดีกว่า

งั้นถ้าเรามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย คนมีศีลจิตใจมันจะเรียบร้อยเพราะว่ามันจัดระเบียบกายวาจาไว้แล้ว กายวาจาได้รับการจัดระเบียบให้ดี จิตใจมันก็สงบง่ายนะ อย่างคนไม่มีศีล คิดจะฆ่าเค้า คิดจะทำลายเค้าเนี่ยจิตใจฟุ้งซ่าน คิดจะลักเค้าขโมยเค้าจิตใจฟุ้งซ่าน คนมีศีลแล้วก็มีธรรม ไม่ใช่มีศีลอย่างเดียวนะ ถ้ามีศีลจริงๆจะมีธรรมด้วย

อย่างไม่คิดเบียดเบียนใครนะ จิตใจที่เมตตากรุณาก็จะเกิดขึ้นด้วย แค่ไม่ฆ่าสัตว์ไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ความเมตตากรุณาก็เกิดง่าย แค่ไม่ลักทรัพย์นะจะเกิดความเสียสละรู้จักให้ทาน ไม่ประพฤติผิดในกามนะจะรู้จักสันโดษในกามนะ เนี่ยมีข้อดี ไม่ยอมผิดศีลมุสาวาทนะจะได้ธรรมะคือสัจจะขึ้นมา มีศีลก็มีธรรมนะ ได้ธรรมได้ของดีขึ้นมาด้วย จิตใจจะได้ความสงบ ได้ความสุขขึ้นมา จิตใจจะสงบง่ายคน

ทุศีลจิตใจไม่สงบหรอก มันวุ่นวายมันคิดอย่างเดียว จะทำร้ายคนอื่นยังไง จะขโมยคนอื่นยังไง งั้นเรามีศีลเป็นพื้นฐาน จำเป็นอย่างยิ่งเลย มนุษย์ยุคนี้เลวทรามต่ำช้าสุดขีดแล้วเพราะไม่มีศีลมีธรรมเลยนะ เลวมากเลยสุดๆเลย โกหกหลอกลวงกันเต็มบ้านเต็มเมืองนะ เอาผลประโยชน์อย่างเดียวเลย

นี่พวกเราอย่าเอาอย่างเค้า เค้าไม่มีความสุขหรอก เค้าอาจจะรวยนะ แต่เค้าไม่มีความสุขหรอก นี่เราไม่รวยไม่เป็นไรนะแต่เรามีศีลไว้ เรารวยด้วยศีลด้วยธรรมดีกว่า เราได้รับสาระแก่นสารที่แท้จริงในชีวิตของเราเองนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๙ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เอง

mp3 (for download) : อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เอง

อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เอง

คือการพัฒนาคุณภาพของจิตใจเราทิ้งหลักของ”ไตรสิกขา”ไม่ได้ ถ้าทิ้งหลักไตรสิกขาละก็ ไม่ใช่ชาวพุทธแท้หรอก ไตรสิกขาคือเรื่องศีลสิกขา เรื่องจิตสิกขา เรื่องปัญญาสิกขา เราจะเรียนเรื่องศีลเรียนเรื่องจิตเรียนเรื่องการเจริญปัญญา ศีลในเบื้องต้นเนี่ยต้องเจตนา งดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจาไว้ก่อน เบื้องต้นต้องตั้งใจงดเว้นไว้ก่อน ต่อมาเรามาฝึกอาศัยสตินี่แหล่ะ คอยรู้ทัน ใจมันทำผิดศีลได้นะเพราะกิเลสมันครอบงำจิต ให้เราคอยรู้ทันจิตไว้ กิเลสอะไรเกิดขึ้นเรารู้ทัน กิเลสอะไรเกิดรู้ทันนะ กิเลสจะครอบงำไม่ได้ อย่างโทสะเกิดเนี่ยรู้ทันมัน โทสะครอบงำจิตไม่ได้ มันไม่ฆ่าใครไม่ตีใครไม่ด่าใครไม่เบียดเบียนใคร ราคะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปลักใครขโมยใครไม่เป็นชู้กับใคร ไม่ปลิ้นปล้อนตลบแตลงล่อลวงเค้า เนี่ยกิเลสทั้งนั้นเลยนะ

คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิตได้ กิเลสเล็กกิเลสน้อยก็อย่าไปไว้ใจมันนะ อย่ามีข้อยกเว้นแก่กิเลส บางคนเห็นว่ากิเลสเล็กๆน้อยๆไม่เป็นไร แรกๆไม่เป็นไรนะ ตัวเล็กไม่เป็นไรต่อไปตัวกลางๆก็ไม่เป็นไรเหมือนกันนะ สุดท้ายตัวใหญ่ๆก็ไม่เป็นไร

อย่างตอนเด็กๆหัดรังแกสัตว์ตัวเล็กๆก็รังแกสัตว์ตัวใหญ่ได้มากขึ้นๆ สุดท้ายมันก็แกล้งคนได้ ฆ่าคนได้ ใจมันเคยชินที่จะเบียดเบียน นั้นเรามีสตินะ รักษาจิตไว้ให้ดี อย่าให้กิเลสครอบงำจิตได้ คอยรู้ทันมันเข้าไป ศีลมันจะเกิดขึ้น พอจิตเรามีศีลเนี่ยสมาธิจะเกิดง่าย คนที่ไม่มีศีลนะจะฟุ้งซ่าน ฟุ้งไปในกาม ฟุ้งไปในความไม่พอใจ กามและปฏิฆะมายั่วจิตให้ฟุ้งไป เดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง อยากได้กลิ่น อยากได้รส ถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ กิเลสมันครอบงำจิตไม่ได้ กิเลสหยาบๆนะครอบงำไม่ได้ สติปัญญาเร็วขึ้นๆนะ ต่อไปกิเลสอย่างกลางก็ครอบงำจิตไม่ได้ กิเลสอย่างหยาบเนี่ยเอาศีลกั้นไว้ ราคะ โทสะ โมหะแรงๆเกิดขึ้นนะ จะทำผิดศีลไม่ทำ ตั้งใจงดเว้นไม่ทำ ทุกวันต้องคิดว่าเราจะรักษาศีลตื่นเช้าขึ้นมา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึงนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่พร้อมเจริญวิปัสสนาเป็นอย่างไร

mp3 (for download) : จิตที่พร้อมเจริญวิปัสสนาเป็นอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


จิตที่พร้อมเจริญวิปัสสนาเป็นอย่างไร

จิตที่พร้อมเจริญวิปัสสนาเป็นอย่างไร

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้พอมีศีลแล้วเราก็ต้องมาเรียนบทเรียนที่สองนะ บทเรียนที่สองชื่อ จิตตสิกขา ต้องเรียนเรื่องจิต ใครจะบอกว่าไม่เอาดูจิตไม่อยากเรียนเรื่องจิตก็ปล่อยเขาไป เป็นพวกที่ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ต้องเรียนเรื่องจิต เพราะบทเรียนที่สองของชาวพุทธชื่อจิตตสิกขา ต้องเรียนเรื่องจิต ต้องแยกให้ออกว่าจิตชนิดไหนเป็นกุศล จิตชนิดไหนอกุศล ไม่เหมือนกัน

