Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๓) ให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง จิตผู้เพ่ง กับ จิตผู้รู้

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๓) ให้เข้าใจความแตกต่างระหว่าง จิตผู้เพ่ง กับ จิตผู้รู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นร่างกายของตัวเองได้ ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นจิตใจของตนเองได้ ถ้าใจไม่ตั้งมั่น ใจไหลไปทางตา เราจะไปเห็นรูปภายนอก ถ้าใจไหลไปทางหู เราจะไปได้ยินเสียง ถ้าใจไหลไปทางจมูก เราจะไปได้กลิ่น ถ้าใจไหลไปที่ลิ้น เราจะได้รส ถ้าใจไหลไปตามผิวกาย เราจะรู้สึกสัมผัสภายนอก เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวอะไรข้างนอกได้ ข้างในก็รู้สึกได้ แต่จิตมันเคลื่อนทั้งสิ้นเลย เช่น รู้สึกท้อง ที่กระเพื่อมไปกระเพื่อมมา จิตเคลื่อนไปที่ท้องนั่นเอง

เพราะนั้น ถ้าจิตเคลื่อนไปนะ มันจะรู้ออกนอก และถ้าจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูเนี่ย มันจะย้อนเข้ามา ดูกายดูใจของตนเอง โดยที่จิตนั้น”เป็นผู้รู้ ผู้ดู” ตัวนี้แหล่ะ ตัวแตกหัก ถ้าเราสามารถพัฒนาจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูได้ เรียกว่าเราได้ “ลักขณูปนิชฌาน”

ลักขณูปนิชฌานเนี่ย เป็นสมาธิที่สำคัญที่สุดเลย แต่อาภัพ คนไม่รู้จัก คนรู้จักแต่”อารัมมณูปนิชฌาน” สมาธิมี ๒ ชนิดนะ สมาธิชนิดที่ ๑ ชื่อ “อารัมมณูปนิชฌาน” จิตไปเพ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียว เช่น ไปเพ่งอยู่ที่พุทโธ ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ไปเพ่งอยู่ที่ท้องพองยุบ ไปเพ่งอยู่ที่มือที่เท้า อันนั้นจิตออกนอก “ลักขณูปนิชฌาน” จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูขึ้นมา แล้วมันจะเห็นเลย ร่างกายมันแสดงไตรลักษณ์ได้ จิตใจแสดงไตรลักษณ์ได้

งั้นถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน จิตออกนอกเนี่ย หลายสำนวนนะ อันเดียวกันนั่นแหล่ะ คือจิตมันส่งไปข้างนอก ทางตาหูจมูกลิ้นกาย หรือส่งไปคิดไปนึก มันจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ เราต้องมาฝึกนะ ตัวนี้เป็นตัวแตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลหรือไม่ ถ้าเราไม่มี”ลักขณูปนิชฌาน” ไม่มีจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ละก็ เรายังไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้

อารัมณูปนิชฌานคือ สมาธิเพ่งอารมณ์นี้ ใช้ทำสมถะกรรมฐาน แล้วก็ใช้สำหรับมีชีวิตอยู่กับโลก อย่างเป็นต้นว่า เราจะเขียนซอฟท์แวร์อะไรเนี่ยนะ ซักอันนึงนะ สมาธิเราต้องออกนอก ไปอยู่ที่ความคิดใช่ไหม เราถึงจะเขียนซอฟท์แวร์ได้ อันนี้เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” นั่งเพ่งไฟ นั่งเพ่งลมหายใจ นั่งเพ่งท้อง อันนี้เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ไปเพ่งตัวอารมณ์

ส่วน“ลักขณูปนิชฌาน”เนี่ย ใช้ตอนไหนบ้าง ลักขณูปนิชฌานใช้ในขณะแห่งวิปัสสนากรรมฐาน ใช้ในขณะที่เกิดอริยมรรค ใช้ในขณะที่เกิดอริยผล ใช้ในขณะที่พระอริยเจ้าเข้าผลสมาบัติ ผลสมาบัติก็คือ เกิดผลจิต จิตในขณะที่บรรลุโสดาฯ สกทาคาฯนั่นแหล่ะ จะเกิดผลอย่างนั้นซ้ำขึ้นมา แต่ว่าไม่ล้างกิเลส เพราะมีแต่ผล ไม่มีมรรค งั้นเป็นสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ใช้ลักขณูปนิชฌาน จิตตั้งมั่นถึงฐานเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่