ส่วนใหญ่นะมีจิตอกุศล เอาจิตอกุศลไปเจริญวิปัสสนา เป็นไปไม่ได้ จิตไม่มีคุณภาพนะ อย่างจิตที่เป็นอกุศลนะ มันจะหนักๆแน่นๆ แข็งๆ ซึมๆ ทื่อๆ จิตที่เป็นกุศลมี ลหุตา มีความเบา มีมุทุตา มีความนุ่มนวลอ่อนโยน มีปาคุญตา คล่องแคล่วไม่ใช่ซึมซื่อบื้ออยู่ทั้งวัน มีกัมมัญญตา ควรแก่การงาน เห็นมั้ยไม่ใช่จิตขี้เกียจขี้คร้านไม่ยอมรับรู้อะไรสักอย่างเดียว ประคองจิตให้นิ่งให้ว่างแล้วเพลินไปอยู่อย่างนั้น อันนั้นไม่ใช่จิตของดีของวิเศษอะไร จิตต้องคล่องแคล่วในการทำงาน ทำอะไร จิตทำอะไร จิตมีหน้าที่รู้อารมณ์นะ เพราะฉะนั้นจิตรู้อารมณ์ไม่ใช่ฝึกจิตให้ไม่รู้อารมณ์อะไร เนี่ยต้องฝึก จิตต้องมีความซื่อตรงเรียก อุชุกตา ซื่อตรงในการรับรู้นะ ไม่เข้าไปแทรกแซง ถ้ายังอยากแทรกแซง ยินดียินร้ายขึ้นมา ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศลแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๗ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตเองก็เป็นทุกข์

mp3 (for download) : จิตเองก็เป็นทุกข์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ : เราต้องมีให้ครบนะ ศีล สมาธิ ปัญญา จะมีศีลได้ดีต้องมีสติ ถ้าคนไหนไม่มีสติ อย่ามาอวดว่ามีศีลเลย ไม่จริงหรอก โกหก ถ้าขาดสตินะ รู้ทันจิตตัวเองไม่เป็นถือศีลยาก กะพร่องกะแพร่งด่างพร้อยง่าย ถ้ามีสติรู้ทันจิตอยู่ กิเลสเกิดนะ อายเลย กิเลสบางตัวน่าอาย ตัวไหนน่าอายที่สุด ตัวกูเก่ง นี่ สำรวจมาแล้ว เวลารู้สึกกูเก่งแล้วพอรู้ทันนะ อายเลยนะ ใครรู้สึกตัวนี้บ้าง ตัวนี้น่าอาย ถัดจากนี้ก็หน้าด้านถ้ายังไม่อายอีกนะ ขนาดนี้ถึงหน้าด้านแล้ว ไม่มีสติอย่ามาอวดเรื่องศีลนะ ไม่มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดู ละก็ อย่ามาอวดว่าทำสมาธิเก่งเลย ทำสมาธิจนกระทั่งอยากรู้อยากเห็นอะไรทั่วโลกธาตุ รู้ได้หมดเลยนะ ไม่เห็นจิตตัวเองอันเดียว ก็ได้ของไม่มีสาระ ไปเห็นของไม่มีสาระว่ามีสาระ เพราะกิเลสเกิดที่จิต มรรคผลเกิดที่จิต กุศลอะไรก็เกิดที่จิต เนี่ยถ้าเราไม่มีจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดู สมาธิของเรายังอ่อนนะ อย่างมากก็มีแค่สมาธิสงบ แต่ไม่มีสมาธิตั้งมั่น เป็นสมาธิพื้นๆหรอก สมาธิสงบ ศาสนาอื่นก็มี สมาธิตั้งมั่นมีแต่ในคำสอนพระพุทธเจ้านะ คนอื่นไม่มีหรอกไม่เข้าใจเลย สมาธิตั้งมั่นเนี่ยหายากมาก

ไม่มีสติอย่ามาอวดเรื่องศีล ไม่มีจิตผู้รู้อย่ามาอวดว่ามีสมาธิ แยกรูปนามไม่เป็นอย่ามาอวดว่าเจริญปัญญา “การเจริญปัญญานะเริ่มต้นด้วยการแยกรูปนาม” ทำไมต้องแยก ก็แยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราออกเป็นส่วนๆ เพื่อวันนึงจะเห็นว่าทุกๆส่วนไม่มีตัวเรา นี่ไม่มีตัวเราที่ใดเลย ล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ถัดจากนั้นก็รู้สภาวะ แต่ละส่วน แต่ละส่วนนั้นต่อไป จะเห็นว่าสภาวะทั้งหลายเป็นทุกข์ทั้งสิ้นเลย กระทั่งความสุขก็เป็นทุกข์​ อะไรๆก็เป็นทุกข์หมดเลย รูปธรรมก็เป็นทุกข์ นามธรรมก็เป็นทุกข์ จิตเองก็เป็นทุกข์ ในขันธ์ห้าไม่มีการสงวนรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอาไว้เป็นตัวสุขเลย มีแต่ตัวทุกข์ล้วนๆเรียกว่าเราเห็นขันธ์เป็นทุกข์แล้ว “วันใดที่เห็นขันธ์เป็นทุกข์ได้ เราทำลายอวิชชาได้” อวิชชา มันไม่รู้ความจริงของอริยสัจ ไม่รู้ว่าขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์ เนี่ยไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ ถ้าพอเห็นแจ้งว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์นะ กระทั่งตัว”จิตผู้รู้”เองซึ่งเป็นของดีของวิเศษ​ที่เคยฝึกฝนอบรมมานะ มันพลิกขึ้นมาเป็นตัวทุกข์ให้ดู มีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป เป็นอย่างนี้ จิตจะสลัดคืนจิตให้โลก ทำไมสลัดคืน ก็มันเป็นตัวทุกข์ มันจะไปยกไว้ทำไม จะไปแบกไว้ทำไม ไม่ถือเอาไว้สลัดทิ้งไป ถ้าสลัดทิ้งไปแล้วจิตเข้าสู่สภาวะอีกชนิดนึง ไม่ยึดอะไรในโลก จิตดวงนี้ไม่มีอะไรย้อมได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๕ ถึงนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสติช่วยให้มีสมาธิได้อย่างไร ?

mp3 (for download) : มีสติช่วยให้มีสมาธิได้อย่างไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิเป็นเครื่องสู้กิเลสระดับกลางชื่อว่า “นิวรณ์” นิวรณ์มีห้าตัว แต่ทั้งห้าตัวมันเป็นความฟุ้งซ่านของจิตทั้งนั้น ถ้าฟุ้งไปชอบใจในอารมณ์ เรียกว่า “กามฉันทะนิวรณ์” ฟุ้งไปเกลียดอารมณ์ เรียก “พยาบาท” ฟุ้งจับจด ฟุ้งแล้วไม่รู้อะไรต่ออะไร สะเปะสะปะ เรียก “อุทธัจจะ” อุทธัจจะไม่อยู่ลำพังหรอก พอฟุ้งมากๆก็รำคาญใจ อุทธัจจะ เป็นโมหะ มันจะต่อด้วย “กุกกุจจะ” รำคาญใจ กุกกุจจะ เป็นโทสะนะ พอฟุ้งได้ที่ก็รำคาญ หงุดหงิด เนี่ย ถ้าจิตไม่ฟุ้ง ไม่รำคาญ ไม่หงุดหงิด ลังเลสงสัยก็เป็นความฟุ้งซ่าน คนถามกรรมฐานมากๆ ถามแล้วถามอีก คิดมาก ดูกายดูใจมันทำงานเข้าไป ไม่มีคำถาม มีน้อย คำถาม

หลวงพ่อเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์นะ เรียนจากครูบาอาจารย์ตั้งหลายสิบองค์ เข้าไปหาท่าน คำถามหลักๆเลยที่ถามนะคือที่ทำอยู่นี่ถูกมั้ย คราวก่อนท่านสอนมาอย่างนี้ ผมไปทำ อย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าผิดให้ท่านบอกด้วย ถ้าถูกแล้วทำยังไงจะพัฒนาไปมากกว่านี้ ถามเท่านี้เองนะ ครูบาอาจารย์ก็ตอบเหมือนกันทุกที ดีแล้ว ทำอีก จบแล้ว ไม่มีอะไรต้องมาพิรี้พิไร ขอแถมอีกหน่อยอะไรอย่างนี้ ขอนั่งอีกนิด ไม่มี เสียเวลา

“เวลา” หมดแล้วหมดเลยนะ ซื้อไม่ได้ ทิ้งเปล่าๆ ไม่นานก็ตาย ฉะนั้นเราเอาเวลามาภาวนา ภาวนาแล้วไม่ค่อยมีคำถามเท่าไหร่หรอก ถามอะไร มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง มีเท่านี้เอง ถามมากกว่านี้ก็คิดมาก คิดเยอะไป รู้ไว้เยอะๆ รู้ทัน ทุกคนรู้จิตรู้ใจตัวเองได้อยู่แล้ว กายของเรา เราก็รู้ได้อยู่แล้ว จิตของเรา เราก็รู้ได้อยู่แล้ว รู้เอาบ่อยๆ พอเรามีสติรู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นนะ นิวรณ์จะดับ อย่างจิตมีพยาบาทเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันนะ พยาบาทดับ จิตมีกามฉันทะเพลิดเพลินพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส เรามีสติรู้ทันนะ ความเพลิดเพลินพอใจคือกามฉันทะก็ดับ สงสัยขึ้นมา มีสติรู้ทัน สงสัยก็ดับ หดหู่ มีสติรู้ขึ้นมา หดหู่ก็ดับ

อาศัยสตินี่แหล่ะ มารู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นในใจบ่อยๆ แล้วสมาธิจะเกิดขึ้นเอง นี่เป็นวิธีทำสมาธิที่สุดจะง่ายเลยนะ ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองด้วย มีพระสูตรที่สอง ชื่อ สามัญญผลสูตร (สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก) พระพุทธเจ้าสอน อชาตศัตรู อชาตศัตรูเกิดมาไม่เป็นศัตรูกับใครนะ เป็นศัตรูกับพ่อเท่านั้นแหล่ะ ฆ่าพ่อตาย อชาตศัตรูไปเรียนธรรมะ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ทันนิวรณ์นะ รู้ทันนิวรณ์แล้วสมาธิเกิด นี่เป็นวิธีฝึกสมาธิของฆราวาส อาศัยสติรู้ทันศัตรูของสมาธิ พอจิตไม่มีศัตรูของสมาธิ จิตก็สงบเองแหล่ะ ไม่ต้องทำความสงบหรอก อย่าทำความฟุ้งซ่านก็พอแล้ว ความฟุ้งซ่านเราจะทำลายมันได้ไง ความฟุ้งซ่านเป็นกิเลส เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นไม่มีกิเลส นี่เป็นกฎของธรรมะเลย

ดังนั้นเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ชอบ ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ไม่ชอบ ฟุ้งสะเปะสะปะ จับอารมณ์ไม่ถูก ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ชอบเป็นกามฉันทะ ฟุ้งไปหาอารมณ์ไม่ชอบเป็นพยาบาท ฟุ้งสะเปะสะปะเป็นอุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งไปคิดมากก็ลังเลมากเป็น “วิจิกิจฉา” ฟุ้งมากหมดเรี่ยวหมดแรงลงไปแผ่หลาอยู่ หมดเรี่ยวหมดแรง ดูอะไรไม่รู้เรื่องแล้วเรียกว่า “ถีนมิทธะ” ทั้งจิตทั้งเจตสิกหมดแรง ล้วนแต่มาจากความฟุ้งทั้งนั้น

ถ้ามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งไปนะ สมาธิเกิดเอง โดยเฉพาะจิตนะชอบฟุ้งไปคิด ฟุ้งไปคิดเนี่ยบ่อยที่สุด ถ้าเรารู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไปคิด ความฟุ้งซ่านจะดับ จิตจะเกิดสมาธิ จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจต้องอยู่กับเนื้อกับตัวนะ ถึงจะเจริญปัญญาได้ ถึงจะทำวิปัสสนาได้ ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะวิปัสสนานี่คือการเรียนรู้ความจริงของรูปนาม สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา รูปธรรมนามธรรมนี้เอง เมื่อไหร่ขาดสติเมื่อนั้นไม่รู้รูปนาม ไม่รู้รูปธรรมนามธรรมของตัวเอง ใช้ไม่ได้เลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

mp3 (for download) : คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาวัด มาหาคุณงามความดีใส่ตัวให้เป็นสมบัติติดตัวไป ควรจะมาเพื่อขัดเกลากิเลส กิเลสท่วมโลก มีแต่ธรรมะของพระพุทธเจ้านะ พอจะสู้กิเลสไหว แต่คนที่สนใจธรรมะมีไม่มาก ธรรมะถึงขั้นสู้กิเลส ต้องขั้นเจริญปัญญาถึงจะสู้กิเลสได้จริงๆ ธรรมะระดับรักษาศีลก็ธรรมะเหมือนกัน สู้กิเลสหยาบๆ ได้ ไม่ฆ่ากัน ไม่ตีกัน ไม่ใส่ร้ายกัน สังคมก็ดูดีขึ้นนะ  แต่ขั้นศีลก็ดีถมไปแล้ว

ในยุคซึ่งคนไม่มีศีล บ้านเมืองไม่มีศีลน่ากลัวเหลือเกิน เราเหมือนไม่มีที่พึ่งเลย ไม่มี มองอนาคตไม่ออก คนไม่มีศึลซะอย่างเดียว นี่เราทำทุกคนให้มีศีลไม่ได้ ต้องอยู่กับคนไม่มีศีลนั่นแหละ เบียดเบียนกันทุกหัวระแหง ศึลเป็นเครื่องสู้กิเลสขั้นหยาบที่สุด ถ้าพลาดจากศีลไม่ได้เป็นมนุษย์นะ ถึงร่างกายยังป็นมนุษย์อยู่ แต่ใจไม่ใช่มนุษย์หรอก ในใจคิดมุ่งร้าย ประหัดประหารมุ่งทำลายกัน หัวใจของสัตว์นรก มีสัตว์นรกอยู่พวกหนึ่งนะชื่อนรกโลกันต์ โลกันตนรก เป็นอยู่ระหว่างรอยต่อของแกแลตซี่ ในที่แสงสว่างส่องไปไม่ถึง สัตว์พวกนี้อยู่ในความมืด มันคลานไปเรื่อยๆ มันเจอกันมันก็จับกิน สู้กัน กินกันเอง

ตอนนี้ก็คล้ายๆ เข้าไปทุกทีแล้ว อยู่ในความมืด มืด ไม่มีสติมีปัญญาเลย ประหัดประหารห่ำหั่นทำร้ายกัน รับจ้างทำร้ายกันก็มีนะ สังคมไม่มีศีลก็ร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ เบียดเบียนกันนะ อยู่ยาก แต่เราต้องอยู่กับมัน ไม่รู้เราจะไปอยู่ที่ไหน ก็ต้องอยู่กับมันอย่างนี้แหละ แต่อยู่โดยอย่าไปตามแบบเค้า คนอื่นไม่มีศีลก็ช่างเค้าเถอะ เรามีศีลเอาไว้ เราต้องพัฒนาจิตวิญญาณของเราไป ร่างกายของเรามาเกิดในภูมิมนุษย์นี้ อยู่ไม่นาน อีกไม่กี่สิบปีก็ตายแล้ว บางคนไม่ถึงหรอก บางคนไม่ถึงสิบปีก็จะตายแล้ว เด็กๆ ก็ตายไปเยอะแล้วไม่ใช่เด็กไม่ตาย ไม่ใช่ต้องตายตาม ซีเนียรีตี้ (Seniority ตายตามตามหลักอาวุโส :ผู้ถอด) ไม่ใช่นะ เราอยู่กับมันไม่นานเท่าไหร่หรอกนะ เรามาพัฒนาจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ รักษาศีลไว้นะ แล้วมาฝึกจิต ศึลจะสู้ ราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้ ราคะ โทสะ โมหะ มาบงการพฤติกรรมทางกาย ทางวาจาของเราได้ แล้วจะไม่เบียดเบียนคนอื่นหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐๑ ถึงนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

mp3 for download : ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

โยม : คืออย่าง สมมุติถ้าไปเรียนต่ออย่างนี้ครับ คือต้องทำการทดลองในสัตว์ทดลองครับหลวงพ่อ คือว่า คือจะวางใจอย่างไร หรือว่าจะไม่ต้องทำไปเลยดีล่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าไม่ทำได้ก็ไม่ต้องทำสิ ถ้าต้องทำก็ถือว่าทำหน้าที่ไป เราก็ได้รับบาปเล็กน้อย แต่จะไม่มีบาปเลยไม่ได้นะ กรรมเนี่ยมันขึ้นด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ตัวหลักตัวหนึ่งคือเจตนา เจตนาที่จะทดลองไปตามที่อาจารย์สั่ง หรือเจตนาที่จะฆ่า กิจกรรมอย่างเดียวกันนะ แต่บาปไม่เท่ากัน

เพราะฉะนั้นคนที่ฉลาดก็จะรู้จักการวางจิตให้ถูกแง่ถูกมุมแล้วก็ได้รับโทษน้อย มันเหมือนเราเห็นถ่านไฟแดงๆก้อนหนึ่งเนี่ยนะ สมมุติเราต้องจับ คนโง่ก็ตะปบเข้าไปเลยก็ลวกเยอะ คนฉลาดก็จับอย่างระมัดระวังไฟก็ลวกนิดๆหน่อยไม่ลวกทั้งมือ อะไรอย่างนี้ ถามว่าไฟลวกมั้ย ลวกแต่ไม่มาก เพราะฉะนั้นอยู่ที่เจตนานะ

โยม : แล้วจะทำให้ตกนรกมั้ยครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : กรรมที่ประกอบด้วยเจตนานี่นะ เป็นกรรมที่ส่งผลให้ไปเกิดได้ ส่วนกรรมซึ่งเล็กๆน้อยๆพวกนี้ เราไม่ได้มีเจตนาเนี่ย ถ้ายังมีกรรมตัวอื่นที่แรงกว่านะ ตัวนี้ยังไม่ให้ผลที่ทำให้เราไปเกิด ส่วนมากกรรมที่ไม่ได้เจตนาเนี่ย มันจะมาให้ผลหลังจากที่เราเกิดแล้ว

เช่นเราไปชอบทดลองสัตว์ใช่มั้ย วันดีคืนดีเดินไปชนอะไรหัวแตกอะไรอย่างนี้ สมมุตินะ มันจะให้ผลตอนที่มีชีวิตขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่ให้ผลตอนไปเกิด เพราะกรรมที่แรงกว่าจะให้ผล

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมะยังสมบูรณ์ แต่เราลงมือปฎิบัติให้สมควรแก่ธรรมหรือยัง

mp3 (for download): ธรรมะยังสมบูรณ์ แต่เราลงมือปฎิบัติให้สมควรแก่ธรรมหรือยัง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมะยังสมบูรณ์ แต่เราลงมือปฎิบัติให้สมควรแก่ธรรมหรือยัง

ธรรมะยังสมบูรณ์ แต่เราลงมือปฎิบัติให้สมควรแก่ธรรมหรือยัง

หลวงพ่อปราโมทย์ : รักษาศีล ๕ ไว้ รู้สึกตัวบ่อยๆ แล้วดูกายดูใจทำงาน มรรคผลนิพพานไม่ไปไหนหรอก พระพุทธเจ้าเคยสอนนะ ใครเจริญสติปัฏฐาน ๔ เจ็ดวัน เจ็ดเดือน เจ็ดปี ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ก็พระอนาคาฯ ถ้าเราบารมีไม่ถึงนะ ได้โสดาฯก็ยังดีนะ อยู่ที่เราทำหรือเปล่า

ธรรมะของท่านยังสมบูรณ์ เต็มเปี่ยม ไม่ขาดตกบกพร่อง อยู่ที่เราเรียนให้รู้เรื่อง แล้วก็ลงมือทำให้สมควรแก่ธรรมเท่านั้นเอง ไม่ใช่นับเวลานะ แต่วันทำวันละนิดๆหน่อยๆ หลงวันละเยอะๆ แล้วบอกว่าเนี่ยทำมาเจ็ดปีแล้วไม่บรรลุสักที โถ.. รวมเวลาแล้ว ได้สามชั่วโมงหรือเปล่ายังไม่รู้เลยนะ

เนี่ย.. ทำให้สมควรแก่ธรรมนะ ธรรมะยังไม่หนีไปไหน แล้วเราจะได้รู้เลยว่า อัศจรรย์ อัศจรรย์เหลือเกินพระพุทธเจ้า อัศจรรย์จริงๆพระธรรม อัศจรรย์จริงๆนะพระสงฆ์ ไม่มีอะไรเหมือนเลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๘๑ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๘๒ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

mp3 (for download): ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

ต้องให้จิตตั้งมั่น ไม่เช่นนั้นเจริญปัญญาไม่ได้

โยม : ค่ะ อย่างเรื่องสติปัฏฐานนี่นะคะ อย่างบางคนจิตฟุ้งซ่าน ไม่ยอมมีวิหารธรรม ไม่ว่าจะอยู่กับกายหรืออะไร แต่ว่าจะสามารถรู้ในขณะปัจจุบันอันนั้นได้ว่าตอนนี้รู้กายตอนนี้รู้สภาวธรรมทางใจที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจจะคิดตรึกนึกถึงหัวข้อธรรมอะไรอย่างนี้น่ะค่ะ จะใช้ได้มั้ยคะ คือแทนที่พุทโธๆจิตมันไม่ยอม อย่างนี้เจ้าค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : พุทโธแล้วจิตไม่ยอม ก็หาอย่างอื่นให้จิตมันยอมนะ คือยังไงก็ต้องมีจิตที่อยู่กับเนื้อกับตัว ถ้าจิตมันฟุ้งๆไปเรื่อยถึงไปคิดธรรมะนะ เป็นความฟุ้งซ่านในธรรมะนะ

ต้องให้จิตตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว ต้องให้จิตถอนตัวออกจากโลกของความคิดโลกของความปรุงแต่ง มาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว มันจะถอนตัวเหมือนคนดูฟุตบอลนะ ถอยขึ้นมาอยู่บนอัฒจรรย์เห็นนักฟุตบอลวิ่งอยู่โน่น หรือเห็นเขาแข่งเรือกันในแม่น้ำ เราอยู่บนบกไม่กระโดดลงไปอยู่ในแม่น้ำ ถ้าจิตมันถอนตัวจิตมันตั้งมั่น แยกตัวออกมาได้ ก็จะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวไปมา สักว่ารู้สักว่าเห็น อย่างนี้ถึงจะเดินปัญญาต่อได้นะ

แต่ถ้าจิตเราฟุ้งๆ แล้วเราจับอะไรไม่ถูกเลยนะ เดี๋ยวก็ว่อกแว่กไปเรื่องนั้นเรื่องนี้ ดูไม่ได้จริงหรอก อย่างน้อยก็ต้องมีสมาธิรองรับนะ จิตต้องตั้งมั่น จะตั้งได้ชั่วขณะก็ยังดี ตั้งได้ชั่วขณะเขาเรียกว่าขณิกสมาธิ ยกตัวอย่างใจไหลแว้บแล้วรู้สึกขึ้นมา ตรงที่รู้สึกขึ้นมาแล้วเกิดเห็นร่างกายสติเกิดระลึกรู้ร่างกายปุ๊บเนี่ย เห็นร่างกายไม่ใช่เรา ได้เห็นในแว้บเดียว แค่นี้ก็ยังดี ใช้ได้ ขนาดนี้ แต่ถ้าจิตไม่ได้ตั้งมั่นเลยแล้วไปพิจารณากาย ไปคิดหัวข้อธรรมะ อันนี้เป็นความฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้นต้องใช้หลักที่หลวงพ่อพุธท่านบอก ที่เล่าให้ฟังตะกี้นะ ใจเราต้องมีสมาธิหนุนหลัง คือมันต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมามันถึงจะเกิดปัญญา ถ้าจิตไม่มีสมาธิรองรับเนี่ยจะไม่มีปัญญา สมาธิคือความตั้งมั่นไม่ใช่ความสงบอย่างเดียว ในอภิธรรมท่านก็สอนนะ บอกว่าสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา เห็นมั้ย ถ้าขาดสมาธิความตั้งมั่นของจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้ดู เห็นปรากฏการณ์ของรูปธรรมนามธรรมเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนะ ถ้าไม่มีจิตตัวนี้ก็เดินปัญญาไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๖๖ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๖๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

mp3 for download : ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

ดูจิตไม่ได้ไม่มีสมาธิ แต่มีทีละขณะจิต

โยม : หลวงพ่อคะ แม่ชีจะเห็นแว้บไปแว้บมา เดี๋ยวก็เห็นอิริยาบถ เดี๋ยวก็เห็นจิต เดี๋ยวก็เห็นลมหายใจ ถูกต้องแล้วนะคะ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นถูกต้องแล้ว เพราะเวลาสติจะเกิดนี้ เราเลือกไม่ได้ว่าสติจะระลึกรู้อะไร สติเป็นอนัตตา นึกออกหรือยัง

โยม : ดูเหมือนคนไม่มีสมาธิ ดูเหมือนไม่มีหลักน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรามีสมาธิ แต่มีทีละขณะเดียว ขณะใดที่ว่าขณะเดียว ขณะปัจจุบันไง ไม่ใช่ขณะยาวๆ

โยม : ค่ะ กราบขอบพระคุณ

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกที่บอกว่าสมาธิสั้น ไม่เห็นแปลกอะไร หลวงพ่อก็สมาธิสั้น ก็สั้นทีละขณะจิตหนึ่ง มันจะยาวไปได้อย่างไร

โยม : เคยถามหลวงพ่อตอนมาครั้งแรก ก็อย่างนี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๑๐ ถึงนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรามีหน้าที่เพียงเจริญไตรสิกขา จิตบรรลุหรือไม่เป็นเรื่องของเขา

mp3 for download : เรามีหน้าที่เพียงเจริญไตรสิกขา จิตบรรลุหรือไม่เป็นเรื่องของเขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เจอท่านนานเลย หลายปี จนก่อนท่านมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์ ปีสี่เท่าไหร่ ปี ๔๑ ประมาณนี้ จำไม่ได้แล้ว พอเข้าไป ท่านมาเทศน์เสร็จก็คลานเข้าไป กราบท่าน บอกว่า หลวงพ่อผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว ท่านบอกว่า หลวงพ่อจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก

หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย โอ้..คราวนี้นะ ท่านเปลี่ยนไปเลยนะ เหมือนท่านเป็นคนอีกคนหนึ่งเลย กริยาท่าทางของท่านองอาจผึ่งผายนะ ท่านบอกว่า จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่แล้ว จะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง พูดห้าวหาญมากเลย โห..เราฟังปุ๊บเราเข้าใจแล้ว ท่านทำลายเปลือกออกมาได้แล้ว ท่านห้าวหาญมากเลย ท่านบอกวิธีให้นะ ไม่ได้ทำอะไรนะ รอให้ลูกไก่นี้โตขึ้นมา แล้วลูกไก่จะเจาะเปลือกเอง

ก็คือธรรมะอันเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเคยสอนนั่นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรผลนิพพานได้นะ จิตบรรลุเอง เรามีหน้าที่เจริญศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญไตรสิกขานั่นเอง เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนี่นะ จิตมีพลัง มีพลานุภาพเต็มที่แล้วนี่นะ จะเจาะทำลายอาสวะออกมาเอง

พระพุทธเจ้าท่านเทียบเหมือนคนทำนา บอกว่าชาวนานไม่สามารถทำให้ข้าวออกรวงได้ ข้าวมันออกรวงของมันเอง สิ่งที่ชาวนาทำได้คือไถนา ไถอยู่ที่ดินไม่ได้ไปไถต้นข้าว หว่านเมล็ดข้าวลงไปในนา แล้วก็เอาน้ำเข้านา ช่วงไหนน้ำน้อยก็เติมน้ำ ช่วงไหนน้ำมากก็ไขน้ำออก ถึงเวลาแล้วข้าวก็ออกรวง ข้าวออกเมล็ด ข้าวก็ออกของมันเอง ชาวนาไม่ได้ออกเมล็ดข้าวมา

จิตนี้ก็เหมือนกันนะ เราเจริญไตรสิกขา ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญอย่างนี้แหละ ถึงวันที่เขาพอเพียงแล้ว อริยมรรคก็จะเกิดขึ้นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพวกเรานะ ค่อยฝึกไป คอยรู้กายคอยรู้ใจนะ ถือศีล ๕ ไว้เป็นเบื้องต้น วันไหนจิตใจฟุ้งซ่านมากก็ทำความสงบเข้ามา ให้จิตใจได้พักผ่อนบ้าง พอจิตใจสงบแล้วและพักผ่อนพอสมควรแล้วก็ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน ให้เจริญปัญญาด้วยการมีสติรู้กายอย่างที่กายเขาเป็น มีสติรู้จิตอย่างที่จิตเขาเป็น ไม่เข้าไปแทรกแซงเขา

เวลารู้ ให้รู้อยู่ห่างๆ อย่าถลำลงไปรู้ อย่ากระโจนลงไปรู้ รู้อยู่ห่างๆเหมือนดูคนอื่น ดูกายนี้เหมือนดูกายคนอื่น ดูเวทนานี้เหมือนดูเวทนาคนอื่น ดูจิตนี้เหมือนดูจิตคนอื่นไป ดูเหมือนดูคนอื่นเรื่อยๆ ทั้งกายทั้งเวทนาทั้งจิตนี้เป็นแต่สภาวธรรมซึ่งถูกรู้ถูกดู สิ่งใดถูกรู้สิ่งใดถูกดูสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นของอยู่นอกๆนะไม่ใช่ตัวเราหรอก

ให้เฝ้ารู้เฝ้าดูไป กระทั่งต่อมาเราจะเห็นว่า แม้กระทั่งผู้รู้ผู้ดูเองก็เกิดๆดับๆ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง ใช่มั้ย เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ผู้รู้เองก็เกิดดับๆเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆไม่มีอะไรคงที่สักอันเดียวเลย เนี่ยดูอย่างนี้เรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งลูกไก่ก็จะหลุดออกมาจากเปลือกได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๔๒ ถึงนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

mp3 for download : หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

หัดให้จิตมีปัญญา ไม่ใช่เรามีปัญญา

โยม : เห็นสภาวธรรมเป็นอนัตตา แล้วทำไมจิตจึงยังไปหลงยึดอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราเห็นแต่จิตไม่เห็น อย่างเราไปดูนะ เอ้อ..กายนี้เป็นทุกข์นะ เอ้อ..ทุกข์จริงๆแหละ จิตไม่รู้สึก จิตยังไม่รู้สึกว่ามันทุกข์จริง อะไรอย่างนี้ คือเราเห็นโน้นเห็นนี้เราบอกว่าเราเห็นแล้วนะ พอแล้วนะ ฉันบรรลุได้แล้วนะ จิตไม่ยอม

โยม : เอ๋อ… มันเป็นสภาวธรรมที่.. อธิบายยังไงดี คือมันเกิดขึ้นกับ คือวันหนึ่งผมคัน เสร็จแล้วเกิดขึ้นในชั่ววินาทีเดียว ตรงนั้น มันอยู่เหนือความควบคุมของเรา มันเกิดความรู้สึกตรงนั้นขึ้นมา

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละ ปัญญามันเกิด

โยม : ช่วงอาทิตย์หนึ่ง ช่วงตรงนั้นน่ะ มันทิ้งทุกอย่าง คือสภาวธรรมอะไรที่ปรากฎขึ้นมา ก็ไม่ไปแทรกแซงมันได้ แต่พอพ้นช่วงหลังสัปดาห์นั้นไปแล้วเนี่ย มันก็ค่อยๆยึดกลับมาเหมือนเดิม

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละ ไม่ว่าอะไรนะ เจริญไม่เกินอาทิตย์หนึ่งหรอก เดี๋ยวก็เสื่อม เพราะมันไม่ใช่ของจริง ยังไม่ใช่ของจริงของเรานะ

โยม : ทีนี้ผมไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงกลับเข้าไปช่วยกันปรุงอยู่เหมือนเดิมล่ะครับ ทำไมไม่รู้เหมือนเดิมตอนที่ช่วงสัปดาห์นั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะมันอยากไง พอมันเคยเห็นสภาวะนี้แล้วมันก็อยากเห็นอีกแล้ว ก็ดิ้นรนหาทางจะดูให้เกิดสภาวะอย่างนี้อีก เลยไม่เกิดเลย ตราบใดที่ยังดิ้นรนอยู่ก็จะไม่เห็นหรอก

โยม : แล้วผมต้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขอะไรอีกมั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ต้องลดลงสิ อย่าไปเพิ่มเติม ใจมันแอบไปปรุงแต่งอะไร รู้ทันมันเรื่อยๆ อย่าไปช่วยมันปรุง ไม่้ใช่ไปช่วยมันปรุงว่าทำอย่างไรถึงจะเห็นอย่างนั้นอีก

โยม : ครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันอยู่ที่เลิกไปนะ เลิกปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปปรุงแต่งให้ดีๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510324B
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

mp3 (for download): จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

โยม : แล้วอย่างเราภาวนาไปนะคะ แล้วจิตมันนิ่งๆอย่างนี้ค่ะ ถือว่าเป็นจิตตั้งมั่นใช่มั้ยเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตนิ่งๆไม่ใช่จิตตั้งมั่นนะ ต้องไม่นิ่งที่อๆนะ ถ้ามันตั้งมั่นเนี่ย จิตจะไม่ว่อกแว่กหลงไปอยู่ในโลกของความคิดเท่านั้นแหละ เราไม่ได้ไปบังคับให้มันนิ่งนะ แต่ว่ามันก็นิ่งเหมือนกัน แต่มันนิ่งแบบรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ สบาย ไม่นิ่งทือๆแข็งๆนะ ไม่นิ่งแบบว่างๆไม่รู้เนื้อรู้ตัว ไม่นิ่งแบบจิตเข้าไปรวมกับความว่างข้างนอก มันนิ่งอยู่ด้วยความรู้สึกตัวอยู่

จิตที่ตั้งมั่นรู้เนื้อรู้ตัวเนี่ย ต้องสังเกตเอาตอนที่จิตหนีไปคิด ถ้าเรารู้ทันจิตที่หนีไปคิด จิตรู้จะเกิดขึ้น จิตรู้นั้นแหละเป็นจิตที่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิดนะ ตัวรู้(จิตผู้รู้ – ผู้ถอด)จะเกิดมันจะตั้ง จะตั้งได้พอดีไม่แข็งเกินไปไม่อ่อนเกินไป อ่อนเกินไปก็ขาดสติไหลหลงๆไป แข็งเกินไปก็ทื่อๆอยู่ ไม่เดินปัญญา ก็ตั้งพอดีๆ แค่ไหนพอดี ถ้าหนีไปคิดแล้วรู้ว่าหนีไปคิดนั้นพอดีเลย ถ้าจงใจจะให้ตั้งอยู่ อันนี้จะตึงเกินไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๕๕ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เริ่มต้นภาวนาอย่างไร ?

mp3 (for download): เริ่มต้นภาวนาอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เริ่มต้นภาวนาอย่างไร ?

เริ่มต้นภาวนาอย่างไร ?

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ คือลูกก็สนใจธรรมะมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ว่าด้านการปฏิบัตินี่เพิ่งจะเริ่มขั้นอนุบาลน่ะเจ้าค่ะ แล้วก็อยากจะขอคำแนะนำจากหลวงพ่อค่ะว่า จะเริ่มต้นวิธีไหนที่จะเหมาะสมกับจริตของเรา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถือศีล ๕ ไว้ก่อนนะ ตั้งใจไว้ก่อน แล้วก็มีสติ พัฒนาสติขึ้นมา สติเป็นเครื่องมือของการปฏิบัติ ไม่ว่าจะปฏิบัติวิธีไหน ก็ต้องมีสติทั้งนั้นแหละ แล้วก็คอยรู้ทัน อะไรเกิดขึ้นแก่ใจคอยรู้ทันเรื่อยๆ หรือร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้ทันมันนะ ร่างกายยิ้ม ร่างกายหัวเราะ อะไรอย่างนี้ คอยรู้ทันไปเรื่อยๆ สติจะเกิดเร็วขึ้นๆ ต่อมาก็ฝึกสมาธิ จิตแอบไปคิดรู้ทัน จิตแอบไปคิดรู้ทัน จะได้สมาธิขึ้นมา

จำไหวมั้ย อันแรกนะ ถือศีล ๕ ไว้ก่อน จงใจถือไว้ก่อน แล้วมีสติคอยรู้ทันใจของเรา เอาง่ายๆเลยนะ เอาย่อๆเลย ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นรู้ทัน แล้วก็ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้สึกอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วจิตหนีไปคิดคอยรู้สึก ยังงง เอาใหม่

อันแรกเลย ถือศีล ๕ ไว้ก่อนนะ อันที่สองคอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ จิตใจเคลื่อนไหวก็คอยรู้สึก แล้วก็รู้ทันร่างกายด้วย ร่างกายเคลื่อนไหวก็คอยรู้สึก ดูกายก็ได้ ดูจิตก็ได้ ไม่ต้องดูจิตอย่างเดียวหรอก แล้วก็จิตแอบไปคิดคอยรู้สึก รู้จักจิตแอบไปคิดมั้ย รู้สึกมั้ยคิดทั้งวัน รู้จักจิตคิดเนี่ย ไปดูตรงนี้เลย ดูบ่อยๆ จิตจะหนีไปคิดทั้งวันนะ คอยรู้บ่อยๆไว้ ถ้าเห็นตรงนี้ได้บ่อยๆนะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ตื่นขึ้นมานะ หลุดออกจากโลกของความคิดได้

พอจิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หลุดออกจากโลกของความคิดแล้วนี่นะ จิตพร้อมที่จะเดินปัญญา เวลาร่างกายเคลื่อนไหวจิตเป็นผู้รู้อยู่ จะเห็นเลยว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เห็นเองเลย เวลาที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่นะ จิตใจเคลื่อนไหว เช่นความสุขความทุกข์ กุศล-อกุศลเกิดนะ สติระลึกรู้ปั๊บ จิตตั้งมั่นเป็นผู้ดูอยู่นี่ จะเห็นเลย สุขทุกข์ กุศล-อกุศล ไม่ใช่ตัวเรา

เพราะฉะนั้นเราภาวนา เราต้องรู้นะ เป้าหมายของการภาวนาของพวกเรานี่น่ะ เพื่อล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน นี่นะขั้นแรกนะเราต้องตั้งเป้ามาตรงนี้ก่อน ทุกๆคนนะ ตั้งเป้ามาว่าเราจะฝึกกรรมฐานนี่น่ะเพื่อล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน เพราะคนใดล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้คือพระโสดาบัน เอาตรงนี้ก่อน ยังไม่ต้องถึงขนาดว่าจะข้ามภพข้ามชาติอย่างไร เอาโสดาให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งไปชกมวยข้ามรุ่น

เพราะฉะนั้นตั้งหลักตรงนี้ พอเรารู้ว่าเราจะต้องดูจนกระทั่งเห็นว่าไม่มีตัวไม่มีตน ความจริงไม่มีตัวไม่มีตนอยู่แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนเกิดจากการคิดขึ้นมาเอง เพราะฉะนั้นเราพยายามฝึกรู้สึกตัว รู้สึกตัว จิตหลุดออกจากโลกของความคิด เวลาเห็นกายจะเห็นเลย กายไม่ใช่ตัวตน เห็นจิตก็จะเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวตน ความเป็นตัวตนเกิดจากความคิดทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ฝึกเอาง่ายที่สุดเลยนะ ถ้าจิตหนีไปคิดน่ะ คอยรู้ทันไว้ ไปฝึกตัวนี้ให้เยอะเลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๔๙ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๕๒ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาสำหรับคนโทสะแรง

mp3 (for download) : เป็นคนโทสะแรงมาก ควรภาวนาอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การภาวนาสำหรับคนโทสะแรง

การภาวนาสำหรับคนโทสะแรง

โยม : ค่ะ โทสะของหนูแรงมากเลยล่ะค่ะ หนูขี้โมโหแล้วก็ มันชอบไประรานคนอื่นเขาน่ะค่ะ จนทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนูไปทำอะไรนะ

โยม : ไปพูดจาเสียดสี อะไรพวกนี้ล่ะค่ะ พูดจาไม่ดีใส่คนอื่น ขี้โมโหใส่คนอื่น แล้วหนูก็มีสติตามรู้ไม่ทัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..นะ ฝึกไปเรื่อย.. ต่อไปมันเร็ว สติค่อยเร็วขึ้นหรอก ดีแล้วล่ะที่หนูเห็นอย่างนั้นน่ะ

โยม : แต่หนูสงสารคนอื่นเขาค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อก็สงสาร

โยม : แล้วมีความรู้สึกว่า ดูเหมือนมันจะแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะว่าเราไม่เก็บกด ถ้าเราทำแต่สมาธินะ เรากดนิ่งๆนะ กิเลสไม่แรงหรอก ครูบาอาจารย์ท่านเรียกว่า กรรมฐานแบบเอาก้อนหินไปทับหญ้าไว้ วันใดเอาก้อนหินออกไปนะ หญ้าก็งอกใหม่ แถมงอกแล้วมีดอกเบี้ยด้วย จะโมโหมากกว่าคนทั่วๆไป พวกที่ติดความสงบน่ะ

แต่มันเป็นแค่ช่วงเดียวแหละ ต่อไปพอสติมันเร็วขึ้นนะ มันจะอ่อนลง กิเลสมันจะอ่อนลง

โยม : แล้วช่วงนี้หนูจะต้องปล่อยมันเป็นแบบนี้หรือคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนูตั้งใจไว้เลย ตั้งแต่ตื่นนอน ทุกวัน ตั้งใจว่าเราจะรักษาศีล ๕ กลางวันก็ตั้งใจอีก ตอนค่ำก็ตั้งใจอีก ตั้งใจวันละหลายๆรอบ เป็นการย้ำกับตัวเอง เป็นการเตือนตัวเองว่า ถึงกิเลสจะครอบงำจิตอย่างไร เราก็จะไม่ละเมิดคนอื่น เพราะฉะนั้นศีลเนี่ย จำเป็น

พวกที่ทำสมถะนะ ไม่ค่อยไปยุ่งกับใครอยู่แล้ว แต่พวกที่จะเดินวิปัสสนาเนี่ย ไม่เก็บกด เพราะฉะนั้นกิเลสจะแรงนะ ยิ่งเคยติดสมถะมาก่อนนะ กิเลสจะแรงกว่าคนทั่วไป

โยม : หนูนั่งสมาธิไม่เป็นน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อ๋อ..ถ้างั้นยังไม่แรงเต็มที่หรอก ถ้าติดสมถะนะ แรงสุดๆเลย เพราะฉะนั้นหนูตั้งใจรักษาศีลไว้

โยม : หนูก็ตั้งใจอยู่น่ะค่ะ แต่ว่า ดูเหมือนมันจะ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : แล้วเวลาไปเล่นงานเขาแล้วเสียใจ ให้รู้ว่าเสียใจนะ ดูลงไปเลย เห็นมีแต่ทุกข์แต่โทษ ไปเล่นงานคนอื่นแล้วเนี่ย เกิดทุกข์เกิดโทษขึ้นมา เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ต่อไปไม่อยากเล่นงานใครหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๙ มีนาคม
พ.ศ.๒๕๕๔

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๙
File: 540319B
ลำดับที่ ๖
ระหว่างนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม

mp3 (for download): หากยังไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็ยังไม่เห็นธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม

ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม

หลวงพ่อปราโมทย์ : กิเลสอย่างหยาบ คือ ราคะ โทสะ โมหะ สู้ด้วยศีล กิเลสอย่างกลาง คือ ความฟุ้งซ่านนานาชนิดของจิต สู้ด้วยสมาธิ ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย สมาธิทำให้ใจสงบเรียบร้อย

แค่นี้ไม่พอ กิเลสยังไม่ได้หมดแค่นี้ ลำพังนั่งสมาธิยังไม่เห็นนิพพานหรอก เพราะยังเหลือกิเลสอีกชนิดหนึ่ง กิเลสชั้นละเอียด กิเลสชั้นละเอียดคืออะไร ความโง่ ความไม่รู้ ตัวโมหะ ตัวอวิชา ความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง ไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่าตัวเราไม่มี ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่รู้ว่าไม่มีเราในขันธ์ ๕ คิดว่ามีเรา ไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ พอไม่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ จิตก็เข้าไปยึดถือขันธ์ ๕ ไปหยิบฉวยขันธ์ ๕ ขึ้นมาครอบครอง

ถ้าเมื่อไรมีปัญญาแจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ ๕ วางเอง ไม่ต้องเจตนาวาง ไม่มีใครบังคับจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตบรรลุมรรคผลนิพพานเองเมื่อจิตมีปัญญาแจ่มแจ้งว่าขันธ์เป็นตัวทุกข์ (ไมได้หมายความว่า การบรรลุมรรคผลนิพพานไม่มีเหตุให้เกิด เป็นความบังเอิญ แต่หมายถึง ไม่มีใครไปสั่งหรือบังคับให้จิตบรรลุมรรคผลนิพพานได้ หากแต่เมื่อใดที่จิตสะสมปัญญาได้มากพอแล้ว ปัญญาที่เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงที่มากพอนั้นแหละ จะเป็นเหตุให้จิตบรรลุมรรคผลนิพพาน หาใช่การบังคับ การประคองจิต จะเป็นตัวเหตุให้จิตบรรลุมรรคผลนิพพาน – ผู้ถอด)

เห็นทุกข์นั้นแหละ ถึงจะเห็นธรรม เคยได้ยินครูบาอาจารย์พูดมั้ย เห็นทุกข์คือเห็นธรรม ถ้าไม่เห็นทุกข์ เราไม่เห็นทุกข์ของอะไร ทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ที่ขันธ์ ๕ ตราบใดที่ไม่เห็นทุกข์ของขันธ์ ๕ ไม่เห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์นะ เรานั่นแหละจะไปยึดฉวยเอาขันธ์ ๕ ขึ้นมา จิตนี้จะไปหยิบฉวยเอาขันธ์ ๕ เหมือนที่ว่าไปหยิบแก้วน้ำ เอามาถืออยู่อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืนนะ เป็นภาระมากเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่บริษัท ดอกบัวคู่
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดอกบัวคู่
File: 540409A
ระหว่างนาทีที่  ๒๑ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่มีศีล ๕ อย่าพูดเรื่องเจริญปัญญา

mp3 (for download): ไม่มีศีล ๕ อย่าพึ่งพูดเรื่องมรรคผล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่มีศีล ๕ อย่าพูดเรื่องเจริญปัญญา

ไม่มีศีล ๕ อย่าพูดเรื่องเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ทำอย่างไรจะเกิดปัญญา ปัญญานี้แหละเป็นตัวล้างความโง่ ใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีลสู้กิเลสหยาบๆ ราคะ โทสะ โมหะ ทำให้กายวาจาเรียบร้อย

สมาธิสู้กิเลสอย่างกลาง คือความฟุ้งซ่าน ทำให้ใจเรียบร้อย ใจสงบ

ปัญญานะ สู้กับกิเลสละเอียด คือความโง่ ความไม่รู้ เพราะฉะนั้นปัญญาเป็นเครื่องต่อสู้กับความโง่ความไม่รู้

คนเข้าถึงมรรคผลได้ก็ด้วยปัญญา แต่จะมีปัญญาได้ก็ต้องสู้กับกิเลสหยาบ กิเลสกลาง มาแล้วนะ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆฉันจะมีปัญญา ยังรักษาศีล ๕ ไม่ได้เลย อย่ามาอวดเรื่องมรรคเรื่องผลนะ ไม่มีทางหรอก ไม่มีทางเลย เพราะกิเลสหยาบๆยังสู้ไม่ได้ จะไปสู้กิเลสละเอียดได้อย่างไร

กิเลสละเอียดคือความโง่นะ เพราะฉะนั้นศัตรูหมายเลขหนึ่งของพวกเราชาวพุทธ คือความไม่รู้นั่นแหละ ไม่ใช่คือคนอื่น ศัตรูของเราคือความไม่รู้ ความไม่รู้ของใคร ของตัวเราเองนั่นแหละ โง่เอง โง่ที่จะหยิบฉวยเอาขันธ์ ๕ มาเป็นตัวเราของเรา เป็นตัวกูของกู พอหยิบฉวยขึ้นมาก็ทุกข์เองแหละ ไม่มีใครเขาทุกข์ด้วยหรอก ใครหยิบคนนั้นก็ทุกข์นะ ใครหยิบใครแบกเอาไว้คนนั้นก็หนักของตัวเอง

เพราะฉะนั้นเราจะต้องมาพัฒนาให้เกิดปัญญา ให้เห็นแจ้ง ให้รู้แจ้ง ให้เห็นจริง ว่าขันธ์ ๕ รูปนาม กายใจนี้ ที่เราเรียกประกอบขึ้นมาเป็นตัวเรา ที่เราคิดว่าเป็นตัวเราๆนี้ ต้องมาเรียนให้เห็นความจริงเลย มันเป็นตัวทุกข์ มันไม่ใช่ของดีของวิเศษที่จะมายึดมาถือว่าเป็นตัวเราของเราอีกต่อไป

ถ้าวันใดเห็นว่าขันธ์ ๕ ว่าเป็นทุกข์นะ จิตจะสลัดขันธ์ ๕ ทิ้งเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตบรรลุมรรคผลนิพพาน จิตสลัดคืนขันธ์ ๕ ให้โลกได้เอง เมื่อจิตมีปัญญา เราทำแค่เงื่อนไขนะ พัฒนาให้จิตมีปัญญา

จิตเหมือนลูกเรานะ เราไปสอบแอดมิต สอบอะไรแทนลูก ทำไม่ได้หรอก ลูกต้องมีปัญญาเอง จิตนี้ก็เหมือนกัน เหมือนเด็ก เหมือนลูกนะ เราช่วยให้มีการศึกษาได้ แต่มันจะเก่งหรือไม่เก่ง มันจะสอบได้หรือสอบไม่ได้ อยู่ที่ตัวมันเอง

เพราะฉะนั้นจะมาพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาเนี่ย เหมือนเอาลูกเข้าโรงเรียน ลูกมันขยันก็ภาวนาไป มันก็บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ลูกมันไม่ดี หรือพ่อแม่ไม่ให้การศึกษา ไม่เคยรับการศึกษาเลย มันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ไม่ได้ปัญญาขึ้นมา เราอย่าไปนึกว่าเราสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลได้ ไม่มีใครสั่งได้ จิตเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้หรอก สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ จิตเป็นอนัตตา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่บริษัท ดอกบัวคู่
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ บริษัท ดอกบัวคู่
File: 540409A
ระหว่างนาทีที่  ๒๒ วินาทีที่ ๓๔ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๐๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 9 of 17« First...7891011...Last »